คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ศิริชัย วัฒนโยธิน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 202 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3728/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจดทะเบียนภาระจำยอมและการไม่มีอำนาจฟ้อง กรณีเจ้าพนักงานดำเนินการตามคำขอโดยไม่ต้องตรวจสอบสภาพจริง
การที่บิดาโจทก์และจำเลยที่ 1 ไปยื่นขอจดทะเบียนภาระจำยอม เจ้าพนักงานของจำเลยที่ 2 จะต้องดำเนินการให้ตามคำขอจดทะเบียนโดยไม่มีหน้าที่ไปตรวจดูสภาพความเป็นจริง การกระทำของเจ้าพนักงานของจำเลยที่ 2 จึงไม่เป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2
ส่วนจำเลยที่ 3 นั้น บิดาโจทก์ยินยอมลงชื่อจดทะเบียนภาระจำยอมในที่ดินให้จำเลยที่ 1 ก็เพื่อหลอกธนาคารก็คือจำเลยที่ 3 กลับแสดงว่าบิดาโจทก์เสียอีกเป็นฝ่ายโต้แย้งสิทธิของจำเลยที่ 3 โดยร่วมกับจำเลยที่ 1 หลอกจำเลยที่ 3 เพื่อให้จำเลยที่ 1 กู้ยืมเงิน เมื่อจำเลยที่ 3 มิได้โต้แย้งสิทธิของโจทก์ จำเลยที่ 4 ซึ่งกระทำตามที่จำเลยที่ 3 ว่าจ้างจึงมิได้โต้แย้งสิทธิโจทก์เช่นกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3558/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความมีผลผูกพันตามแผนที่วิวาท การแบ่งแยกที่ดินต้องเป็นไปตามข้อตกลง
โจทก์และจำเลยที่ 1 ทำบันทึกข้อตกลงกันที่ว่าการอำเภอท่าเรือว่า ให้รังวัดแบ่งที่ดินออกเป็น 5 ส่วน โดยยึดการถือครองตามเดิมเป็นหลัก ทางเดินให้ใช้ทางหลังอาคารพาณิชย์กว้าง 1.2 เมตร ออกสู่ถนนทางด้านข้างอาคารพาณิชย์ถึงถนนสาธารณะโดยให้ใช้ได้ตลอดไป ส่วนท่อระบายน้ำให้ขุดลอกหน้าท่อระบายน้ำให้มีระดับต่ำกว่าปากท่อ หากมีการซื้อขายส่วนเกินให้คิดราคา 1,800 บาท ต่อตารางวา และภายหลังจัดทำแผนที่โจทก์และจำเลยทั้งสองลงลายมือชื่อไว้ บันทึกและแผนที่ดังกล่าวมีลักษณะเป็นการระงับข้อพิพาทซึ่งมีอยู่ให้เสร็จไปด้วยต่างยอมผ่อนผันให้แก่กัน จึงเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ การที่โจทก์และจำเลยทั้งสองตกลงแบ่งที่ดินกันอีกตามรูปแผนที่ ซึ่งทั้งโจทก์ และจำเลยทั้งสองลงลายมือชื่อรับรองไว้ จึงมีผลผูกพันคู่ความ แม้โจทก์จะมิได้ลงชื่อในบันทึกข้อตกลงด้วยตนเอง แต่พฤติการณ์โจทก์ถือได้ว่าเชิด ส. เป็นผู้ลงลายมือชื่อกระทำการแทน มีผลเช่นดียวกับที่โจทก์ลงลายมือชื่อเอง และถือเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาประนีประนอมยอมความข้างต้น ซึ่งรูปแผนที่ตรงกับแผนที่วิวาทจึงต้องแบ่งแยกกรรมสิทธิที่ดินไปตามแผนที่วิวาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3558/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความผูกพันคู่สัญญา แม้โจทก์ไม่ได้ลงนามโดยตรง แต่มีพฤติการณ์เชิดนายสละเป็นผู้ลงนามแทน
