พบผลลัพธ์ทั้งหมด 632 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6861-6898/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิลูกจ้างในค่าจ้าง ค่าชดเชย และสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า นายจ้างมีหน้าที่จัดทำเอกสารหลักฐานการจ่ายค่าจ้างอย่างครบถ้วน
การทำสัญญาจ้างแรงงานแม้ลูกจ้างบางส่วนเป็นคนสัญชาติไทยบางส่วนเป็นคนต่างชาติ แต่ทำสัญญาจ้างแรงงานในราชอาณาจักรไทยและทำงานในเรือประมงที่ถือสัญชาติไทย ย่อมได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายไทย จำเลยทั้งห้าจ้างลูกจ้างทำประมงทะเลในน่านน้ำประเทศอินโดนีเซียเกินกว่าหนึ่งปีแม้ไม่อยู่ภายใต้บังคับของกฎกระทรวง ฉบับที่ 10 แต่ยังคงอยู่ภายใต้บังคับของ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 เช่นเดียวกับการจ้างแรงงานอื่นทั่วไป เพราะไม่ได้รับยกเว้นการบังคับใช้ตามมาตรา 22 และนิติสัมพันธ์ยังต้องเป็นไปตาม ป.พ.พ. ว่าด้วยสัญญาจ้างแรงงาน
การทำประมงทะเลในน่านน้ำประเทศอินโดนีเซียจะต้องได้รับสัมปทานที่มีกำหนดเวลาแน่นอนคราวละหนึ่งปี แต่อาจมีการต่ออายุสัมปทานไปได้เรื่อยๆ การทำสัญญาจ้างลูกจ้างแม้จะกำหนดระยะเวลาเป็นเทอม แต่ในการทำงานจริงลูกจ้างทำงานไม่มีระยะเวลาที่แน่นอนขึ้นอยู่กับการได้รับต่อใบอนุญาตจับปลาจากรัฐบาลประเทศอินโดนีเซียหรือไม่ สภาพของเรือ และลูกจ้างก็ทราบว่าใช้ระยะเวลาในการไปทำประมงประมาณ 3 หรือ 4 ปี จึงเป็นการจ้างที่ไม่มีกำหนดระยะเวลาที่แน่นอน เมื่อจำเลยเลิกจ้างจึงต้องบอกกล่าวล่วงหน้าหนึ่งงวดของการชำระค่าจ้าง หรือต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า เมื่อไม่ปรากฏว่ามีกำหนดวันจ่ายค่าจ้างไว้แน่นอนจึงให้ถือว่ามีกำหนดจ่ายค่าจ้างเดือนละหนึ่งครั้งตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 70 วรรคหนึ่ง (1) และจ่ายทุกวันสิ้นเดือนตาม ป.พ.พ. มาตรา 580
พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 ได้บัญญัติไว้ในหมวดที่ 9 ว่าด้วยเรื่องการควบคุม มาตรา 112, 113 ให้นายจ้างซึ่งมีลูกจ้างตั้งแต่สิบคนขึ้นไปจัดทำทะเบียนลูกจ้าง ซึ่งต้องมีรายละเอียดเกี่ยวกับชื่อตัวและชื่อสกุล อัตราค่าจ้าง ประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่นที่จ่ายให้แก่ลูกจ้าง เอกสารเกี่ยวกับการจ่ายค่าจ้าง หากนายจ้างไม่สามารถแสดงทะเบียนลูกจ้างและเอกสารการจ่ายค่าจ้างกับค่าตอบแทนอย่างอื่น หรือแสดงได้ไม่สมบูรณ์ครบถ้วน เมื่อมีข้อสงสัยฝ่ายนายจ้างก็ต้องรับผิดต่อลูกจ้างในประเด็นดังกล่าวเพราะมีหน้าที่จัดทำเอกสารนั้นโดยตรง
