คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.อ. ม. 28 (2)

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 151 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5659/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปลอมลายมือชื่อในเอกสารสำคัญและการดำเนินคดีอาญา ความรับผิดของผู้ที่มอบหมายให้ผู้อื่นดำเนินการแทน
จำเลยเป็นผู้ปลอมลายมือชื่อของผู้เสียหายและโจทก์ร่วมแม้จำเลยจะมิได้นำเอกสารปลอมไปแสดงด้วยตนเอง แต่จำเลยมอบอำนาจให้ ส. ไปดำเนินการแทน โดย ส. ไม่ทราบว่าเป็นเอกสารปลอม การที่ ส. ไปดำเนินการยื่นเอกสารปลอมแทนจำเลย ก็มีผลเท่ากับจำเลยไปดำเนินการด้วยตนเอง
ตามฟ้องของโจทก์เป็นเรื่องจำเลยทำปลอมสัญญาหุ้นส่วนแก้ไขเพิ่มเติม แม้ทางพิจารณาจะได้ความว่ามีการทำปลอมมาตั้งแต่คำขอจดทะเบียนจัดตั้งห้างหุ้นส่วนจำกัด ก็ไม่มีผลถึงหรือทำให้การกระทำความผิดของจำเลยตามที่โจทก์ ฟ้องเปลี่ยนแปลงไป ข้อแตกต่างดังกล่าวมิใช่ข้อสาระสำคัญ ทั้งจำเลยมิได้หลงต่อสู้เพราะให้การปฏิเสธมาตลอดว่า ไม่ได้กระทำความผิด จึงไม่เป็นเหตุให้ศาลต้องพิพากษายกฟ้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสอง การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า ลายมือชื่อในคำขอจดทะเบียนจัดตั้งห้างหุ้นส่วนจำกัดเป็นลายมือชื่อปลอม จึงฟังไม่ได้ว่ามีการจดทะเบียนจัดตั้งห้างหุ้นส่วนจำกัด ศ. ข้อเท็จจริงดังกล่าวปรากฏตามทางนำสืบของโจทก์และโจทก์ร่วมอยู่แล้ว เพียงแต่ศาลชั้นต้น มิได้ยกขึ้นวินิจฉัย การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยปัญหานี้จึงมิใช่การหยิบยกข้อเท็จจริงที่มิได้ว่ากันมาแล้วแต่ในศาลชั้นต้นขึ้นวินิจฉัย
จำเลยปลอมลายมือชื่อของผู้เสียหายที่ 1 ที่ 3 และโจทก์ร่วมในสัญญาหุ้นส่วนแก้ไขเพิ่มเติมของห้างหุ้นส่วนจำกัด ศ. และยื่นจดทะเบียนแก้ไขถอนผู้เสียหายที่ 1 ที่ 3 และที่โจทก์ร่วมออกจากการเป็นหุ้นส่วน อันเป็นการ จำกัดสิทธิในห้างหุ้นส่วนดังกล่าว ผู้เสียหายที่ 1 ที่ 3 และโจทก์ร่วมเป็นผู้ที่ได้รับความเสียหายโดยตรงจากการกระทำของจำเลย โจทก์ร่วมจึงเป็นผู้เสียหาย
พนักงานอัยการโจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานปลอมเอกสารสิทธิ ใช้เอกสารสิทธิปลอม แจ้งให้เจ้าพนักงาน จดข้อความอันเป็นเท็จลงในเอกสารราชการและฉ้อโกงตาม ป.อ. มาตรา 341 ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลย เฉพาะความผิดฐานใช้เอกสารปลอมเพียงกระทงเดียว เท่ากับศาลชั้นต้นยกฟ้องโจทก์ในข้อหาความผิดฐานฉ้อโกง ซึ่งความผิดฐานนี้มีอัตราโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกพันบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ ความผิดฐานฉ้อโกง จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 193 ทวิ และโจทก์มิได้ยื่นอุทธรณ์ ความผิดฐานฉ้อโกงจึงยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น การที่ศาลอุทธรณ์หยิบยกความผิดฐานฉ้อโกงขึ้นวินิจฉัยและพิพากษายกฟ้อง ในความผิดฐานนี้จึงเป็นการไม่ชอบ ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 ประกอบด้วยมาตรา 225
เมื่อความผิดฐานฉ้อโกงยุติตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นแล้ว ฎีกาของโจทก์ร่วมในส่วนความผิดฐานฉ้อโกง จึงไม่จำต้องวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6873/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีอาญา: หนังสือมอบอำนาจไม่ถูกต้อง ทำให้โจทก์ขาดอำนาจฟ้อง
