พบผลลัพธ์ทั้งหมด 78 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11065/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำชำเราไม่สำเร็จ ศาลลงโทษฐานกระทำอนาจารแทนได้
คดีนี้จำเลยให้การรับสารภาพ ข้อเท็จจริงจึงรับฟังได้ตามฟ้องว่า วันเวลาเกิดเหตุจำเลยใช้กำลังประทุษร้ายกดตัวผู้เสียหายลงกับพื้น ใช้มือชกที่บริเวณท้องและปากของผู้เสียหาย แล้วจำเลยฉีกกระชากกระโปรงของผู้เสียหายจนขาด ผู้เสียหายร้องให้คนช่วยและมีผู้เข้าช่วยเหลือ ดังนี้ ลักษณะการกระทำของจำเลยดังกล่าวยังไม่อยู่ในวิสัยที่จำเลยจะกระทำชำเราผู้เสียหายได้ การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดฐานพยายามข่มขืนกระทำชำเรา แม้จำเลยให้การรับสารภาพก็ลงโทษจำเลยฐานนี้ไม่ได้ แต่การกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานกระทำอนาจารผู้เสียหายตาม ป.อ. มาตรา 278 อันเป็นความผิดที่รวมการกระทำตามที่โจทก์ฟ้องอยู่ด้วยแล้ว ศาลย่อมมีอำนาจลงโทษจำเลยตามความผิดที่พิจารณาได้ความตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคท้าย ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9848/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขโทษปรับเป็นรายวันโดยศาลอุทธรณ์ และข้อจำกัดในการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
คดีนี้ ศาลชั้นต้นจำคุกจำเลย 3 เดือน และปรับ 5,000 บาท โทษจำคุกให้รอการลงโทษ ยกคำขอ ให้ปรับจำเลยเป็นรายวัน ศาลอุทธรณ์ภาค 8 พิพากษาแก้เป็นให้ลงโทษปรับจำเลยเป็นรายวัน วันละ 2,000 บาท แม้จะเป็นการเพิ่มโทษปรับจำเลย แต่กรณีเป็นการแก้ไขเฉพาะโทษอันเป็นการแก้ไขเล็กน้อยและโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง ที่จำเลยฎีกาว่า จำเลยหยุดประกอบกิจการสถานีวิทยุโทรทัศน์ ตั้งแต่วันที่ 12 มกราคม 2550 จึงไม่สามารถปรับรายวันจำเลยนับตั้งแต่วันที่ 12 มกราคม 2550 ถึงวันที่ 20 มีนาคม 2550 นั้น เป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ภาค 8 อันเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามฎีกาตามบทบัญญัติดังกล่าว การที่ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาจำเลยเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1683/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งคำสั่งตั้งผู้ทำแผนในคดีฟื้นฟูกิจการ ต้องแจ้งไปยังภูมิลำเนาเจ้าหนี้ เพื่อให้เจ้าหนี้มีสิทธิยื่นคำขอรับชำระหนี้
ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 90/26 และมาตรา 90/24 วรรคสอง เมื่อศาลมีคำสั่งตั้งผู้ทำแผนแล้วกฎหมายได้กำหนดมาตรการต่างๆ ในการแจ้งคำสั่งให้เจ้าหนี้ทราบก็เพื่อให้เจ้าหนี้ทั้งหลายของลูกหนี้ได้มีโอกาสทราบถึงคำสั่งและยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ทั้งการที่จะตัดสิทธิของเจ้าหนี้เพราะเหตุที่เจ้าหนี้มิได้ยื่นขอรับชำระหนี้นั้นก็ต้องปรากฎด้วยว่าได้มีการประกาศและแจ้งคำสั่งให้เจ้าหนี้ทราบตามที่กฎหมายได้บัญญัติรับรองไว้แล้ว