พบผลลัพธ์ทั้งหมด 202 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4825/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรวมโทษหลายกระทง, ลดโทษที่ถูกต้อง, และการลงโทษปรับควบคู่จำคุกในคดีอาญา
บทบัญญัติ ป.วิ.อ. มาตรา 134/1 วรรคหนึ่ง เพิ่งจะบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมโดยมาตรา 38 แห่ง พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติม ป.วิ.อ. (ฉบับที่ 22)ฯ ประกาศในราชกิจจานุเบกษาวันที่ 23 ธันวาคม 2547 แต่คดีนี้เหตุเกิดเมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2547 พนักงานสอบสวนทำการสอบคำให้การจำเลยทั้งสองซึ่งมีอายุ 48 ปี และ 37 ปี ตามลำดับ เมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2547 ซึ่งเป็นระยะเวลาก่อนที่มาตรา 38 แห่ง พ.ร.บ.ดังกล่าวจะใช้บังคับ จึงไม่อาจนำบทบัญญัติดังกล่าวมาใช้ย้อนหลังดังนั้น การสอบสวนและจัดทำบันทึกการสอบสวนจำเลยที่ 1 ซึ่งพนักงานสอบสวนดำเนินการตามบทบัญญัติของกฎหมายเดิมย่อมชอบด้วยกฎหมายในขณะนั้นแล้ว
จำเลยทั้งสองกระทำความผิดหลายกรรมต่างกัน ศาลชั้นต้นรวมโทษทุกกระทงแล้วจึงลดโทษให้จำเลยทั้งสองแทนที่จะลดโทษแต่ละกระทงก่อนแล้วจึงรวมโทษ ทั้งอัตราโทษสูงสุดที่จะลงแก่จำเลยทั้งสองตาม ป.อ. มาตรา 91 นั้นถ้าเป็นกรณีที่มีการเพิ่มโทษหรือลดโทษแล้วจะต้องมีการเพิ่มโทษหรือลดโทษก่อน มิใช่ต้องปรับบทมาตรา 91 เสียก่อนแล้วจึงจะเพิ่มโทษหรือลดโทษ การที่ศาลชั้นต้นลงโทษจำเลยทั้งสองฐานเดินทางไปนอกราชอาณาจักรปรับคนละ 1,000 บาท ฐานเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อจำหน่ายและฐานมีเมทแอมเฟตามีนเพื่อจำหน่ายเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษฐานนำเมทแอมเฟตามีนเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อจำหน่าย ลงโทษจำเลยทั้งสองให้ประหารชีวิต รวมโทษจำเลยทั้งสองทุกกระทงแล้ว คงประหารชีวิตสถานเดียวแล้วลดโทษให้จำเลยทั้งสองตาม ป.อ. มาตรา 78 ประกอบมาตรา 52 (1) หนึ่งในสาม และมาตรา 78 ประกอบมาตรา 52 (2) กึ่งหนึ่ง ตามลำดับ เป็นจำคุกตลอดชีวิต และศาลอุทธรณ์ภาค 8 พิพากษายืนเป็นการไม่ชอบเพราะไม่ได้ลดโทษก่อนตามมาตรา 78 แล้วจึงรวมโทษตามมาตรา 91 นอกจากนี้โทษปรับมิใช่การจำคุกดังนั้น แม้จะจำคุตลอดชีวิตแล้วก็ปรับได้ด้วยไม่เป็นการต้องห้ามตามมาตรา 91 ที่ศาลล่างทั้งสองไม่ได้ลงโทษปรับย่อมเป็นการไม่ชอบ แต่อย่างไรก็ตามศาลฎีกาก็ไม่อาจลงโทษปรับจำเลยทั้งสองได้เนื่องจากเป็นการเพิ่มเติมโทษซึ่งต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 212 ประกอบมาตรา 225
