พบผลลัพธ์ทั้งหมด 36 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5300/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องหนี้ - การฟ้องซ้ำภายในอายุความ - ผลของการพิพากษาถึงที่สุด - กรอบเวลา 60 วัน
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยกู้เงินธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด (ไทย) จำกัด (มหาชน) ตกลงผ่อนชำระต้นเงินพร้อมดอกเบี้ยรายเดือนรวม 36 งวด เป็นการฟ้องขอให้ชำระหนี้ตามสัญญากู้ซึ่งมีข้อตกลงชำระหนี้ผ่อนทุนคืนเป็นงวด ๆ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/33 (2) สิทธิเรียกร้องของโจทก์ในหนี้ดังกล่าวจึงมีกำหนดอายุความห้าปีนับแต่วันผิดนัดชำระหนี้ จำเลยชำระหนี้ครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2555 ต้องถือว่าจำเลยผิดนัดชำระงวดที่เหลือทั้งหมด สิทธิเรียกร้องจึงเริ่มนับตั้งแต่วันที่ 16 ตุลาคม 2555 เป็นต้นไป และจะครบกำหนดห้าปีในวันที่ 16 ตุลาคม 2560 โจทก์ในฐานะผู้รับโอนสิทธิเรียกร้องของธนาคารฯ เคยฟ้องจำเลยในมูลหนี้เดียวกันกับคดีนี้เมื่อวันที่ 17 มกราคม 2560 ภายในกำหนดอายุความห้าปี แต่ศาลอุทธรณ์ภาค 9 พิพากษายกฟ้อง โดยไม่ตัดสิทธิโจทก์ฟ้องเข้ามาใหม่ภายในอายุความ และไม่มีคู่ความยื่นคำร้องขออนุญาตฎีกากับฎีกาคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 9 จึงเป็นที่สุดตั้งแต่วันที่ได้อ่านคำพิพากษาหรือคำสั่งนั้น คือ วันที่ 31 ตุลาคม 2560 ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคท้าย อันเป็นบทกฎหมายที่ใช้บังคับแก่การฎีกาคดีผู้บริโภคโดยอนุโลม ตาม พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ.2551 มาตรา 51 ประกอบ มาตรา 49 วรรคสอง เมื่อคดีถึงที่สุดในวันดังกล่าวอันเป็นวันหลังจากสิทธิเรียกร้องของโจทก์ขาดอายุความแล้ว โจทก์จึงชอบที่จะฟ้องคดีเพื่อตั้งหลักฐานสิทธิเรียกร้องหรือเพื่อให้ชำระหนี้ภายในหกสิบวันนับแต่วันที่คำพิพากษาหรือคำสั่งนั้นถึงที่สุดตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/17 วรรคสอง การที่โจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้เมื่อวันที่ 23 มกราคม 2561 จึงเป็นการฟ้องเมื่อล่วงพ้นกำหนดเวลาหกสิบวันนับแต่วันที่คำพิพากษาในคดีก่อนถึงที่สุด ฟ้องโจทก์จึงขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 603/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีเช็คคืนเงิน: การฟ้องผิดตัวและการสะดุดหยุดของอายุความ
ในคดีก่อนโจทก์ยื่นฟ้องสมาคมฌาปนกิจสงเคราะห์ ก. เป็นจำเลย ภายหลังจากนายทะเบียนมีคำสั่งให้เลิกสมาคมและตั้งผู้ชำระบัญชีแล้ว การฟ้องของโจทก์จึงเป็นการฟ้องผิดตัว เมื่อโจทก์ยื่นคำร้องขอถอนฟ้องสมาคมเพื่อนำมูลหนี้ไปฟ้องผู้ชำระบัญชีของสมาคมโดยศาลชั้นต้นมีสั่งจำหน่ายคดี กรณีจึงถือว่าอายุความไม่เคยสะดุดหยุดลงตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/17 วรรคหนึ่ง โจทก์นำคดีมาฟ้องใหม่เป็นคดีนี้โดยฟ้องให้จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้ชำระบัญชีให้ชำระเงินตามเช็คแก่โจทก์ซึ่งเป็นผู้ทรง การนับอายุความจึงต้องเริ่มนับแต่วันที่ 25 มิถุนายน 2558 ซึ่งเป็นวันที่เช็คถึงกำหนด โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2560 พ้นกำหนด 1 ปี ต้องห้ามตาม ป.