พบผลลัพธ์ทั้งหมด 115 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3329/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทซื้อขายเครื่องจักรต่างประเทศ, เช็คไม่สามารถเรียกเก็บได้, การชำระหนี้ด้วยการหักเงิน, อายุความ
การที่โจทก์ขายเครื่องจักรอุตสาหกรรม เครื่องมือช่างทองให้แก่จำเลย เมื่อจำเลยไม่ชำระราคา และโจทก์ฟ้องเรียกร้องให้จำเลยชำระราคาเป็นกรณีที่โจทก์ซึ่งเป็นผู้ประกอบการค้าหรืออุตสาหกรรมเรียกเอาค่าของที่ได้ส่งมอบตามมาตรา 193/34 (1)
โจทก์และจำเลยต่างเป็นผู้ประกอบการค้าหรืออุตสาหกรรม สินค้าเครื่องจักรอุตสาหกรรม เครื่องมือช่างทองด้วยกัน ทำสัญญาซื้อขายสินค้าระหว่างกันเองโดยจำเลยซื้อสินค้าดังกล่าวจากโจทก์เพื่อขายต่อไปให้บุคคลอื่นซึ่งเป็นลูกค้าของจำเลยกรณีจึงเป็นเรื่องที่โจทก์ผู้ขายซึ่งเป็นเจ้าหนี้ได้ขายสินค้าเพื่อกิจการของจำเลยผู้ซื้อซึ่งเป็นลูกหนี้เองตามมาตรา 193/34 (1) ตอนท้าย ฉะนั้น อายุความฟ้องร้องคดีของโจทก์ที่เรียกเอาค่าของที่ได้ส่งมอบแก่จำเลยตามสัญญาซื้อขายจึงมีกำหนด 5 ปี นับแต่วันที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้ตามมาตรา 193/33 (5) ประกอบมาตรา 193/12 หนี้ค่าสินค้าครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2 ซึ่งสั่งซื้อเมื่อเดือนมกราคมและเดือนกุมภาพันธ์ 2540 ครบกำหนดระยะเวลาชำระที่โจทก์ขยายให้ในวันที่ 10 กรกฎาคม 2540 เมื่อจำเลยไม่ชำระโจทก์อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้ตั้งแต่วันที่ 11 กรกฎาคม 2540 หนี้ค่าสินค้าครั้งที่ 3 และครั้งที่ 4 ครบกำหนดชำระในวันที่ 5 และวันที่ 22 กรกฎาคม 2540 โจทก์อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้ตั้งแต่วันที่ 6 และวันที่ 23 กรกฎาคม 2540 เมื่อโจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 26 เมษายน 2545 หนี้ค่าสินค้าดังกล่าวทั้งหมดจึงยังไม่ขาดอายุความ
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศฯ มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 47 วรรคสาม บัญญัติเพียงว่า ใบมอบอำนาจที่ทำในเมืองต่างประเทศที่มีกงสุลสยาม ต้องให้กงสุลนั้นเป็นพยาน ถ้าทำในเมืองต่างประเทศที่ไม่มีกงสุลสยามต้องให้โนตารีปับลิก ฯลฯ เป็นพยาน ไม่มีบทกฎหมายใดบัญญัติว่าผู้รับมอบอำนาจจะต้องลงลายมือชื่อในหนังสือมอบอำนาจ ฉะนั้น แม้ ว. และ ช. ผู้รับมอบอำนาจไม่ได้ลงลายมือชื่อในหนังสือมอบอำนาจ ก็ไม่ทำให้หนังสือมอบอำนาจนั้นเสียไป โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องคดีนี้
โจทก์และจำเลยต่างเป็นผู้ประกอบการค้าหรืออุตสาหกรรม สินค้าเครื่องจักรอุตสาหกรรม เครื่องมือช่างทองด้วยกัน ทำสัญญาซื้อขายสินค้าระหว่างกันเองโดยจำเลยซื้อสินค้าดังกล่าวจากโจทก์เพื่อขายต่อไปให้บุคคลอื่นซึ่งเป็นลูกค้าของจำเลยกรณีจึงเป็นเรื่องที่โจทก์ผู้ขายซึ่งเป็นเจ้าหนี้ได้ขายสินค้าเพื่อกิจการของจำเลยผู้ซื้อซึ่งเป็นลูกหนี้เองตามมาตรา 193/34 (1) ตอนท้าย ฉะนั้น อายุความฟ้องร้องคดีของโจทก์ที่เรียกเอาค่าของที่ได้ส่งมอบแก่จำเลยตามสัญญาซื้อขายจึงมีกำหนด 5 ปี นับแต่วันที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้ตามมาตรา 193/33 (5) ประกอบมาตรา 193/12 