คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สุรศักดิ์ คีรีวิเชียร

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 78 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 17095/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทำละเมิดต่อสิทธิในทรัพย์สิน: การไถตออ้อยในที่ดินเช่าหลังเลิกสัญญา
โจทก์เช่าที่ดิน น.ค.3. จาก ม. เพื่อทำไร่อ้อย มีกำหนดระยะเวลาการเช่า 6 ปี การปลูกอ้อยของโจทก์เป็นการอาศัยสิทธิตามสัญญาเช่าและต้นอ้อยเป็นไม้ล้มลุก จึงไม่เป็นส่วนควบของที่ดิน ทั้งสัญญาเช่าที่ดินระหว่างโจทก์กับ ม. ก็ไม่มีข้อความใดระบุให้ต้นอ้อยหรือตออ้อยตกเป็นสิทธิของ ม. หลังสัญญาเช่าเลิกกัน ดังนั้น การที่ ม. ตกลงเลิกสัญญาเช่ากับโจทก์หลังจากโจทก์ตัดอ้อยของปีที่ 4 และ ม. ขายที่ดินแก่ ล. ก็ไม่มีผลให้กรรมสิทธิ์ในต้นอ้อยตกไปเป็นของ ล. แม้ ล. จะเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินดังกล่าว ก็ไม่มีอำนาจสั่งให้จำเลยซึ่งเป็นลูกจ้างนำรถเข้าไถตออ้อยของโจทก์โดยพลการ แม้จำเลยจะกระทำตามคำสั่งของ ล. เจ้าของที่ดิน แต่จำเลยก็ทราบว่าตออ้อยเป็นของโจทก์ซึ่งเช่าที่ดินจาก ม. ถือได้ว่าจำเลยได้กระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อก่อให้เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สินของโจทก์โดยไม่มีอำนาจกระทำได้ตามกฎหมาย เป็นการละเมิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 16571/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงกฎหมายยาเสพติดหลังกระทำผิด และผลต่อการกำหนดโทษใหม่ของผู้ต้องหา
ในระหว่างที่จำเลยกำลังรับโทษตามคำพิพากษาซึ่งคดีถึงที่สุด ได้มี พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 5) พ.ศ.2545 มาตรา 8 และมาตรา 19 ยกเลิกความในมาตรา 15 และมาตรา 65 แห่ง พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 และให้ใช้ข้อความใหม่แทน โดยตามมาตรา 65 วรรคสอง (เดิม) กำหนดไว้ว่า ผู้ใดผลิตยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 เพื่อจำหน่าย ต้องระวางโทษประหารชีวิต ส่วนในมาตรา 65 ที่แก้ไขใหม่ กำหนดแยกบทลงโทษกรณีผลิตโดยการแบ่งบรรจุหรือรวมบรรจุ และมีปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ไม่ถึงปริมาณที่กำหนดตามมาตรา 15 วรรคสาม (3) คือไม่ถึง 3 กรัม หากเป็นการผลิตเพื่อจำหน่าย ต้องระวางโทษตามมาตรา 65 วรรคสี่ ซึ่งมีระวางโทษจำคุกตั้งแต่สี่ปีถึงจำคุกตลอดชีวิตและปรับตั้งแต่สี่แสนบาทถึงห้าล้านบาท เช่นนี้ ความผิดฐานผลิตเฮโรอีนเพื่อจำหน่ายตามมาตรา 65 วรรคสี่ ที่แก้ไขใหม่ จะเป็นคุณมากกว่ากฎหมายเดิมตามมาตรา 65 วรรคสอง ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิด เฉพาะในกรณีที่เป็นการผลิตเฮโรอีนเพื่อจำหน่ายโดยการแบ่งบรรจุหรือรวมบรรจุ และมีปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ไม่ถึงปริมาณที่กำหนดตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 