พบผลลัพธ์ทั้งหมด 3 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6815/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยกฟ้องคดีข่มขืนใจผู้อื่น เนื่องจากพยานหลักฐานไม่เชื่อมโยงจำเลยกับเหตุการณ์ และการคืนของกลางแก่เจ้าของ
ตามคำเบิกความของประจักษ์พยานโจทก์ไม่ปรากฏว่าทั้งก่อนหรือขณะที่ ส. ชักอาวุธปืนพกออกมาจี้ที่หน้าอกของผู้เสียหาย จำเลยทั้งสองซึ่งอยู่ห่าง 3 ถึง 4 เมตร ได้กระทำการอย่างใดที่เห็นได้ว่าจำเลยทั้งสองมีส่วนในการที่ ส. ชักอาวุธปืนพกออกมาจี้ผู้เสียหาย กรณีจึงมีข้อสงสัยตามสมควรว่าจำเลยที่ 1 ร่วมกับ ส. กระทำความผิดหรือไม่ แม้จำเลยที่ 2 จะไม่ฎีกา แต่ข้อเท็จจริงแห่งการกระทำของจำเลยที่ 2 เกี่ยวพันเป็นอันเดียวกับจำเลยที่ 1 ซึ่งไม่เป็นความผิดตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ทั้งปัญหาว่า การกระทำของจำเลยที่ 2 เป็นความผิดตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นหรือไม่ เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ว่าจะไม่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวในศาลอุทธรณ์ภาค 7 ก็ตาม ศาลฎีกามีอำนาจยกฟ้องจำเลยที่ 2 ให้พ้นจากความผิดฐานข่มขืนใจผู้อื่นให้กระทำการหรือจำยอมต่อสิ่งใดโดยมีอาวุธได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185, 195 วรรคสอง ประกอบด้วย มาตรา 215 และ 225
สำหรับคำขอคืนของกลางอื่นที่เหลือแก่เจ้าของ ที่โจทก์บรรยายฟ้องว่าเจ้าพนักงานตำรวจยึดเครื่องยนต์ดีเซล 1 เครื่อง หลังคารถขนาดเล็กพับได้ 1 หลัง ท่อไอเสียเฮดเดอร์รถยนต์ 1 ชุด กันชนหน้าและกันชนหลังรถยนต์ 1 ชุด อันเป็นทรัพย์ส่วนหนึ่งของผู้เสียหายที่จำเลยทั้งสองร่วมกันเอาไปเป็นของกลางและขอให้คืนของกลางดังกล่าวแก่เจ้าของ คำขอดังกล่าวเป็นคำขอให้ศาลมีคำสั่งคืนของกลางแก่เจ้าของเมื่อศาลพิพากษาคดีส่วนอาญาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 49 มิใช่คำขอส่วนแพ่งที่ให้พนักงานอัยการเรียกทรัพย์สินหรือราคาแทนผู้เสียหายตาม ป.วิ.อ. มาตรา 43 ดังนั้น ที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าเมื่อจำเลยทั้งสองไม่ได้กระทำความผิดฐานปล้นทรัพย์ กรณีไม่ต้องด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 43 และยกคำขอดังกล่าวจึงไม่ถูกต้อง ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาเห็นควรยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องโดยให้คืนของกลางอื่นแก่เจ้าของตาม ป.วิ.อ. มาตรา 49