หนี้ค่าสินค้าครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2 ซึ่งสั่งซื้อเมื่อเดือนมกราคมและเดือนกุมภาพันธ์ 2540 ครบกำหนดระยะเวลาชำระที่โจทก์ขยายให้ในวันที่ 10 กรกฎาคม 2540 เมื่อจำเลยไม่ชำระโจทก์อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้ตั้งแต่วันที่ 11 กรกฎาคม 2540 หนี้ค่าสินค้าครั้งที่ 3 และครั้งที่ 4 ครบกำหนดชำระในวันที่ 5 และวันที่ 22 กรกฎาคม 2540 โจทก์อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้ตั้งแต่วันที่ 6 และวันที่ 23 กรกฎาคม 2540 เมื่อโจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 26 เมษายน 2545 หนี้ค่าสินค้าดังกล่าวทั้งหมดจึงยังไม่ขาดอายุความ
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศฯ มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 47 วรรคสาม บัญญัติเพียงว่า ใบมอบอำนาจที่ทำในเมืองต่างประเทศที่มีกงสุลสยาม ต้องให้กงสุลนั้นเป็นพยาน ถ้าทำในเมืองต่างประเทศที่ไม่มีกงสุลสยามต้องให้โนตารีปับลิก ฯลฯ เป็นพยาน ไม่มีบทกฎหมายใดบัญญัติว่าผู้รับมอบอำนาจจะต้องลงลายมือชื่อในหนังสือมอบอำนาจ ฉะนั้น แม้ ว. และ ช. ผู้รับมอบอำนาจไม่ได้ลงลายมือชื่อในหนังสือมอบอำนาจ ก็ไม่ทำให้หนังสือมอบอำนาจนั้นเสียไป โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องคดีนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3152/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความสิทธิเรียกร้องค่าสินค้าซื้อขาย: พิจารณาประเภทธุรกิจผู้ขายและผู้ซื้อเพื่อกำหนดระยะเวลาอายุความ
ป.พ.พ. มาตรา 193/34 บัญญัติว่า "สิทธิเรียกร้องดังต่อไปนี้ ให้มีกำหนดอายุความสองปี (1) ผู้ประกอบการค้าหรืออุตสาหกรรม ผู้ประกอบหัตถกรรม... เรียกเอาค่าของที่ได้ส่งมอบ ค่าการงานที่ได้ทำหรือค่าดูแลกิจการของผู้อื่นรวมทั้งเงินที่ได้ออกทดรองไป เว้นแต่เป็นการที่ได้ทำเพื่อกิจการของฝ่ายลูกหนี้นั้นเอง..." และมาตรา 193/33 บัญญัติว่า "สิทธิเรียกร้องดังต่อไปนี้ให้มีกำหนดอายุความห้าปี (1)...(5) สิทธิเรียกร้องตามมาตรา 193/34 (1) (2) และ (5) ที่ไม่อยู่ในบังคับอายุความสองปี" เมื่อโจทก์เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทมหาชนจำกัดมีวัตถุประสงค์ประกอบกิจการอุตสาหกรรมและพาณิชยกรรมในการผลิตและจำหน่ายปูนซีเมนต์และสินค้าอื่น ๆ เมื่อพิจารณาชื่อของบริษัท ศ. ลูกหนี้แล้ว เห็นว่า เป็นบริษัทค้าวัสดุ และบริษัทดังกล่าวติดต่อซื้อปูนซีเมนต์ไปจากโจทก์ เมื่อปี 2536 ต่อมาปี 2537 จำเลยทั้งสองจึงผูกพันตนเป็นผู้ค้ำประกันโดยยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมกับบริษัท ศ. เพื่อชำระหนี้ค่าซื้อสินค้าปูนซีเมนต์ที่บริษัทดังกล่าวมีอยู่ต่อโจทก์ก่อนแล้ว หรือขณะทำสัญญาค้ำประกันรวมทั้งหนี้ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตโดยกำหนดต้นเงินค้ำประกันสูงถึง 6,000,000 บาท แสดงว่าการซื้อขายปูนซีเมนต์ระหว่างโจทก์กับบริษัท ศ. มิได้กระทำเพียงคราวเดียว แต่เป็นการซื้อขายปูนซีเมนต์จำนวนมากต่อเนื่องกันมาตั้งแต่ปี 2536 จึงเชื่อว่า บริษัท ศ. ซื้อปูนซีเมนต์จากโจทก์ไปเพื่อจำหน่าย มิใช่ซื้อไปเพื่อให้เป็นการเฉพาะภายในบริษัท กรณีย่อมตกอยู่ในบังคับของ ป.พ.พ. มาตรา 193/33 (5) ประกอบมาตรา 193/34 (1) สิทธิเรียกร้องของโจทก์จึงมีอายุความห้าปี มิใช่สองปี
เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาให้บริษัท ศ. ชำระเงินแก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ย นับถัดจากวันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จ คดีดังกล่าวถึงที่สุดแล้ว จำเลยทั้งสองซึ่งเป็นลูกหนี้ร่วมจึงต้องร่วมรับผิดด้วย แต่โจทก์ชอบที่จะได้รับชำระหนี้สิ้นเชิงได้แต่เพียงครั้งเดียวและการที่ลูกหนี้ร่วมกันคนหนึ่งชำระหนี้นั้น ย่อมได้เป็นประโยชน์แก่ลูกหนี้คนอื่น ๆ ด้วย ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 291 และมาตรา 292 เพื่อมิให้โจทก์บังคับชำระหนี้เอาแก่บริษัท ศ. ในคดีอื่นซ้ำซ้อนกับจำเลยทั้งสองในคดีนี้ จึงกำหนดความรับผิดในการชำระหนี้ของจำเลยทั้งสองให้ร่วมกันรับผิดต่อโจทก์ร่วมกับบริษัท ศ. ไว้ในคำพิพากษาคดีนี้ด้วย
เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาให้บริษัท ศ. ชำระเงินแก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ย นับถัดจากวันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จ คดีดังกล่าวถึงที่สุดแล้ว จำเลยทั้งสองซึ่งเป็นลูกหนี้ร่วมจึงต้องร่วมรับผิดด้วย แต่โจทก์ชอบที่จะได้รับชำระหนี้สิ้นเชิงได้แต่เพียงครั้งเดียวและการที่ลูกหนี้ร่วมกันคนหนึ่งชำระหนี้นั้น ย่อมได้เป็นประโยชน์แก่ลูกหนี้คนอื่น ๆ ด้วย ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 291 และมาตรา 292 เพื่อมิให้โจทก์บังคับชำระหนี้เอาแก่บริษัท ศ. ในคดีอื่นซ้ำซ้อนกับจำเลยทั้งสองในคดีนี้ จึงกำหนดความรับผิดในการชำระหนี้ของจำเลยทั้งสองให้ร่วมกันรับผิดต่อโจทก์ร่วมกับบริษัท ศ. ไว้ในคำพิพากษาคดีนี้ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7436/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องเรียกค่าบริการทางกฎหมาย: เริ่มนับเมื่อใด ตามมาตรา 193/13
โจทก์ฟ้องจำเลยขอให้ชำระค่าบริการในการที่โจทก์ร่างสัญญาให้เป็นกรณีที่โจทก์ซึ่งเป็นผู้ประกอบวิชาชีพทางกฎหมายเรียกเอาค่าการงานที่ทำให้แก่จำเลยตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (16) ซึ่งมีกำหนดอายุความ 2 ปี
โจทก์ทำงานแล้วเสร็จและส่งมอบงานให้แก่จำเลยเมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2540 ย่อมถือได้ว่าเวลาแรกที่โจทก์อาจทวงถามให้จำเลยชำระหนี้ได้ก็คือวันที่ 1 พฤศจิกายน 2540 เป็นต้นไป การที่โจทก์ส่งใบแจ้งหนี้ให้จำเลยเมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2541 วันดังกล่าวมิใช่เวลาแรกที่โจทก์อาจทวงถามให้จำเลยชำระหนี้ได้ตามความใน ป.พ.พ. มาตรา 193/13 และเมื่อจำเลยยังไม่ต้องชำระหนี้จนกว่าจะพ้นกำหนดเวลา 30 วัน สิทธิเรียกร้องของโจทก์จึงต้องเริ่มนับอายุความตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2540 แต่โจทก์นำคดีมาฟ้องเมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2543 เกินกว่า 2 ปีแล้ว จึงขาดอายุความ
