พบผลลัพธ์ทั้งหมด 36 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2176/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีใหม่หลังศาลจำหน่ายคดีเดิมเนื่องจากไม่มีอำนาจ พิจารณาจากวันที่ศาลมีคำสั่งจำหน่ายคดี
โจทก์เคยฟ้องจำเลยในมูลคดีเดียวกันกับคดีนี้ที่ศาลแพ่งธนบุรีแต่ศาลแพ่งธนบุรีมีคำสั่งจำหน่ายคดีเมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2539เนื่องจากจำเลยไม่ได้มีภูมิลำเนาหรือมูลคดีเกิดขึ้นในเขตอำนาจซึ่งคดีจะครบอายุความภายในวันที่ 7 มิถุนายน 2539 กรณีต้องด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/17 วรรคสองโจทก์มีสิทธิฟ้องคดีได้ภายในหกสิบวันนับแต่วันที่คำสั่งศาลแพ่งธนบุรีถึงที่สุด โจทก์ฟ้องคดีนี้วันที่ 4 กรกฎาคม 2539 จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1233/2543 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความหนี้สินและการสะดุดหยุดของอายุความจากการดำเนินการของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในคดีล้มละลาย
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้คัดค้านแจ้งให้ผู้ร้องทราบว่าผู้ร้องเป็นหนี้ลูกหนี้ แต่ผู้ร้องปฏิเสธหนี้ ผู้คัดค้านสอบสวนแล้วมีคำสั่งให้จำหน่ายชื่อผู้ร้องจากบัญชีลูกหนี้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 119 วรรคสอง การที่เจ้าหนี้และลูกหนี้ยื่นคำร้องว่าตนได้รับความเสียหายจากคำสั่งของผู้คัดค้านดังกล่าว ขอให้ศาลมีคำสั่งกลับความเห็นของผู้คัดค้านตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา146 ผู้คัดค้านยื่นคำคัดค้าน ศาลชั้นต้นเห็นว่าผู้ร้องยังคงเป็นหนี้ลูกหนี้อยู่ คำสั่งนี้เป็นคำสั่งที่วินิจฉัยว่าคำสั่งของผู้คัดค้านไม่ถูกต้อง มีผลเท่ากับผู้คัดค้านมีความเห็นว่าผู้ร้องเป็นหนี้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 119 วรรคสอง ผู้คัดค้านจึงต้องปฏิบัติตามโดยต้องแจ้งจำนวนหนี้ยืนยันให้ผู้ร้องทราบ และต้องแจ้งไปด้วยว่าถ้าจะคัดค้านให้ร้องคัดค้านต่อศาลภายใน 14 วัน เมื่อผู้ร้องมายื่นคำร้องคัดค้านตามมาตรา 119 วรรคสาม ผู้ร้องย่อมสามารถนำพยานหลักฐานเข้าสืบว่ามิได้เป็นหนี้ได้อีกทั้งในการพิจารณาคดีที่ขอให้แก้คำสั่งของผู้คัดค้านนี้ ผู้ร้องไม่ได้เข้ามาเป็นคู่ความคำสั่งของศาลชั้นต้นในครั้งแรกดังกล่าวจึงไม่ผูกพันผู้ร้องให้ต้องปฏิบัติตาม
ผู้ร้องรับเงิน 38,000,000 บาท ไปจากลูกหนี้ เพื่อดำเนินการซื้อที่ดินให้แก่โครงการพัฒนาที่ดินและก่อสร้างบ้านพัก แต่ต่อมาภายหลังไม่ได้มีการดำเนินการตามโครงการนี้ ผู้ร้องจึงต้องคืนเงินจำนวนดังกล่าวให้ลูกหนี้ และในกรณีนี้ไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะ จึงต้องใช้อายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ.มาตรา193/30 ผู้ร้องนำเช็คลงวันที่ 15 มีนาคม 2528 และวันที่ 16 เมษายน 2528ของลูกหนี้ไปเรียกเก็บเงินได้แล้ว อายุความที่ลูกหนี้จะเรียกเงินคืนเริ่มนับตั้งแต่วันดังกล่าวเป็นต้นไป อายุความ 10 ปี จึงครบกำหนดวันที่ 15 มีนาคม 2538 และวันที่ 16 เมษายน 2538 ตามลำดับ
ผู้คัดค้านในฐานะเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แจ้งความเป็นหนังสือไปยังผู้ร้องให้ชำระเงินคืนแก่กองทรัพย์สินของลูกหนี้ ตาม พ.ร.บ.ล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 119 วรรคหนึ่ง เป็นการบังคับตามสิทธิเรียกร้องของลูกหนี้ซึ่งผู้คัดค้านมีอำนาจกระทำได้โดยไม่ต้องฟ้องคดีต่อศาล ถือได้ว่าเป็นการกระทำการอื่นใดอันมีผลเป็นอย่างเดียวกันกับการฟ้องคดีอันเป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลงตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/14 (5) แล้ว มิใช่ว่าต้องรอให้มีการออกหนังสือยืนยันหนี้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 119 วรรคสอง เสียก่อนเมื่อผู้คัดค้านมีหนังสือทวงถามให้ผู้ร้องชำระเงินและผู้ร้องได้รับแล้วยังไม่เกิน10 ปี คดีจึงยังไม่ขาดอายุความ
