พบผลลัพธ์ทั้งหมด 632 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11966/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาฆ่า การกระทำโดยบันดาลโทสะ และการแก้ไขโทษตามกฎหมายอาญา
การกระทำความผิดอันจะเข้าเหตุเป็นการกระทำโดยบันดาลโทสะได้ ต้องเป็นกรณีที่ผู้ใดถูกข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรม จึงได้กระทำความผิดต่อผู้ข่มเหงในขณะนั้น แม้จะฟังได้ว่า ส. หลานของจำเลยถูกผู้เสียหายทำร้าย แต่เป็นเรื่องที่ผู้เสียหายกระทำความผิดต่อ ส. เท่านั้น มิใช่เป็นการกระทำความผิดต่อจำเลย อีกทั้ง ส. อายุกว่า 20 ปีแล้ว จึงไม่ใช่บุคคลใกล้ชิดอันจะก่อให้เกิดสิทธิและหน้าที่แก่จำเลยที่จะต้องคอยปกป้องดูแลมิให้ผู้อื่นมาทำร้าย กรณีไม่อาจถือได้ว่าจำเลยถูกผู้เสียหายข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรม การที่จำเลยฟันผู้เสียหายจึงอ้างว่าเป็นการกระทำโดยบันดาลโทสะตามกฎหมายไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11912/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างแรงงาน: เบี้ยเลี้ยงเป็นค่าจ้าง, การนับระยะเวลาทำงานต่อเนื่อง, การเลิกจ้างตามกำหนดสัญญา
พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 5 นิยาม "ค่าจ้าง" หมายความว่า "เงินที่นายจ้างและลูกจ้างตกลงกันจ่ายเป็นค่าตอบแทนในการทำงานตามสัญญาจ้างสำหรับระยะเวลาการทำงานปกติเป็นรายชั่วโมง รายวัน รายสัปดาห์ รายเดือน หรือระยะเวลาอื่น..." ซึ่งตามสัญญาว่าจ้างคนประจำเรือระบุเรื่องค่าจ้างและการจ่ายค่าจ้างไว้ในข้อ 3 และระบุค่าเบี้ยเลี้ยงไว้ในข้อ 3.2 เพียงว่า ค่าเบี้ยเลี้ยงวันละ 140 บาท ซึ่งศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยจ่ายค่าเบี้ยเลี้ยงให้โจทก์ที่ปฏิบัติงานบนเรือเป็นอัตราแน่นอนทุกเดือนระหว่างออกไปปฏิบัติงาน โดยไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าโจทก์ซึ่งเป็นนายเรือทำงานประจำบนเรือจะต้องปฏิบัติงานที่อื่นใดนอกจากบนเรือดังกล่าว เบี้ยเลี้ยงที่จำเลยจ่ายโจทก์จึงเป็นค่าตอบแทนในการทำงานตามสัญญาจ้างสำหรับระยะเวลาการทำงานปกติอันเป็นส่วนหนึ่งของค่าจ้างที่จำเลยจ่ายแก่โจทก์เป็นรายเดือน การที่ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่าเบี้ยเลี้ยงเป็นค่าจ้างเมื่อรวมกับเงินเดือนแล้วโจทก์จึงได้รับค่าจ้างอัตราสุดท้ายเดือนละ 84,200 บาท จึงชอบแล้ว
เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์ตามกำหนดระยะเวลาในสัญญาจ้างจึงไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและเมื่อโจทก์และจำเลยมีเจตนาทำสัญญาจ้างคราวละ 6 เดือน การนับระยะเวลาทุกช่วงเข้าด้วยกันจึงมิชอบด้วยกฎหมายนั้นตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 20 บัญญัติว่า "การที่ลูกจ้างไม่ได้ทำงานติดต่อกันโดยนายจ้างมีเจตนาที่จะไม่ให้ลูกจ้างนั้นมีสิทธิใดตามพระราชบัญญัตินี้ ไม่ว่านายจ้างจะให้ลูกจ้างทำงานในหน้าที่ใด และการจ้างแต่ละช่วงมีระยะเวลาห่างกันเท่าใดก็ตามให้นับระยะเวลาการทำงานทุกช่วงเข้าด้วยกันเพื่อประโยชน์ในการได้สิทธิของลูกจ้างนั้น" ซึ่งปรากฏข้อเท็จจริงว่าจำเลยจ้างโจทก์ทำงานตำแหน่งนายเรือตั้งแต่วันที่ 16 ตุลาคม 2543 ถึงวันที่ 15 เมษายน 2547 โดยทำสัญญาจ้างแรงงานช่วงเวลาละ 6 เดือนต่อเนื่องกันอีก 6 ช่วง