คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.อ. ม. 28 (2)

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 151 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5860/2554

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คดีอาญาเกี่ยวกับเอกสารปลอม: โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเนื่องจากสัญญากู้เป็นเอกสารปลอม ทำให้ไม่เกิดความเสียหาย
โจทก์เคยฟ้องขอให้บังคับจำเลยกับ ม. ร่วมกันชำระหนี้พร้อมด้วยดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ ศาลฎีกาพิพากษายกฟ้องโจทก์ โดยเชื่อว่าสัญญากู้ที่จำเลยทำไว้แก่โจทก์ในคดีดังกล่าวเป็นเอกสารที่โจทก์ทำปลอมขึ้น ผลแห่งคำพิพากษานั้นย่อมผูกพันคู่ความตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคหนึ่ง โจทก์ไม่อาจฟ้องบังคับให้จำเลยกับ ม. รับผิดต่อโจทก์ได้ แม้จะได้ความว่าจำเลยปลอมสัญญาค้ำประกันอันเป็นเอกสารสิทธิและใช้เอกสารสิทธิปลอม ก็ไม่ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย โจทก์จึงไม่เป็นผู้เสียหายตาม ป.วิ.อ. มาตรา 2 (4) ไม่มีอำนาจฟ้องคดีต่อศาลตามมาตรา 28 (2) ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยไม่ยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เอง ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10107/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้เสียหายต้องไม่เป็นผู้ร่วมกระทำผิด จึงจะมีอำนาจร้องทุกข์ในคดีฉ้อโกงได้
การเป็นผู้เสียหายโดยนิตินัยจะต้องไม่มีส่วนร่วมในการกระทำผิดเสียก่อน การที่โจทก์ร่วมทั้งสองมอบเงินให้จำเลยไปโดยรู้อยู่แล้วว่าจำเลยจะนำไปวิ่งเต้นติดสินบนเจ้าพนักงานเพื่อให้นำไม้จากประเทศกัมพูชาผ่านแดนเข้าประเทศไทยได้ แม้จำเลยจะมิได้นำไปวิ่งเต้นติดสินบนตามที่กล่าวอ้าง แต่ความประสงค์อันแท้จริงของโจทก์ร่วมทั้งสองก็เพื่อให้จำเลยวิ่งเต้นติดสินบนในเรื่องที่ผิดกฎหมาย โจทก์ร่วมทั้งสองมีส่วนก่อให้เกิดความผิดอยู่ด้วย จึงไม่ใช่ผู้เสียหายโดยนิตินัยที่จะมีอำนาจร้องทุกข์ในคดีความผิดฐานฉ้อโกงได้ ปัญหาดังกล่าวแม้จะมิได้ว่ากันมาโดยชอบในศาลล่างทั้งสอง ศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ เพราะเป็นปัญหาที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน เมื่อโจทก์ร่วมทั้งสองไม่มีอำนาจร้องทุกข์ พนักงานอัยการจึงไม่มีอำนาจนำคดีมาฟ้อง เพราะเป็นความผิดต่อส่วนตัว ศาลล่างทั้งสองจึงไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6012/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในการสอบสวนคดีอาญาตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย: ดุลพินิจและสิทธิโจทก์
ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย ฯ มาตรา 160 เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะทำการสอบสวนและทำความเห็นคดีอาญาในฐานะพนักงานสอบสวนได้นั้นจะต้องปรากฏว่ามีเหตุอันควรเชื่อได้ว่ามีการกระทำผิดในทางอาญาเกิดขึ้นในระหว่างดำเนินกระบวนพิจารณาคดีล้มละลาย แต่ทั้งนี้ไม่ตัดอำนาจพนักงานสอบสวนตาม ป.วิ.