15 วรรคสาม (3) (ใหม่) คือไม่ถึง 3 กรัม เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้ตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 8 ซึ่งคดีถึงที่สุดแล้วว่า จำเลยผลิตเฮโรอีนโดยการแบ่งบรรจุใส่หลอดพลาสติก 150 หลอด น้ำหนัก 142.007 กรัม คำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้ 91.865 กรัม แม้ฟ้องโจทก์จะไม่ได้บรรยายว่า เฮโรอีนดังกล่าวมีปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้เท่าใด แต่โจทก์บรรยายฟ้องมาแล้วว่า จำเลยผลิตเฮโรอีนโดยการแบ่งจากห่อแล้วบรรจุใส่หลอดพลาสติก 150 หลอด น้ำหนัก 142.007 กรัม อันเป็นการบรรยายฟ้องมาครบองค์ประกอบความผิดตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 15 วรรคหนึ่ง (เดิม), 65 วรรคสอง (เดิม) ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดแล้ว เมื่อเฮโรอีนของกลางมีปริมาณสารบริสุทธิ์ 91.865 กรัม เกินกว่าที่กำหนดตามมาตรา 15 วรรคสาม (3) จึงไม่เข้าเงื่อนไขตามมาตรา 65 วรรคสี่ ที่แก้ไขใหม่ กฎหมายที่แก้ไขใหม่จึงไม่เป็นคุณแก่จำเลย ส่วนกำหนดโทษตามมาตรา 65 วรรคสอง (เดิม) และมาตรา 65 วรรคสอง ที่แก้ไขใหม่ มีระวางโทษประหารชีวิตสถานเดียวเท่ากัน กฎหมายที่แก้ไขใหม่จึงไม่เป็นคุณแก่จำเลย ต้องใช้กฎหมายเดิมซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดบังคับแก่จำเลย กรณีจึงไม่อยู่ในบังคับตาม ป.อ. มาตรา 3 (1) ที่ศาลจะกำหนดโทษจำเลยในความผิดฐานผลิตเฮโรอีนเพื่อจำหน่ายใหม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15919/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ น.ส.3ก.ออกโดยมิชอบ สัญญาซื้อขายเป็นโมฆะ จำเลยต้องคืนเงินพร้อมดอกเบี้ย
การออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) เลขที่ 4410 เป็นการออกเฉพาะราย โดยมีการนำหลักฐาน ส.ค.1 ของที่ดินแปลงอื่นมาเป็นหลักฐาน เป็นการออก น.ส.3 ก. โดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ต้องเพิกถอนตามมาตรา 61 แห่ง ป.ที่ดิน ซึ่งตามคำฟ้องโจทก์บรรยายชัดเจนว่า จำเลยนำ น.ส.3 ก. ที่ออกโดยมิชอบด้วยกฎหมายมาหลอกขายให้โจทก์และได้รับเงิน 660,000 บาท จำเลยไม่ใช่เจ้าของผู้ครอบครองที่ดินแปลงนั้น โจทก์ซื้อที่ดินมาไม่ได้สิทธิครอบครอง การที่โจทก์เข้าทำสัญญาซื้อขายกับจำเลยจึงเป็นการทำสัญญาโดยสำคัญผิดในสิ่งที่เป็นสาระสำคัญแห่งนิติกรรม สัญญาซื้อขายเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 156 จึงต้องคืนทรัพย์ฐานลาภมิควรได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 172 วรรคสอง ประกอบมาตรา 412 ดังนั้น โจทก์ย่อมฟ้องบังคับให้จำเลยคืนเงินค่าที่ดินได้ และการฟ้องคดีของโจทก์เป็นการติดตามเอาเงินคืนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336 ไม่มีกำหนดอายุความ คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ และเมื่อโจทก์ไม่นำสืบว่ามีการทวงถามจำเลยให้ชำระเงินคืนเมื่อไร จำเลยต้องคืนเงินจำนวนดังกล่าวพร้อมดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15831/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเรียกร้องค่าเสียหายจากความเสียหายต่อทรัพย์สิน: กำหนดจำนวนเงินที่ถูกต้องตามจริงเพื่อป้องกันการได้รับประโยชน์เกินควร
