พบผลลัพธ์ทั้งหมด 632 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2107/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองที่ดินสาธารณประโยชน์ก่อนมีกฎหมายใหม่ ทำให้ไม่ความผิดฐานบุกรุก
ที่พิพาทที่จำเลยทำนาเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินที่สาธารณประโยชน์ อย่างไรก็ตามแม้ที่ดินพิพาทที่จำเลยเข้าไปยึดถือครอบครองจะเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินที่ประชาชนใช้ร่วมกัน โดยจำเลยมิได้มีสิทธิครอบครองและไม่ปรากฏว่า จำเลยได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ แต่เมื่อจำเลยเข้าไปยึดถือครอบครองที่ดินพิพาทเมื่อวันที่ 1 มกราคม 2510 ถึง 15 กรกฎาคม 2545 จึงเป็นการเข้าไปยึดถือครอบครองที่ดินพิพาทก่อนวันที่ 4 มีนาคม 2515 อันเป็นวันที่ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 96 ลงวันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2515 ที่แก้ไขเพิ่มเติม ป. ที่ดิน มาตรา 108 ทวิ ใช้บังคับ ทั้งการครอบครองที่ดินพิพาทของจำเลยนับแต่วันที่ 1 มกราคม 2510 ตลอดมาก็เป็นการครอบครองสืบเนื่องมาจากการเข้ายึดถือครอบครองในครั้งแรก เมื่อมาตรา 108 ทวิ วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า นับตั้งแต่วันที่ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับนี้ใช้บังคับผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 9 ต้องระวางโทษจำคุก ฯลฯ เช่นนี้การกระทำของจำเลยจึงไม่อาจมีความผิดฐานเข้าไปยึดถือครอบครองที่ดินอันเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินตาม ป. ที่ดิน มาตรา 9, 108 ทวิ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2107/2553 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองที่ดินสาธารณสมบัติโดยไม่ชอบ และความผิดฐานขัดคำสั่งเจ้าพนักงาน ประเด็นการใช้บังคับของกฎหมายที่ดิน
จำเลยเข้าไปยึดถือครอบครองที่ดินพิพาทซึ่งเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินที่ประชาชนใช้ร่วมกัน แต่โจทก์บรรยายฟ้องว่าเมื่อวันที่ 1 มกราคม 2510 ถึงวันที่ 15 กรกฎาคม 2545 จำเลยเข้าไปยึดถือครอบครองที่ดินพิพาท ฉะนั้นตามคำฟ้องจำเลยจึงเข้าไปยึดถือครอบครองที่ดินพิพาทก่อนวันที่ 4 มีนาคม 2515 อันเป็นวันที่ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 96 ลงวันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2515 ที่แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 108 ทวิ ใช้บังคับทั้งการครอบครองที่ดินพิพาทนับแต่วันที่ 1 มกราคม 2510 ตลอดมาก็เป็นการครอบครองสืบเนื่องจากการเข้ายึดถือครอบครองในครั้งแรกเมื่อมาตรา 108 ทวิ วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า นับตั้งแต่วันที่ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับนี้ใช้บังคับผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 9 ต้องระวางโทษจำคุก ฯลฯ เช่นนี้ จำเลยจึงไม่อาจมีความผิดฐานเข้าไปยึดถือครอบครองที่ดินอันเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินตาม ป.ที่ดิน มาตรา 9, 108 ทวิ ที่โจทก์ขอให้ลงโทษได้