อ. ที่จะสอบสวนกรณีเดียวกันนี้ได้ การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตรวจรายงานการประชุมเจ้าหนี้ครั้งแรกและบันทึกการไต่สวนลูกหนี้โดยเปิดเผยในสำนวนแล้วมีคำสั่งไม่ดำเนินคดีอาญาแก่จำเลยและกรรมการบริษัทจำเลยตามคำร้องของโจทก์ ถือได้ว่าเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้ตรวจสอบเบื้องต้นแล้วเห็นว่าไม่มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่าจำเลยหรือผู้หนึ่งผู้ใดกระทำผิดในทางอาญาเกี่ยวกับการล้มละลายจึงมิได้ทำการสอบสวนผู้ใด ซึ่งเป็นดุลพินิจและอำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์โดยเฉพาะตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย ฯ มาตรา 160 วรรคหนึ่ง แต่ทั้งนี้ไม่ตัดสิทธิของโจทก์ที่จะร้องทุกข์หรือกล่าวโทษต่อพนักงานสอบสวนหรือฟ้องร้องดำเนินคดีต่อผู้กระทำผิดได้ด้วยตนเองตาม ป.วิ.อ. มาตรา 2 (7), 2 (8) ประกอบมาตรา 28 (2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3902/2549 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีอาญาของบริษัทล้มละลาย: เจ้าหนี้/ผู้จัดการทรัพย์สิน vs. กรรมการ
การที่โจทก์ซึ่งเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัดถูกพิพากษาให้ล้มละลายบริษัทโจทก์ย่อมเลิกกันตาม ป.พ.พ. มาตรา 1236 (5) แต่ตามมาตรา 1249 ก็ให้พึงถือว่าบริษัทโจทก์ยังคงตั้งอยู่ตราบเท่าเวลาที่จำเป็นเพื่อการชำระบัญชี และการชำระบัญชีของโจทก์อันเป็นบริษัทจำกัดซึ่งล้มละลายให้จัดทำไปตามบทกฎหมายลักษณะล้มละลายที่คงใช้อยู่ตามแต่จะทำได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1247 วรรคแรกซึ่ง พ.ร.บ. ล้มละลายฯ มาตรา 22, 24 และมาตรา 25 เป็นบทบัญญัติที่จำกัดอำนาจในการจัดการเกี่ยวกับทรัพย์สินหรือกิจการของลูกหนี้ซึ่งเป็นโจทก์คดีนี้แต่เฉพาะในทางแพ่งเท่านั้น หาได้รวมถึงการฟ้องร้องหรือต่อสู้คดีอาญาด้วยไม่ โดยการฟ้องร้องหรือต่อสู้คดีแพ่งที่กระทบต่อกองทรัพย์สินของลูกหนี้โดยตรงนั้นเป็นอำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวในการดำเนินการตามมาตรา 22 (3) สำหรับคดีนี้โจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีอาญาในข้อหาหรือฐานความผิดบุกรุกขอให้ลงโทษจำเลยในทางอาญาแต่เพียงอย่างเดียว มิได้มีคำขอบังคับในส่วนแพ่งให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายหรือขับไล่จำเลยออกจากที่ดินของโจทก์ กรณีจึงไม่ต้องด้วยมาตรา 22 (3) ดังกล่าวที่โจทก์จะต้องดำเนินการฟ้องร้องโดยเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ แต่เป็นกรณีที่โจทก์ซึ่งเป็นผู้เสียหายโดยกรรมการผู้มีอำนาจสามารถฟ้องร้องคดีอาญาได้เองตาม ป.วิ.อ. มาตรา 5 (3) ประกอบมาตรา 28 (2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6513/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการเป็นโจทก์ร่วมในคดี พ.ร.บ.อาหาร: ต้องเป็นผู้เสียหายโดยตรงเท่านั้น
