คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
วิรัช ชินวินิจกุล

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 80 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5425/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขออนุญาตฎีกาต้องยื่นคำร้องต่อผู้พิพากษาที่ลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์เท่านั้น การอนุญาตโดยผู้พิพากษาอื่นเป็นโมฆะ
ขั้นตอนการขออนุญาตฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 221 มิได้มีบัญญัติไว้โดยเฉพาะจึงต้องนำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคท้าย มาใช้บังคับโดยอนุโลมตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 จำเลยยื่นคำร้องพร้อมคำฟ้องฎีกาต่อศาลชั้นต้นระบุชื่อผู้พิพากษาซึ่งลงชื่อในคำพิพากษาศาลอุทธรณ์เท่านั้นเป็นผู้พิจารณาอนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง โดยมิได้ระบุถึงผู้พิพากษาอื่นในศาลชั้นต้นด้วย การที่ผู้พิพากษาที่ลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นซึ่งมิใช่ผู้พิพากษาที่จำเลยระบุในคำร้องมีคำสั่งอนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงจึงเป็นการไม่ชอบไม่มีผลทำให้ฎีกาของจำเลยขึ้นมาสู่การพิจารณาของศาลฎีกาได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 221

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5206/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องละเมิดต้องชัดเจนฐานความรับผิด การพิพากษานอกฟ้องนอกประเด็นเป็นเหตุให้ต้องยกฟ้อง
ตามคำฟ้องโจทก์เป็นการบรรยายให้จำเลยรับผิดอันเนื่องมาจากการกระทำละเมิดของลูกจ้างตาม ป.พ.พ. มาตรา 425 เท่านั้น มิใช่ให้รับผิดจากการกระทำละเมิดของจำเลยเองตาม ป.พ.พ. มาตรา ป.พ.พ. มาตรา 420 หากคำฟ้องโจทก์ต้องการให้จำเลยรับผิดจากการละเมิดของจำเลยเอง ก็ต้องแสดงให้แจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 172 วรรคสอง ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5042/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดร่วมของนายจ้างต่อการกระทำของลูกจ้าง และการกำหนดค่าเสียหายที่เหมาะสม
คดีนี้โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 2 ร่วมรับผิดในฐานะนายจ้างหรือตัวการของจำเลยที่ 1 มิใช่ฟ้องให้รับผิดในฐานะผู้ประกอบการขนส่ง การที่ศาลอุทธรณ์หยิบยกเรื่องความรับผิดของผู้ประกอบการขนส่งตามที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.การขนส่งทางบกฯ มาตรา 56 ขึ้นวินิจฉัย และให้จำเลยที่ 2 ร่วมรับผิดในฐานะผู้ประกอบการขนส่งจึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นในคำฟ้อง ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 142
