พบผลลัพธ์ทั้งหมด 151 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 804/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีเลือกตั้ง: ผู้สมัครยังไม่ได้สมัคร จึงไม่ใช่ผู้เสียหาย
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกระทำความผิดตามพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรฯระหว่างวันที่17มกราคม2535ถึงวันที่7กุมภาพันธ์2535แต่ในระยะเวลาดังกล่าวโจทก์ยังไม่ได้สมัครรับเลือกตั้งจึงไม่เป็นผู้เสียหายตามป.วิ.อ.มาตรา2(4)และพระราชบัญญัติ การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรฯมาตรา93จัตวาและไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2324/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีเลือกตั้ง: ผู้สมัครต้องมีสถานะ ณ เวลาเกิดเหตุ
ตามคำฟ้องโจทก์เพิ่งสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2535 แต่เหตุคดีนี้เกิดเมื่อวันที่19 มกราคม 2535 ดังนั้นขณะเกิดเหตุโจทก์จึงไม่มีฐานะเป็นผู้สมัครรับเลือกตั้งจึงไม่เป็นผู้เสียหายตามความใน พระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2522 มาตรา 93 จัตวาซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2535 มาตรา 22 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องคดีนี้ ปัญหาเกี่ยวกับอำนาจฟ้องคดีอาญาของโจทก์ เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2324/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีอาญา: ผู้สมัคร ส.ส. ต้องมีฐานะเป็นผู้สมัคร ณ เวลาเกิดเหตุ
ตามคำฟ้องโจทก์เพิ่งสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2535 แต่เหตุคดีนี้เกิดเมื่อวันที่ 19 มกราคม 2535 ดังนั้นขณะเกิดเหตุโจทก์จึงไม่มีฐานะเป็นผู้สมัครรับเลือกตั้งจึงไม่เป็นผู้เสียหายตามความในพ.ร.บ.การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ.2522 มาตรา 93 จัตวา ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2535มาตรา 22 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องคดีนี้
ปัญหาเกี่ยวกับอำนาจฟ้องคดีอาญาของโจทก์ เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้
ปัญหาเกี่ยวกับอำนาจฟ้องคดีอาญาของโจทก์ เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 497/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจ้างวานเบิกความเท็จทำให้เสียกรรมสิทธิ์ ผู้เสียหายมีอำนาจฟ้องและฟ้องชอบด้วยกฎหมาย
จำเลยเป็นผู้ใช้ให้ พ. ไปร้องขอแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดินและเบิกความเท็จต่อศาลชั้นต้นในคดีแพ่ง จนศาลชั้นต้นเชื่อและมีคำสั่งให้ พ. ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินโจทก์ทั้งสามในฐานะเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ร่วมกับจำเลยย่อมได้รับผลกระทบกระเทือนเสื่อมเสียกรรมสิทธิ์ในที่ดิน จึงเป็นผู้ได้รับความเสียหายจากการกระทำผิดของจำเลยโดยตรง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(4)และมีอำนาจฟ้องจำเลยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 