พบผลลัพธ์ทั้งหมด 202 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9988/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สนับสนุนการปล้นทรัพย์: การกระทำแม้ไม่สำเร็จตามแผน ก็ยังคงเป็นความผิดฐานสนับสนุนได้
การที่จำเลยที่ 4 ช่วยขับรถจักรยานยนต์พาจำเลยอื่นไปไหนมาไหนด้วยกันตลอดจนกระทั่งมีการปรึกษาปล้นทรัพย์รถแท็กซี่ซึ่งจำเลยที่ 4 ก็ตกลงด้วย และรับว่าจะทำหน้าที่ขับรถจักรยานยนต์ติดตามไปรับเมื่อปล้นทรัพย์เสร็จ เมื่อจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ขึ้นรถแท็กซี่ไปเพื่อปล้นทรัพย์ จำเลยที่ 4 ก็ขับรถจักรยานยนต์ตามไปถือว่าเป็นการสนับสนุนการกระทำความผิดฐานปล้นทรัพย์ของจำเลยอื่นแล้ว ส่วนการที่จำเลยที่ 4 ขับรถจักรยานยนต์ล้มและจำเลยอื่นกระทำผิดแผนที่ปล้นทรัพย์เพราะผู้เสียหายได้รับอันตรายสาหัสจึงไม่อยู่รอจำเลยที่ 4 โดยวิ่งหลบหนีไปก่อนก็ไม่ทำให้จำเลยที่ 4 พ้นความรับผิดไปได้เพียงแต่ไม่เป็นความผิดฐานร่วมกับจำเลยอื่นปล้นทรัพย์เท่านั้น คงมีความผิดฐานสนับสนุนการปล้นทรัพย์ของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9602/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบเงินทอนจากการล่อซื้อยาเสพติด: เงินทอนถือเป็นทรัพย์ที่ใช้ในการกระทำผิด จึงต้องริบตามกฎหมาย
เงินทอนของกลางในการล่อซื้อเมทแอมเฟตามีนจากจำเลยถือว่าเป็นทรัพย์ที่จำเลยได้ใช้ในการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษ จึงต้องริบตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 102
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 7/2553)
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 7/2553)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9602/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนและทรัพย์สินที่ใช้ในการกระทำผิด ศาลริบเงินทอนจากการซื้อขาย
เงินทอน 10 บาท ของกลางที่สายลับใช้ล่อซื้อเมทแอมเฟตามีนจากจำเลยเป็นทรัพย์ที่จำเลยได้ใช้ในการกระทำความผิดฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน ต้องริบตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 102
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 7/2553)
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 7/2553)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9026/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ใช้เอกสารสิทธิปลอมฟ้องร้อง-แสดงกรรมสิทธิ์ที่ดิน, ฟ้องบุกรุกขาดอายุความ, ผู้เสียหายมีอำนาจฟ้อง
โจทก์เป็นทายาทและผู้จัดการมรดกของ จ. ตามคำสั่งศาล เมื่อ จ. ถึงแก่ความตาย ที่ดินพิพาทย่อมเป็นมรดกตกทอดแก่โจทก์ การที่จำเลยนำหนังสือสัญญาซื้อขายที่ดินซึ่งเป็นเอกสารสิทธิปลอมไปยื่นคำร้องขอแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดินโดยการครอบครองปรปักษ์และยื่นคำฟ้องบังคับห้ามมิให้โจทก์เกี่ยวข้องกับที่ดินพิพาทและให้จดทะเบียนเปลี่ยนแปลงชื่อในโฉนดที่ดินพิพาทเป็นชื่อของจำเลย โจทก์ย่อมเป็นผู้ได้รับความเสียหายจากการกระทำของจำเลยแล้ว เพราะอาจต้องเสียที่ดินพิพาทไปจากการกระทำดังกล่าว โจทก์จึงเป็นผู้เสียหายตาม ป.วิ.อ. มาตรา 2 (4)