โจทก์และจำเลยที่ 1 ทำบันทึกข้อตกลงกันที่ที่ว่าการอำเภอท่าเรือว่า ให้รังวัดแบ่งที่ดินพิพาทออกเป็น 5 ส่วน โดยยึดการถือครองตามเดิมเป็นหลัก ทางเดินให้ใช้ทางหลังอาคารพาณิชย์กว้าง 1.2 เมตร ออกสู่ถนนทางด้านข้างอาคารพาณิชย์ถึงถนนสาธารณะโดยให้ใช้ได้ตลอดไป ส่วนท่อระบายนำให้แก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าโดยขุดลอกหน้าท่อระบายน้ำให้มีระดับต่ำกว่าปากท่อ สามารถให้น้ำไหลออกสู่ร่องของเทศบาล หากมีการซื้อขายส่วนเกินให้คิดราคา 1,800 บาท ต่อตารางวา และมีการจัดทำแผนที่โดยโจทก์และจำเลยทั้งสองลงลายมือชื่อไว้ บันทึกและแผนที่ดังกล่าวมีลักษณะเป็นการระงับข้อพิพาทซึ่งมีอยู่ให้เสร็จไปด้วยต่างยอมผ่อนผันให้แก่กันจึงเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ การที่โจทก์และจำเลยทั้งสองตกลงแบ่งดินกันอีกตามรูปแผนที่ดังกล่าว จึงมีผลผูกพันโจทก์และจำเลยทั้งสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3413/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาในการกระทำความผิดหลายกรรมต่างกัน พิจารณาจากเจตนาของผู้กระทำ หากเจตนาประสงค์ต่อผลแตกต่างกัน ถือเป็นกรรมต่างกัน
การกระทำความผิดแม้จะกระทำต่อเนื่องและใกล้ชิดกันจะเป็นการกระทำกรรมเดียวหรือต่างกรรมกันนั้น ต้องพิจารณาจากเจตนาของผู้กระทำด้วย เมื่อจำเลยใช้อาวุธปืนยิงผู้ตายก่อน 1 นัด ทันทีที่ผู้ตายกระโดดลงจากรถ ผู้ตายล้มลงและหมดสติไป และเมื่อผู้เสียหายกระโดดลงจากรถ จำเลยก็ใช้อาวุธปืนยิงผู้เสียหายอีก 1 นัด ทันที การกระทำของจำเลยจึงเห็นได้ชัดว่า มีเจตนาประสงค์ต่อผลในการกระทำทั้งสองครั้งแตกต่างกัน กล่าวคือหากผู้เสียหายไม่กระโดดลงจากรถ จำเลยอาจไม่ใช้อาวุธปืนยิงผู้เสียหาย จึงเป็นการกระทำหลายกรรมต่างกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2876/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้าม: โจทก์ฎีกาแก้ข้อเท็จจริงหลังศาลอุทธรณ์แก้โทษฐานพยายามฆ่าเป็นยกฟ้อง คดีจำคุกเกินห้าปี
คดีนี้ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดฐานฆ่าผู้ตาย และพยายามฆ่าโจทก์ร่วมที่ 1 ตาม ป.อ.มาตรา 288 และ ป.อ. มาตรา 288 ประกอบ มาตรา 80 เป็นการกระทำกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบทให้ลงโทษฐานฆ่าผู้ตายซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุด ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยไม่มีความผิดฐานพยายามฆ่าโจทก์ร่วมที่ 1 ให้ยกฟ้องในข้อหาความผิดฐานนี้ แต่ยังคงลงโทษจำเลยในความผิดฐานฆ่าผู้ตายตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น