คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
เกียรติศักดิ์ เกียรติดำรง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 54 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2613/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ แผนฟื้นฟูกิจการขัดต่อกฎหมายล้มละลาย: ผู้ค้ำประกันยังคงต้องรับผิดในหนี้ส่วนที่เหลือ
ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 90/60 วรรคสอง มีความหมายว่าผลของคำสั่งเห็นชอบด้วยแผนมีผลเฉพาะตัวลูกหนี้ในคดีฟื้นฟูกิจการเท่านั้นที่จะหลุดพ้นจากหนี้ที่มีอยู่ก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งเห็นชอบด้วยแผน แล้วมาผูกพันตามหนี้ที่กำหนดไว้ในแผนฟื้นฟูกิจการ ส่วนบุคคลอื่นซึ่งต้องร่วมรับผิดกับลูกหนี้จะต้องรับผิดเช่นไร ต้องเป็นไปตามกฎหมายต่างๆ ซึ่งว่าด้วยความรับผิดของบุคคลในทางแพ่ง ดังนี้ ในส่วนตัวลูกหนี้ย่อมได้รับการปลดเปลื้องความรับผิดในส่วนที่ขาดโดยผลของกฎหมายฟื้นฟูกิจการ แต่ในส่วนผู้ค้ำประกันหลุดพ้นความรับผิดก็เมื่อหนี้นั้นได้ระงับสิ้นไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 698 การที่แผนฟื้นฟูกิจการในคดีนี้กำหนดให้ผู้ค้ำประกันหลุดพ้นความรับผิดไปเสียทีเดียวย่อมเป็นการขัดต่อ พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 90/60 วรรคสอง อันเป็นกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนข้อกำหนดดังกล่าวจึงตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 150 จำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ผู้ค้ำประกันจึงไม่หลุดพ้นจากความรับผิดในหนี้ส่วนที่ยังขาด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2613/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ แผนฟื้นฟูกิจการขัดต่อกฎหมายล้มละลาย: ผู้ค้ำประกันยังคงรับผิดในหนี้ที่เหลือ
ตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 90/60 วรรคสอง มีความหมายว่า ผลของคำสั่งเห็นชอบด้วยแผนมีผลเฉพาะตัวลูกหนี้ในคดีฟื้นฟูกิจการเท่านั้นที่จะหลุดพ้นจากหนี้ที่มีอยู่ก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งเห็นชอบด้วยแผน แล้วมาผูกพันตามหนี้ที่กำหนดไว้ในแผนฟื้นฟูกิจการ ส่วนบุคคลอื่นซึ่งต้องร่วมรับผิดกับลูกหนี้จะต้องรับผิดเช่นไรต้องเป็นไปตามกฎหมายต่างๆ ซึ่งว่าด้วยความรับผิดของบุคคลในทางแพ่ง ดังนี้ในส่วนตัวลูกหนี้ย่อมได้รับการปลดเปลื้องความรับผิดในส่วนที่ขาดโดยผลของกฎหมายฟื้นฟูกิจการ แต่ในส่วนผู้ค้ำประกันหลุดพ้นความรับผิดก็เมื่อหนี้นั้นได้ระงับสิ้นไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 698 การที่แผนฟื้นฟูกิจการในคดีนี้กำหนดให้ผู้ค้ำประกันหลุดพ้นความรับผิดไปเสียทีเดียวย่อมเป็นการขัดต่อ พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 90/60 วรรคสองดังกล่าว อันเป็นกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนข้อกำหนดดังกล่าวจึงตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 150 จำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ผู้ค้ำประกันจึงไม่หลุดพ้นจากความรับผิดในหนี้ส่วนที่ยังขาด โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2329/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความค่าระวางทางทะเล, การแก้ไขฟ้องหลังชี้สองสถาน, และผลกระทบต่ออายุความ