จำเลยมอบอำนาจให้ไต๋เรือเป็นตัวแทนกำหนดค่าจ้างลูกจ้างตำแหน่งต่างๆ ตามอัตราทั่วไป โดยประมาณให้ลูกจ้างแต่ละคนทราบเมื่อแรกเข้าทำงาน หลังจากออกเรือทำงานไปสองเที่ยวเรือแล้วจึงจะกำหนดค่าจ้างที่แท้จริงให้ลูกจ้างทราบ การที่จำเลยจะมากำหนดอัตราค่าจ้างในภายหลังโดยลดค่าจ้างเมื่อเรือกลับเข้าฝั่งโดยอ้างว่าปรึกษาหารือกับไต๋เรือเท่ากับเป็นการกำหนดค่าจ้างตามอำเภอใจ ย่อมไม่เป็นธรรมต่อลูกจ้างและถือว่าเป็นสัญญาจ้างที่ทำให้นายจ้างได้เปรียบลูกจ้างเกินสมควร ศาลแรงงานกลางย่อมมีอำนาจสั่งให้สัญญาจ้างมีผลบังคับเพียงเท่าที่เป็นธรรมและพอสมควรแก่กรณีตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 14/1
การทำประมงทะเลในน่านน้ำประเทศอินโดนีเซียจะต้องได้รับสัมปทานที่มีกำหนดเวลาแน่นอนคราวละหนึ่งปี แต่อาจมีการต่ออายุสัมปทานไปได้เรื่อยๆ การทำสัญญาจ้างลูกจ้างแม้จะกำหนดระยะเวลาเป็นเทอม แต่ในการทำงานจริงลูกจ้างทำงานไม่มีระยะเวลาที่แน่นอนขึ้นอยู่กับการได้รับต่อใบอนุญาตจับปลาจากรัฐบาลประเทศอินโดนีเซียหรือไม่ สภาพของเรือ และลูกจ้างก็ทราบว่าใช้ระยะเวลาในการไปทำประมงประมาณ 3 หรือ 4 ปี จึงเป็นการจ้างที่ไม่มีกำหนดระยะเวลาที่แน่นอน เมื่อจำเลยเลิกจ้างจึงต้องบอกกล่าวล่วงหน้าหนึ่งงวดของการชำระค่าจ้าง หรือต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า เมื่อไม่ปรากฏว่ามีกำหนดวันจ่ายค่าจ้างไว้แน่นอนจึงให้ถือว่ามีกำหนดจ่ายค่าจ้างเดือนละหนึ่งครั้งตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 70 วรรคหนึ่ง (1) และจ่ายทุกวันสิ้นเดือนตาม ป.พ.พ. มาตรา 580
พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 ได้บัญญัติไว้ในหมวดที่ 9 ว่าด้วยเรื่องการควบคุม มาตรา 112, 113 ให้นายจ้างซึ่งมีลูกจ้างตั้งแต่สิบคนขึ้นไปจัดทำทะเบียนลูกจ้าง ซึ่งต้องมีรายละเอียดเกี่ยวกับชื่อตัวและชื่อสกุล อัตราค่าจ้าง ประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่นที่จ่ายให้แก่ลูกจ้าง เอกสารเกี่ยวกับการจ่ายค่าจ้าง หากนายจ้างไม่สามารถแสดงทะเบียนลูกจ้างและเอกสารการจ่ายค่าจ้างกับค่าตอบแทนอย่างอื่น หรือแสดงได้ไม่สมบูรณ์ครบถ้วน เมื่อมีข้อสงสัยฝ่ายนายจ้างก็ต้องรับผิดต่อลูกจ้างในประเด็นดังกล่าวเพราะมีหน้าที่จัดทำเอกสารนั้นโดยตรง
จำเลยมอบอำนาจให้ไต๋เรือเป็นตัวแทนกำหนดค่าจ้างลูกจ้างตำแหน่งต่างๆ ตามอัตราทั่วไป โดยประมาณให้ลูกจ้างแต่ละคนทราบเมื่อแรกเข้าทำงาน หลังจากออกเรือทำงานไปสองเที่ยวเรือแล้วจึงจะกำหนดค่าจ้างที่แท้จริงให้ลูกจ้างทราบ การที่จำเลยจะมากำหนดอัตราค่าจ้างในภายหลังโดยลดค่าจ้างเมื่อเรือกลับเข้าฝั่งโดยอ้างว่าปรึกษาหารือกับไต๋เรือเท่ากับเป็นการกำหนดค่าจ้างตามอำเภอใจ ย่อมไม่เป็นธรรมต่อลูกจ้างและถือว่าเป็นสัญญาจ้างที่ทำให้นายจ้างได้เปรียบลูกจ้างเกินสมควร ศาลแรงงานกลางย่อมมีอำนาจสั่งให้สัญญาจ้างมีผลบังคับเพียงเท่าที่เป็นธรรมและพอสมควรแก่กรณีตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 14/1
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6794/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่รับ เพราะไม่ได้ยื่นคำร้องขออนุญาตฎีกาในข้อเท็จจริงพร้อมคำฟ้องฎีกาภายในกำหนดเวลา
