พบผลลัพธ์ทั้งหมด 89 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1875/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจอนุญาโตตุลาการ: ศาลมิอาจก้าวก่ายการวินิจฉัยเนื้อหาข้อพิพาทตามสัญญาอนุญาโตตุลาการ
คณะอนุญาโตตุลาการวินิจฉัยว่า ผู้คัดค้านได้ทำงานเสร็จตามสัญญาแล้ว จึงชี้ขาดให้ผู้ร้องชำระเงินค่าจ้างที่ยังค้างกับคืนเงินประกันผลงานให้แก่ผู้คัดค้าน คำวินิจฉัยชี้ขาดนี้จึงเป็นการวินิจฉัยชี้ขาดว่าผู้คัดค้านได้ทำงานแล้วเสร็จและมีสิทธิได้รับสินจ้างตามสัญญาหรือไม่ ซึ่งเป็นไปตามข้อสัญญา จึงไม่มีเหตุให้ศาลสั่งเพิกถอนคำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการดังกล่าว ที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า ผู้คัดค้านยังทำงานไม่เสร็จเรียบร้อยตามสัญญาเพราะมัณฑนากรหรือผู้ควบคุมงานของผู้ว่าจ้าง คือ ผู้ร้อง ยังไม่ได้ออกหนังสือให้แก่ผู้คัดค้าน อันเป็นการเข้าไปวินิจฉัยเนื้อหาในประเด็นข้อพิพาทที่เป็นอำนาจหน้าที่ของคณะอนุญาโตตุลาการโดยเฉพาะ แล้วพิพากษาให้เพิกถอนคำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการดังกล่าวมานั้น จึงไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1153/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจหน้าที่ผู้ใหญ่บ้านจำกัดเฉพาะการดูแลทุกข์สุขของราษฎร ไม่รวมถึงการตรวจสอบการใช้เงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
พ.ร.บ.ลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ.2457 มาตรา 27 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ (ฉบับที่ 11) พ.ศ.2551 มาตรา 7 มิได้กำหนดให้ผู้ใหญ่บ้านมีอำนาจหน้าที่ตรวจสอบการใช้เงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหรือการดำเนินการใดๆ โดยการใช้เงินที่ได้รับการอุดหนุนจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น การที่ผู้เสียหายจัดให้มีการประชุมราษฎรและคณะกรรมการหมู่บ้านและตรวจสอบกรณีสภาองค์การบริหารส่วนตำบลดอนเจดีย์มีมติเป็นเอกฉันท์อนุมัติให้จ่ายขาดเงินสะสมอุดหนุนกิจการเกษตรให้แก่กลุ่มเกษตรกรผู้ใช้น้ำ หมู่ที่ 3 ตำบลดอนเจดีย์ โดยไม่ปรากฏว่ามีผู้ร้องเรียนต่อผู้เสียหายหรือมีราษฎรในหมู่บ้านของผู้เสียหายได้รับความเดือนร้อนจากมติของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลดอนเจดีย์ดังกล่าว มิใช่เป็นการกระทำตามอำนาจหน้าที่ของผู้ใหญ่บ้านในการดูแลทุกข์สุขของราษฎรในหมู่บ้านซึ่งเป็นอำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 22741/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบท: ปล้นทรัพย์-หน่วงเหนี่ยวกักขัง ศาลฎีกาแก้ไขกระทงโทษ
ความผิดฐานปล้นทรัพย์และความผิดฐานหน่วงเหนี่ยวกักขัง โจทก์บรรยายฟ้องความผิดทั้งสองฐานรวมมาในฟ้องข้อ ค. ว่า เหตุที่จำเลยทั้งสี่กระทำการหน่วงเหนี่ยวกักขังผู้เสียหายที่ 2 นั้น ก็เพื่อสะดวกแก่การปล้นทรัพย์พาหรือเพื่อให้ยื่นให้ทรัพย์นั้น หรือเพื่อให้พ้นการจับกุม ความผิดทั้งสองฐานดังกล่าว จึงเป็นกรรมเดียวกัน ที่ศาลล่างเรียงกระทงลงโทษความผิดฐานปล้นทรัพย์และความผิดฐานหน่วงเหนี่ยวกักขัง จึงยังไม่ถูกต้อง ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความเสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นแก้ไขให้ถูกต้องได้ และเป็นเหตุในส่วนลักษณะคดี ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาตลอดไปถึงจำเลยที่ 1 และที่ 2 ซึ่งมิได้ฎีกาให้ได้รับประโยชน์ดุจจำเลยที่ 3 ผู้ฎีกาได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 213 ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 19979/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การข่มขืนกระทำชำเราไม่ถึงแก่การพรากเด็กเพื่ออนาจาร ต้องพิจารณาการพาหรือแยกเด็กออกจากความปกครองดูแล
จำเลยเพียงแต่โทรศัพท์นัดให้โจทก์ร่วมที่ 3 ไปพบบริเวณที่เกิดเหตุ โดยโจทก์ร่วมที่ 3 ขับรถจักรยานยนต์ไปพบ แล้วจำเลยข่มขืนกระทำชำเราโจทก์ร่วมที่ 3 บริเวณจุดที่นัดพบทุกครั้ง ไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าจำเลยได้พาโจทก์ร่วมที่ 3 ไปที่อื่นอีก แสดงว่าจำเลยมิได้หน่วงเหนี่ยวหรือกักขังโจทก์ร่วมที่ 3 การที่จะเป็นความผิดฐานพรากเด็กอายุกว่าสิบห้าปีแต่ยังไม่เกินสิบแปดปีไปเสียจากบิดามารดา ผู้ปกครอง หรือผู้ดูแลเพื่อการอนาจาร จะต้องเป็นการพาไปหรือแยกเด็กออกไปจากความปกครองดูแล ทำให้ความปกครองดูแลของบิดามารดาหรือผู้ปกครองเด็กถูกรบกวนหรือถูกกระทบกระเทือน ซึ่งคำว่า "พราก" ตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542 หมายความว่า จากไป พา เอาไปจาก แยกออกจากกัน หรือเอาออกจากกัน ดังนั้น การกระทำของจำเลยดังกล่าวยังไม่เข้าลักษณะพา และแยกเด็กไปจากความปกครองดูแลของผู้ปกครองเด็กอันทำให้ความปกครองดูแลของผู้ปกครองเด็กถูกรบกวนหรือถูกกระทบกระเทือนสิทธิ จึงไม่เป็นความผิดฐานพรากเด็กอายุกว่าสิบห้าปีแต่ยังไม่เกินสิบแปดปีไปเสียจากบิดามารดา ผู้ปกครองหรือผู้ดูแล เพื่อการอนาจารตาม ป.อ. มาตรา 319 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 17705/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานซ่องโจรและฉ้อโกงจากการล็อกเลขรางวัลสลากกินแบ่งรัฐบาล
จำเลยที่ 1 และที่ 3 ถึงที่ 5 ร่วมกับจำเลยที่ 2 และพวกอีกหลายคนที่ยังหลบหนีแบ่งหน้าที่กันทำโดยให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 และ ท. หลอกลวงสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จว่า เป็นผู้มีชื่อตามหางบัตรที่ได้รับเลือกให้เป็นกรรมการร่วมออกรางวัล ซึ่งจะตักตลับลูกบอลในภาชนะที่ตนอยู่ประจำหลักด้วยวิธีเสี่ยงทาย ความจริงแล้วจำเลยที่ 1 ที่ 2 และ ท. มิได้เป็นผู้มีชื่อตามหางบัตรที่แท้จริง และจำเลยที่ 1 ที่ 2 และ ท. ได้ทำเครื่องหมายที่ตลับลูกบอลด้วยสารเคมีตามวิธีการที่วางแผนซักซ้อมกันมา แล้วจะเลือกตักเอาลูกบอลที่มีเครื่องหมายดังกล่าวซึ่งเป็นลูกบอลหมายเลข 1 โดยการหลอกลวงดังว่านั้น ได้ไปซึ่งทรัพย์สินจากบุคคลที่สาม จึงเป็นความผิดฐานร่วมกันฉ้อโกงตามฟ้อง นอกจากนั้นการที่จำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 4 ร่วมประชุมวางแผนแบ่งหน้าที่กันกับจำเลยที่ 2 และพวกอีกหลายคนที่ยังหลบหนีเพื่อจะกระทำความผิดดังกล่าว ย่อมเป็นการสมคบกันตั้งแต่ห้าคนขึ้นไปเพื่อตระเตรียมกระทำความผิดฐานฉ้อโกง ซึ่งมีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงตั้งแต่หนึ่งปีขึ้นไป การกระทำของจำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 4 จึงเป็นความผิดฐานซ่องโจรด้วย
