พบผลลัพธ์ทั้งหมด 24 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5148/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนับวันคุมขังเพื่อหักโทษ ต้องเริ่มนับแต่วันที่ศาลออกหมายขัง ไม่นับรวมวันถูกคุมขังในคดีอื่น
การที่จะเริ่มนับวันที่จำเลยถูกคุมขังเพื่อหักวันที่ถูกคุมขังให้จำเลยนั้น จะนำวันที่จำเลยถูกคุมขังในคดีอื่นมาหักจากโทษจำคุกในคดีนี้ไม่ได้ เมื่อจำเลยกระทำความผิดคดีนี้เมื่อวันที่ 8 ตุลาคม 2557 พนักงานสอบสวนแจ้งข้อหาจำเลยวันที่ 21 พฤศจิกายน 2557 ระหว่างสอบสวนจำเลยไม่ได้ถูกควบคุมตัวในคดีนี้ ต่อมาโจทก์ยื่นฟ้องจำเลยเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2562 และศาลชั้นต้นออกหมายขังจำเลยในวันดังกล่าว จึงต้องเริ่มนับวันที่จำเลยถูกคุมขังนับแต่วันที่ศาลชั้นต้นออกหมายขังจำเลยไว้ในคดีนี้ คือวันที่ 1 พฤษภาคม 2562 เมื่อศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาคดีนี้เมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2562 จำเลยจึงถูกคุมขังมาเพียง 1 วัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5347/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษจำคุกตามจำนวนเดือนและการคำนวณโทษรวมที่ถูกต้องตามกฎหมายอาญา
ป.อ. มาตรา 21 วรรคสอง บัญญัติว่า "ถ้าระยะเวลาที่คำนวณนั้นกำหนดเป็นเดือนให้นับสามสิบวันเป็นหนึ่งเดือน ถ้ากำหนดเป็นปี ให้คำนวณตามปีปฏิทินในราชการ" ดังนั้น การที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยกระทงละ 6 เดือน รวม 18 กระทง เป็นโทษจำคุก 9 ปี นั้น ไม่ถูกต้อง เพราะการวางโทษเป็นปีทำให้จำเลยต้องรับโทษมากกว่าการวางโทษจำคุกเป็นเดือนตามบทบัญญัติดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6632/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกำหนดโทษทางอาญา: ลดโทษรายกระทงก่อนแล้วค่อยรวมโทษ เพื่อหลีกเลี่ยงการเพิ่มโทษโดยไม่สมเหตุผล
ฎีกาของจำเลยที่ว่าเมทแอมเฟตามีนของกลางที่จำเลยมีไว้ในครอบครองมีเพียง 2 เม็ด จำเลยมิได้นำมาไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายนั้น เป็นฎีกาที่ขัดกับคำให้การรับสารภาพของจำเลยจึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลล่างทั้งสองศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ศาลล่างทั้งสองรวมโทษจำคุกจำเลยทั้งสองกระทงก่อนแล้วจึงลดโทษนั้นไม่ถูกต้อง เพราะหากลดโทษให้แต่ละกระทงก่อนจะเหลือโทษจำคุกกระทงละ 2 ปี 6 เดือน เมื่อรวมโทษทั้งสองกระทงเข้าด้วยกันแล้วนำโทษจำคุกเฉพาะ 6 เดือน มารวมกันเป็น 1 ปีย่อมจะทำให้จำเลยต้องรับโทษหนักขึ้น เนื่องจากโทษจำคุก 12 เดือนคำนวณได้ 360 วัน แต่โทษจำคุก 1 ปี จะมีถึง 365 วันหรือ 366 วันแล้วแต่กรณี ทั้งนี้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 21 วรรคสองปัญหาข้อนี้เป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยได้