โจทก์ทำงานแล้วเสร็จและส่งมอบงานให้แก่จำเลยเมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2540 ย่อมถือได้ว่าเวลาแรกที่โจทก์อาจทวงถามให้จำเลยชำระหนี้ได้ก็คือวันที่ 1 พฤศจิกายน 2540 เป็นต้นไป การที่โจทก์ส่งใบแจ้งหนี้ให้จำเลยเมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2541 วันดังกล่าวมิใช่เวลาแรกที่โจทก์อาจทวงถามให้จำเลยชำระหนี้ได้ตามความใน ป.พ.พ. มาตรา 193/13 และเมื่อจำเลยยังไม่ต้องชำระหนี้จนกว่าจะพ้นกำหนดเวลา 30 วัน สิทธิเรียกร้องของโจทก์จึงต้องเริ่มนับอายุความตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2540 แต่โจทก์นำคดีมาฟ้องเมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2543 เกินกว่า 2 ปีแล้ว จึงขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4857/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความสัญญาจ้างทำของ การรับสภาพหนี้ และการนับอายุความใหม่เมื่อชำระหนี้บางส่วน
สัญญาที่โจทก์รับซ่อมรถยนต์ของจำเลยเป็นสัญญาจ้างทำของมีอายุความ 2 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/34 (1)
โจทก์ได้ส่งมอบรถยนต์ที่ซ่อมเสร็จให้แก่ผู้ที่นำรถยนต์มาซ่อมแล้ว โจทก์จึงอาจบังคับตามสิทธิของตนในอันที่จะเรียกร้องให้จำเลยชำระสินจ้างได้นับตั้งแต่วันที่ส่งมอบรถยนต์แต่ละคันให้แก่ผู้ที่นำมาซ่อม การที่จำเลยนำเงินมาชำระหนี้ให้โจทก์บางส่วน จึงเป็นการรับสภาพหนี้ต่อโจทก์ ทำให้อายุความสะดุดหยุดลงและเริ่มนับอายุความใหม่ตั้งแต่วันดังกล่าว ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/14 (1) และมาตรา 193/15
โจทก์นำหนี้จำนวน 41 รายการ รวมเป็นเงิน 402,197 บาท ซึ่งโจทก์สามารถบังคับตามสิทธิของตนได้ตั้งแต่ก่อนวันที่ 8 พฤษภาคม 2541 มาฟ้องในวันที่ 19 มิถุนายน 2543 ซึ่งเกินกว่า 2 ปี แล้ว ฟ้องโจทก์ในส่วนนี้จึงขาดอายุความ ส่วนหนี้ค่าซ่อมรถอีก 11 รายการ จำนวน 47,500 บาท ปรากฏว่าในวันที่ 8 พฤษภาคม 2543 ซึ่งเป็นวันที่จำเลยชำระหนี้บางส่วน หนี้ค่าซ่อมรถทั้ง 11 รายการ ยังไม่ขาดอายุความ อายุความสำหรับหนี้ดังกล่าวจึงต้องเริ่มนับใหม่ และเมื่อคำนวณถึงวันฟ้องยังไม่เกิน 2 ปี คดีโจทก์ในส่วน 11 รายการนี้ จึงยังไม่ขาดอายุความ
การรับสภาพหนี้อันจะเป็นเหตุทำให้อายุความสะดุดหยุดลงจะต้องกระทำก่อนที่หนี้ขาดอายุความ เมื่อหนี้ค่าซ่อมรถจำนวน 402,197 บาท ขาดอายุความไปแล้วตั้งแต่ก่อนวันที่ 8 พฤษภาคม 2541 การชำระหนี้บางส่วนของจำเลยในวันดังกล่าวจึงไม่มีผลให้อายุความสะดุดหยุดลง
โจทก์ได้ส่งมอบรถยนต์ที่ซ่อมเสร็จให้แก่ผู้ที่นำรถยนต์มาซ่อมแล้ว โจทก์จึงอาจบังคับตามสิทธิของตนในอันที่จะเรียกร้องให้จำเลยชำระสินจ้างได้นับตั้งแต่วันที่ส่งมอบรถยนต์แต่ละคันให้แก่ผู้ที่นำมาซ่อม การที่จำเลยนำเงินมาชำระหนี้ให้โจทก์บางส่วน จึงเป็นการรับสภาพหนี้ต่อโจทก์ ทำให้อายุความสะดุดหยุดลงและเริ่มนับอายุความใหม่ตั้งแต่วันดังกล่าว ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/14 (1) และมาตรา 193/15
โจทก์นำหนี้จำนวน 41 รายการ รวมเป็นเงิน 402,197 บาท ซึ่งโจทก์สามารถบังคับตามสิทธิของตนได้ตั้งแต่ก่อนวันที่ 8 พฤษภาคม 2541 มาฟ้องในวันที่ 19 มิถุนายน 2543 ซึ่งเกินกว่า 2 ปี แล้ว ฟ้องโจทก์ในส่วนนี้จึงขาดอายุความ ส่วนหนี้ค่าซ่อมรถอีก 11 รายการ จำนวน 47,500 บาท ปรากฏว่าในวันที่ 8 พฤษภาคม 2543 ซึ่งเป็นวันที่จำเลยชำระหนี้บางส่วน หนี้ค่าซ่อมรถทั้ง 11 รายการ ยังไม่ขาดอายุความ อายุความสำหรับหนี้ดังกล่าวจึงต้องเริ่มนับใหม่ และเมื่อคำนวณถึงวันฟ้องยังไม่เกิน 2 ปี คดีโจทก์ในส่วน 11 รายการนี้ จึงยังไม่ขาดอายุความ
