พบผลลัพธ์ทั้งหมด 115 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1584/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความหนี้บัตรเครดิต: สัญญาไม่ใช่บัญชีเดินสะพัด แต่เป็นการทดรองจ่ายตามธุรกิจบัตรเครดิต มีอายุความ 2 ปี
ตามคำขอเปิดบัญชีเงินฝากกระแสรายวันและสัญญาเงินกู้เบิกเงินเกินบัญชีเฉพาะสินเชื่อธนวัฏบัตรเครดิต ระบุไว้ชัดเจนว่า มีความมุ่งหมายเพื่อการชำระค่าสินค้าและบริการต่างๆ อันเกิดจากใช้บัตรเครดิต รวมทั้งเพื่อถอนเงินสดจากบัญชีเงินฝากผ่านเครื่องถอนเงินอัตโนมัติ ซึ่งล้วนเป็นธุรกรรมอันเกี่ยวเนื่องกับการใช้บัตรเครดิตทั้งสิ้น การเปิดบัญชีกระแสรายวันจึงมิใช้เป็นการเปิดเพื่อให้มีการเบิกถอนเงินตามปกติ หากแต่เป็นบัญชีกระแสรายวันที่ใช้เพื่อให้จำเลยชำระหนี้อันเกิดจากการใช้บัตรเครดิตแต่เพียงฝ่ายเดียวโดยเฉพาะ มิใช่กรณีที่โจทก์จำเลยตกลงกันโดยให้ตัดทอนบัญชีหนี้อันเกิดขึ้นแต่กิจการในระหว่างโจทก์จำเลยนั้นหักกลบลบกัน และคงชำระแต่ส่วนที่เป็นจำนวนคงเหลืออันเป็นลักษณะสำคัญของสัญญาบัญชีเดินสะพัดตาม ป.พ.พ. มาตรา 856 หนี้ที่เกิดขึ้นจึงหาใช่หนี้เงินกู้เบิกเงินเกินบัญชีหรือหนี้ตามสัญญาบัญชีเดินสะพัดไม่ การที่โจทก์ได้ชำระเงินให้แก่เจ้าหนี้ของจำเลยไปก่อน หรือการที่โจทก์ยอมให้จำเลยนำบัตรเครดิตไปถอนเงินสดจากเครื่องฝากถอนเงินอัตโนมัติแล้วจึงเรียกเก็บจากจำเลยในภายหลังย่อมถือว่าได้ว่าโจทก์เป็นผู้ประกอบกิจการในการรับทำการงานต่างๆ เรียกเอาเงินที่ได้ออกทดรองไปก่อนตามลักษณะของการประกอบธุรกิจประเภทบัตรเครดิต จึงมีอายุความ 2 ปี ตามมาตรา 193/34 (7)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7563/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความบัตรเครดิต: การรับสภาพหนี้และการผ่อนผันสิทธิเรียกร้อง
จำเลยนำบัตรซิตี้แบงก์วีซ่าและบัตรซิตี้แบงก์มาสเตอร์การ์ดไปใช้ครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 1 เมษายน 2541 และวันที่ 26 พฤศจิกายน 2540 โจทก์ส่งใบแจ้งยอดบัญชีกำหนดให้ชำระเงินคืนโจทก์ภายในวันที่ 25 พฤษภาคม และวันที่ 2 มกราคม 2541 ตามลำดับเมื่อจำเลยไม่ชำระหนี้ภายในเวลาที่โจทก์กำหนด โจทก์ย่อมใช้บังคับสิทธิเรียกร้องให้จำเลยชำระได้เมื่อครบกำหนดตามใบแจ้งยอดบัญชีและเริ่มนับอายุความแห่งสิทธินับแต่นั้นมา ต่อมาจำเลยชำระหนี้บางส่วนครั้งสุดท้ายตามบัตรซิตี้แบงก์วีซ่าและซิตี้แบงก์มาสเตอร์การ์ดเมื่อวันที่ 30 กันยายน 2541 และวันที่ 6 ตุลาคม 2541 อันเป็นการรับสภาพหนี้ต่อโจทก์ ทำให้อายุความสะดุดหยุดลงและเริ่มนับอายุความใหม่ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/14 (1) และมาตรา 193/15 โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม 2543 จึงพ้นกำหนด 2 ปี นับแต่วันที่เริ่มนับอายุความใหม่ ฟ้องโจทก์จึงขาดอายุความ แม้โจทก์จะอ้างว่าโจทก์แจ้งยอดบัญชีให้จำเลยชำระตามบัตรซิตี้แบงก์วีซ่าและซิตี้แบงก์มาสเตอร์การ์ดครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2542 และวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2542 ตามลำดับก็ตามแต่เมื่อหลังจากที่โจทก์อาจบังคับสิทธิเรียกร้องให้จำเลยชำระหนี้ได้แล้ว จำเลยไม่เคยใช้บัตรเครดิตของโจทก์และโจทก์ก็มิได้ออกเงินทดรองให้แก่สถานประกอบกิจการต่าง ๆ แทนจำเลยอีก ใบแจ้งยอดหนี้ที่โจทก์ส่งให้จำเลยแต่ละเดือนต่อมาล้วนเป็นการคิดบวกดอกเบี้ยที่จำเลยผิดนัดและเบี้ยปรับที่ชำระล่าช้าเข้ากับต้นเงินที่จำเลยค้างชำระแก่โจทก์เท่านั้น การที่โจทก์ไม่ใช้สิทธิเรียกร้องเอาแก่จำเลยเมื่ออาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้จึงเป็นกรณีที่โจทก์ผ่อนผันไม่ใช้สิทธิเรียกร้องเอาแก่จำเลยเอง มิใช่โจทก์ไม่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้ อายุความคดีจึงหาได้เริ่มนับตั้งแต่วันที่โจทก์เรียกร้องให้จำเลยชำระหนี้ที่ค้างทั้งหมดตามใบแจ้งยอดหนี้ครั้งสุดท้ายโดยไม่ผ่อนผันให้แก่จำเลยอีกต่อไปไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1276/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความค่าจ้าง: ค่าจ้างลูกจ้างมีอายุความ 2 ปี ไม่ใช่ 5 ปี
โจทก์ฟ้องว่าโจทก์เป็นลูกจ้างของบริษัทจำเลยตำแหน่งเจ้าหน้าที่ฝ่ายบัญชี จำเลยค้างชำระค่าจ้าง ขอให้จำเลยชำระค่าจ้างให้โจทก์ เป็นกรณีที่ลูกจ้างฟ้องเรียกเอาค่าจ้างตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/34(9) อันมีอายุความ 2 ปี มิใช่เป็นการฟ้องเรียกเอาเงินเดือนที่มีอายุความ 5 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 193/33 เพราะคำว่า "เงินเดือน" ตามบทมาตราดังกล่าวหมายถึงเงินเดือนของข้าราชการหรือเงินเดือนตามพระราชบัญญัติเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่ง พ.ศ. 2538
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10855/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความหนี้จากการซื้อขายและการรับสภาพหนี้: หนังสือรับสภาพหนี้ไม่ทำให้หนี้เดิมไม่ขาดอายุความ แต่สร้างอายุความใหม่
โจทก์ฟ้องว่า เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2538 จำเลยทำหนังสือรับสภาพหนี้ว่าจำเลยค้างชำระค่าไม้แปรรูปที่ซื้อจากโจทก์ที่ 1 จำนวน 600,000 บาท และค้างชำระค่าวัสดุก่อสร้างที่ซื้อจากโจทก์ที่ 2 จำนวน 400,000 บาท จำเลยจะชำระเงินดังกล่าวให้โจทก์ทั้งสองเสร็จสิ้นภายในวันที่ 31 พฤษภาคม 2539 เมื่อถึงกำหนดจำเลยเพิกเฉย ขอให้บังคับจำเลยชำระเงิน ดังนี้ คำฟ้องโจทก์ทั้งสองได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับ คือจำเลยเป็นหนี้โจทก์ทั้งสอง ขอให้บังคับจำเลยชำระหนี้ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นคือหลักฐานหนังสือรับสภาพหนี้จึงชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 วรรคสอง แล้ว ข้อที่ว่าจำเลยซื้อสินค้าและค้างชำระตั้งแต่เมื่อใดเป็นเงินเท่าใด ส่งมอบสินค้าแก่ผู้ใด ล้วนเป็นรายละเอียดที่คู่ความสามารถนำสืบในชั้นพิจารณาได้ คำฟ้องโจทก์ทั้งสองจึงไม่เคลือบคลุม
