คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.อ. ม. 28 (2)

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 151 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 111-112/2566

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องของผู้เช่าซื้อ: ศาลฎีกายกคำพิพากษาเดิม สั่งย้อนสำนวนเพื่อพิจารณาความสัมพันธ์นิติสัมพันธ์และเจตนาของผู้เช่าซื้อ
การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 วินิจฉัยว่า โจทก์ร่วมมิใช่ผู้เสียหายโดยนิตินัยไม่มีอำนาจร้องทุกข์ โดยอาศัยข้อเท็จจริงเพียงว่าโจทก์ร่วมมิใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์รถยนต์คันพิพาท ไม่ชอบที่จะนำรถออกให้จำนำได้ โดยมิได้รับฟังข้ออ้างข้อเถียงของคู่ความถึงนิติสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นระหว่างกัน จึงเป็นการด่วนวินิจฉัยข้อกฎหมายจากการฟังข้อเท็จจริงที่ยังไม่สิ้นกระแสความ เห็นสมควรย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์ภาค 1 วินิจฉัยใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3819/2563

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรบกวนสิทธิใช้ประโยชน์ที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินทำให้เสียหาย เป็นเหตุให้ฟ้องอาญาได้
การที่จำเลยทั้งสองถมดินและปลูกสร้างอาคารในทางสาธารณประโยชน์ซึ่งเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับที่พลเมืองใช้ร่วมกัน จนทำให้โจทก์ทั้งสามไม่สามารถใช้สัญจรเข้าออกสู่ทางหลวงแผ่นดิน และใช้เป็นช่องทางระบายน้ำที่ท่วมขังให้ไหลลงสู่ห้วยสวนพริก เป็นเหตุให้น้ำท่วมขังบ้านของโจทก์ทั้งสามจนได้รับความเสียหาย อันเป็นผลโดยตรงจากการกระทำของจำเลยทั้งสอง จึงเป็นการรบกวนสิทธิของโจทก์ทั้งสามในอันที่จะใช้ที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน และถือว่าโจทก์ทั้งสามได้รับความเสียหายเป็นพิเศษ โจทก์ทั้งสามจึงเป็นผู้เสียหายและมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองในความผิดตาม ป.อ. มาตรา 360