ผู้คัดค้านในฐานะเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เคยมีความเห็นว่าผู้ร้องไม่ได้เป็นหนี้และมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีแล้ว แต่คำสั่งของผู้คัดค้านยังไม่ถึงที่สุดเนื่องจากเจ้าหนี้และลูกหนี้ได้ยื่นคำร้องขอให้ศาลเพิกถอนคำสั่งดังกล่าวของผู้คัดค้านและศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งแก้ไขคำสั่งของผู้คัดค้านโดยวินิจฉัยว่าผู้ร้องยังคงเป็นหนี้อยู่อันมีผลให้ผู้คัดค้านต้องมีหนังสือแจ้งจำนวนหนี้ยืนยันให้ผู้ร้องชำระหนี้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 119 วรรคสอง อายุความจึงยังคงสะดุดหยุดลงจะนำ ป.พ.พ.มาตรา 193/17 และ 193/18 มาใช้โดยถือว่าอายุความไม่เคยสะดุดหยุดลงหาได้ไม่
ผู้ร้องรับเงิน 38,000,000 บาท ไปจากลูกหนี้ เพื่อดำเนินการซื้อที่ดินให้แก่โครงการพัฒนาที่ดินและก่อสร้างบ้านพัก แต่ต่อมาภายหลังไม่ได้มีการดำเนินการตามโครงการนี้ ผู้ร้องจึงต้องคืนเงินจำนวนดังกล่าวให้ลูกหนี้ และในกรณีนี้ไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะ จึงต้องใช้อายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ.มาตรา193/30 ผู้ร้องนำเช็คลงวันที่ 15 มีนาคม 2528 และวันที่ 16 เมษายน 2528ของลูกหนี้ไปเรียกเก็บเงินได้แล้ว อายุความที่ลูกหนี้จะเรียกเงินคืนเริ่มนับตั้งแต่วันดังกล่าวเป็นต้นไป อายุความ 10 ปี จึงครบกำหนดวันที่ 15 มีนาคม 2538 และวันที่ 16 เมษายน 2538 ตามลำดับ
ผู้คัดค้านในฐานะเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แจ้งความเป็นหนังสือไปยังผู้ร้องให้ชำระเงินคืนแก่กองทรัพย์สินของลูกหนี้ ตาม พ.ร.บ.ล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 119 วรรคหนึ่ง เป็นการบังคับตามสิทธิเรียกร้องของลูกหนี้ซึ่งผู้คัดค้านมีอำนาจกระทำได้โดยไม่ต้องฟ้องคดีต่อศาล ถือได้ว่าเป็นการกระทำการอื่นใดอันมีผลเป็นอย่างเดียวกันกับการฟ้องคดีอันเป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลงตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/14 (5) แล้ว มิใช่ว่าต้องรอให้มีการออกหนังสือยืนยันหนี้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 119 วรรคสอง เสียก่อนเมื่อผู้คัดค้านมีหนังสือทวงถามให้ผู้ร้องชำระเงินและผู้ร้องได้รับแล้วยังไม่เกิน10 ปี คดีจึงยังไม่ขาดอายุความ
ผู้คัดค้านในฐานะเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เคยมีความเห็นว่าผู้ร้องไม่ได้เป็นหนี้และมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีแล้ว แต่คำสั่งของผู้คัดค้านยังไม่ถึงที่สุดเนื่องจากเจ้าหนี้และลูกหนี้ได้ยื่นคำร้องขอให้ศาลเพิกถอนคำสั่งดังกล่าวของผู้คัดค้านและศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งแก้ไขคำสั่งของผู้คัดค้านโดยวินิจฉัยว่าผู้ร้องยังคงเป็นหนี้อยู่อันมีผลให้ผู้คัดค้านต้องมีหนังสือแจ้งจำนวนหนี้ยืนยันให้ผู้ร้องชำระหนี้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 119 วรรคสอง อายุความจึงยังคงสะดุดหยุดลงจะนำ ป.พ.พ.มาตรา 193/17 และ 193/18 มาใช้โดยถือว่าอายุความไม่เคยสะดุดหยุดลงหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1233/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความคดีลูกหนี้-เจ้าหนี้ การแจ้งหนี้โดยเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ และผลของการแก้ไขคำสั่งศาล
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้คัดค้านแจ้งให้ผู้ร้องทราบว่าผู้ร้องเป็นหนี้ลูกหนี้แต่ผู้ร้องปฏิเสธหนี้ ผู้คัดค้านสอบสวนแล้วมีคำสั่งให้จำหน่ายชื่อผู้ร้องจากบัญชีลูกหนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 119 วรรคสอง การที่เจ้าหนี้และลูกหนี้ยื่นคำร้องว่าตนได้รับความเสียหายจากคำสั่งของผู้คัดค้านดังกล่าวขอให้ศาลมีคำสั่งกลับความเห็นของผู้คัดค้านตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 146 ผู้คัดค้านยื่นคำคัดค้าน ศาลชั้นต้นเห็นว่าผู้ร้องยังคงเป็นหนี้ลูกหนี้อยู่ คำสั่งนี้เป็นคำสั่งที่วินิจฉัยว่าคำสั่งของผู้คัดค้านไม่ถูกต้องมีผลเท่ากับผู้คัดค้านมีความเห็นว่าผู้ร้องเป็นหนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 119 วรรคสอง ผู้คัดค้านจึงต้องปฏิบัติตามโดยต้องแจ้งจำนวนหนี้ยืนยันให้ผู้ร้องทราบ และต้องแจ้งไปด้วยว่า ถ้าจะคัดค้านให้ร้องคัดค้านต่อศาลภายใน 14 วัน เมื่อผู้ร้องมายื่นคำร้องคัดค้านตามมาตรา 119 วรรคสาม ผู้ร้องย่อมสามารถนำพยานหลักฐานเข้าสืบว่ามิได้เป็นหนี้ได้อีกทั้งในการพิจารณาคดีที่ขอให้แก้คำสั่งของผู้คัดค้านนี้ ผู้ร้องไม่ได้เข้ามาเป็นคู่ความคำสั่งของศาลชั้นต้นในครั้งแรกดังกล่าวจึงไม่ผูกพันผู้ร้องให้ต้องปฏิบัติตาม