จำเลยทั้งสองกระทำความผิดหลายกรรมต่างกัน ศาลชั้นต้นรวมโทษทุกกระทงแล้วจึงลดโทษให้จำเลยทั้งสองแทนที่จะลดโทษแต่ละกระทงก่อนแล้วจึงรวมโทษ ทั้งอัตราโทษสูงสุดที่จะลงแก่จำเลยทั้งสองตาม ป.อ. มาตรา 91 นั้นถ้าเป็นกรณีที่มีการเพิ่มโทษหรือลดโทษแล้วจะต้องมีการเพิ่มโทษหรือลดโทษก่อน มิใช่ต้องปรับบทมาตรา 91 เสียก่อนแล้วจึงจะเพิ่มโทษหรือลดโทษ การที่ศาลชั้นต้นลงโทษจำเลยทั้งสองฐานเดินทางไปนอกราชอาณาจักรปรับคนละ 1,000 บาท ฐานเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อจำหน่ายและฐานมีเมทแอมเฟตามีนเพื่อจำหน่ายเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษฐานนำเมทแอมเฟตามีนเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อจำหน่าย ลงโทษจำเลยทั้งสองให้ประหารชีวิต รวมโทษจำเลยทั้งสองทุกกระทงแล้ว คงประหารชีวิตสถานเดียวแล้วลดโทษให้จำเลยทั้งสองตาม ป.อ. มาตรา 78 ประกอบมาตรา 52 (1) หนึ่งในสาม และมาตรา 78 ประกอบมาตรา 52 (2) กึ่งหนึ่ง ตามลำดับ เป็นจำคุกตลอดชีวิต และศาลอุทธรณ์ภาค 8 พิพากษายืนเป็นการไม่ชอบเพราะไม่ได้ลดโทษก่อนตามมาตรา 78 แล้วจึงรวมโทษตามมาตรา 91 นอกจากนี้โทษปรับมิใช่การจำคุกดังนั้น แม้จะจำคุตลอดชีวิตแล้วก็ปรับได้ด้วยไม่เป็นการต้องห้ามตามมาตรา 91 ที่ศาลล่างทั้งสองไม่ได้ลงโทษปรับย่อมเป็นการไม่ชอบ แต่อย่างไรก็ตามศาลฎีกาก็ไม่อาจลงโทษปรับจำเลยทั้งสองได้เนื่องจากเป็นการเพิ่มเติมโทษซึ่งต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 212 ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3471/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำโดยบันดาลโทสะของเจ้าพนักงานตำรวจในการปฏิบัติหน้าที่รักษาความสงบเรียบร้อย
จำเลยเป็นเจ้าพนักงานตำรวจมีหน้าที่ดูแลรักษาความสงบเรียบร้อย การที่นาย อ. กับพวกไล่ทำร้ายกลุ่มวัยรุ่น จำเลยได้เข้าห้ามปรามและสั่งให้ทุกฝ่ายหยุดและนั่งลง กลุ่มวัยรุ่นปฏิบัติตาม แต่นาย อ. ไม่ปฏิบัติตาม กลับท้าทายอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายของจำเลย โดยเข้าไปเตะวัยรุ่นที่นั่งตามคำสั่งของจำเลย ย่อมทำให้จำเลยโกรธเคือง ถือเป็นการถูกข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรม จำเลยจึงทำร้ายนาย อ. ผู้ตายเข้าไปดึงเอวจำเลยไว้ จำเลยเข้าใจว่าผู้ตายเป็นพวกเดียวกับนาย อ. ที่ท้าทายอำนาจตามกฎหมายของจำเลย การที่จำเลยใช้อาวุธปืนยิงผู้ตายจึงเป็นการกระทำโดยบันดาลโทสะ แม้จำเลยจะมิได้ฎีกา แต่เป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2616/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
บุกรุกโดยใช้กำลังประทุษร้าย และพยายามฆ่า: การกระทำที่เป็นความผิดทางอาญา
บ้านของผู้เสียหายเป็นบ้านเดี่ยวปลูกอยู่ในที่ดินซึ่งมีบริเวณหน้าบ้าน การที่จำเลยเข้าไปในบ้านผู้เสียหายบอกผู้เสียหายให้เบาวิทยุที่เปิดเสียงดัง เป็นการเข้าไปโดยีเหตุอันสมควร การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิด แต่เมื่อผู้เสียหายไล่ให้จำเลยออกจากบ้านแล้ว จำเลยจึงไม่มีสิทธิที่จะอยู่อีก การที่จำเลยยังคงอยู่และใช้อาวุธมีดแทงผู้เสียหาย จำเลยจึงมีความผิดฐานบุกรุกโดยใช้กำลังประทุษร้าย มีอาวุธมีดและกระทำในเวลากลางคืน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2616/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบุกรุกเคหสถานและการทำร้ายร่างกาย: การกระทำผิดฐานบุกรุกเกิดขึ้นเมื่อยังคงอยู่ในบ้านหลังถูกไล่ออก และการทำร้ายร่างกายเป็นเหตุให้มีความผิดฐานพยายามฆ่า
