คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 391 วรรคสาม

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 36 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5008/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เลิกสัญญาเช่าซื้อโดยปริยาย: สิทธิและหน้าที่ของคู่สัญญาในการกลับคืนสู่ฐานะเดิม
คดีที่ต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248วรรคหนึ่ง ในการวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมาย ศาลฎีกาจำต้องถือตามข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ได้วินิจฉัยจากพยานหลักฐานในสำนวนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 238ประกอบด้วยมาตรา 247
โจทก์ผู้เช่าซื้อและจำเลยผู้ให้เช่าซื้อต่างสมัครใจที่จะเลิกสัญญาต่อกันโดยปริยายแล้ว ผลแห่งการเลิกสัญญาดังกล่าว คู่สัญญาจะต้องกลับคืนสู่ฐานะเดิม เมื่อโจทก์มิได้ผิดสัญญาก็ไม่ต้องชดใช้ค่าเสียหายใด ๆ ให้แก่จำเลยคงจะต้องรับผิดเฉพาะค่าเสียหายเป็นค่าขาดประโยชน์ของจำเลยผู้ให้เช่าซื้อในระหว่างที่โจทก์ยังคงครอบครองและใช้ประโยชน์ในทรัพย์ดังกล่าวอยู่ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 391 วรรคสาม และกรณีที่มีการเลิกสัญญากันแล้วเช่นนี้ โจทก์มาฟ้องเรียกเงินคืนจากจำเลยโดยไม่เสนอชำระหนี้ค่าเสียหายตอบแทน เพื่อให้แต่ละฝ่ายได้กลับคืนสู่ฐานะเดิม แม้จำเลยจะไม่ได้ต่อสู้ไว้ในคำให้การ เมื่อศาลพิพากษาให้จำเลยคืนเงินก็มีอำนาจพิพากษาให้โจทก์ชำระหนี้ตอบแทนแก่จำเลยได้ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 41/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตีความสัญญาเช่าและการรับประโยชน์จากงานที่ทำเสร็จแล้ว
สัญญาเช่าและหนังสือต่อท้ายสัญญาเช่าระบุไว้แต่เพียงว่าจำเลยจะต้องสร้างตึกแถวอาคารพาณิชย์เท่านั้น การที่โจทก์นำพยานบุคคลมาสืบว่ามีข้อตกลงด้วยวาจาว่าจำเลยทั้งสองจะต้องสร้างตึกแถวอาคารพาณิชย์ 3 ชั้นและ 2 ชั้น หน้ากว้าง 4 เมตร ลึก 14 ถึง 16 เมตร จึงเป็นการนำสืบอธิบายความหมายของคำว่าตึกแถวอาคารพาณิชย์ในสัญญา ไม่ใช่เป็นการสืบพยานบุคคลเพิ่มเติม ตัดทอน หรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในสัญญาเช่าและหนังสือต่อท้ายสัญญาเช่าตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94 (ข) แต่อย่างใด
เมื่อผู้ให้เช่าบอกเลิกสัญญาเช่า เป็นเหตุให้ผู้ให้เช่าได้ที่พิพาทคืนก่อนกำหนด 10 ปีเศษ แม้ผู้เช่าจะเป็นฝ่ายผิดสัญญา แต่ผู้เช่าก็ก่อสร้างอาคารพาณิชย์ ทำถนนคอนกรีตตามข้อตกลงในสัญญาเช่าไปแล้วบางส่วน และผู้ให้เช่าสามารถใช้ประโยชน์จากงานที่ผู้เช่าทำนั้นได้ ผู้ให้เช่าจึงชอบที่จะรับเอางานส่วนที่ผู้เช่าได้กระทำนั้นแล้วใช้เงินตามค่าแห่งงานให้ผู้เช่า ตาม ป.พ.พ.มาตรา 391 วรรคสาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2794/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหักเงินค่าหลักประกันและค่าผลงานออกจากค่าเสียหายจากสัญญาจ้างเหมา