เป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 ยกฟ้องความผิดในบทที่เบากว่า และแก้ไขบทลงโทษจากหลายบทเป็นบทเดียว โดยไม่ได้แก้ไขโทษด้วยอันเป็นการแก้ไขเล็กน้อยและให้ลงโทษจำคุกจำเลยเกินห้าปี คดีจึงต้องห้ามโจทก์มิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2615/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาทุจริตในคดีฉ้อโกงและการวินิจฉัยคดีแพ่งควบคู่คดีอาญา ศาลให้ฟ้องคดีแพ่งใหม่
ป.วิ.อ. มาตรา 47 บัญญัติว่า คำพิพากษาคดีส่วนแพ่งต้องเป็นไปตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายอันว่าด้วยความรับผิดของบุคคลในทางแพ่งโดยไม่ต้องคำนึงถึงว่า จำเลยต้องคำพิพากษาว่าได้กระทำผิดหรือไม่ คดีนี้แม้ศาลจะยกฟ้องคดีส่วนอาญาว่าจำเลยไม่ได้ฉ้อโกงโจทก์ร่วม เนื่องจากขาดเจตนาทุจริต แต่ศาลต้องวินิจฉัยคดีส่วนแพ่งของโจทก์ร่วมตามกฎหมายดังกล่าว การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 ไม่วินิจฉัยอุทธรณ์ในส่วนแพ่งของโจทก์ร่วมจึงเป็นการไม่ชอบ แต่เมื่อข้อเท็จจริงไม่ชัดเจนว่าโจทก์ร่วมได้ชำระค่าเช่านอกจากค่าเช่าล่วงหน้าเท่าใด อาคารและอุปกรณ์เสียหายเพียงใด เงินค่าน้ำและค่าไฟฟ้ามีการค้างชำระหรือไม่ เป็นจำนวนเท่าใด และโจทก์ร่วมอยู่ในอาคารพาณิชย์ที่เช่านานเท่าใด ศาลไม่อาจที่จะวินิจฉัยจำนวนเงินที่จะต้องรับผิดในส่วนคดีแพ่งว่ามีเพียงใด หากจะเรียกพยานหลักฐานมาสืบเพิ่มเติมตาม ป.วิ.อ. มาตรา 42 วรรคหนึ่ง ก็จะทำให้คดีอาญาเนิ่นช้า ศาลฎีกาเห็นสมควรให้โจทก์ร่วมไปฟ้องคดีแพ่งใหม่ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 41

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2615/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ แม้ไม่มีเจตนาฉ้อโกง แต่ศาลยังต้องพิจารณาเรื่องเงินที่ได้รับจากผู้เช่า และให้ฟ้องคดีแพ่งใหม่เพื่อความชัดเจน
สัญญาเช่าอาคารพาณิชย์ที่ตกลงว่าหากผู้เช่าจะให้เช่าช่วงต้องได้รับความยินยอมเป็นหนังสือจากผู้ให้เช่า ไม่ใช่สาระสำคัญที่คู่สัญญาจำต้องปฏิบัติ การที่บริษัท จ. ผู้เช่าเข้าใจโดยสุจริตว่าสามารถนำอาคารพาณิชย์ที่เช่าไปให้ผู้อื่นเช่าช่วงได้ โดยไม่จำต้องได้รับความยินยอมเป็นหนังสือจากผู้ให้เช่า ประกอบกับการเช่าทรัพย์สินผู้ให้เช่าไม่จำต้องเป็นเจ้าของทรัพย์สินที่ให้เช่า การที่จำเลยซึ่งเป็นผู้ร่วมก่อตั้งบริษัท จ. และเป็นผู้ค้ำประกันสัญญาเช่านำอาคารพาณิชย์ไปให้โจทก์ร่วมเช่าและได้เงินต่างๆ ไปจากโจทก์ร่วม จึงเป็นการกระทำโดยขาดเจตนาทุจริตที่จะฉ้อโกงโจทก์ร่วม จึงไม่มีความผิดฐานฉ้อโกง