ความผิดฐานซ่องโจรกฎหมายเอาโทษไว้ก็เพราะการที่บุคคลตั้งแต่ห้าคนขึ้นไป เพียงที่ตกลงกันจะกระทำความผิดตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายอาญาภาค 2 ซึ่งแม้ยังไม่ทันได้กระทำความผิด ก็เป็นอันตรายแก่สังคมแล้ว กรณีนี้กรรมในเรื่องการสมคบกันกระทำความผิดฐานฉ้อโกงอันเป็นความผิดฐานซ่องโจรได้กระทำสำเร็จไปแล้ว เมื่อจำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 4 ได้กระทำกรรมใหม่ขึ้นอีก ด้วยการร่วมกับจำเลยอื่นที่เหลือหลอกลวงสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จ เป็นเหตุให้ได้รับทรัพย์สินจากบุคคลที่สาม การกระทำของจำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 4 กับพวกดังกล่าวจึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน
ความผิดฐานซ่องโจรกฎหมายเอาโทษไว้ก็เพราะการที่บุคคลตั้งแต่ห้าคนขึ้นไป เพียงที่ตกลงกันจะกระทำความผิดตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายอาญาภาค 2 ซึ่งแม้ยังไม่ทันได้กระทำความผิด ก็เป็นอันตรายแก่สังคมแล้ว กรณีนี้กรรมในเรื่องการสมคบกันกระทำความผิดฐานฉ้อโกงอันเป็นความผิดฐานซ่องโจรได้กระทำสำเร็จไปแล้ว เมื่อจำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 4 ได้กระทำกรรมใหม่ขึ้นอีก ด้วยการร่วมกับจำเลยอื่นที่เหลือหลอกลวงสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จ เป็นเหตุให้ได้รับทรัพย์สินจากบุคคลที่สาม การกระทำของจำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 4 กับพวกดังกล่าวจึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 16255/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิพากษาเกินคำขอในคดีทำร้ายร่างกาย - ศาลจำกัดเฉพาะประเด็นที่โจทก์ฟ้อง
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยใช้กำลังทำร้ายร่างกายโจทก์ร่วมโดยชก ต่อย และเตะ โดยไม่ได้บรรยายว่าจำเลยขับรถยนต์พุ่งชนท้ายรถจักรยานยนต์ของโจทก์ร่วมจนรถล้มทำให้ศีรษะของโจทก์ร่วมกระแทกกำแพงเป็นเหตุให้โจทก์ร่วมได้รับบาดเจ็บที่ศีรษะ ข้อเท็จจริงดังกล่าวจึงเป็นข้อเท็จจริงที่โจทก์มิได้กล่าวในฟ้อง ศาลไม่อาจนำข้อเท็จจริงดังกล่าวมาวินิจฉัยและรับฟังลงโทษจำเลยในความผิดฐานทำร้ายร่างกายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้ผู้ถูกกระทำร้ายรับอันตรายสาหัสตาม ป.อ. มาตรา 297 ได้ เพราะจะเป็นการพิพากษาเกินคำขอหรือที่มิได้กล่าวในฟ้องอันเป็นการต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15558/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยักยอกเงินของเจ้าพนักงาน และอำนาจฟ้องของเทศบาลนครหาดใหญ่