โจทก์ฟ้องว่าวันที่ 27 ธันวาคม 2544 พนักงานเจ้าหน้าที่มีหนังสือแจ้งให้จำเลยออกจากที่ดินและให้รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างภายในระยะเวลา 90 วัน จำเลยซึ่งรับหนังสือดังกล่าวแล้วไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่ แต่ตามฎีกาของโจทก์กลับไม่ได้ระบุข้อเท็จจริงโดยย่อหรือข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความผิดฐานนี้ขึ้นอ้างอิงเพื่อคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 3 ที่ยกฟ้องโจทก์ว่าไม่ชอบอย่างไร ดังนั้น ฎีกาของโจทก์ที่ขอให้ลงโทษจำเลยตามฟ้องอันหมายถึงขอให้ลงโทษจำเลยฐานขัดคำสั่งเจ้าพนักงานตาม ป.ที่ดิน มาตรา 9, 108 ด้วยนั้น จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 193 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225 และมาตรา 216
โจทก์ฟ้องว่าวันที่ 27 ธันวาคม 2544 พนักงานเจ้าหน้าที่มีหนังสือแจ้งให้จำเลยออกจากที่ดินและให้รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างภายในระยะเวลา 90 วัน จำเลยซึ่งรับหนังสือดังกล่าวแล้วไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่ แต่ตามฎีกาของโจทก์กลับไม่ได้ระบุข้อเท็จจริงโดยย่อหรือข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความผิดฐานนี้ขึ้นอ้างอิงเพื่อคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 3 ที่ยกฟ้องโจทก์ว่าไม่ชอบอย่างไร ดังนั้น ฎีกาของโจทก์ที่ขอให้ลงโทษจำเลยตามฟ้องอันหมายถึงขอให้ลงโทษจำเลยฐานขัดคำสั่งเจ้าพนักงานตาม ป.ที่ดิน มาตรา 9, 108 ด้วยนั้น จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 193 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225 และมาตรา 216
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2107/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองที่ดินสาธารณประโยชน์ก่อนมีกฎหมายแก้ไข และการไม่ปฏิบัติตามคำสั่งเจ้าพนักงาน
โจทก์บรรยายฟ้องว่า เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2510 ถึงวันที่ 15 กรกฎาคม 2545 จำเลยเข้ายึดถือที่ดินสาธารณประโยชน์ อันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินซึ่งประชาชนใช้ร่วมกัน ตามคำฟ้อง จำเลยเข้ายึดถือครอบครองที่พิพาทก่อนวันที่ 4 มีนาคม 2515 อันเป็นวันที่ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 96 ลงวันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2515 ที่แก้ไขเพิ่มเติม ป.ที่ดิน มาตรา 108 ทวิ ใช้บังคับ การครอบครองที่ดินพิพาทของจำเลยนับแต่วันที่ 1 มกราคม 2510 ตลอดมาเป็นการครอบครองสืบเนื่องมาจากการเข้ายึดครอบครองในครั้งแรก เมื่อ ป.ที่ดิน มาตรา 108 ทวิ วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า นับตั้งแต่วันที่ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับนี้ใช้บังคับผู้กระทำการฝ่าฝืน มาตรา 9 ต้องระวางโทษจำคุก ฯลฯ เช่นนี้ การกระทำของจำเลยจึงไม่อาจมีความผิดฐานเข้าไปยึดถือครอบครองที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินตาม ป.ที่ดิน มาตรา 9, 108 ทวิ ได้