พ.พ. มาตรา 1002 ฟ้องโจทก์จึงขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 649/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความหนี้และการฟ้องล้มละลาย: การสะดุดหยุดของอายุความจากการฟ้องคดีและการพิพากษา
หนี้ที่ผู้ร้องนำมายื่นคำร้องในคดีนี้เป็นหนี้ตามสัญญากู้และสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีที่บริษัท อ. ทำกับเจ้าหนี้เดิม โดยลูกหนี้ที่ 2 และที่ 4 เป็นผู้ค้ำประกัน สิทธิเรียกร้องในหนี้ตามสัญญากู้และสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีกฎหมายมิได้บัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะจึงมีกำหนดอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 ดังนั้น เมื่อนับจากวันที่บริษัท อ. ทำสัญญากู้และสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีแล้วผิดนัดชำระหนี้ถึงวันที่เจ้าหนี้เดิมได้ฟ้องบริษัท อ. ผู้ค้ำประกันรายอื่นและลูกหนี้ที่ 2 และที่ 4 เป็นจำเลยที่ศาลอุตรดิตถ์ เป็นคดีแพ่งหมายเลขดำที่ 1123/2542 ยังไม่เกิน 10 ปี ไม่ขาดอายุความ ผลของการฟ้องคดีดังกล่าวทำให้อายุความในหนี้ที่ลูกหนี้ที่ 2 และที่ 4 มีต่อเจ้าหนี้เดิมในฐานะผู้ค้ำประกันตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 สะดุดหยุดลงตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/14 (2) ระยะเวลาที่ล่วงไปก่อนนั้นไม่นับเข้าในอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/15 วรรคหนึ่ง ต้องเริ่มนับอายุความใหม่ตั้งแต่เหตุที่ทำให้อายุความสะดุดหยุดลงได้สิ้นสุดไปแล้วตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/15 วรรคสอง คดีของศาลจังหวัดอุตรดิตถ์ดังกล่าวสิ้นสุดลงตามที่ผู้ร้องขอให้ศาลมีคำสั่งจำหน่ายคดีออกจากสารบบความตาม พ.ร.ก.บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย พ.ศ.2544 มาตรา 30 ในวันที่ 10 มิถุนายน 2548 ซึ่งมิใช่คำสั่งจำหน่ายคดีเพราะเหตุถอนฟ้องหรือทิ้งฟ้อง ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/17 วรรคหนึ่ง ที่ให้ถือว่าอายุความไม่เคยสะดุดหยุดลง อายุความสำหรับฟ้องคดีนี้จึงต้องนับใหม่ตั้งแต่วันที่ 11 มิถุนายน 2548 ผู้ร้องนำหนี้ดังกล่าวมายื่นคำร้องคดีนี้ในวันที่ 30 ธันวาคม 2552 ยังไม่เกิน 10 ปี สิทธิเรียกร้องของผู้ร้องจึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15643/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความหนี้ตามคำพิพากษาและการฟ้องคดีล้มละลาย: ผลต่อการสะดุดหยุดอายุความ
