คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.อ. ม. 21

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 24 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6972/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนับโทษจำคุกและการเปลี่ยนแปลงดุลพินิจในการลงโทษของศาล
โจทก์ฟ้องขอให้นับโทษจำเลยติดต่อกับโทษของจำเลยในคดีก่อนปรากฏว่าคดีก่อนศาลพิพากษาลงโทษจำคุก แต่ให้รอการลงโทษไว้จึงไม่อาจนับโทษจำคุกของจำเลยในคดีนี้ติดต่อกับคดีก่อนได้ ต้องนับแต่วันต้องขังตามหลักทั่วไป
ฎีกาของจำเลยที่ขอให้รอการลงโทษ เป็นฎีกาในดุลพินิจซึ่งเป็นปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 แต่ในคดีที่ฎีกาได้แต่ปัญหาข้อกฎหมาย เมื่อพฤติการณ์ที่ปรากฏในคดีโทษที่ศาลอุทธรณ์กำหนดยังไม่เหมาะสมแก่รูปคดี ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจเปลี่ยนแปลงดุลพินิจในการลงโทษที่ศาลอุทธรณ์กำหนดไว้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1721/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เช็คชำระหนี้ค่าสินค้าล่าช้า ดอกเบี้ยตามตกลงไม่ขัดกฎหมาย การคำนวณโทษจำคุก
จำเลยทั้งสองออกเช็คชำระหนี้ค่าสินค้าแก่โจทก์ เช็คเรียกเก็บเงินไม่ได้จำเลยทั้งสองจึงออกเช็คพิพาทให้โจทก์ใหม่แทนฉบับเดิมโดยสั่งจ่ายเพิ่มขึ้นจากหนี้เดิมในอัตราร้อยละ 18 ต่อปี ถือว่ามูลหนี้ตามเช็คไม่ใช่หนี้กู้ยืมเงิน จำเลยทั้งสองผิดนัดไม่ชำระหนี้ตามกำหนดมาแล้วครั้งหนึ่ง เมื่อออกเช็คพิพาทชำระหนี้แก่โจทก์ซึ่งล่าช้ากว่ากำหนดชำระหนี้เดิม โจทก์จึงมีสิทธิคิดค่าเสียหายจากการชำระหนี้ล่าช้าได้ และจำเลยทั้งสองยินยอมโดยออกเช็คพิพาทฉบับใหม่แก่โจทก์มูลหนี้ตามเช็คพิพาทจึงสมบูรณ์ไม่ต้องห้ามตามกฎหมาย ในกรณีที่กำหนดโทษจำคุกเป็นเดือน เมื่อรวมถึง 12 เดือน ให้คิดเป็นจำนวนวัน 360 วัน มิใช่ถือเป็น 1 ปี เพราะจำนวนวันจำคุกจะคิดได้ถึง 365 หรือ 366 วัน ย่อมเป็นผลร้ายแก่จำเลย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 235/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคำนวณโทษจำคุกตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 21 และการแก้ไขโทษให้ถูกต้อง
การนำโทษจำคุกของจำเลยที่ 1 ในคดี ก่อน 2 คดีซึ่งพิพากษาให้จำคุก 3 เดือนและ 9 เดือนที่รอการลงโทษไว้มาบวกเข้ากับโทษจำคุก 10 ปีของจำเลยที่ 1 ในคดีนี้รวมเป็นจำคุก 11 ปี เป็นผลร้ายแก่จำเลยที่ 1 เนื่องจากประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 21 วรรคสองบัญญัติว่า ถ้าระยะเวลาที่คำนวณนั้นกำหนดเป็นเดือนให้นับ 30 วันเป็น 1 เดือน ถ้ากำหนดเป็นปีให้คำนวณตามปีปฏิทินในราชการดังนั้นการนับจำนวนวันใน 1 เดือนเท่ากับ 30 วัน กำหนดโทษจำคุก12 เดือนคิดเป็นจำนวนวันเท่ากับ 360 วัน แต่การนับจำนวนวันใน 1 ปีเท่ากับ 365 วันหรือ 366 วันจึงมากกว่า

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 267/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การออกเช็ค 3 ฉบับ ถือเป็นความผิด 3 กระทง แม้ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินไม่พร้อมกัน การคำนวณโทษจำคุกต้องใช้หลักเกณฑ์ประมวลกฎหมายอาญา