ศาลอุทธรณ์ภาค 7 พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นลงโทษจำคุกจำเลยที่ 3 ไม่เกินห้าปี กรณีจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง หากจำเลยที่ 3 ประสงค์จะใช้สิทธิฎีกาโดยยื่นคำร้องขอให้ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาหรือลงลายมือชื่อในคำพิพากษารับรองให้ฎีกาตามมาตรา 221 จำเลยที่ 3 ต้องยื่นคำร้องดังกล่าวพร้อมคำฟ้องฎีกาก่อนพ้นระยะเวลาฎีกา ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคท้าย ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าจำเลยที่ 3 ไม่ได้ยื่นคำร้องมาพร้อมกับคำฟ้องฎีกาจนล่วงพ้นระยะเวลาฎีกา ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับฎีกาของจำเลยที่ 3 จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6724/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิบังคับคดีของผู้ซื้อทรัพย์จากการขายทอดตลาด ไม่ผูกพันระยะเวลาบังคับคดีตามมาตรา 271
กรณีที่โจทก์ในฐานะผู้ซื้ออสังหาริมทรัพย์ร้องขอให้ศาลออกคำบังคับให้ลูกหนี้ตามคำพิพากษาหรือบริวารออกไปจากอสังหาริมทรัพย์ที่ซื้อตาม ป.วิ.พ. มาตรา 309 ตรี เป็นการใช้สิทธิบังคับคดีของผู้ซื้ออสังหาริมทรัพย์จากการขายทอดตลาดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษา อันเป็นขั้นตอนการบังคับคดีภายหลังจากโจทก์ฝ่ายชนะคดีได้ดำเนินการบังคับคดีแก่ทรัพย์สินของจำเลยฝ่ายแพ้คดีภายในระยะเวลา 10 ปี ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 271 แล้ว จึงมิใช่กรณีที่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาร้องขอให้บังคับคดีแก่ทรัพย์สินของจำเลยเพื่อบังคับชำระหนี้ตามคำพิพากษาและมิใช่การใช้สิทธิของโจทก์ในฐานะที่เป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษามาบังคับคดีแก่ทรัพย์สินของจำเลย จึงไม่อาจนำบทบัญญัติเกี่ยวกับระยะเวลาการบังคับคดีที่ให้นับแต่วันมีคำพิพากษาหรือคำสั่งตามมาตรา 271 มาบังคับได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6196/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พยานซัดทอดผู้ร่วมกระทำผิด, ความผิดสนับสนุน, การลงโทษฐานสนับสนุน แม้ฟ้องเป็นตัวการ
แม้คำเบิกความของ อ. ที่กล่าวถึงการกระทำของจำเลยจะเป็นพยานซัดทอดระหว่างผู้ร่วมกระทำความผิดด้วยกัน แต่ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 227/1 หาได้ห้ามมิให้รับฟังพยานซัดทอดเลยเสียทีเดียวไม่ หากแต่ศาลพึงต้องกระทำด้วยความระมัดระวัง และไม่ควรเชื่อพยานหลักฐานดังกล่าวโดยลำพังเพื่อลงโทษจำเลย เว้นแต่จะมีเหตุผลอันหนักแน่น มีพฤติการณ์พิเศษแห่งคดีหรือมีพยานหลักฐานอื่นประกอบมาสนับสนุน