ค่าขาดไร้อุปการะตาม ป.พ.พ. มาตรา 443 วรรคสาม นั้น เมื่อปรากฏว่าผู้ตายมีหน้าที่ที่จะต้องช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูโจทก์ทั้งสามตามกฎหมาย โจทก์ทั้งสามจึงมีสิทธิได้รับค่าขาดไร้อุปการะดังกล่าว โดยไม่ต้องพิจารณาว่าในขณะนั้นผู้ตายได้อุปการะเลี้ยงดูโจทก์ทั้งสามหรือไม่ เมื่อพิจารณาถึงอายุของโจทก์ที่ 2 และที่ 3 ซึ่งขณะเกิดเหตุมีอายุประมาณ 58 ปี และ 34 ปี ตามลำดับแล้ว เห็นว่าโจทก์ที่ 2 และที่ 3 มีโอกาสได้รับการอุปการะตามกฎหมายได้ไม่น้อยกว่า 15 ปี ที่ศาลล่างทั้งสองกำหนดค่าขาดไร้อุปการะให้โจทก์ที่ 2 จำนวน 300,000 บาท และโจทก์ที่ 3 จำนวน 100,000 บาท ถือว่าเหมาะสมแล้ว ส่วนโจทก์ที่ 1 ขณะเกิดเหตุละเมิดมีอายุประมาณ 78 ปี นับว่ามีอายุมากแล้วเมื่อเทียบกับอายุขัยของคนทั่วไป ที่ศาลล่างทั้งสองกำหนดค่าขาดไร้อุปการะให้เป็นเงินถึง 300,000 บาท นับว่าเป็นจำนวนค่อนข้างสูง จึงเห็นสมควรลดลงบางส่วนโดยกำหนดค่าขาดไร้อุปการะให้โจทก์ที่ 1 เป็นเงินจำนวน 200,000 บาท
ฝ่ายโจทก์อ้างว่าในการจัดงานศพและพิธีหลังฝังศพเป็นไปตามประเพณีของศาสนาอิสลาม โดยมีข้อเท็จจริงเกี่ยวกับขั้นตอนทางพิธีกรรมและภาพถ่ายมาสนับสนุน เมื่อพิจารณาจากภาพถ่ายพบว่ามีคนมาร่วมงานค่อนข้างมาก ซึ่งย่อมจะต้องเสียค่าใช้จ่ายพอสมควร ที่ศาลล่างทั้งสองกำหนดค่าปลงศพและค่าใช้จ่ายอันจำเป็นอย่างอื่นให้เป็นจำนวน 100,000 บาท นับว่าเป็นจำนวนที่เหมาะสมแล้ว
โจทก์ที่ 3 ซื้อรถยนต์ตู้คันที่ผู้ตายขับมาในราคา 410,000 บาท และได้ใช้งานก่อนเกิดเหตุประมาณ 2 ถึง 3 ปี การที่ขายรถยนต์ตู้คันที่ผู้ตายขับได้เพียง 325,000 บาท จึงน่าจะมีสาเหตุมาจากความเสื่อมเพราะการใช้รถด้วย มิใช่เพราะจากการถูกเฉี่ยวชนเพียงอย่างเดียว จึงเห็นสมควรกำหนดค่าเสียหายส่วนนี้ให้เป็นเงิน 40,000 บาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4547/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมเดียวผิดหลายบท: พาผู้เยาว์ไปอนาจารและกระทำอนาจารเป็นกรรมต่อเนื่อง
การที่จำเลยพาผู้เสียหายที่ 3 อายุ 16 ปีเศษ ไปเพื่อการอนาจารโดยใช้อุบายหลอกลวงแล้วจำเลยได้กระทำอนาจารผู้เสียหายที่ 3 ในขณะเดียวกันนั้น เป็นการกระทำต่อเนื่องกันโดยมีความมุ่งหมายเพียงประการเดียวที่จะกระทำอนาจารผู้เสียหายที่ 3 การกระทำของจำเลยจึงเป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบทตาม ป.อ. มาตรา 90 ต้องลงโทษตามมาตรา 284 วรรคแรก ซึ่งเป็นกฎหมายที่มีโทษหนักที่สุดหาใช่เป็นความผิดคนละกรรมต่างกันไม่ แม้โจทก์จะแยกบรรยายการกระทำความผิดของจำเลยมาในฟ้องเป็นข้อ ข. และข้อ ค. เพื่อแสดงให้เห็นว่าเป็นความผิดคนละกรรมต่างกัน และจำเลยให้การรับสารภาพก็ตาม ศาลก็จะลงโทษจำเลยหลายกรรมเป็นกระทงความผิดหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4324/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หมิ่นประมาททางเอกสาร: องค์ประกอบความผิด, การแสดงความคิดเห็นโดยสุจริต, และข้อจำกัดการฎีกา
โจทก์บรรยายฟ้องว่า "...จำเลยได้ใส่ความโจทก์ต่ออธิบดี...ด้วยเอกสารฉบับลงวันที่ 12 มิถุนายน 2545 มีข้อความว่า "...ข้อความดังกล่าวเป็นความเท็จความจริงโจทก์ไม่เคยแอบอ้างว่าโจทก์เป็นนิติบุคคลที่เกี่ยวข้องกับหน่วยงานของรัฐ...แต่ประการใด การกระทำของจำเลยเป็นการใส่ความโจทก์ด้วยทำให้ปรากฏเป็นตัวอักษร ทำให้โจทก์เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น ถูกเกลียดชัง เป็นการหมิ่นประมาทโจทก์..." โดยโจทก์ไม่ได้บรรยายให้เห็นว่า จำเลยใส่ความโจทก์ต่อบุคคลที่ 3 โดยการโฆษณาอันเป็นองค์ประกอบความผิดตาม ป.อ. มาตรา 328 แม้โจทก์จะขอให้ลงโทษตามมาตรา 328 มาด้วยก็ตาม ศาลก็ไม่อาจพิพากษาลงโทษจำเลยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหนึ่ง
เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง โจทก์อุทธรณ์ในปัญหาข้อกฎหมายว่าคดีอยู่ในชั้นไต่สวนมูลฟ้อง ศาลชั้นต้นไม่สามารถจะยกข้อกฎหมายตามมาตรา 329 (1) (3) ขึ้นวินิจฉัยได้ เห็นว่า ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยปัญหาดังกล่าวไว้ว่า หากข้อเท็จจริงตามที่รับฟังดังทางไต่สวนมูลฟ้องต้องด้วย ป.อ. มาตรา 329 ศาลย่อมมีอำนาจหยิบยกข้อความจริงนี้ขึ้นเป็นเหตุผลในการวินิจฉัยคดีได้ หาใช่เรื่องจำกัดเฉพาะเจาะจงว่าต้องเป็นกรณีที่จำเลยเท่านั้นที่มีหน้าที่นำพยานหลักฐานมาสืบให้เห็นแล้วพิพากษายืนดังนั้นที่โจทก์ฎีกาอ้างว่า ข้อความที่จำเลยหมิ่นประมาทโจทก์ตามที่ปรากฏในเอกสารต้องอ่านทั้งหมด มิใช่ยกข้อความตอนใดตอนหนึ่งแล้วแปลว่าไม่มีข้อความหมิ่นประมาท เมื่อปรากฏว่าโจทก์ได้รับอนุมัติให้เช่าพื้นที่ขายสินค้า ต่อมาจำเลยประสงค์จะเช่าพื้นที่ จึงใช้เล่ห์เพทุบายทำหนังสือดังกล่าวให้สอบสวนว่าโจทก์ไม่สุจริต จึงมิใช่กรณีแสดงความคิดเห็นโดยสุจริตเพื่อความชอบธรรม ฎีกาโจทก์ดังกล่าวมิได้โต้แย้งหรือคัดค้านว่าคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ไม่ชอบอย่างไร และที่ถูกต้องเป็นอย่างไรจึงเป็นฎีกาที่ไม่ชัดเจนต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 225
เมื่อศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า คดีโจทก์ไม่มีมูลและพิพากษายกฟ้อง โจทก์อุทธรณ์ได้แต่เฉพาะในปัญหาข้อกฎหมาย การที่โจทก์ฎีกาปัญหาข้อเท็จจริงว่า คดีโจทก์มีมูลความผิดตามฟ้อง จึงเป็นการยกข้อเท็จจริงที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ขึ้นมาให้ศาลฎีกาวินิจฉัย ต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 แม้จะมีการอนุญาตให้ฎีกามาก็ตาม ศาลฎีกาไม่อาจรับวินิจฉัยปัญหาดังกล่าวให้ได้เช่นกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4178/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การวินิจฉัยนอกประเด็นความรับผิดในฐานะตัวการเมื่อจำเลยที่ 1 ไม่เป็นผู้กระทำละเมิด
คดีมีประเด็นพิพาทเพียงว่า จำเลยที่ 1 เป็นผู้กระทำละเมิดต่อโจทก์หรือไม่ และจำเลยที่ 2 ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ในฐานะตัวการหรือไม่ ดังนั้นเมื่อคดีโจทก์สำหรับจำเลยที่ 1 ถึงที่สุดตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นโดยที่ศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยไว้ว่า จำเลยที่ 1 เป็นคนละคนกับ ป. ผู้ขับรถยนต์คนเกิดเหตุ จึงมิได้เป็นผู้กระทำละเมิดต่อโจทก์ จำเลยที่ 2 ซึ่งถูกฟ้องให้ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ในฐานะตัวการก็ย่อมไม่ต้องรับผิดด้วย ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า ป. ซึ่งเป็นผู้ขับรถยนต์คันเกิดเหตุเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 2 ใช้ ป. ขับรถยนต์คันเกิดเหตุ เมื่อรถยนต์คันดังกล่าวชนเสาไฟฟ้าของโจทก์เสียหาย จำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดชำระค่าเสียหายในเหตุละเมิดตามฟ้อง เป็นการวินิจฉัยนอกฟ้องนอกประเด็น ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 142