ส่วนความผิดฐานขัดคำสั่งเจ้าพนักงานตาม ป.ที่ดิน มาตรา 9, 108 นั้น แม้โจทก์บรรยายฟ้องและนำสืบว่า วันที่ 27 ธันวาคม 2544 พนักงานเจ้าหน้าที่มีหนังสือแจ้งให้จำเลยออกจากที่ดินพิพาทภายใน 90 วัน จำเลยซึ่งรับหนังสือดังกล่าวแล้วไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่ แต่ตามฎีกาของโจทก์กลับไม่ได้ระบุข้อเท็จจริงโดยย่อหรือข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความผิดฐานนี้ขึ้นอ้างเพื่อคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 3 ที่ยกฟ้องโจทก์ว่าไม่ชอบอย่างไร ฎีกาของโจทก์ที่ขอให้ลงโทษตามฟ้อง อันหมายถึงขอให้ลงโทษจำเลยฐานขัดคำสั่งเจ้าพนักงานตาม ป.ที่ดิน มาตรา 9, 108 ด้วยนั้น จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 193 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225 และมาตรา 216
ส่วนความผิดฐานขัดคำสั่งเจ้าพนักงานตาม ป.ที่ดิน มาตรา 9, 108 นั้น แม้โจทก์บรรยายฟ้องและนำสืบว่า วันที่ 27 ธันวาคม 2544 พนักงานเจ้าหน้าที่มีหนังสือแจ้งให้จำเลยออกจากที่ดินพิพาทภายใน 90 วัน จำเลยซึ่งรับหนังสือดังกล่าวแล้วไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่ แต่ตามฎีกาของโจทก์กลับไม่ได้ระบุข้อเท็จจริงโดยย่อหรือข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความผิดฐานนี้ขึ้นอ้างเพื่อคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 3 ที่ยกฟ้องโจทก์ว่าไม่ชอบอย่างไร ฎีกาของโจทก์ที่ขอให้ลงโทษตามฟ้อง อันหมายถึงขอให้ลงโทษจำเลยฐานขัดคำสั่งเจ้าพนักงานตาม ป.ที่ดิน มาตรา 9, 108 ด้วยนั้น จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 193 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225 และมาตรา 216
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1874/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลดโทษจำเลยจากความช่วยเหลือตำรวจ ยึดยาเสพติด และการรวมโทษทางอาญาที่ถูกต้อง
เมื่อเจ้าพนักงานตำรวจจับกุมจำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้พร้อมเมทแอมเฟตามีนจำนวน 20,000 เม็ด จำเลยที่ 1 และที่ 2 นำเจ้าพนักงานตำรวจไปขุดดินยึดเมทแอมเฟตามีนได้อีกจำนวน 76,000 เม็ด ที่ฝังดินไว้บริเวณป่าละเมาะท้ายหมู่บ้านซึ่งเมทแอมเฟตามีนจำนวนนี้หากจำเลยที่ 1 และที่ 2 ไม่ได้ให้ข้อมูลและนำเจ้าพนักงานตำรวจไปตรวจยึดย่อมเป็นการยากที่เจ้าพนักงานตำรวจจะทราบและตรวจยึดได้เองทั้งยังทำให้เมทแอมเฟตามีนจำนวน 76,000 เม็ด ไม่มีโอกาสแพร่ระบาดต่อไปอีกนับว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 ผู้กระทำความผิดผู้ใดให้ข้อมูลที่สำคัญที่สำคัญและเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษต่อเจ้าพนักงานตำรวจ สมควรวางโทษจำเลยที่ 2 ต่ำกว่าที่ศาลล่างกำหนดตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษฯ มาตรา 100/2 เมื่อเหตุที่ศาลฎีกาลดโทษให้จำเลยที่ 2 เป็นเหตุอยู่ในลักษณะคดีแม้ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งไม่รับฎีกาของจำเลยที่ 1 ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจพิพากษาไปถึงจำเลยที่ 1 ได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 213 ประกอบมาตรา 225