จำเลยเป็นเพียงคนกลางติดต่อหาเมทแอมเฟตามีนมาจำหน่ายให้แก่ อ. โดยจำเลยได้รับผลประโยชน์ในส่วนการกระทำของจำเลยไปแล้ว หลังจากนั้นเมทแอมเฟตามีนย่อมตกเป็นของ อ. เพียงลำพัง โดยจำเลยมิได้เป็นเจ้าของและร่วมครอบครองเมทแอมเฟตามีนของกลางด้วย จำเลยไม่มีความผิดฐานเป็นตัวการที่ร่วมกระทำความผิดด้วยกัน หากแต่การที่จำเลยติดต่อหาเมทแอมเฟตามีนมาจำหน่ายให้แก่ อ. ดังกล่าว ย่อมถือได้ว่าเป็นการช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกแก่ อ. ในการมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย จำเลยจึงเป็นผู้สนับสนุนการกระทำความผิด ตาม ป.อ. มาตรา 86 แม้โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานเป็นตัวการแต่ข้อเท็จจริงตามทางพิจารณาฟังได้ว่า จำเลยเป็นเพียงผู้สนับสนุนการกระทำความผิด ศาลย่อมลงโทษจำเลยฐานเป็นผู้สนับสนุนได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสอง ประกอบมาตรา 215 และ 225 เพราะข้อแตกต่างดังกล่าวมิใช่เป็นข้อสาระสำคัญและจำเลยมิได้หลงต่อสู้
จำเลยเป็นเพียงคนกลางติดต่อหาเมทแอมเฟตามีนมาจำหน่ายให้แก่ อ. โดยจำเลยได้รับผลประโยชน์ในส่วนการกระทำของจำเลยไปแล้ว หลังจากนั้นเมทแอมเฟตามีนย่อมตกเป็นของ อ. เพียงลำพัง โดยจำเลยมิได้เป็นเจ้าของและร่วมครอบครองเมทแอมเฟตามีนของกลางด้วย จำเลยไม่มีความผิดฐานเป็นตัวการที่ร่วมกระทำความผิดด้วยกัน หากแต่การที่จำเลยติดต่อหาเมทแอมเฟตามีนมาจำหน่ายให้แก่ อ. ดังกล่าว ย่อมถือได้ว่าเป็นการช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกแก่ อ. ในการมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย จำเลยจึงเป็นผู้สนับสนุนการกระทำความผิด ตาม ป.อ. มาตรา 86 แม้โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานเป็นตัวการแต่ข้อเท็จจริงตามทางพิจารณาฟังได้ว่า จำเลยเป็นเพียงผู้สนับสนุนการกระทำความผิด ศาลย่อมลงโทษจำเลยฐานเป็นผู้สนับสนุนได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสอง ประกอบมาตรา 215 และ 225 เพราะข้อแตกต่างดังกล่าวมิใช่เป็นข้อสาระสำคัญและจำเลยมิได้หลงต่อสู้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5878/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการโอนที่ดินที่เกิดจากการใช้หนังสือมอบอำนาจปลอม ผู้มีส่วนได้เสียมีสิทธิฟ้องได้
จำเลยที่ 1 จดทะเบียนโอนขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 โดยอาศัยหนังสือมอบอำนาจปลอม จึงเป็นการโอนที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย จำเลยที่ 2 ย่อมไม่ได้กรรมสิทธิ์ และไม่มีสิทธิโอนที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 3 และจำเลยที่ 4 แม้จำเลยที่ 3 และจำเลยที่ 4 จะสุจริตและเสียค่าตอบแทนก็ไม่ได้กรรมสิทธิ์ โจทก์ทั้งสองเป็นทายาทของผู้ตายซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินพิพาทที่ถูกปลอมหนังสือมอบอำนาจเป็นผู้มีส่วนได้เสียในที่ดินพิพาทจึงมีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนการโอนที่ดินพิพาทได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5691/2554 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนมรดกและการถือครองกรรมสิทธิ์ร่วม ศาลพิจารณาการรับโอนและสิทธิในทรัพย์มรดก
ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสอง กำหนดให้จำเลยแสดงโดยชัดแจ้งในคำให้การว่า จำเลยยอมรับหรือปฏิเสธข้ออ้างของโจทก์ทั้งสิ้นหรือแต่บางส่วนรวมทั้งเหตุแห่งการปฏิเสธนั้นด้วย จำเลยทั้งสองให้การเพียงว่า คดีขาดอายุความเนื่องจากจำเลยทั้งสองได้รับโอนที่ดินพิพาทมาเป็นเวลาเกิน 10 ปี ได้ทำประโยชน์ในที่ดินโดยสงบเปิดเผยและเจตนาเป็นเจ้าของตลอดมา ไม่มีผู้ใดโต้แย้งคัดค้าน ซึ่งคำให้การของจำเลยทั้งสองดังกล่าวไม่ได้แสดงเหตุแห่งการขาดอายุความให้ชัดแจ้งว่า คดีขาดอายุความเรื่องฟ้องคดีมรดก และโจทก์ที่ 1 มีสิทธิเรียกร้องตั้งแต่เมื่อใดนับแต่วันใดถึงวันฟ้อง คดีจึงขาดอายุความไปแล้ว คำให้การของจำเลยทั้งสองในส่วนนี้จึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสอง คดีไม่มีประเด็นเรื่องอายุความ ที่ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยว่า คดีโจทก์ขาดอายุความฟ้องคดีมรดกตาม ป.พ.พ. มาตรา 1754 วรรคท้ายจึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 142 วรรคหนึ่ง ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความใดยกขึ้นอ้าง ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) กรณีไม่จำต้องวินิจฉัยฎีกาของโจทก์ที่ 1 ในปัญหานี้
ที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์มรดกของ ย. ตกทอดแก่ทายาท คือ ท. ภริยาและบุตรทั้งเจ็ดโดย ท. ไปขอรับโอนมรดกที่ดินพิพาทแทนทายาท ดังนี้ เมื่อ ท. ยกที่ดินพิพาทให้จำเลยทั้งสอง จึงต้องถือว่าจำเลยทั้งสองถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทแทนโจทก์ที่ 1 และทายาทคนอื่นด้วย เพราะจำเลยทั้งสองเป็นผู้รับโอนย่อมไม่มีสิทธิในที่ดินพิพาทดีไปกว่า ท. ผู้โอน ท. เป็นภริยาของ ย. เจ้ามรดก มีสิทธิได้ส่วนแบ่งในการรับมรดกเสมือนหนึ่งว่าตนเป็นทายาทชั้นบุตรตาม ป.พ.พ. มาตรา 1635 (1) โจทก์ที่ 1 จึงมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทหนึ่งในแปดส่วน และชอบที่จะฟ้องขอให้จำเลยทั้งสองซึ่งเป็นตัวแทนจดทะเบียนใส่ชื่อโจทก์ที่ 1 ลงในโฉนดที่ดินพิพาทได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 810 วรรคหนึ่ง