จำเลยเป็นลูกจ้างประจำของเทศบาลนครหาดใหญ่ มีหน้าที่เก็บเงินค่าธรรมเนียมตั้งแผงลอยขายอาหาร ทำสัญญาเช่าโต๊ะวางขายของและเก็บเงินค่าเช่าโต๊ะประจำเดือน ทั้งจัดทำใบนำส่งเงินให้เจ้าหน้าที่รับเงินเป็นประจำทุกวัน การที่จำเลยเรียกเก็บเงินค่าวางแผงขายของจากพ่อค้าแม่ค้าผู้เช่าแผงขายสินค้าจากเทศบาลนครหาดใหญ่เกินกว่าจำนวนแผงขายสินค้าในพื้นที่ของเทศบาลนครบาลหาดใหญ่ทั้งที่เช่าจากเทศบาลนครนครหาดใหญ่และไม่ได้เช่าจากเทศบาลนครหาดใหญ่ตามความเป็นจริงแล้ว จำเลยนำส่งเงินให้แก่เทศบาลนครหาดใหญ่เป็นจำนวนตามแผงที่พ่อค้าแม่ค้าเช่าจากเทศบาลนครหาดใหญ่ แต่ไม่นำส่งเงินที่เรียกเก็บเกินจากพ่อค้าแม่ค้าให้แก่เทศบาลนครหาดใหญ่ โดยจำเลยระบุจำนวนเงินลงในต้นฉบับใบเสร็จรับเงินตามจำนวนแผงวางขายสินค้าที่พ่อค้าแม่ค้าวางแผงขายสินค้า แต่ระบุจำนวนเงินลงในสำเนาใบเสร็จรับเงินตามจำนวนแผงที่พ่อค้าแม่ค้าเช่าจากเทศบาลนครหาดใหญ่ ถือว่าพ่อค้าแม่ค้าที่วางแผงเกิน ประสงค์จะจ่ายเงินตามจำนวนเงินที่วางแผงเกินให้แก่เทศบาลนครหาดใหญ่แล้ว เมื่อจำเลยรับเงินไว้ต้องถือว่ารับแทนเทศบาลนครหาดใหญ่ การที่จำเลยเบียดบังเงินดังกล่าวไปเป็นประโยชน์ส่วนตนโดยไม่นำเงินส่งแก่เทศบาลนครหาดใหญ่ ย่อมเป็นการยักยอกเงินของเทศบาลนครหาดใหญ่ เทศบาลนครหาดใหญ่จึงเป็นผู้เสียหายและมีอำนาจร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีแก่จำเลยในความผิดฐานยักยอกได้ โจทก์มีอำนาจฟ้อง
ผู้เสียหายมีนายกเทศมนตรีเป็นผู้มีอำนาจหน้าที่บริหารราชการให้เป็นไปตามกฎหมาย การที่ ส. ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานจัดเก็บรายได้อันเป็นเจ้าหน้าที่ระดับล่างของผู้เสียหายรู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิดจะถือว่าผู้เสียหายรู้ด้วยหาได้ไม่ เมื่อนายกเทศบาลนครหาดใหญ่มีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนเมื่อวันที่ 12 มกราคม 2542 และคณะกรรมการสอบสวนได้ทำการตรวจสอบและทำบันทึกสรุปข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการกระทำความผิดของจำเลยเมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2542 และผู้เสียหายร้องทุกข์เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2542 ยังไม่เกิน 3 เดือน คดีโจทก์ไม่ขาดอายุความ
ผู้เสียหายมีนายกเทศมนตรีเป็นผู้มีอำนาจหน้าที่บริหารราชการให้เป็นไปตามกฎหมาย การที่ ส. ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานจัดเก็บรายได้อันเป็นเจ้าหน้าที่ระดับล่างของผู้เสียหายรู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิดจะถือว่าผู้เสียหายรู้ด้วยหาได้ไม่ เมื่อนายกเทศบาลนครหาดใหญ่มีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนเมื่อวันที่ 12 มกราคม 2542 และคณะกรรมการสอบสวนได้ทำการตรวจสอบและทำบันทึกสรุปข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการกระทำความผิดของจำเลยเมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2542 และผู้เสียหายร้องทุกข์เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2542 ยังไม่เกิน 3 เดือน คดีโจทก์ไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14785/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความคดีโกงเจ้าหนี้และการไม่เป็นผู้เสียหายในคดีเบิกความเท็จ