หนี้ที่เจ้าหนี้นำมาขอรับชำระหนี้เป็นหนี้ตามคำพิพากษาตามยอม จึงมีอายุความ 10 ปี นับจากวันที่เจ้าหนี้อาจบังคับตามสิทธิเรียกร้องได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/12 และ 193/32 เมื่อปรากฏว่าก่อนครบระยะเวลา 10 ปี นับจากวันที่เจ้าหนี้อาจบังคับตามสิทธิเรียกร้องได้ เจ้าหนี้นำหนี้ตามคำพิพากษาดังกล่าวไปรวมกับหนี้อื่นฟ้องลูกหนี้และลูกหนี้ร่วมรายอื่นเป็นคดีล้มละลาย จึงเป็นการฟ้องคดีเพื่อตั้งหลักฐานสิทธิเรียกร้องหรือเพื่อให้ชำระหนี้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/14 (2) มีผลทำให้อายุความตามสิทธิเรียกร้องสะดุดหยุดลง ระยะเวลาที่ล่วงไปก่อนนั้นไม่นับเข้าในอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/15 วันที่ 30 กรกฎาคม 2552 ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้คดีดังกล่าวไว้เด็ดขาด ต่อมาเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์รายงานต่อศาลว่าลูกหนี้เคยถูกศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดเมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2551 อันเป็นระยะเวลาก่อนที่ศาลจะมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้คดีดังกล่าวไว้เด็ดขาด จึงขอให้ศาลมีคำสั่งจำหน่ายคดีออกจากสารบบความ วันที่ 30 สิงหาคม 2553 ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งจำหน่ายคดีลูกหนี้ออกจากสารบบความ กรณีมิใช่คดีเสร็จไปโดยการจำหน่ายคดีเพราะเหตุถอนฟ้องหรือทิ้งฟ้อง ที่จะให้ถือว่าอายุความไม่เคยสะดุดหยุดลงตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/17 ดังนั้น การที่เจ้าหนี้นำมูลหนี้ตามคำพิพากษาของศาลแพ่งดังกล่าวมายื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีนี้ในวันที่ 6 มีนาคม 2552 หนี้ของเจ้าหนี้จึงยังไม่ขาดอายุความ เจ้าหนี้จึงมีสิทธิได้รับชำระหนี้ในมูลหนี้ตามคำพิพากษาหลังหักราคาขายทอดตลาดทรัพย์จำนองได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11161/2558 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องละเมิด: ผลของการไม่รับฟ้องแย้งและการขยายอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/17
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยกระทำละเมิดในช่วงระหว่างต้นปี 2552 ถึงเดือนกรกฎาคม 2553 แสดงว่าโจทก์รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนนับแต่วันทำละเมิด โจทก์จึงต้องฟ้องคดีอย่างช้าภายในวันที่ 31 กรกฎาคม 2554 โจทก์ฟ้องคดีเพื่อตั้งหลักฐานสิทธิเรียกร้องโดยการฟ้องแย้งในคดีแพ่งของศาลชั้นต้น เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 2553 ภายในกำหนดอายุความ ศาลชั้นต้นในคดีดังกล่าวรับฟ้องแย้งของโจทก์ แต่ต่อมาวันที่ 23 มิถุนายน 2554 ศาลชั้นต้นเพิกถอนคำสั่งเดิมและสั่งไม่รับฟ้องแย้งโดยเห็นว่าฟ้องแย้งนั้นเป็นเรื่องอื่นที่ไม่เกี่ยวกับฟ้องเดิม จึงเป็นกรณีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสาม แม้ศาลชั้นต้นในคดีดังกล่าว จะสั่งไม่รับฟ้องแย้งโดยมิได้สั่งให้จำเลย (โจทก์ในคดีนี้) ฟ้องเป็นคดีต่างหาก แต่บทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวมีผลเป็นการให้สิทธิแก่จำเลย (โจทก์ในคดีนี้) ที่จะฟ้องเป็นคดีต่างหากแล้ว