จำเลยสั่งจ่ายเช็ค 3 ฉบับ ลงวันที่สั่งจ่ายต่างกัน ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คฉบับที่ 1 และฉบับที่ 2 ในวันที่ 30มิถุนายน 2529 ครั้งหนึ่งและปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คฉบับที่ 3ในวันที่ 16 กรกฎาคม 2529 อีกครั้งหนึ่ง แม้ธนาคารตามเช็คจะปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คฉบับที่ 1 และฉบับที่ 2 ในวันเดียวกันก็ต้องถือว่าจำเลยกระทำความผิดในการออกเช็คฉบับที่ 1 และฉบับที่ 2ต่างกรรม ต่างวาระกัน การกระทำของจำเลยในการออกเช็ค 3 ฉบับจึงเป็นความผิด 3 กระทง ศาลลงโทษจำคุกจำเลยกระทงละ 8 เดือน รวม 3 กระทง ต้องกำหนดโทษเป็นจำคุก 24 เดือน ไม่ใช่ 2 ปี เมื่อลดโทษให้กึ่งหนึ่งตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 คงจำคุก 12 เดือน ไม่ใช่ 1 ปีเพราะการวางโทษจำคุกเป็นปี ทำให้จำเลยเสียเปรียบต้องรับโทษมากกว่าการวางโทษจำคุกเป็นเดือนตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 21 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 267/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การออกเช็ค 3 ฉบับ มีความผิด 3 กระทง และการคำนวณโทษที่ถูกต้องตามกฎหมาย
จำเลยออกเช็ค 3 ฉบับ แม้ธนาคาร ตามเช็คจะปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คฉบับที่ 1 และฉบับที่ 2 ในวันเดียวกัน ก็ต้องถือว่าจำเลยกระทำความผิดในการออกเช็คฉบับที่ 1 และฉบับที่ 2 ต่างกรรมต่างวาระกัน เพราะจำเลยมีเจตนาให้ใช้เงินตามเช็คแต่ละฉบับหรือไม่แตกต่างแยกจากกันได้ การกระทำของจำเลยในการออกเช็ค 3ฉบับจึงเป็นความผิด 3 กระทง
ศาลลงโทษจำคุกจำเลยกระทงละ 8 เดือน รวม 3 กระทงต้องกำหนดโทษรวมเป็นจำคุก 24 เดือน ไม่ใช่ 2 ปีและเมื่อลดโทษให้กึ่งหนึ่งแล้วก็ต้องกำหนดโทษจำคุกเป็น 12 เดือน เพราะการวางโทษเป็นปีทำให้จำเลยเสียเปรียบ เนื่องจากตาม ป.อ. มาตรา 21 วรรคสอง ถ้าระยะเวลาที่คำนวณนั้นกำหนดเป็นเดือน ให้นับสามสิบวันเป็นหนึ่งเดือน ถ้ากำหนดเป็นปี ให้คำนวณตามปีปฎิทิน ในราชการดังนั้นการนับวันใน 1 ปีจึงเท่ากับ 365 วัน แต่การนับวันใน 1 เดือน เท่ากับ 30 วัน กำหนดโทษ 12 เดือนคิดเป็นวันจึงเท่ากับ 360 วัน.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4171/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงโทษซ้ำซ้อนในความผิดเดียวกันและการส่งตัวเด็กไปฝึกอบรม
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลย 7 เดือน 15 วันก่อนศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษาจำเลยรับโทษตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นครบแล้ว การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นส่งตัวจำเลยไปยังสถานฝึกอบรมจนกว่าจะมีอายุครบ 18 ปี มิใช่เป็นการลงโทษสองครั้งในความผิดเดียวกันเพราะการส่งตัวไปฝึกอบรมไม่ใช่เป็นการลงโทษตามกฎหมาย แต่ศาลฎีกาเห็นไม่สมควรส่งตัวจำเลยไปฝึกอบรมอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 266/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คุณสมบัติผู้ใหญ่บ้าน/กำนัน: พักโทษไม่ถือเป็นพ้นโทษ, อำนาจสั่งพ้นตำแหน่งของผู้ว่าฯ