ศาลพิพากษายกฟ้องคดีส่วนอาญาเพราะว่าจำเลยไม่ได้ฉ้อโกงโจทก์ร่วมเนื่องจากขาดเจตนาทุจริต แต่ศาลต้องวินิจฉัยคดีส่วนแพ่งของโจทก์ร่วมตาม ป.วิ.อ. มาตรา 47 การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 ไม่วินิจฉัยอุทธรณ์ในส่วนแพ่งของโจทก์ร่วมจึงเป็นการไม่ชอบ แต่เมื่อข้อเท็จจริงได้ความเพียงว่าจำเลยได้รับเงินค่าเช่าบางส่วน เงินค่าประกันอาคารและอุปกรณ์ เงินค่าเซ้ง และเงินมัดจำค่าน้ำค่าไฟไปจากโจทก์ร่วม แต่ทางนำสืบของโจทก์ร่วมและจำเลยไม่ชัดเจนว่าโจทก์ร่วมได้ชำระค่าเช่านอกจากค่าเช่าล่วงหน้าเท่าใด อาคารและอุปกรณ์เสียหายเพียงใด เงินค่าน้ำและค่าไฟฟ้ามีการค้างชำระหรือไม่ เป็นจำนวนเท่าใด และโจทก์ร่วมอยู่ในอาคารพาณิชย์ที่เช่านานเท่าใด ศาลไม่อาจที่จะวินิจฉัยจำนวนเงินที่จะต้องรับผิดในส่วนคดีแพ่งได้ว่ามีเพียงใด หากจะเรียกพยานหลักฐานมาสืบเพิ่มเติมตามมาตรา 42 วรรคหนึ่ง ก็จะทำให้คดีอาญาเนิ่นช้าศาลฎีกาเห็นสมควรให้โจทก์ร่วมไปฟ้องคดีแพ่งใหม่ ตามมาตรา 41

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2251/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนับกรรมความผิดฐานฉ้อโกงและใช้เอกสารสิทธิปลอม: การกระทำหลายกรรมในแต่ละวัน
การที่จำเลยหลอกลวง ส. ให้ส่งมอบบัตรเครดิตให้แก่ตน จากนั้นนำบัตรเครดิตไปแสดงต่อผู้เสียหายว่าเป็นของตน แล้วดำเนินการปลอมบันทึกรายการขายและใช้บันทึกรายการขายกับผู้เสียหายในคดีนี้เป็นจำนวนมากถึง 28 ฉบับ แม้จะทำเพียง 5 วัน ในแต่ละวันจะกระทำต่อผู้เสียหายคนเดียวกันก็จะถือว่าการกระทำแต่ละวันเป็นการกระทำกรรมเดียวไม่ใช่การกระทำหลายกรรม เป็นการกระทำ 5 กรรมดังที่ศาลชั้นต้นพิพากษาไม่ เพราะโดยสภาพของการกระทำจำเลยต้องทำบันทึกรายการขายทีละฉบับ ทั้งจำเลยยังได้แสดงเจตนาต่อผู้เสียหายว่าประสงค์ที่จะทำแต่ละฉบับแยกประเภทสินค้าต่างหากจากกันโดยไม่ประสงค์ที่จะทำบันทึกรายการขายรวมสินค้าในแต่ละวันทั้งๆ ที่สามารถทำได้ การกระทำของจำเลยจึงเป็นการกระทำหลายกรรมในแต่ละวันรวม 28 กรรม
การกระทำของจำเลยในแต่ละวันเป็นการกระทำกรรมเดียวหรือหลายกรรมเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้โจทก์จะมิได้ฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225 การกระทำของจำเลยเป็นการกระทำ 28 กรรม มิใช่ 5 กรรม แต่โจทก์มิได้ฎีกาในปัญหานี้ ศาลฎีกาเห็นสมควรปรับบทลงโทษจำเลยให้ถูกต้อง แต่ไม่อาจกำหนดโทษเพิ่มเติม เพราะจะเป็นการพิพากษาเพิ่มเติมโทษจำเลยซึ่งต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 212 ประกอบด้วยมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2220/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความมรดก ครอบครองปรปักษ์ และการโอนสินสมรส