ผู้ร้องรับเงิน 38,000,000 บาท ไปจากลูกหนี้ เพื่อดำเนินการซื้อที่ดินให้แก่โครงการพัฒนาที่ดินและก่อสร้างบ้านพัก แต่ต่อมาภายหลังไม่ได้มีการดำเนินการตามโครงการนี้ ผู้ร้องจึงต้องคืนเงินจำนวนดังกล่าวให้ลูกหนี้และในกรณีนี้ไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะ จึงต้องใช้อายุความ 10 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30 ผู้ร้องนำเช็ค ลงวันที่ 15มีนาคม 2528 และวันที่ 16 เมษายน 2528 ของลูกหนี้ไปเรียกเก็บเงินได้แล้วอายุความที่ลูกหนี้จะเรียกเงินคืนเริ่มนับตั้งแต่วันดังกล่าวเป็นต้นไป อายุความ 10 ปีจึงครบกำหนดวันที่ 15 มีนาคม 2538 และวันที่ 16 เมษายน 2538 ตามลำดับ
ผู้คัดค้านในฐานะเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แจ้งความเป็นหนังสือไปยังผู้ร้องให้ชำระเงินคืนแก่กองทรัพย์สินของลูกหนี้ ตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 119 วรรคหนึ่ง เป็นการบังคับตามสิทธิเรียกร้องของลูกหนี้ซึ่งผู้คัดค้านมีอำนาจกระทำได้โดยไม่ต้องฟ้องคดีต่อศาล ถือได้ว่าเป็นการกระทำการอื่นใดอันมีผลเป็นอย่างเดียวกันกับการฟ้องคดีอันเป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/14(5) แล้ว มิใช่ว่าต้องรอให้มีการออกหนังสือยืนยันหนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 119 วรรคสอง เสียก่อน เมื่อผู้คัดค้านมีหนังสือทวงถามให้ผู้ร้องชำระเงินและผู้ร้องได้รับแล้วยังไม่เกิน 10 ปี คดีจึงยังไม่ขาดอายุความ
ผู้คัดค้านในฐานะเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เคยมีความเห็นว่า ผู้ร้องไม่ได้เป็นหนี้และมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีแล้ว แต่คำสั่งของผู้คัดค้านยังไม่ถึงที่สุด เนื่องจากเจ้าหนี้และลูกหนี้ได้ยื่นคำร้องขอให้ศาลเพิกถอนคำสั่งดังกล่าวของผู้คัดค้านและศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งแก้ไขคำสั่งของผู้คัดค้านโดยวินิจฉัยว่าผู้ร้องยังคงเป็นหนี้อยู่อันมีผลให้ผู้คัดค้านต้องมีหนังสือแจ้งจำนวนหนี้ยืนยันให้ผู้ร้องชำระหนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 119 วรรคสอง อายุความจึงยังคงสะดุดหยุดลงจะนำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/17และ 193/18 มาใช้โดยถือว่าอายุความไม่เคยสะดุดหยุดลงหาได้ไม่
ผู้ร้องรับเงิน 38,000,000 บาท ไปจากลูกหนี้ เพื่อดำเนินการซื้อที่ดินให้แก่โครงการพัฒนาที่ดินและก่อสร้างบ้านพัก แต่ต่อมาภายหลังไม่ได้มีการดำเนินการตามโครงการนี้ ผู้ร้องจึงต้องคืนเงินจำนวนดังกล่าวให้ลูกหนี้และในกรณีนี้ไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะ จึงต้องใช้อายุความ 10 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30 ผู้ร้องนำเช็ค ลงวันที่ 15มีนาคม 2528 และวันที่ 16 เมษายน 2528 ของลูกหนี้ไปเรียกเก็บเงินได้แล้วอายุความที่ลูกหนี้จะเรียกเงินคืนเริ่มนับตั้งแต่วันดังกล่าวเป็นต้นไป อายุความ 10 ปีจึงครบกำหนดวันที่ 15 มีนาคม 2538 และวันที่ 16 เมษายน 2538 ตามลำดับ
ผู้คัดค้านในฐานะเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แจ้งความเป็นหนังสือไปยังผู้ร้องให้ชำระเงินคืนแก่กองทรัพย์สินของลูกหนี้ ตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 119 วรรคหนึ่ง เป็นการบังคับตามสิทธิเรียกร้องของลูกหนี้ซึ่งผู้คัดค้านมีอำนาจกระทำได้โดยไม่ต้องฟ้องคดีต่อศาล ถือได้ว่าเป็นการกระทำการอื่นใดอันมีผลเป็นอย่างเดียวกันกับการฟ้องคดีอันเป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/14(5) แล้ว มิใช่ว่าต้องรอให้มีการออกหนังสือยืนยันหนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 119 วรรคสอง เสียก่อน เมื่อผู้คัดค้านมีหนังสือทวงถามให้ผู้ร้องชำระเงินและผู้ร้องได้รับแล้วยังไม่เกิน 10 ปี คดีจึงยังไม่ขาดอายุความ