โจทก์ยื่นคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องโดยเพิ่มจำนวนเงินค่าระวางและอุปกรณ์แห่งค่าระวางที่เรียกร้องให้จำเลยชำระ จากฟ้องเดิมตามใบเรียกเก็บเงิน 178 ฉบับ จำนวน 87,038.03 ดอลลาร์สหรัฐ ขอเพิ่มเติมอีก 102 ฉบับนั้น โจทก์ย่อมทราบดีอยู่แล้วว่ามีหนี้จำนวนนั้นที่จำเลยค้างชำระอยู่ตั้งแต่ก่อนโจทก์ฟ้องคดี ถือไม่ได้ว่าเป็นกรณีที่มีเหตุสมควรที่ไม่อาจยื่นคำร้องได้ก่อนวันชี้สองสถาน
โจทก์ฟ้องเรียกให้จำเลยชำระค่าระวางและอุปกรณ์แห่งค่าระวาง ซึ่งตาม พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534 มาตรา 3 ให้คำนิยามของอุปกรณ์แห่งค่าระวางโดยถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของค่าระวาง ดังนั้น ค่าระวางและอุปกรณ์แห่งค่าระวางจึงมีอายุความเป็นอย่างเดียวกัน เมื่อ พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534 มิได้กำหนดอายุความของสิทธิเรียกร้องค่าระวางไว้ จึงต้องใช้อายุความตามที่กำหนดไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (3) กำหนดไว้ว่าสิทธิเรียกร้องค่าระวางมีกำหนด 2 ปี โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2545 และหนี้ตามใบแจ้งหนี้จำนวน 178 ฉบับ ล้วนเป็นใบแจ้งหนี้ที่ครบกำหนดชำระหลังวันที่ 25 ตุลาคม 2543 เมื่อนับถึงวันฟ้อง จึงยังไม่เกิน 2 ปี ฟ้องโจทก์สำหรับหนี้ตามใบแจ้งหนี้ในส่วนนี้ จึงไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2329/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อพิพาทค่าระวางขนส่งสินค้า ศาลพิจารณาหลักฐานเอกสารและการโต้แย้งของจำเลยเพื่อพิพากษาตัดสิน
พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534 มาตรา 3 ให้คำจำกัดความของคำว่า "อุปกรณ์แห่งค่าระวาง" ว่า "ค่าใช้จ่ายอย่างใดที่ผู้ขนส่งได้เสียไปโดยควรในระหว่างขนส่ง ซึ่งตามประเพณีในการขนส่งทางทะเลถือเป็นส่วนหนึ่งของค่าระวาง..." ดังนั้น ค่าระวางและอุปกรณ์แห่งค่าระวางซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของค่าระวางจึงมีอายุความเป็นอย่างเดียวกัน ในกรณีนี้ พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534 มิได้กำหนดอายุความของสิทธิเรียกร้องค่าระวางไว้ แต่ใน ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (3) บัญญัติไว้ว่า "สิทธิเรียกร้องดังต่อไปนี้ให้มีกำหนดอายุความสองปี...(3)...ค่าระวาง..." อายุความเกี่ยวกับสิทธิเรียกร้องค่าระวางจึงมีกำหนด 2 ปี ตามบทมาตราดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2086/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปรับใช้กฎหมายอาญาเมื่อกฎหมายเปลี่ยนแปลงระหว่างการกระทำความผิด และการกำหนดโทษที่เหมาะสม