สัญญามีใจความว่า ผู้รับจ้างได้นำหลักประกันเป็นหนังสือสัญญาค้ำประกันธนาคารกรุงเทพ จำกัด เป็นจำนวนร้อยละ 8ของราคาที่จ้าง 1,984,000 บาท มามอบไว้แก่ผู้ว่าจ้างเพื่อเป็นประกันการปฏิบัติตามสัญญาและหลักประกันนี้ ผู้ว่าจ้างจะคืนให้เมื่อผู้รับจ้างพ้นจากข้อผูกพันตามสัญญาแล้ว ถ้าผู้ว่าจ้างบอกเลิกสัญญาแล้ว ผู้รับจ้างยอมให้ผู้ว่าจ้างริบหลักประกันดังกล่าวถือได้ว่าหลักประกันดังกล่าวเป็นการวางไว้ล่วงหน้าเพื่อความเสียหายในกรณีที่มีการผิดสัญญาเข้าลักษณะเบี้ยปรับ ซึ่ง ป.พ.พ. มาตรา380 วรรคสอง บัญญัติว่า ถ้าเจ้าหนี้มีสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนเพื่อการไม่ชำระหนี้ จะเรียกเอาเบี้ยปรับอันจะพึงริบนั้นในฐานเป็นจำนวนน้อยที่สุดแห่งค่าเสียหายก็ได้ ฉะนั้นเมื่อค่าเสียหายของโจทก์มี 3,047,200 บาท จึงชอบที่จะนำเงินตามสัญญาค้ำประกันซึ่งโจทก์ริบไปแล้วมาหักออกจากค่าเสียหายดังกล่าวได้ คงเหลือค่าเสียหายที่จำเลยต้องชำระแก่โจทก์ 1,063,200 บาท ค่าผลงานที่จำเลยทำไปแล้ว ตามปกติจำเลยมีสิทธิได้รับชดใช้คืนจากโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391 วรรคสามแต่ตามสัญญามีข้อกำหนดว่า เมื่อผู้ว่าจ้างบอกเลิกสัญญาแล้วบรรดางานที่ผู้รับจ้างทำและสิ่งของต่าง ๆ ที่ได้นำมาไว้ ณ สถานที่ทำงานนั้นโดยเฉพาะเพื่องานจ้างดังกล่าว ผู้รับจ้างยอมให้ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ว่าจ้าง โดยผู้รับจ้างจะเรียกร้องค่าตอบแทนและค่าเสียหายใด ๆ ไม่ได้เลย ข้อตกลงนี้มีลักษณะเป็นการที่ผู้รับจ้างให้สัญญาว่าจะทำการชำระหนี้อย่างอื่นที่มิใช่จำนวนเงินให้เป็นเบี้ยปรับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 382 แก่โจทก์ผู้ว่าจ้างและหากเป็นจำนวนพอสมควรโจทก์มีสิทธิรับผลงานนี้ได้โดยไม่ต้องใช้ราคาแก่จำเลยผู้รับจ้าง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1429/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าซื้อผิดนัด: สิทธิของผู้ให้เช่าซื้อในการเรียกค่าเสียหายจากการใช้ทรัพย์สิน
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 574 บัญญัติไว้แต่เพียงว่า เมื่อมีการเลิกสัญญาเพราะผู้เช่าซื้อผิดนัดชำระค่าเช่าซื้อ ผู้ให้เช่าซื้อมีสิทธิริบเงินที่ผู้ให้เช่าซื้อรับไว้และกลับเข้าครอบครองทรัพย์สินที่ให้เช่าซื้อเท่านั้น ฉะนั้น โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกให้จำเลยชำระค่าเช่าซื้อที่ค้างก่อนสัญญาเลิกกันคงเรียกได้เพียงค่าที่จำเลยใช้ทรัพย์ที่เช่าซื้อตลอดเวลาที่ครอบครองอยู่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391 วรรค 3 และค่าเสียหายเพราะเหตุอื่นที่จำเลยต้องรับผิดนอกเหนือจากค่าเสียหายอันเกิดแต่การใช้ทรัพย์โดยชอบ แม้คำฟ้องของโจทก์จะระบุมาเป็นค่าเช่าซื้อที่ค้าง แต่ตามคำบรรยายฟ้องกล่าวว่า การที่จำเลยผิดนัดผิดสัญญาต่อโจทก์จนโจทก์บอกเลิกสัญญาและยึดรถที่เช่าซื้อกลับคืน