ความผิดฐานโกงเจ้าหนี้ โจทก์บรรยายฟ้องว่า เหตุเกิดวันที่ 25 มีนาคม 2542 แต่โจทก์ไม่ได้ร้องทุกข์เพราะประสงค์จะดำเนินคดีเอง การที่โจทก์ฟ้องคดีเมื่อวันที่ 14 กันยายน 2549 โจทก์จะต้องนำสืบให้รับฟังได้ว่า โจทก์ฟ้องภายในสามเดือนนับแต่วันรู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิด เมื่อโจทก์ไม่ได้นำสืบให้เห็นเช่นนั้น คดีในความผิดฐานนี้จึงขาดอายุความตาม ป.อ. มาตรา 96 สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ย่อมระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (6) ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาลงโทษจำเลยทั้งสองในฐานความผิดนี้ จึงไม่ถูกต้อง ปัญหาข้อนี้เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยที่ 2 มิได้ยกขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์ แต่ยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 และเหตุเรื่องคดีขาดอายุความเป็นเหตุในลักษณะคดี ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจพิพากษาตลอดไปถึงจำเลยที่ 1 ได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 213 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
โจทก์เป็นเจ้าหนี้จำเลยที่ 1 ตามคำพิพากษาในคดีขอแบ่งสินสมรส และบังคับคดีโดยขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างอันเป็นสินสมรส แล้วนำเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดมาแบ่งปันตามส่วน โจทก์ย่อมมีสิทธิได้รับชำระหนี้จากเงินที่ได้จากการขายตามส่วนที่เป็นของตนเอง ส่วนการที่จำเลยทั้งสองทำบันทึกข้อตกลงฉบับลงวันที่ 25 มีนาคม 2542 ซึ่งมีลักษณะเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความนั้น หากจำเลยทั้งสองมีเจตนาก่อให้เกิดหนี้จริงก็เป็นหนี้ซึ่งจำเลยที่ 1 ต้องรับผิดเป็นส่วนตัว การที่จำเลยที่ 2 เป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาของจำเลยที่ 1 ในคดีขอให้บังคับให้ชดใช้ค่าเสียหายอันเนื่องมาจากการปฏิบัติผิดข้อตกลงดังกล่าว ก็คงมีเพียงสิทธิบังคับคดีเอาจากสินส่วนตัวของจำเลยที่ 1 ก่อน เมื่อไม่พอจึงมีสิทธิบังคับเอาจากสินสมรสที่เป็นสินส่วนตัวของจำเลยที่ 1 ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1488 สิทธิในการบังคับคดีของจำเลยที่ 2 ย่อมไม่มีผลกระทบสิทธิในการได้รับชำระหนี้ของโจทก์ แม้จำเลยที่ 2 ยื่นคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ต่อศาลเยาวชนและครอบครัวกลางในคดีที่โจทก์ฟ้องขอแบ่งสินสมรสจากจำเลยที่ 1 แต่จำเลยที่ 2 ก็คงมีสิทธิที่จะได้รับชำระหนี้จากเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างอันเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 เพียงเฉพาะที่เป็นส่วนของจำเลยที่ 1 ดังนั้น หากแม้ว่าจำเลยที่ 2 จะเบิกความอันเป็นเท็จต่อศาลเกี่ยวกับมูลหนี้ระหว่างจำเลยที่ 1 กับที่ 2 ในคดีที่จำเลยที่ 2 ฟ้องขอให้บังคับจำเลยที่ 1 ชดใช้ค่าเสียหายตามที่โจทก์กล่าวอ้างในฟ้องจริง ก็ไม่อาจทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายได้เลย โจทก์จึงไม่ใช่ผู้เสียหายและไม่มีอำนาจฟ้องในความผิดฐานเบิกความเท็จ