การรับสภาพหนี้อันจะเป็นเหตุทำให้อายุความสะดุดหยุดลงจะต้องกระทำก่อนที่หนี้ขาดอายุความ เมื่อหนี้ค่าซ่อมรถจำนวน 402,197 บาท ขาดอายุความไปแล้วตั้งแต่ก่อนวันที่ 8 พฤษภาคม 2541 การชำระหนี้บางส่วนของจำเลยในวันดังกล่าวจึงไม่มีผลให้อายุความสะดุดหยุดลง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4644/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องเรียกค่าเสียหายจากสัญญาเช่าซื้อ: ไม่ใช่ค่าเช่า, ใช้ อายุความ 10 ปี
สัญญาเช่าซื้อกำหนดให้ผู้ให้เช่าซื้อบอกเลิกสัญญาได้ในกรณีผู้เช่าซื้อผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้องวดหนึ่งงวดใดและเมื่อผู้ให้เช่าซื้อเข้าครอบครองรถยนต์ที่เช่าซื้อแล้ว ถ้าขายได้ราคาไม่พอชำระค่าเช่าซื้อที่ผู้เช่าซื้อยังคงต้องชำระตามสัญญารวมถึงค่าใช้จ่ายและค่าเสียหายต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นทั้งหมดหักด้วยค่าเช่าซื้อที่ผู้เช่าซื้อได้ชำระแล้ว ผู้เช่าซื้อตกลงจะชดใช้เงินจำนวนที่ขาดนั้นให้แก่เจ้าของ ข้อตกลงดังกล่าวจึงเป็นข้อตกลงเรียกค่าเสียหายตามสัญญาเช่าซื้อ การฟ้องเรียกค่าเสียหายดังกล่าวมิใช่เป็นการเรียกค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระ และไม่ใช่เป็นกรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจในการให้เช่าสังหาริมทรัพย์เรียกเอาค่าเช่า จึงไม่ตกอยู่ในอายุความ 2 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (6) ทั้งไม่ใช่เป็นคดีที่ผู้ให้เช่าฟ้องผู้เช่าเกี่ยวกับสัญญาเช่าที่อยู่ในอายุความ 6 เดือน เมื่อไม่มีกฎหมายกำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงต้องใช้อายุความ 10 ปี ตามมาตรา 193/30
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3314/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความการเรียกร้องหนี้ซื้อขายน้ำมันเชื้อเพลิง พิจารณาจากวัตถุประสงค์การใช้ของลูกหนี้
แม้โจทก์จะเป็นผู้ประกอบการค้าเรียกเอาของที่ได้ส่งมอบซึ่งมีอายุความ 2 ปี ตามมาตรา 193/34 (1) ก็ตาม แต่ความในตอนท้ายของมาตรานี้บัญญัติกรณีเป็นข้อยกเว้นที่ไม่อยู่ในกำหนดอายุความ 2 ปี ไว้ว่า เว้นแต่เป็นการที่ได้ทำเพื่อกิจการของฝ่ายลูกหนี้นั้นเอง ซึ่งต้องพิจารณาถึงกิจการของลูกหนี้ว่าประกอบกิจการประเภทใดเป็นกรณีไป การที่จำเลยทั้งสองซื้อน้ำมันเชื้อเพลิงจากโจทก์ไปใช้กับรถยนต์โดยสาร โดยที่จำเลยทั้งสองประกอบกิจการรับจ้างขนส่งคนโดยสารและขนส่งสินค้า ย่อมถือได้ว่าจำเลยทั้งสองซื้อน้ำมันเชื้อเพลิงจากโจทก์เพื่อใช้ในกิจการของจำเลยทั้งสอง อันเป็นกรณีที่ต้องด้วยข้อยกเว้น ไม่อยู่ในกำหนดอายุความ 2 ปี ตามความในตอนท้ายของ ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (1) แต่มีอายุความ 5 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/33 (5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3314/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความหนี้ซื้อขายน้ำมันเชื้อเพลิงสำหรับกิจการขนส่ง: ข้อยกเว้น 2 ปี ใช้ไม่ได้, อายุความ 5 ปี