ที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์มรดกของ ย. ตกทอดแก่ทายาท คือ ท. ภริยาและบุตรทั้งเจ็ดโดย ท. ไปขอรับโอนมรดกที่ดินพิพาทแทนทายาท ดังนี้ เมื่อ ท. ยกที่ดินพิพาทให้จำเลยทั้งสอง จึงต้องถือว่าจำเลยทั้งสองถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทแทนโจทก์ที่ 1 และทายาทคนอื่นด้วย เพราะจำเลยทั้งสองเป็นผู้รับโอนย่อมไม่มีสิทธิในที่ดินพิพาทดีไปกว่า ท. ผู้โอน ท. เป็นภริยาของ ย. เจ้ามรดก มีสิทธิได้ส่วนแบ่งในการรับมรดกเสมือนหนึ่งว่าตนเป็นทายาทชั้นบุตรตาม ป.พ.พ. มาตรา 1635 (1) โจทก์ที่ 1 จึงมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทหนึ่งในแปดส่วน และชอบที่จะฟ้องขอให้จำเลยทั้งสองซึ่งเป็นตัวแทนจดทะเบียนใส่ชื่อโจทก์ที่ 1 ลงในโฉนดที่ดินพิพาทได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 810 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5691/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนมรดกและกรรมสิทธิ์ในที่ดิน: จำเลยต้องจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ให้โจทก์ตามส่วนที่ได้รับ
จำเลยทั้งสองให้การเพียงว่า คดีขาดอายุความเนื่องจากจำเลยทั้งสองได้รับโอนที่ดินพิพาทเป็นเวลาเกิน 10 ปี ได้ทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทโดยสงบเปิดเผยและเจตนาเป็นเจ้าของตลอดมา ไม่มีผู้ใดโต้แย้งคัดค้าน คำให้การของจำเลยทั้งสองดังกล่าวไม่ได้แสดงเหตุแห่งการขาดอายุความให้ชัดแจ้งว่า คดีขาดอายุความเรื่องฟ้องคดีมรดกและโจทก์ที่ 1 มีสิทธิเรียกร้องตั้งแต่เมื่อใด นับแต่วันใดถึงวันฟ้องคดีจึงขาดอายุความไปแล้ว คำให้การของจำเลยทั้งสองในส่วนนี้จึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสอง คดีไม่มีประเด็นเรื่องอายุความ ที่ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยว่าคดีโจทก์ขาดอายุความฟ้องมรดก ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1754 วรรคท้าย จึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 142 วรรคหนึ่ง และเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นอ้าง ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5)
เมื่อเจ้ามรดกถึงแก่ความตาย ทรัพย์มรดกตกทอดแก่ทายาทได้แก่ ภริยาและบุตรทั้งเจ็ดโดยภริยามีสิทธิได้รับส่วนแบ่งในการรับมรดกเสมือนหนึ่งว่าเป็นทายาทชั้นบุตร ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1635 (1) ภริยาขอรับโอนที่ดินพิพาทแทนทายาทและยกที่ดินให้แก่จำเลยทั้งสอง จึงต้องถือว่าจำเลยทั้งสองถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทแทนโจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นทายาทคนหนึ่งด้วยเพราะจำเลยทั้งสองเป็นผู้รับโอนย่อมไม่มีสิทธิในที่ดินพิพาทดีไปกว่าภริยาเจ้ามรดกผู้โอน โจทก์ที่ 1 จึงมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทหนึ่งในแปดส่วนและชอบที่จะฟ้องขอให้จำเลยทั้งสองซึ่งเป็นตัวแทนจดทะเบียนใส่ชื่อโจทก์ที่ 1 ลงในโฉนดที่ดินพิพาทได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 810 วรรคหนึ่ง