ที่ดินพิพาทเป็นสินสมรสระหว่าง ส. และจำเลยที่ 1 เมื่อ ส. ถึงแก่ความตายโดยมิได้ทำพินัยกรรมไว้ สินสมรสส่วนของ ส. กึ่งหนึ่งจึงตกแก่ทายาทโดยธรรม จำเลยที่ 1 เป็นผู้จัดการมรดกของ ส. ตามคำสั่งศาล จึงมีฐานะเป็นผู้แทนตามกฎหมายของทายาทที่จะต้องจัดการมรดก เพื่อประโยชน์แก่กองมรดกและทายาท โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากทายาท เพราะอำนาจหน้าที่และความรับผิดของผู้จัดการมรดกต่อทายาทเกิดขึ้นโดยบทบัญญัติของกฎหมาย ไม่ใช่มีลักษณะเป็นตัวแทนของทายาทเพราะบทบัญญัติของกฎหมายบรรพ 6 ให้นำบทบัญญัติของกฎหมายบรรพ 3 ลักษณะตัวแทนมาใช้โดยอนุโลมเท่านั้น
การที่จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกโอนทรัพย์มรดกของ ส. บางส่วนให้แก่ตนเองเป็นการส่วนตัว ในฐานะที่ตนเป็นทายาทโดยธรรมประเภทคู่สมรสของ ส. และให้แก่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกของ ท. ซึ่งเป็นทายาทของ ส. อีกคนหนึ่ง การกระทำเช่นนี้ไม่เป็นปฏิปักษ์ต่อกองมรดก ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1722
ส่วนการที่จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ส. ไม่ทำการโอนที่ดินพิพาทให้แก่ทายาทอื่นของ ส. ซึ่งมีโจทก์ทั้งห้ารวมอยู่ด้วยก็เป็นเรื่องระหว่างจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ส. และโจทก์ทั้งห้าที่จะว่ากล่าวกันต่างหาก ดังนั้นที่จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ส. โอนที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ท. ซึ่งเป็นทายาทของ ส. คนหนึ่ง จึงเป็นการกระทำไปตามอำนาจหน้าที่ของผู้จัดการมรดกที่จะต้องกระทำโดยตนเอง ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1719 และมาตรา 1723
เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่า ท. ได้ครอบครองที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างซึ่งเป็นทรัพย์มรดกของ ส. แต่ผู้เดียวนับแต่เจ้ามรดกตาย โดยทายาทคนอื่นรวมทั้งโจทก์ทั้งห้าไม่ได้ร่วมครอบครองทรัพย์มรดกดังกล่าวด้วยแต่อย่างใดกรณีเช่นนี้ไม่มีบทกฎหมายสนับสนุนว่า ท. ครอบครองทรัพย์สินดังกล่าวแทนทายาทอื่น จึงไม่ต้องด้วยบทบัญญัติตาม ป.พ.พ. มาตรา 1748 โจทก์ทั้งห้าฟ้องคดีนี้เกิน 1 ปี จึงขาดอายุความตาม มาตรา 1754 วรรคหนึ่ง
เมื่อสิทธิในทรัพย์มรดกตกแก่ ท. โดยสมบูรณ์ นับแต่วันที่ 6 ตุลาคม 2529 ซึ่งเป็นวันครบกำหนด 1 ปี นับแต่ ส. เจ้ามรดกถึงแก่ความตาย จำเลยที่ 2 ถึงที่ 6 เป็นทายาทของ ท. ที่มีสิทธิรับมรดกของ ท. ทั้งจำเลยที่ 2 เป็นผู้จัดการมรดกของ ท. ถือได้ว่าจำเลยที่ 2 ถึงที่ 6 เป็นบุคคลซึ่งชอบจะใช้สิทธิของทายาทอื่นจะยกอายุความ 1 ปี ขึ้นต่อสู้โจทก์ทั้งห้าได้ ตาม มาตรา 1755