28(2) โจทก์ทั้งสามฟ้องจำเลยเป็นผู้จ้างวานใช้ให้ พ. ไปยื่นคำร้องและเบิกความเท็จตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 84 ประกอบด้วยมาตรา 177 มิได้ฟ้องจำเลยว่าเป็นผู้เบิกความเท็จ จึงไม่จำเป็นต้องบรรยายฟ้องถึงข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 177 เมื่อฟ้องของโจทก์ทั้งสามได้บรรยายถึงการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำความผิดฐานะเป็นผู้ใช้พอสมควรที่จำเลยจะเข้าใจข้อหาได้ดี ฟ้องของโจทก์ทั้งสามจึงชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 497/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้ผู้อื่นเบิกความเท็จและผลกระทบต่อกรรมสิทธิ์: อำนาจฟ้องและฟ้องชอบด้วยกฎหมาย
จำเลยเป็นผู้ใช้ให้ พ. ไปร้องขอแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดินและเบิกความเท็จต่อศาลชั้นต้นในคดีแพ่ง จนศาลชั้นต้นเชื่อและมีคำสั่งให้ พ.ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินโจทก์ทั้งสามในฐานะเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ร่วมกับจำเลยย่อมได้รับผลกระทบ-กระเทือนเสื่อมเสียกรรมสิทธิ์ในที่ดิน จึงเป็นผู้ได้รับความเสียหายจากการกระทำผิดของจำเลยโดยตรง ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 2 (4) และมีอำนาจฟ้องจำเลยตามป.วิ.อ. มาตรา 28 (2)
โจทก์ทั้งสามฟ้องจำเลยเป็นผู้จ้างวานใช้ให้ พ.ไปยื่นคำร้องและเบิกความเท็จตาม ป.อ. มาตรา 84 ประกอบด้วยมาตรา 177 มิได้ฟ้องจำเลยว่าเป็นผู้เบิกความเท็จ จึงไม่จำเป็นต้องบรรยายฟ้องถึงข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบความผิดตาม ป.อ.มาตรา 177 เมื่อฟ้องของโจทก์ทั้งสามได้บรรยายถึงการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำความผิดฐานะเป็นผู้ใช้ พอสมควรที่จำเลยจะเข้าใจข้อหาได้ดี ฟ้องของโจทก์ทั้งสามจึงชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5)
โจทก์ทั้งสามฟ้องจำเลยเป็นผู้จ้างวานใช้ให้ พ.ไปยื่นคำร้องและเบิกความเท็จตาม ป.อ. มาตรา 84 ประกอบด้วยมาตรา 177 มิได้ฟ้องจำเลยว่าเป็นผู้เบิกความเท็จ จึงไม่จำเป็นต้องบรรยายฟ้องถึงข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบความผิดตาม ป.อ.มาตรา 177 เมื่อฟ้องของโจทก์ทั้งสามได้บรรยายถึงการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำความผิดฐานะเป็นผู้ใช้ พอสมควรที่จำเลยจะเข้าใจข้อหาได้ดี ฟ้องของโจทก์ทั้งสามจึงชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2374/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจ้างวานเบิกความเท็จทำให้เสียกรรมสิทธิ์ในที่ดิน โจทก์เป็นผู้เสียหายมีอำนาจฟ้อง
จำเลยที่ 5 ได้จ้างวานให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 4เบิกความอันเป็นเท็จ และจำเลยดังกล่าวได้เบิกความอันเป็นเท็จในการพิจารณาคดีแพ่งของศาลชั้นต้น เป็นเหตุให้โจทก์ต้องเสียกรรมสิทธิ์ในที่ดินไปโดยตรง โจทก์จึงเป็นบุคคลผู้ได้รับความเสียหายเนื่องจากการกระทำของจำเลยที่ 5และคำเบิกความเท็จของจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 โจทก์ย่อมเป็น