เมื่อเจ้ามรดกถึงแก่ความตาย ทรัพย์มรดกตกทอดแก่ทายาทได้แก่ ภริยาและบุตรทั้งเจ็ดโดยภริยามีสิทธิได้รับส่วนแบ่งในการรับมรดกเสมือนหนึ่งว่าเป็นทายาทชั้นบุตร ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1635 (1) ภริยาขอรับโอนที่ดินพิพาทแทนทายาทและยกที่ดินให้แก่จำเลยทั้งสอง จึงต้องถือว่าจำเลยทั้งสองถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทแทนโจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นทายาทคนหนึ่งด้วยเพราะจำเลยทั้งสองเป็นผู้รับโอนย่อมไม่มีสิทธิในที่ดินพิพาทดีไปกว่าภริยาเจ้ามรดกผู้โอน โจทก์ที่ 1 จึงมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทหนึ่งในแปดส่วนและชอบที่จะฟ้องขอให้จำเลยทั้งสองซึ่งเป็นตัวแทนจดทะเบียนใส่ชื่อโจทก์ที่ 1 ลงในโฉนดที่ดินพิพาทได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 810 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5131/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหน่วงเหนี่ยวกักขังจนถึงแก่ความตาย ความรับผิดทางอาญาและการพิพากษาโทษ
ผู้ตายขึ้นรถยนต์กระบะของจำเลยแล้วออกจากร้านอาหารไปด้วยกัน จำเลยขับรถพาผู้ตายไปที่โรงแรม ขณะที่จำเลยอุ้มและลากผู้ตายเพื่อจะเข้าไปในห้องพัก พยานโจทก์เห็นเหตุการณ์และพบว่า ผู้ตายมีบาดแผลมีโลหิตไหลที่ศีรษะ โจทก์และโจทก์ร่วมไม่มีพยานหลักฐานยืนยันว่า จำเลยทำร้ายร่างกายผู้ตาย จะสันนิษฐานจากบาดแผลที่ผู้ตายได้รับว่าเป็นเพราะผู้ตายถูกจำเลยทำร้ายหาได้ไม่ พยานหลักฐานเช่นนี้ถือเป็นพยานหลักฐานที่มีข้อน่าสงสัยตามสมควร ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 227 วรรคสอง ไม่อาจลงโทษจำเลยในความผิดฐานทำร้ายร่างกายผู้ตายได้
ผู้ตายซึ่งมีสามีแล้วไม่ได้ยินยอมไปโรงแรมกับจำเลยตั้งแต่ต้น บาดแผลที่ปรากฏให้เห็นภายนอกร่างกายของผู้ตายซึ่งมีโลหิตไหลจากศีรษะและรูหูทั้งสองข้าง วิญญูชนทั่วไปย่อมทราบดีว่าผู้ตายอาการหนักต้องรีบนำผู้ตายไปโรงพยาบาลแทนที่จะพาผู้ตายเข้าโรงแรม และยังปรากฏว่าจำเลยขับรถพาผู้ตายออกจากร้านอาหารผ่านบ้านพักผู้ตายแล้วขับรถวกวนจนกระทั่งพาผู้ตายไปโรงแรมซึ่งอยู่คนละเส้นทาง เชื่อว่า จำเลยไม่มีเจตนาพาผู้ตายไปส่งบ้านพัก หากจำเลยนำผู้ตายไปส่งบ้านพักตามความต้องการของผู้ตายแล้ว เหตุคดีนี้คงไม่เกิดขึ้น การที่ผู้ตายตกลงจากรถจนถึงแก่ความตายเป็นเพราะผู้ตายไม่ต้องการไปกับจำเลยตามเจตนาของจำเลย สาเหตุที่ผู้ตายถึงแก่ความตายจึงเป็นผลโดยตรงจากการที่ผู้ตายถูกจำเลยหน่วงเหนี่ยวกักขังให้ปราศจากเสรีภาพในร่างกาย