การที่จำเลยที่ 1 ยื่นคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกและขอรังวัดแบ่งแยกที่ดินทรัพย์มรดกภายหลังจากที่ทายาทอื่นของ ส. ซึ่งรวมทั้งจำเลยที่ 1 สิ้นสิทธิในการเรียกร้องเอาทรัพย์มรดกแล้ว เป็นการยื่นเพื่อดำเนินการเปลี่ยนแปลงหลักฐานทางทะเบียน เพื่อให้ ท. ได้สิทธิโดยสมบูรณ์ในทรัพย์มรดกเท่านั้น หาใช่เพื่อประโยชน์แก่ทายาทอื่นซึ่งสิ้นสิทธิในการฟ้องคดีเกี่ยวกับทรัพย์มรดกไปโดยบทบัญญัติตาม ป.พ.พ. มาตรา 1754 วรรคหนึ่ง แล้วไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2023-2026/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ที่ดินธรณีสงฆ์: ศาลเพิกถอนโฉนดที่ออกทับที่ดินสงฆ์ แม้เจ้าของที่ดินเดิมจะได้รับโฉนดโดยชอบ
นอกจากคดีนี้แล้วปรากฏว่าศาลฎีกาเคยวินิจฉัยไว้แล้วว่า การออกโฉนดในบริเวณรอบๆ องค์พระพุทธบาทไม่ชอบเป็นการออกทับที่ธรณีสงฆ์ของผู้ร้องสอด เจ้าหน้าที่ของรัฐหาได้คำนึงถึงเขตพุทธาวาส สังฆาวาส อันเป็นที่ธรณีสงฆ์แต่อย่างใด เมื่อพิจารณาพงศาวดารพระพุทธบาทแล้ว ทำให้เห็นศรัทธาของพระเจ้าทรงธรรมที่ทรงมีต่อองค์พระพุทธบาทอย่างแรงกล้า ทรงดั้นด้นเสด็จพระราชดำเนินทั้งทางน้ำและทางบก ซึ่งในช่วงเวลาดังกล่าวยังมีสภาพเป็นป่า การเสด็จพระราชดำเนินกระทำด้วยความยากลำบาก พระองค์มิได้ทรงย่อท้อแต่อย่างใด ดังนั้นที่พระองค์ทรงมีพระบรมราชโองการอุทิศถวายที่ดินที่มีสภาพเป็นป่าในขณะนั้นออกไปเป็นบริเวณโดยรอบหนึ่งโยชน์ (400 เส้น) นั้น จึงสมเหตุสมผล ส่วนที่ต่อมาความเจริญเข้ามาสู่ที่ดินดังกล่าว ประกอบกับผู้ร้องสอดไม่สามารถดูแลได้อย่างทั่วถึง จึงเป็นเหตุให้มีการรุกล้ำทั้งจากเอกชนและหน่วยราชการ รวมทั้งมีการออกโฉนดในที่ดินด้วย และเมื่อพิจารณาตำแหน่งที่ดินของโจทก์แล้ว จะเห็นได้ว่าอยู่ห่างจากวัดผู้ร้องสอดเพียง 20 เส้น จึงฟังได้ว่าเป็นที่ดินของผู้ร้องสอด แม้จะฟังได้ตามที่โจทก์กล่าวอ้างในทำนองว่ามี พ.ร.ฎ. ในภายหลังเปลี่ยนสถานะที่ดินของผู้ร้องสอดไปแล้วเป็นเหตุให้ราษฎรสามารถมีกรรมสิทธิ์ได้นั้นก็ตาม แต่พระบรมราชโองการพระราชทานที่ดินมีศักดิ์ทางกฎหมายสูงกว่าพระราชกฤษฎีกา ดังนั้น แม้จะออก พ.ร.ฎ. จริง ก็ไม่สามารถลบล้างพระบรมราชโองการได้ อีกทั้งที่ดินดังกล่าวอยู่ห่างจากวัดผู้ร้องสอดไม่มากเชื่อว่าผู้ร้องสอดสามารถดูแลได้ ดังจะเห็นได้ว่า ผู้ร้องสอดให้จำเลยทั้งสี่เช่าอยู่อาศัยเพียงแต่ขณะที่มีการออกโฉนดทางเจ้าพนักงานมิได้แจ้งให้ผู้ร้องสอดทราบ จึงทำให้ผู้ร้องสอดไม่มีโอกาสคัดค้านการออกโฉนดดังกล่าว เมื่อการออกโฉนดดังกล่าวเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย แม้ผู้ร้องสอดไม่ร้องขอให้เพิกถอน แต่เมื่อฟังได้ว่าที่ดินเป็นของผู้ร้องสอด ศาลก็มีอำนาจเพิกถอนได้
of 21