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4052/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการฎีกาในคดีครอบครองปรปักษ์: มูลค่าทรัพย์สินและข้อพิพาทเรื่องมรดก
คู่ความตกลงกัน ตามรายงานกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นฉบับลงวันที่ 1 มีนาคม 2547 ว่าที่ดินพิพาทมีราคา 250,000 บาท ผู้คัดค้านประสงค์จะให้แบ่งที่ดินพิพาทแก่ผู้คัดค้านและบุตรเจ้ามรดกคนอื่น ๆ รวม 5 คน ตามส่วนที่แต่ละคนมีสิทธิได้รับตามกฎหมาย โดยขอให้แบ่งแก่ผู้คัดค้านเฉพาะส่วนที่ผู้คัดค้านจะได้รับในฐานะทายาทโดยธรรม อันเป็นฎีกาในทำนองว่าที่ดินพิพาท 1 ใน 5 ส่วนของผู้คัดค้านไม่ได้ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ร้องโดยการครอบครองปรปักษ์ ราคาทรัพย์สินที่พิพาทในชั้นฎีการะหว่างผู้ร้องกับผู้คัดค้านจึงไม่เกินสองแสนบาท คดีของผู้คัดค้านจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4052/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการฎีกาในคดีครอบครองปรปักษ์เมื่อราคาทรัพย์สินต่ำกว่าสองแสนบาท และประเด็นการเป็นทายาท
ที่ดินพิพาทมีราคา 250,000 บาท แต่ปรากฏตามฎีกาของผู้คัดค้านว่า ผู้คัดค้านประสงค์จะให้แบ่งที่ดินพิพาทซึ่งผู้คัดค้านอ้างว่าเป็นทรัพย์มรดกของ ส. ให้แก่ผู้คัดค้านและบุตรเจ้ามรดกคนอื่นๆ รวม 5 คน ตามส่วนที่แต่ละคนมีสิทธิได้รับตามกฎหมาย โดยขอให้แบ่งแก่ผู้คัดค้านเฉพาะส่วนที่ผู้คัดค้านจะได้รับในฐานะทายาทโดยธรรม อันเป็นการฎีกาในทำนองว่าที่ดินพิพาท 1 ใน 5 ส่วนของผู้คัดค้านไม่ได้ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ร้องโดยการครอบครองปรปักษ์ ราคาทรัพย์สินที่พิพาทกันในชั้นฎีการะหว่างผู้ร้องกับผู้คัดค้านจึงไม่เกินสองแสนบาท คดีของผู้คัดค้านย่อมต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3516/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพาอาวุธปืนติดตัวในเมืองโดยไม่ได้รับอนุญาต แม้มีเหตุผลอื่นใดก็ไม่เป็นเหตุให้การกระทำนั้นชอบด้วยกฎหมาย
การที่จำเลยรับฝากอาวุธปืนของกลางไว้จาก ป. แล้วนำไปเก็บไว้ในช่องเก็บของในรถยนต์ของ ม. โดยจำเลยนั่งไปด้วย ถือได้ว่าจำเลยพาอาวุธปืนของกลางติดตัวไปด้วย เมื่อจำเลยนั่งโดยสารรถยนต์ของ ม. จากร้านอาหาร จ. ไปตามถนนจรัญสนิทวงศ์ถึงบริเวณที่เกิดเหตุสี่แยกบรมราชชนนี อันเป็นเมืองและทางสาธารณะโดยไม่ได้รับใบอนุญาตให้มีอาวุธปืนติดตัว การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานพาอาวุธปืนติดตัวไปในเมืองหรือทางสาธารณะโดยไม่ได้รับใบอนุญาต ส่วนที่จำเลยอ้างว่าอาวุธปืนของกลางเป็นของ ส. ได้นำมาฝาก บ. ไว้จะไปทำธุระในเมือง แต่ บ. กลัวว่าบุตรของตนซึ่งยังเล็กและซุกซนจะได้รับอันตรายจึงฝากจำเลยไว้ ก็มิใช่กรณีที่มีเหตุจำเป็นเร่งด่วนต้องมีอาวุธปืนของกลางติดตัวไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3319/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เช็คไม่สามารถชำระได้ ผู้สั่งจ่ายต้องรับผิดตามจำนวนเงินในเช็ค แม้จะมีมูลหนี้ลดลง