ป.อ. มาตรา 91 บัญญัติใจความว่า ความผิดหลายกรรมต่างกันให้ลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงความผิด แต่ไม่ว่าจะมีการเพิ่มโทษ ลดโทษ หรือลดมาตราส่วนโทษด้วยหรือไม่ก็ตาม เมื่อรวมโทษทุกกระทงแล้วโทษจำคุกทั้งสิ้นต้องไม่เกินกำหนดดังนี้ ...(3) ห้าสิบปีสำหรับกรณีความผิดกระทงที่หนักที่สุดมีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงเกิน 10 ปี ขึ้นไป เว้นแต่กรณีที่ศาลลงโทษจำคุกตลอดชีวิต ฉะนั้น ศาลชั้นต้นชอบที่จะลดโทษให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นรายกระทงก่อนแล้วจึงรวมโทษ การที่ศาลชั้นต้นพิพากษารวมโทษเสียก่อนแล้วจึงลดโทษให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงไม่ชอบด้วย ป.อ. มาตรา 91 (3) ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 6 พิพากษาแก้ไขมานั้นถูกต้องแล้ว
ป.อ. มาตรา 91 บัญญัติใจความว่า ความผิดหลายกรรมต่างกันให้ลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงความผิด แต่ไม่ว่าจะมีการเพิ่มโทษ ลดโทษ หรือลดมาตราส่วนโทษด้วยหรือไม่ก็ตาม เมื่อรวมโทษทุกกระทงแล้วโทษจำคุกทั้งสิ้นต้องไม่เกินกำหนดดังนี้ ...(3) ห้าสิบปีสำหรับกรณีความผิดกระทงที่หนักที่สุดมีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงเกิน 10 ปี ขึ้นไป เว้นแต่กรณีที่ศาลลงโทษจำคุกตลอดชีวิต ฉะนั้น ศาลชั้นต้นชอบที่จะลดโทษให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นรายกระทงก่อนแล้วจึงรวมโทษ การที่ศาลชั้นต้นพิพากษารวมโทษเสียก่อนแล้วจึงลดโทษให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงไม่ชอบด้วย ป.อ. มาตรา 91 (3) ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 6 พิพากษาแก้ไขมานั้นถูกต้องแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1491/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องซ้ำทางอาญา: การหลอกลวงประชาชนเพื่อจัดหางาน แม้เจตนาเดียวกัน แต่ผู้เสียหายต่างกัน สถานที่และเวลาต่างกัน ไม่เป็นฟ้องซ้ำ
การกระทำความผิดของจำเลยคดีนี้กับคดีอาญาหมายเลขดำที่ 197/2549 ของศาลชั้นต้น มีวันกระทำความผิดต่างกันในเดือนธันวาคม 2545 ถึงเดือนกรกฎาคม 2546 และความผิดดังกล่าวจำเลยมีเจตนากระทำต่อผู้เสียหายต่างคนกัน การกระทำของจำเลยกับพวกแม้จะเป็นการหลอกลวงด้วยเจตนาในการกระทำผิดอย่างเดียวกันมีการพาไปตรวจร่างกายที่โรงพยาบาล ร. ในวันเดียวกันและชำระเงินให้นาย ก. พร้อมกัน แต่จำเลยกับพวกก็หลอกลวงบุคคลต่างรายกัน เกิดขึ้นคนละสถานที่และต่างวันเวลากัน จึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำกับคดีอาญาหมายเลขดำที่ 197/2549 ของศาลชั้นต้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1450/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำฟ้องไม่สมบูรณ์ (ไม่มีลายมือชื่อ) และการดำเนินกระบวนการพิจารณาคดีที่ผิดพลาด ทำให้ศาลฎีกายกฟ้อง