ศาลล่างทั้งสองรวมโทษจำคุกจำเลยทั้งสองกระทงก่อนแล้วจึงลดโทษนั้นไม่ถูกต้อง เพราะหากลดโทษให้แต่ละกระทงก่อนจะเหลือโทษจำคุกกระทงละ 2 ปี 6 เดือน เมื่อรวมโทษทั้งสองกระทงเข้าด้วยกันแล้วนำโทษจำคุกเฉพาะ 6 เดือน มารวมกันเป็น 1 ปีย่อมจะทำให้จำเลยต้องรับโทษหนักขึ้น เนื่องจากโทษจำคุก 12 เดือนคำนวณได้ 360 วัน แต่โทษจำคุก 1 ปี จะมีถึง 365 วันหรือ 366 วันแล้วแต่กรณี ทั้งนี้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 21 วรรคสองปัญหาข้อนี้เป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6396/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับของผิดกฎหมายทางศุลกากร: พยานหลักฐานจากคำรับสารภาพและพฤติการณ์หลบหนีเพียงพอให้ลงโทษจำเลยได้
จำเลยที่ 2 นั่งคู่มากับจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นคนขับรถยนต์บรรทุก 6 ล้อ ของกลางที่มีเลื่อยยนต์ของกลางวางอยู่ที่กระบะท้ายรถ จึงเป็นพฤติการณ์ที่ชี้ให้เห็นได้ในเบื้องต้นว่าจำเลยทั้งสองเป็นผู้ครอบครองเลื่อยยนต์ของกลาง ชั้นสอบสวนพนักงานสอบสวนได้แจ้งข้อหาแก่จำเลยที่ 2 ในส่วนที่เกี่ยวกับเลื่อยยนต์ของกลางว่านำหรือพาของที่ยังมิได้เสียภาษีหรือของต้องกำกัดหรือของต้องห้ามหรือของที่ยังมิได้ผ่านศุลกากรโดยถูกต้องเข้ามาในราชอาณาจักร และช่วยซ่อนเร้น ช่วยจำหน่าย ช่วยพาเอาไปเสีย ซึ้อ รับจำนำ หรือรับไว้ด้วยประการใดซึ่งของที่รู้ว่านำเข้ามาในราชอาณาจักรโดยหลีกเลี่ยงอากร ข้อห้ามหรือข้อกำกัด จำเลยที่ 2 ได้ให้การรับสารภาพต่อพนักงานสอบสวนโดยสมัครใจตามบันทึกคำให้การที่พนักงานสอบสวนได้บันทึกไว้ จึงใช้เป็นพยานหลักฐานยันจำเลยที่ 2 ในชั้นพิจารณาได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 134 นอกจากนี้ขณะเกิดเหตุจำเลยที่ 2 ได้เปิดประตูรถวิ่งหลบหนีไปพร้อมกับจำเลยที่ 1 ด้วย เป็นพฤติการณ์ที่ชี้ให้เห็นว่าจำเลยที่ 2 น่าจะทราบดีว่าสิ่งของที่จำเลยที่ 1 บรรทุกมาในรถยนต์ของกลางเป็นของผิดกฎหมาย ฟังได้ว่าจำเลยที่ 2 ร่วมกับจำเลยที่ 1 รับไว้ซึ่งเลื่อยยนต์ของกลางโดยรู้ว่าเป็นของที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรโดยหลีกเลี่ยงอากร ข้อห้ามและข้อกำกัด
โทษปรับรวมกันเป็นเงินสี่เท่าของราคาของซึ่งได้รวมค่าอากรเข้าด้วยแล้วตามที่ พ.ร.บ. ศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 27 ทวิ บัญญัติไว้ ค่าอากรดังกล่าวย่อมหมายถึงค่าอากรในทางศุลกากรเท่านั้น ไม่รวมถึงภาษีมูลค่าเพิ่มอันเป็นภาษีฝ่ายสรรพากรด้วย
จำเลยทั้งสองกระทำความผิดร่วมกันและศาลจะต้องพิพากษาลงโทษปรับจำเลยทั้งสองรวมกันเป็นเงินสี่เท่าของราคาของซึ่งได้รวมค่าอากรเข้าด้วยแล้วตาม พ.ร.บ. ศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 27 ทวิ ถือว่าเป็นเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดี ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจพิพากษาแก้ไขโทษปรับตลอดไปถึงจำเลยที่ 1 ซึ่งมิได้ฎีกาได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 213 และ 225
ศาลอุทธรณ์ได้รวมโทษจำคุกของจำเลยแต่ละกระทงเข้าด้วยกันแล้วจึงลดโทษ เป็นผลร้ายแก่จำเลยเพราะมีผลเป็นการนำโทษส่วนที่เกิน 12 เดือน มาคิดคำนวณเป็น 1 ปี อยู่ในตัว ทำให้จำเลยต้องรับโทษจำคุกในปีสุดท้ายนานขึ้น 5 วัน หรือ 6 วัน หากตรงกับปีอธิกสุรทิน เป็นการไม่ชอบด้วย ป.อ. มาตรา 21 วรรคสอง ที่ถูกศาลอุทธรณ์ต้องลดโทษให้จำเลยที่ 2 เป็นรายกระทงก่อนแล้วจึงรวมโทษ ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้เป็นคุณแก่จำเลยได้
