พบผลลัพธ์ทั้งหมด 632 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9695-9699/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องแย้งในคดีแรงงานไม่เกี่ยวเนื่องกับฟ้องเดิม ศาลไม่รับพิจารณา
คำฟ้องเดิมเป็นการฟ้องบังคับให้จำเลยที่ 1 ชำระเงินจากการเลิกจ้างโจทก์ทั้งห้า โดยการกล่าวหาว่าโจทก์ทั้งห้าจงใจทำงานล่าช้า ยุยงส่งเสริมให้ลูกจ้างในแผนกเดียวกันผละงานหรือหยุดงานโดยไม่ชอบ ซึ่งเป็นการเลิกจ้างโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายและไม่เป็นธรรม อันเป็นฟ้องที่เกี่ยวด้วยสิทธิตามสัญญาจ้างแรงงานและกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน แต่ฟ้องแย้งของจำเลยที่ 1 ข้อ 7.1 ที่ขอให้บังคับโจทก์ทั้งห้าชดใช้ค่าเสียหายจากการที่โจทก์ทั้งห้าผละงานจนจำเลยที่ 1 ถูกยกเลิกคำสั่งซื้อสินค้าและต้องเสียค่าปรับในการผิดนัดส่งสินค้า เนื่องจากค่าเสียหายดังกล่าวเป็นค่าเสียหายที่เกิดขึ้นหลังจากมีการเลิกจ้างโจทก์ทั้งห้าแล้ว ประกอบกับข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานที่จะนำสืบเป็นคนละประเด็นแตกต่างกัน ฟ้องแย้งของจำเลยที่ 1 ข้อนี้จึงไม่เกี่ยวกับฟ้องเดิม
ส่วนฟ้องแย้งข้อ 7.2 ที่ขอให้บังคับโจทก์ทั้งห้าชดใช้ค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นของจำเลยที่ 1 ในการนำผู้เชี่ยวชาญจากประเทศญี่ปุ่นมาฝึกอบรมบุคลากรที่เข้ามาทดแทนพนักงานฝ่ายการผลิต ก็เป็นค่าใช้จ่ายอันเกิดจากสัญญาจ้างแรงงานซึ่งจำเลยที่ 1 ใช้ไปในการว่าจ้างพนักงานอื่นไม่เกี่ยวกับโจทก์ทั้งห้า เมื่อจำเลยที่ 1 เลิกจ้างโจทก์ทั้งห้าแล้วจะว่าจ้างผู้อื่นหรือไม่ ย่อมเป็นความประสงค์ซึ่งจำเลยที่ 1 ก่อขึ้นแต่ฝ่ายเดียว โจทก์ทั้งห้าไม่มีส่วนเกี่ยวข้องด้วย
สำหรับฟ้องแย้งข้อ 7.3 และ 7.4 ที่ขอให้บังคับโจทก์ทั้งห้าชดใช้ค่าเสียหายจากความเสื่อมเสียชื่อเสียง ความน่าเชื่อถือ และการเสียโอกาสขายสินค้า เห็นว่า ฟ้องแย้งเป็นคดีอันเกิดจากมูลละเมิดเกี่ยวกับการทำงานตามสัญญาจ้างแรงงานแต่ฟ้องเดิมเป็นคดีพิพาทเกี่ยวด้วยสิทธิตามสัญญาจ้างแรงงานและกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน แม้ฟ้องเดิมและฟ้องแย้งจะเป็นคดีแรงงานก็ตาม แต่ข้อเท็จจริงตลอดจนพยานหลักฐานที่จะนำสืบเป็นคนละประเด็นแตกต่างกัน ไม่มีความเกี่ยวข้องเกี่ยวพันกัน ฟ้องแย้งข้อนี้จึงไม่อาจรับไว้พิจารณารวมกับฟ้องเดิมได้
ส่วนฟ้องแย้งข้อ 7.2 ที่ขอให้บังคับโจทก์ทั้งห้าชดใช้ค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นของจำเลยที่ 1 ในการนำผู้เชี่ยวชาญจากประเทศญี่ปุ่นมาฝึกอบรมบุคลากรที่เข้ามาทดแทนพนักงานฝ่ายการผลิต ก็เป็นค่าใช้จ่ายอันเกิดจากสัญญาจ้างแรงงานซึ่งจำเลยที่ 1 ใช้ไปในการว่าจ้างพนักงานอื่นไม่เกี่ยวกับโจทก์ทั้งห้า เมื่อจำเลยที่ 1 เลิกจ้างโจทก์ทั้งห้าแล้วจะว่าจ้างผู้อื่นหรือไม่ ย่อมเป็นความประสงค์ซึ่งจำเลยที่ 1 ก่อขึ้นแต่ฝ่ายเดียว โจทก์ทั้งห้าไม่มีส่วนเกี่ยวข้องด้วย