ในการฟ้องคดีอาญาของผู้เสียหาย ผู้เสียหายซึ่งเป็นโจทก์มีภาระการพิสูจน์ให้ศาลเห็นว่าอำนาจฟ้องของโจทก์เป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมาย
หนังสือมอบอำนาจให้ฟ้องคดีของโจทก์คงมีแต่ บ. ผู้ช่วยเลขานุการผู้มีอำนาจลงลายมือชื่อในนามของโจทก์ลงลายมือชื่อไว้ในเอกสารโดยมิได้มีการประทับตราสำคัญของโจทก์กำกับไว้ตามที่ระบุไว้ในหนังสือมอบอำนาจ จึงถือไม่ได้ว่า บ. ได้กระทำการโดยชอบในฐานะผู้แทนบริษัทโจทก์ซึ่งเป็นนิติบุคคล มีผลเท่ากับโจทก์มิได้ลงลายมือชื่อ ในหนังสือมอบอำนาจฟ้องคดีนี้ได้โดยชอบ ผู้รับมอบอำนาจจึงไม่มีอำนาจลงลายมือชื่อในใบแต่งทนายความแต่งตั้งทนายความฟ้องคดีนี้แทนโจทก์ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
โจทก์ยื่นสำเนาหนังสือมอบอำนาจฉบับใหม่ในชั้นฎีกาตามเอกสารท้ายฎีกาโดยฝ่ายจำเลยไม่มีโอกาสนำสืบหักล้าง จึงไม่อาจรับฟังได้
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งจำหน่ายคดีชั่วคราวสำหรับจำเลยบางคนที่หลบหนี ศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องโจทก์ โดยมิได้ระบุให้ชัดแจ้งว่ายกฟ้องจำเลยคนใด ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขเสียให้ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4301/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีละเมิดลิขสิทธิ์: โจทก์จ้างล่อซื้อ ทำให้ตนเองตกเป็นผู้ก่อให้ผู้อื่นกระทำผิด จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
เมื่อมีการละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์ โจทก์ย่อมมีสิทธิดำเนินคดีแก่ผู้ละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์ได้ทั้งทางแพ่งและทางอาญาซึ่งมีวิธีพิจารณาคดีและการรับฟังพยานหลักฐานที่แตกต่างกัน เมื่อโจทก์เลือกดำเนินคดีอาญาจึงต้องนำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาใช้บังคับโดยอนุโลมดังนี้ ในการที่ศาลจะลงโทษจำเลยตามคำฟ้องนั้น นอกจากโจทก์จะต้องนำสืบพยานหลักฐานเพื่อพิสูจน์ให้ศาลเห็นโดยปราศจากข้อสงสัยว่าจำเลยได้กระทำความผิดตามคำฟ้องแล้ว ยังต้องได้ความว่าโจทก์เป็นผู้เสียหายที่มีอำนาจฟ้องคดีอาญาได้ด้วย
จำเลยที่ 1 ไม่มีเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีการทำซ้ำบันทึกโปรแกรมคอมพิวเตอร์ลงในแผ่นบันทึกข้อมูลถาวรของเครื่องก่อนที่ ส. ซึ่งรับจ้างทำงานให้โจทก์จะไปล่อซื้อ แต่จะมีการประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์แล้วมีการทำซ้ำโปรแกรมคอมพิวเตอร์ในเครื่องคอมพิวเตอร์หลังจากที่ ส. ตกลงซื้อกับจำเลยที่ 3 แล้ว จำเลยที่ 3 ต้องการแถมโปรแกรมคอมพิวเตอร์ให้แก่ ส. ตามที่ได้ตกลงกันในวันที่ ส. ไปล่อซื้อ พนักงานของจำเลยที่ 1อาจนำแผ่นบันทึกข้อมูลถาวรเครื่องต้นแบบเข้ามาใช้เป็นต้นแบบบันทึกถ่ายโปรแกรมคอมพิวเตอร์ลงไปในแผ่นบันทึกข้อมูลถาวรของเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องที่ ส. ล่อซื้อในช่วงเวลาหลังจากที่จำเลยที่ 1 ประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์ที่โรงงานเสร็จและส่งไปที่สำนักงานจำเลยที่ 1 เพื่อรอส่งมอบแก่ลูกค้าที่สั่งซื้อตามเวลาที่นัดไว้ การทำซ้ำบันทึกโปรแกรมคอมพิวเตอร์ของโจทก์ลงในแผ่นบันทึกข้อมูลถาวรของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ ส. ล่อซื้อนั้นเป็นการทำซ้ำอันเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์หลังจากวันที่ ส. ไปล่อซื้อแล้วเพื่อมอบโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ทำซ้ำให้แก่ ส. มิใช่ทำซ้ำโดยผู้กระทำมีเจตนากระทำผิดอยู่แล้วก่อนการล่อซื้อ น่าเชื่อว่าการกระทำผิดดังกล่าวเกิดขึ้นเนื่องจากการล่อซื้อของ ส. ซึ่งได้รับจ้างให้ล่อซื้อจากโจทก์ เท่ากับโจทก์เป็นผู้ก่อให้ผู้อื่นกระทำผิดโจทก์ย่อมไม่อยู่ในฐานะเป็นผู้เสียหายโดยนิตินัยที่มีอำนาจฟ้องคดีนี้ได้
ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1205/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับรองบุตรนอกกฎหมายและอำนาจฟ้องของผู้สืบสันดาน รวมถึงความผิดฐานยักยอกและหน้าที่ผู้จัดการมรดก
แม้ตามสำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านกับสำเนาทะเบียนนักเรียนระบุว่า ล. เป็นบิดาโจทก์ ทั้งปรากฏว่าโจทก์ไม่เคยใช้นามสกุลของผู้ตายก็ตาม แต่การที่ผู้ตายรับโจทก์มาอยู่กับผู้ตายที่บ้านและจำเลยที่ 3 ระบุในบัญชีเครือญาติว่าโจทก์เป็นบุตรเจ้ามรดกต่างมารดาเท่ากับยอมรับว่าโจทก์เป็นบุตรของผู้ตาย เมื่อได้ความว่าผู้ตายได้อุปการะเลี้ยงดูและให้โจทก์เรียนตัดเย็บเสี้อผ้า ทั้งผู้ตายยังเป็นเจ้าภาพแต่งงานให้โจทก์ด้วย พฤติการณ์ดังกล่าวที่ผู้ตายแสดงต่อโจทก์ให้เป็นที่รู้กันทั่วไปว่าโจทก์เป็นบุตรนอกกฎหมายของผู้ตายที่ผู้ตายได้รับรองแล้ว โจทก์จึงเป็นผู้สืบสันดานเหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1627 โจทก์ย่อมเป็นผู้เสียหายและมีอำนาจฟ้องผู้จัดการมรดกตามคำสั่งศาลของผู้ตายได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 2 (4), 28 (2)
โจทก์มิได้บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้กระทำผิดในฐานที่เป็นผู้จัดการมรดกตามคำสั่งคดีสำหรับจำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงไม่มีมูลความผิดตาม ป.อ. มาตรา 354 ประกอบมาตรา 83 แต่มีมูลความผิดตามมาตรา 352 ประกอบมาตรา 83 และเมื่อคดีสำหรับจำเลยที่ 1 และที่ 2 มีมูลความผิดตามมาตรา 352, 83 แล้ว ในการกระทำอันเดียวกันนั้น ย่อมไม่มีมูลความผิดตามมาตรา 354 ประกอบ 86 อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1205/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับรองบุตรนอกกฎหมายเป็นทายาท และความผิดฐานยักยอกทรัพย์มรดก
แม้ตามสำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านกับสำเนาทะเบียน นักเรียนระบุว่า ล. เป็นบิดาโจทก์ ทั้งปรากฏว่าโจทก์ไม่เคยใช้นามสกุลของผู้ตายก็ตาม แต่การที่ผู้ตายรับโจทก์มาอยู่กับผู้ตายที่บ้านและจำเลยที่ 3 ระบุในบัญชีเครือญาติว่าโจทก์เป็นบุตรเจ้ามรดกต่างมารดาเท่ากับยอมรับว่าโจทก์เป็นบุตรของผู้ตาย เมื่อได้ความว่าผู้ตายได้อุปการะเลี้ยงดูและให้โจทก์เรียนตัดเย็บเสื้อผ้า ทั้งผู้ตายยังเป็นเจ้าภาพแต่งงานให้โจทก์ด้วย พฤติการณ์ดังกล่าวที่ผู้ตายแสดงต่อโจทก์ให้เป็นที่รู้กันทั่วไปว่าโจทก์เป็นบุตรนอกกฎหมายของผู้ตายที่ผู้ตายได้รับรองแล้ว โจทก์จึงเป็นผู้สืบสันดานเหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1627โจทก์ย่อมเป็นผู้เสียหายและมีอำนาจฟ้องผู้จัดการมรดกตามคำสั่งศาลของผู้ตายได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 2(4),28(2) หนังสือสัญญาพินัยกรรมระบุว่าผู้ตายเป็นผู้ออกเงินซื้อที่ดินตามฟ้องทั้ง 