การที่จำเลยเข้าไปในบ้านผู้เสียหายเพื่อบอกให้ผู้เสียหายเบาวิทยุที่เปิดเสียงดังหรือการที่จำเลยเข้าไปหานาง ก. นั้น ถือว่ามีเหตุอันสมควร การเข้าไปของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดฐานบุกรุก แต่เมื่อผู้เสียหายไล่ให้จำเลยออกจากบ้านแล้ว จำเลยก็ไม่มีสิทธิที่จะอยู่อีก การที่จำเลยยังคงอยู่และใช้อาวุธมีดแทงผู้เสียหาย จำเลยจึงมีความผิดฐานบุกรุกโดยใช้กำลังประทุษร้าย มีอาวุธมีดและกระทำในเวลากลางคืน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2222/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องชำระหนี้ค่าไฟฟ้า, สัญญาใช้ไฟฟ้า, การคำนวณค่าไฟฟ้าเพิ่มเติม
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยรับผิดชำระค่าไฟฟ้า เพราะเหตุเครื่องวัดหน่วยไฟฟ้าเสียหายหรือแสดงหน่วยน้อยกว่าความเป็นจริง จึงเป็นการฟ้องให้ชำระหนี้ให้ถูกต้องหาใช่ฟ้องให้จำเลยรับผิดฐานลาภมิควรได้ เมื่อโจทก์มีฐานะเป็นรัฐวิสาหกิจมีวัตถุประสงค์จัดให้ได้มาและจำหน่ายพลังงานไฟฟ้าแก่ประชาชนอันมีลักษณะเป็นกิจการสาธารณูปโภค โจทก์จึงไม่ใช่ผู้ประกอบการค้าที่จะต้องฟ้องคดีภายใน 2 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (1) แต่เป็นการฟ้องเรียกค่าไฟฟ้าส่วนที่ขาดเพราะเหตุเครื่องวัดหน่วยไฟฟ้าบกพร่องซึ่งมิได้มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะจึงต้องใช้อายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 คดีจึงไม่อยู่ภายใต้กำหนดอายุความฐานลาภมิควรได้
การที่เครื่องวัดหน่วยไฟฟ้าเสียหายหรือแสดงหน่วยน้อยกว่าความเป็นจริงเนื่องจากมีการตัดสายควบคุมกระแสไฟฟ้าเส้นสีเขียวที่คอสายในกล่องหม้อแปลงกระแสไฟฟ้า แต่ไม่ได้ความว่าเป็นการกระทำของผู้ใด ทำให้การชำระค่าไฟฟ้าของจำเลยไม่ถูกต้อง เมื่อจำเลยเป็นผู้ใช้ไฟฟ้าและได้ประโยชน์ในการชำระหนี้ค่าไฟฟ้าตั้งแต่เริ่มแรกใช้ไฟฟ้าตลอดมา แม้โจทก์จะมิได้ตรวจสอบเครื่องวัดหน่วยไฟฟ้าในเวลาอันสมควรก็ตาม แต่จำเลยได้ให้สัญญาในแบบขอใช้ไฟฟ้าว่า จำเลยยินยอมชำระเงินค่าไฟฟ้า ค่าเสียหาย เบี้ยปรับตามที่การไฟฟ้านครหลวงเรียกเก็บในกรณีที่มีการกระทำอย่างหนึ่งอย่างใดอันเป็นเหตุให้เครื่องวัดหน่วยไฟฟ้าเสียหายหรือแสดงหน่วยน้อยกว่าความเป็นจริงตามแบบขอใช้ไฟฟ้า จำเลยจึงต้องรับผิดชำระค่าไฟฟ้าให้ถูกต้องตามข้อสัญญาดังกล่าว