ความผิดตาม พ.ร.บ.อาหาร พ.ศ. 2522 รัฐเท่านั้นที่เป็นผู้เสียหาย โจทก์ร่วมไม่ใช่ผู้เสียหายโดยนิตินัย แม้ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางอนุญาตให้โจทก์ร่วมที่ 1 เข้าร่วมเป็นโจทก์ ก็หมายถึงอนุญาตให้เข้าร่วมเป็นโจทก์เฉพาะข้อหาความผิดตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 เท่านั้น เมื่อคดีนี้ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษายกฟ้องในข้อหาความผิดตาม พ.ร.บ.อาหาร พ.ศ. 2522 และโจทก์ไม่ได้อุทธรณ์ ความผิดข้อหาดังกล่าวจึงเป็นอันยุติไปตามคำพิพากษาศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง โจทก์ร่วมที่ 1 ไม่มีสิทธิอุทธรณ์ในข้อหานี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6523/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ละเมิดลิขสิทธิ์โปรแกรมคอมพิวเตอร์: การกระทำความผิด การปรับบทลงโทษ และขอบเขตการลงโทษที่เหมาะสม
บริษัทจำเลยที่ 1 มีโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ทำซ้ำโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์และพร้อมที่จะคัดลอกหรือทำซ้ำติดตั้งลงในฮาร์ดดิสก์ของเครื่องคอมพิวเตอร์และส่งมอบให้ในวันที่ ฟ.ไปสุ่มซื้อได้ทันทีแม้การกระทำของฟ. จะเป็นการแสวงหาพยานหลักฐานเพื่อดำเนินคดีแก่ผู้ที่ละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์ แต่ก็ไม่เป็นการชักจูงใจหรือก่อให้ฝ่ายจำเลยกระทำความผิดคดีนี้ขึ้นมา เพราะจำเลยมีเจตนากระทำการอันละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์อยู่ก่อนแล้ว โจทก์จึงเป็นผู้เสียหายโดยนิตินัยมีอำนาจฟ้องจำเลยได้ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯ มาตรา 26 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(4) และมาตรา 28(2)
จำเลยที่ 1 เพียงแต่ติดตั้งโปรแกรมคอมพิวเตอร์โดยละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์ลงในเครื่องคอมพิวเตอร์ให้ ฟ. ไป ซึ่งเป็นการให้เปล่าโดยไม่คิดมูลค่า แต่คิดราคาเฉพาะตัวเครื่อง โดยพนักงานของจำเลยที่ 1 มิได้ขายหรือเสนอขายโปรแกรมคอมพิวเตอร์ของโจทก์ที่ไม่มีใบอนุญาตให้แก่ ฟ. แต่อย่างใด จำเลยที่ 1 และกรรมการผู้จัดการจำเลยที่ 2 จึงไม่มีความผิดตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ฯ มาตรา 31(1) คงมีความผิดตามมาตรา 31(3) ซึ่งเป็นการแจกจ่ายโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่นในลักษณะที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่เจ้าของลิขสิทธิ์เพื่อการค้าเท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4085/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ โจทก์จ้างนักสืบซื้อสินค้าเองแล้วฟ้องละเมิดลิขสิทธิ์ ศาลยกฟ้อง เพราะโจทก์มีส่วนเป็นผู้ก่อให้ผู้อื่นกระทำความผิด
เมื่อเกิดกรณีละเมิดลิขสิทธิ์ในโปรแกรมคอมพิวเตอร์ของโจทก์ โจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะดำเนินคดีแก่ผู้ทำละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์ได้ทั้งทางแพ่งและทางอาญา ซึ่งมีวิธีพิจารณาคดีและการชั่งน้ำหนักรับฟังพยานหลักฐานที่แตกต่างกัน เมื่อโจทก์เลือกดำเนินคดีอาญา จึงต้องนำ ป.วิ.อ. มาใช้บังคับโดยอนุโลม ดังนั้นนอกจากโจทก์จะต้องสืบพยานหลักฐานเพื่อพิสูจน์ให้ศาลเห็นโดยปราศจากเหตุอันควรสงสัยว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้กระทำความผิดจริงตามคำฟ้อง ยังต้องได้ความว่า โจทก์เป็นผู้เสียหายโดยนิตินัย ที่มีอำนาจฟ้องคดีอาญาได้อีกด้วย