สำหรับฟ้องแย้งข้อ 7.3 และ 7.4 ที่ขอให้บังคับโจทก์ทั้งห้าชดใช้ค่าเสียหายจากความเสื่อมเสียชื่อเสียง ความน่าเชื่อถือ และการเสียโอกาสขายสินค้า เห็นว่า ฟ้องแย้งเป็นคดีอันเกิดจากมูลละเมิดเกี่ยวกับการทำงานตามสัญญาจ้างแรงงานแต่ฟ้องเดิมเป็นคดีพิพาทเกี่ยวด้วยสิทธิตามสัญญาจ้างแรงงานและกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน แม้ฟ้องเดิมและฟ้องแย้งจะเป็นคดีแรงงานก็ตาม แต่ข้อเท็จจริงตลอดจนพยานหลักฐานที่จะนำสืบเป็นคนละประเด็นแตกต่างกัน ไม่มีความเกี่ยวข้องเกี่ยวพันกัน ฟ้องแย้งข้อนี้จึงไม่อาจรับไว้พิจารณารวมกับฟ้องเดิมได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8064/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์ ไม่จำต้องรู้อยู่แล้วว่าเป็นที่ดินของผู้อื่น การครอบครองด้วยเจตนาเป็นเจ้าของเกิน 10 ปี มีผลได้กรรมสิทธิ์
ในการครอบครองทรัพย์สินของผู้อื่น หามีกฎหมายบัญญัติว่า ผู้ครอบครองจะต้องรู้ว่าทรัพย์สินที่ครอบครองนั้นเป็นของผู้อื่นหรือไม่ใช่ทรัพย์สินของตนแต่อย่างใดไม่ ดังนั้น การที่จำเลยครอบครองที่ดินพิพาทตลอดมาโดยเชื่อว่าเป็นที่ดินของตนเองที่รับโอนมรดกมา แม้จำเลยเพิ่งจะทราบภายหลังว่าที่ดินพิพาทไม่ใช่ของจำเลย เมื่อปี 2547 ก็ตามแต่เมื่อจำเลยเข้าครอบครองที่ดินพิพาทโดยความสงบและเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของเป็นเวลาติดต่อกันมาเกินกว่าสิบปีโดยไม่มีผู้ใดโต้แย้งคัดค้านจำเลยก็ย่อมได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1382 แล้ว โดยหาจำต้องเป็นการครอบครองโดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นที่ดินของผู้อื่นไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7829/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของหน่วยงานรัฐต่อละเมิดของเจ้าหน้าที่: การใช้รถยนต์ของหน่วยงานโดยได้รับอนุญาต
องค์การบริหารส่วนตำบล บ. จำเลยที่ 2 เป็นเจ้าของรถยนต์คันเกิดเหตุ วันเกิดเหตุ ส. ปลัดของจำเลยที่ 2 ใช้ให้จำเลยที่ 1 ขับรถยนต์คันดังกล่าวไปส่ง ส. ที่บ้าน จากนั้น ระหว่างทางกลับจำเลยที่ 1 ขับรถโดยประมาททำให้รถยนต์เสียหลักชนเสาไฟฟ้าของโจทก์หักเสียหาย โดยขณะเกิดเหตุ จำเลยที่ 2 มีคำสั่งให้ ส. เป็นผู้มีหน้าที่ควบคุม บำรุงรักษา และรับผิดชอบรถยนต์ของจำเลยที่ 2 แสดงว่าจำเลยที่ 2 อนุญาตให้ ส. ใช้รถยนต์คันเกิดเหตุได้ตลอดเวลา ฉะนั้นวันเกิดเหตุที่ ส. ใช้ให้จำเลยที่ 1 ขับรถยนต์คันดังกล่าวไปส่งตน แม้จะนอกเวลาราชการและเป็นไปเพื่อความประสงค์ของ ส. เอง แต่ก็ต้องถือว่าจำเลยที่ 1 โดย ส. ได้รับอนุญาตจากจำเลยที่ 2 ให้ทำเช่นนั้นได้ การขับรถยนต์คันเกิดเหตุของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นสมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบล บ. และตามคำสั่งของ ส. จึงถือว่ากระทำไปในระหว่างปฏิบัติงานตามหน้าที่ของจำเลยที่ 2 แล้ว หาได้เป็นการกระทำนอกอำนาจหน้าที่ของจำเลยที่ 2 ไม่ จำเลยที่ 2 ต้องร่วมกับจำเลยที่ 1 รับผิดในผลแห่งละเมิดต่อโจทก์
สิทธิของโจทก์ในการฟ้องจำเลยซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่และหน่วยงานรัฐให้รับผิดทางละเมิดนั้นต้องเป็นไปตาม พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539 เมื่อการกระทำละเมิดของจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์เป็นการกระทำในการปฏิบัติหน้าที่ของจำเลยที่ 2 โจทก์จึงต้องห้ามมิให้ฟ้องจำเลยที่ 1 ตามมาตรา 5 วรรคหนึ่ง แห่ง พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539
สิทธิของโจทก์ในการฟ้องจำเลยซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่และหน่วยงานรัฐให้รับผิดทางละเมิดนั้นต้องเป็นไปตาม พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539 เมื่อการกระทำละเมิดของจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์เป็นการกระทำในการปฏิบัติหน้าที่ของจำเลยที่ 2 โจทก์จึงต้องห้ามมิให้ฟ้องจำเลยที่ 1 ตามมาตรา 5 วรรคหนึ่ง แห่ง พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7740-7747/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนฟ้องและผลกระทบต่ออำนาจฟ้อง รวมถึงข้อผูกพันตามบันทึกรับเงินค่าชดเชย
ระหว่างพิจารณาของศาลแรงงานกลางโจทก์ที่ 3 ยื่นคำร้องขอถอนคำฟ้องและศาลแรงงานกลางอนุญาตให้โจทก์ที่ 3 ถอนคำฟ้องแล้ว การถอนคำฟ้องดังกล่าวย่อมลบล้างผลแห่งการยื่นคำฟ้องนั้น รวมทั้งกระบวนพิจารณาอื่นๆ อันมีมาต่อภายหลังยื่นคำฟ้อง และกระทำให้คู่ความกลับคืนสู่ฐานะเดิมเสมือนหนึ่งมิได้มีการยื่นฟ้องเลย ตามป.วิ.พ. มาตรา 176 ประกอบพ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31 โจทก์ที่ 3 ไม่อยู่ในฐานะคู่ความและมิได้มีส่วนได้เสียในผลแห่งคดีตามคำพิพากษาศาลแรงงานกลางโจทก์ที่ 3 จึงไม่มีอำนาจอุทธรณ์
ศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงว่าขณะทำบันทึกการรับเงินค่าชดเชยและเงินอื่น ๆ ซึ่งมีข้อความว่าโจทก์แต่ละคนไม่ติดใจเรียกร้องหรือดำเนินคดีใดๆ กับนายจ้างอีก โจทก์ทราบอยู่แล้วว่าถูกจำเลยเลิกจ้าง ซึ่งโจทก์แต่ละคนย่อมมีอำนาจในการตัดสินใจโดยไม่อยู่ในภาวะที่ต้องเกรงกลัวจำเลยซึ่งเป็นนายจ้างอีกต่อไป การที่โจทก์ทุกคนลงลายมือชื่อในใบรับเงินจึงต้องผูกพันตามข้อความในหนังสือดังกล่าวดังนั้น อุทธรณ์ของโจทก์ที่ 1 ที่ 5 ถึงที่ 8 ที่ 10 และที่ 13 จึงเป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังข้อเท็จจริงของศาลแรงงานกลาง เพื่อให้ศาลรับฟังข้อเท็จจริงเป็นว่า ขณะโจทก์แต่ละคนลงชื่อในบันทึกการรับเงินค่าชดเชยและเงินอื่นๆ โจทก์แต่ละคนไม่มีอิสระในการตัดสินใจและยังอยู่ในภาวะที่ต้องเกรงกลัวจำเลยซึ่งเป็นนายจ้างเพื่อนำไปสู่ข้อกฎหมายตามอุทธรณ์ จึงเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามพ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง
บันทึกการรับเงินที่โจทก์ที่ 1 ที่ 5 ถึงที่ 8 ที่ 10 และที่ 13 ทำกับจำเลยเกิดจากการที่จำเลยเลิกจ้างลูกจ้างซึ่งร่วมถึงโจทก์บางคนและเกิดจากการที่โจทก์บางคนลาออกจารการเป็นลูกจ้างของจำเลยจำเลยจึงตกลงกับโจทก์ที่ 1 ที่ 5 ถึงที่ 8 ที่ 10 และที่ 13 เพื่อระงับสิทธิเรียกร้องต่าง ๆ ของโจทก์ที่ 1 ที่ 5 ถึงที่ 8 ที่ 10 และที่ 13 เกี่ยวกับสัญญาจ้างแรงงาน การเลิกจ้าง และการลาออก โดยในขณะที่ทำบันทึกโจทก์ทุกคนทราบอยู่แล้วว่าถูกจำเลยเลิกจ้าง การที่โจทก์ทุกคนลงลายมือชื่อในบันทึกรับเงินย่อมผูกพันตามข้อความในหนังสือนั้นดังนั้น คำว่า ข้าพเจ้าไม่ติดใจที่จะเรียกร้องหรือดำเนินคดีใดๆ กับนายจ้างอีกตามบันทึกการรับเงินค่าชดเชย ย่อมหมายความรวมถึงค่าครองชีพด้วย จำเลยจึงไม่ต้องนำเงินค่าครองชีพจำนวน 700 บาท ไปรวมคำนวณจ่ายค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าให้แก่โจทก์ที่ 1 ที่ 5 ถึงที่ 8 ที่ 10 และที่ 13
ศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงว่าขณะทำบันทึกการรับเงินค่าชดเชยและเงินอื่น ๆ ซึ่งมีข้อความว่าโจทก์แต่ละคนไม่ติดใจเรียกร้องหรือดำเนินคดีใดๆ กับนายจ้างอีก โจทก์ทราบอยู่แล้วว่าถูกจำเลยเลิกจ้าง ซึ่งโจทก์แต่ละคนย่อมมีอำนาจในการตัดสินใจโดยไม่อยู่ในภาวะที่ต้องเกรงกลัวจำเลยซึ่งเป็นนายจ้างอีกต่อไป การที่โจทก์ทุกคนลงลายมือชื่อในใบรับเงินจึงต้องผูกพันตามข้อความในหนังสือดังกล่าวดังนั้น อุทธรณ์ของโจทก์ที่ 1 ที่ 5 ถึงที่ 8 ที่ 10 และที่ 13 จึงเป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังข้อเท็จจริงของศาลแรงงานกลาง เพื่อให้ศาลรับฟังข้อเท็จจริงเป็นว่า ขณะโจทก์แต่ละคนลงชื่อในบันทึกการรับเงินค่าชดเชยและเงินอื่นๆ โจทก์แต่ละคนไม่มีอิสระในการตัดสินใจและยังอยู่ในภาวะที่ต้องเกรงกลัวจำเลยซึ่งเป็นนายจ้างเพื่อนำไปสู่ข้อกฎหมายตามอุทธรณ์ จึงเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามพ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง
บันทึกการรับเงินที่โจทก์ที่ 1 ที่ 5 ถึงที่ 8 ที่ 10 และที่ 13 ทำกับจำเลยเกิดจากการที่จำเลยเลิกจ้างลูกจ้างซึ่งร่วมถึงโจทก์บางคนและเกิดจากการที่โจทก์บางคนลาออกจารการเป็นลูกจ้างของจำเลยจำเลยจึงตกลงกับโจทก์ที่ 1 ที่ 5 ถึงที่ 8 ที่ 10 และที่ 13 เพื่อระงับสิทธิเรียกร้องต่าง ๆ ของโจทก์ที่ 1 ที่ 5 ถึงที่ 8 ที่ 10 และที่ 13 เกี่ยวกับสัญญาจ้างแรงงาน การเลิกจ้าง และการลาออก โดยในขณะที่ทำบันทึกโจทก์ทุกคนทราบอยู่แล้วว่าถูกจำเลยเลิกจ้าง การที่โจทก์ทุกคนลงลายมือชื่อในบันทึกรับเงินย่อมผูกพันตามข้อความในหนังสือนั้นดังนั้น คำว่า ข้าพเจ้าไม่ติดใจที่จะเรียกร้องหรือดำเนินคดีใดๆ กับนายจ้างอีกตามบันทึกการรับเงินค่าชดเชย ย่อมหมายความรวมถึงค่าครองชีพด้วย จำเลยจึงไม่ต้องนำเงินค่าครองชีพจำนวน 700 บาท ไปรวมคำนวณจ่ายค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าให้แก่โจทก์ที่ 1 ที่ 5 ถึงที่ 8 ที่ 10 และที่ 13