ผู้คัดค้านในฐานะเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เคยมีความเห็นว่า ผู้ร้องไม่ได้เป็นหนี้และมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีแล้ว แต่คำสั่งของผู้คัดค้านยังไม่ถึงที่สุด เนื่องจากเจ้าหนี้และลูกหนี้ได้ยื่นคำร้องขอให้ศาลเพิกถอนคำสั่งดังกล่าวของผู้คัดค้านและศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งแก้ไขคำสั่งของผู้คัดค้านโดยวินิจฉัยว่าผู้ร้องยังคงเป็นหนี้อยู่อันมีผลให้ผู้คัดค้านต้องมีหนังสือแจ้งจำนวนหนี้ยืนยันให้ผู้ร้องชำระหนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 119 วรรคสอง อายุความจึงยังคงสะดุดหยุดลงจะนำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/17และ 193/18 มาใช้โดยถือว่าอายุความไม่เคยสะดุดหยุดลงหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7017/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีสัญญาซื้อขาย และการไม่เป็นฟ้องซ้ำเมื่อประเด็นต่างกัน
คดีก่อนโจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดโดยโจทก์ไม่ต้องเสียภาษีเงินได้ คดีถึงที่สุดโดยศาลฎีกาวินิจฉัยว่า โจทก์มีหน้าที่ต้องออกค่าภาษีเงินได้แทนจำเลยตามสัญญา จำเลยไม่ได้ผิดสัญญา แต่จำเลยจะใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาและริบเงินที่โจทก์ชำระไปแล้วไม่ได้ เพราะยังถือไม่ได้ว่าโจทก์มีเจตนาไม่ปฏิบัติตามสัญญา พิพากษายกฟ้อง ซึ่งหมายความว่า โจทก์และจำเลยยังมีสิทธิและหน้าที่ตามสัญญาอยู่ หากฝ่ายใดไม่ปฏิบัติตามสัญญา อีกฝ่ายย่อมใช้สิทธิฟ้องให้ปฏิบัติตามสัญญาได้ โดยสภาพของคำพิพากษาในคดีดังกล่าวจึงไม่จำต้องมีถ้อยคำว่า "โดยไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะฟ้องคดีใหม่" อายุความคดีนี้จึงตกอยู่ในบังคับแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 193/17 วรรคสอง หาใช่ต้องฟ้องคดีภายใน 10 ปี นับแต่เวลาที่อาจบังคับตามสิทธิเรียกร้องไม่ เมื่อโจทก์นำคดีนี้มาฟ้องภายใน 60 วัน นับแต่คำพิพากษาคดีก่อนถึงที่สุด จึงไม่ขาดอายุความ
คดีก่อนประเด็นที่ถูกต้องคือ "โจทก์จะต้องเสียภาษีเงินได้แทนจำเลยที่ 1 (จำเลยคดีนี้) ในการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์หรือไม่" ที่ศาลชั้นต้นในคดีก่อนกำหนดประเด็นว่า "จำเลยที่ 1 ผิดสัญญาและจำเลยทั้งสี่ร่วมกันทำละเมิดและโอนที่ดินพิพาทโดยการฉ้อฉลโจทก์หรือไม่" เป็นการนำข้อโต้แย้งหลายเรื่องที่ไม่สัมพันธ์กันมารวมเป็นประเด็นเดียวกัน ซึ่งในการวินิจฉัยนั้นจะต้องยึดตามประเด็นที่แท้จริงดังที่ศาลฎีกาในคดีก่อนได้วินิจฉัยไว้ ส่วนคดีนี้ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นว่า "จำเลยมีสิทธิบอกเลิกสัญญาจองและซื้อห้องชุดตามฟ้องหรือไม่" ประเด็นทั้งสองคดีแตกต่างกันและประเด็นในคดีหลังยังไม่มีการวินิจฉัย ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำกับคดีก่อน
คดีก่อนประเด็นที่ถูกต้องคือ "โจทก์จะต้องเสียภาษีเงินได้แทนจำเลยที่ 1 (จำเลยคดีนี้) ในการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์หรือไม่" ที่ศาลชั้นต้นในคดีก่อนกำหนดประเด็นว่า "จำเลยที่ 1 ผิดสัญญาและจำเลยทั้งสี่ร่วมกันทำละเมิดและโอนที่ดินพิพาทโดยการฉ้อฉลโจทก์หรือไม่" เป็นการนำข้อโต้แย้งหลายเรื่องที่ไม่สัมพันธ์กันมารวมเป็นประเด็นเดียวกัน ซึ่งในการวินิจฉัยนั้นจะต้องยึดตามประเด็นที่แท้จริงดังที่ศาลฎีกาในคดีก่อนได้วินิจฉัยไว้ ส่วนคดีนี้ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นว่า "จำเลยมีสิทธิบอกเลิกสัญญาจองและซื้อห้องชุดตามฟ้องหรือไม่" ประเด็นทั้งสองคดีแตกต่างกันและประเด็นในคดีหลังยังไม่มีการวินิจฉัย ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำกับคดีก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1591/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดี, ฟ้องซ้อน, เหตุสุดวิสัย, การจำหน่ายคดี, ผลกระทบต่ออายุความ