3 แปลง แต่ใส่ชื่อจำเลยที่ 1 และที่ 2แทน โดยมีจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 ลงลายมือชื่อในเอกสารดังกล่าว การที่จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 มิได้นำที่ดินทั้ง 3 แปลงไปเป็นมรดกของผู้ตายโดยมิได้ระบุในรายการทรัพย์สินและสิ่งปลูกสร้าง การกระทำของจำเลยดังกล่าวจึงมีมูลความผิดฐานยักยอก ส่วนผู้จัดการมรดกตามคำสั่งศาลชั้นต้นมิได้เป็นทายาทของผู้ตายและมิได้ลงลายมือชื่อในสัญญาพินัยกรรมด้วยเชื่อว่าที่ดินทั้ง 3 แปลงเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงมิได้นำมาระบุไว้เป็นทรัพย์มรดกของผู้ตาย ผู้จัดการมรดกตามคำสั่งศาลจึงไม่มีความผิดตามฟ้อง โจทก์มิได้บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 และที่ 2ได้กระทำผิดในฐานที่เป็นผู้จัดการมรดกตามคำสั่งศาลคดีสำหรับจำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงไม่มีมูลความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 354 ประกอบมาตรา 83 แต่มีมูลความผิดตามมาตรา 352 ประกอบมาตรา 83 และเมื่อคดีสำหรับจำเลยที่ 1 และที่ 2 มีมูลความผิดตามมาตรา 352,83แล้ว ในการกระทำอันเดียวกันนั้น ย่อมไม่มีมูลความผิดตามมาตรา 354 ประกอบ 86 อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 313/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานยักยอก, แจ้งความเท็จ, และการเรียงกระทงลงโทษในคดีอาญา
++ เรื่อง ยักยอก ฉ้อโกง ความผิดต่อเจ้าพนักงาน ++
ในกรณีที่ผู้จัดการหรือผู้แทนของนิติบุคคลที่กฎหมายบัญญัติให้เป็นผู้มีอำนาจฟ้องคดีแทนนิติบุคคลเป็นผู้กระทำความผิดทางอาญาต่อนิติบุคคลเสียเองนั้นผู้แทนของนิติบุคคลซึ่งเป็นผู้กระทำความผิดย่อมไม่จัดการแทนนิติบุคคลโดยฟ้องร้องกล่าวหาตนเองต่อศาล ผู้เป็นหุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้นของนิติบุคคลนั้นย่อมได้รับความเสียหายจากการกระทำความผิด และ ป.พ.พ.มาตรา 1169 บัญญัติให้ผู้ถือหุ้นฟ้องคดีได้หากกรรมการทำให้เกิดความเสียหายต่อบริษัทและบริษัทไม่ฟ้องคดี ดังนี้จึงถือได้ว่าผู้ถือหุ้นในบริษัท พ.เป็นผู้เสียหาย ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 2(4) มีอำนาจฟ้องคดีได้ตามมาตรา 28(2) โจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นบริษัทดังกล่าวจึงเป็นผู้เสียหายมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งหกในความผิดฐานยักยอก
จำเลยที่ 1 และที่ 2 ในฐานะกรรมการบริษัท พ.ร่วมกันทำรายงานการประชุมของบริษัท พ.ว่า โจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นกรรมการบริษัทไม่ได้นำเงินมาให้บริษัทกู้ยืมตามสัดส่วนที่ถือหุ้นเพื่อชำระราคาที่ดินเป็นเหตุให้จำเลยที่ 1 และที่ 2ต้องหาเงินมาให้บริษัทกู้ยืมแทน และที่ดินพิพาทไม่เป็นประโยชน์แก่บริษัทจึงเห็นสมควรขายให้จำเลยที่ 3 ในราคา 21,000,000 บาท อันเป็นความเท็จ การที่จำเลยที่ 2ทำหนังสือมอบอำนาจให้จำเลยที่ 1 ไปจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 3โดยไม่มีการซื้อขายกันจริง เป็นเหตุให้โจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นของบริษัท พ.ได้รับความเสียหาย ทั้งนี้จำเลยที่ 3 โดยจำเลยที่ 4 ได้ทำรายงานการประชุมมีข้อความว่าได้ติดต่อซื้อที่ดินพิพาทจากบริษัท พ. ซึ่งเป็นข้อความเท็จ การกระทำของจำเลยที่ 3 จึงเป็นการยักยอกทรัพย์ของบริษัท พ.