เมื่อพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบยังฟังไม่ได้แน่ชัดว่าฝ่ายจำเลยมีเจตนากระทำความผิดอยู่ก่อนแล้ว และโจทก์เป็นผู้ว่าจ้างนาย ฟ. ไปทำการล่อซื้อ จึงเท่ากับว่าโจทก์มีส่วนเป็นผู้ก่อให้ผู้อื่นกระทำความผิดตามคำฟ้องขึ้นเอง โจทก์ย่อมไม่อยู่ในฐานะที่จะกล่าวอ้างว่าโจทก์เป็นผู้เสียหายโดยนิตินัยที่มีอำนาจฟ้องคดีนี้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9045/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทำร้ายร่างกายต่างกรรมต่างวาระ: ผู้เสียหายมีอำนาจฟ้อง แม้เกิดเหตุต่อเนื่องจากวิวาทก่อนหน้า
คดีนี้ ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าโจทก์ซึ่งเป็นหญิงสมัครใจเข้าวิวาทกับ ภ. ต่างคนต่างทำร้ายซึ่งกันและกันแต่พละกำลังโจทก์สู้ ภ. ไม่ได้ จึงล้มลงกับพื้นในลักษณะนอนหงาย จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นบุตรของ ภ. ตรงเข้าทำร้ายโจทก์โดยไม่ได้มีเหตุโกรธเคืองหรือทะเลาะวิวาทกับโจทก์มาก่อน แม้ว่าโจทก์และ ภ. จะถูกฟ้องดำเนินคดีทั้งสองคนและคดีเสร็จเด็ดขาดไปแล้ว แต่เมื่อการกระทำของจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์เป็นความผิดฐานทำร้ายร่างกาย โดยเป็นความผิดต่างกรรมต่างวาระกันกับ ภ. แม้จะเป็นเวลาใกล้เคียงต่อเนื่องกันก็ตาม พฤติการณ์แห่งคดีชี้ให้เห็นว่า จำเลยที่ 1 ฉวยโอกาสทำร้ายโจทก์ทั้งที่โจทก์ไม่มีทางสู้ โจทก์ไม่ได้สมัครใจเข้าทะเลาะวิวาทและกระทำผิดต่อจำเลยที่ 1 แต่อย่างใด ดังนั้นการที่จำเลยที่ 1 ทำร้ายร่างกายโจทก์ฝ่ายเดียว โจทก์จึงเป็นผู้เสียหายทั้งตามความเป็นจริงและตามกฎหมายมีอำนาจฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยที่ 1 ได้ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 2(4) , 28 (2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7488/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจโจทก์ร่วมในการอุทธรณ์คดีจราจร และการพิจารณาโทษฐานประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย
ศาลชั้นต้นอนุญาตให้ ส. มารดาของผู้ตาย และเป็นยายของเด็กชาย ก. ผู้ตาย เข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการเฉพาะความผิดตาม ป.อ. มาตรา 291 โจทก์ร่วมจึงไม่มีอำนาจอุทธรณ์ขอให้ลงโทษจำเลยสถานหนักและไม่รอการลงโทษในความผิดฐานหลบหนีไม่แจ้งเหตุตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 78 การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้โทษของจำเลยในความผิดฐานหลบหนีไม่แจ้งเหตุตามที่โจทก์ร่วมอุทธรณ์ จึงเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขเสียให้ถูกต้องโดยถือว่าโทษของจำเลยในความผิดฐานหลบหนีไม่แจ้งเหตุเป็นอันยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6744/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิฎีกาของโจทก์ร่วม: ข้อจำกัดเฉพาะในฐานะผู้เสียหายในข้อหาที่ตนมีส่วนได้เสีย
ศาลชั้นต้นอนุญาตให้ผู้เสียหายเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการหมายถึงอนุญาตให้เข้าร่วมเป็นโจทก์ได้เฉพาะในข้อหาที่โจทก์ร่วมเป็นผู้เสียหาย
ข้อหาตาม ป.อ. มาตรา 371 และความผิดต่อ พ.ร.บ.อาวุธปืนฯ รัฐเท่านั้นเป็นผู้เสียหาย โจทก์ร่วมมิใช่ผู้เสียหาย แม้ศาลชั้นต้นอนุญาตให้ผู้เสียหายเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการ โจทก์ร่วมก็ไม่มีสิทธิฎีกาในข้อหาดังกล่าวนี้
of 16