คำขอท้ายฟ้องโจทก์เป็นเอกสารที่ถ่ายสำเนาจึงเป็นคำฟ้องที่ไม่มีลายมือชื่อโจทก์ผู้เรียงและผู้พิมพ์ไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (7) หากศาลชั้นต้นตรวจพบข้อผิดพลาดดังกล่าวก็จะใช้อำนาจตาม ป.วิ.อ. มาตรา 161 สั่งให้โจทก์แก้ไขฟ้องให้ถูกต้องหรือยกฟ้อง หรือไม่ประทับฟ้องได้ แต่ถ้าศาลชั้นต้นสั่งประทับฟ้องและดำเนินกระบวนพิจารณาจนคดีขึ้นมาสู่ศาลอุทธรณ์ภาค 7 แล้ว การที่จะสั่งให้โจทก์แก้ฟ้องให้ถูกต้องหรือไม่ประทับฟ้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 161 วรรคหนึ่ง ย่อมล่วงเลยเวลาที่จะปฏิบัติได้เพราะศาลชั้นต้นได้สั่งประทับฟ้องและดำเนินกระบวนพิจารณาจนเสร็จสิ้นแล้ว การที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 7 พิจารณาพิพากษาคดีจึงเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่อาจพิจารณาฟ้องของโจทก์ได้ ไม่จำต้องวินิจฉัยฎีกาของโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1400/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาษีจากการขายทอดตลาด: ผู้ซื้อมีสิทธิขอคืนเงินภาษีที่ทดรองจ่ายให้ผู้ขาย
เงินได้จากการขายทอดตลาดอสังหาริมทรัพย์นั้นเป็นเงินได้พึงประเมินตาม ป.รัษฎากร มาตรา 40 (8) และการขายทอดตลาดนั้น จำเลย (ผู้ขาย) เป็นผู้มีเงินได้จากการขายทอดตลาด ฉะนั้น ตาม ป.รัษฎากร จำเลยจึงมีภาระต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจากการขายทอดตลาดดังกล่าว ส่วนผู้คัดค้าน (ผู้ซื้อ) อยู่ในฐานะเป็นผู้จ่ายเงินให้แก่จำเลย จึงเป็นผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินที่มีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ตามมาตรา 50 (6) (ข) และนำส่งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้รับจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมในขณะที่มีการจดทะเบียนตามมาตรา 52 วรรคสอง ดังนั้นเงินค่าภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่ผู้คัดค้านได้ทดรองจ่ายแทนจำเลยไปนั้น จึงเป็นเงินรายได้ของแผ่นดินที่กรมสรรพากรมีหน้าที่จัดเก็บ ไม่ใช่เป็นเงินรายได้สุทธิที่ได้จากการขายทอดตลาดทรัพย์สินของจำเลย ที่จะนำไปชำระหนี้ตามคำพิพากษาให้แก่โจทก์
เงินได้พึงประเมินจากการขายทอดตลาดตามที่กล่าวมาแล้วนั้น จำเลยผู้ขายเป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้พึงประเมินดังกล่าวต่างหากไม่ใช่ผู้คัดค้าน เมื่อผู้คัดค้านไม่มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้พึงประเมินแล้ว คำว่า "ค่าภาษีต่าง ๆ" ตามที่ระบุไว้จึงไม่น่าจะหมายรวมถึงค่าภาษีเงินได้ถึงประเมินด้วยและเมื่อผู้คัดค้านได้ทดรองจ่ายไปนั้น ไปขอรับเงินคืนจากเจ้าพนักงานบังคับคดีได้และในการจัดทำบัญชีแสดงรายการรับ-จ่ายเงินเจ้าพนักงานบังคับคดีก็ต้องระบุรายการหักคืนเงินภาษีหัก ณ ที่จ่าย ให้แก่ผู้คัดค้านด้วย
เงินได้พึงประเมินจากการขายทอดตลาดตามที่กล่าวมาแล้วนั้น จำเลยผู้ขายเป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้พึงประเมินดังกล่าวต่างหากไม่ใช่ผู้คัดค้าน เมื่อผู้คัดค้านไม่มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้พึงประเมินแล้ว คำว่า "ค่าภาษีต่าง ๆ" ตามที่ระบุไว้จึงไม่น่าจะหมายรวมถึงค่าภาษีเงินได้ถึงประเมินด้วยและเมื่อผู้คัดค้านได้ทดรองจ่ายไปนั้น ไปขอรับเงินคืนจากเจ้าพนักงานบังคับคดีได้และในการจัดทำบัญชีแสดงรายการรับ-จ่ายเงินเจ้าพนักงานบังคับคดีก็ต้องระบุรายการหักคืนเงินภาษีหัก ณ ที่จ่าย ให้แก่ผู้คัดค้านด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1400/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคืนเงินภาษีหัก ณ ที่จ่ายจากการขายทอดตลาด: สิทธิของผู้ซื้อ vs. ภาระภาษีของผู้ขาย