โจทก์บรรยายฟ้องว่ารถยนต์กะบะราคา 840,000 บาท ขอให้จำเลยคืนหรือใช้ราคาทรัพย์ รถยนต์คันนี้โจทก์ร่วมชำระเงินดาวน์และเงินผ่อนไป 196,000 บาท ปัจจุบันบริษัทประกันภัยจ่ายเงินให้แก่บริษัทไฟแนนซ์ไปแล้ว ดังนี้ โจทก์ร่วมมีสิทธิเรียกร้องราคารถยนต์ที่สูญเสียไปเนื่องจากการกระทำผิดคืนตาม ป.วิ.อ. มาตรา 43 จำนวน 196,000 บาท ไม่ใช่ 840,000 บาท มิฉะนั้นโจทก์ร่วมย่อมได้กำไรเกินกว่าราคาที่สูญเสียไป และจำเลยทั้งสามอาจต้องชำระราคารถยนต์ซ้ำซ้อนในกรณีบริษัทประกันภัยใช้สิทธิไล่เบี้ยฟ้องคดีแพ่ง ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จะไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246 และมาตรา 247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15677/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิบังคับคดีจากทรัพย์สินอื่นนอกเหนือจากทรัพย์จำนอง แม้คำขอท้ายฟ้องระบุเฉพาะการขายทอดตลาดทรัพย์จำนอง
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยชำระหนี้เงินกู้และประสงค์จะบังคับทรัพย์จำนองซึ่งเป็นหลักประกัน แม้ในคำขอท้ายฟ้องของโจทก์จะระบุเพียงว่า หากจำเลยไม่ชำระหนี้ให้นำทรัพย์จำนองออกขายทอดตลาดนำเงินมาชำระหนี้แก่โจทก์ แต่ตามคำฟ้องของโจทก์ได้บรรยายแสดงให้เห็นแล้วว่าหากมีการบังคับจำนองเอาทรัพย์สินที่จำนองออกขายทอดตลาดได้เงินสุทธิไม่พอชำระหนี้ จำเลยตกลงชำระหนี้ส่วนที่ขาดจำนวนจากทรัพย์สินอื่นของจำเลยให้แก่โจทก์จนครบ ตามหนังสือสัญญาจำนองและสัญญาต่อท้ายสัญญาจำนองที่ดินเป็นประกันเอกสารท้ายคำฟ้อง ซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้องเช่นเดียวกัน แม้สัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์กับจำเลย ข้อ 4 จะระบุเพียงว่า หากจำเลยผิดนัดข้อหนึ่งข้อใดให้ถือว่าจำเลยผิดนัดทั้งสิ้น และยินยอมให้โจทก์บังคับได้ทันที แต่สัญญาประนีประนอมยอมความมิได้กล่าวไว้ว่าหากจำเลยผิดนัดแล้วให้โจทก์บังคับคดีได้แต่เฉพาะทรัพย์สินซึ่งจำนองเป็นประกันเท่านั้น แสดงว่าโจทก์ประสงค์ที่จะบังคับคดีเอาจากทรัพย์สินอื่นนอกเหนือจากทรัพย์จำนองซึ่งเป็นหลักประกันตามข้อตกลงในหนังสือสัญญาจำนองและสัญญาต่อท้ายสัญญาจำนองที่ดินเป็นประกันด้วย ส่วนสัญญาประนีประนอมยอมความข้อ 5 ที่ว่า โจทก์และจำเลยตกลงตามข้อ 1 ถึงข้อ 4 และไม่ติดใจเรียกร้องสิ่งใดอีกนั้น ก็หมายความแต่เพียงว่า โจทก์จะไม่เรียกร้องเงินนอกเหนือไปจากจำนวนเงินหรือหนี้ที่ตกลงกันไว้ในข้อ 1 ถึงข้อ 4 เท่านั้น เมื่อจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ผิดสัญญาประนีประนอมยอมความและมีการบังคับคดีขายทอดตลาดทรัพย์จำนองไม่พอชำระหนี้ โจทก์ในฐานะเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาจึงชอบที่จะบังคับชำระหนี้จากทรัพย์สินอื่นของจำเลยนอกเหนือจากที่จำนองไว้ได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 271