โจทก์เป็นเจ้าหนี้จำเลยที่ 1 ตามคำพิพากษาในคดีขอแบ่งสินสมรส และบังคับคดีโดยขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างอันเป็นสินสมรส แล้วนำเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดมาแบ่งปันตามส่วน โจทก์ย่อมมีสิทธิได้รับชำระหนี้จากเงินที่ได้จากการขายตามส่วนที่เป็นของตนเอง ส่วนการที่จำเลยทั้งสองทำบันทึกข้อตกลงฉบับลงวันที่ 25 มีนาคม 2542 ซึ่งมีลักษณะเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความนั้น หากจำเลยทั้งสองมีเจตนาก่อให้เกิดหนี้จริงก็เป็นหนี้ซึ่งจำเลยที่ 1 ต้องรับผิดเป็นส่วนตัว การที่จำเลยที่ 2 เป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาของจำเลยที่ 1 ในคดีขอให้บังคับให้ชดใช้ค่าเสียหายอันเนื่องมาจากการปฏิบัติผิดข้อตกลงดังกล่าว ก็คงมีเพียงสิทธิบังคับคดีเอาจากสินส่วนตัวของจำเลยที่ 1 ก่อน เมื่อไม่พอจึงมีสิทธิบังคับเอาจากสินสมรสที่เป็นสินส่วนตัวของจำเลยที่ 1 ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1488 สิทธิในการบังคับคดีของจำเลยที่ 2 ย่อมไม่มีผลกระทบสิทธิในการได้รับชำระหนี้ของโจทก์ แม้จำเลยที่ 2 ยื่นคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ต่อศาลเยาวชนและครอบครัวกลางในคดีที่โจทก์ฟ้องขอแบ่งสินสมรสจากจำเลยที่ 1 แต่จำเลยที่ 2 ก็คงมีสิทธิที่จะได้รับชำระหนี้จากเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างอันเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 เพียงเฉพาะที่เป็นส่วนของจำเลยที่ 1 ดังนั้น หากแม้ว่าจำเลยที่ 2 จะเบิกความอันเป็นเท็จต่อศาลเกี่ยวกับมูลหนี้ระหว่างจำเลยที่ 1 กับที่ 2 ในคดีที่จำเลยที่ 2 ฟ้องขอให้บังคับจำเลยที่ 1 ชดใช้ค่าเสียหายตามที่โจทก์กล่าวอ้างในฟ้องจริง ก็ไม่อาจทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายได้เลย โจทก์จึงไม่ใช่ผู้เสียหายและไม่มีอำนาจฟ้องในความผิดฐานเบิกความเท็จ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14783/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำหน่ายเช็คปลอมและการเปลี่ยนแปลงฐานความผิดจากลักทรัพย์เป็นฉ้อโกงธนาคาร
การที่จำเลยมอบเช็คปลอมให้พนักงานของผู้เสียหายนำไปเบิกเงินจากธนาคารตามเช็คด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จว่า ลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายเป็นลายมือชื่อแท้จริงของ ธ. กรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ร่วม เงินที่จำเลยได้ไปจึงเป็นเงินของธนาคารมิใช่เงินของโจทก์ร่วมตาม ป.พ.พ. มาตรา 672 จำเลยจึงไม่มีความผิดฐานลักเงินของโจทก์ร่วมแต่เป็นความผิดฐานฉ้อโกงธนาคาร โจทก์ฟ้องว่าจำเลยลักเงินของโจทก์ร่วม แต่ข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในทางพิจารณาฟังไม่ได้ว่าจำเลยลักเงินโจทก์ร่วม และฟังได้ว่าจำเลยฉ้อโกงธนาคารเป็นความผิดต่อผู้เสียหายต่างคนจากที่โจทก์บรรยายฟ้อง จึงเป็นข้อเท็จจริงแตกต่างจากที่กล่าวในฟ้องในสาระสำคัญ ไม่อาจลงโทษจำเลยฐานฉ้อโกงได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสอง และไม่อาจสั่งให้จำเลยคืนเงินแก่โจทก์ร่วมได้ ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยไม่ยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นอ้างได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบ มาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14401/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การร้องเรียนร้านเกมไม่เข้าข่ายหมิ่นประมาท หากมีเจตนาแจ้งเบาะแสและป้องกันเยาวชน