ซึ่งการทำสัญญาจ้างแรงงานในลักษณะดังกล่าวทำให้โจทก์มีระยะเวลาการทำงานไม่ติดต่อกัน สิทธิที่จะได้รับค่าชดเชยเมื่อถูกเลิกจ้างก็จะได้ไม่เท่าสิทธิตามที่บัญญัติในมาตรา 118 จึงต้องนับระยะเวลาการทำงานทุกช่วงเข้าด้วยกัน เพื่อประโยชน์ในการได้สิทธิในค่าชดเชยของโจทก์ตามมาตรา 20 การที่ศาลแรงงานกลางนับระยะเวลาการทำงานของโจทก์ทุกช่วงเข้าด้วยกัน เห็นว่า โจทก์ทำงานกับจำเลยครบสามปีแต่ไม่ครบหกปี จึงมีสิทธิได้รับค่าชดเชยไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้ายหนึ่งร้อยแปดสิบวันตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 118 (3) จึงชอบแล้ว แต่ในส่วนของการจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้านั้น เมื่อโจทก์นำเรือกลับถึงท่าเรือกรุงเทพมหานครแล้วจำเลยบอกเลิกจ้างโจทก์ จึงเป็นการเลิกจ้างตามกำหนดระยะเวลาการจ้างในสัญญาว่าจ้างคนประจำเรือข้อ 2 เช่นนี้ สัญญาจ้างย่อมสิ้นสุดลงโดยมิต้องบอกกล่าวล่วงหน้าแก่โจทก์ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 17 วรรคหนึ่ง จำเลยจึงมิต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าแก่โจทก์
จำเลยจ้างโจทก์ให้เป็นคนประจำเรือตำแหน่งนายเรือ ซึ่งในวันครบกำหนดตามสัญญาจ้างอาจเป็นวันที่โจทก์ยังนำเรือกลับมาไม่ถึงกรุงเทพมหานคร เพราะเรือยังอยู่ในความควบคุมของโจทก์ การที่โจทก์และจำเลยตกลงว่าการเดินทางกลับมาไม่ถึงมิให้เป็นการต่ออายุสัญญาจ้าง ซึ่งมีผลทำให้สัญญาจ้างครบกำหนดเมื่อเรือเดินทางกลับถึงกรุงเทพมหานครแล้ว ย่อมเป็นข้อตกลงที่ไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนและไม่ตกเป็นโมฆะแต่ประการใด ข้อตกลงดังกล่าวจึงมีผลใช้บังคับได้ จำเลยเลิกจ้างโจทก์ทันทีที่โจทก์นำเรือกลับมาถึงท่าเรือกรุงเทพมหานครเป็นการเลิกจ้างเมื่อครบกำหนดเวลาตามสัญญาจ้าง ไม่จำต้องบอกกล่าวล่วงหน้าและไม่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์ตามกำหนดระยะเวลาในสัญญาจ้างจึงไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและเมื่อโจทก์และจำเลยมีเจตนาทำสัญญาจ้างคราวละ 6 เดือน การนับระยะเวลาทุกช่วงเข้าด้วยกันจึงมิชอบด้วยกฎหมายนั้นตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 20 บัญญัติว่า "การที่ลูกจ้างไม่ได้ทำงานติดต่อกันโดยนายจ้างมีเจตนาที่จะไม่ให้ลูกจ้างนั้นมีสิทธิใดตามพระราชบัญญัตินี้ ไม่ว่านายจ้างจะให้ลูกจ้างทำงานในหน้าที่ใด และการจ้างแต่ละช่วงมีระยะเวลาห่างกันเท่าใดก็ตามให้นับระยะเวลาการทำงานทุกช่วงเข้าด้วยกันเพื่อประโยชน์ในการได้สิทธิของลูกจ้างนั้น" ซึ่งปรากฏข้อเท็จจริงว่าจำเลยจ้างโจทก์ทำงานตำแหน่งนายเรือตั้งแต่วันที่ 16 ตุลาคม 2543 ถึงวันที่ 15 เมษายน 2547 โดยทำสัญญาจ้างแรงงานช่วงเวลาละ 6 เดือนต่อเนื่องกันอีก 6 ช่วง ซึ่งการทำสัญญาจ้างแรงงานในลักษณะดังกล่าวทำให้โจทก์มีระยะเวลาการทำงานไม่ติดต่อกัน สิทธิที่จะได้รับค่าชดเชยเมื่อถูกเลิกจ้างก็จะได้ไม่เท่าสิทธิตามที่บัญญัติในมาตรา 118 จึงต้องนับระยะเวลาการทำงานทุกช่วงเข้าด้วยกัน เพื่อประโยชน์ในการได้สิทธิในค่าชดเชยของโจทก์ตามมาตรา 20 การที่ศาลแรงงานกลางนับระยะเวลาการทำงานของโจทก์ทุกช่วงเข้าด้วยกัน เห็นว่า โจทก์ทำงานกับจำเลยครบสามปีแต่ไม่ครบหกปี