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7734-7739/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงวิธีการจ่ายเบี้ยเลี้ยง/ค่าล่วงเวลา ไม่ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างที่ไม่เป็นคุณต่อลูกจ้าง หากสิทธิประโยชน์ยังคงเท่าเดิม
เหตุที่จำเลยประกาศเปลี่ยนแปลงการจ่ายเงินเบี้ยเลี้ยงหรือค่าล่วงเวลาก็เป็นผลสืบเนื่องมาจากโจทก์ทั้งหกกับพวก ซึ่งเป็นพนักงานขับรถฟ้องเรียกให้จำเลยจ่ายค่าล่วงเวลา จำเลยจึงต้องประกาศเปลี่ยนแปลงวิธีการจ่ายเงินเบี้ยเลี้ยงหรือค่าล่วงเวลาใหม่เพื่อให้เกิดความชัดเจนไม่มีปัญหาข้อขัดแย้งติดตามมา เมื่อสิทธิประโยชน์ที่โจทก์ทั้งหกได้รับยังคงมีอยู่เท่าเดิมไม่เปลี่ยนแปลง และจำเลยไม่มีเจตนากลั่นแกล้งโจทก์ทั้งหก จำเลยย่อมมีอำนาจในการบริหารจัดการงานของตนเองได้ตามเหตุผลที่จำเป็นและสมควร การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวจึงเป็นการเปลี่ยนแปลงในรายละเอียดไม่ใช่ข้อสาระสำคัญของสภาพการจ้างเดิม ยังถือไม่ได้ว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างที่ไม่เป็นคุณแก่ลูกจ้าง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7734-7739/2553 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์การจ่ายค่าเบี้ยเลี้ยง/ล่วงเวลา ไม่ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างที่ไม่เป็นคุณแก่ลูกจ้าง
การจ่ายค่าตอบแทนการทำงานหรือสวัสดิการไม่ว่าจะเป็นค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา เงินเบี้ยเลี้ยง หรือเงินสวัสดิการต่างๆ แก่ลูกจ้างเป็นหน้าที่ของนายจ้างหรือจำเลยไม่ใช่ของบริษัทนำเที่ยวผู้ว่าจ้างจำเลยขนส่งนักท่องเที่ยว การที่จำเลยยินยอมให้บริษัทนำเที่ยวจ่ายเงินให้ลูกจ้างหรือโจทก์ทั้งหกโดยตรงก็เพื่อความสะดวกที่ลูกจ้างจะได้รับเงินเร็วขึ้น โดยเงินที่ได้รับยังเท่าเดิม และเพื่อให้เกิดความชัดเจนไม่มีปัญหาข้อขัดแย้งติดตามมา ทั้งจำเลยมิได้กระทำไปโดยไม่สุจริตหรือมีเจตนากลั่นแกล้ง จำเลยย่อมมีอำนาจในการบริหารจัดการงานของตนเองได้ตามเหตุผลที่จำเป็นและสมควร จึงเป็นการเปลี่ยนแปลงในรายละเอียดไม่ใช่ข้อสาระสำคัญของสภาพการจ้างเดิม ยังถือไม่ได้ว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างที่ไม่เป็นคุณแก่ลูกจ้าง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7734-7739/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงวิธีการจ่ายค่าตอบแทนลูกจ้าง ไม่ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างที่ไม่เป็นคุณต่อลูกจ้าง หากสิทธิประโยชน์ยังคงเท่าเดิม