โจทก์เป็นผู้ประกอบการค้า จำเลยสั่งซื้อไม้แปรรูปและวัสดุก่อสร้างจากโจทก์ตั้งแต่ปลายปี 2535 ถึงต้นปี 2536 จำเลยไม่ชำระค่าสินค้า ซึ่งอายุความให้ชำระหนี้ค่าของที่ได้ส่งมอบตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/34 มีกำหนด2 ปี และอายุความให้เริ่มนับแต่ขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไปตามมาตรา 193/12 คือนับตั้งแต่ปลายปี 2535 ถึงต้นปี 2536 ซึ่งเป็นเวลาส่งมอบสินค้า จำเลยทำบันทึกข้อตกลงยอมรับชำระหนี้แก่โจทก์ลงวันที่ 16 ธันวาคม 2538 เกินกำหนด2 ปี นับตั้งแต่โจทก์ส่งมอบสินค้าให้จำเลย จึงไม่เป็นหนังสือรับสภาพหนี้ ซึ่งจะเป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลงตามมาตรา 193/14 แต่เป็นหลักฐานที่จำเลยรับสภาพความรับผิดตามมาตรา 193/28 วรรคสอง ซึ่งมีผลให้สิทธิเรียกร้องที่เกิดขึ้นจากการที่จำเลยรับสภาพความรับผิดมีกำหนดอายุความ 2 ปี นับตั้งแต่วันทำบันทึกข้อตกลงตามมาตรา 193/35 โจทก์ฟ้องคดีเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2539 จึงไม่ขาดอายุความ
โจทก์เป็นผู้ประกอบการค้า จำเลยสั่งซื้อไม้แปรรูปและวัสดุก่อสร้างจากโจทก์ตั้งแต่ปลายปี 2535 ถึงต้นปี 2536 จำเลยไม่ชำระค่าสินค้า ซึ่งอายุความให้ชำระหนี้ค่าของที่ได้ส่งมอบตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/34 มีกำหนด2 ปี และอายุความให้เริ่มนับแต่ขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไปตามมาตรา 193/12 คือนับตั้งแต่ปลายปี 2535 ถึงต้นปี 2536 ซึ่งเป็นเวลาส่งมอบสินค้า จำเลยทำบันทึกข้อตกลงยอมรับชำระหนี้แก่โจทก์ลงวันที่ 16 ธันวาคม 2538 เกินกำหนด2 ปี นับตั้งแต่โจทก์ส่งมอบสินค้าให้จำเลย จึงไม่เป็นหนังสือรับสภาพหนี้ ซึ่งจะเป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลงตามมาตรา 193/14 แต่เป็นหลักฐานที่จำเลยรับสภาพความรับผิดตามมาตรา 193/28 วรรคสอง ซึ่งมีผลให้สิทธิเรียกร้องที่เกิดขึ้นจากการที่จำเลยรับสภาพความรับผิดมีกำหนดอายุความ 2 ปี นับตั้งแต่วันทำบันทึกข้อตกลงตามมาตรา 193/35 โจทก์ฟ้องคดีเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2539 จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5203/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับมอบงานที่มีข้อบกพร่องและสิทธิเรียกร้องค่าจ้าง
วันที่โจทก์ส่งมอบงานอาจไม่ใช่วันที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้ เพราะงานที่ส่งมอบอาจมีข้อบกพร่องอันจะต้องแก้ไขเสียก่อน โจทก์จึงอาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้นับแต่วันที่จำเลยรับมอบงานเป็นต้นไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3602/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความหนี้ค่าบริการโทรศัพท์: สิทธิเรียกร้องเกิดขึ้นเมื่อใช้บริการ, หากเกิน 2 ปี คดีขาดอายุความ