คดีที่ศาลพิพากษาให้ยกฟ้องเพราะเหตุคดีไม่อยู่ในอำนาจศาล ต้องเป็นคดีที่ฟ้องในศาลที่ไม่มีเขตอำนาจตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ลักษณะ 2 หมวด 1 ส่วนฟ้องซ้อนเป็นกรณีที่เมื่อมีคดีอยู่ในระหว่างพิจารณาแล้วห้ามมิให้โจทก์ยื่นคำฟ้องเรื่องเดียวกันนั้นต่อศาลเดียวกันหรือศาลอื่นอีก ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 173 วรรคสอง (1) ฉะนั้น การที่ศาลพิพากษายกฟ้องโจทก์เพราะเหตุเป็นการฟ้องซ้อน จึงหาใช่เป็นการพิพากษายกฟ้องเพราะเหตุคดีไม่อยู่ในอำนาจศาลไม่ ดังนั้นโจทก์จะอ้างการที่ศาลยกคำฟ้องเพราะเหตุดังกล่าวเพื่อการขยายอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/17 หาได้ไม่ ที่ศาลชั้นต้นสั่งจำหน่ายคดีแพ่ง (คดีก่อน) เพราะโจทก์ไม่ไปศาลในวันนัดสืบพยานโจทก์ ศาลชั้นต้นจึงถือว่าโจทก์ขาดนัดพิจารณา และเมื่อการที่โจทก์ขาดนัดพิจารณาเป็นความผิดของโจทก์ ดังนี้ การที่ศาลชั้นต้นได้ดำเนินกระบวนพิจารณาในคดีดังกล่าวต่อเนื่องจากการกระทำของโจทก์ ย่อมถือไม่ได้ว่าเป็นเหตุสุดวิสัย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 201 วรรคหนึ่งห้ามโจทก์มิให้อุทธรณ์คำสั่งจำหน่ายคดีเพราะโจทก์ขาดนัดพิจารณาการที่จำเลยอุทธรณ์คำสั่งจำหน่ายคดีเป็นการใช้สิทธิที่กฎหมายให้อำนาจไว้ ย่อมไม่เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตดังนั้น การที่คดีแพ่งยังไม่ถึงที่สุดเพราะจำเลยอุทธรณ์คำสั่งจำหน่ายคดี ทำให้โจทก์ทั้งสองฟ้องคดีนี้ไม่ได้นั้น จะถือว่าเป็นเหตุสุดวิสัยขัดขวางไม่ให้โจทก์ฟ้องคดีนี้ไม่ได้ คดีแพ่งที่โจทก์ฟ้องเรียกค่าว่าความจากจำเลยได้เสร็จไปโดยศาลสั่งจำหน่ายคดีออกจากสารบบความ จึงต้องถือว่าอายุความไม่เคยสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 193/17 วรรคหนึ่ง คดีแพ่งที่โจทก์ฟ้องเรียกค่าว่าความจากจำเลยอันเป็นมูลกรณีเดียวกับคดีก่อนที่ศาลมีคำสั่งจำหน่ายคดีออกจาก สารบบความเพราะโจทก์ขาดนัดพิจารณานั้น เมื่อศาลพิพากษา ยกคำฟ้องเพราะเหตุเป็นคดีฟ้องซ้อน จึงต้องถือว่าอายุความ เกี่ยวกับคดีหลังนี้ไม่เคยสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/17 เช่นเดียวกัน ศาลชั้นต้นมีคำสั่งจำหน่ายคดีออกจากสารบบความเพราะเหตุที่โจทก์ขาดนัดพิจารณา ย่อมไม่ตัดสิทธิของโจทก์ ที่จะเสนอคำฟ้องใหม่ภายใต้บังคับบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ว่าด้วยอายุความ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 201 วรรคหนึ่ง ศาลจึงไม่จำต้องระบุว่าไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะฟ้องคดีใหม่อีก แต่โจทก์ก็ต้องฟ้องคดีใหม่ภายในกำหนดอายุความเสียให้ถูกต้อง เมื่อศาลไม่ระบุในคำพิพากษา ว่าให้ยกคำฟ้องโดยไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะฟ้องใหม่โจทก์จึงไม่ได้รับประโยชน์ในการที่จะนำคดีมาฟ้องใหม่ภายในหกสิบวันนับแต่วันที่คำพิพากษาถึงที่สุดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/17 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1591/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องร้อง, ฟ้องซ้อน, เหตุสุดวิสัย, การขยายอายุความ, ผลของการจำหน่ายคดี
คดีที่ศาลพิพากษาให้ยกฟ้องเพราะคดีไม่อยู่ในอำนาจศาล ต้องเป็นคดีที่ฟ้องในศาลที่ไม่มีเขตอำนาจตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ลักษณะ 2 หมวด 1 ส่วนฟ้องซ้อนเป็นคดีที่อยู่ในระหว่างพิจารณาแล้วห้ามมิให้ โจทก์ยื่นคำฟ้องเรื่องเดียวกันนั้นต่อศาลเดียวกันหรือ ศาลอื่นอีกตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 173 วรรคสอง (1) ฉะนั้น การที่ศาลพิพากษา ยกฟ้องโจทก์ในคดีก่อนเพราะเหตุฟ้องซ้อน ไม่ใช่ยกฟ้อง เพราะเหตุคดีไม่อยู่ในอำนาจศาล โจทก์จึงอ้างเอาการที่ศาล ยกคำฟ้องในคดีดังกล่าวเพื่อการขยายอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/17 หาได้ไม่ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 201 วรรคหนึ่งห้ามเฉพาะโจทก์มิให้อุทธรณ์คำสั่งจำหน่ายคดีเพราะโจทก์ขาดนัดพิจารณา ดังนั้น การที่จำเลยอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวจึงเป็นการใช้สิทธิที่กฎหมายให้อำนาจไว้ ไม่เป็นการ ใช้สิทธิโดยไม่สุจริต คดีแรก ที่โจทก์ทั้งสองฟ้องเรียกค่าว่าความจากจำเลยนั้น ได้เสร็จไปโดยศาลสั่งจำหน่ายคดีออกจากสารบบความ ต้องถือว่าอายุความไม่เคยสะดุดหยุดลงตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 193/17 วรรคหนึ่งส่วนคดีที่สองที่โจทก์ฟ้องเรียกค่าว่าความจากจำเลยอันเป็น มูลกรณีเดียวกับคดีแรกนั้น ศาลยกฟ้องเพราะเหตุเป็นคดี ฟ้องซ้อน ต้องถือว่าอายุความเกี่ยวกับคดีนี้ไม่เคยสะดุดหยุดลง ตามบทกฎหมายดังกล่าวเช่นกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1591/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีฟ้องซ้อนและอายุความ: ผลกระทบต่อการฟ้องคดีใหม่และการสะดุดหยุดลงของอายุความ