เงินได้จากการขายทอดตลาดอสังหาริมทรัพย์เป็นเงินได้พึงประเมินตาม ป.รัษฎากร มาตรา 40 (8) และการขายทอดตลาดนั้น จำเลยเป็นผู้มีเงินได้จากการขายทอดตลาด จำเลยจึงมีภาระต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจากการขายทอดตลาดดังกล่าว ส่วนผู้คัดค้านซึ่งเป็นผู้ซื้ออยู่ในฐานะเป็นผู้จ่ายเงินให้แก่จำเลย จึงเป็นผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินที่มีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ตามมาตรา 50 (6) (ข) และนำส่งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้รับจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมในขณะที่มีการจดทะเบียนตามมาตรา 52 วรรคสอง ดังนั้น เงินค่าภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่ผู้คัดค้านได้ทดรองจ่ายแทนจำเลยไป จึงเป็นเงินรายได้ของแผ่นดินที่กรมสรรพากรมีหน้าที่จัดเก็บ ไม่ใช่เป็นเงินรายได้สุทธิที่ได้จากการขายทอดตลาดทรัพย์สินของจำเลยที่จะนำไปชำระหนี้ตามคำพิพากษาให้แก่โจทก์
จำเลยผู้ขายเป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้พึงประเมินจากการขายทอดตลาดอสังหาริมทรัพย์ต่างหาก ไม่ใช่ผู้คัดค้านซึ่งเป็นผู้ซื้อ เมื่อผู้คัดค้านไม่มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้พึงประเมินแล้ว คำว่า "ค่าภาษีต่างๆ" ตามที่ระบุไว้ในบัญชีแสดงรายการรับ - จ่ายเงินจึงไม่หมายรวมถึงค่าภาษีเงินได้พึงประเมินด้วยและเมื่อผู้คัดค้านได้ทดรองจ่ายค่าภาษีดังกล่าวแทนจำเลยไปก่อนแล้ว ย่อมมีสิทธินำใบเสร็จรับเงินที่ได้ทดรองจ่ายแทนจำเลยไปนั้น ไปขอรับเงินคืนจากเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ภายในกำหนดตามที่ระบุไว้ และในการจัดทำบัญชีแสดงรายการรับ - จ่ายเงิน เจ้าพนักงานบังคับคดีจะต้องระบุรายการหักคืนเงินภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายให้แก่ผู้คัดค้านด้วย
จำเลยผู้ขายเป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้พึงประเมินจากการขายทอดตลาดอสังหาริมทรัพย์ต่างหาก ไม่ใช่ผู้คัดค้านซึ่งเป็นผู้ซื้อ เมื่อผู้คัดค้านไม่มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้พึงประเมินแล้ว คำว่า "ค่าภาษีต่างๆ" ตามที่ระบุไว้ในบัญชีแสดงรายการรับ - จ่ายเงินจึงไม่หมายรวมถึงค่าภาษีเงินได้พึงประเมินด้วยและเมื่อผู้คัดค้านได้ทดรองจ่ายค่าภาษีดังกล่าวแทนจำเลยไปก่อนแล้ว ย่อมมีสิทธินำใบเสร็จรับเงินที่ได้ทดรองจ่ายแทนจำเลยไปนั้น ไปขอรับเงินคืนจากเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ภายในกำหนดตามที่ระบุไว้ และในการจัดทำบัญชีแสดงรายการรับ - จ่ายเงิน เจ้าพนักงานบังคับคดีจะต้องระบุรายการหักคืนเงินภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายให้แก่ผู้คัดค้านด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1262/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ป้องกันตนทางอาญา: การกระทำของผู้ถูกทำร้ายที่ใช้กำลังตอบโต้เพื่อปกป้องชีวิตและร่างกาย
