คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.อ. ม. 28 (2)

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 151 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1828-1829/2497

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การวิวาทต่อเนื่องและการมีอำนาจฟ้องของโจทก์ที่ไม่ใช่ผู้เสียหายโดยตรง
ทำร้ายกันในขณะทำการวิวาทยังไม่ขาดตอน ต้องถือว่าเป็นการกระทำต่อเนื่องกัน กรณีวิวาทกันผู้ที่วิวาทกันไม่ใช่ผู้เสียหาย จึงเป็นโจทก์ฟ้องไม่ได้
ศาลชั้นต้นพิพากษาจำคุกจำเลยตาม กฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 249,60 ให้จำคุก 10 ปี ลดตามมาตรา 59 เสีย 1 ใน3 คงจำคุก 6 ปี 8 เดือน เมื่อศาลอุทธรณ์ฟังว่าจำเลยทำผิดโดยถูกยั่วโทสะ จึงแก้ให้ลดโทษตามมาตรา 55 กึ่งหนึ่ง เช่นนี้เป็นการแก้มาก คู่ความย่อมฎีกาในข้อเท็จจริงได้
คดีที่ศาลพิจารณารวมกัน มีอุทธรณ์ขึ้นมาเฉพาะคดีเดียวคู่ความในคดีที่ไม่ได้อุทธรณ์ จะมาฎีกาในชั้นฎีกาไม่ได้ เพราะคดีนั้นถึงที่สุดแล้ว
คดีที่มีการพิจารณารวมกันศาลลงโทษบทหนักตามฟ้องคดีหนึ่งมีอุทธรณ์ฎีกาขึ้นมาเฉพาะคดีที่ศาลลงโทษบทหนักนี้คดีที่ไม่มีอุทธรณ์ฎีกาก็เป็นอันยุติ เมื่อศาลเห็นว่าจำเลยไม่มีความผิดในคดีที่ฎีกาขึ้นมา ศาลก็พิพากษายกฟ้องปล่อยจำเลยไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1468/2496 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ในสุกรยังไม่โอน ผู้เสียหายคือผู้ส่งสุกรหรือกรมรถไฟ ไม่ใช่ผู้รับซื้อ
เจ้าของสุกรต่างจังหวัดเคยให้พ่อตาคุมสุกรมาขายให้โจทก์ที่กรุงเทพ ฯ ในคราวเกิดเหตุก็ให้พ่อตาควบคุมสุกรมากรุงเทพฯ อีก ในใบอินวอย ส่งในนามชื่อยี่ห้อโจทก์เป็นผู้รับ แต่เมื่อถึงกรุงเทพ ฯแล้ว พ่อตากลับเอาสุกรไปขายผู้อื่นเสีย ดังนี้ วินิจฉัยว่ากรรมสิทธิในสุกรยังไม่โอนไปยังโจทก์ ๆ จึงยังไม่ใช่ผู้เสียหาย และยังไม่เป็นกรณีฉ้อโกงตาม ก.ม.ลักษณะอาญา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1468/2496

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ในสุกรยังไม่โอน การฉ้อโกงต้องมีผู้เสียหายโดยตรง
เจ้าของสุกรต่างจังหวัดเคยให้พ่อตาคุมสุกรมาขายให้โจทก์ที่กรุงเทพฯ ในคราวเกิดเหตุก็ให้พ่อตาควบคุมสุกรมากรุงเทพฯอีก ในใบอินวอยส่งในนามชื่อยี่ห้อโจทก์เป็นผู้รับ แต่เมื่อถึงกรุงเทพฯแล้ว พ่อตากลับเอาสุกรไปขายผู้อื่นเสีย ดังนี้ วินิจฉัยว่ากรรมสิทธิ์ในสุกรยังไม่โอนไปยังโจทก์ โจทก์จึงยังไม่ใช่ผู้เสียหาย และยังไม่เป็นกรณีฉ้อโกงโจทก์ตามกฎหมายลักษณะอาญา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1183/2494 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้สมัครใจวิวาทไม่มีอำนาจฟ้องคดีอาญา
ผู้ที่สมัครใจเข้าวิวาทต่อสู้ทำร้ายร่างกายซึ่งกันและกัน นั้นทางนิตินัยไม่ถือว่าเป็นผู้เสียหายจึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้ลงโทษซึ่งกันและกันได้ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.ม.วิ.อาญามาตรา 28 (2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1183/2494

