พบผลลัพธ์ทั้งหมด 89 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 284/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขายทอดตลาดทรัพย์สินมีผู้เข้าสู้ราคาเดียว การดำเนินการชอบด้วยกฎหมายหากไม่มีผู้สนใจเข้าร่วมประมูล
จำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษายื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนการขายทอดตลาด โดยอ้างว่าการขายทอดตลาดมีผู้เข้าสู้ราคาเพียงรายเดียวและราคาที่ได้จากการขายทอดตลาดต่ำเกินสมควรอันเกิดจากการคบคิดกันฉ้อฉลหรือความไม่สุจริตหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของเจ้าพนักงานบังคับคดีและโจทก์ เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องของจำเลยแล้ว จำเลยยื่นอุทธรณ์เฉพาะปัญหาว่าการที่เจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดทรัพย์ไปโดยมีผู้เข้าสู้ราคาเพียงรายเดียวชอบหรือไม่ ซึ่งเป็นอุทธรณ์ในประเด็นที่ร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดโดยอาศัยเหตุอื่นตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 296 วรรคสอง มิใช่ประเด็นที่ร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดโดยอาศัยเหตุการขายทอดตลาดทรัพย์สินในราคาต่ำเกินสมควรโดยมิชอบตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 309 ทวิ วรรคสอง อันจะทำให้คำสั่งศาลชั้นต้นเป็นที่สุดได้ตามมาตรา 309 ทวิ วรรคสี่
การขายทอดตลาดทรัพย์ของลูกหนี้ตามคำพิพากษา กฎหมายมิได้บัญญัติให้ต้องมีผู้เข้าแข่งขันประมูลราคา แม้การขายทอดตลาดทรัพย์คดีนี้จะมีโจทก์เข้าสู้ราคาเป็นผู้ซื้อทรัพย์เพียงรายเดียวก็ตาม เจ้าพนักงานบังคับคดีก็สามารถดำเนินการขายทอดตลาดไปได้โดยไม่จำเป็นต้องมีผู้ประมูลราคารายอื่นเข้ามาแข่งขันด้วยประกอบกับยังได้ความอีกว่า การขายทอดตลาดดังกล่าวเป็นการขายทอดตลาดครั้งที่ 19 ซึ่งการขายทอดตลาดครั้งก่อนหน้านี้ไม่มีผู้ใดสนใจเข้าสู้ราคานอกจากโจทก์ดังนั้น การดำเนินการขายทอดตลาดของเจ้าพนักงานบังคับคดีจึงชอบด้วยกฎหมายแล้วไม่มีเหตุให้เพิกถอนการขายทอดตลาดได้
การขายทอดตลาดทรัพย์ของลูกหนี้ตามคำพิพากษา กฎหมายมิได้บัญญัติให้ต้องมีผู้เข้าแข่งขันประมูลราคา แม้การขายทอดตลาดทรัพย์คดีนี้จะมีโจทก์เข้าสู้ราคาเป็นผู้ซื้อทรัพย์เพียงรายเดียวก็ตาม เจ้าพนักงานบังคับคดีก็สามารถดำเนินการขายทอดตลาดไปได้โดยไม่จำเป็นต้องมีผู้ประมูลราคารายอื่นเข้ามาแข่งขันด้วยประกอบกับยังได้ความอีกว่า การขายทอดตลาดดังกล่าวเป็นการขายทอดตลาดครั้งที่ 19 ซึ่งการขายทอดตลาดครั้งก่อนหน้านี้ไม่มีผู้ใดสนใจเข้าสู้ราคานอกจากโจทก์ดังนั้น การดำเนินการขายทอดตลาดของเจ้าพนักงานบังคับคดีจึงชอบด้วยกฎหมายแล้วไม่มีเหตุให้เพิกถอนการขายทอดตลาดได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14293/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์คำพิพากษาและการใช้สิทธิขอปล่อยตัวชั่วคราว จำเลยต้องใช้สิทธิอุทธรณ์ ไม่ใช่คำร้องขอปล่อยตัวตาม ป.วิ.อ. มาตรา 90