การที่เครื่องวัดหน่วยไฟฟ้าเสียหายหรือแสดงหน่วยน้อยกว่าความเป็นจริงเนื่องจากมีการตัดสายควบคุมกระแสไฟฟ้าเส้นสีเขียวที่คอสายในกล่องหม้อแปลงกระแสไฟฟ้า แต่ไม่ได้ความว่าเป็นการกระทำของผู้ใด ทำให้การชำระค่าไฟฟ้าของจำเลยไม่ถูกต้อง เมื่อจำเลยเป็นผู้ใช้ไฟฟ้าและได้ประโยชน์ในการชำระหนี้ค่าไฟฟ้าตั้งแต่เริ่มแรกใช้ไฟฟ้าตลอดมา แม้โจทก์จะมิได้ตรวจสอบเครื่องวัดหน่วยไฟฟ้าในเวลาอันสมควรก็ตาม แต่จำเลยได้ให้สัญญาในแบบขอใช้ไฟฟ้าว่า จำเลยยินยอมชำระเงินค่าไฟฟ้า ค่าเสียหาย เบี้ยปรับตามที่การไฟฟ้านครหลวงเรียกเก็บในกรณีที่มีการกระทำอย่างหนึ่งอย่างใดอันเป็นเหตุให้เครื่องวัดหน่วยไฟฟ้าเสียหายหรือแสดงหน่วยน้อยกว่าความเป็นจริงตามแบบขอใช้ไฟฟ้า จำเลยจึงต้องรับผิดชำระค่าไฟฟ้าให้ถูกต้องตามข้อสัญญาดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2117/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องเรียกค่าเสียหายจากละเมิด: เริ่มนับเมื่อใดเมื่อมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราว
เดิมจำเลยทั้งสองยื่นฟ้องโจทก์ต่อศาลชั้นต้นเรื่องผิดสัญญาจะซื้อจะขายที่ดิน โดยนำที่ดินป่าสงวนแห่งชาติมาขายให้จำเลยทั้งสอง ระหว่างการพิจารณาจำเลยทั้งสองยื่นคำร้องขอคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษาโดยให้ศาลมีคำสั่งยึดหรืออายัดตั๋วสัญญาใช้เงินซึ่งจำเลยที่ 2 จะต้องจ่ายให้โจทก์และศาลมีคำสั่งห้ามธนาคารผู้รับอาวัลตั๋วสัญญาใช้เงินวันที่ 27 กรกฎาคม 2535 ต่อมาศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องเมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2540 และมีคำสั่งเพิกถอนการอายัดเงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินทั้ง 2 ฉบับ โจทก์จึงมาฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยทั้งสอง แม้โจทก์จะรู้ตัวว่าจำเลยทั้งสองเป็นผู้กระทำละเมิด แต่ยังไม่รู้ว่าจะต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายหรือไม่ อายุความจึงยังไม่เริ่มนับ เพราะระหว่างนั้นศาลชั้นต้นอาจเพิกถอนคำสั่งที่ให้คุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษาก็ได้ จึงถือว่าวันที่โจทก์รู้ตัวว่าจำเลยเป็นผู้กระทำละเมิดและต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนคือวันที่ตั๋วสัญญาใช้เงินถึงกำหนด (คือวันที่ 25 กันยายน 2535 และวันที่ 25 มีนาคม 2536 โจทก์ยื่นฟ้องวันที่ 7 กรกฎาคม 2542 คดีโจทก์จึงขาดอายุความ 1 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 448 วรรคหนึ่ง)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2117/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความละเมิด: เริ่มนับเมื่อรู้ความเสียหายและผู้กระทำละเมิด แม้คดีแพ่งยังไม่สิ้นสุด