คดีที่ศาลพิพากษาให้ยกฟ้องเพราะเหตุคดีไม่อยู่ในอำนาจศาลต้องเป็นคดีที่ฟ้องในศาลที่ไม่มีเขตอำนาจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งลักษณะ 2 หมวด 1 ส่วนฟ้องซ้อนเป็นกรณีที่เมื่อมีคดีอยู่ในระหว่างพิจารณาแล้วห้ามมิให้โจทก์ยื่นคำฟ้องเรื่องเดียวกันนั้นต่อศาลเดียวกันหรือศาลอื่นอีก ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 173 วรรคสอง (1) ฉะนั้น การที่ศาลพิพากษายกฟ้องโจทก์เพราะเหตุเป็นการฟ้องซ้อน จึงหาใช่เป็นการพิพากษายกฟ้องเพราะเหตุคดีไม่อยู่ในอำนาจศาลไม่ดังนั้นโจทก์จะอ้างการที่ศาลยกคำฟ้องเพราะเหตุดังกล่าวเพื่อการขยายอายุความตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/17 หาได้ไม่
ที่ศาลชั้นต้นสั่งจำหน่ายคดีแพ่ง(คดีก่อน)เพราะโจทก์ไม่ไปศาลในวันนัดสืบพยานโจทก์ ศาลชั้นต้นจึงถือว่าโจทก์ขาดนัดพิจารณา และเมื่อการที่โจทก์ขาดนัดพิจารณาเป็นความผิดของโจทก์ ดังนี้ การที่ศาลชั้นต้นได้ดำเนินกระบวนพิจารณาในคดีดังกล่าวต่อเนื่องจากการกระทำของโจทก์ ย่อมถือไม่ได้ว่าเป็นเหตุสุดวิสัย
ป.วิ.พ.มาตรา 201 วรรคหนึ่ง ห้ามโจทก์มิให้อุทธรณ์คำสั่งจำหน่ายคดีเพราะโจทก์ขาดนัดพิจารณา การที่จำเลยอุทธรณ์คำสั่งจำหน่ายคดีเป็นการใช้สิทธิที่กฎหมายให้อำนาจไว้ ย่อมไม่เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต ดังนั้น การที่คดีแพ่งยังไม่ถึงที่สุดเพราะจำเลยอุทธรณ์คำสั่งจำหน่ายคดี ทำให้โจทก์ทั้งสองฟ้องคดีนี้ไม่ได้นั้น จะถือว่าเป็นเหตุสุดวิสัยขัดขวางไม่ให้โจทก์ฟ้องคดีนี้ไม่ได้
คดีแพ่งที่โจทก์ฟ้องเรียกค่าว่าความจากจำเลยได้เสร็จไปโดยศาลสั่งจำหน่ายคดีออกจากสารบบความ จึงต้องถือว่าอายุความไม่เคยสะดุดหยุดลงตาม ป.พ.พ.193/17 วรรคหนึ่ง
คดีแพ่งที่โจทก์ฟ้องเรียกค่าว่าความจากจำเลยอันเป็นมูลกรณีเดียวกับคดีก่อนที่ศาลมีคำสั่งจำหน่ายคดีออกจากสารบบความเพราะโจทก์ขาดนัดพิจารณานั้น เมื่อศาลพิพากษายกคำฟ้องเพราะเหตุเป็นคดีฟ้องซ้อน จึงต้องถือว่าอายุความเกี่ยวกับคดีหลังนี้ไม่เคยสะดุดหยุดลงตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/17เช่นเดียวกัน
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งจำหน่ายคดีออกจากสารบบความเพราะเหตุที่โจทก์ขาดนัดพิจารณา ย่อมไม่ตัดสิทธิของโจทก์ที่จะเสนอคำฟ้องใหม่ภายใต้บังคับบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยอายุความ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 201 วรรคหนึ่ง ศาลจึงไม่จำต้องระบุว่าไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะฟ้องคดีใหม่อีก แต่โจทก์ก็ต้องฟ้องคดีใหม่ภายในกำหนดอายุความเสียให้ถูกต้อง เมื่อศาลไม่ระบุในคำพิพากษาว่าให้ยกคำฟ้องโดยไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะฟ้องใหม่ โจทก์จึงไม่ได้รับประโยชน์ในการที่จะนำคดีมาฟ้องใหม่ภายในหกสิบวันนับแต่วันที่คำพิพากษาถึงที่สุดตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/17 วรรคสอง
ที่ศาลชั้นต้นสั่งจำหน่ายคดีแพ่ง(คดีก่อน)เพราะโจทก์ไม่ไปศาลในวันนัดสืบพยานโจทก์ ศาลชั้นต้นจึงถือว่าโจทก์ขาดนัดพิจารณา และเมื่อการที่โจทก์ขาดนัดพิจารณาเป็นความผิดของโจทก์ ดังนี้ การที่ศาลชั้นต้นได้ดำเนินกระบวนพิจารณาในคดีดังกล่าวต่อเนื่องจากการกระทำของโจทก์ ย่อมถือไม่ได้ว่าเป็นเหตุสุดวิสัย
ป.วิ.พ.มาตรา 201 วรรคหนึ่ง ห้ามโจทก์มิให้อุทธรณ์คำสั่งจำหน่ายคดีเพราะโจทก์ขาดนัดพิจารณา การที่จำเลยอุทธรณ์คำสั่งจำหน่ายคดีเป็นการใช้สิทธิที่กฎหมายให้อำนาจไว้ ย่อมไม่เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต ดังนั้น การที่คดีแพ่งยังไม่ถึงที่สุดเพราะจำเลยอุทธรณ์คำสั่งจำหน่ายคดี ทำให้โจทก์ทั้งสองฟ้องคดีนี้ไม่ได้นั้น จะถือว่าเป็นเหตุสุดวิสัยขัดขวางไม่ให้โจทก์ฟ้องคดีนี้ไม่ได้