ทำให้โจทก์เสียหายคือจำเลยครอบครองใช้รถของโจทก์โดยไม่ชำระค่าเช่าซื้อตั้งแต่งวดที่ 11 ถึงงวดที่ 17 เป็นเงิน 58,053 บาท จึงพอถือได้ว่าโจทก์ได้เรียกค่าเสียหายฐานใช้รถของโจทก์ตลอดเวลาที่จำเลยยังครอบครองอยู่ ศาลย่อมพิพากษาให้จำเลยใช้ค่าเสียหายได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 145/2533 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าต่ออายุ-ค่าเช่า-ค่าเสียหาย: หลักฐานเป็นหนังสือ-การยอมรับข้อกล่าวอ้าง
สัญญาเช่าตึกแถวพิพาทกำหนดอัตราค่าเช่าเดือนละ 1,000 บาทเมื่อครบกำหนดอายุสัญญาเช่า 1 ปีแล้ว จำเลยผู้เช่ายังคงอยู่ในตึกแถวพิพาทโดยโจทก์ผู้ให้เช่าไม่ทักท้วง จึงถือว่าโจทก์จำเลยได้ทำสัญญาเช่าใหม่ต่อไปโดยไม่มีกำหนดเวลา ซึ่งหมายความว่าข้อตกลงเกี่ยวกับกำหนดเวลาไม่มีผลบังคับต่อไป ส่วนข้อสัญญาอื่นคงเป็นไปตามสัญญาเช่าเดิม รวมทั้งอัตราค่าเช่าด้วย และเนื่องจากการเช่าอสังหาริมทรัพย์ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 538 บังคับให้มีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างหนึ่งอย่างใดลงลายมือชื่อฝ่ายที่ต้องรับผิดเป็นสำคัญจึงจะฟ้องร้องบังคับคดีได้ ดังนั้น เมื่อโจทก์จะขอบังคับให้จำเลยชำระค่าเช่าในอัตราที่สูงกว่าเดือนละ 1,000 บาท โจทก์ก็ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างหนึ่งอย่างใดลงลายมือชื่อจำเลยมาแสดงว่าได้มีการตกลงขึ้นค่าเช่าดังที่โจทก์อ้าง การที่โจทก์นำพยานบุคคลมาสืบว่าได้มีการตกลงขึ้นค่าเช่าในอัตราเดือนละ18,000 บาท ย่อมเป็นการต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 จำเลยคงต้องรับผิดค่าเช่าที่ค้างชำระตามอัตราค่าเช่าในสัญญาเช่าเดิมเดือนละ1,000 บาท เท่านั้น
โจทก์ฟ้องให้จำเลยใช้ค่าเสียหายในการที่จำเลยครอบครองตึกแถวพิพาท ทำให้โจทก์ไม่สามารถใช้ประโยชน์ได้ในอัตราเดือนละ18,000 บาท จำเลยไม่ได้ให้การต่อสู้ในเรื่องดังกล่าวเท่ากับจำเลยยอมรับถึงผลประโยชน์ของตึกแถวพิพาทว่าเป็นจำนวนเงินตามที่โจทก์อ้าง จำเลยจึงต้องใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์โดยที่ศาลไม่จำต้องกำหนดประเด็นข้อพิพาทในเรื่องค่าเสียหายไว้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 145/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าต่ออายุ-ค่าเช่า-ค่าเสียหาย: หลักฐานทางหนังสือ-การยอมรับข้อกล่าวอ้าง-ผลของการไม่กำหนดประเด็น
สัญญาเช่าตึกแถวพิพาทกำหนดอัตราค่าเช่าเดือนละ 1,000 บาทเมื่อครบกำหนดอายุสัญญาเช่า 1 ปีแล้ว จำเลยผู้เช่ายังคงอยู่ในตึกแถวพิพาทโดยโจทก์ผู้ให้เช่าไม่ทักท้วง จึงถือว่าโจทก์จำเลยได้ทำสัญญาเช่าใหม่ต่อไปโดยไม่มีกำหนดเวลา ซึ่งหมายความว่าข้อตกลงเกี่ยวกับกำหนดเวลาไม่มีผลบังคับต่อไป ส่วนข้อสัญญาอื่นคงเป็นไปตามสัญญาเช่าเดิม รวมทั้งอัตราค่าเช่าด้วย และเนื่องจากการเช่าอสังหาริมทรัพย์ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 