ในความผิดฐานหมิ่นประมาท แม้ตาม ป.อ. มาตรา 330 วรรคสอง จะห้ามไม่ให้ผู้ถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิดพิสูจน์ว่า ข้อความที่หมิ่นประมาทนั้นเป็นการใส่ความในเรื่องส่วนตัว และการพิสูจน์จะไม่เป็นประโยชน์แก่ประชาชนก็ตาม คดีนี้โจทก์เป็นภริยาที่ไม่จดทะเบียนสมรสของ ป. กำนัน บุตรชายโจทก์เปิดร้านเกมได้รับอนุญาตตามกฎหมายภายในบริเวณบ้านโจทก์ จำเลยทำหนังสือถึงสารวัตรใหญ่หัวหน้าสถานีตำรวจว่า มีเด็กนักเรียนมั่วสุมติดตู้เกมที่ร้านเกมซึ่งตั้งอยู่หน้าบ้านเมียน้อยกำนัน ข้อความที่จำเลยร้องเรียนนั้น เป็นการส่งหนังสือร้องเรียนไปถึงเจ้าพนักงานตำรวจ เพื่อขอให้ดูแลกวดขันร้านเกมเพราะจำเลยเห็นว่ามีเด็กนักเรียนเข้าไปมั่วสุมติดเกมไม่สนใจการเรียน ไม่สนใจงาน อันเป็นการแสดงข้อเท็จจริงและความเห็นโดยสุจริตด้วยความชอบธรรมป้องกันตนและส่วนได้เสียของตน ติชมด้วยความเป็นธรรม ซึ่งเป็นวิสัยของประชาชนย่อมกระทำ จำเลยมีสิทธิทำหนังสือดังกล่าวได้ ข้อความในหนังสือร้องเรียนของจำเลยต้องพิจารณารวมกันทั้งฉบับ จะพิจารณาแยกออกเป็นส่วน ๆ เพื่อพิจารณาว่าส่วนใดเป็นการหมิ่นประมาทโจทก์โดยแยกจากกันหาได้ไม่ เว้นแต่ข้อความเห็นได้โดยชัดเจนว่า ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับเรื่องที่จำเลยร้องเรียนหรือเห็นเจตนาของจำเลยโดยชัดแจ้งว่า มีเจตนาจะใส่ความโจทก์เป็นการเฉพาะ และเมื่อพิจารณาการกระทำของจำเลยแล้วจำเลยส่งหนังสือร้องเรียนโดยนำหนังสือร้องเรียนใส่ในซองจดหมายซึ่งระบุชื่อและที่อยู่ผู้รับสารวัตรใหญ่อันเป็นหัวหน้าสถานีตำรวจฯ อันเป็นตำแหน่งที่มีผู้รับเอกสารของจำเลยโดยแน่ชัดเพียงคนเดียวมิได้มีเจตนาให้ข้อความดังกล่าวแพร่หลายออกไป ส่วนในหนังสือร้องเรียนที่โจทก์อ้างว่า มีข้อความที่หมิ่นประมาทว่า ตู้เกมตั้งอยู่หน้าบ้านเมียน้อยกำนัน แต่ในบรรทัดถัดมาของหนังสือร้องเรียน มีข้อความว่า "พวกพ่อแม่เด็กนักเรียน เยาวชนได้แต่มองดูแล้วก็พูดอะไรไม่ได้ เพราะตู้เกมตั้งอยู่บ้านกำนันเลยก็ว่าได้ พ่อแม่ของเด็กไม่มีที่พึ่ง มีหลายคนไปหาผม บอกให้ผมทำหนังสือมาหาท่าน..." อันเป็นการแสดงเจตนาของจำเลยที่ต้องการให้เจ้าพนักงานตำรวจกวดขันดูแลจับกุม มิให้เด็กนักเรียนซึ่งเป็นอนาคตของประเทศชาติไปถูกมอมเมาและมั่วสุมทำสิ่งที่ไม่เกิดประโยชน์ทั้งต่อตนเองและครอบครัวเท่านั้น นอกจากนี้ในหนังสือของจำเลยยังให้ข้อมูลแก่เจ้าพนักงานตำรวจว่า สาเหตุที่เจ้าพนักงานฝ่ายปกครองมิได้กวดขันดูแล เป็นเพราะสาเหตุใด ผู้ปกครองของเด็กไม่สามารถขอความช่วยเหลือจากเจ้าพนักงานในท้องที่ได้แล้ว จึงได้ทำหนังสือมาแจ้งแก่เจ้าพนักงานตำรวจผู้มีหน้าที่รับผิดชอบให้ดำเนินการตามกฎหมายต่อไป แม้ข้อมูลบางอย่างจะเป็นเรื่องส่วนตัวของโจทก์ แต่ก็เป็นสิ่งที่จำเลยมีความชอบธรรมที่จะกระทำได้ เพราะเป็นเรื่องต่อเนื่องเกี่ยวพันกับเรื่องที่จำเลยร้องเรียน การกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดฐานหมิ่นประมาทโจทก์