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1221/2563

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีอาญาฐานใช้เอกสารปลอม ต้องเสียหายโดยตรงจากการกระทำนั้น
ขณะจำเลยใช้หนังสือมอบอำนาจปลอมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมซื้อขายที่ดิน โจทก์ยังไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับที่ดินดังกล่าว ความเสียหายโดยตรงที่เกิดขึ้นเมื่อมีการใช้เอกสารปลอมจึงมีเฉพาะเจ้าของที่ดินซึ่งอาจต้องสูญเสียที่ดินไป อ. ผู้เป็นเจ้าของลายมือชื่อปลอม และ ป. ซึ่งควรได้รับโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินอย่างถูกต้องเท่านั้น หามีความเสียหายใดเกิดขึ้นแก่โจทก์ในขณะเวลาที่มีการใช้เอกสารปลอมไม่ โจทก์จึงมิใช่ผู้เสียหายตาม ป.วิ.อ. มาตรา 2 (4) ที่จะฟ้องจำเลยในความผิดฐานใช้เอกสารปลอมต่อศาลตาม ป.วิ.อ. มาตรา 28 (2)
ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยมิได้ยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8782/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีอาญา: การพิจารณาความเสียหายต้องดู ณ เวลาที่กระทำผิด แม้มีการโอนสิทธิเรียกร้องแล้ว
ป.วิ.อ. มาตรา 2 (4) บัญญัติว่า "ผู้เสียหาย หมายความถึงบุคคลผู้ได้รับความเสียหายเนื่องจากการกระทำผิดฐานใดฐานหนึ่ง ..." ซึ่งบุคคลที่ได้รับความเสียหายจากการกระทำความผิดดังกล่าวต้องพิจารณาในขณะที่ความผิดเกิดขึ้นว่า บุคคลนั้นได้รับความเสียหายจากการกระทำความผิดนั้นหรือไม่ อีกทั้งสิทธิของการเป็นผู้เสียหายเป็นสิทธิเฉพาะตัว และไม่อาจโอนสิทธิความเป็นผู้เสียหายไปยังบุคคลอื่นได้ สิทธิในการเป็นผู้เสียหายในคดีอาญาจึงต้องพิจารณาในขณะที่มีการกระทำความผิดเกิดขึ้น แม้ขณะที่โจทก์ฟ้องคดีนี้โจทก์โอนสิทธิเรียกร้องตามคำพิพากษาในคดีแพ่งให้แก่บริษัท บ. แล้วก็ตาม แต่วันที่จำเลยกระทำความผิดโจทก์ยังเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาในคดีดังกล่าว เมื่อจำเลยโอนขายที่ดินของจำเลยให้แก่ น. เพื่อมิให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาได้รับชำระหนี้ทั้งหมดหรือบางส่วน โจทก์จึงเป็นผู้ที่ได้รับความเสียหายจากการกระทำความผิดฐานโกงเจ้าหนี้ของจำเลย โจทก์ย่อมอยู่ในฐานะผู้เสียหายและมีอำนาจฟ้องจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4195/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งประทับฟ้องเด็ดขาด, การยกฟ้องโดยศาลอุทธรณ์, และการบรรยายฟ้องที่ไม่ครบองค์ประกอบความผิด
เมื่อศาลชั้นต้นไต่สวนมูลฟ้องแล้วมีคำสั่งว่าฟ้องโจทก์ในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 1 มีมูล ให้ประทับฟ้องไว้พิจารณา คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ให้คดีมีมูลย่อมเด็ดขาดตาม ป.วิ.อ. มาตรา 170 ศาลอุทธรณ์ไม่อาจยกปัญหาข้อเท็จจริงขึ้นทบทวนโดยวินิจฉัยพยานหลักฐานในคดีเสียใหม่ แล้วพิพากษายกฟ้องจำเลยที่ 1 ได้ แม้โจทก์ทั้งหกจะมิได้ยกปัญหาข้อนี้ขึ้นฎีกา ศาลฎีกาก็ยกขึ้นวินิจฉัยได้ เพราะเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
ข้อหาตาม ป.อ. มาตรา 184 โจทก์ทั้งหกบรรยายฟ้องเพียงว่า จำเลยที่ 1 และที่ 2 ร่วมกันรื้อถอนบ้านและมิเตอร์ไฟฟ้าออกไป อันเป็นการร่วมกันทำลายวัตถุพยานหลักฐานในการตรวจพิสูจน์ จนทำให้การพิสูจน์หลักฐานไม่สามารถระบุถึงสาเหตุเพลิงไหม้ที่แน่ชัด โดยมิได้บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ที่ 2 ร่วมกันกระทำการดังกล่าวเพื่อจะช่วยเหลือผู้อื่นมิให้ต้องรับโทษหรือให้รับโทษน้อยลง จึงเป็นการบรรยายฟ้องที่ไม่ครบองค์ประกอบของความผิด คำฟ้องโจทก์ในข้อหานี้จึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1041/2558 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิฟ้องคดีอาญาของผู้ถือหุ้นในความผิดกรรมการยักยอกทรัพย์ของบริษัท และการไม่ระงับสิทธิฟ้องเนื่องจากมติที่ประชุมผู้ถือหุ้น
สำหรับความผิดตาม พ.ร.บ.กำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคม และมูลนิธิ พ.ศ.2499 มาตรา 41 มิใช่ความผิดอันยอมความได้ จึงมิใช่ความผิดส่วนตัว ไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ที่จะพิจารณาว่าสิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2) ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 4
บริษัท ค. มีกรรมการทั้งหมด 9 คน จำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 5 เป็นกรรมการบริษัทด้วย โดยผู้มีอำนาจลงชื่อผูกพันบริษัท คือจำเลยที่ 1 หรือจำเลยที่ 3 ลงลายมือชื่อร่วมกับจำเลยที่ 2 หรือกรรมการอื่นรวม 2 คน และประทับตราสำคัญของบริษัท มีอำนาจกระทำการแทนบริษัทได้ กรณีคดีนี้เป็นความผิดที่ได้กระทำต่อนิติบุคคลซึ่งตาม ป.วิ.อ. มาตรา 5 (3) ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 4 บัญญัติให้ผู้จัดการหรือผู้แทนอื่น ๆ ของนิติบุคคลเป็นผู้ฟ้องคดีแทน เมื่อจำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 5 เป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนบริษัทและเป็นผู้กระทำผิดต่อบริษัท ค. ซึ่งเป็นนิติบุคคลนั้นเอง ย่อมจะไม่ฟ้องคดีแทนนิติบุคคลเพื่อกล่าวหาตนเอง เมื่อเป็นดังนี้ โจทก์ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นซึ่งมีประโยชน์ได้เสียร่วมกับนิติบุคคลนั้นย่อมได้รับความเสียหาย ทั้ง ป.พ.พ. มาตรา 1169 ก็บัญญัติไว้ว่าถ้ากรรมการทำให้เกิดความเสียหายแก่บริษัทและบริษัทไม่ฟ้องคดี ผู้ถือหุ้นคนใดคนหนึ่งฟ้องคดีได้ ดังนี้ โจทก์ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นจึงเป็นผู้เสียหายมีสิทธิฟ้องจำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 5 ฐานร่วมกันยักยอกทรัพย์ของบริษัท ค. ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 28 (2) ประกอบมาตรา 2 (4) และ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 4 ได้ และต้องถือว่าโจทก์ฟ้องแทนบริษัท ค. ด้วย
ที่ประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้นของบริษัท ค. มีมติให้หยุดการฟ้องร้องและพิพาทระหว่างผู้ถือหุ้นกับกรรมการบริษัท เป็นมติที่ไม่มีข้อความตอนใดเลยที่แสดงว่าผู้ถือหุ้นของบริษัท ค. ซึ่งรวมทั้งโจทก์ด้วย ตกลงไม่ติดใจเอาความในทางอาญาแก่จำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 5 จึงฟังไม่ได้ว่าโจทก์มีเจตนาไม่ดำเนินคดีอาญาแก่จำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 5 ต่อไป และไม่เป็นการยอมความทางอาญาในความผิดฐานร่วมกันยักยอกโดยถูกต้องตามกฎหมาย สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ในความผิดฐานร่วมกันยกยอกจึงไม่ระงับตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2) ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 4