จำเลยซื้อน้ำมันเชื้อเพลิงจากโจทก์ไปใช้กับรถยนต์โดยสารโดยที่จำเลยประกอบกิจการรับจ้างขนส่งคนโดยสารและขนส่งสินค้า ถือได้ว่าจำเลยซื้อน้ำมันเชื้อเพลิงจากโจทก์เพื่อใช้ในกิจการของจำเลยต้องด้วยข้อยกเว้นไม่อยู่ในกำหนดอายุความสองปีตามความในตอนท้ายของ ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (1) โดยไม่ต้องคำนึงว่าจำเลยซื้อน้ำมันเชื้อเพลิงจากโจทก์เพื่อนำไปจำหน่ายต่อหรือนำไปใช้ผลิตสินค้าเพื่อจำหน่ายหรือไม่ สิทธิเรียกร้องของโจทก์จึงมีกำหนดอายุความห้าปีตามมาตรา 193/33 (5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2983/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องร้องหนี้สัญญาเลตเตอร์ออฟเครดิต/ทรัสต์รีซีท และการคิดดอกเบี้ยเกินอัตราประกาศ
โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 1 รับผิดตามสัญญาขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิต ซึ่งเป็นกรณีที่โจทก์ต้องผูกพันโดยตรงต่อผู้ขายสินค้าซึ่งเป็นผู้รับประโยชน์ตามเลตเตอร์ออฟเครดิต โจทก์จึงมิใช่ผู้ประกอบธุรกิจรับทำการงานต่าง ๆ ให้จำเลยที่ 1 แล้วเรียกเอาสินจ้างอันจะพึงได้รับรวมทั้งเงินที่โจทก์ได้ออกทดรองไปก่อนจากจำเลยที่ 1 ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (7) การฟ้องร้องให้รับผิดตามสัญญาขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตไม่มีกฎหมายบัญญัติกำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปี ตามมาตรา 193/30
จำเลยที่ 1 ทำสัญญาขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตไว้กับโจทก์ แต่จำเลยที่ 1 ไม่สามารถชำระหนี้ให้แก่โจทก์ตามสัญญาขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิต จึงได้ทำสัญญาทรัสต์รีซีทกับโจทก์เพื่อขอรับเอกสารจากโจทก์ไปขอรับสินค้าก่อนแล้วจะชำระเงินแก่โจทก์ภายหลัง ต่อมาจำเลยที่ 1 รับสินค้าไปแล้วไม่ชำระเงินแก่โจทก์ให้ครบถ้วนตามกำหนด หนี้ตามสัญญาทรัสต์รีซีทจึงมิใช่เป็นหนี้ที่ผู้ประกอบธุรกิจในการดูแลกิจการของผู้อื่นหรือรับทำการงานต่าง ๆ เรียกเอาสินจ้างอันจะพึงได้รับจากการนั้น รวมทั้งเงินที่ได้ออกทดรองไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (7) เมื่อไม่มีกฎหมายบัญญัติกำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปี ตามมาตรา 193/30
ป.พ.พ. มาตรา 193/33 วรรคหนึ่ง หมายความว่าดอกเบี้ยที่ค้างชำระนั้นคงขาดอายุความเฉพาะส่วนที่เกิน 5 ปี นับแต่วันฟ้องย้อนหลังไป ดอกเบี้ยที่ค้างชำระส่วนที่ยังไม่เกิน 5 ปี ไม่ขาดอายุความ โจทก์จึงมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยที่ค้างชำระนับแต่วันฟ้องย้อนหลังลงไปได้ไม่เกิน 5 ปี
ธนาคารโจทก์ประกาศเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของโจทก์เป็นระยะ ๆ ดังน้นหากนับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปโจทก์ประกาศอัตราดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมในอัตราที่ต่ำกว่าร้อยละ 13.50 ต่อปี จะทำให้การคิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 13.50 ต่อปี เป็นการคิดดอกเบี้ยที่เกินกว่าประกาศของโจทก์ในช่วงนั้นได้ ศาลฎีกาจึงกำหนดให้จำเลยชำระดอกเบี้ยแก่โจทก์ในช่วงหลังวันฟ้องในอัตราลอยตัวคือ ในอัตราเงินให้กู้ยืมทุกประเภทที่ผิดนัดชำระหนี้ ทั้งนี้เพื่อให้เป็นไปตามภาวะตลาดการเงินตามประกาศของโจทก์และประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งออกตามความในมาตรา 14 แห่ง พ.ร.บ.การธนาคารพาณิชย์ พ.ศ.2505 ปัญหาข้อนี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขได้ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 45 ประกอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 246 และมาตรา 142 (5)