จึงมีสิทธิได้รับค่าชดเชยไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้ายหนึ่งร้อยแปดสิบวันตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 118 (3) จึงชอบแล้ว แต่ในส่วนของการจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้านั้น เมื่อโจทก์นำเรือกลับถึงท่าเรือกรุงเทพมหานครแล้วจำเลยบอกเลิกจ้างโจทก์ จึงเป็นการเลิกจ้างตามกำหนดระยะเวลาการจ้างในสัญญาว่าจ้างคนประจำเรือข้อ 2 เช่นนี้ สัญญาจ้างย่อมสิ้นสุดลงโดยมิต้องบอกกล่าวล่วงหน้าแก่โจทก์ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 17 วรรคหนึ่ง จำเลยจึงมิต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าแก่โจทก์
จำเลยจ้างโจทก์ให้เป็นคนประจำเรือตำแหน่งนายเรือ ซึ่งในวันครบกำหนดตามสัญญาจ้างอาจเป็นวันที่โจทก์ยังนำเรือกลับมาไม่ถึงกรุงเทพมหานคร เพราะเรือยังอยู่ในความควบคุมของโจทก์ การที่โจทก์และจำเลยตกลงว่าการเดินทางกลับมาไม่ถึงมิให้เป็นการต่ออายุสัญญาจ้าง ซึ่งมีผลทำให้สัญญาจ้างครบกำหนดเมื่อเรือเดินทางกลับถึงกรุงเทพมหานครแล้ว ย่อมเป็นข้อตกลงที่ไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนและไม่ตกเป็นโมฆะแต่ประการใด ข้อตกลงดังกล่าวจึงมีผลใช้บังคับได้ จำเลยเลิกจ้างโจทก์ทันทีที่โจทก์นำเรือกลับมาถึงท่าเรือกรุงเทพมหานครเป็นการเลิกจ้างเมื่อครบกำหนดเวลาตามสัญญาจ้าง ไม่จำต้องบอกกล่าวล่วงหน้าและไม่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11683-11703/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกร้องค่าจ้างและค่าชดเชยจากคำสั่งพนักงานตรวจแรงงาน: ศาลรับฟ้องได้แม้ยังไม่ถึงที่สุด
พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 125 บัญญัติให้นายจ้าง ลูกจ้าง ซึ่งไม่พอใจคำสั่งพนักงานตรวจแรงงาน ตามมาตรา 124 นำคดีไปสู่ศาลภายในสามสิบวันนับแต่วันทราบคำสั่ง หาได้บัญญัติให้ลูกจ้างต้องรอจนกว่าคำสั่งเป็นที่สุดแล้วจึงจะฟ้องเรียกเงินตามคำสั่งของพนักงานตรวจแรงงานได้
เมื่อตามบัญชีค่าจ้างและค่าชดเชยตามคำสั่งของพนักงานตรวจแรงงานสั่งให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 จ่ายค่าจ้างและค่าชดเชยให้โจทก์ที่ 2 น้อยกว่าคำขอท้ายฟ้อง โจทก์ที่ 2 ย่อมไม่อาจได้รับค่าจ้างและค่าชดเชยเกินกว่าคำสั่งของพนักงานตรวจแรงงาน จึงเห็นควรกำหนดจำนวนค่าจ้างและค่าชดเชยที่โจทก์แต่ละสำนวนมีสิทธิได้รับตามคำสั่งของพนักงานตรวจแรงงานให้ชัดเจน
แม้โจทก์แต่ละสำนวนมิได้มีคำขอให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 รับผิดร่วมกัน แต่ก็บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิดของจำเลยที่ 1 ซึ่งต้องรับผิดร่วมกันในบรรดาหนี้ของห้างหุ้นส่วนโดยไม่จำกัดจำนวน เพื่อความเป็นธรรมจึงเห็นสมควรวินิจฉัยให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 รับผิดร่วมกัน
เมื่อตามบัญชีค่าจ้างและค่าชดเชยตามคำสั่งของพนักงานตรวจแรงงานสั่งให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 จ่ายค่าจ้างและค่าชดเชยให้โจทก์ที่ 2 น้อยกว่าคำขอท้ายฟ้อง โจทก์ที่ 2 ย่อมไม่อาจได้รับค่าจ้างและค่าชดเชยเกินกว่าคำสั่งของพนักงานตรวจแรงงาน จึงเห็นควรกำหนดจำนวนค่าจ้างและค่าชดเชยที่โจทก์แต่ละสำนวนมีสิทธิได้รับตามคำสั่งของพนักงานตรวจแรงงานให้ชัดเจน