ผู้เสียหายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(4) และมีอำนาจฟ้องจำเลยดังกล่าวได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 28(2) โดยไม่จำต้องคำนึงว่าโจทก์ต้องเป็นคู่ความในคดีที่จำเลยที่ 1 ที่ 2และที่ 4 เบิกความเท็จนั้นหรือไม่ ฟ้องโจทก์บรรยายถึงคดีที่จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 4เบิกความอันเป็นเท็จ ทำให้ศาลเชื่อว่าจำเลยที่ 1ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินของโจทก์โดยการครอบครองปรปักษ์จริงจึงมีคำสั่งให้จำเลยที่ 1 ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินดังกล่าวและการกระทำของจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 เกิดจากจำเลยที่ 5เป็นผู้จ้างวานหรือใช้ให้ยื่นคำร้องและเบิกความอันเป็นเท็จต่อศาล ฟ้องโจทก์ดังกล่าวได้บรรยายถึงการกระทำที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำผิดพอสมควรเท่าที่จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีแล้วเป็นฟ้องที่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 158(5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2374/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องดำเนินคดีอาญาจากความเสียหายจากการเบิกความเท็จในคดีแพ่ง โดยไม่จำต้องเป็นคู่ความ
จำเลยที่ 5 ได้จ้างวานให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 เบิกความอันเป็นเท็จ และจำเลยดังกล่าวได้เบิกความอันเป็นเท็จในการพิจารณาคดีแพ่งของศาลชั้นต้น เป็นเหตุให้โจทก์ต้องเสียกรรมสิทธิ์ในที่ดินไปโดยตรง โจทก์จึงเป็นบุคคลผู้ได้รับความเสียหายเนื่องจากการกระทำของจำเลยที่ 5 และคำเบิกความเท็จของจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 โจทก์ย่อมเป็นผู้เสียหายตาม ป.วิ.อ. มาตรา 2 (4)และมีอำนาจฟ้องจำเลยดังกล่าวได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 28 (2) โดยไม่จำต้องคำนึงว่าโจทก์ต้องเป็นคู่ความในคดีที่จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 เบิกความเท็จนั้นหรือไม่
ฟ้องโจทก์บรรยายถึงคดีที่จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 เบิกความอันเป็นเท็จ ทำให้ศาลเชื่อว่าจำเลยที่ 1 ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินของโจทก์โดยการครอบครองปรปักษ์จริง จึงมีคำสั่งให้จำเลยที่ 1 ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินดังกล่าว และการกระทำของจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 เกิดจากจำเลยที่ 5 เป็นผู้จ้างวานหรือใช้ให้ยื่นคำร้องและเบิกความอันเป็นเท็จต่อศาล ฟ้องโจทก์ดังกล่าวได้บรรยายถึงการกระทำที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำผิดพอสมควรเท่าที่จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีแล้วเป็นฟ้องที่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5)