การจ่ายค่าตอบแทนการทำงานหรือสวัสดิการไม่ว่าจะเป็นค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา เงินเบี้ยเลี้ยงหรือเงินสวัสดิการต่าง ๆ แก่ลูกจ้างนั้น นายจ้างหรือจำเลยจะต้องเป็นผู้จ่ายไม่ใช่บริษัทนำเที่ยวผู้ว่าจ้าง การที่จำเลยยินยอมให้บริษัทนำเที่ยวผู้ว่าจ้างจ่ายให้ลูกจ้างหรือโจทก์ทั้งหกโดยตรงก็เพื่อความสะดวกที่ลูกจ้างจะได้รับเงินเร็วขึ้น เมื่อจำเลยเปลี่ยนหลักเกณฑ์และวิธีการจ่ายใหม่จากเดิมบริษัทนำเที่ยวผู้ว่าจ้างเป็นผู้จ่ายผ่านมัคคุเทศก์ให้แก่พนักงานขับรถแทนจำเลยผู้รับจ้างเปลี่ยนใหม่เป็นจำเลยผู้รับจ้างเป็นผู้จ่ายให้แก่พนักงานขับรถด้วยตนเอง โดยปรากฏว่าเงินเบี้ยเลี้ยงหรือค่าล่วงเวลาที่ลูกจ้างหรือพนักงานขับรถได้รับยังคงมีจำนวนเท่าเดิมไม่ได้ลดจำนวนลงอย่างใดเพียงแต่ลูกจ้างได้รับเงินล่าช้าไปจากที่ได้รับทันทีเป็นได้รับเมื่อลูกจ้างนำเงินและเอกสารที่เกี่ยวข้องส่งในช่วงเช้าจะได้รับเงินในช่วงบ่าย หากส่งในช่วงบ่ายจะได้รับเงินในช่วงเช้าของวันทำงานถัดไป ประกอบทั้งเหตุที่จำเลยประกาศเปลี่ยนแปลงการจ่ายเงินเบี้ยเลี้ยง หรือค่าล่วงเวลาก็เป็นผลสืบเนื่องมาจากโจทก์ทั้งหกกับพวกซึ่งเป็นพนักงานขับรถฟ้องเรียกให้จำเลยจ่ายค่าล่วงเวลา จำเลยจึงต้องประกาศเปลี่ยนแปลงวิธีการจ่ายเงินเบี้ยเลี้ยงหรือค่าล่วงเวลาใหม่ เพื่อให้เกิดความชัดเจนไม่มีปัญหาข้อขัดแย้งติดตามมา เมื่อสิทธิประโยชน์ต่างๆ ที่โจทก์ทั้งหกจะได้รับจากการทำงานยังคงมีอยู่เท่าเดิมไม่เปลี่ยนแปลงไป ทั้งไม่ปรากฏว่าจำเลยกระทำไปโดยไม่สุจริตหรือมีเจตนากลั่นแกล้งโจทก์ทั้งหกหรือพนักงานขับรถอื่น จำเลยย่อมมีอำนาจในการบริหารจัดการงานของตนเองได้ตามเหตุผลที่จำเป็นและสมควร การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวจึงเป็นการเปลี่ยนแปลงในรายละเอียดไม่ใช่ข้อสาระสำคัญของสภาพการจ้างงานเดิม ยังถือไม่ได้ว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างที่ไม่เป็นคุณแก่ลูกจ้าง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7650/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การป้องกันสิทธิโดยเกินสมควรแก่เหตุ: ความรับผิดทางอาญาจากการใช้กระแสไฟฟ้าป้องกันทรัพย์สิน
จำเลยจะไม่ยกข้อต่อสู้ว่าจำเลยกระทำโดยป้องกันสิทธิของตนพอสมควรแก่เหตุขึ้นว่ากล่าวมาแต่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 4 แต่ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย จึงไม่ต้องห้ามที่จำเลยจะยกขึ้นว่ากล่าวในชั้นฎีกา ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
จำเลยขึงเส้นลวดและปล่อยกระแสไฟฟ้าไว้บริเวณหน้าต่างห้องพักของจำเลยเพื่อป้องกันขโมยเข้ามาลักทรัพย์ในห้องพักของจำเลย จึงเป็นเหตุให้เด็กชาย ก. บุตรเลี้ยงของจำเลยซึ่งลักลอบปีนหน้าต่างเพื่อเข้าไปลักทรัพย์ในห้องพักของจำเลยถูกกระแสไฟฟ้าช็อตถึงแก่ความตาย แม้การกระทำของผู้ตายจะถือเป็นการประทุษร้ายอันเป็นละเมิดต่อกฎหมายและต่อทรัพย์สินของจำเลยที่จำเลยมีสิทธิที่จะป้องกันทรัพย์สินของตนได้ แต่พฤติการณ์ที่จำเลยต่อและปล่อยกระแสไฟฟ้าแรงสูงถึง 220 โวลต์ ไปตามเส้นลวดที่ไม่มีฉนวนหุ้มนั้นย่อมเป็นอันตรายร้ายแรงโดยสภาพที่สามารถทำให้ผู้อื่นที่ไปสัมผัสถูกถึงแก่ความตายได้ ดังนั้น แม้จะเป็นการป้องกันคนร้ายที่จะเข้ามาลักทรัพย์สินในห้องพักของจำเลยและทำร้ายจำเลยกับภรรยาได้ แต่การกระทำของจำเลยก็เป็นการเกินสมควรแก่เหตุหรือเกินกว่ากรณีแห่งการจำต้องกระทำเพื่อป้องกัน ตาม ป.อ. มาตรา 69