แม้โจทก์แต่ละสำนวนมิได้มีคำขอให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 รับผิดร่วมกัน แต่ก็บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิดของจำเลยที่ 1 ซึ่งต้องรับผิดร่วมกันในบรรดาหนี้ของห้างหุ้นส่วนโดยไม่จำกัดจำนวน เพื่อความเป็นธรรมจึงเห็นสมควรวินิจฉัยให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 รับผิดร่วมกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11602/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคำนวณค่าเสียหายจากไม้ของกลางที่ถูกละเมิด ต้องใช้ราคาตลาดจริง ไม่ใช่อัตราที่รัฐกำหนด
ไม้ของกลางที่ตรวจยึดในคดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการป่าไม้แม้จะมีมติคณะรัฐมนตรีให้องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้เป็นผู้รับซื้อทั้งสิ้น แต่มติดังกล่าวเป็นเพียงการกำหนดตัวบุคคลที่มีสิทธิจะซื้อไม้ของกลางในคดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการป่าไม้ รวมทั้งราคาขายที่กำหนดในอัตราสามเท่า ของค่าภาคหลวงของไม้ของกลางตามประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนดอัตราค่าภาคหลวงไม้หวงห้ามและบัญชีอัตราค่าภาคหลวง ซึ่งทำให้ราคาไม้ของกลางที่โจทก์จะขายให้องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้มีราคาต่ำกว่าราคาตามท้องตลาด ราคาดังกล่าวจึงมิใช่ราคาที่แท้จริงของทรัพย์สินนั้น ที่จะกำหนดให้จำเลยทั้งสองรับผิดชำระค่าเสียหายให้แก่โจทก์ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 438 วรรคสอง แต่ต้องถือเอาตามราคาปกติในท้องตลาดของราคาไม้ของกลางในขณะเกิดเหตุละเมิดที่แท้จริง เมื่อโจทก์ไม่นำสืบให้เห็นว่าคำเสียหายดังกล่าวที่แท้จริงมีเพียงใด ศาลใช้ดุลพินิจกำหนดให้เองได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11584/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสิ้นสุดใบอนุญาตโรงงาน: เจตนาเลิกใช้ใบอนุญาตเดิมเมื่อเปลี่ยนประเภทกิจการ
แม้จะไม่มีบทบัญญัติกฎหมายใดระบุว่า เมื่อได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานจำพวกที่ 3 แล้ว ใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานจำพวกที่ 2 ที่ได้รับอยู่ก่อนหน้านั้นเป็นอันสิ้นสุดลงก็ตาม แต่เมื่อโรงงานที่จำเลยทั้งสองใช้ประกอบกิจการนั้นเป็นโรงงานแห่งเดียวกันและมีวัตถุประสงค์ประกอบกิจการอย่างเดียวกันแล้ว การที่จำเลยที่ 1 ขออนุญาตเปลี่ยนแปลงการประกอบกิจการโรงงานจากจำพวกที่ 2 เป็นจำพวกที่ 3 โดยมีวัตถุประสงค์เพิ่มกำลังแรงม้าเครื่องจักรในการประกอบกิจการมากขึ้นก็เพื่อให้สามารถผลิดผลงานได้มากขึ้นเป็นการเพิ่มผลประโยชน์ให้แก่จำเลยทั้งสองย่อมแสดงว่าจำเลยที่ 1 ไม่ประสงค์ใช้ใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานจำพวกที่ 2 ที่อนุญาตให้ใช้เครื่องจักรแรงม้าต่ำในการประกอบกิจการอีกต่อไปแล้ว ทั้งยังเป็นการประกอบกิจการในโรงงานแห่งเดียวกันและในกิจการประเภทเดียวกันด้วย จึงเป็นไปไม่ได้ว่าโรงงานแห่งเดียวกันจะมีใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานหลายจำพวกหลายฉบับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11440/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีเสพยาเสพติดขณะขับรถ: คำพิพากษาศาลอุทธรณ์เป็นที่สุดตามกฎหมายวิธีพิจารณาคดียาเสพติด การฎีกาต้องได้รับอนุญาต