สำหรับคำขอคืนของกลางอื่นที่เหลือแก่เจ้าของ ที่โจทก์บรรยายฟ้องว่าเจ้าพนักงานตำรวจยึดเครื่องยนต์ดีเซล 1 เครื่อง หลังคารถขนาดเล็กพับได้ 1 หลัง ท่อไอเสียเฮดเดอร์รถยนต์ 1 ชุด กันชนหน้าและกันชนหลังรถยนต์ 1 ชุด อันเป็นทรัพย์ส่วนหนึ่งของผู้เสียหายที่จำเลยทั้งสองร่วมกันเอาไปเป็นของกลางและขอให้คืนของกลางดังกล่าวแก่เจ้าของ คำขอดังกล่าวเป็นคำขอให้ศาลมีคำสั่งคืนของกลางแก่เจ้าของเมื่อศาลพิพากษาคดีส่วนอาญาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 49 มิใช่คำขอส่วนแพ่งที่ให้พนักงานอัยการเรียกทรัพย์สินหรือราคาแทนผู้เสียหายตาม ป.วิ.อ. มาตรา 43 ดังนั้น ที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าเมื่อจำเลยทั้งสองไม่ได้กระทำความผิดฐานปล้นทรัพย์ กรณีไม่ต้องด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 43 และยกคำขอดังกล่าวจึงไม่ถูกต้อง ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาเห็นควรยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องโดยให้คืนของกลางอื่นแก่เจ้าของตาม ป.วิ.อ. มาตรา 49
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3412/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พยานบอกเล่าประกอบคำรับสารภาพพิสูจน์ความผิดฐานฆ่าผู้อื่นได้ แม้ประจักษ์พยานขัดแย้ง
ม.ประจักษ์พยานยืนยันว่าจำเลยเป็นคนร้ายใช้มีดปลายแหลมแทงผู้ตาย รับฟังเชื่อถือไม่ได้เพราะเบิกความขัดแย้งกับที่เคยให้การไว้ในชั้นสอบสวน
โจทก์มีบันทึกคำให้การชั้นสอบสวน ของ ล. และ ม. โดย ล. ให้ถ้อยคำว่า ขณะเกิดเหตุเห็น ม. ผู้ตาย จำเลย และ ส. นั่งดื่มสุราแล้วโต้เถียงกัน มี ว. เข้าไปด่าพวกที่ทะเลาะกัน ม. ลุกขึ้นเดินไปทางหน้าบ้าน ผู้ตายเดินตามไปแล้วเดินเข้าป่าละเมาะข้างบ้าน จำเลยลุกจากโต๊ะไล่ตามผู้ตายไปติดๆ แล้วออกมาในมือถือมีดปลายแหลมด้วยอาการรีบร้อนเดินไปทางทิศเหนือ ล. เข้าใจว่าผู้ตายถูกทำร้ายจึงเข้าไปดูพบว่าได้รับบาดเจ็บ จึงเรียกคนช่วยกันนำผู้ตายส่งโรงพยาบาล ต่อมาทราบว่าถึงแก่ความตาย ม. ให้ถ้อยคำว่า ก่อนเกิดเหตุเมื่อมีการโต้เถียงกันจำเลยมีท่าทางจะทำร้ายผู้ตาย จึงชวนผู้ตายออกไป จำเลยไล่ตามผู้ตายไป ส่วนตนไปหลบในสวนยางพารา เห็นจำเลยถือมีดปลายแหลมออกจากป่าละเมาะ โจทก์ไม่ได้ตัว ล. มาเบิกความเพราะ ล. ออกจากบ้านอันเป็นภูมิลำเนาไปนานแล้ว แต่ ล. ให้ถ้อยคำต่อพนักงานสอบสวนสอดคล้องกับบันทึกถ้อยคำของ ช. พี่ชายจำเลย และของ ม. ส่วน ม. ให้ถ้อยคำต่อพนักงานสอบสวนในวันเกิดเหตุยังไม่มีเวลาจะแต่งเติมเรื่องราวเชื่อว่าได้ให้การต่อพนักงานสอบสวนตามจริงตามที่รู้เห็นมา แม้คำให้การของ ล. และ ม. จะเป็นพยานบอกเล่า แต่ต้องด้วยข้อยกเว้นที่ไม่ห้ามมิให้รับฟังเป็นข้อสำคัญ เมื่อรับฟังประกอบคำรับสารภาพของจำเลยในชั้นรับมอบตัวและชั้นสอบสวน พยานโจทก์จึงมีน้ำหนักรับฟังลงโทษจำเลยได้