ตาม พ.ร.บ. ให้บำเหน็จในการปราบปรามผู้กระทำความผิด พ.ศ. 2489 มาตรา 7 และมาตรา 8 ที่บัญญัติไว้มีใจความว่า สินบนและรางวัลให้จ่ายจากเงินที่ได้จากการขายของกลางซึ่งศาลสั่งริบเมื่อคดีถึงที่สุดแล้ว หากของกลางที่ศาลสั่งริบไม่อาจขายได้ จึงให้จ่ายจากเงินค่าปรับที่ได้ชำระต่อศาล ดังนั้น เมื่อไม่ปรากฏว่าไม่อาจขายเลื่อยยนต์ของกลางได้ ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จ่ายสินบนร้อยละ 30 ของค่าปรับ และจ่ายรางวัลร้อยละ 25 ของค่าปรับ จึงยังไม่ถูกต้อง ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้องเสียด้วย
โทษปรับรวมกันเป็นเงินสี่เท่าของราคาของซึ่งได้รวมค่าอากรเข้าด้วยแล้วตามที่ พ.ร.บ. ศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 27 ทวิ บัญญัติไว้ ค่าอากรดังกล่าวย่อมหมายถึงค่าอากรในทางศุลกากรเท่านั้น ไม่รวมถึงภาษีมูลค่าเพิ่มอันเป็นภาษีฝ่ายสรรพากรด้วย
จำเลยทั้งสองกระทำความผิดร่วมกันและศาลจะต้องพิพากษาลงโทษปรับจำเลยทั้งสองรวมกันเป็นเงินสี่เท่าของราคาของซึ่งได้รวมค่าอากรเข้าด้วยแล้วตาม พ.ร.บ. ศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 27 ทวิ ถือว่าเป็นเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดี ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจพิพากษาแก้ไขโทษปรับตลอดไปถึงจำเลยที่ 1 ซึ่งมิได้ฎีกาได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 213 และ 225
ศาลอุทธรณ์ได้รวมโทษจำคุกของจำเลยแต่ละกระทงเข้าด้วยกันแล้วจึงลดโทษ เป็นผลร้ายแก่จำเลยเพราะมีผลเป็นการนำโทษส่วนที่เกิน 12 เดือน มาคิดคำนวณเป็น 1 ปี อยู่ในตัว ทำให้จำเลยต้องรับโทษจำคุกในปีสุดท้ายนานขึ้น 5 วัน หรือ 6 วัน หากตรงกับปีอธิกสุรทิน เป็นการไม่ชอบด้วย ป.อ. มาตรา 21 วรรคสอง ที่ถูกศาลอุทธรณ์ต้องลดโทษให้จำเลยที่ 2 เป็นรายกระทงก่อนแล้วจึงรวมโทษ ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้เป็นคุณแก่จำเลยได้
ตาม พ.ร.บ. ให้บำเหน็จในการปราบปรามผู้กระทำความผิด พ.ศ. 2489 มาตรา 7 และมาตรา 8 ที่บัญญัติไว้มีใจความว่า สินบนและรางวัลให้จ่ายจากเงินที่ได้จากการขายของกลางซึ่งศาลสั่งริบเมื่อคดีถึงที่สุดแล้ว หากของกลางที่ศาลสั่งริบไม่อาจขายได้ จึงให้จ่ายจากเงินค่าปรับที่ได้ชำระต่อศาล ดังนั้น เมื่อไม่ปรากฏว่าไม่อาจขายเลื่อยยนต์ของกลางได้ ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จ่ายสินบนร้อยละ 30 ของค่าปรับ และจ่ายรางวัลร้อยละ 25 ของค่าปรับ จึงยังไม่ถูกต้อง ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้องเสียด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6396/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขโทษปรับในคดีศุลกากร และการลดโทษจำคุกเป็นรายกระทงตามกฎหมายอาญา