คดีเสพยาเสพติดให้โทษในขณะเป็นผู้ขับรถตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 57, 91 พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 43 ทวิ, 157/1 เป็นคดีความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด ดังนั้น คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลอุทธรณ์ในการกระทำซึ่งเป็นความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด ดังนั้น คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลอุทธรณ์ในการกระทำซึ่งเป็นความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดดังกล่าวจึงเป็นที่สุดตาม พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ.2550 มาตรา 18 วรรคหนึ่ง ต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาทั้งในปัญหาข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายตามบทบัญญัติดังกล่าว ซึ่งขณะที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ.2550 มีผลใช้บังคับแล้วและเมื่อคดีนี้ถือว่าเป็นความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดคดีของโจทก์จึงต้องห้ามมิให้ฎีกา เว้นแต่จะได้รับอนุญาตให้ฎีกาจากศาลฎีกาก่อนตามบทบัญญัติมาตรา 18 วรรคหนึ่ง และมาตรา 19 วรรคหนึ่ง วรรคสอง แห่ง พ.ร.บ.ดังกล่าว เมื่อโจทก์ไม่ได้ยื่นคำขอโดยทำเป็นคำร้องไปพร้อมกับฎีกาต่อศาลฎีกาภายในกำหนดหนึ่งเดือนนับแต่วันอ่านหรือถือว่าได้อ่านคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลอุทธรณ์นั้นให้โจทก์ผู้ขออนุญาตฎีกาฟัง เพื่อขอให้รับฎีกาไว้วินิจฉัยตามมาตรา 19 วรรคหนึ่ง แห่ง พ.ร.บ.ดังกล่าวแล้ว ศาลฎีกาจึงไม่รับฎีกาของโจทก์ไว้วินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11287-11288/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีและการโอนสิทธิในที่ดิน การขายทอดตลาดไม่เป็นโมฆะแม้มีที่ดินสงวน
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองตาม ป.อ. มาตรา 83, 343 และให้จำเลยทั้งสองคืนเงินประกันการทำงานที่จำเลยทั้งสองได้จากการหลอกลวงคืนแก่ผู้เสียหายทั้ง 16 คน ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสองคืนเงินประกันการทำงานให้แก่ผู้เสียหายเพียง 1 คน ที่ยังไม่ได้รับเงินคืนและมาเบิกความต่อศาล คำขออื่นให้ยก เมื่อโจทก์ไม่ได้อุทธรณ์โต้แย้งคำพิพากษาศาลชั้นต้นในคำขอส่วนนี้ ประเด็นตามคำขอจึงเป็นอันยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ปัญหานี้ไม่ใช่ปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 จะยกขึ้นวินิจฉัยได้เอง ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาแก้ให้จำเลยทั้งสองคืนเงินเต็มจำนวนตามคำขอท้ายฟ้องให้แก่ผู้เสียหายทั้ง 16 คน จึงไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11182/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
วันหยุดตามประเพณี นายจ้างกำหนดวันหยุดอื่นแทนวันหยุดราชการไม่ได้ ต้องจ่ายค่าทำงานในวันหยุดตามกฎหมาย