ผู้ตายซึ่งมีสามีแล้วไม่ได้ยินยอมไปโรงแรมกับจำเลยตั้งแต่ต้น บาดแผลที่ปรากฏให้เห็นภายนอกร่างกายของผู้ตายซึ่งมีโลหิตไหลจากศีรษะและรูหูทั้งสองข้าง วิญญูชนทั่วไปย่อมทราบดีว่าผู้ตายอาการหนักต้องรีบนำผู้ตายไปโรงพยาบาลแทนที่จะพาผู้ตายเข้าโรงแรม และยังปรากฏว่าจำเลยขับรถพาผู้ตายออกจากร้านอาหารผ่านบ้านพักผู้ตายแล้วขับรถวกวนจนกระทั่งพาผู้ตายไปโรงแรมซึ่งอยู่คนละเส้นทาง เชื่อว่า จำเลยไม่มีเจตนาพาผู้ตายไปส่งบ้านพัก หากจำเลยนำผู้ตายไปส่งบ้านพักตามความต้องการของผู้ตายแล้ว เหตุคดีนี้คงไม่เกิดขึ้น การที่ผู้ตายตกลงจากรถจนถึงแก่ความตายเป็นเพราะผู้ตายไม่ต้องการไปกับจำเลยตามเจตนาของจำเลย สาเหตุที่ผู้ตายถึงแก่ความตายจึงเป็นผลโดยตรงจากการที่ผู้ตายถูกจำเลยหน่วงเหนี่ยวกักขังให้ปราศจากเสรีภาพในร่างกาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5089/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลอุทธรณ์วินิจฉัยประเด็นอายุความ แม้ศาลชั้นต้นยังมิได้วินิจฉัย ชี้ขาดถูกต้องตามกฎหมาย
ประเด็นในเรื่องคดีโจทก์ขาดอายุความหรือไม่นั้น ศาลชั้นต้นได้กำหนดไว้เป็นประเด็นข้อพิพาทแห่งคดีในชั้นชี้สองสถานแล้วเพียงแต่เมื่อศาลชั้นต้นยกฟ้องโจทก์ในประเด็นข้อพิพาทข้ออื่นจึงไม่ได้วินิจฉัยในประเด็นเรื่องคดีโจทก์ขาดอายุความ แต่เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 3 เห็นว่า โจทก์มีอำนาจฟ้องซึ่งมีผลเป็นการกลับคำชี้ขาดของศาลชั้นต้นแล้ว ศาลอุทธรณ์ภาค 3 มีอำนาจที่จะใช้ดุลพินิจว่าจะย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยและพิพากษาในประเด็นเรื่องอื่นที่ศาลชั้นต้นยังไม่ได้วินิจฉัยซึ่งรวมทั้งประเด็นเรื่องอายุความด้วยหรือวินิจฉัยไปเสียทีเดียว หากเห็นว่าข้อเท็จจริงในสำนวนเพียงพอต่อการวินิจฉัยข้อกฎหมาย เมื่อปรากฏว่าโจทก์และจำเลยทั้งสามต่างนำพยานหลักฐานของตนเข้าสืบจนเสร็จสิ้นแล้ว การที่จะย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยอาจเกิดความล่าช้าต่อการพิจารณาพิพากษาคดี ศาลอุทธรณ์ภาค 3 จึงมีอำนาจที่จะหยิบยกเรื่องอายุความอันเป็นประเด็นแห่งคดีที่ศาลชั้นต้นชี้สองสถานไว้และยังไม่ยุติไปขึ้นวินิจฉัยให้เสร็จสิ้นไปเสียทีเดียวตาม ป.วิ.พ. มาตรา 240 และ 243 การวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ภาค 3 จึงชอบด้วยกฎหมาย ฎีกาของโจทก์ข้อนี้ฟังไม่ขึ้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5009-5015/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องค่าเสียหายจากการพักงาน ต้องผ่านการวินิจฉัยของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ก่อน
โจทก์ทั้งเจ็ดฟ้องขอให้จำเลยจ่ายค่าเสียหายอันเกิดจากการพักงานซึ่งเกิดจากการกระทำอันไม่เป็นธรรม โดยไม่ได้มีการพิจารณาและวินิจฉัยชี้ขาดโดยคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ จึงเป็นการไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนของกฎหมายว่าด้วยแรงงานสัมพันธ์ โจทก์ทั้งเจ็ดไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยให้จ่ายค่าเสียหายอันเกิดจากคำสั่งพักงาน