โจทก์มีบันทึกคำให้การชั้นสอบสวน ของ ล. และ ม. โดย ล. ให้ถ้อยคำว่า ขณะเกิดเหตุเห็น ม. ผู้ตาย จำเลย และ ส. นั่งดื่มสุราแล้วโต้เถียงกัน มี ว. เข้าไปด่าพวกที่ทะเลาะกัน ม. ลุกขึ้นเดินไปทางหน้าบ้าน ผู้ตายเดินตามไปแล้วเดินเข้าป่าละเมาะข้างบ้าน จำเลยลุกจากโต๊ะไล่ตามผู้ตายไปติดๆ แล้วออกมาในมือถือมีดปลายแหลมด้วยอาการรีบร้อนเดินไปทางทิศเหนือ ล. เข้าใจว่าผู้ตายถูกทำร้ายจึงเข้าไปดูพบว่าได้รับบาดเจ็บ จึงเรียกคนช่วยกันนำผู้ตายส่งโรงพยาบาล ต่อมาทราบว่าถึงแก่ความตาย ม. ให้ถ้อยคำว่า ก่อนเกิดเหตุเมื่อมีการโต้เถียงกันจำเลยมีท่าทางจะทำร้ายผู้ตาย จึงชวนผู้ตายออกไป จำเลยไล่ตามผู้ตายไป ส่วนตนไปหลบในสวนยางพารา เห็นจำเลยถือมีดปลายแหลมออกจากป่าละเมาะ โจทก์ไม่ได้ตัว ล. มาเบิกความเพราะ ล. ออกจากบ้านอันเป็นภูมิลำเนาไปนานแล้ว แต่ ล. ให้ถ้อยคำต่อพนักงานสอบสวนสอดคล้องกับบันทึกถ้อยคำของ ช. พี่ชายจำเลย และของ ม. ส่วน ม. ให้ถ้อยคำต่อพนักงานสอบสวนในวันเกิดเหตุยังไม่มีเวลาจะแต่งเติมเรื่องราวเชื่อว่าได้ให้การต่อพนักงานสอบสวนตามจริงตามที่รู้เห็นมา แม้คำให้การของ ล. และ ม. จะเป็นพยานบอกเล่า แต่ต้องด้วยข้อยกเว้นที่ไม่ห้ามมิให้รับฟังเป็นข้อสำคัญ เมื่อรับฟังประกอบคำรับสารภาพของจำเลยในชั้นรับมอบตัวและชั้นสอบสวน พยานโจทก์จึงมีน้ำหนักรับฟังลงโทษจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10659/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งทรัพย์สินรวม แม้ไม่มีข้อตกลงเฉพาะเจาะจง ศาลมีอำนาจแบ่งตามสัดส่วนได้
คำฟ้องโจทก์กล่าวถึงสภาพเดิมของที่ดินพิพาท ซึ่งสามารถใช้ทำนาปลูกข้าวได้ แต่ปัจจุบันได้เปลี่ยนแปลงเป็นที่ดินตาบอดออกสู่ถนนสาธารณะไม่ได้เพราะสภาพแวดล้อมของแปลงที่ดินข้างเคียงที่เปลี่ยนไป โดยโจทก์มุ่งหมายอธิบายการแบ่งทรัพย์ที่ดินพิพาทดังคำขอบังคับท้ายฟ้องให้เป็นไปโดยสอดคล้องกับการใช้สอยที่ดินของที่ดินข้างเคียง ไม่มีวลีใดหรือข้อความในวรรคตอนใดในคำฟ้องบ่งบอกว่าโจทก์และจำเลยทั้งสี่เคยตกลงกันแจ้งชัดหรือโดยปริยายตั้งวัตถุประสงค์การใช้สอยที่ดินพิพาทไว้โดยเฉพาะเจาะจงเพื่อทำนาหรือให้เช่าทำนาอย่างใดเลย และคำให้การต่อสู้คดีของจำเลยทั้งสี่เองที่ต่างสละประเด็นไปแล้ว ก็มิได้โต้เถียงไว้ในประการดังกล่าวเพียงแต่อ้างว่า การแบ่งแยกตามที่โจทก์ขอบังคับจะก่อให้เกิดความเสียหายแก่เจ้าของรวมทุกคนและด้อยประโยชน์ที่เหมาะสมเท่านั้น ฟ้องโจทก์จึงมิใช่เรื่องเกี่ยวกับสิทธิในการจัดการทรัพย์ร่วมกันตาม ป.พ.พ. มาตรา 1358 ตามที่จำเลยทั้งสี่โต้เถียง ดังนี้ ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาโดยไม่นำหลักเกณฑ์เสียงข้างมากของเจ้าของรวมตลอดจนสิทธิตามสัดส่วนของเจ้าของรวมคนอื่นมาใช้บังคับ จึงชอบแล้ว
คดีนี้โจทก์ในฐานะเจ้าของรวมฟ้องขอแบ่งทรัพย์สินจากเจ้าของรวมคนอื่น จึงต้องนำ ป.พ.