คดีนี้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์คงอ้างเฉพาะในคำแถลงคัดค้านว่าได้ดำเนินการส่งสำเนาประกาศแจ้งคำสั่งฟื้นฟูกิจการและตั้งผู้ทำแผนให้เจ้าหนี้แล้วตามที่อยู่ที่ปรากฏในบัญชีเจ้าหนี้เท่านั้น แต่มิได้ปรากฏหลักฐานใดเลยที่แสดงว่าได้มีการนำหนังสือไปส่งยังภูมิลำเนาของเจ้าหนี้แล้วแต่อย่างใด เช่นนี้ กรณีจึงยังฟังไม่ได้ว่าได้มีการแจ้งคำสั่งตั้งผู้ทำแผนให้เจ้าหนี้ทราบโดยชอบแล้ว และเมื่อไม่ปรากฏว่าเจ้าหนี้ได้ทราบคำสั่งตั้งผู้ทำแผนก่อนหน้านั้นแล้วทั้งคดีฟื้นฟูกิจการก็ยังมิได้เสร็จสิ้นลง กรณีจึงมีเหตุสมควรที่จะรับคำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้ไว้พิจารณาต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10987/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแต่งตั้งผู้จัดการมรดก: ศาลต้องคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของกองมรดก ไม่ใช่ประโยชน์ส่วนตัวของผู้มีส่วนได้เสีย
แม้ผู้คัดค้านทั้งสองจะเป็นผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกผู้ตายตาม ป.พ.พ. มาตรา 1713 วรรคหนึ่ง ก็เพียงแต่ทำให้ผู้คัดค้านทั้งสองมีสิทธิที่จะยื่นคำร้องขอต่อศาลให้ตั้งผู้จัดการมรดกของผู้ตายเท่านั้น ส่วนการตั้งผู้ใดเป็นผู้จัดการมรดก ศาลจะต้องดำเนินการตามที่บัญญัติไว้ในกฎหมายดังกล่าววรรคท้ายซึ่งบัญญัติว่า "การตั้งผู้จัดการมรดกนั้น ถ้าไม่มีข้อกำหนดพินัยกรรม ก็ให้ศาลตั้งเพื่อประโยชน์แก่กองมรดกตามพฤติการณ์" กรณีนี้เป็นกรณีที่ผู้ตายไม่ได้ทำพินัยกรรมไว้ ศาลจึงต้องตั้งผู้จัดการมรดกเพื่อประโยชน์แก่กองมรดก ผู้คัดค้านทั้งสองต้องการเข้ามาเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายโดยอ้างว่าทรัพย์มรดกของผู้ตายบางอย่างเป็นของผู้คัดค้านทั้งสองจึงมีลักษณะเป็นการโต้แย้งเป็นปรปักษ์กับกองมรดกอย่างชัดแจ้ง การขอเป็นผู้จัดการมรดกก็เพื่อรักษาประโยชน์ของผู้คัดค้านทั้งสองเอง นอกจากนั้นการที่ผู้คัดค้านทั้งสองนำสืบว่า เหตุที่ขอเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย เพราะไม่ไว้ใจผู้ร้องทั้งสองทำให้เห็นว่าหากให้ผู้คัดค้านทั้งสองเป็นผู้จัดการมรดกร่วมกับผู้ร้องทั้งสอง ก็น่าจะก่อให้เกิดความยุ่งยากในการจัดการมรดกมากกว่าจะเป็นประโยชน์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10342/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่รับวินิจฉัยฟ้องซ้ำ เหตุคำฟ้องฎีกาไม่ชัดเจนเรื่องเหตุเดียวกัน และยืนตามศาลชั้นต้นเรื่องค่าฤชาธรรมเนียม
คำฟ้องฎีกาของจำเลยบรรยายแต่เพียงว่า ในคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 1089/2544 ของศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยแล้วว่า บ. เป็นหนี้จำนองโจทก์ โดยจำเลยซึ่งเป็นจำเลยที่ 2 ในคดีดังกล่าว ศาลชั้นต้นได้พิพากษายกฟ้อง ที่โจทก์มาดำเนินคดีนี้แก่จำเลยอีกครั้งหนึ่งจึงเป็นฟ้องซ้ำ โดยไม่ได้กล่าวบรรยายฟ้องให้เห็นว่าประเด็นในคดีนี้กับคดีแพ่งดังกล่าวเป็นประเด็นที่ศาลได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุเดียวกันมาแล้วอย่างไร อันจะเป็นการฟ้องซ้ำตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148 คำฟ้องฎีกาข้อนี้ของจำเลยจึงเป็นคำฟ้องที่มิได้กล่าวไว้โดยชัดแจ้งซึ่งข้อกฎหมายที่ยกขึ้นอ้างในการยื่นฎีกา ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