การที่นายจ้างประกาศกำหนดวันหยุดอื่นเป็นวันหยุดตามประเพณีแทนวันหยุดราชการประจำปี วันหยุดทางศาสนาหรือขนบธรรมเนียมประเพณีแห่งท้องถิ่น แม้ไม่มีกฎหมายกำหนดให้การประกาศกำหนดวันหยุดตามประเพณีของนายจ้างเป็นโมฆะ แต่ก็ถือได้ว่าประกาศกำหนดวันหยุดตามประเพณีของนายจ้างไม่มีผลบังคับตามกฎหมาย และไม่เป็นการยกเว้นวันหยุดตามประเพณีตามมาตรา 29 แห่ง พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 นายจ้างจึงยังคงต้องประกาศกำหนดวันหยุดตามประเพณีจากวันหยุดราชการประจำปี วันหยุดทางศาสนาหรือขนบธรรมเนียมประเพณีแห่งท้องถิ่นให้ลูกจ้างทราบและให้ลูกจ้างหยุดงานในวันดังกล่าว หากให้ลูกจ้างมาทำงานก็ต้องจ่ายค่าทำงานในวันหยุดและค่าล่วงเวลาในวันหยุดตามกฎหมาย การที่นายจ้างกำหนดให้วันทำงานปกติของลูกจ้างเป็นวันหยุดแทนวันหยุดตามประเพณีและจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างในวันหยุดแทนวันหยุดตามประเพณีตามอัตราค่าจ้างในวันหยุด ถือเป็นการตกลงจ่ายค่าตอบแทนในการทำงานเกินไปกว่าค่าจ้างในวันทำงานปกติตามอำเภอใจเสมือนหนึ่งว่าเพื่อชำระหนี้โดยรู้อยู่ว่าตนไม่มีความผูกพันที่จะต้องชำระ ไม่อาจนำเอาเหตุที่ได้จ่ายค่าจ้างเกินกว่าปกติกับการที่ลูกจ้างยอมรับค่าจ้างมาอ้างว่าลูกจ้างได้ให้ความยินยอม การที่ลูกจ้างได้รับค่าจ้างมากกว่าที่ควร ได้รับไม่ถือว่าเป็นการตกลงอันใดขึ้นใหม่ นายจ้างจะถือว่าได้ชำระหนี้ค่าทำงานในวันหยุดและค่าล่วงเวลาในวันหยุดให้แก่ลูกจ้างในวันหยุดตามประเพณีแล้วหาได้ไม่และหากนายจ้างให้ลูกจ้างทำงานในวันหยุดตามประเพณี ก็ต้องจ่ายค่าทำงานในวันหยุดหรือค่าล่วงเวลาในวันหยุดให้แก่ลูกจ้างอีกส่วนหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11043/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อุทธรณ์ฟ้องแย้งไม่ชัดเจน ศาลฎีกายกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ให้จำเลยที่ 2 ชดใช้ค่าเสียหายจากละเมิด
จำเลยทั้งสองฟ้องแย้งขอให้โจทก์ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความค่าเสียหายที่เกิดแก่รถบรรทุกของจำเลยที่ 2 จากการกระทำละเมิดของโจทก์เท่านั้น จำเลยที่ 1 มิได้ฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนความเสียหายในส่วนของจำเลยที่ 1 จากโจทก์ด้วย การที่ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องแย้งของจำเลยทั้งสองแล้วมีการยื่นฟ้องอุทธรณ์ โดยระบุชื่อผู้อุทธรณ์ว่า จำเลยที่ 1 มิได้ระบุชื่อ จำเลยที่ 2 ว่าเป็นผู้อุทธรณ์ แต่เมื่อพิเคราะห์อุทธรณ์ฉบับดังกล่าวทั้งฉบับ จะใช้คำว่า จำเลย โดยมิได้ใช้คำว่า จำเลยที่ 1 และเนื้อหาก็เป็นการโต้แย้งประเด็นที่ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องแย้งของจำเลยที่ 2 โดยโจทก์มิได้ให้การต่อสู้ในประเด็นเรื่องฟ้องแย้งของจำเลยที่ 2 ขาดอายุความ และประเด็นว่า โจทก์เป็นฝ่ายประมาทเลินเล่อจึงต้องชดใช้ค่าเสียหายให้แก่จำเลยที่ 2 ตามฟ้องแย้งเท่านั้นมิได้มีเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับจำเลยที่ 1 ทั้งอุทธรณ์ฉบับดังกล่าว ทนายจำเลยทั้งสองก็เป็นผู้ลงชื่อในช่องผู้อุทธรณ์ และเสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ตามฟ้องแย้งของจำเลยที่ 2 มาครบถ้วนแล้ว จึงถือได้ว่า อุทธรณ์ฉบับดังกล่าวเป็นอุทธรณ์ของจำเลยที่ 2 มิใช่อุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 ไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ฉบับดังกล่าว โดยเห็นว่าเป็นอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 จึงเป็นการไม่ชอบ แต่เมื่อสำนวนขึ้นสู่การพิจารณาของศาลฎีกา โดยโจทก์และจำเลยที่ 2 ต่างนำพยานเข้าสืบในประเด็นข้อนี้จนเสร็จสิ้นกระแสความแล้ว แม้ทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาท ห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง แต่เมื่อศาลฎีกาได้วินิจฉัยปัญหาของกฎหมายแล้ว เพื่อมิให้คดีต้องล่าช้า ศาลฎีกาเห็นควรวินิจฉัยในประเด็นตามฟ้องแย้งของจำเลยที่ 2 ทั้งในปัญหาข้อเท็จจริง และข้อกฎหมายโดยไม่ย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์ภาค 2 วินิจฉัยเสียก่อน