ในวันที่จดทะเบียนโอนที่ดินพิพาท บริษัท พ.ได้มอบอำนาจให้จำเลยที่ 1 ทำการขายที่ดินพิพาทตลอดจนให้ถ้อยคำต่าง ๆ ต่อเจ้าพนักงานที่ดิน ผู้ซื้อที่ดินพิพาทคือจำเลยที่ 3 โดยจำเลยที่ 4 ซึ่งเป็นกรรมการผู้มีอำนาจ แต่เนื่องจากคู่สัญญาต่างเป็นนิติบุคคลจึงต้องแสดงหนังสือรับรองการจดทะเบียนต่อเจ้าพนักงานที่ดินด้วยเพื่อตรวจสอบอำนาจของกรรมการของนิติบุคคลนั้น และคู่สัญญาต้องส่งรายงานการประชุมของนิติบุคคลดังกล่าวต่อเจ้าพนักงานที่ดินเพื่อตรวจสอบเจตนาและวัตถุประสงค์ของคู่สัญญาด้วย ข้อเท็จจริงรับฟังว่ารายงานการประชุมของบริษัท พ.เป็นเอกสารเท็จ และไม่มีการซื้อขายที่ดินพิพาทกันจริง ดังนั้นการที่จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 3 โดยจำเลยที่ 4 ให้ถ้อยคำดังกล่าวต่อเจ้าพนักงานที่ดินจึงเป็นการแจ้งข้อความเท็จแก่เจ้าพนักงานและแจ้งให้เจ้าพนักงานผู้กระทำการตามหน้าที่จดแจ้งข้อความอันเป็นเท็จลงในเอกสารราชการซึ่งมีวัตถุประสงค์สำหรับใช้เป็นพยานหลักฐานในการซื้อขาย โดยประการที่ทำให้โจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นในบริษัท พ.ได้รับความเสียหาย การกระทำของจำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 4 เป็นความผิดฐานแจ้งความเท็จและแจ้งให้เจ้าพนักงานผู้กระทำการตามหน้าที่จดแจ้งข้อความอันเป็นเท็จลงในเอกสารราชการ
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยที่ 3 มีความผิดฐานยักยอก ฐานแจ้งให้เจ้าพนักงานผู้กระทำการตามหน้าที่จดแจ้งข้อความอันเป็นเท็จลงในเอกสารราชการและฐานแจ้งความเท็จต่อเจ้าพนักงาน และเห็นว่าความผิดฐานแจ้งความเท็จต่อเจ้าพนักงานและแจ้งให้เจ้าพนักงานจดข้อความอันเป็นเท็จลงในเอกสารราชการเป็นกรรมเดียว แต่เป็นคนละกรรมกับความผิดฐานยักยอก และเรียงกระทงลงโทษเมื่อศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า การกระทำของจำเลยที่ 3 เป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท ซึ่งแต่ละบทมีอัตราโทษเท่ากัน ให้ลงโทษจำเลยที่ 3 ในความผิดฐานยักยอกเพียงบทเดียวจึงชอบแล้ว แต่ที่ศาลอุทธรณ์ไม่ได้พิพากษาแก้โทษของจำเลยที่ 3ที่ศาลชั้นต้นเรียงกระทงลงโทษมา กลับพิพากษายืนตามศาลชั้นต้นจึงเป็นการไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6060/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเล่นแชร์: ความผิดนิติบุคคล vs. บุคคลธรรมดา, สิทธิฟ้องร้องสมาชิกวงแชร์