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้สมัครใจวิวาทไม่มีอำนาจฟ้อง
ผู้ที่สมัครใจเข้าวิวาทต่อสู้ทำร้ายร่างกายซึ่งกันและกันนั้น ทางนิตินัยไม่ถือว่าเป็นผู้เสียหายจึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้ลงโทษซึ่งกันและกันได้ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 28(2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 573/2492 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเรียกรับเงินเพื่อเอื้อประโยชน์ในการโอนเรือ ถือเป็นการทุจริตและมีความผิดตามกฎหมายอาญา
โจทก์ได้ไปร้องขอให้กรมเจ้าท่าทำการโอนขายเรือของโจทก์ให้แก่ ส. ในชั้นแรกไม่ได้รับอนุญาตให้โอน จำเลยซึ่งเป็นรองอธิบดีกรมเจ้าท่า ได้เรียกร้องให้โจทก์ชำระเงิน 56000 บาท เพื่อเป็นค่าทำถนนในกรมเจ้าท่าเสียก่อนจึงจะอนุญาตให้ทำการโอนได้ โจทก์จึงจำต้องชำระเงินจำนวนดังกล่าวให้แก่จำเลย แล้วจำเลยจึงได้สั่งอนุญาตให้ทำการโอนเรือในวันนั้นเอง ดังนี้แม้จำเลยจะนำสืบได้ว่าได้เอาเงินจำนวนนี้ไปใช้ลาดยางทำถนนให้แก่กรมเจ้าท่า จำเลยก็ย่อมได้ชื่อว่าเป็นผู้ทำการทุจจริตตามนัยแห่งมาตรา 6 (3) กฎหมายอาญา โจทก์ย่อมเป็นผู้เสียหายจากการกระทำของจำเลยและมีสิทธิที่จะฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยได้
กรณีเช่นนี้ย่อมแตกต่างกับเรื่องเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา ซึ่งเป็นการให้เงินแก่กันโดยสมัครใจ
(อ้างฎีกา 406/2486, 394/131)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 573/2492

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเรียกรับเงินเพื่อเอื้อประโยชน์ในการอนุมัติโอนเรือ ถือเป็นการทุจริตและมีความผิดตามกฎหมายอาญา
โจทก์ได้ไปร้องขอให้กรมเจ้าท่าทำการโอนขายเรือของโจทก์ให้แก่ ส. ในชั้นแรกไม่ได้รับอนุญาตให้โอน จำเลยซึ่งเป็นรองอธิบดีกรมเจ้าท่าได้เรียกร้องให้โจทก์ชำระเงิน 56,000 บาท เพื่อเป็นค่าทำถนนในกรมเจ้าท่าเสียก่อนจึงจะอนุญาตให้ทำการโอนได้ โจทก์จึงจำต้องชำระเงินจำนวนดังกล่าวให้แก่จำเลยแล้วจำเลยจึงได้สั่งอนุญาตให้ทำการโอนเรือในวันนั้นเอง ดังนี้แม้จำเลยจะนำสืบได้ว่าได้เอาเงินจำนวนนี้ไปใช้ลาดยางทำถนนให้แก่กรมเจ้าท่า จำเลยก็ย่อมได้ชื่อว่าเป็นผู้ทำการทุจริตตามนัยแห่งมาตรา 6(3) กฎหมายอาญา โจทก์ย่อมเป็นผู้เสียหายจากการกระทำของจำเลยและมีสิทธิที่จะฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยได้
กรณีเช่นนี้ย่อมแตกต่างกับเรื่องเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา ซึ่งเป็นการให้เงินแก่กันโดยสมัครใจ (อ้างฎีกาที่406/2468,394/131)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 643/2486

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกู้เงินดอกเบี้ยเกินอัตรา: ผู้กู้ไม่เป็นผู้เสียหาย จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
ในเรื่องกู้เงินเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรานั้น ไม่นับว่าผู้กู้เป็นผู้เสียหายจึงไม่มีอำนาจฟ้อง (อ้างฎีกาที่ 1015/2479)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 671/2483

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิฟ้องคดีอาญาซ้ำซ้อน: ผู้เสียหายฟ้องหลังอัยการฟ้องแล้วมิได้
+อาญาซึ่งอัยยการเป็นโจทก์ฟ้องแลศาลชั้นต้น+แล้ว แม้คดียังไม่ถึง+ผู้เสียหายก็ไม่มีอำนาจ+ฟ้องในความผิดนั้นอี อ้าง ฎีกาที่ 149/2473

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 627/2482

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีอาญาฆ่าผู้อื่นของบิดาผู้ตาย แม้ผู้ตายมีภรรยา
บิดาผู้ตายมีอำนาจเป็นโจทก์ฟ้องผู้ที่ฆ่าบุตร์ของตนได้ โดยถือว่าเป็นผู้เสียหายถึงแม้ผู้ตายจะมีภรรยาแล้วก็ตาม
of 16