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15658/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความชอบด้วยกฎหมายของฟ้องคดีเกี่ยวกับยาปลอมและเครื่องสำอาง รวมถึงการลงโทษจำคุก
ฟ้องโจทก์ได้บรรยายแล้วว่า ยาที่จำเลยกับพวกร่วมกันผลิตเป็นยาปลอมโดยใช้วัตถุเทียมในการผลิตยา และเป็นยาที่แสดงชื่อหรือเครื่องหมายของผู้ผลิตและสถานที่ตั้งของผู้ผลิตไม่ตรงความจริง ส่วนตัวยาที่แท้จริงเป็นอย่างไร และวัตถุเทียมในการผลิตยาคือวัตถุอะไรเป็นรายละเอียดที่โจทก์สามารถนำสืบได้ในชั้นพิจารณา แม้ตอนต้นของฟ้องโจทก์จะบรรยายว่า การกระทำของจำเลยในความผิดฐานปลอมยา แต่ตอนท้ายบรรยายว่า เป็นยาที่มิได้ขึ้นทะเบียนตำรับยาต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ก็ไม่ขัดแย้งกันเพราะยาปลอมก็คือยาที่มิได้ขึ้นทะเบียนตำรับยาต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ และความผิดฐานผลิตยาปลอม ฐานผลิตยาโดยไม่ขึ้นทะเบียนตำรับยา ฐานผลิตเพื่อขายเครื่องสำอางปลอม และฐานผลิตเพื่อขายซึ่งเครื่องสำอางควบคุมพิเศษโดยไม่แสดงฉลากให้ถูกต้องครบถ้วนหรือแสดงฉลากที่แจ้งแหล่งผลิตอันเป็นเท็จนั้น ไม่มีองค์ประกอบความผิดว่าทำให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลหนึ่งบุคคลใด เมื่อจำเลยผลิตและมีไว้เพื่อขายยาปลอมและยาที่มิได้ขึ้นทะเบียนตำรับยา และผลิตเพื่อขายหรือมีไว้เพื่อขายเครื่องสำอางย่อมเป็นความผิดตามกฎหมายแล้ว คำฟ้องโจทก์จึงชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15447/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์เงินฝากอยู่ที่ธนาคาร ผู้เสียหายในคดีลักทรัพย์ไม่ใช่เจ้าของเงินฝาก
ป.พ.พ. บัญญัติเกี่ยวกับวิธีเฉพาะการฝากเงินไว้ตามมาตรา 672 ว่า ผู้รับฝากไม่พึงต้องส่งคืนเป็นเงินทองตราอันเดียวกันกับที่ฝาก แต่จะต้องคืนเงินให้ครบจำนวน และผู้รับฝากจะเอาเงินซึ่งฝากนั้นออกใช้ก็ได้ แต่หากจำต้องคืนเงินให้ครบจำนวนเท่านั้น แม้ว่าเงินซึ่งฝากนั้นจะได้สูญหายไปด้วยเหตุสุดวิสัยก็ตาม ผู้รับฝากก็จำต้องคืนเงินจำนวนดังกล่าว เงินฝากของโจทก์ร่วมที่ฝากไว้กับธนาคาร ย. สาขาแจ้งวัฒนะ ย่อมตกเป็นกรรมสิทธิ์ของธนาคารนับแต่วันที่มีการฝากเงิน โจทก์ร่วมมีสิทธิที่จะเบิกถอนเงินได้ ธนาคารเพียงแต่มีหน้าที่คืนเงินให้ครบจำนวนเท่านั้น และในกรณีที่จำเลยปลอมลายมือชื่อของผู้สั่งจ่ายเช็ค เงินที่ธนาคารจ่ายไปตามเช็คย่อมเป็นเงินของธนาคารและธนาคารไม่มีสิทธิหักจากบัญชีเงินฝากของโจทก์ร่วม ดังนี้ เงินที่จำเลยลักไปจึงมิใช่กรรมสิทธิ์ของโจทก์ร่วม โจทก์ร่วมจึงมิใช่ผู้เสียหายในความผิดฐานลักทรัพย์ โจทก์ไม่มีอำนาจขอให้จำเลยคืนเงิน 2,100,000 บาท แก่โจทก์ร่วม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15230/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำความผิดต่างกรรมต่างวาระ ปลอมเอกสารและยักยอกทรัพย์ การนับโทษต่อ และอำนาจแก้ไขคำพิพากษา