การเล่นแชร์ พ.ศ. 2534 มาตรา 5 และ มาตรา 7 ได้แยกการกระทำของนิติบุคคลและ บุคคลธรรมดาในการเป็นนายวงแชร์หรือจัดให้มีการเล่นแชร์ ที่จะเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติดังกล่าวไว้ต่างหากจากกัน ทั้งได้บัญญัติให้สิทธิแก่สมาชิกวงแชร์ในการเรียกร้อง เอากับนายวงแชร์หรือผู้จัดให้มีการเล่นแชร์เฉพาะบุคคลธรรมดา ที่เป็นนายวงแชร์หรือผู้จัดให้มีการเล่นแชร์เท่านั้น แต่กรณีนายวงแชร์หรือผู้จัดให้มีการเล่นแชร์เป็นนิติบุคคล แล้วกฎหมายมิได้ให้สิทธิแก่สมาชิกวงแชร์แต่อย่างใด และตามบัญญัติมาตรา 7 หาได้จำกัดให้สมาชิกวงแชร์ ฟ้องได้เฉพาะคดีแพ่งไม่ เมื่อพระราชบัญญัติการเล่นแชร์ มีบทบัญญัติความผิดและกำหนดโทษไว้เป็นความผิดทางอาญาด้วย สมาชิกวงแชร์ย่อมมีสิทธิฟ้องบุคคลธรรมดา ที่เป็นนายวงแชร์หรือผู้จัดให้มีการเล่นแชร์ที่กระทำการ ตามมาตรา 6 เป็นคดีอาญาได้ จำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคล เมื่อตามคำฟ้องปรากฏว่าโจทก์ ได้ร่วมเล่นแชร์ที่จำเลยที่ 1 จัดขึ้นย่อมถือว่ามีส่วนร่วม ในการกระทำผิดกับจำเลยที่ 1 ซึ่งต้องห้ามตาม พระราชบัญญัติการเล่นแชร์ พ.ศ. 2534 มาตรา 5โจทก์ย่อมมิใช่ผู้เสียหายที่จะฟ้องจำเลยที่ 1 ว่ากระทำความผิดตามมาตรา 5 ซึ่งมีโทษตามมาตรา 16 ได้ ส่วนจำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นบุคคลธรรมดากรณีต้องด้วยมาตรา 6 และ 7 โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 และที่ 3 ให้รับผิดตามมาตรา 6 ซึ่งมีโทษตามมาตรา 17 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6060/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิด พ.ร.บ.เล่นแชร์: สิทธิฟ้องร้องของสมาชิกวงแชร์ต่อบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล
การเล่นแชร์ พ.ศ.2534 มาตรา 5 และมาตรา 7 ได้แยกการกระทำของนิติบุคคลและบุคคลธรรมดาในการเป็นนายวงแชร์หรือจัดให้มีการเล่นแชร์ที่จะเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ดังกล่าวไว้ต่างหากจากกัน ทั้งได้บัญญัติให้สิทธิแก่สมาชิกวงแชร์ในการเรียกร้องเอากับนายวงแชร์หรือผู้จัดให้มีการเล่นแชร์เฉพาะบุคคลธรรมดาที่เป็นนายวงแชร์หรือผู้จัดให้มีการเล่นแชร์เท่านั้น แต่กรณีนายวงแชร์หรือผู้จัดให้มีการเล่นแชร์เป็นนิติบุคคลแล้วกฎหมายมิได้ให้สิทธิแก่สมาชิกวงแชร์แต่อย่างใด และตามบัญญัติมาตรา 7 หาได้จำกัดให้สมาชิกวงแชร์ฟ้องได้เฉพาะคดีแพ่งไม่ เมื่อ พ.ร.บ.การเล่นแชร์มีบทบัญญัติความผิดและกำหนดโทษไว้เป็นความผิดทางอาญาด้วย สมาชิกวงแชร์ย่อมมีสิทธิฟ้องบุคคลธรรมดาที่เป็นนายวงแชร์หรือผู้จัดให้มีการเล่นแชร์ที่กระทำการตามมาตรา 6 เป็นคดีอาญาได้
จำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคล เมื่อตามคำฟ้องปรากฏว่าโจทก์ได้ร่วมเล่นแชร์ที่จำเลยที่ 1 จัดขึ้นย่อมถือว่ามีส่วนร่วมในการกระทำผิดกับจำเลยที่ 1 ซึ่งต้องห้ามตาม พ.ร.บ.การเล่นแชร์ พ.ศ.2534 มาตรา 5 โจทก์ย่อมมิใช่ผู้เสียหายที่จะฟ้องจำเลยที่ 1 ว่ากระทำความผิดตามมาตรา 5 ซึ่งมีโทษตามมาตรา 16 ได้