คดีแพ่งที่โจทก์ฟ้องเรียกค่าว่าความจากจำเลยได้เสร็จไปโดยศาลสั่งจำหน่ายคดีออกจากสารบบความ จึงต้องถือว่าอายุความไม่เคยสะดุดหยุดลงตาม ป.พ.พ.193/17 วรรคหนึ่ง
คดีแพ่งที่โจทก์ฟ้องเรียกค่าว่าความจากจำเลยอันเป็นมูลกรณีเดียวกับคดีก่อนที่ศาลมีคำสั่งจำหน่ายคดีออกจากสารบบความเพราะโจทก์ขาดนัดพิจารณานั้น เมื่อศาลพิพากษายกคำฟ้องเพราะเหตุเป็นคดีฟ้องซ้อน จึงต้องถือว่าอายุความเกี่ยวกับคดีหลังนี้ไม่เคยสะดุดหยุดลงตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/17เช่นเดียวกัน
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งจำหน่ายคดีออกจากสารบบความเพราะเหตุที่โจทก์ขาดนัดพิจารณา ย่อมไม่ตัดสิทธิของโจทก์ที่จะเสนอคำฟ้องใหม่ภายใต้บังคับบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยอายุความ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 201 วรรคหนึ่ง ศาลจึงไม่จำต้องระบุว่าไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะฟ้องคดีใหม่อีก แต่โจทก์ก็ต้องฟ้องคดีใหม่ภายในกำหนดอายุความเสียให้ถูกต้อง เมื่อศาลไม่ระบุในคำพิพากษาว่าให้ยกคำฟ้องโดยไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะฟ้องใหม่ โจทก์จึงไม่ได้รับประโยชน์ในการที่จะนำคดีมาฟ้องใหม่ภายในหกสิบวันนับแต่วันที่คำพิพากษาถึงที่สุดตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/17 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5001/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของทนายต่อการไม่ยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย และค่าสินไหมทดแทนตามสัญญา
ตามฟ้องของโจทก์กล่าวโดยสรุปว่า โจทก์มอบให้สำนักงานของจำเลยฟ้อง ส.ซึ่งเป็นหนี้โจทก์ตามคำพิพากษาเป็นคดีล้มละลายต่อศาลชั้นต้นซึ่งจำเลยร่วมทนายประจำสำนักงานของจำเลยเป็นผู้ดำเนินการ ต่อมาศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาด สำนักงานของจำเลยมีหน้าที่ต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของลูกหนี้รายนี้ แต่ปล่อยเวลาล่วงเลยจนพ้นกำหนดโดยไม่ได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ เป็นเหตุให้โจทก์หมดสิทธิได้รับชำระหนี้จากลูกหนี้รายนี้ ทั้งที่ลูกหนี้มีทรัพย์พอชำระหนี้ได้ ขอให้บังคับจำเลยรับผิดใช้ค่าเสียหายตามจำนวนหนี้ที่ลูกหนี้ค้างชำระโจทก์อยู่ ตามคำฟ้องดังกล่าวโจทก์อ้างว่าจำเลยต้องรับผิดเพราะเหตุที่โจทก์หมดสิทธิที่จะได้รับชำระหนี้จากลูกหนี้ แต่คดีล้มละลายดังกล่าว ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกเลิกการล้มละลายของ ส.ลูกหนี้ (จำเลย) ตามมาตรา 135 (2) แห่ง พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 ซึ่งไม่ทำให้ลูกหนี้หลุดพ้นหนี้สินที่มีอยู่แต่อย่างใด โจทก์จึงยังไม่หมดสิทธิที่จะได้ชำระหนี้จากลูกหนี้โดยยังมีสิทธิขอบังคับคดีตามคำพิพากษาในคดีแพ่งเดิมที่โจทก์อาศัยมาเป็นมูลหนี้ในการฟ้องลูกหนี้เป็นคดีล้มละลายได้ ดังนี้เมื่อข้ออ้างของโจทก์ที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาให้จำเลยและจำเลยร่วมต้องรับผิดมิได้เป็นไปดังที่โจทก์อ้าง จึงไม่อาจจะบังคับให้จำเลยและจำเลยร่วมรับผิดต่อโจทก์ตามฟ้องได้
แต่การที่จำเลยและจำเลยร่วมไม่ยื่นคำขอรับชำระหนี้ดังกล่าวให้แก่โจทก์ เป็นการไม่ปฏิบัติหน้าที่ตามสัญญาให้สำเร็จลุล่วงต้องตามความประสงค์อันแท้จริงแห่งมูลหนี้โจทก์มีสิทธิเรียกร้องเอาค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยได้ ศาลจึงไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะฟ้องใหม่ตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/17
แต่การที่จำเลยและจำเลยร่วมไม่ยื่นคำขอรับชำระหนี้ดังกล่าวให้แก่โจทก์ เป็นการไม่ปฏิบัติหน้าที่ตามสัญญาให้สำเร็จลุล่วงต้องตามความประสงค์อันแท้จริงแห่งมูลหนี้โจทก์มีสิทธิเรียกร้องเอาค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยได้ ศาลจึงไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะฟ้องใหม่ตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/17