จำเลยเป็นผู้ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คพิพาทจำนวนเงิน 200,000 บาท ให้แก่โจทก์เมื่อเช็คถึงกำหนดชำระ ธนาคารตามเช็คได้ปฏิเสธการจ่ายเงินโดยให้เหตุผลว่าเงินในบัญชีไม่พอจ่าย คดีคงมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ว่า จำเลยจะต้องรับผิดต่อโจทก์เป็นจำนวนเท่าใด เห็นว่าคดีนี้ศาลอุทธรณ์ภาค 3 วินิจฉัยว่า แม้จำเลยลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คพิพาทจำนวนเงิน 200,000 บาท แต่โจทก์กับจำเลยมีมูลหนี้กัน 100,000 บาท จำเลยจึงต้องรับผิดต่อโจทก์เพียง 100,000 บาท ทั้งนี้โดยรับฟังข้ออ้างของจำเลยที่ว่า หากจำเลยต้องรับผิดก็คงรับผิดเพียงหนี้ตามเช็คที่ ส. ได้สั่งจ่ายเช็ค 2 ฉบับ ฉบับละ 50,000 บาท รวม 100,000 บาท ซึ่งจำเลยเป็นผู้ลงลายมือชื่อสลักหลังเช็คทั้งสองไว้เท่านั้น ทั้งนี้จำเลยได้ขอให้ศาลออกคำสั่งเรียกสมุดบัญชีเงินสดรายวันของโจทก์ที่แสดงให้ปรากฏรายการรับเงินการจ่ายเงินทุกประเภทของทุกวันทำการระหว่างวันที่ 17 กันยายน 2539 ถึงวันที่ 15 กรกฎาคม 2540 และระหว่างวันที่ 1 มิถุนายน 2543 ถึงวันที่ 30 สิงหาคม 2543 ซึ่งเป็นเอกสารที่อยู่ในความครอบครองของโจทก์มาเป็นพยานหลักฐาน เพื่อพิสูจน์ถึงข้ออ้างของจำเลยแต่โจทก์ไม่สามารถส่งเอกสารดังกล่าวต่อศาล ศาลอุทธรณ์ภาค 3 จึงได้วินิจฉัยว่าโจทก์มิได้ปฏิบัติตามคำสั่งเรียกเอกสารของศาลโดยไม่มีเหตุผลสมควร ถือว่าข้อเท็จจริงแห่งข้ออ้างของจำเลยที่ว่ามูลหนี้ที่จำเลยมีต่อโจทก์จำนวน 100,000 บาท โจท์ยอมรับแล้วตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา 123 วรรคหนึ่ง จำเลยจึงต้องรับผิดต่อโจทก์ตามเช็คพิพาทเพียง 100,000 บาท เท่านั้น การจะนำข้อสันนิษฐานตามมาตรา 123 วรรคหนึ่ง มาใช้บังคับต่อคดีได้นั้น ต้นฉบับเอกสารที่จำเลยอ้างว่าอยู่ในความครอบครองของโจทก์ที่จำเลยประสงค์จะอ้างอิงเป็นพยานหลักฐานจะต้องเป็นพยานหลักฐานสำคัญที่ทำให้สามารถพิสูจน์พยานซึ่งเป็นประเด็นในดคีได้โดยตรง คดีนี้ได้ความจากทางนำสืบของจำเลยซึ่งรับเองว่า จำเลยได้สั่งจ่ายเช็คพิพาทให้โจทก์ในปี พ.ศ.2541 ส่วนพยานเอกสารที่จำเลยขอให้ศาลมีคำสั่งเรียกจากโจทก์นั้น เป็นสมุดเงินสดรายวันของโจทก์ระหว่างวันที่ 17 กันยายน 2539 ถึงวันที่ 25 กรกฎาคม 2540 และระหว่างวันที่ 1 มิถุนายน 2543 ถึงวันที่ 13 สิงหาคม 2543 ซึ่งไม่อยู่ในระยะเวลาที่จำเลยอ้างว่าได้สั่งจ่ายเช็คพิพาทแก่โจทก์ ดังนั้น แม้จะได้เอกสารที่จำเลยขอมาและจำเลยจะพิสูจน์ได้ว่าผู้ใดเป็นคนนำเช็คไปขายลดเช็คให้โจท์หรือมีหลักฐานว่าจำเลยเป็นหนี้โจทก์อยู่เท่าใด ก็ไม่ใช่ประเด็นสำคัญที่จะมีน้ำหนักหักล้างพยานหลักฐานของโจทก์ได้ เมื่อจำเลยเป็นผู้ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คพิพาทจำนวน 200,000 บาท แก่โจทก์ แล้วต่อมาโจทก์ซึ่งเป็นผู้ทรงเช็คโดยชอบนำเช็คไปขึ้นเงินต่อธนาคารแต่ธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงิน จำเลยย่อมต้องรับผิดตามเนื้อความในเช็คนั้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 900 วรรคหนึ่ง
of 8