ป.พ.พ. มาตรา 193/17 วรรคสอง มิได้หมายความถึงกรณีที่ศาลไม่รับหรือคืนหรือให้ยกคำฟ้องเพราะเหตุคดีไม่อยู่ในอำนาจศาลเท่านั้น แต่หากยังหมายถึงกรณีที่ศาลให้ยกคำฟ้องโดยไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะฟ้องใหม่ด้วย ซึ่งฟ้องแย้งถือเป็นคำฟ้องอย่างหนึ่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 1 (3) การที่ศาลชั้นต้นในคดีแพ่ง มีคำสั่งไม่รับฟ้องแย้งของจำเลย (โจทก์ในคดีนี้) มีผลตาม ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสาม คือ เป็นการไม่รับหรือยกฟ้องแย้งโดยจำเลย (โจทก์ในคดีนี้) มีสิทธิตามกฎหมายที่จะฟ้องเป็นคดีต่างหากอยู่แล้ว โดยเหตุนี้ศาลชั้นต้นหาจำต้องระบุว่าไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะฟ้องอีกไม่ เพราะเป็นเรื่องที่โจทก์ก็มีสิทธิตามกฎหมายที่จะฟ้องเป็นคดีต่างหากอยู่แล้ว ดังนั้น หากปรากฏว่าอายุความครบกำหนดไปแล้วในระหว่างการพิจารณา หรือจะครบกำหนดภายในหกสิบวันนับแต่วันที่คำสั่งนั้นถึงที่สุด โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องคดีเพื่อตั้งหลักฐานสิทธิเรียกร้องหรือเพื่อให้ชำระหนี้ภายในหกสิบวันนับแต่วันที่คำสั่งนั้นถึงที่สุด ตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวข้างต้น ศาลชั้นต้นในคดีดังกล่าวมีคำสั่งไม่รับฟ้องแย้งวันที่ 23 มิถุนายน 2554 คำสั่งดังกล่าว ถึงที่สุดวันที่ 23 กรกฎาคม 2554 เมื่อโจทก์รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าทดแทนนับแต่วันทำละเมิดในช่วงระหว่างต้นปี 2552 ซึ่งหมายความว่า โจทก์รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าทดแทนระหว่างตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2552 ถึงวันที่ 31 กรกฎาคม 2553 ดังนั้นอายุความ 1 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 448 วรรคหนึ่ง จึงสิ้นสุดลงอย่างช้าในวันที่ 31 กรกฎาคม 2554 เมื่อนับอายุความนับแต่วันคำสั่งศาลชั้นต้นไม่รับฟ้องแย้งของโจทก์ถึงที่สุดในวันที่ 23 กรกฎาคม 2554 ถึงวันอายุความสิ้นสุดในวันที่ 31 กรกฎาคม 2554 คงเหลือกำหนดอายุความเพียง 9 วัน ซึ่งน้อยกว่าหกสิบวันนับแต่วันคำสั่งศาลชั้นต้นไม่รับฟ้องแย้งของโจทก์ถึงที่สุด จึงต้องขยายอายุความให้อีกหกสิบวันตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/17 วรรคสอง โจทก์ฟ้องคดีนี้วันที่ 19 สิงหาคม 2554 จึงเป็นกรณีที่โจทก์ฟ้องคดีภายในอายุความครบกำหนดภายในหกสิบวันนับแต่วันที่คำสั่งนั้นถึงที่สุด
โจทก์ฎีกาโดยขอให้ศาลฎีกาพิพากษาให้โจทก์ชนะคดีตามฟ้อง และชำระค่าขึ้นศาลชั้นฎีกามาอย่างคดีมีทุนทรัพย์ เมื่อศาลฎีกาวินิจฉัยว่าคดีโจทก์ไม่ขาดอายุความแล้วมิได้วินิจฉัยประเด็นปัญหาอื่นต่อไป แต่ส่งสำนวนคืนไปให้ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิจารณาพิพากษาใหม่ ฎีกาของโจทก์เช่นนี้ชอบที่จะเรียกเก็บค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาอย่างคดีไม่มีทุนทรัพย์เป็นเงิน 200 บาท