สิทธิเรียกร้องของโจทก์ในการให้จำเลยชำระค่าเช่าให้บริการวิทยุคมนาคมระบบเซลลูล่าเป็นหนี้อันเกิดจากการใช้สินค้าและบริการของผู้ประกอบการหรือผู้ให้บริการซึ่งหากมิได้กำหนดเวลาการชำระหนี้ไว้ชัดเจน ถือได้ว่าเป็นหนี้ที่ไม่มีกำหนดระยะเวลาชำระหนี้ ซึ่งเจ้าหนี้ย่อมมีสิทธิเรียกร้องให้ชำระหนี้ได้โดยพลันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 203 เมื่อปรากฏว่าสัญญาเช่าใช้บริการโทรศัพท์ระหว่างโจทก์กับจำเลยไม่มีกำหนดระยะเวลาแน่นอนเพื่อให้จำเลยชำระหนี้ที่เกิดจากการใช้บริการโทรศัพท์ แม้ในเงื่อนไขของสัญญาดังกล่าวจะระบุให้จำเลยผู้ใช้บริการนำเงินค่าใช้บริการไปชำระให้แก่โจทก์ผู้ให้บริการภายในระยะเวลาที่ระบุไว้ในใบแจ้งหนี้ข้อความดังกล่าวก็เป็นเพียงเงื่อนไขของการบอกกล่าวเพื่อให้ชำระหนี้ตามความหมายของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 387 เท่านั้น ฉะนั้น สิทธิเรียกร้องของโจทก์ที่จะเรียกร้องให้จำเลยชำระหนี้ค่าใช้บริการจึงเกิดขึ้นตั้งแต่จำเลยได้ใช้บริการโทรศัพท์ของโจทก์ในแต่ละครั้ง เมื่อปรากฏตามใบแจ้งหนี้ว่าช่วงระยะเวลาที่จำเลยใช้บริการโทรศัพท์จนถึงวันฟ้องเกินกว่า 2 ปี คดีของโจทก์จึงขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/34(7)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3602/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้ไม่มีกำหนดระยะเวลาชำระ อายุความ 2 ปี: สิทธิเรียกร้องค่าบริการโทรศัพท์ขาดอายุความเมื่อเกิน 2 ปีนับจากใช้บริการ
สิทธิเรียกร้องของโจทก์ในหนี้อันเกิดจากการใช้สินค้าและบริการของผู้ประกอบการค้าหรือผู้ให้บริการ มิได้กำหนดเวลาการชำระหนี้ไว้ชัดเจน ถือได้ว่าเป็นหนี้ที่ไม่มีกำหนดระยะเวลาชำระหนี้เจ้าหนี้ย่อมมีสิทธิเรียกร้องให้ชำระหนี้ได้โดยพลันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 203
สัญญาเช่าใช้บริการโทรศัพท์ระหว่างโจทก์จำเลย ไม่มีกำหนดระยะเวลาแน่นอนเพื่อให้จำเลยชำระหนี้ที่เกิดจากการใช้บริการโทรศัพท์ แม้ตามเงื่อนไขของสัญญาดังกล่าวระบุให้ผู้ใช้บริการนำเงินค่าใช้บริการไปชำระให้แก่ผู้ให้บริการภายในระยะเวลาที่ระบุไว้ในใบแจ้งหนี้ ก็เป็นเพียงเงื่อนไขของการบอกกล่าวเพื่อให้ชำระหนี้ตามความหมายของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 387 เท่านั้น ฉะนั้น สิทธิเรียกร้องของโจทก์ที่จะเรียกร้องให้จำเลยชำระหนี้ค่าใช้บริการจึงเกิดขึ้นตั้งแต่จำเลยได้ใช้บริการโทรศัพท์ของโจทก์ในแต่ละครั้ง เมื่อช่วงระยะเวลาที่จำเลยใช้บริการโทรศัพท์จนถึงวันฟ้องเกินกว่า2 ปี คดีของโจทก์จึงขาดอายุความ