ตามมาตรา 2 ของ พ.ร.บ.ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ.2551 ซึ่งบัญญัติให้ยกเลิก พ.ร.บ.ควบคุมกิจการเทปและวัสดุโทรทัศน์ พ.ศ.2530 ทั้งฉบับ บัญญัติว่า "พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดเก้าสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป" เมื่อมีการประกาศใช้วันที่ 4 มีนาคม 2551 การเริ่มต้นนับระยะเวลาจึงต้องเริ่มนับหนึ่งในวันรุ่งขึ้น คือ 5 มีนาคม 2551 เป็นวันที่หนึ่ง ซึ่งจะครบ 90 วัน ในวันที่ 2 มิถุนายน 2551
คดีนี้จำเลยให้การรับสารภาพและข้อเท็จจริงยุติแล้วว่า ตามวันเวลาและสถานที่เกิดเหตุตามฟ้อง จำเลยประกอบกิจการจำหน่ายวีซีดีภาพยนตร์และแผ่นดิจิตอลวิดีโอดิสก์ภาพยนตร์ (ดีวีดีภาพยนตร์) โดยไม่ได้รับใบอนุญาต และขณะจำเลยกระทำความผิดคดีนี้ พ.ร.บ.ควบคุมกิจการเทปและวัสดุโทรทัศน์ พ.ศ.2530 ยังคงมีผลใช้บังคับ เพียงแต่ขณะที่ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศพิจารณาคดีนี้อยู่นั้น กฎหมายฉบับดังกล่าวถูกยกเลิกไปแล้วโดยมาตรา 3 (4) แห่ง พ.ร.บ.ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ.2551 โดยยังให้การกระทำดังกล่าวเป็นความผิดอยู่ถือไม่ได้ว่า พ.ร.บ.ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ.2551 ยกเลิกความผิดฐานนี้ แต่เป็นเรื่องที่กฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดแตกต่างจากกฎหมายที่ใช้บังคับขณะที่ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศพิจารณาคดี อันเป็นอำนาจหน้าที่ของศาลที่จะต้องปรับใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่จำเลย เมื่อระวางโทษในความผิดฐานดังกล่าวตาม พ.ร.บ. ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ.2551 มีเพียงโทษปรับโดยไม่มีโทษจำคุกจึงเป็นคุณมากกว่า ต้องใช้โทษตามกฎหมายดังกล่าวในส่วนที่ไม่มีโทษจำคุกมาบังคับแก่คดี สำหรับในส่วนของโทษปรับ เมื่อโทษปรับตาม พ.ร.บ.ควบคุมกิจการเทปและวัสดุโทรทัศน์ พ.ศ.2530 ลงโทษปรับได้เพียงไม่เกินสองหมื่นบาทแต่โทษตาม พ.ร.บ.ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ.2551 กำหนดโทษปรับตั้งแต่สองแสนบาทถึงหนึ่งล้านบาท ทั้งยังให้ปรับต่อไปรายวันอีกวันละหนึ่งหมื่นบาท จึงต้องใช้โทษปรับตาม พ.ร.บ.ควบคุมกิจการเทปและวัสดุโทรทัศน์ พ.ศ.2530 มาบังคับแก่คดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2079-2084/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิบัตร: การพิจารณาการละเมิดสิทธิบัตรต้องพิสูจน์กรรมวิธีผลิตที่ตรงกัน มิใช่เพียงใช้กรรมวิธีคล้ายคลึงกัน