พ. มาตรา 1363 และมาตรา 1364 มาใช้บังคับแก่กรณี ที่จำเลยทั้งสี่ฎีกาโต้แย้งว่า ที่ดินพิพาทเป็นที่ดินตาบอดไม่เป็นโอกาสอันควรที่จะทำการแบ่งแยกในขณะนี้เพราะจะทำให้ที่ดินเฉพาะส่วนเจ้าของรวมคนอื่นมีราคาต่ำไปด้วย และโดยสภาพเศรษฐกิจที่ตกต่ำปัจจุบันอาจถูกผู้ซื้อกดราคาจนต่ำมากทำให้จำเลยทั้งสี่เสียหายอย่างร้ายแรง จึงอยู่ในบังคับตามมาตรา 1363 วรรคสามที่บัญญัติว่า "ท่านว่าเจ้าของรวมจะเรียกให้แบ่งทรัพย์สินในเวลาที่ไม่เป็นโอกาสอันควรไม่ได้" นั้น จำเลยทั้งสี่ได้แถลงสละประเด็นตามคำให้การและไม่ติดใจสืบพยานต่อไป ตามรายงานกระบวนพิจารณาวันที่ 18 กรกฎาคม 2545 อันหมายความว่า ศาลพึงต้องชี้ขาดพิพากษาคดีไปตามประเด็นแห่งคดีในคำฟ้องและคำขอบังคับ เมื่อโจทก์ประสงค์ที่จะแบ่งกรรมสิทธิ์รวม แต่จำเลยทั้งสี่ไม่ประสงค์ที่จะแบ่งในเวลานี้โดยไม่ปรากฏเหตุโต้แย้งเพราะจำเลยทั้งสี่สละประเด็นตามคำให้การแล้ว ดังนี้ ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า คดีโจทก์เป็นกรณีไม่ต้องห้ามที่จะเรียกให้แบ่งแยกดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 1363 วรรคสาม จึงชอบแล้ว และถือได้ว่าโจทก์ใช้สิทธิฟ้องคดีโดยสุจริต
แม้คำฟ้องโจทก์จะมิได้มีคำขอบังคับตามนัยมาตรา 1364 แต่การที่โจทก์ยื่นฟ้องมาโดยประสงค์ให้ศาลพิพากษาแบ่งที่ดินพิพาทที่โจทก์และจำเลยทั้งสี่ถือกรรมสิทธิ์รวมกันอันมิได้แบ่งแยกส่วนเฉพาะเจาะจงเป็นประการสำคัญ ศาลย่อมมีอำนาจแบ่งให้ตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 1364 วรรคสอง ได้ ไม่เป็นการพิพากษาเกินคำขอ
คดีนี้โจทก์ในฐานะเจ้าของรวมฟ้องขอแบ่งทรัพย์สินจากเจ้าของรวมคนอื่น จึงต้องนำ ป.พ.พ. มาตรา 1363 และมาตรา 1364 มาใช้บังคับแก่กรณี ที่จำเลยทั้งสี่ฎีกาโต้แย้งว่า ที่ดินพิพาทเป็นที่ดินตาบอดไม่เป็นโอกาสอันควรที่จะทำการแบ่งแยกในขณะนี้เพราะจะทำให้ที่ดินเฉพาะส่วนเจ้าของรวมคนอื่นมีราคาต่ำไปด้วย และโดยสภาพเศรษฐกิจที่ตกต่ำปัจจุบันอาจถูกผู้ซื้อกดราคาจนต่ำมากทำให้จำเลยทั้งสี่เสียหายอย่างร้ายแรง จึงอยู่ในบังคับตามมาตรา 1363 วรรคสามที่บัญญัติว่า "ท่านว่าเจ้าของรวมจะเรียกให้แบ่งทรัพย์สินในเวลาที่ไม่เป็นโอกาสอันควรไม่ได้" นั้น จำเลยทั้งสี่ได้แถลงสละประเด็นตามคำให้การและไม่ติดใจสืบพยานต่อไป ตามรายงานกระบวนพิจารณาวันที่ 18 กรกฎาคม 2545 อันหมายความว่า ศาลพึงต้องชี้ขาดพิพากษาคดีไปตามประเด็นแห่งคดีในคำฟ้องและคำขอบังคับ เมื่อโจทก์ประสงค์ที่จะแบ่งกรรมสิทธิ์รวม แต่จำเลยทั้งสี่ไม่ประสงค์ที่จะแบ่งในเวลานี้โดยไม่ปรากฏเหตุโต้แย้งเพราะจำเลยทั้งสี่สละประเด็นตามคำให้การแล้ว ดังนี้ ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า คดีโจทก์เป็นกรณีไม่ต้องห้ามที่จะเรียกให้แบ่งแยกดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 1363 วรรคสาม จึงชอบแล้ว และถือได้ว่าโจทก์ใช้สิทธิฟ้องคดีโดยสุจริต
แม้คำฟ้องโจทก์จะมิได้มีคำขอบังคับตามนัยมาตรา 1364 แต่การที่โจทก์ยื่นฟ้องมาโดยประสงค์ให้ศาลพิพากษาแบ่งที่ดินพิพาทที่โจทก์และจำเลยทั้งสี่ถือกรรมสิทธิ์รวมกันอันมิได้แบ่งแยกส่วนเฉพาะเจาะจงเป็นประการสำคัญ ศาลย่อมมีอำนาจแบ่งให้ตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 1364 วรรคสอง ได้ ไม่เป็นการพิพากษาเกินคำขอ