ส่วนจำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นบุคคลธรรมดา กรณีต้องด้วยมาตรา 6 และ 7 โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 และที่ 3 ให้รับผิดตามมาตรา 6ซึ่งมีโทษตามมาตรา 17 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 533/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานนำสืบพยานเท็จในคดีแพ่ง โจทก์เป็นผู้เสียหายและมีอำนาจฟ้อง
ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของจำเลยที่ 1 และที่ 2 เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายว่าโจทก์เป็นผู้เสียหายในความผิดฐานนำสืบหรือแสดงพยานหลักฐานอันเป็นเท็จในการพิจารณาคดีตาม ป.อ.มาตรา 180 หรือไม่ ความผิดฐานดังกล่าวโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 เท่านั้น มิได้ฟ้องจำเลยที่ 2 ด้วย ดังนั้น ที่ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ข้อนี้จึงมีผลเป็นการสั่งรับเฉพาะฎีกาของจำเลยที่ 1เท่านั้น
การที่จำเลยเบิกความเป็นพยานในคดีแพ่งที่จำเลยเป็นโจทก์ฟ้องโจทก์เป็นจำเลยต่อศาลชั้นต้นว่าโจทก์ผิดสัญญาซื้อขาย ขอให้บังคับโจทก์จดทะเบียนโอนที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) เลขที่ 1531ให้แก่จำเลย และจำเลยอ้างส่งสัญญาซื้อขายต่อศาลชั้นต้นในคดีแพ่งดังกล่าวนั้นแม้จำเลยอ้างว่าการเบิกความเป็นพยานและการส่งสัญญาซื้อขายดังกล่าว จำเลยกระทำต่อศาลชั้นต้น มิใช่กระทำต่อโจทก์ก็ตาม แต่คดีแพ่งดังกล่าวโจทก์ถูกจำเลยฟ้องโจทก์จึงเป็นคู่ความในคดีด้วย และสัญญาซื้อขายตามที่จำเลยอ้างส่งก็เป็นเรื่องเกี่ยวข้องกับโจทก์ การที่จำเลยนำสืบหรือแสดงพยานหลักฐานดังกล่าวย่อมมีผลกระทบต่อสิทธิหรือส่วนได้เสียของโจทก์โดยตรงเช่นนี้ โจทก์ย่อมได้รับความเสียหายเนื่องจากการกระทำของจำเลยในความผิดฐานนำสืบหรือแสดงพยานหลักฐานอันเป็นเท็จในการพิจารณาคดี เพราะอาจมีผลให้โจทก์ถูกบังคับคดีในคดีแพ่งดังกล่าว โจทก์จึงเป็นผู้เสียหาย และมีอำนาจฟ้องจำเลยตาม ป.วิ.อ.มาตรา 2 (4) และมาตรา 28 (2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4126/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีบุกรุกขึ้นอยู่กับสถานะการครอบครองที่ดิน หากหมดอำนาจครอบครองแล้ว จะไม่มีอำนาจฟ้อง
ในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกาคดีนี้ ได้ความจากเอกสารของทางราชการที่มีเจ้าหน้าที่รับรองความถูกต้องซึ่งจำเลยที่ 1 ได้ยื่นต่อศาลว่าคดีเดิมศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้โจทก์ร่วมคดีนี้ออกจากที่พิพาท เมื่อข้อเท็จจริงฟังเป็นยุติว่าโจทก์ร่วมไม่มีอำนาจครอบครองทำประโยชน์ในที่พิพาท โจทก์ร่วมจึงไม่ใช่ผู้เสียหายที่จะมีอำนาจร้องทุกข์ว่าจำเลยที่ 1 ทำผิดฐานบุกรุก โจทก์และโจทก์ร่วมจึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 เป็นคดีนี้
of 16