ฟ้องโจทก์บรรยายถึงคดีที่จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 เบิกความอันเป็นเท็จ ทำให้ศาลเชื่อว่าจำเลยที่ 1 ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินของโจทก์โดยการครอบครองปรปักษ์จริง จึงมีคำสั่งให้จำเลยที่ 1 ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินดังกล่าว และการกระทำของจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 เกิดจากจำเลยที่ 5 เป็นผู้จ้างวานหรือใช้ให้ยื่นคำร้องและเบิกความอันเป็นเท็จต่อศาล ฟ้องโจทก์ดังกล่าวได้บรรยายถึงการกระทำที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำผิดพอสมควรเท่าที่จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีแล้วเป็นฟ้องที่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1533/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิลิขสิทธิ์ที่มิชอบ ผู้รับอนุญาตไม่มีอำนาจโอนสิทธิแก่ผู้อื่น ทำให้ผู้รับโอนไม่มีสิทธิในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์
เอกสารสัญญามีข้อความระบุว่า บริษัท ด. ตกลงอนุญาตให้บริษัทฟ. แต่ผู้เดียวเป็นผู้มีสิทธิเสนอฉายภาพยนตร์พิพาทในประเทศไทย มีกำหนดเวลา 5 ปี เมื่อหมดสัญญาผู้รับอนุญาตจะต้องส่งคืนก๊อบปี้ ภาพยนตร์พิพาทแก่ผู้อนุญาตหรือทำลายพร้อมแสดงหลักฐานการทำลาย ดังนี้ สัญญาดังกล่าวจึงเป็นสัญญาที่บริษัทด.เจ้าของลิขสิทธิ์ภาพยนตร์พิพาทอนุญาตให้บริษัทฟ.ใช้ลิขสิทธิ์ภาพยนตร์พิพาทชั่วในระยะเวลาหนึ่งและเฉพาะในเขตพื้นที่ตามที่กำหนดในสัญญาเท่านั้นบริษัทด.ยังเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในภาพยนตร์พิพาทอยู่ซึ่งบริษัทด.อาจอนุญาตให้ผู้อื่นใดใช้ลิขสิทธิ์ภาพยนตร์พิพาทในอาณาเขตประเทศอื่นได้ ดังนั้น การที่บริษัทฟ. ได้ทำหนังสือรับรองลิขสิทธิ์ภาพยนตร์พิพาทว่าได้โอนขายสิทธิ์ในภาพยนตร์ นั้นให้แก่บริษัทก.และต่อมาบริษัทก.ได้ทำหนังสือสัญญาให้โจทก์ร่วมเช่าฟิล์มภาพยนตร์พิพาทอีกทอดหนึ่ง คงทำให้โจทก์ร่วมได้สิทธิในภาพยนตร์พิพาทเพียงเท่าที่บริษัทฟ.มีอยู่ เท่านั้น เมื่อบริษัทฟ.เป็นเพียงผู้รับอนุญาตให้ใช้ลิขสิทธิ์ มิได้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ โจทก์ร่วมจึงไม่มีสิทธิดีกว่าสิทธิของบริษัทฟ.ที่มีอยู่แม้บริษัทด.ได้ทำใบรับรองลิขสิทธิ์ว่า ได้โอนขายลิขสิทธิ์ในภาพยนตร์พิพาทให้แก่บริษัทก.และเมื่อวันทำสัญญาเช่าดังกล่าวบริษัทก.ได้ทำหนังสือมอบหรือโอนลิขสิทธิ์ให้แก่โจทก์ร่วมด้วยก็ตาม แต่ใบรับรองการโอนลิขสิทธิ์ระหว่างบริษัทด.กับบริษัทก.ทำขึ้นภายหลังหนังสือโอนลิขสิทธิ์ระหว่างบริษัทก.กับโจทก์ร่วม ดังนั้น ที่บริษัทก. ออกหนังสือมอบหรือโอนลิขสิทธิ์ให้โจทก์ร่วมจึงไม่มีผลให้โจทก์ร่วมเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในภาพยนตร์ พิพาทแต่อย่างใด เพราะขณะโอนบริษัทดังกล่าวยังมิได้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในภาพยนตร์นั้นถือไม่ได้ว่าโจทก์ร่วมมีลิขสิทธิ์ในภาพยนตร์ พิพาท โจทก์ร่วมจึงไม่ใช่ผู้เสียหาย ไม่มีอำนาจร้องทุกข์ โจทก์และโจทก์ร่วมไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1533/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนลิขสิทธิ์ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย และผลกระทบต่อสิทธิของผู้รับโอนสิทธิ