การลงโทษปรับเป็นเงินสี่เท่าของราคาของซึ่งได้รวมค่าอากรเข้าด้วยแล้วตามที่พระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 27 ทวิ บัญญัติไว้นั้นค่าอากรดังกล่าวย่อมหมายถึงค่าอากรในทางศุลกากรเท่านั้น ไม่รวมถึงภาษีมูลค่าเพิ่มอันเป็นภาษีฝ่ายสรรพากรด้วย และเนื่องจากความผิดดังกล่าวเป็นกรณีจำเลยทั้งสองกระทำความผิดร่วมกันและศาลจะต้องพิพากษาลงโทษปรับจำเลยทั้งสองรวมกัน เป็นเงินสี่เท่าของราคาของซึ่งได้รวมค่าอากรเข้าด้วยแล้ว อันถือว่าเป็นเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดี ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจพิพากษาแก้ไขโทษปรับตลอดไปถึงจำเลยที่ 1 ซึ่งมิได้ฎีกาได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 213 และ 225
การรวมโทษจำคุกของแต่ละกระทงที่กำหนดเป็นเดือนเข้าด้วยกันแล้วจึงลดโทษนั้น การนำโทษส่วนที่เกิน 12 เดือน มาคิดคำนวณเป็น 1 ปี มีผลทำให้จำเลยต้องรับโทษจำคุกในปีสุดท้ายนานขึ้น 5 วัน หรือ 6 วัน หากตรงกับปีอธิกสุรทิน จึงเป็นการไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 21 วรรคสอง ซึ่งที่ถูกต้องจะต้องลดโทษให้จำเลยเป็นรายกระทงก่อนแล้วจึงรวมโทษ
พระราชบัญญัติให้บำเหน็จในการปราบปรามผู้กระทำความผิด พ.ศ. 2489 มาตรา 7 และมาตรา 8 กำหนดให้จ่ายสินบนและรางวัลจากเงินที่ได้จากการขายของกลางซึ่งศาลสั่งริบเมื่อคดีถึงที่สุดแล้ว หากของกลางที่ศาลสั่งริบไม่อาจขายได้ จึงให้จ่ายจากเงินค่าปรับที่ได้ชำระต่อศาล ดังนั้น เมื่อไม่ปรากฏว่าไม่อาจขายเลื่อยยนต์ของกลางได้ ศาลจึงสั่งให้จ่ายจากเงินค่าปรับไม่ได้
การรวมโทษจำคุกของแต่ละกระทงที่กำหนดเป็นเดือนเข้าด้วยกันแล้วจึงลดโทษนั้น การนำโทษส่วนที่เกิน 12 เดือน มาคิดคำนวณเป็น 1 ปี มีผลทำให้จำเลยต้องรับโทษจำคุกในปีสุดท้ายนานขึ้น 5 วัน หรือ 6 วัน หากตรงกับปีอธิกสุรทิน จึงเป็นการไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 21 วรรคสอง ซึ่งที่ถูกต้องจะต้องลดโทษให้จำเลยเป็นรายกระทงก่อนแล้วจึงรวมโทษ
พระราชบัญญัติให้บำเหน็จในการปราบปรามผู้กระทำความผิด พ.ศ. 2489 มาตรา 7 และมาตรา 8 กำหนดให้จ่ายสินบนและรางวัลจากเงินที่ได้จากการขายของกลางซึ่งศาลสั่งริบเมื่อคดีถึงที่สุดแล้ว หากของกลางที่ศาลสั่งริบไม่อาจขายได้ จึงให้จ่ายจากเงินค่าปรับที่ได้ชำระต่อศาล ดังนั้น เมื่อไม่ปรากฏว่าไม่อาจขายเลื่อยยนต์ของกลางได้ ศาลจึงสั่งให้จ่ายจากเงินค่าปรับไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5876/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลดโทษตาม ป.อ. มาตรา 78 ต้องลดโทษรายกระทงก่อนแล้วจึงรวมโทษ ไม่ใช่ลดโทษรวมทั้งหมด
ศาลล่างทั้งสองลงโทษจำคุกจำเลยกระทงละ 1 ปี รวม 3 กระทง เป็นจำคุก 3 ปี และลดโทษให้ตาม ป.อ. มาตรา 78 กึ่งหนึ่ง เป็นจำคุก 1 ปี 6 เดือน แทนที่จะลดโทษแต่ละกระทงก่อนแล้วจึงรวมโทษจำคุกที่ลดแล้ว แต่ละกระทงเข้าด้วยกันนั้นไม่ถูกต้อง ปัญหาข้อนี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายทีเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยมิได้ ยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เอง ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 คงจำคุกจำเลย 18 เดือน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2144/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรวมโทษจำคุกและลดโทษ: การนับวันและผลกระทบต่อโทษจำคุกที่แท้จริง