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1041/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิฟ้องคดีอาญาของผู้ถือหุ้น กรณีกรรมการยักยอกทรัพย์ของบริษัท และการไม่ถือเป็นยอมความ
คดีนี้เป็นความผิดที่ได้กระทำต่อนิติบุคคลซึ่งตาม ป.วิ.อ. มาตรา 5 (3) ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 4 บัญญัติให้ผู้จัดการหรือผู้แทนอื่น ๆ ของนิติบุคคลเป็นผู้ฟ้องคดีแทน เมื่อจำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 5 เป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนบริษัทและเป็นกรรมการบริษัทผู้กระทำผิดต่อบริษัท ค. ซึ่งเป็นนิติบุคคลนั้นเอง ย่อมจะไม่ฟ้องคดีแทนนิติบุคคลเพื่อกล่าวหาตนเอง เมื่อเป็นดังนี้ โจทก์ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นและมีประโยชน์ได้เสียร่วมกับนิติบุคคลนั้นย่อมได้รับความเสียหาย ทั้ง ป.พ.พ. มาตรา 1169 ก็บัญญัติไว้ว่า ถ้ากรรมการทำให้เกิดความเสียหายแก่บริษัทและบริษัทไม่ฟ้องคดี ผู้ถือหุ้นคนใดคนหนึ่งฟ้องคดีได้ ดังนี้ โจทก์ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นจึงเป็นผู้เสียหายมีสิทธิฟ้องจำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 5 ฐานร่วมกันยักยอกทรัพย์ของบริษัทตาม ป.วิ.อ. มาตรา 28 (2) ประกอบมาตรา 2 (4) และ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 4 ได้ และต้องถือว่าโจทก์ฟ้องแทนบริษัทด้วย
มติที่ประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้นของบริษัท ค. ที่ให้ยุติการฟ้องร้องและยุติข้อพิพาทระหว่างผู้ถือหุ้นกับกรรมการบริหารทั้งหมด ไม่มีข้อความตอนใดที่แสดงว่าผู้ถือหุ้นของบริษัท ค. ซึ่งรวมทั้งโจทก์ ตกลงไม่เอาความทางอาญาแก่จำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 5 จึงฟังไม่ได้ว่าโจทก์มีเจตนาไม่ดำเนินคดีอาญาแก่จำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 5 และไม่เป็นการยอมความในความผิดฐานร่วมกันยักยอกโดยถูกต้องตามกฎหมาย สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ในความผิดฐานดังกล่าวจึงไม่ระงับตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2) ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 4