การกระทำของจำเลยทั้งสองจะเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์หรือไม่ ขึ้นอยู่กับข้อเท็จจริงที่จำเลยทั้งสองกระทำขึ้นต่อโจทก์ มิได้เกิดขึ้นเมื่อศาลใดศาลหนึ่งมีคำพิพากษา หรือเมื่อมีคำพิพากษาถึงที่สุด การที่โจทก์อ้างว่าจำเลยทั้งสองกระทำละเมิดต่อโจทก์ โดยแกล้งนำข้อกล่าวหาที่อ้างว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญามาฟ้องคดีเพื่อไม่ให้โจทก์ได้รับชำระเงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินนั้น โจทก์ย่อมรู้ดีแล้วว่าการที่จำเลยทั้งสองยื่นฟ้องเป็นการกระทำที่ละเมิดต่อโจทก์ เพราะเป็นการกล่าวอ้างที่ไม่ตรงความเป็นจริง ส่วนศาลจะพิพากษาอย่างไรเป็นเรื่องการรับฟังพยานหลักฐาน แม้จำเลยทั้งสองจะเป็นฝ่ายชนะคดีก็มิได้หมายความว่าจำเลยทั้งสองจะมิได้กระทำละเมิดต่อโจทก์ เมื่อโจทก์รู้อยู่แล้วว่าโจทก์มิได้เป็นฝ่ายผิดสัญญา แต่จำเลยทั้งสองกล่าวอ้างหาว่าโจทก์ผิดสัญญา ทั้งยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งชั่วคราวก่อนพิพากษาห้ามธนาคารผู้รับอาวัลตั๋วสัญญาใช้เงินจ่ายเงินให้แก่โจทก์และศาลชั้นต้นมีคำสั่งอายัดเงินไว้ชั่วคราวก่อนย่อมเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ ซึ่งโจทก์ก็ได้บรรยายฟ้องว่าการกระทำดังกล่าวเป็นการกระทำละเมิดของจำเลยทั้งสองด้วย แต่ผลของการกระทำละเมิดเกี่ยวกับคำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้คุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษาเป็นผลทำให้โจทก์ไม่ได้รับเงินตามตั๋วสัญญาใช้เงิน 2 ฉบับ ซึ่งแต่ละฉบับลงวันที่ต่างกันหากศาลชั้นต้นไม่มีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษา โจทก์จะมีสิทธิได้รับเงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินในวันที่ 25 กันยายน 2535 และ 25 มีนาคม 2536 ดังนั้น แม้โจทก์จะรู้ตัวว่าจำเลยทั้งสองเป็นผู้กระทำละเมิด แต่ยังไม่รู้ว่าจะต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายหรือไม่ อายุความจึงยังไม่เริ่มนับ เพราะระหว่างนั้นศาลชั้นต้นอาจเพิกถอนคำสั่งที่ให้คุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษาก็ได้ จึงถือว่าวันที่โจทก์รู้ตัวว่าจำเลยเป็นผู้กระทำละเมิดและต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนคือวันที่ตั๋วสัญญาใช้เงินถึงกำหนดคือวันที่ 25 กันยายน 2535 และ 25 มีนาคม 2536 อย่างไรก็ตาม นับแต่วันดังกล่าวข้างต้นจนถึงวันฟ้องเป็นระยะเวลาเกินกว่า 1 ปี ฟ้องโจทก์จึงขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1147/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องเคลือบคลุม, อำนาจฟ้อง, ดอกเบี้ย, ค่าธรรมเนียม, เบี้ยปรับ: ศาลฎีกาวินิจฉัยประเด็นฟ้องไม่ชัดเจน และดอกเบี้ย/ค่าธรรมเนียมไม่ชอบ
การที่ฟ้องจะเคลือบคลุมหรือเป็นฟ้องที่ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 172 วรรคหนึ่ง จะต้องพิจารณาจากคำฟ้องทั้งฉบับ ซึ่งตามคำฟ้องโจทก์ได้บรรยายถึงอำนาจฟ้องไว้โดยชัดแจ้งแล้ว ส่วนการที่โจทก์ส่งสำเนาคำฟ้องให้แก่จำเลยขาดไป 1 หน้านั้น หาทำให้คำฟ้องที่ชอบด้วยกฎหมายกลายเป็นคำฟ้องที่เคลือบคลุมแต่อย่างใดเมื่อจำเลยได้รับสำเนาคำฟ้องมีหน้าไม่ครบถ้วนควรที่จำเลยจะติดต่อขอรับจากศาลหรือขอคัดถ่ายเอกสารจากศาลได้ แต่จำเลยหาได้กระทำไม่ พฤติการณ์ในการต่อสู้คดีของจำเลยจึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่สุจริต