เมื่อข้อเท็จจริงฟังเป็นยุติว่าหนังสือสัญญาซื้อขายที่ดินเป็นเอกสารสิทธิปลอมภาพถ่ายหนังสือสัญญาซื้อขายที่ดินดังกล่าวที่จำเลยถ่ายสำเนามา จึงเป็นเอกสารสิทธิปลอมด้วย เมื่อจำเลยนำภาพถ่ายหนังสือสัญญาซื้อขายที่ดินไปใช้อ้างเป็นเอกสารแนบท้ายคำร้องและคำฟ้องโดยรู้อยู่แล้วว่าหนังสือสัญญาซื้อขายที่ดินเป็นเอกสารปลอมการกระทำของจำเลยจึงเป็นการใช้เอกสารสิทธิปลอมแล้ว
จำเลยนำภาพถ่ายหนังสือสัญญาซื้อขายที่ดินซึ่งเป็นเอกสารสิทธิปลอมไปยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นเพื่อขอให้ศาลมีคำสั่งว่าจำเลยเป็นผู้มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินโดยการครอบครองปรปักษ์ และนำภาพถ่ายหนังสือสัญญาซื้อขายที่ดินดังกล่าวไปยื่นฟ้องโจทก์ต่อศาลชั้นต้นเพื่อบังคับห้ามมิให้โจทก์เกี่ยวข้องกับที่ดินพิพาทและให้จดทะเบียนเปลี่ยนแปลงชื่อในโฉนดที่ดินพิพาทเป็นชื่อของจำเลยต่างวันเวลากัน การกระทำของจำเลยในความผิดฐานใช้เอกสารสิทธิปลอม จึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน
เมื่อข้อเท็จจริงฟังเป็นยุติว่าหนังสือสัญญาซื้อขายที่ดินเป็นเอกสารสิทธิปลอมภาพถ่ายหนังสือสัญญาซื้อขายที่ดินดังกล่าวที่จำเลยถ่ายสำเนามา จึงเป็นเอกสารสิทธิปลอมด้วย เมื่อจำเลยนำภาพถ่ายหนังสือสัญญาซื้อขายที่ดินไปใช้อ้างเป็นเอกสารแนบท้ายคำร้องและคำฟ้องโดยรู้อยู่แล้วว่าหนังสือสัญญาซื้อขายที่ดินเป็นเอกสารปลอมการกระทำของจำเลยจึงเป็นการใช้เอกสารสิทธิปลอมแล้ว
จำเลยนำภาพถ่ายหนังสือสัญญาซื้อขายที่ดินซึ่งเป็นเอกสารสิทธิปลอมไปยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นเพื่อขอให้ศาลมีคำสั่งว่าจำเลยเป็นผู้มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินโดยการครอบครองปรปักษ์ และนำภาพถ่ายหนังสือสัญญาซื้อขายที่ดินดังกล่าวไปยื่นฟ้องโจทก์ต่อศาลชั้นต้นเพื่อบังคับห้ามมิให้โจทก์เกี่ยวข้องกับที่ดินพิพาทและให้จดทะเบียนเปลี่ยนแปลงชื่อในโฉนดที่ดินพิพาทเป็นชื่อของจำเลยต่างวันเวลากัน การกระทำของจำเลยในความผิดฐานใช้เอกสารสิทธิปลอม จึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8642/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความน่าเชื่อถือพยานหลักฐานในคดีข่มขืน: ศาลฎีกาพิจารณาคำให้การผู้เสียหายที่ไม่สอดคล้องกัน และพยานหลักฐานสนับสนุน
ในชั้นพิจารณาผู้เสียหายเบิกความในตอนแรกระบุว่าคนร้ายคือจำเลยและ จ. ซึ่งเป็นคนรู้จักกันมาก่อนเพราะมีบ้านอยู่ใกล้กับบ้านพักของผู้เสียหาย หลังเกิดเหตุผู้เสียหายชี้ยืนยันบุคคลตามภาพถ่ายที่เจ้าพนักงานตำรวจให้ดู แต่ต่อมากลับเบิกความว่าจำเลยไม่ใช่คนร้ายแล้วเบิกความต่อไปว่า ในกระต๊อบที่เกิดเหตุมืดจึงไม่เห็นหน้าและรูปพรรณของคนร้าย ตอนท้ายเบิกความในทำนองว่าคนร้ายชื่อ ก. แต่เป็นคนละคนกับจำเลย ผู้เสียหายไม่รู้จักและไม่เคยเห็นหน้าจำเลย