ผู้ตายใช้มีดอีโต้ไล่ฟันจำเลยมาแล้ว ต่อมาผู้ตายขับรถยนต์กระบะกลับมาที่บ้านของจำเลยอีกครั้ง โดยผู้ตายเหน็บอาวุธปืนพกลูกซองสั้นไว้ที่เอวด้านหน้าขึ้นบันไดไปหาจำเลยที่ชั้นบนและร้องท้าทายจำเลยให้เอาอาวุธปืนของจำเลยมายิงกันให้ตายกันไปข้างหนึ่ง การกระทำของผู้ตายที่พาอาวุธปืนมาท้าทายจำเลยดังกล่าวหาใช่เป็นการข่มขู่จำเลยตามที่โจทก์ฎีกาไม่ แต่ฟังได้ว่าผู้ตายมีเจตนาจะเข้ามาใช้อาวุธปืนยิงทำร้ายจำเลย จึงนับเป็นภยันตรายที่ใกล้จะถึงตัวจำเลย แม้ ย. และ ท. ซึ่งอยู่ใต้ถุนบ้านจะไม่เห็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นที่ชั้นบน แต่ ย. และ ท. ได้ยินเสียงตึงตังโครมครามและได้ยินเสียงจำเลยร้องให้ช่วยก่อนที่เสียงปืนจะดังขึ้น อันแสดงว่าเมื่อผู้ตายขึ้นไปพบจำเลยแล้วมีการต่อสู้กัน จำเลยจึงชอบที่จะใช้สิทธิป้องกันตนให้พ้นจากภยันตรายซึ่งเกิดจากการประทุษร้ายของผู้ตายได้ การที่จำเลยยิงปืน 2 นัด แต่ลูกกระสุนปืนถูกผู้ตายเพียงนัดเดียว เมื่อผู้ตายถูกยิงแล้วจำเลยไม่ได้ใช้อาวุธปืนยิงผู้ตายอีก จึงเป็นการป้องกันที่พอสมควรแก่เหตุตาม ป.อ. มาตรา 68
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1199/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข่มขู่เรียกทรัพย์ด้วยถ้อยคำทำให้เชื่อว่าจะเกิดอันตรายแก่ตนเองและครอบครัว ถือเป็นความผิดฐานกรรโชกสำเร็จ
ถ้อยคำที่จำเลยกล่าวกับผู้เสียหายว่า "หากผู้เสียหายไม่ยอมชำระหนี้ให้ ผู้เสียหายกับบุตรภรรยาจะเดือดร้อนเพราะอายุยังน้อย" นั้น ไม่ใช่เป็นการใช้สิทธิโดยชอบธรรมที่เจ้าหนี้อาจพึงฟ้องลูกหนี้ให้ชำระหนี้ได้ตามกฎหมายแต่อย่างใด แต่เป็นถ้อยคำที่สามัญชนโดยทั่วไปย่อมทราบและตีความได้ว่าเป็นคำพูดข่มขู่ว่าหากไม่ชำระหนี้ให้แล้วผู้เสียหายกับครอบครัวอาจถูกทำร้ายให้ได้รับความเดือดร้อนและเป็นอันตรายได้ถ้อยคำดังกล่าวถือได้ว่าเป็นการขู่เข็ญผู้เสียหายให้ต้องยินยอมชำระหนี้ให้แก่กลุ่มจำเลยทั้งห้าตามที่เรียกร้อง
กรณีที่มีการพูดโทรศัพท์ขู่เข็ญผู้เสียหาย จนผู้เสียหายกลัวกระทั่งยอมนัดหมายให้นำหลักฐานมาให้ดูและเตรียมเงินไปให้บางส่วน แม้ผู้เสียหายแวะปรึกษาหรือแจ้งความต่อเจ้าพนักงานตำรวจให้ทราบถึงเหตุร้ายที่จะเกิดขึ้นแก่ตนและครอบครัว ก็เป็นการแจ้งเพื่อขอความคุ้มครองจากพนักงานเจ้าหน้าที่ตามที่ประชาชนพึงกระทำกันตามปกติภายหลังจากที่ผู้เสียหายยอมตามที่จำเลยข่มขู่ไปแล้ว กรณีไม่ใช่ผู้เสียหายไม่เกิดความกลัวและไม่ยอมทำตามการขู่เข็ญของจำเลยทั้งห้า ฉะนั้น การกระทำของจำเลยทั้งห้าจึงเป็นความผิดฐานร่วมกันกรรโชกสำเร็จแล้ว ไม่ใช่อยู่ในขั้นพยายาม
กรณีที่มีการพูดโทรศัพท์ขู่เข็ญผู้เสียหาย จนผู้เสียหายกลัวกระทั่งยอมนัดหมายให้นำหลักฐานมาให้ดูและเตรียมเงินไปให้บางส่วน แม้ผู้เสียหายแวะปรึกษาหรือแจ้งความต่อเจ้าพนักงานตำรวจให้ทราบถึงเหตุร้ายที่จะเกิดขึ้นแก่ตนและครอบครัว ก็เป็นการแจ้งเพื่อขอความคุ้มครองจากพนักงานเจ้าหน้าที่ตามที่ประชาชนพึงกระทำกันตามปกติภายหลังจากที่ผู้เสียหายยอมตามที่จำเลยข่มขู่ไปแล้ว กรณีไม่ใช่ผู้เสียหายไม่เกิดความกลัวและไม่ยอมทำตามการขู่เข็ญของจำเลยทั้งห้า ฉะนั้น การกระทำของจำเลยทั้งห้าจึงเป็นความผิดฐานร่วมกันกรรโชกสำเร็จแล้ว ไม่ใช่อยู่ในขั้นพยายาม