จำเลยขึงเส้นลวดและปล่อยกระแสไฟฟ้าไว้บริเวณหน้าต่างห้องพักของจำเลยเพื่อป้องกันขโมยเข้ามาลักทรัพย์ในห้องพักของจำเลย จึงเป็นเหตุให้เด็กชาย ก. บุตรเลี้ยงของจำเลยซึ่งลักลอบปีนหน้าต่างเพื่อเข้าไปลักทรัพย์ในห้องพักของจำเลยถูกกระแสไฟฟ้าช็อตถึงแก่ความตาย แม้การกระทำของผู้ตายจะถือเป็นการประทุษร้ายอันเป็นละเมิดต่อกฎหมายและต่อทรัพย์สินของจำเลยที่จำเลยมีสิทธิที่จะป้องกันทรัพย์สินของตนได้ แต่พฤติการณ์ที่จำเลยต่อและปล่อยกระแสไฟฟ้าแรงสูงถึง 220 โวลต์ ไปตามเส้นลวดที่ไม่มีฉนวนหุ้มนั้นย่อมเป็นอันตรายร้ายแรงโดยสภาพที่สามารถทำให้ผู้อื่นที่ไปสัมผัสถูกถึงแก่ความตายได้ ดังนั้น แม้จะเป็นการป้องกันคนร้ายที่จะเข้ามาลักทรัพย์สินในห้องพักของจำเลยและทำร้ายจำเลยกับภรรยาได้ แต่การกระทำของจำเลยก็เป็นการเกินสมควรแก่เหตุหรือเกินกว่ากรณีแห่งการจำต้องกระทำเพื่อป้องกัน ตาม ป.อ. มาตรา 69
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7122/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องหมิ่นประมาทที่ไม่ครบองค์ประกอบความผิดตามกฎหมาย และอำนาจศาลแขวงในการพิจารณาคดี
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยทั้งสองทำคำแถลงต่อศาลแพ่งกรุงเทพใต้ยื่นต่อเจ้าหน้าที่ศูนย์หน้าบัลลังก์โดยเปิดเผย มีข้อความหมิ่นประมาทโจทก์ต่อบุคคลที่สาม เพื่อให้ศาล เจ้าหน้าที่และบุคคลที่เกี่ยวข้องเมื่อได้เห็นเอกสารเชื่อว่าโจทก์มีอาชีพหากินกับศาลโดยไม่สุจริต เป็นการใส่ความโจทก์โดยประการที่จะทำให้โจทก์เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชัง ขอให้ลงโทษตาม ป.อ. มาตรา 326, 328, 83 ฟ้องโจทก์ดังกล่าวมิได้บรรยายว่าจำเลยทั้งสองหมิ่นประมาทโจทก์โดยการโฆษณา จึงไม่ครบองค์ประกอบความผิดตาม ป.อ. มาตรา 328 แม้โจทก์มีคำขอท้ายฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองตาม ป.อ. มาตรา 328 และศาลชั้นต้นซึ่งเป็นศาลแขวงประทับฟ้องในข้อหาดังกล่าว ศาลก็ไม่อาจลงโทษจำเลยทั้งสองได้เพราะเป็นการพิพากษาในข้อที่โจทก์มิได้กล่าวในฟ้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 4 เมื่อปรากฏว่าความผิดตาม ป.อ. มาตรา 326 มีอัตราโทษอย่างสูงซึ่งกฎหมายกำหนดไว้ให้จำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ ศาลชั้นต้นซึ่งเป็นศาลแขวงย่อมมีอำนาจพิจารณาพิพากษาและชอบที่จะดำเนินกระบวนพิจารณาเกี่ยวกับความผิดตาม ป.อ. มาตรา 326 ได้ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 17, 25 วรรคหนึ่ง (5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7064/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิเรียกร้องหนี้และการร่วมรับผิดของจำเลย การพิสูจน์การโอนสินทรัพย์และหนี้สิน