จำเลยที่ 1 ทำสัญญาขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตไว้กับโจทก์ แต่จำเลยที่ 1 ไม่สามารถชำระหนี้ให้แก่โจทก์ตามสัญญาขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิต จึงได้ทำสัญญาทรัสต์รีซีทกับโจทก์เพื่อขอรับเอกสารจากโจทก์ไปขอรับสินค้าก่อนแล้วจะชำระเงินแก่โจทก์ภายหลัง ต่อมาจำเลยที่ 1 รับสินค้าไปแล้วไม่ชำระเงินแก่โจทก์ให้ครบถ้วนตามกำหนด หนี้ตามสัญญาทรัสต์รีซีทจึงมิใช่เป็นหนี้ที่ผู้ประกอบธุรกิจในการดูแลกิจการของผู้อื่นหรือรับทำการงานต่าง ๆ เรียกเอาสินจ้างอันจะพึงได้รับจากการนั้น รวมทั้งเงินที่ได้ออกทดรองไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (7) เมื่อไม่มีกฎหมายบัญญัติกำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปี ตามมาตรา 193/30
ป.พ.พ. มาตรา 193/33 วรรคหนึ่ง หมายความว่าดอกเบี้ยที่ค้างชำระนั้นคงขาดอายุความเฉพาะส่วนที่เกิน 5 ปี นับแต่วันฟ้องย้อนหลังไป ดอกเบี้ยที่ค้างชำระส่วนที่ยังไม่เกิน 5 ปี ไม่ขาดอายุความ โจทก์จึงมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยที่ค้างชำระนับแต่วันฟ้องย้อนหลังลงไปได้ไม่เกิน 5 ปี
ธนาคารโจทก์ประกาศเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของโจทก์เป็นระยะ ๆ ดังน้นหากนับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปโจทก์ประกาศอัตราดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมในอัตราที่ต่ำกว่าร้อยละ 13.50 ต่อปี จะทำให้การคิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 13.50 ต่อปี เป็นการคิดดอกเบี้ยที่เกินกว่าประกาศของโจทก์ในช่วงนั้นได้ ศาลฎีกาจึงกำหนดให้จำเลยชำระดอกเบี้ยแก่โจทก์ในช่วงหลังวันฟ้องในอัตราลอยตัวคือ ในอัตราเงินให้กู้ยืมทุกประเภทที่ผิดนัดชำระหนี้ ทั้งนี้เพื่อให้เป็นไปตามภาวะตลาดการเงินตามประกาศของโจทก์และประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งออกตามความในมาตรา 14 แห่ง พ.ร.บ.การธนาคารพาณิชย์ พ.ศ.2505 ปัญหาข้อนี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขได้ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 45 ประกอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 246 และมาตรา 142 (5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1395/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สถานะนิติบุคคลโรงเรียนเอกชน, อายุความค่าจ้าง: ศาลฎีกาพิพากษาจำกัดจำนวนค่าจ้างค้างจ่ายตามอายุความ