การประกอบธุรกิจของโจทก์ที่เป็นธนาคารพาณิชย์อยู่ในบังคับของ พ.ร.บ.การธนาคารพาณิชย์ฯ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการให้กู้ยืมเงินโจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยตอบแทนจากผู้กู้ซึ่งการเรียกดอกเบี้ยจะต้องเป็นไปตามประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทยเรื่อง การกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ปฏิบัติในเรื่องดอกเบี้ยและส่วนลด ซึ่งกำหนดให้โจทก์สามารถเรียกดอกเบี้ยได้จะต้องประกาศกำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้แล้วส่งสำเนาประกาศไปให้ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงจะมีสิทธิคิดดอกเบี้ยได้ ดังนั้น การที่โจทก์คิดค่าธรรมเนียมในการกู้ยืมเงินจากจำเลยอัตราร้อยละ 0.5 ของวงเงินกู้หรือ 1,500 บาท โดยหักจากต้นเงินที่จะจ่ายให้แก่จำเลย จึงเป็นการไม่ชอบ นอกจากนี้ตามประกาศอัตราดอกเบี้ยของโจทก์มิได้มีข้อกำหนดให้เรียกเบี้ยปรับในกรณีชำระล่าช้า การที่โจทก์เรียกเบี้ยปรับในการชำระเงินล่าช้าครั้งละ 500 บาท จึงไม่ชอบเช่นกัน แม้จำเลยจะมิได้อุทธรณ์ในข้อนี้แต่เป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้
การประกอบธุรกิจของโจทก์ที่เป็นธนาคารพาณิชย์อยู่ในบังคับของ พ.ร.บ.การธนาคารพาณิชย์ฯ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการให้กู้ยืมเงินโจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยตอบแทนจากผู้กู้ซึ่งการเรียกดอกเบี้ยจะต้องเป็นไปตามประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทยเรื่อง การกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ปฏิบัติในเรื่องดอกเบี้ยและส่วนลด ซึ่งกำหนดให้โจทก์สามารถเรียกดอกเบี้ยได้จะต้องประกาศกำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้แล้วส่งสำเนาประกาศไปให้ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงจะมีสิทธิคิดดอกเบี้ยได้ ดังนั้น การที่โจทก์คิดค่าธรรมเนียมในการกู้ยืมเงินจากจำเลยอัตราร้อยละ 0.5 ของวงเงินกู้หรือ 1,500 บาท โดยหักจากต้นเงินที่จะจ่ายให้แก่จำเลย จึงเป็นการไม่ชอบ นอกจากนี้ตามประกาศอัตราดอกเบี้ยของโจทก์มิได้มีข้อกำหนดให้เรียกเบี้ยปรับในกรณีชำระล่าช้า การที่โจทก์เรียกเบี้ยปรับในการชำระเงินล่าช้าครั้งละ 500 บาท จึงไม่ชอบเช่นกัน แม้จำเลยจะมิได้อุทธรณ์ในข้อนี้แต่เป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1147/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องไม่ชัดแจ้ง, ดอกเบี้ย-ค่าธรรมเนียมผิดกฎหมาย, ศาลฎีกาแก้ไขคำพิพากษา