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศฯ มาตรา 26 บัญญัติว่า กระบวนพิจารณาในศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศให้เป็นไปตามบทบัญญัติแห่ง พ.ร.บ.นี้ และข้อกำหนดตามมาตรา 30 ในกรณีที่ไม่มีบทบัญญัติและข้อกำหนดดังกล่าวให้นำบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. หรือ ป.วิ.อ. หรือ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับโดยอนุโลมและกรณีไต่สวนมูลฟ้องนี้ไม่มีบทบัญญัติแห่ง พ.ร.บ.และข้อกำหนดดังกล่าวจึงต้องนำบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.อ. ภาค 3 วิธีพิจารณาในศาลชั้นต้น ลักษณะ 1 ฟ้องคดีอาญาและไต่สวนมูลฟ้อง มาใช้บังคับโดยอนุโลม ดังนั้น กรอบการพิจารณาที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางจะต้องพิจารณาและวินิจฉัยจึงมีว่าคดีมีมูลหรือไม่ ซึ่งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางก็ได้พิจารณาและวินิจฉัยว่า ในชั้นไต่สวนมูลฟ้องโจทก์ทั้งสองย่อมมีหน้าที่นำสืบข้อเท็จจริงให้พอมีมูลให้รับฟังได้ว่ามีการกระทำละเมิดอนุสิทธิบัตรของโจทก์ทั้งสองและจำเลยที่ 1 ถึงที่ 23 เป็นผู้กระทำความผิดตามที่โจทก์ทั้งสองกล่าวหาในฟ้องโดยวินิจฉัยปัญหาว่ามีการกระทำละเมิดอนุสิทธิบัตรตามฟ้องหรือไม่ และในเบื้องต้นมีการผลิตน้ำมันไบโอดีเซลโดยใช้กรรมวิธีตามข้อถือสิทธิในอนุสิทธิบัตรดังกล่าวหรือไม่อันเป็นการพิจารณาเพื่อนำไปสู่การวินิจฉัยว่าคดีมีมูลหรือไม่ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 167 นั้นเอง มิใช่เป็นการตั้งประเด็นเพื่อวินิจฉัยว่ามีการกระทำความผิดตามฟ้องจริงหรือไม่
อนุสิทธิบัตรสำหรับการประดิษฐ์ของโจทก์ทั้งสอง ระบุข้อถือสิทธิว่า "กรรมวิธีในการเตรียมส่วนผสมที่ใช้ได้อย่างน้ำมันเชื้อเพลิงสำหรับเครื่องยนต์ดีเซลที่ประกอบด้วยการทำให้ส่วนผสมต่อไปนี้ผสมเข้าด้วยกันโดยการใช้เครื่องสูบผสมเวียนน้ำมันพืชเหลือใช้ที่ผ่านการทำให้สะอาด น้ำมันดีเซลและน้ำมันละหุ่ง (หรือแอลกอฮอล์) ในอัตราส่วน 10:10:1 โดยมีปริมาตรตามลำดับ ก่อนปรับความหนืดเป็น 6 ถึง 8 เซนติสโตกส์ ด้วยน้ำมันดีเซล" ดังนั้น โจทก์ทั้งสองจึงเพียงมีสิทธิแต่ผู้เดียวในการใช้กรรมวิธีตามอนุสิทธิบัตรดังกล่าว ผลิต ใช้ ขาย มีไว้เพื่อขาย เสนอขาย หรือนำมาในราชอาณาจักรซึ่งผลิตภัณฑ์ที่ผลิตโดยใช้กรรมวิธีตามอนุสิทธิบัตรดังกล่าวเท่านั้นบุคคลอื่นย่อมมีสิทธิที่จะผลิต ใช้ ขาย มีไว้เพื่อขาย เสนอขาย หรือนำมาใน ราชอาณาจักรซึ่งผลิตภัณฑ์ที่ผลิตโดยใช้กรรมวิธีอื่นๆ นอกจากกรรมวิธีตามอนุสิทธิบัตรของโจทก์ทั้งสอง เมื่อโจทก์ที่ 1 เบิกความเพียงว่า จำเลยทั้งหมดผลิตน้ำมันไบโอดีเซลโดยใช้น้ำมันพืชใช้แล้ว แต่ไม่ปรากฏว่าจำเลยทั้งหมดใช้กรรมวิธีตามอนุสิทธิบัตรของโจทก์ทั้งสองในการผลิตน้ำมันไบโอดีเซลหรือไม่ แม้โจทก์ที่ 1 จะอ้างว่าจำเลยทั้งหมดใช้กระบวนการทรานส์เอสเทอริฟิเคชั่น (Transesterification) หรือกระบวนการกำจัดไขมันและสิ่งสกปรกที่เจือปนในน้ำมันในการผลิตน้ำมันไบโอดีเซลอันเป็นกรรมวิธีเดียวกันกับกรรมวิธีตามข้อถือสิทธิในอนุสิทธิบัตรของโจทก์ทั้งสอง แต่โจทก์ที่ 1 ก็เบิกความตอบคำถามค้านว่า