คดีนี้โจทก์บรรยายฟ้องว่า เมื่อระหว่างปี 2536 ถึงปลายปี 2542 วันเวลาใดไม่ปรากฏชัด จำเลยทั้งสองได้รับมอบหมายให้จัดการทรัพย์สินของผู้เสียหายในฐานะผู้มีอาชีพหรือธุรกิจอันย่อมเป็นที่ไว้วางใจของประชาชน อาศัยโอกาสที่ตนมีหน้าที่ดังกล่าวร่วมกันปลอมใบรับเงินกู้ยืมและปลอมใบถอนเงินฝากของผู้เสียหายและยักยอกเงินของผู้เสียหาย ส่วนคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 54/2548 ของศาลชั้นต้น โจทก์บรรยายฟ้องว่า เมื่อระหว่างวันที่ 1 เมษายน 2540 ถึงวันที่ 31 มีนาคม 2541 เวลากลางวัน วันเวลาใดไม่ปรากฏชัด จำเลยทั้งสองได้รับมอบหมายให้จัดการทรัพย์สินของผู้เสียหายและในฐานะผู้มีอาชีพหรือธุรกิจอันย่อมเป็นที่ไว้วางใจของประชาชนอาศัยโอกาสในการที่ตนเป็นพนักงานผู้มีอำนาจหน้าที่ในฐานะเป็นผู้ช่วยผู้จัดการและพนักงานบัญชีปลอมใบรับเงินกู้ของผู้เสียหาย ยักยอกปุ๋ยของผู้เสียหาย ยักยอกข้าวเปลือกของผู้เสียหาย ยักยอกน้ำมันดีเซลของผู้เสียหาย และยักยอกเงินของผู้เสียหาย แม้วันเวลาเกิดเหตุของคดีทั้งสองจะคาบเกี่ยวกัน มูลคดีอย่างเดียวกัน และผู้เสียหายทั้งสองคดีเป็นคนเดียวกันก็ตาม แต่เอกสารสิทธิและทรัพย์ที่จำเลยที่ 1 ร่วมกันปลอมและยักยอกเป็นเอกสารสิทธิคนละฉบับกัน ทรัพย์คนละประเภทกัน และเงินคนละจำนวนกัน ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 กระทำความผิดดังกล่าวโดยมีเจตนาแยกต่างหากจากกัน จึงเป็นการกระทำต่างกรรม ต่างวาระกัน ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงมิใช่เป็นฟ้องเรื่องเดียวกันกับฟ้องในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 54/2548 ของศาลชั้นต้น อันต้องห้ามมิให้โจทก์ฟ้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง (1) ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15
คดีดังกล่าวและคดีนี้เป็นเรื่องปลอมเอกสารสิทธิ และยักยอกทรัพย์ของโจทก์ร่วม ซึ่งเป็นผู้เสียหายรายเดียวกัน เพียงแต่กระทำความผิดต่างวันเวลากัน เอกสารสิทธิที่ปลอมคนละฉบับ ทรัพย์ที่ยักยอกเป็นคนละประเภท และเงินที่ยักยอกคนละจำนวนเท่านั้น ซึ่งโจทก์อาจฟ้องจำเลยที่ 1 สำหรับการกระทำความผิดคดีนี้ และคดีที่ขอให้นับโทษต่อเป็นคดีเดียวกันได้ และอาจพิจารณาพิพากษาเข้าด้วยกันได้ คดีทั้งสองคดีจึงมีความเกี่ยวพันกันจนอาจฟ้องเป็นคดีเดียวกันได้ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 160 วรรคหนึ่ง การนับโทษต่อจึงต้องอยู่ในบังคับของ ป.อ. มาตรา 91 (2) กล่าวคือ เมื่อรวมโทษจำคุกทุกกระทงแล้วจะเกินกว่า 20 ปี ไม่ได้และเนื่องจากเป็นเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดี ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจพิพากษาแก้ไขตลอดไปถึงจำเลยที่ 2 ที่ไม่ได้ฎีกาด้วยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 213 ประกอบมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14071-14072/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดทางอาญาและแพ่งจากการร่วมกระทำความผิดฐานฆ่าผู้อื่น การชดใช้ค่าสินไหมทดแทน และค่าธรรมเนียมศาล