ที่อ้างว่าไม่เห็นหน้าคนร้ายเพราะในกระต๊อบมืดนั้นขัดแย้งกับที่ยืนยันว่าจำเลยไม่ใช่คนร้ายแต่เป็น ก. อีกคนหนึ่งที่มีชื่อซ้ำกัน ทั้งไม่สมเหตุสมผลเพราะคนร้ายเข้าประชิดตัวผู้เสียหายขณะกระทำชำเราอีกทั้งผู้เสียหายเบิกความว่าออกจากกระต๊อบมาทันได้เห็นคนร้ายเดินไปที่วงสุราข้างนอกกระต๊อบน่าจะมีแสงสว่างพอให้มองเห็นหน้าคนร้ายได้ ที่อ้างว่าคนร้ายเป็นคนละคนกับจำเลย เพียงแต่ชื่อเหมือนกันก็มีพิรุธ เพราะในชั้นสอบสวนผู้เสียหายระบุตัวจำเลยชัดเจนทั้งชื่อ รูปพรรณ ทั้งระบุว่าจำเลยพักอยู่บ้านใกล้ ๆ ห่างบ้านของผู้เสียหายเพียง 50 เมตร และรู้จักมารดาของจำเลยด้วย นอกจากนี้หลังเกิดเหตุเพียง 3 วัน ฉ. บิดาจำเลยก็ตกลงชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ผู้เสียหาย จึงแสดงให้เห็นชัดเจนว่าผู้เสียหายระบุตัวจำเลยเป็นคนร้ายตั้งแต่แรก ไม่ใช่เรื่องผิดตัวที่ผู้เสียหายเบิกความในชั้นพิจารณา จึงมีเหตุผลให้เชื่อว่าเป็นการบิดเบือนข้อเท็จจริงไปเพื่อช่วยเหลือจำเลยเพราะไม่ติดใจเอาความแล้ว ศาลอุทธรณ์ภาค 1 จึงใช้ดุลพินิจวินิจฉัยรับฟังคำให้การของผู้เสียหายในชั้นสอบสวนเป็นความจริงมากกว่าคำเบิกความในชั้นพิจารณาได้ พยานหลักฐานของโจทก์มีน้ำหนักให้รับฟังได้ว่าจำเลยกระทำชำเราผู้เสียหายจริง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8510/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่รับวินิจฉัยเนื่องจากประเด็นที่ยกขึ้นไม่ทำให้ผลคดีเปลี่ยนแปลง
ศาลอุทธรณ์ภาค 8 พิพากษายืนตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้นให้ยกฟ้อง ฎีกาของจำเลยที่ว่า ฟ้องเคลือบคลุมและคดีขาดอายุความ จึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยจากศาลฎีกา ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง เพราะไม่อาจทำให้ผลคดีเปลี่ยนแปลงไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8439/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีมโนสาเร่: สิทธิการขอพิจารณาคดีใหม่ แม้ขาดนัดยื่นคำให้การ
คดีมโนสาเร่มีบทบัญญัติตาม ป.วิ.พ. มาตรา 189 ถึงมาตรา 196 บัญญัติเกี่ยวกับวิธีพิจารณาคดีมโนสาเร่ไว้โดยเฉพาะและถึงแม้จะไม่ได้มีบทบัญญัติว่าด้วยการพิจารณาคดีใหม่ในคดีมโนสาเร่ แต่มาตรา 195 ก็ให้นำบทบัญญัติอื่นในประมวลกฎหมายนี้มาใช้บังคับแก่การพิจารณาและการชี้ขาดตัดสินคดีมโนสาเร่ด้วย จึงนำมาตรา 199 ตรี อันเป็นเรื่องของการพิจารณาใหม่และมาตราอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการขอพิจารณาคดีใหม่มาใช้กับคดีมโนสาเร่ได้ อีกทั้งไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายใด ห้ามมิให้จำเลยซึ่งแพ้คดีโดยขาดนัดยื่นคำให้การในคดีมโนสาเร่ที่จะขอให้พิจารณาคดีใหม่ ดังนั้น จำเลยทั้งสามจึงขอให้พิจารณาคดีใหม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8033/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาบุกรุกที่ดินสาธารณะ - การครอบครองโดยสุจริตและต่อเนื่อง ย่อมไม่ถือว่ามีเจตนาบุกรุก