พ.ร.บ. การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 มาตรา 44 ประกอบด้วยมาตรา 18 (2) บัญญัติให้โรงเรียนเอกชนเป็นนิติบุคคล ซึ่งบทบัญญัตินี้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 20 สิงหาคม 2542 แม้ตามบทเฉพาะกาลตามมาตรา 71 จะให้จำเลยซึ่งเป็นสถานศึกษาที่ยังไม่ได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลที่มีอยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้มีผลใช้บังคับให้คงมีฐานะและอำนาจหน้าที่เช่นเดิมต่อไปจนกว่าจะได้มีการจัดระบบการบริหารและการจัดการศึกษาตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้ ซึ่งต้องไม่เกินสามปีนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ปรากฏว่าครบสามปีเมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2545 จำเลยย่อมมีสภาพเป็นนิติบุคคลโดยไม่จำต้องไปจดทะเบียนต่อเจ้าพนักงานทะเบียน โจทก์ฟ้องจำเลยเมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2546 หลังจากจำเลยมีฐานะเป็นนิติบุคคลแล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
โจทก์เป็นครูลูกจ้างจำเลยฟ้องเรียกเอาค่าจ้างจากจำเลยที่จ่ายขาดตามสัญญาจ้างแรงงาน ย่อมมีกำหนดอายุความ 2 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (9) โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2546 ดังนั้น คำฟ้องที่เรียกเอาค่าจ้างที่ถึงกำหนดจ่ายตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2542 ถึงเดือนมิถุนายน 2544 ย่อมเกิน 2 ปี จึงขาดอายุความ คงเรียกค่าจ้างค้างจ่ายได้เดือนละ 1,360 บาท ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2544 ถึงเดือนสิงหาคม 2545 เป็นค่าจ้างค้างจ่ายจำนวน 14 เดือน เป็นเงิน 19,040 บาท
โจทก์เป็นครูลูกจ้างจำเลยฟ้องเรียกเอาค่าจ้างจากจำเลยที่จ่ายขาดตามสัญญาจ้างแรงงาน ย่อมมีกำหนดอายุความ 2 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (9) โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2546 ดังนั้น คำฟ้องที่เรียกเอาค่าจ้างที่ถึงกำหนดจ่ายตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2542 ถึงเดือนมิถุนายน 2544 ย่อมเกิน 2 ปี จึงขาดอายุความ คงเรียกค่าจ้างค้างจ่ายได้เดือนละ 1,360 บาท ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2544 ถึงเดือนสิงหาคม 2545 เป็นค่าจ้างค้างจ่ายจำนวน 14 เดือน เป็นเงิน 19,040 บาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8712/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความค่าเบี้ยเลี้ยง/ค่าที่พัก: ลูกจ้างฟ้องนายจ้างใช้มาตรา 193/34(9) ไม่ใช่ 193/33(4)
บทบัญญัติมาตรา 193/33 และมาตรา 193/34 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ แม้จะเป็นอายุความเรียกร้องเงินเดือนเหมือนกัน แต่มาตรา 193/34 (9) เป็นกรณีที่ลูกจ้างเรียกเอาเงินที่ได้จากการทำงานตามสัญญาจ้างแรงงานจากนายจ้าง หรือนายจ้างเรียกเอาเงินที่นายจ้างออกทดรองไปคืนจากลูกจ้าง ส่วนมาตรา 193/33 (4) นั้นเป็นกรณีที่ผู้อื่นที่มิใช่ลูกจ้างเรียกเอาเงินเดือนหรือเงินประเภทต่างๆ จากผู้ที่มีหน้าที่ต้องจ่าย ซึ่งมีกำหนดการจ่ายเป็นระยะเวลา การที่โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างฟ้องเรียกให้จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างจ่ายค่าเบี้ยเลี้ยงและค่าที่พักอันเป็นสิทธิตามสัญญาจ้างแรงงานจึงมีอายุความ 2 ปี ตามมาตรา 193/34 (9) มิใช่ 5 ปี ตามมาตรา 193/33 (4)