ในระหว่างที่โจทก์ต้องโทษจำคุก แม้โจทก์จะได้รับการพักโทษปล่อยตัวออกจากเรือนจำก็ถือไม่ได้ว่าโจทก์พ้นโทษนับแต่วันที่ได้พักการลงโทษ เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าวันครบกำหนดโทษของโจทก์ คือวันที่ 6 มกราคม 2515 วันพ้นโทษของโจทก์จึงต้องนับแต่วันที่ 7 มกราคม 2515เป็นต้นไป ฉะนั้น วันที่โจทก์ได้รับเลือกตั้งเป็นผู้ใหญ่บ้านในวันที่ 19 มกราคม 2516 และรับเลือกตั้งเป็นกำนันในวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2516 จึงยังไม่พ้นกำหนด 3 ปี นับแต่วันพ้นโทษโจทก์จึงขาดคุณสมบัติในการเป็นผู้ใหญ่บ้านและกำนัน ผู้ว่าราชการจังหวัดมีคำสั่งให้โจทก์พ้นจากตำแหน่งได้ โดยหาจำต้องใช้สิทธิทางศาลไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 266/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คุณสมบัติผู้ใหญ่บ้าน/กำนัน, การพักโทษ, และอำนาจผู้ว่าฯ สั่งพ้นตำแหน่ง
ในระหว่างที่โจทก์ต้องโทษจำคุก แม้โจทก์จะได้รับการพักโทษปล่อยตัวออกจากเรือนจำก็ถือไม่ได้ว่าโจทก์พ้นโทษนับแต่วันที่ได้พักการลงโทษ เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าวันครบกำหนดโทษของโจทก์ คือวันที่ 6 มกราคม 2515 วันพ้นโทษของโจทก์จึงต้องนับแต่วันที่ 7 มกราคม 2515 เป็นต้นไป ฉะนั้นวันที่โจทก์ได้รับเลือกตั้งเป็นผู้ใหญ่บ้านในวันที่ 19 มกราคม 2516 และรับเลือกตั้งเป็นกำนันในวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2516 จึงยังไม่พ้นกำหนด 3 ปีนับแต่วันพ้นโทษ โจทก์จึงขาดคุณสมบัติในการเป็นผู้ใหญ่บ้านและกำนัน ผู้ว่าราชการจังหวัดมีคำสั่งให้โจทก์พ้นจากตำแหน่งได้โดยหาจำต้องใช้สิทธิทางศาลไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 198-199/2508

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนับอายุความในคดีหมิ่นประมาท: ใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์เมื่อไม่มีกำหนดในประมวลกฎหมายอาญา
เมื่อกฎหมายอาญาไม่ได้บัญญัติถึงวิธีการกำหนดนับระยะเวลาร้องทุกข์และฟ้องร้องไว้ จึงต้องกำหนดนับระยะเวลาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 21 วรรคสอง เป็นบทบัญญัติในการคำนวณระยะเวลาจำคุกเท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 198-199/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนับระยะเวลาร้องทุกข์/ฟ้องคดีอาญา ใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หากกฎหมายอาญาไม่ได้กำหนด
เมื่อกฎหมายอาญาไม่ได้บัญญัติถึงวิธีการกำหนดนับระยะเวลาร้องทุกข์และฟ้องร้องไว้ จึงต้องกำหนดนับระยะเวลาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 21 วรรค 2 เป็นบทบัญญัติในการคำนวณระยะเวลาจำคุกเท่านั้น
of 3