เอกสารสัญญามีข้อความระบุว่า บริษัท ด. ตกลงอนุญาตให้บริษัท ฟ. แต่ผู้เดียวเป็นผู้มีสิทธิเสนอฉายภาพยนตร์พิพาทในประเทศไทย มีกำหนดเวลา 5 ปี เมื่อหมดสัญญาผู้รับอนุญาตจะต้องส่งคืนก๊อบบี้ภาพยนตร์พิพาทแก่ผู้อนุญาตหรือทำลายพร้อมแสดงหลักฐานการทำลาย ดังนี้ สัญญาดังกล่าวจึงเป็นสัญญาที่บริษัท ด. เจ้าของลิขสิทธิ์ภาพยนตร์พิพาทอนุญาตให้บริษัท ฟ. ใช้ลิขสิทธิ์ภาพยนตร์พิพาทชั่วในระยะเวลาหนึ่งและเฉพาะในเขตพื้นที่ตามที่กำหนดในสัญญาเท่านั้นบริษัท ด. ยังเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในภาพยนตร์พิพาทอยู่ ซึ่งบริษัท ด. อาจอนุญาตให้ผู้อื่นใดใช้ลิขสิทธิ์ภาพยนตร์พิพาทในอาณาเขตประเทศอื่นได้ ดังนั้น การที่บริษัท ฟ. ได้ทำหนังสือรับรองลิขสิทธิ์ภาพยนตร์พิพาทว่าได้โอนขายลิขสิทธิ์ในภาพยนตร์นั้นให้แก่บริษัท ก. และต่อมาบริษัท ก. ได้ทำหนังสือสัญญาให้โจทก์ร่วมเช่าฟิล๎มภาพยนตร์พิพาทอีกทอดหนึ่ง คงทำให้โจทก์ร่วมได้สิทธิในภาพยนตร์พิพาทเพียงเท่าที่บริษัท ฟ. มีอยู่เท่านั้น เมื่อบริษัท ฟ. เป็นเพียงผู้รับอนุญาตให้ใช้ลิขสิทธิ์ มิได้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ โจทก์ร่วมจึงไม่มีสิทธิดีกว่าสิทธิของบริษัท ฟ.ที่มีอยู่ แม้บริษัท ด. ได้ทำใบรับรองลิขสิทธิ์ว่า ได้โอนขายลิขสิทธิ์ในภาพยนตร์พิพาทให้แก่บริษัท ก. และเมื่อวันทำสัญญาเช่าดังกล่าวบริษัท ก. ได้ทำหนังสือมอบหรือโอนลิขสิทธิ์ให้แก่โจทก์ร่วมด้วยก็ตาม แต่ใบรับรองการโอนลิขสิทธิ์ทำขึ้นภายหลังหนังสือโอนลิขสิทธิ์ ดังนั้น ที่บริษัท ก. ออกหนังสือมอบหรือโอนลิขสิทธิ์ให้โจทก์ร่วมจึงไม่มีผลให้โจทก์ร่วมเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในภาพยนตร์พิพาทแต่อย่างใดเพราะขณะโอนบริษัทดังกล่าวยังมิได้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในภาพยนตร์นั้น ถือไม่ได้ว่าโจทก์ร่วมมีลิขสิทธิ์ในภาพยนตร์พิพาท โจทก์ร่วมจึงไม่ใช่ผู้เสียหาย ไม่มีอำนาจร้องทุกข์ โจทก์และโจทก์ร่วมไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2714/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การมอบเงินเพื่อฝากความหวังในการบรรจุงานราชการ ไม่ถือเป็นความร่วมมือในการให้สินบน
จำเลยกับพวกเรียกเงินจากผู้เสียหายโดยบอกว่าจะนำไปมอบให้พลตำรวจโทส. เป็นค่าตอบแทนในการที่จะให้บุตรชายของผู้เสียหายบรรจุเข้าเป็นนายตำรวจโดยไม่ต้องสอบ จะบรรจุเป็นการภายในเงินค่าตอบแทนดังกล่าวเป็นค่าตอบแทนอะไรผู้เสียหายไม่ทราบเป็นเรื่องที่ฝ่ายจำเลยจะนำไปจัดการ ต่อมาบุตรชายผู้เสียหายไม่ได้เข้ารับราชการกรมตำรวจ ดังนี้ การที่ผู้เสียหายมอบเงินให้จำเลยไปตามที่จำเลยกับพวกเรียกจากผู้เสียหายในลักษณะดังกล่าวเป็นเรื่องยังไม่แน่ชัดว่าผู้เสียหายให้เงินไปเพื่อให้จำเลยกับพวกนำไปให้เจ้าพนักงานเพื่อจูงใจให้กระทำการใด ๆ โดยวิธีอันทุจริตหรือผิดกฎหมาย หรือโดยอิทธิพลของจำเลยกับพวกให้กระทำการหรือไม่กระทำการในหน้าที่อันเป็นคุณแก่บุตรชายผู้เสียหาย จึงถือไม่ได้ว่าผู้เสียหายได้ร่วมกับจำเลยและพวกนำสินบนไปให้แก่เจ้าพนักงานเพื่อจูงใจให้กระทำการอันมิชอบด้วยหน้าที่ ผู้เสียหายย่อมเป็นผู้เสียหายตามกฎหมาย มีสิทธิที่จะร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีแก่จำเลยได้