กระบวนการดังกล่าวคล้ายคลึงกับกรรมวิธีในอนุสิทธิบัตรของโจทก์ทั้งสอง แต่มีจุดแตกต่างกันคือวิธีการดังกล่าวใช้เมทานอล ส่วนของโจทก์ทั้งสองใช้น้ำมันดีเซลโดยอาจมีส่วนผสมที่ใช้แอลกอฮอล์หรือไม่ใช้เลยก็ได้ ประกอบกับทางไต่สวนไม่ได้ความว่ากระบวนการทรานส์เอสเทอริฟิเคชั่นที่จำเลยทั้งหมดใช้ในการผลิตน้ำมันไบโอดีเซลใช้กรรมวิธีมีลักษณะตรงกับกรรมวิธีในอนุสิทธิบัตรของโจทก์ทั้งสองในสาระสำคัญหรือไม่อย่างไร คดีของโจทก์ทั้งสองไม่มีมูล

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2079-2084/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิบัตรน้ำมันไบโอดีเซล: การผลิตโดยกรรมวิธีอื่นที่ไม่ตรงตามสิทธิบัตร ไม่เป็นการละเมิด
โจทก์ทั้งสองเป็นผู้ทรงอนุสิทธิบัตรสำหรับการประดิษฐ์ชื่อว่า "กรรมวิธีทำน้ำมันพืชเหลือใช้เป็นน้ำมันเชื้อเพลิงใช้กับเครื่องยนต์ดีเซล" ระบุข้อถือสิทธิว่า "กรรมวิธีในการเตรียมส่วนผสมที่ใช้ได้อย่างน้ำมันเชื้อเพลิงสำหรับเครื่องยนต์ดีเซลที่ประกอบด้วยการทำให้ส่วนต่อไปนี้ผสมเข้าด้วยกันโดยการใช้เครื่องสูบผสมเวียนน้ำมันพืชเหลือใช้ที่ผ่านการทำให้สะอาด น้ำมันดีเซลและน้ำมันละหุ่ง (หรือแอลกอฮอล์) ในอัตราส่วน 10 : 10 : 1 โดยปริมาตรตามลำดับ ก่อนปรับความหนืดเป็น 6 ถึง 8 เซนติสโตกส์ ด้วยน้ำมันดีเซล" ดังนั้นโจทก์ทั้งสองจึงไม่ได้มีสิทธิแต่เพียงผู้เดียวในการผลิตน้ำมันไบโอดีเซล แต่โจทก์ทั้งสองเพียงมีสิทธิแต่ผู้เดียวในการใช้กรรมวิธีตามอนุสิทธิบัตรดังกล่าว ผลิต ใช้ ขาย มีไว้เพื่อขาย เสนอขาย หรือนำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งผลิตภัณฑ์โดยใช้กรรมวิธีตามอนุสิทธิบัตรดังกล่าวของโจทก์ทั้งสองตาม พ.ร.บ.สิทธิบัตร พ.ศ.2522 มาตรา 36 (2) ประกอบมาตรา 65 ทศ บุคคอื่นย่อมมีสิทธิที่จะผลิต ใช้ ขาย มีไว้เพื่อขาย เสนอขาย หรือนำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งผลิตภัณฑ์ที่ผลิตโดยใช้กรรมวิธีอื่นๆ นอกจากกรรมวิธีตามอนุสิทธิบัตรดังกล่าวได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2072/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เครื่องหมายการค้า 'CHICLETS CRUNCH' มีลักษณะบ่งเฉพาะ แม้ 'CRUNCH' หมายถึงลักษณะสินค้า แต่โจทก์สละสิทธิ ทำให้เครื่องหมายการค้าเป็นที่รู้จักและแตกต่าง
โจทก์ยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าอักษรโรมันคำว่า "CHICLETS CRUNCH" เพื่อใช้กับสินค้าจำพวก 30 รายการสินค้า หมากฝรั่ง ลูกอม ขนมหวาน แม้คำว่า "CRUNCH" ซึ่งแปลว่าเคี้ยว เป็นคำที่เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าดังกล่าวโดยตรง แต่โจทก์ได้แสดงปฏิเสธไม่ขอถือเป็นสิทธิของตนแต่ผู้เดียวในคำดังกล่าวแล้ว และโจทก์ใช้คำว่า "CRUNCH" ประกอบกับคำว่า "CHICLETS" ซึ่งเป็นคำประดิษฐ์ที่ไม่มีในพจนานุกรม โดยตัวอักษรของทั้งสองคำมีขนาดเท่ากันและเรียงต่อกันเป็นลำดับ สาธารณชนย่อมทราบและเข้าใจได้ว่าสินค้าภายในเครื่องหมายการค้าดังกล่าวแตกต่างจากสินค้าอื่น เครื่องหมายการค้าตามคำขอจดทะเบียนของโจทก์จึงมีลักษณะบ่งเฉพาะตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 7 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1141/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เครื่องหมายการค้า 'OK!' ไม่ใช่คำสามัญ จดทะเบียนได้หากมีลักษณะบ่งเฉพาะ