538 บังคับให้มีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างหนึ่งอย่างใดลงลายมือชื่อฝ่ายที่ต้องรับผิดเป็นสำคัญจึงจะฟ้องร้องบังคับคดีได้ ดังนั้น เมื่อโจทก์จะขอบังคับให้จำเลยชำระค่าเช่าในอัตราที่สูงกว่าเดือนละ 1,000 บาทโจทก์ก็ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างหนึ่งอย่างใดลงลายมือชื่อจำเลยมาแสดงว่าได้มีการตกลงขึ้นค่าเช่าดังที่โจทก์อ้าง การที่โจทก์นำพยานบุคคลมาสืบว่าได้มีการตกลงขึ้นค่าเช่าในอัตราเดือนละ18,000 บาท ย่อมเป็นการต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 จำเลยคงต้องรับผิดค่าเช่าที่ค้างชำระตามอัตราค่าเช่าในสัญญาเช่าเดิมเดือนละ1,000 บาท เท่านั้น โจทก์ฟ้องให้จำเลยใช้ค่าเสียหายในการที่จำเลยครอบครองตึกแถวพิพาท ทำให้โจทก์ไม่สามารถใช้ประโยชน์ได้ในอัตราเดือนละ18,000 บาท จำเลยไม่ได้ให้การต่อสู้ในเรื่องดังกล่าวเท่ากับจำเลยยอมรับถึงผลประโยชน์ของตึกแถวพิพาทว่าเป็นจำนวนเงินตามที่โจทก์อ้าง จำเลยจึงต้องใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์โดยที่ศาลไม่จำต้องกำหนดประเด็นข้อพิพาทในเรื่องค่าเสียหายไว้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 985/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าซื้อผิดนัด: สิทธิผู้ให้เช่าซื้อในการเรียกค่าเสียหายจากการใช้ทรัพย์และค่าเสียหายที่เกิดขึ้น
ในกรณีที่ผู้เช่าซื้อผิดสัญญาเช่าซื้อโดยผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้อ ผู้ให้เช่าซื้อมีสิทธิเข้าครอบครองรถยนต์คันที่เช่าซื้อ ริบเงินค่าเช่าซื้อที่ส่งแล้ว และมีสิทธิเรียกค่าสินไหมทดแทนเพราะการไม่ชำระหนี้ของผู้เช่าซื้อจนเป็นเหตุให้มีการเลิกสัญญา อันได้แก่ค่าใช้ทรัพย์ตลอดเวลาที่ผู้เช่าซื้อครอบครองทรัพย์อยู่ ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 391 วรรคสาม และถ้าทรัพย์สินที่คืนมาเสียหาย ผู้เช่าซื้อต้องรับผิดนอกเหนือไปจากความเสียหายอันเกิดจากการใช้ทรัพย์โดยชอบ.(ที่มา-ส่งเสริม)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5284/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงในสัญญาเช่าซื้อลักษณะเบี้ยปรับ: ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าเป็นการกำหนดค่าเสียหาย ไม่ใช่ค่าตอบแทนการใช้ทรัพย์
ข้อตกลงในสัญญาเช่าซื้อที่ว่า ถ้าเจ้าของขายทรัพย์สินที่เช่าซื้อไปแล้ว ยังไม่คุ้มราคาค่าเช่าซื้อที่จะต้องชำระทั้งหมดตามสัญญาเช่าซื้อกับค่าเสียหายอื่น ๆ ที่เกิดขึ้นผู้เช่าซื้อจะต้องชดใช้ให้เจ้าของจนครบถ้วนตามสัญญานั้นเป็นวิธีการกำหนดจำนวนค่าเสียหาย มิใช่เป็นข้อตกลงที่เป็นข้อกำหนดค่าตอบแทนการใช้ทรัพย์ล่วงหน้าในกรณีเลิกสัญญาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391 วรรคสาม แต่มีลักษณะเป็นการกำหนดเบี้ยปรับกันไว้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3716/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องและสิทธิไล่เบี้ยในสัญญาเช่าซื้อ: ผู้รับภาระมีสิทธิไล่เบี้ยจากผู้เช่าซื้อเมื่อชำระหนี้แทน