จำเลยที่ 1 ให้การยอมรับว่าได้กู้เงินจากบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ น. ตามสำเนาหนังสือสัญญากู้เงินเอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 13 จริง ซึ่งตรงกับหนังสือสัญญากู้เงินเอกสารหมาย จ.15 ทั้งรับว่าได้ชำระคืนแก่ผู้ให้กู้ดังกล่าวตลอดมาเพียงแต่ชำระไม่ครบจำนวนตามที่ตกลงกัน ชำระไม่ตรงตามเวลาที่กำหนดในสัญญาและต่อสู้ว่าไม่ได้เป็นฝ่ายผิดสัญญาเท่านั้น จำเลยที่ 1 มิได้ให้การต่อสู้ว่าลายมือชื่อในสัญญากู้เงินดังกล่าวไม่ใช่ลายมือชื่อของจำเลยที่ 1 หรือเป็นลายมือชื่อปลอมเท่ากับจำเลยที่ 1 ยอมรับว่าลายมือชื่อในสัญญากู้เงินดังกล่าว เป็นลายมือชื่อที่แท้จริง ของจำเลยที่ 1 มิใช่ลายมือชื่อปลอมแล้ว แม้จำเลยที่ 3 จะได้ยกข้อต่อสู้ว่าลายมือชื่อของจำเลยที่ 1 ในสัญญากู้เงินดังกล่าว ไม่ใช่ลายมือชื่อของจำเลยที่ 1 หรือเป็นลายมือชื่อปลอมก็ตาม ก็เป็นหน้าที่ของจำเลยที่ 3 จะต้องนำพยานหลักฐานมาสืบให้ฟังได้ตามที่ยกขึ้นให้การต่อสู้ไว้ เมื่อจำเลยที่ 3 ไม่นำพยานหลักฐานมาสืบโดยแถลงไม่ขอสืบพยาน ข้อต่อสู้ของจำเลยที่ 3 ดังกล่าวจึงฟังไม่ได้
หนังสือสัญญากู้เงินดังกล่าวมีเพียงลายมือชื่อของจำเลยที่ 1 ผู้กู้ โดยไม่มีลายมือชื่อของบริษัทเงินทุน น. ผู้ให้กู้อยู่ด้วย จึงเป็นเพียงหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือตาม ป.พ.พ. มาตรา 653 วรรคหนึ่ง แม้จะมีข้อความว่าหนังสือสัญญากู้เงิน เอกสารดังกล่าวก็มิใช่ตราสารที่ต้องปิดอากรแสตมป์บริบูรณ์ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 104 และบัญชีอากรแสตมป์ลักษณะ 5 แต่อย่างใด หนังสือสัญญากู้เงินดังกล่าวจึงเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมเงินเป็นหนังสือลงลายมือชื่อจำเลยที่ 1 ผู้กู้ ตามความหมายของมาตรา 653 วรรคหนึ่งแล้ว ศาลย่อมรับฟังเป็นพยานหลักฐานว่าจำเลยที่ 1 กู้ยืมเงินบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ น. ไปตามฟ้องโดยไม่จำต้องปิดอากรแสตมป์
หนังสือสัญญากู้เงินดังกล่าวมีเพียงลายมือชื่อของจำเลยที่ 1 ผู้กู้ โดยไม่มีลายมือชื่อของบริษัทเงินทุน น. ผู้ให้กู้อยู่ด้วย จึงเป็นเพียงหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือตาม ป.พ.พ. มาตรา 653 วรรคหนึ่ง แม้จะมีข้อความว่าหนังสือสัญญากู้เงิน เอกสารดังกล่าวก็มิใช่ตราสารที่ต้องปิดอากรแสตมป์บริบูรณ์ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 104 และบัญชีอากรแสตมป์ลักษณะ 5 แต่อย่างใด หนังสือสัญญากู้เงินดังกล่าวจึงเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมเงินเป็นหนังสือลงลายมือชื่อจำเลยที่ 1 ผู้กู้ ตามความหมายของมาตรา 653 วรรคหนึ่งแล้ว ศาลย่อมรับฟังเป็นพยานหลักฐานว่าจำเลยที่ 1 กู้ยืมเงินบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ น. ไปตามฟ้องโดยไม่จำต้องปิดอากรแสตมป์