ป.พ.พ. มาตรา 193/17 วรรคสอง มิได้หมายความถึงกรณีที่ศาลไม่รับหรือคืนหรือให้ยกคำฟ้องเพราะเหตุคดีไม่อยู่ในอำนาจศาลเท่านั้น แต่หากยังหมายถึงกรณีที่ศาลให้ยกคำฟ้องโดยไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะฟ้องใหม่ด้วย ซึ่งฟ้องแย้งถือเป็นคำฟ้องอย่างหนึ่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 1 (3) การที่ศาลชั้นต้นในคดีแพ่ง มีคำสั่งไม่รับฟ้องแย้งของจำเลย (โจทก์ในคดีนี้) มีผลตาม ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสาม คือ เป็นการไม่รับหรือยกฟ้องแย้งโดยจำเลย (โจทก์ในคดีนี้) มีสิทธิตามกฎหมายที่จะฟ้องเป็นคดีต่างหากอยู่แล้ว โดยเหตุนี้ศาลชั้นต้นหาจำต้องระบุว่าไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะฟ้องอีกไม่ เพราะเป็นเรื่องที่โจทก์ก็มีสิทธิตามกฎหมายที่จะฟ้องเป็นคดีต่างหากอยู่แล้ว ดังนั้น หากปรากฏว่าอายุความครบกำหนดไปแล้วในระหว่างการพิจารณา หรือจะครบกำหนดภายในหกสิบวันนับแต่วันที่คำสั่งนั้นถึงที่สุด โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องคดีเพื่อตั้งหลักฐานสิทธิเรียกร้องหรือเพื่อให้ชำระหนี้ภายในหกสิบวันนับแต่วันที่คำสั่งนั้นถึงที่สุด ตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวข้างต้น ศาลชั้นต้นในคดีดังกล่าวมีคำสั่งไม่รับฟ้องแย้งวันที่ 23 มิถุนายน 2554 คำสั่งดังกล่าว ถึงที่สุดวันที่ 23 กรกฎาคม 2554 เมื่อโจทก์รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าทดแทนนับแต่วันทำละเมิดในช่วงระหว่างต้นปี 2552 ซึ่งหมายความว่า โจทก์รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าทดแทนระหว่างตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2552 ถึงวันที่ 31 กรกฎาคม 2553 ดังนั้นอายุความ 1 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 448 วรรคหนึ่ง จึงสิ้นสุดลงอย่างช้าในวันที่ 31 กรกฎาคม 2554 เมื่อนับอายุความนับแต่วันคำสั่งศาลชั้นต้นไม่รับฟ้องแย้งของโจทก์ถึงที่สุดในวันที่ 23 กรกฎาคม 2554 ถึงวันอายุความสิ้นสุดในวันที่ 31 กรกฎาคม 2554 คงเหลือกำหนดอายุความเพียง 9 วัน ซึ่งน้อยกว่าหกสิบวันนับแต่วันคำสั่งศาลชั้นต้นไม่รับฟ้องแย้งของโจทก์ถึงที่สุด จึงต้องขยายอายุความให้อีกหกสิบวันตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/17 วรรคสอง โจทก์ฟ้องคดีนี้วันที่ 19 สิงหาคม 2554 จึงเป็นกรณีที่โจทก์ฟ้องคดีภายในอายุความครบกำหนดภายในหกสิบวันนับแต่วันที่คำสั่งนั้นถึงที่สุด
โจทก์ฎีกาโดยขอให้ศาลฎีกาพิพากษาให้โจทก์ชนะคดีตามฟ้อง และชำระค่าขึ้นศาลชั้นฎีกามาอย่างคดีมีทุนทรัพย์ เมื่อศาลฎีกาวินิจฉัยว่าคดีโจทก์ไม่ขาดอายุความแล้วมิได้วินิจฉัยประเด็นปัญหาอื่นต่อไป แต่ส่งสำนวนคืนไปให้ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิจารณาพิพากษาใหม่ ฎีกาของโจทก์เช่นนี้ชอบที่จะเรียกเก็บค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาอย่างคดีไม่มีทุนทรัพย์เป็นเงิน 200 บาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11161/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีและการขยายอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/17 กรณีศาลไม่รับฟ้องแย้ง