การฟ้องขอให้จำเลยซึ่งเป็นผู้รับโอนทรัพย์สินซึ่งจำนองไถ่ถอนจำนองตาม ป.พ.พ. มาตรา 737 แม้เป็นคำฟ้องเกี่ยวด้วยอสังหาริมทรัพย์ แต่ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 4 ทวิ โจทก์ผู้รับจำนองจะเลือกฟ้องต่อศาลที่อสังหาริมทรัพย์นั้นตั้งอยู่ในเขตศาลหรือต่อศาลที่จำเลยมีภูมิลำเนาก็ได้
ค่าฤชาธรรมเนียมศาลตามที่บัญญัติไว้ในตาราง 1 ท้าย ป.วิ.พ. และมาตรา 161 วรรคหนึ่ง บัญญัติความรับผิดชั้นที่สุดสำหรับค่าฤชาธรรมเนียมของคู่ความในคดีให้ตกอยู่แก่คู่ความฝ่ายที่แพ้คดีและวรรคสองยังบัญญัติอีกว่า ค่าฤชาธรรมเนียมให้รวมถึงค่าทนายความ เมื่อศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษาให้จำเลยซึ่งเป็นคู่ความในคดีเป็นฝ่ายแพ้คดี กับให้ใช้ค่าฤชาธรรมเนียมและค่าทนายความแทนโจทก์มานั้น จึงชอบแล้ว
การฟ้องขอให้จำเลยซึ่งเป็นผู้รับโอนทรัพย์สินซึ่งจำนองไถ่ถอนจำนองตาม ป.พ.พ. มาตรา 737 แม้เป็นคำฟ้องเกี่ยวด้วยอสังหาริมทรัพย์ แต่ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 4 ทวิ โจทก์ผู้รับจำนองจะเลือกฟ้องต่อศาลที่อสังหาริมทรัพย์นั้นตั้งอยู่ในเขตศาลหรือต่อศาลที่จำเลยมีภูมิลำเนาก็ได้
ค่าฤชาธรรมเนียมศาลตามที่บัญญัติไว้ในตาราง 1 ท้าย ป.วิ.พ. และมาตรา 161 วรรคหนึ่ง บัญญัติความรับผิดชั้นที่สุดสำหรับค่าฤชาธรรมเนียมของคู่ความในคดีให้ตกอยู่แก่คู่ความฝ่ายที่แพ้คดีและวรรคสองยังบัญญัติอีกว่า ค่าฤชาธรรมเนียมให้รวมถึงค่าทนายความ เมื่อศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษาให้จำเลยซึ่งเป็นคู่ความในคดีเป็นฝ่ายแพ้คดี กับให้ใช้ค่าฤชาธรรมเนียมและค่าทนายความแทนโจทก์มานั้น จึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8189/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทำพินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมืองโดยนายอำเภอที่รักษาราชการแทน และการแจ้งความประสงค์ของผู้ทำพินัยกรรม
ผู้มีอำนาจจัดทำพินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมืองต้องเป็นกรมการอำเภออันหมายถึงนายอำเภอเท่านั้น และสามารถทำนอกที่ว่าการอำเภอได้ เมื่อมีการร้องขอ ดังนั้น การที่ผู้ร้องติดต่อกับเจ้าหน้าที่อำเภอเมืองขอนแก่นขอให้ไปทำพินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมืองให้แก่ผู้ตายที่โรงพยาบาล และแม้ ป. ซึ่งเป็นเพียงปลัดอำเภอเมืองขอนแก่นเป็นผู้จัดทำพินัยกรรม แต่ขณะทำพินัยกรรม ป. รักษาราชการแทนนายอำเภอ การที่ ป. ไปทำพินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมืองให้แก่ผู้ตายที่โรงพยาบาลจึงเป็นการชอบด้วยกฎหมาย และแม้ผู้ร้องจะเป็นผู้แจ้งความประสงค์ให้ ป. ทราบว่าผู้ตายมีเจตนาทำพินัยกรรมอย่างไร จนเป็นเหตุให้ ป. สามารถให้เจ้าหน้าที่พิมพ์ข้อความต่างๆ ในพินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมือง ณ ที่ว่าการอำเภอเมืองขอนแก่นจนเสร็จเรียบร้อยก่อนเดินทางไปโรงพยาบาลก็เป็นเพียงการอำนวยความสะดวกแก่เจ้าหน้าที่ไม่ต้องหอบหิ้วเครื่องพิมพ์ดีด และกระดาษไปพิมพ์ที่โรงพยาบาลเท่านั้น ยังไม่ใช่เป็นการแจ้งข้อความที่ประสงค์ของผู้ทำพินัยกรรม และเมื่อไปถึงโรงพยาบาล ป. สอบถามผู้ตายว่าประสงค์จะทำพินัยกรรมตามที่ผู้ร้องบอกกล่าวในเบื้องต้นหรือไม่ ผู้ตายก็ยืนยันต่อหน้าพยานสองคนว่าเป็นความประสงค์ของผู้ตายจริง การสอบถามของ ป. และการยืนยันของผู้ตายดังกล่าวจึงเป็นความหมายเป็นการแจ้งข้อความที่ประสงค์ให้ใส่ไว้ในพินัยกรรมของผู้ทำพินัยกรรมแก่นายอำเภอต่อหน้าพยานสองคนตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 1658 (1) หลังจากนั้น ป. อ่านข้อความให้ผู้ตายและพยานฟัง ผู้ตายเห็นว่าถูกต้องก็ลงชื่อในพินัยกรรมโดยมีพยานสองคนลงลายมือชื่อ ป. ลงชื่อรับรองว่าพินัยกรรมทำถูกต้องตามกฎหมายแล้วประทับตราตำแหน่งไว้เป็นสำคัญ พินัยกรรมดังกล่าวจึงสมบูรณ์เป็นพินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมืองตาม ป.พ.พ. มาตรา 1658
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4968/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สำคัญผิดว่าผู้ตายเป็นคนร้าย ยิงป้องกันตัวเกินกว่าเหตุ ศาลลดโทษตามประมวลกฎหมายอาญา ม.69, 62
จำเลยสำคัญผิดว่าผู้ตายกับพวกจะเข้ามาลักผลไม้ในไร่และผู้ตายเดินเข้ามาจะทำร้ายจำเลย แต่ผู้ตายไม่ได้มีอาวุธหรือพูดข่มขู่หรือมีกิริยาอาการว่าจะทำร้ายจำเลยโดยวิธีใดอันจะทำให้จำเลยได้รับอันตรายร้ายแรง หากจำเลยเพียงแต่ยิงขู่ก็น่าจะเป็นการเพียงพอที่จะทำให้ผู้ตายเกรงกลัวและหลบหนีไปได้เพราะผู้ตายมิใช่คนร้าย การที่จำเลยใช้อาวุธปืนลูกซองยาวยิงผู้ตายที่บริเวณหน้าท้อง 1 นัด จนผู้ตายล้มลงแล้วจำเลยยังใส่กระสุนปืนลูกซองเข้าไปใหม่แล้วยิงผู้ตายที่ศีรษะซ้ำอีก 1 นัด จนถึงแก่ความตาย จึงเป็นการกระทำโดยป้องกันอันเกินกว่ากรณีแห่งการจำต้องกระทำเพื่อป้องกันตาม ป.อ. มาตรา 69 และความสำคัญผิดของจำเลยเกิดขึ้นโดยความประมาท เนื่องจากมิได้ใช้ความระมัดระวังพิจารณาให้รอบคอบว่าผู้ตายกับพวกเป็นคนร้ายจริงไม่ จำเลยจึงมีความผิดฐานกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายตาม ป.อ. มาตรา 291 โดยผลของมาตรา 62 วรรคสองด้วย ซึ่งแม้จะแตกต่างกับข้อเท็จจริงที่โจทก์กล่าวมาในฟ้อง แต่เป็นการต่างกันระหว่างการกระทำความผิดโดยเจตนากับประมาท ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจลงโทษจำเลยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสองและวรรคสาม ประกอบด้วยมาตรา 215 และ 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4895/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหักกลบลบหนี้ต้องมีมูลหนี้เดียวกันและถึงกำหนดชำระ การชำระหนี้ด้วยสิ่งของอื่นต้องได้ความยินยอม