กรณีที่ผู้เสียหายยื่นคำร้องต่อศาลที่พิจารณาคดีอาญาขอให้บังคับจำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ตนตาม ป.วิ.อ. มาตรา 44/1 นั้น มาตรา 253 วรรคหนึ่ง มิให้เรียกค่าธรรมเนียม ส่วนที่มาตรา 253 วรรคสอง บัญญัติว่า ในกรณีที่มีคำพิพากษาหรือคำสั่งให้คืนหรือใช้ราคาทรัพย์สิน หรือค่าสินไหมทดแทนตามวรรคหนึ่ง ถ้าศาลยังต้องจัดการอะไรอีกเพื่อการบังคับ ผู้ที่จะได้รับคืนทรัพย์สินหรือราคาหรือค่าสินไหมทดแทน จักต้องเสียค่าธรรมเนียมดังคดีแพ่งสำหรับการต่อไปนั้น หมายถึงค่าธรรมเนียมในชั้นบังคับคดี และที่มาตรา 255 บัญญัติว่า ในคดีดังบัญญัติในมาตรา 253 วรรคสอง และมาตรา 254 ถ้ามีคำขอ ศาลมีอำนาจสั่งให้ฝ่ายที่แพ้คดีใช้ค่าธรรมเนียมแทนอีกฝ่ายหนึ่งได้ หมายถึงค่าธรรมเนียมในชั้นบังคับคดีตามมาตรา 253 วรรคสอง หรือค่าธรรมเนียมในคดีที่ผู้เสียหายซึ่งเป็นโจทก์ตามมาตรา 254 และต้องมีคำขอทั้งสองกรณี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13624/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาไม่อุทธรณ์ข้อกฎหมายในชั้นอุทธรณ์ และเหตุผลที่ไม่รอการลงโทษจำคุกจากพฤติการณ์ร้ายแรง
เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 147 จำเลยอุทธรณ์ขอให้ลงโทษสถานเบาและรอการลงโทษจำคุกเท่านั้น ไม่ได้อุทธรณ์ว่าการกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 147 จำเลยเพิ่งยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกา จึงเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 7 ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่ด้านการเงิน มีหน้าที่รับผิดชอบ ในการทำบัญชีการเงิน การรับเงิน จ่ายเงิน การเบิกถอนเงิน การเก็บรักษาเงินของสถานีอนามัยบ้านดอนนา ได้ครอบครองเงินจำนวน 433,420 บาท ของผู้เสียหาย และมีหน้าที่ดูแลรักษาเงินจำนวนดังกล่าวให้ครบถ้วน การเบิกจ่ายเงินจำนวนดังกล่าวจะต้องมีหลักฐานหนังสืออนุมัติก่อหนี้ผูกพันและหนังสืออนุมัติให้จ่ายเงินจากผู้มีอำนาจ แต่จำเลยไม่มีหลักฐานหนังสืออนุมัติก่อหนี้และหนังสืออนุมัติให้จ่ายเงินจากผู้มีอำนาจที่ใช้ประกอบกับใบคำขอถอนเงินเพื่อเบิกเงิน แต่จำเลยกลับใช้ใบเบิกถอนเงินจำนวน 433,420 บาท จากบัญชีเงินฝากของผู้เสียหาย แล้วเบียดบังเอาเงินจำนวนดังกล่าวไปเป็นประโยชน์ของตนเองหรือของผู้อื่นโดยทุจริต เห็นได้ว่าโจทก์ได้กล่าวข้อเท็จจริงถึงองค์ประกอบความผิดที่จำเลยเป็นเจ้าพนักงานมีหน้าที่ทำ จัดการหรือรักษาเงินของผู้เสียหาย แล้วเบียดบังเงินของผู้เสียหายไปโดยเบิกถอนเงินจากบัญชีเงินฝากของผู้เสียหาย พอที่จำเลยจะเข้าใจข้อหาได้ดีแล้ว จึงเป็นฟ้องที่ชอบตาม ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) แล้ว
of 8