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5001/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทนายความละเลยหน้าที่ยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย แม้โจทก์ไม่เสียสิทธิ แต่จำเลยต้องชดใช้ค่าเสียหาย
ตามฟ้องของโจทก์กล่าวโดยสรุปว่า โจทก์มอบให้สำนักงานของจำเลยฟ้อง ส. ซึ่งเป็นหนี้โจทก์ตามคำพิพากษาเป็นคดีล้มละลายต่อศาลชั้นต้นซึ่งจำเลยร่วมทนายประจำสำนักงานของจำเลยเป็นผู้ดำเนินการ ต่อมาศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาด สำนักงานของจำเลยมีหน้าที่ต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของลูกหนี้รายนี้ แต่ปล่อยเวลาล่วงเลยจนพ้นกำหนดโดยไม่ได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ เป็นเหตุให้โจทก์หมดสิทธิได้รับชำระหนี้จากลูกหนี้รายนี้ ทั้งที่ลูกหนี้มีทรัพย์พอชำระหนี้ได้ ขอให้บังคับจำเลยรับผิดใช้ค่าเสียหายตามจำนวนหนี้ที่ลูกหนี้ค้างชำระโจทก์อยู่ตามคำฟ้องดังกล่าวโจทก์อ้างว่าจำเลยต้องรับผิดเพราะเหตุที่โจทก์หมดสิทธิที่จะได้รับชำระหนี้จากลูกหนี้แต่คดีล้มละลายดังกล่าว ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกเลิกการล้มละลายของ ส. ลูกหนี้ (จำเลย) ตามมาตรา 135(2)แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 ซึ่งไม่ทำให้ลูกหนี้หลุดพ้นหนี้สินที่มีอยู่แต่อย่างใด โจทก์จึงยังไม่หมดสิทธิที่จะได้ชำระหนี้จากลูกหนี้โดยยังมีสิทธิขอบังคับคดีตามคำพิพากษาในคดีแพ่งเดิมที่โจทก์อาศัยมาเป็นมูลหนี้ในการฟ้องลูกหนี้เป็นคดีล้มละลายได้ ดังนี้เมื่อข้ออ้างของโจทก์ที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาให้จำเลยและจำเลยร่วมต้องรับผิดมิได้เป็นไปดังที่โจทก์อ้าง จึงไม่อาจจะบังคับให้จำเลยและจำเลยร่วมรับผิดต่อโจทก์ตามฟ้องได้ แต่การที่จำเลยและจำเลยร่วมไม่ยื่นคำรับชำระหนี้ดังกล่าวให้แก่โจทก์ เป็นการไม่ปฏิบัติ หน้าที่ตามสัญญาให้สำเร็จลุล่วงต้องตามความประสงค์อันแท้จริงแห่งมูลหนี้โจทก์มีสิทธิเรียกร้องเอาค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยได้ ศาลจึงไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะฟ้องใหม่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/17
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2757/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความการเรียกร้องหนี้จากการค้ำประกันและการสะดุดหยุดของอายุความเมื่อมีการฟ้องร้อง
เจ้าหนี้ได้ทำสัญญาค้ำประกันห้างหุ้นส่วนช. ต่อเทศบาลเมืองสุรินทร์โดยลูกหนี้ที่1ทำสัญญาค้ำประกันห้างหุ้นส่วนช. ไว้กับเจ้าหนี้ต่อมาห้างหุ้นส่วนช.ผิดสัญญาต่อเทศบาลเมืองสุรินทร์เจ้าหนี้ในฐานะผู้ค้ำประกันจึงชำระหนี้แก่เทศบาลเมืองสุรินทร์ไปเมื่อวันที่18กุมภาพันธ์2523จากนั้นเจ้าหนี้ได้ฟ้องห้างหุ้นส่วนช. กับลูกหนี้ที่1ให้ชำระหนี้ที่เจ้าหนี้ได้ชำระหนี้แก่เทศบาลเมืองสุรินทร์ไปซึ่งต่อมาศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษาอันถึงที่สุดให้ห้างหุ้นส่วนช.ชำระหนี้ตามสัญญาค้ำประกันที่เจ้าหนี้ได้จ่ายให้แก่เทศบาลเมืองสุรินทร์ และให้ยกฟ้องสำหรับลูกหนี้ที่1แต่ไม่ตัดสิทธิเจ้าหนี้ที่จะนำคดีมาฟ้องใหม่ภายในกำหนดอายุความเมื่อลูกหนี้ที่1ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดเจ้าหนี้จึงยื่นคำขอรับชำระหนี้ตามสัญญาค้ำประกันจากกองทรัพย์สินของลูกหนี้ที่1ดังนี้ต้องถือว่าอายุความในส่วนที่เกี่ยวกับลูกหนี้ที่1ไม่เคยสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา193/17วรรคหนึ่งเจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้เมื่อวันที่4มีนาคม2534ซึ่งล่วงพ้นกำหนด10ปีนับแต่วันที่18กุมภาพันธ์2523ซึ่งเป็นวันที่เจ้าหนี้ได้ชำระหนี้แก่เทศบาลเมืองสุรินทร์และเป็นวันที่เจ้าหนี้อาจบังคับสิทธิเรียกร้องกับลูกหนี้ที่1ได้เป็นต้นไปสิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้จึงขาดอายุความต้องห้ามมิให้ได้รับชำระหนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯมาตรา94(1)