การหักกลบลบหนี้นั้น ป.พ.พ. มาตรา 341 ได้วางหลักเกณฑ์ไว้ว่า ต้องเป็นเรื่องที่บุคคลสองคนต่างมีความผูกพันต่างเป็นหนี้ซึ่งกันและกัน และต้องมีมูลหนี้อันมีวัตถุเป็นอย่างเดียวกัน กล่าวคือ มีวัตถุแห่งหนี้เหมือนกัน เช่น เงินต่อเงินหรือสิ่งของต่อสิ่งของ และหนี้ทั้งสองฝ่ายต้องถึงกำหนดชำระแล้ว จึงจะนำมาขอหักกลบลบหนี้กันได้ จำเลยเป็นหนี้ค่าจ้างค้างชำระแก่โจทก์ซึ่งเป็นหนี้เงิน แม้จำเลยจะโต้แย้งว่า จำเลยไม่ได้เป็นหนี้โจทก์แต่ฝ่ายเดียว เพราะโจทก์มีหนี้ที่ต้องส่งคืนวงล้อรถจักรยานยนต์ที่โจทก์ยังไม่ได้ทำการชุบสีให้แก่จำเลยก็ตาม แต่หนี้ดังกล่าวหามีมูลหนี้อันเป็นวัตถุอย่างเดียวกันไม่ ทั้งไม่ปรากฏว่าหนี้ดังกล่าวถึงกำหนดชำระแล้วแต่อย่างไร กรณีจึงไม่เข้าหลักเกณฑ์เรื่องหักกลบลบหนี้ เพียงแต่เป็นเรื่องที่จำเลยขอชำระหนี้ด้วยสิ่งของอื่นตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 321 ซึ่งจำเลยจะทำได้ก็ต่อเมื่อโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ยินยอมตกลงด้วยเท่านั้น แต่ได้ความว่าก่อนฟ้องและหลังฟ้องโจทก์กับจำเลยได้เจรจาตกลงหนี้กันแล้วแต่ไม่สามารถตกลงกันได้ โจทก์จึงยึดหน่วงวงล้อรถจักรยานยนต์ของจำเลยที่ยังอยู่ที่โจทก์ไว้เพื่อให้จำเลยชำระหนี้และจำเลยก็ไม่ได้นำสืบว่า โจทก์ตกลงยินยอมให้จำเลยนำวงล้อรถจักรยานยนต์ดังกล่าวตีราคาชำระหนี้แก่โจทก์แต่อย่างไรด้วย จำเลยจึงไม่อาจนำวงล้อรถจักรยานยนต์ที่โจทก์ยึดหน่วงไว้ตีราคาชำระหนี้แก่โจทก์ได้อีกเช่นกัน ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ฟังว่า ฟ้องแย้งของจำเลยไม่ต้องด้วยลักษณะหักกลบลบหนี้จึงให้ยกฟ้องแย้งของจำเลยนั้นชอบแล้วศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย แต่ไม่ตัดสิทธิจำเลยนำฟ้องแย้งไปฟ้องเป็นคดีใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4862/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้ต่างประเทศในคดีล้มละลาย: สิทธิในการรับชำระหนี้หลังการโอน
มาตรา 178 แห่ง พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 บัญญัติว่า "เจ้าหนี้ต่างประเทศซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่นอกราชอาณาจักรจะขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายได้ต่อเมื่อได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขดังต่อไปนี้..." ย่อมหมายถึงเฉพาะเจ้าหนี้ต่างประเทศผู้ยื่นขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายเท่านั้นที่จะต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขมาตรา 178 โดยต้องพิสูจน์ว่า เจ้าหนี้ในประเทศไทยก็มีสิทธิขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายตามกฎหมายและในศาลแห่งประเทศของเจ้าหนี้ต่างประเทศผู้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ได้ในทำนองเดียวกัน และเจ้าหนี้ต่างประเทศดังกล่าวได้รับหรือมีสิทธิจะได้รับทรัพย์สินหรือส่วนแบ่งจากทรัพย์สินของลูกหนี้นั้นนอกราชอาณาจักรเป็นจำนวนเท่าใดหรือไม่ และถ้ามี ตนยอมส่งทรัพย์สินหรือส่วนแบ่งจากทรัพย์สินของลูกหนี้ดังกล่าวมารวมไว้ในกองทรัพย์สินของลูกหนี้ในราชอาณาจักร