อักษรโรมันคำว่า "OK" เป็นคำทั่วไปที่มีความหมายในพจนานุกรม ว่า ตกลง, เป็นที่น่าพอใจ, ถูกต้อง, ใช้ได้, เรียบร้อย ความหมายของอักษรโรมันและเครื่องหมายดังกล่าวไม่ได้หมายถึงตัวสินค้าหรือเป็นการเล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าที่โจทก์ขอจดทะเบียนใช้เครื่องหมายการค้าโดยตรง ส่วนเครื่องหมาย "!" เป็นเครื่องหมายที่มีใช้ในภาษาต่างๆ ไม่ตกอยู่ภายใต้บังคับของกฎหมายเรื่องคำที่เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าโดยตรง ตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 7 (2) อักษรโรมันคำว่า "OK" จึงไม่เป็นคำสามัญซึ่งไม่อาจจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าได้ตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 7 (2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 871/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดหลายกรรม: ยาสูบเถื่อน & เครื่องหมายการค้าปลอม - โทษปรับตามอัตรากฎหมาย
การมีไว้ในครอบครองและมีไว้เพื่อขายซึ่งบุหรี่ซิกาแรต ซึ่งเป็นยาสูบที่ผลิตในต่างประเทศอันเป็นยาสูบที่มีน้ำหนักเกินกว่าห้าร้อยกรัมซึ่งมิได้ปิดแสตมป์ยาสูบตามกฎหมายเป็นความผิดต่อ พ.ร.บ.ยาสูบ ฯ ส่วนการมีไว้เพื่อจำหน่ายซึ่งสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าปลอมเป็นความผิดต่อ พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า ฯ ความผิดดังกล่าวเป็นการกระทำความผิดตาม พ.ร.บ. ที่มีโทษทางอาญาคนละฉบับกันมีองค์ประกอบความผิดแตกต่างกัน สามารถแยกการกระทำต่างหากจากกันได้ประกอบกับโจทก์บรรยายฟ้องข้อหามียาสูบที่มิได้ปิดแสตมป์ยาสูบตามกฎหมายไว้ในครอบครองเกินกว่าห้าร้อยกรัม และข้อหามีไว้เพื่อขายซึ่งยาสูบที่มิได้ปิดแสตมป์ยาสูบตามกฎหมายในฟ้องข้อหนึ่ง และบรรยายความผิดข้อหามีไว้เพื่อจำหน่ายซึ่งสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าปลอมแยกมาในฟ้องอีกข้อหนึ่ง โดยอ้าง ป.อ. มาตรา 91 มาด้วยเมื่อจำเลยให้การรับสารภาพ จึงรับฟังได้ว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน
ส่วนการที่จำเลยมียาสูบที่มิได้ปิดแสตมป์ยาสูบไว้ในครอบครองเกินกว่าห้าร้อยกรัมและมีไว้เพื่อขายซึ่งยาสูบที่มิได้ปิดแสตมป์ยาสูบ จำเลยมีเจตนามุ่งประสงค์ต่อผลอย่างเดียวกันคือการหลีกเลี่ยงที่จะไม่ต้องเสียภาษีอากรตามกฎหมาย จึงเป็นการกระทำกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบทต้องลงโทษในความผิดฐานมีไว้เพื่อขายซึ่งยาสูบที่มิได้ปิดแสตมป์ยาสูบตาม พ.ร.บ.ยาสูบ ฯ มาตรา 24 วรรคหนึ่ง, 50 ซึ่งเป็นกฎหมายที่มีโทษหนักที่สุด
of 6