นายอำเภอท่ายางออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) สำหรับที่ดินพิพาทให้แก่ ม. และ ย. ในปี 2520 ในที่ดินพิพาทมีโรงสีและบ้านของ ม. ปลูกสร้างอยู่โดยไม่มีชาวบ้านเข้าไปใช้ประโยชน์ใดๆ ในที่ดินพิพาทในลักษณะที่เป็นสาธารณะมานานแล้ว ย่อมเป็นเหตุให้จำเลยเชื่อโดยสุจริตว่า ม. และ ย. มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทและจำเลยยอมเสียค่าตอบแทนเป็นเงินถึง 120,000 บาท ในการซื้อที่ดินพิพาทจาก ม. และ ย. ข้อเท็จจริงจึงรับฟังได้ว่า จำเลยเข้าครอบครองที่ดินพิพาทโดยไม่มีเจตนาที่จะบุกรุกที่ดินอันเป็นสาธารณประโยชน์แต่อย่างใด ถึงแม้ต่อมาจำเลยจะได้ทราบจากหนังสือของนายอำเภอท่ายางว่าที่ดินพิพาทเป็นส่วนหนึ่งของศาลาสระน้ำหนองขานางสาธารณประโยชน์ ซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินก็เป็นเพียงหลักฐานที่ยังยันกันอยู่กับหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) ที่เป็นเอกสารสิทธิของที่ดินพิพาท ทั้งจำเลยก็มิได้ออกจากที่ดินที่พิพาทและกลับเข้าไปยึดถือครอบครองใหม่ แต่ครอบครองที่ดินพิพาทด้วยเจตนาเดียวกันตลอดมาโดยจำเลยเข้าใจมาแต่ต้นว่าตนมีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทซึ่งไม่อาจถือได้ว่าจำเลยมีเจตนาบุกรุกที่ดินพิพาท การที่จำเลยอยู่ในที่ดินพิพาทตลอดมาด้วยเจตนาเดิมและด้วยการกระทำที่ไม่เป็นความผิดมาตั้งแต่แรก จึงไม่อาจถือว่าจำเลยเกิดเจตนาบุกรุกขึ้นมาใหม่หลังจากทราบจากนายอำเภอท่ายางว่าที่ดินพิพาทเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7007/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
บทสันนิษฐานเด็ดขาดการครอบครองยาเสพติดเพื่อจำหน่าย, อายุความความผิดปรับ, และการแก้ไขคำพิพากษา
ยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 จำนวน 15 เม็ด ของกลางเป็นแอมเฟตามีนหรืออนุพันธ์แอมเฟตามีนที่ผสมอยู่จำนวน 15 หน่วยการใช้ มีน้ำหนักรวม 4.480 กรัม คำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้ 1.457 กรัม กรณีต้องด้วย พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 15 วรรคสาม (2) ที่บัญญัติว่า "การผลิต นำเข้า ส่งออก หรือมีไว้ในครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ตามปริมาณดังต่อไปนี้ ให้ถือว่า เป็นการผลิต นำเข้า ส่งออก หรือมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย... (2) แอมเฟตามีนหรืออนุพันธ์แอมเฟตามีนมีปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ตั้งแต่สามร้อยเจ็ดสิบห้ามิลลิกรัมขึ้นไป..." ซึ่งเป็นบทสันนิษฐานเด็ดขาด แม้ทางนำสืบของโจทก์จะได้ความเพียงว่า มีผู้แจ้งว่าจำเลยจำหน่ายยาเสพติดให้โทษโดยไม่มีพยานหลักฐานอื่นที่ส่อแสดงว่าจำเลยมีพฤติการณ์จำหน่ายยาเสพติดให้โทษก็ตาม จำเลยก็มีความผิดฐานมียาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ของกลางไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย
ข้อหาความผิดตาม ป.อ. มาตรา 371 มีระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งร้อยบาท มีอายุความ 1 ปี ตาม ป.อ. มาตรา 95 (5) คดีนี้จำเลยกระทำความผิดเมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2545 นับถึงวันฟ้องคือวันที่ 16 มกราคม 2547 คดีของโจทก์ในความผิดดังกล่าว จึงเป็นอันขาดอายุความ สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไป ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (6) ชอบที่ศาลจะต้องยกฟ้องโจทก์สำหรับความผิดดังกล่าว ปัญหาข้างต้นเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขให้ถูกต้องได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 วรรคหนึ่ง ประกอบ มาตรา 215, 225
ศาลชั้นต้นลงโทษปรับจำเลยเกินแปดหมื่นบาท โดยพิพากษาว่าไม่ชำระค่าปรับให้จัดการตาม ป.อ. มาตรา 29, 30 แต่มิได้ระบุให้กักขังเกิน 1 ปี หรือไม่ เช่นนี้จะกักขังเกิน 1 ปี ไม่ได้ ศาลฎีกาเห็นสมควรระบุในคำพิพากษาให้ชัดเจน เพื่อไม่ให้มีปัญหาในชั้นบังคับตามคำพิพากษา
ข้อหาความผิดตาม ป.อ. มาตรา 371 มีระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งร้อยบาท มีอายุความ 1 ปี ตาม ป.อ. มาตรา 95 (5) คดีนี้จำเลยกระทำความผิดเมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2545 นับถึงวันฟ้องคือวันที่ 16 มกราคม 2547 คดีของโจทก์ในความผิดดังกล่าว จึงเป็นอันขาดอายุความ สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไป ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (6) ชอบที่ศาลจะต้องยกฟ้องโจทก์สำหรับความผิดดังกล่าว ปัญหาข้างต้นเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขให้ถูกต้องได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 วรรคหนึ่ง ประกอบ มาตรา 215, 225
ศาลชั้นต้นลงโทษปรับจำเลยเกินแปดหมื่นบาท โดยพิพากษาว่าไม่ชำระค่าปรับให้จัดการตาม ป.อ. มาตรา 29, 30 แต่มิได้ระบุให้กักขังเกิน 1 ปี หรือไม่ เช่นนี้จะกักขังเกิน 1 ปี ไม่ได้ ศาลฎีกาเห็นสมควรระบุในคำพิพากษาให้ชัดเจน เพื่อไม่ให้มีปัญหาในชั้นบังคับตามคำพิพากษา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6894/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้คำรับสารภาพชั้นจับกุมในการพิจารณาคดีอาญา เมื่อกฎหมายแก้ไขภายหลังการกระทำผิด
จำเลยกระทำความผิดในขณะกฎหมายมิได้บัญญัติห้ามมิให้รับฟังคำให้การชั้นจับกุมมาประกอบการใช้ดุลพินิจชั่งน้ำหนักพยานของโจทก์ การแก้ไขกฎหมายดังกล่าว กระทำโดย พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติม ป.วิ.อ. (ฉบับที่ 22 )ฯ ซึ่งเป็นการแก้ไขในภายหลังจากการจับจำเลย บทบัญญัติที่แก้ไขใหม่มิได้ให้มีผลย้อนหลังไปถึงคดีที่ได้ดำเนินการจับกุมมาก่อนแล้วหน้านี้ บทบัญญัติที่แก้ไขใหม่จึงไม่มีผลกระทบกระทั่งถึงการจับจำเลยซึ่งได้กระทำก่อนหน้าที่มีการแก้ไขแล้วซึ่งชอบด้วยกฎหมายในขณะนั้น ดังนั้น ศาลย่อมใช้ดุลพินิจนำคำให้การรับสารภาพชั้นจับกุมของจำเลยมาประกอบการพิจารณาชั่งน้ำหนักพยานของโจทก์ได้