การที่ศาลล่างรวมโทษจำคุกจำเลยทั้งสามกระทงก่อนแล้วจึงลดโทษนั้นไม่ถูกต้อง เพราะเมื่อลดโทษจำคุกแต่ละกระทงแล้วมีเศษเป็นเดือน การนับโทษจำคุกเป็นเดือนต้องนับสามสิบวันเป็นหนึ่งเดือน แต่การนับโทษจำคุกเป็นปีต้องนับตามที่ปฏิทินราชการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 21 วรรคสอง ดังนั้น หากกำหนดโทษจำคุกเป็นเดือนเมื่อรวมโทษจำคุกได้ 12 เดือน จำเลยย่อมได้รับโทษจำคุก 360 วัน แต่ถ้ารวมโทษเป็น 1 ปี จะได้รับโทษจำคุก 365 วันหรือ 366 วัน เห็นได้ว่า หากรวมโทษจำคุกจากเดือนเป็นปีย่อมเป็นผลร้ายแก่จำเลยมากกว่า จึงต้องลดโทษให้จำเลยทุกกระทงก่อนแล้วรวมโทษจำคุก ในส่วนที่เป็นเดือนคงให้เป็นเดือนต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1158/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคำนวณระยะเวลาจำคุกตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 21 วรรคสอง และการรวมโทษหลายกรรม
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 21 วรรคสอง บัญญัติเกี่ยวกับการคำนวณระยะเวลาจำคุกว่า ถ้าระยะเวลาที่คำนวณนั้นกำหนดเป็นเดือน ให้นับสามสิบวันเป็นหนึ่งเดือนการที่ศาลล่างทั้งสองนำโทษจำคุกของจำเลยซึ่งศาลล่างทั้งสองลงโทษจำคุก 6 เดือน รวม 2 ข้อหา และลงโทษจำคุก 3 เดือน อีกหนึ่งข้อหารวมกันเป็นจำคุก 1 ปี 3 เดือน จึงเป็นผลร้ายแก่จำเลย ต้องรวมทุกข้อหาแล้วลงโทษจำคุกจำเลย 15 เดือน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1158/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคำนวณระยะเวลาจำคุกตาม ป.อ.มาตรา 21: รวมโทษทุกกระทงก่อนลงโทษ
ป.อ.มาตรา 21 วรรคสอง บัญญัติเกี่ยวกับการคำนวณระยะเวลาจำคุกว่า ถ้าระยะเวลาที่คำนวณนั้นกำหนดเป็นเดือน ให้นับสามสิบวันเป็นหนึ่งเดือนการที่ศาลล่างทั้งสองนำโทษจำคุกของจำเลยซึ่งศาลล่างทั้งสองลงโทษจำคุก 6 เดือนรวม 2 ข้อหา และลงโทษจำคุก 3 เดือน อีกหนึ่งข้อหา รวมกันเป็นจำคุก 1 ปี3 เดือน จึงเป็นผลร้ายแก่จำเลย ต้องรวมทุกข้อหาแล้วลงโทษจำคุกจำเลย 15 เดือน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6972/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนับโทษจำคุกและการเปลี่ยนแปลงดุลพินิจในการลงโทษของศาล
โจทก์ฟ้องขอให้นับโทษจำเลยติดต่อกับโทษของจำเลยในคดีก่อนปรากฏว่าคดีก่อนศาลพิพากษาลงโทษจำคุก แต่ให้รอการลงโทษไว้จึงไม่อาจนับโทษจำคุกของจำเลยในคดีนี้ติดต่อกับคดีก่อนได้ ต้องนับแต่วันต้องขังตามหลักทั่วไป
ฎีกาของจำเลยที่ขอให้รอการลงโทษ เป็นฎีกาในดุลพินิจซึ่งเป็นปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 แต่ในคดีที่ฎีกาได้แต่ปัญหาข้อกฎหมาย เมื่อพฤติการณ์ที่ปรากฏในคดีโทษที่ศาลอุทธรณ์กำหนดยังไม่เหมาะสมแก่รูปคดี ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจเปลี่ยนแปลงดุลพินิจในการลงโทษที่ศาลอุทธรณ์กำหนดไว้ได้
ฎีกาของจำเลยที่ขอให้รอการลงโทษ เป็นฎีกาในดุลพินิจซึ่งเป็นปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 แต่ในคดีที่ฎีกาได้แต่ปัญหาข้อกฎหมาย เมื่อพฤติการณ์ที่ปรากฏในคดีโทษที่ศาลอุทธรณ์กำหนดยังไม่เหมาะสมแก่รูปคดี ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจเปลี่ยนแปลงดุลพินิจในการลงโทษที่ศาลอุทธรณ์กำหนดไว้ได้