สัญญาเช่าใช้บริการโทรศัพท์ระหว่างโจทก์จำเลย ไม่มีกำหนดระยะเวลาแน่นอนเพื่อให้จำเลยชำระหนี้ที่เกิดจากการใช้บริการโทรศัพท์ แม้ตามเงื่อนไขของสัญญาดังกล่าวระบุให้ผู้ใช้บริการนำเงินค่าใช้บริการไปชำระให้แก่ผู้ให้บริการภายในระยะเวลาที่ระบุไว้ในใบแจ้งหนี้ ก็เป็นเพียงเงื่อนไขของการบอกกล่าวเพื่อให้ชำระหนี้ตามความหมายของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 387 เท่านั้น ฉะนั้น สิทธิเรียกร้องของโจทก์ที่จะเรียกร้องให้จำเลยชำระหนี้ค่าใช้บริการจึงเกิดขึ้นตั้งแต่จำเลยได้ใช้บริการโทรศัพท์ของโจทก์ในแต่ละครั้ง เมื่อช่วงระยะเวลาที่จำเลยใช้บริการโทรศัพท์จนถึงวันฟ้องเกินกว่า2 ปี คดีของโจทก์จึงขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1834/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความค่าไฟฟ้า: ไม่ใช่เงินทดรอง แต่เป็นค่าชำระตามสัญญาใช้ไฟฟ้า
โจทก์อนุญาตให้จำเลยใช้ไฟฟ้าจากมิเตอร์วัดกระแสไฟฟ้าของโจทก์ โดยจำเลยเป็นผู้รับผิดชอบในการชำระค่าไฟฟ้าตามจำนวนที่การไฟฟ้านครหลวงเรียกเก็บจากมิเตอร์ดังกล่าว ซึ่งเห็นได้ชัดว่าโจทก์เป็นคู่สัญญากับการไฟฟ้านครหลวงโดยตรง เมื่อจำเลยขออนุญาตใช้ไฟฟ้าจากมิเตอร์ดังกล่าว จึงตกลงชำระค่าไฟฟ้าตามมิเตอร์ดังกล่าวแทนโจทก์แม้จำเลยไม่ชำระโจทก์ก็ต้องชำระอยู่แล้ว จึงมิใช่เป็นเรื่องที่โจทก์ออกเงินค่าไฟฟ้าแทนจำเลยอันเป็นเงินทดรองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/34(7)กรณีดังกล่าวมิได้มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะจึงต้องใช้อายุความทั่วไปคือ 10 ปี นับแต่วันที่โจทก์ได้ชำระค่าไฟฟ้าไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1640/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความการซื้อขายสินค้าลักษณะทางการค้า, ค่าฤชาธรรมเนียม, ศาลมีอำนาจใช้ดุลพินิจ
บริษัทโจทก์ประกอบการค้าด้วยการผลิตและจำหน่ายเคมีภัณฑ์ทางการเกษตรจำเลยประกอบพาณิชยกิจโดยสั่งซื้อสินค้าจากโจทก์นำไปจำหน่ายต่อให้ลูกค้าอีกต่อหนึ่งซึ่งต่อมาจำเลยค้างชำระค่าสินค้าแก่โจทก์ การซื้อขายดังกล่าวมีลักษณะเป็นการที่ได้ทำเพื่อกิจการของฝ่ายลูกหนี้นั้นเอง เข้าข้อยกเว้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 193/34(1) ตอนท้าย จึงมีอายุความ 5 ปี ตามมาตรา 193/33(5)
ความรับผิดในค่าฤชาธรรมเนียมตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 161 กำหนดให้ตกอยู่แก่คู่ความฝ่ายที่แพ้คดี แต่บทบัญญัติมาตราดังกล่าวก็ให้อำนาจศาลที่จะพิพากษาให้คู่ความฝ่ายที่ชนะคดีเป็นผู้เสียค่าฤชาธรรมเนียมก็ได้ตามที่ศาลจะใช้ดุลพินิจโดยคำนึงถึงเหตุสมควรและความสุจริตในการสู้ความหรือการดำเนินคดีของคู่ความทั้งปวง ดังนั้น เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 4 พิพากษากลับคำพิพากษาของศาลชั้นต้นที่พิพากษาให้โจทก์แพ้คดีเป็นให้โจทก์ชนะคดีในชั้นอุทธรณ์ มีผลเท่ากับโจทก์ชนะคดีทั้งสองศาล ศาลอุทธรณ์ภาค 4 จึงมีอำนาจกำหนดให้จำเลยใช้ค่าฤชาธรรมเนียมในศาลชั้นต้นแทนโจทก์ได้ด้วย ซึ่งเป็นไปตามเจตนารมณ์ของกฎหมายและไม่เป็นการเกินคำขอ เพราะโจทก์มีคำขอท้ายฟ้องให้จำเลยใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์อยู่แล้ว