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 19287/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ แจ้งความเท็จเกี่ยวกับโฉนดที่ดิน ทำให้ผู้อื่นเสียหาย ถือเป็นผู้เสียหายโดยนิตินัย
จำเลยเป็นเพียงผู้มีชื่อถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทแทนโจทก์ การที่จำเลยรู้อยู่แล้วว่าโฉนดที่ดินพิพาทอยู่ในความครอบครองของโจทก์มิได้สูญหาย แต่กลับไปแจ้งความต่อพนักงานสอบสวนว่าโฉนดที่ดินพิพาทสูญหาย แล้วนำบันทึกคำแจ้งความไปขอออกใบแทนโฉนดที่ดินแล้วโอนขายที่ดินพิพาทให้บุคคลภายนอก เป็นความผิดฐานแจ้งความเท็จตาม ป.อ. มาตรา 137 และโจทก์ย่อมเป็นผู้เสียหายเป็นพิเศษในการกระทำความผิดดังกล่าว มีอำนาจฟ้องคดีได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 16298/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีอาญาจากคำให้การเท็จต่อ กกต. ทำให้เสียสิทธิทางการเมือง
เหตุที่คณะกรรมการการเลือกตั้งมีคำวินิจฉัยให้เพิกถอนการเลือกตั้งตามฟ้องและทำการเลือกตั้งใหม่สืบเนื่องจากจำเลยที่ 1 ถึงที่ 11 ไปให้ถ้อยคำอันเป็นเท็จต่อคณะกรรมการการเลือกตั้ง ส่วนคำวินิจฉัยของคณะกรรมการการเลือกตั้งเพียงแต่ผูกพันเพื่อให้การเลือกตั้งในคราวดังกล่าวต้องถูกเพิกถอนไปเท่านั้นแต่หาได้เป็นเด็ดขาดจนห้ามมิให้มีการดำเนินคดีแก่ผู้ที่ไปให้ถ้อยคำอันเป็นเท็จต่อคณะกรรมการการเลือกตั้งจนเป็นเหตุให้โจทก์ซึ่งเป็นผู้สมัครในเขตเลือกตั้งดังกล่าวต้องเสียหาย ทั้งมาตรา 135 แห่ง พ.ร.บ.การเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ.2545 กำหนดให้ผู้สมัครในเขตเลือกตั้งนั้นเป็นผู้เสียหายตาม ป.วิ.อ. โจทก์จึงเป็นผู้เสียหายโดยตรงและมีอำนาจฟ้องคดีได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 2 (4) และ 28 (2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9127/2554

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีอาญาจากการเบิกความเท็จ ขึ้นอยู่กับการได้รับความเสียหายโดยตรงจากกรรมสิทธิ์ที่ถูกกระทบ
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยเบิกความเท็จและแสดงพยานหลักฐานเท็จในคดีก่อนที่โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยกับพวก เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าโจทก์ไม่ได้เป็นคู่ความในคดีก่อนโดยโจทก์ฟ้องจำเลยกับพวกในฐานะผู้รับมอบอำนาจจาก ช. ให้ดำเนินคดีแทน และคำฟ้องคดีนี้มิได้กล่าวว่าโจทก์มีส่วนได้เสียหรือมีสิทธิในบ้านพิพาทอย่างไร แม้สำเนาคำฟ้องคดีก่อนระบุว่าโจทก์ทำสัญญาซื้อบ้านพิพาทจาก ช. แต่ก็ปรากฏตามคำฟ้องดังกล่าวว่า โจทก์ยังมิได้จดทะเบียนตามกฎหมาย ทั้งโจทก์ไม่ได้นำสืบให้เห็นว่าขณะฟ้องคดีนี้โจทก์ได้จดทะเบียนการซื้อขายบ้านพิพาทต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แล้ว และโจทก์ยังเบิกความตอบคำถามค้านทนายจำเลยถามค้านว่า บ้านพิพาทยังคงเป็นของ ช. จึงฟังไม่ได้ว่าโจทก์มีกรรมสิทธิ์ในบ้านพิพาทแล้ว ดังนี้ โจทก์จึงไม่ได้รับผลกระทบกระเทือนเสื่อมเสียกรรมสิทธิ์ในบ้านพิพาท จึงมิใช่ผู้ได้รับความเสียหายจากการกระทำผิดของจำเลยโดยตรงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 2 (4) อันจะมีอำนาจฟ้องจำเลยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 28 (2)
of 16