ป.พ.พ. มาตรา 193/17 วรรคสอง บัญญัติว่า "ในกรณีที่คดีนั้นศาลไม่รับหรือคืนหรือให้ยกคำฟ้องเพราะเหตุคดีไม่อยู่ในอำนาจศาล หรือศาลให้ยกคำฟ้องโดยไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะฟ้องใหม่ และปรากฏว่าอายุความครบกำหนดไปแล้วในระหว่างการพิจารณา หรือจะครบกำหนดภายในหกสิบวันนับแต่วันที่คำพิพากษาหรือคำสั่งนั้นถึงที่สุด ให้เจ้าหนี้มีสิทธิฟ้องคดีเพื่อตั้งหลักฐานสิทธิเรียกร้องหรือเพื่อให้ชำระหนี้ภายในหกสิบวันนับแต่วันที่คำพิพากษาหรือคำสั่งนั้นถึงที่สุด" มิได้หมายความถึงกรณีที่ศาลไม่รับหรือคืนหรือให้ยกคำฟ้องเพราะเหตุคดีไม่อยู่ในอำนาจศาลเท่านั้น แต่หากยังหมายถึงกรณีที่ศาลให้ยกคำฟ้องโดยไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะฟ้องใหม่ด้วย ซึ่งฟ้องแย้งถือเป็นคำฟ้องอย่างหนึ่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 1 (3) การที่ศาลชั้นต้นในคดีแพ่งหมายเลขดำที่ 525/2553 มีคำสั่งไม่รับฟ้องแย้งของจำเลย (โจทก์ในคดีนี้) มีผลตาม ป.วิ.พ.มาตรา 177 วรรคสาม คือ เป็นการไม่รับหรือยกฟ้องแย้งโดยจำเลย (โจทก์ในคดีนี้) มีสิทธิตามกฎหมายที่จะฟ้องเป็นคดีต่างหากอยู่แล้ว โดยเหตุนี้ศาลชั้นต้นหาจำต้องระบุว่าไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะฟ้องอีกไม่ เพราะเป็นเรื่องที่โจทก์ก็มีสิทธิตามกฎหมายที่จะฟ้องเป็นคดีต่างหากอยู่แล้ว ดังนั้น หากปรากฏว่าอายุความครบกำหนดไปแล้วในระหว่างการพิจารณา หรือจะครบกำหนดภายในหกสิบวันนับแต่วันที่คำสั่งนั้นถึงที่สุด โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องคดีเพื่อตั้งหลักฐานสิทธิเรียกร้องหรือเพื่อให้ชำระหนี้ภายในหกสิบวันนับแต่วันที่คำสั่งนั้นถึงที่สุด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2678/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีแพ่ง: การฟ้องผิดตัวบุคคลและการขยายอายุความตามมาตรา 193/17 วรรคสอง
เจ้าหนี้มีสิทธิฟ้องคดีเพื่อให้ลูกหนี้ชำระหนี้ภายในหกสิบวันนับแต่วันที่คำสั่งศาลเป็นที่สุดตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/17 วรรคสอง ต้องเป็นคดีที่เจ้าหนี้ฟ้องลูกหนี้ต่อศาลที่ไม่มีเขตอำนาจพิจารณา และไม่รวมถึงการฟ้องบุคคลที่ไม่ใช่ลูกหนี้อันเป็นการฟ้องผิดตัวด้วย เพราะมีผลเป็นการเปลี่ยนตัวลูกหนี้ที่ถูกฟ้องเป็นจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 879/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความเพิกถอนนิติกรรม: การถอนฟ้องคดีเดิมทำให้คดีใหม่ขาดอายุความ
โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนขายที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยทั้งสองเป็นคดีแพ่งหมายเลขดำที่ 123/2550 ของศาลชั้นต้นยังไม่เกินหนึ่งปีนับแต่หลังจากวันที่ 8 มีนาคม 2549 ที่โจทก์มอบอำนาจให้ ก. หรืออย่างเร็วที่สุดวันที่ 8 มีนาคม 2549 อันเป็นเวลาที่โจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้ได้รู้ถึงต้นเหตุอันเป็นมูลให้เพิกถอนนิติกรรมและทำให้อายุความสะดุดหยุดลงก็ตาม แต่การที่อายุความสะดุดหยุดลงดังกล่าวเป็นกรณีที่โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ได้ฟ้องคดีเพื่อตั้งหลักฐานสิทธิเรียกร้องหรือเพื่อให้ชำระหนี้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/14 (2) ซึ่งมาตรา 193/17 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "ในกรณีที่อายุความสะดุดหยุดลงเพราะเหตุตามมาตรา 193/14 (2) หากคดีนั้นได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ยกฟ้อง หรือคดีเสร็จไปโดยการจำหน่ายคดีเพราะเหตุถอนฟ้องหรือทิ้งฟ้อง ให้ถือว่าอายุความไม่เคยสะดุดหยุดลง" เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่าคดีแพ่งหมายเลขดำที่ 123/2550 โจทก์ได้ถอนฟ้องและศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีเป็นคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 1058/2550 กรณีจึงต้องถือว่าการที่โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองเป็นคดีแพ่งหมายเลขดำที่ 123/2550 หมายเลขแดงที่ 1058/2550 ไม่ทำให้อายุความสะดุดหยุดลงแต่อย่างใด เนื่องจากคดีเสร็จไปโดยการจำหน่ายคดีเพราะเหตุถอนฟ้อง การที่โจทก์นำคดีมาฟ้องจำเลยทั้งสองขอให้เพิกถอนนิติกรรมอีกเป็นคดีนี้เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน2554 จึงพ้นหนึ่งปี นับแต่เวลาที่โจทก์อ้างในฎีกาว่าโจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้ได้รู้ถึงต้นเหตุอันเป็นมูลให้เพิกถอนนิติกรรมแล้ว ฟ้องโจทก์จึงขาดอายุความ ตามมาตรา 240
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 18624/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องเรียกคืนเงินลาภมิควรได้: สิทธิเรียกร้องแทนลูกหนี้ และผลกระทบของคำพิพากษาเดิม
จำเลยที่ 2 เป็นกรรมการผู้จัดการบริษัท ท. ต่อมาเมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2536 จดทะเบียนเลิกบริษัทโดยมีจำเลยที่ 1 เป็นผู้ชำระบัญชี ในระหว่างการชำระบัญชี โจทก์ตรวจสอบแล้วพบว่า บริษัทเป็นหนี้ค่าภาษีอากรค้างชำระ จึงแจ้งให้ชำระ ขณะนั้น จำเลยที่ 1 ก็รวบรวมทรัพย์สินของบริษัทแล้วแบ่งคืนเป็นเงินให้แก่จำเลยที่ 2 โจทก์จึงยื่นฟ้องบริษัทต่อศาลภาษีอากรกลางและยื่นฟ้องจำเลยที่ 2 ต่อศาลแพ่งกรุงเทพใต้ เพื่อเรียกเงินคืน จนกระทั่งศาลฎีกามีคำพิพากษาในคดีดังกล่าวว่า จำเลยที่ 2 รับเงินไว้โดยปราศจากมูลจะอ้างด้วยกฎหมาย จึงเป็นลาภมิควรได้ที่จะต้องคืนให้แก่บริษัท แต่เนื่องจากโจทก์มิได้ใช้สิทธิเรียกร้องในนามของตนแทนลูกหนี้รวมทั้งไม่ได้เรียกลูกหนี้เข้ามาในคดีด้วย จึงให้ยกฟ้องแต่ไม่ตัดสิทธิที่โจทก์จะฟ้องใหม่ คำพิพากษาดังกล่าวจึงผูกพันคู่ความตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคหนึ่ง โจทก์จะกล่าวอ้างว่าเป็นการใช้สิทธิติดตามเอาคืนทรัพย์หาได้ไม่ เมื่อสิทธิของโจทก์เป็นการใช้สิทธิเรียกร้องแทนลูกหนี้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 233 แล้ว โจทก์จะต้องฟ้องคดีภายใน 1 ปี นับแต่เวลาที่รู้หรือ 10 ปี นับแต่เวลาที่สิทธินั้นมีขึ้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 419 การที่โจทก์ได้ฟ้องคดีก่อนภายในอายุความแล้ว แม้ระหว่างนั้นไม่ว่าจำเลยที่ 2 จะนำเงินบางส่วนไปชำระให้แก่โจทก์หรือไม่ก็ตาม ย่อมถือว่าอายุความไม่เคยสะดุดหยุดลงตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/17 วรรคหนึ่ง และต่อมาเมื่อศาลฎีกามีคำพิพากษาในคดีนั้นเมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2546 ซึ่งอายคุวามครบกำหนดสิบปีไปแล้วโจทก์จึงต้องฟ้องเป็นคดีใหม่ภายใน 60 วัน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/17 วรรคสอง เมื่อโจทก์ฟ้องคดีนี้ เมื่อวันที่ 20 กันยายน 2548 คดีของโจทก์จึงขาดอายุความ สำหรับจำเลยที่ 2
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5442/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความหนี้กู้ยืมและการขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย: ผลของการฟ้องคดีและการถอนฟ้อง
ในการที่ จ. กู้ยืมเงินจากเจ้าหนี้โดยลูกหนี้ได้จำนองที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างไว้เป็นประกันหนี้ โดยมีข้อตกลงว่าหากบังคับทรัพย์จำนองไม่พอชำระหนี้ ลูกหนี้ยอมรับผิดชำระหนี้ส่วนที่ขาดจนครบถ้วนนั้น เมื่อลูกหนี้ชั้นต้นผิดนัดไม่ชำระหนี้ โดยชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2539 เจ้าหนี้ชอบที่จะฟ้องร้องหรือขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายภายในกำหนดระยะเวลา 10 ปี นับแต่วันผิดนัดดังกล่าว หากเจ้าหนี้ไม่ดำเนินการก็ถือว่ามูลหนี้ประธานขาดอายุความ ส่วนที่เจ้าหนี้นำมูลหนี้กู้ยืมและจำนองไปฟ้อง จ. และลูกหนี้เป็นคดีแพ่ง ต่อมาเจ้าหนี้ได้ถอนฟ้องในส่วนของลูกหนี้ และศาลมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีส่วนลูกหนี้ออกจากสารบบความ การฟ้องคดีดังกล่าวจึงไม่ได้ทำให้อายุความในมูลหนี้ที่ลูกหนี้ต้องรับผิดสะดุดหยุดลง ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/17 เมื่อเจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2550 จึงเป็นเวลาเกินกว่า 10 ปี นับแต่วันผิดนัด หนี้รายนี้จึงขาดอายุความไม่อาจขอรับชำระหนี้ได้ ตามพ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 94 (1) ส่วนการที่เจ้าหนี้ได้นำมูลหนี้จำนองไปยื่นคำร้องขอรับชำระหนี้บุริมสิทธิในคดีแพ่ง และศาลมีคำสั่งอนุญาตให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้ตามขอ ก็เป็นผลให้เจ้าหนี้มีสิทธิได้รับชำระหนี้ในฐานะเจ้าหนี้บุริมสิทธิผู้รับจำนอง และเมื่อศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาดแล้ว เจ้าหนี้ย่อมนำมูลหนี้บุริมสิทธิดังกล่าวมาขอรับชำระหนี้ได้ แต่หาได้เกี่ยวพันกับหนี้ส่วนที่ขาดอันเป็นหนี้สามัญด้วยแต่อย่างใดไม่