บริษัท อ. เจ้าหนี้เดิมซึ่งเป็นเจ้าหนี้ต่างประเทศได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้โดยได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขมาตรา 178 ครบถ้วนแล้ว ต่อมาเมื่อเจ้าหนี้เดิมได้โอนสิทธิเรียกร้องตามมูลหนี้ที่ขอรับชำระหนี้ให้แก่ผู้ร้องและเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้มีคำสั่งอนุญาตให้ผู้ร้องเข้าเป็นเจ้าหนี้แทนเจ้าหนี้เดิมแล้ว ผู้ร้องในฐานะผู้รับโอนสิทธิเรียกร้องจึงมีสิทธิที่จะได้รับชำระหนี้ไม่ว่าผู้ร้องจะเป็นเจ้าหนี้ต่างประเทศซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่นอกราชอาณาจักรหรือไม่ก็ตาม โดยผู้ร้องไม่ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขมาตรา 178
บริษัท อ. เจ้าหนี้เดิมซึ่งเป็นเจ้าหนี้ต่างประเทศได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้โดยได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขมาตรา 178 ครบถ้วนแล้ว ต่อมาเมื่อเจ้าหนี้เดิมได้โอนสิทธิเรียกร้องตามมูลหนี้ที่ขอรับชำระหนี้ให้แก่ผู้ร้องและเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้มีคำสั่งอนุญาตให้ผู้ร้องเข้าเป็นเจ้าหนี้แทนเจ้าหนี้เดิมแล้ว ผู้ร้องในฐานะผู้รับโอนสิทธิเรียกร้องจึงมีสิทธิที่จะได้รับชำระหนี้ไม่ว่าผู้ร้องจะเป็นเจ้าหนี้ต่างประเทศซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่นอกราชอาณาจักรหรือไม่ก็ตาม โดยผู้ร้องไม่ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขมาตรา 178
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2102/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิพากษาคดีมรดก: พินัยกรรมทำผิดแบบเป็นโมฆะ ทายาทโดยธรรมมีสิทธิเรียกร้องทรัพย์คืน
จำเลยกับผู้ตายอยู่กินฉันสามีภริยากันโดยไม่จดทะเบียนสมรส จึงไม่ต้องพิจารณาว่าทรัพย์พิพาทเป็นสินสมรสหรือไม่ คงต้องพิจารณาเฉพาะเรื่องกรรมสิทธิ์รวมว่าเป็นทรัพย์สินที่ซื้อหามาด้วยเงินที่ร่วมกันทำมาหาได้หรือไม่ เมื่อที่ดินพิพาทเป็นที่ดินที่ผู้ตายได้รับมาโดยการรับมรดกและโดยการให้โดยเสน่หา ย่อมไม่ใช่ทรัพย์ที่จำเลยเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย ที่ดินพิพาทจึงเป็นทรัพย์สินของผู้ตายเพียงผู้เดียว
พินัยกรรมที่ผู้ตายทำขึ้นโดยใช้พิมพ์ดีดทั้งฉบับ ย่อมไม่ใช่พินัยกรรมแบบเขียนเองทั้งฉบับตาม ป.พ.พ. มาตรา 1657 คงเป็นแต่พินัยกรรมแบบธรรมดาตาม ป.พ.พ. มาตรา 1656 ที่ต้องมีพยานรู้เห็นซึ่งมาตรา 1656 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่าผู้ทำพินัยกรรมต้องลงลายมือชื่อไว้ต่อหน้าพยานอย่างน้อยสองคนพร้อมกัน การที่พยานในพินัยกรรมพิพาทลงลายมือชื่อเป็นพยานภายหลังจึงขัดต่อบทบัญญัติดังกล่าวพินัยกรรมพิพาทย่อมตกเป็นโมฆะตามมาตรา 1705
พินัยกรรมที่ผู้ตายทำขึ้นโดยใช้พิมพ์ดีดทั้งฉบับ ย่อมไม่ใช่พินัยกรรมแบบเขียนเองทั้งฉบับตาม ป.พ.พ. มาตรา 1657 คงเป็นแต่พินัยกรรมแบบธรรมดาตาม ป.พ.พ. มาตรา 1656 ที่ต้องมีพยานรู้เห็นซึ่งมาตรา 1656 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่าผู้ทำพินัยกรรมต้องลงลายมือชื่อไว้ต่อหน้าพยานอย่างน้อยสองคนพร้อมกัน การที่พยานในพินัยกรรมพิพาทลงลายมือชื่อเป็นพยานภายหลังจึงขัดต่อบทบัญญัติดังกล่าวพินัยกรรมพิพาทย่อมตกเป็นโมฆะตามมาตรา 1705