การที่โจทก์ส่งสำเนาคำฟ้องให้แก่จำเลยขาดไป 1 หน้า จำเลยอาจจะติดต่อขอรับจากศาลหรือขอคัดถ่ายเอกสารจากศาลได้ ไม่ทำให้คำฟ้องที่ชอบด้วยกฎหมายกลายเป็นคำฟ้องที่เคลือบคลุม
การประกอบธุรกิจของโจทก์อยู่ในบังคับของ พ.ร.บ.การธนาคารพาณิชย์ พ.ศ.2505 การเรียกดอกเบี้ยจะต้องเป็นไปตามประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง การกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ปฏิบัติในเรื่องดอกเบี้ยและส่วนลด ซึ่งในขณะที่จำเลยกู้ยืมเงินไปจากโจทก์นั้นธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์รวมทั้งโจทก์จะเรียกดอกเบี้ยได้จะต้องประกาศกำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้แล้วส่งสำเนาประกาศไปให้ธนาคารแห่งประเทศไทย จึงจะมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยได้ ดังนั้นโจทก์จึงไม่มีสิทธิคิดค่าธรรมเนียมในการกู้ยืมเงินจากจำเลยอัตราร้อยละ 0.5 ของวงเงินที่กู้หรือ 1,500 บาท โดยหักจากต้นเงินที่จะจ่ายให้แก่จำเลย
ตามประกาศอัตราดอกเบี้ยของโจทก์มิได้กำหนดให้เรียกเบี้ยปรับในกรณีชำระล่าช้า โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกเบี้ยปรับในการชำระเงินล่าช้าได้
การประกอบธุรกิจของโจทก์อยู่ในบังคับของ พ.ร.บ.การธนาคารพาณิชย์ พ.ศ.2505 การเรียกดอกเบี้ยจะต้องเป็นไปตามประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง การกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ปฏิบัติในเรื่องดอกเบี้ยและส่วนลด ซึ่งในขณะที่จำเลยกู้ยืมเงินไปจากโจทก์นั้นธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์รวมทั้งโจทก์จะเรียกดอกเบี้ยได้จะต้องประกาศกำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้แล้วส่งสำเนาประกาศไปให้ธนาคารแห่งประเทศไทย จึงจะมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยได้ ดังนั้นโจทก์จึงไม่มีสิทธิคิดค่าธรรมเนียมในการกู้ยืมเงินจากจำเลยอัตราร้อยละ 0.5 ของวงเงินที่กู้หรือ 1,500 บาท โดยหักจากต้นเงินที่จะจ่ายให้แก่จำเลย
ตามประกาศอัตราดอกเบี้ยของโจทก์มิได้กำหนดให้เรียกเบี้ยปรับในกรณีชำระล่าช้า โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกเบี้ยปรับในการชำระเงินล่าช้าได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 468/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำรับสารภาพชั้นจับกุมแม้ใช้เป็นพยานหลักฐานไม่ได้ แต่ข้อเท็จจริงในคำให้การนำสืบได้ และการเพิ่มโทษจำกัดด้วยกฎหมายล้างมลทิน
แม้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 84 วรรคท้าย จะบัญญัติมิให้นำคำรับสารภาพชั้นจับกุมเป็นพยานหลักฐานก็ตาม แต่ข้อความอื่นซึ่งเป็นข้อเท็จจริงที่ปรากฏในคำให้การรับสารภาพนั้น กฎหมายมิได้ห้ามนำมารับฟังเสียทีเดียว มิฉะนั้นแล้วคงไม่ต้องทำบันทึกการจับกุม และสอบถามคำให้การของผู้ถูกจับไว้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 84 วรรคสาม