โจทก์มิได้ยกเหตุว่าฟ้องแย้งของจำเลยที่ 2 ขาดอายุความขึ้นต่อสู้ไว้ในคำให้การแก้ฟ้องแย้ง ที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า ฟ้องแย้งของจำเลยที่ 2 ขาดอายุความจึงเป็นการไม่ชอบ
ฟ้องแย้งของจำเลยทั้งสองเป็นการฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายของจำเลยที่ 2 จากการกระทำละเมิดของพนักงานโจทก์เท่านั้น จำเลยที่ 1 มิได้เรียกร้องค่าสินไหมทดแทนของจำเลยที่ 1 จากโจทก์ด้วย จำเลยที่ 1 จึงไม่มีสิทธิฟ้องแย้งโจทก์ การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับฟ้องแย้งของจำเลยที่ 1 มาด้วยจึงเป็นการไม่ชอบ ที่ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องแย้งของจำเลยที่ 1 โดยเห็นว่าฟ้องแย้งขาดอายุความซึ่งไม่ถูกต้องมานั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วยในผล ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคสอง
โจทก์มิได้ยกเหตุว่าฟ้องแย้งของจำเลยที่ 2 ขาดอายุความขึ้นต่อสู้ไว้ในคำให้การแก้ฟ้องแย้ง ที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า ฟ้องแย้งของจำเลยที่ 2 ขาดอายุความจึงเป็นการไม่ชอบ
ฟ้องแย้งของจำเลยทั้งสองเป็นการฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายของจำเลยที่ 2 จากการกระทำละเมิดของพนักงานโจทก์เท่านั้น จำเลยที่ 1 มิได้เรียกร้องค่าสินไหมทดแทนของจำเลยที่ 1 จากโจทก์ด้วย จำเลยที่ 1 จึงไม่มีสิทธิฟ้องแย้งโจทก์ การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับฟ้องแย้งของจำเลยที่ 1 มาด้วยจึงเป็นการไม่ชอบ ที่ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องแย้งของจำเลยที่ 1 โดยเห็นว่าฟ้องแย้งขาดอายุความซึ่งไม่ถูกต้องมานั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วยในผล ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10022/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้จากการผ่อนชำระเป็นงวด และผลของการผิดนัดเพียงหนึ่งงวด
ตามหนังสือรับชดใช้สินค้าขาดบัญชีไม่ได้กำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้ โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยได้ในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง นับแต่วันผิดนัดซึ่งหนังสือรับชดใช้สินค้าขาดบัญชีดังกล่าวให้ชดใช้เป็นรายเดือน กำหนดชำระเสร็จใน 12 เดือน เริ่มชดใช้ตั้งแต่เดือนมกราคม 2545 เป็นต้นไป อันเป็นการผ่อนชำระหนี้ให้แก่โจทก์เป็นงวด แม้ไม่ได้ระบุว่าผิดนัดงวดใดงวดหนึ่งให้ถือว่าผิดนัดทั้งหมด เมื่อจำเลยที่ 1 ผิดนัดไม่ชำระหนี้ให้แก่โจทก์ตามเวลาที่ตกลงไว้แม้แต่งวดหนึ่งงวดใดก็ตกเป็นผู้ผิดนัดชำระหนี้ตามสัญญาทั้งหมดนับแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2545 ไม่ใช่ผิดนัดเฉพาะเพียงงวดนั้นแต่อย่างใด