เดิมจำเลยทำสัญญาเช่าซื้อรถพิพาทจากโจทก์ ต่อมาโจทก์ขายรถพิพาทให้แก่บริษัท ค. โดยให้จำเลยไปทำสัญญาเช่าซื้อกับบริษัท ค.โดยให้จำเลยไปทำสัญญาเช่าซื้อกับบริษัทค.และโจทก์ทำหนังสือสัญญารับภาระไว้ต่อบริษัท ค. ว่า หากจำเลยไม่ชำระค่าเช่าซื้อตามงวด โจทก์จะติดตามเรียกเก็บให้และจะจ่ายเงินแทนให้แก่ผู้ให้เช่าซื้อไปก่อน หากผู้ให้เช่าซื้อบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อโจทก์ต้องมีหน้าที่ติดตามยึดรถและรับซื้อรถคืนในราคาที่จำเลยค้างชำระ ดังนี้โจทก์จึงมีส่วนได้เสียด้วยในสัญญาเช่าซื้อระหว่างจำเลยกับบริษัท ค. โดยมีความผูกพันเพื่อจำเลยในอันจะต้องใช้หนี้และมีส่วนได้เสียด้วยในการใช้หนี้นั้น เมื่อบริษัทค. บอกเลิกสัญญาเช่าซื้อและโจทก์ต้องชำระเงินให้บริษัทค. ไป โจทก์ย่อมรับช่วงสิทธิมาไล่เบี้ยเอาแก่จำเลยได้
สัญญาเช่าซื้อระหว่างจำเลยกับบริษัท ค. ข้อ 8 มีความว่าในกรณีบอกเลิกสัญญาและผู้ให้เช่าซื้อกลับเข้าครองทรัพย์สินจำเลยจะต้องจ่ายค่าซ่อมรถพร้อมทั้งอุปกรณ์และอะไหล่ทั้งปวงเพื่อซ่อมรถให้กลับคืนสู่สภาพดี เช่นนี้ เมื่อโจทก์ซื้อรถคืนและต้องเสียเงินซ่อมรถ โจทก์ย่อมมีสิทธิไล่เบี้ยค่าซ่อมรถนอกเหนือไปจากค่าเสียหายในการที่จำเลยใช้รถพิพาทในระหว่างผิดสัญญาเช่าซื้ออีกด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3716/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิไล่เบี้ยของผู้รับภาระในสัญญาเช่าซื้อ และสิทธิเรียกร้องค่าเสียหาย/ซ่อมรถเมื่อบอกเลิกสัญญา
เดิมจำเลยทำสัญญาเช่าซื้อรถพิพาทจากโจทก์ ต่อมาโจทก์ขายรถพิพาทให้แก่บริษัท ค. โดยให้จำเลยไปทำสัญญาเช่าซื้อกับบริษัท ค. โดยให้จำเลยไปทำสัญญาเช่าซื้อกับบริษัท ค. และโจทก์ทำหนังสือสัญญารับภาระไว้ต่อบริษัท ค. ว่า หากจำเลยไม่ชำระค่าเช่าซื้อตามงวด โจทก์จะติดตามเรียกเก็บให้และจะจ่ายเงินแทนให้แก่ผู้ให้เช่าซื้อไปก่อน หากผู้ให้เช่าซื้อบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อโจทก์ต้องมีหน้าที่ติดตามยึดรถและรับซื้อรถคืนในราคาที่จำเลยค้างชำระ ดังนี้โจทก์จึงมีส่วนได้เสียด้วยในสัญญาเช่าซื้อระหว่างจำเลยกับบริษัท ค. โดยมีความผูกพันเพื่อจำเลยในอันจะต้องใช้หนี้และมีส่วนได้เสียด้วยในการใช้หนี้นั้น เมื่อบริษัท ค. บอกเลิกสัญญาเช่าซื้อและโจทก์ต้องชำระเงินให้บริษัท ค. ไป โจทก์ย่อมรับช่วงสิทธิมาไล่เบี้ยเอาแก่จำเลยได้
สัญญาเช่าซื้อระหว่างจำเลยกับบริษัท ค. ข้อ 8 มีความว่าในกรณีบอกเลิกสัญญาและผู้ให้เช่าซื้อกลับเข้าครองทรัพย์สินจำเลยจะต้องจ่ายค่าซ่อมรถพร้อมทั้งอุปกรณ์และอะไหล่ทั้งปวงเพื่อซ่อมรถให้กลับคืนสู่สภาพดี เช่นนี้ เมื่อโจทก์ซื้อรถคืนและต้องเสียเงินซ่อมรถ โจทก์ย่อมมีสิทธิไล่เบี้ยค่าซ่อมรถนอกเหนือไปจากค่าเสียหายในการที่จำเลยใช้รถพิพาทในระหว่างผิดสัญญาเช่าซื้ออีกด้วย
of 4