ความรับผิดในค่าฤชาธรรมเนียมตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 161 กำหนดให้ตกอยู่แก่คู่ความฝ่ายที่แพ้คดี แต่บทบัญญัติมาตราดังกล่าวก็ให้อำนาจศาลที่จะพิพากษาให้คู่ความฝ่ายที่ชนะคดีเป็นผู้เสียค่าฤชาธรรมเนียมก็ได้ตามที่ศาลจะใช้ดุลพินิจโดยคำนึงถึงเหตุสมควรและความสุจริตในการสู้ความหรือการดำเนินคดีของคู่ความทั้งปวง ดังนั้น เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 4 พิพากษากลับคำพิพากษาของศาลชั้นต้นที่พิพากษาให้โจทก์แพ้คดีเป็นให้โจทก์ชนะคดีในชั้นอุทธรณ์ มีผลเท่ากับโจทก์ชนะคดีทั้งสองศาล ศาลอุทธรณ์ภาค 4 จึงมีอำนาจกำหนดให้จำเลยใช้ค่าฤชาธรรมเนียมในศาลชั้นต้นแทนโจทก์ได้ด้วย ซึ่งเป็นไปตามเจตนารมณ์ของกฎหมายและไม่เป็นการเกินคำขอ เพราะโจทก์มีคำขอท้ายฟ้องให้จำเลยใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์อยู่แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1640/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความการซื้อขายสินค้าและการบังคับค่าฤชาธรรมเนียม
โจทก์ประกอบการค้าด้วยการผลิตและจำหน่ายเคมีภัณฑ์ทางการเกษตร จำเลยประกอบพาณิชยกิจโดยสั่งซื้อสินค้าจากโจทก์นำไปจำหน่ายต่อให้ลูกค้าอีกต่อหนึ่งการซื้อขายจึงมีลักษณะเป็นการที่ได้ทำเพื่อกิจการของฝ่ายลูกหนี้นั้นเอง เข้าข้อยกเว้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/34(1) ตอนท้าย จึงมีอายุความ5 ปี ตามมาตรา 193/33(5)
ความรับผิดในค่าฤชาธรรมเนียมตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 161 กำหนดให้ตกอยู่แก่คู่ความฝ่ายที่แพ้คดี แต่บทบัญญัติดังกล่าวก็ให้อำนาจศาลที่จะพิพากษาให้คู่ความฝ่ายที่ชนะคดีเป็นผู้เสียค่าฤชาธรรมเนียมได้ ตามที่ศาลจะใช้ดุลพินิจโดยคำนึงถึงเหตุสมควรและความสุจริตในการสู้ความหรือการดำเนินคดีของคู่ความทั้งปวง เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษากลับคำพิพากษาของศาลชั้นต้นที่พิพากษาให้โจทก์แพ้คดีเป็นให้โจทก์ชนะคดีในชั้นอุทธรณ์ มีผลเท่ากับโจทก์ชนะคดีทั้งสองศาลศาลอุทธรณ์จึงมีอำนาจกำหนดให้จำเลยใช้ค่าฤชาธรรมเนียมในศาลชั้นต้นแทนโจทก์ได้ด้วย และไม่เป็นการเกินคำขอ เพราะโจทก์มีคำขอท้ายฟ้องให้จำเลยใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์อยู่แล้ว
ความรับผิดในค่าฤชาธรรมเนียมตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 161 กำหนดให้ตกอยู่แก่คู่ความฝ่ายที่แพ้คดี แต่บทบัญญัติดังกล่าวก็ให้อำนาจศาลที่จะพิพากษาให้คู่ความฝ่ายที่ชนะคดีเป็นผู้เสียค่าฤชาธรรมเนียมได้ ตามที่ศาลจะใช้ดุลพินิจโดยคำนึงถึงเหตุสมควรและความสุจริตในการสู้ความหรือการดำเนินคดีของคู่ความทั้งปวง เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษากลับคำพิพากษาของศาลชั้นต้นที่พิพากษาให้โจทก์แพ้คดีเป็นให้โจทก์ชนะคดีในชั้นอุทธรณ์ มีผลเท่ากับโจทก์ชนะคดีทั้งสองศาลศาลอุทธรณ์จึงมีอำนาจกำหนดให้จำเลยใช้ค่าฤชาธรรมเนียมในศาลชั้นต้นแทนโจทก์ได้ด้วย และไม่เป็นการเกินคำขอ เพราะโจทก์มีคำขอท้ายฟ้องให้จำเลยใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์อยู่แล้ว