คำร้องของจำเลยที่อ้างว่า ฟ้องโจทก์ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ทำให้ศาลชั้นต้นตรวจสอบถึงสาระสำคัญคลาดเคลื่อน จึงออกคำพิพากษาที่มิชอบด้วยกฎหมาย ทำให้จำเลยถูกคุมขังโดยมิชอบด้วยกฎหมายนั้น เป็นกรณีที่จำเลยโต้แย้งว่าคำพิพากษาศาลชั้นต้นไม่ชอบ ซึ่งหากจำเลยเห็นว่าคำพิพากษาศาลชั้นต้นไม่ถูกต้องอย่างไร ก็ชอบที่จะใช้สิทธิอุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้นไปยังศาลอุทธรณ์ภาค 6 ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 193 จำเลยจะยกเอาเหตุดังกล่าวขึ้นมากล่าวอ้างว่าจำเลยถูกคุมขังโดยมิชอบด้วยกฎหมาย เพื่อยื่นคำร้องขอให้ปล่อยตัวจำเลยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 90 หาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13491/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทำนากุ้งไม่จัดเป็นการประกอบอาชีพกสิกรรมตามกฎหมายอาญา มาตรา 335 วรรคสอง ศาลฎีกามีอำนาจปรับบทแก้ไขโทษ
การทำนากุ้งไม่ใช่การประกอบอาชีพกสิกรรมตาม ป.อ. มาตรา 335 (1) (12) วรรคสอง ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยปรับบทและแก้ไขโทษให้ถูกต้องได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสองประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13113/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ธนาคารต้องรับผิดชำระเงินค่าเวนคืนที่ผิดพลาด หากจ่ายเงินเข้าบัญชีที่ไม่ตรงกับชื่อผู้รับเงินในเช็ค
ที่ดินของโจทก์ที่ 1 และ ก. ถูกเวนคืนทางกรุงเทพมหานครจ่ายเงินค่าเวนคืนโดยจ่ายเช็คธนาคาร ก. ให้แก่โจทก์ที่ 1 และ ก. เช็คระบุผู้รับเงินไว้คือโจทก์ที่ 1 กับ ก. และขีดฆ่าคำว่าหรือผู้ถือออก ธนาคารต้องจ่ายเงินให้แก่ผู้ที่สั่งจ่ายระบุชื่อ แม้ระหว่างชื่อของบุคคลทั้งสองมีเพียงเครื่องหมาย " , " คั่นไว้ก็ตาม ก็มีความหมายว่าธนาคารต้องจ่ายเงินให้แก่บุคคลทั้งสองมิใช่หมายถึงจ่ายเงินให้แก่โจทก์ที่ 1 เพียงคนเดียว อีกทั้งเช็คมีการขีดคร่อมระบุคำว่า "A/C PAYEE ONLY" ธนาคารต้องจ่ายเงินเข้าบัญชีของผู้รับเงินซึ่งมีชื่อในเช็คเท่านั้น การที่ธนาคารจำเลยที่ 1 นำเงินที่เรียกเก็บตามเช็คเข้าบัญชีของโจทก์ที่ 1 หรือ ม. ย่อมเป็นความเข้าใจของธนาคารจำเลยที่ 1 เพียงฝ่ายเดียวว่าสามารถกระทำได้ ทั้งๆ ที่บัญชีมีชื่อไม่ตรงกับที่ระบุไว้ในเช็ค อีกทั้งธนาคารจำเลยที่ 1 ยอมให้ ม. ผู้ไม่มีสิทธิรับเงินตามเช็คเบิกถอนเงินออกไปเพียงผู้เดียว ธนาคารจำเลยที่ 1 ไม่ได้ใช้ความระมัดระวังตามการค้าปรกติของธนาคารย่อมไม่เป็นการกระทำที่สุจริตหรือปราศจากความประมาทเลินเล่อแต่อย่างใด ธนาคารจำเลยที่ 1 ต้องรับผิดชำระเงินต่อโจทก์ที่ 1 และที่ 2 ซึ่งเป็นทายาทของ ก. ฐานกระทำละเมิดต่อโจทก์ที่ 1 และที่ 2
แม้โจทก์ที่ 1 และที่ 2 กล่าวในคำฟ้องว่าด้วยความจงใจหรือประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 2 ในฐานะส่วนตัวและในฐานะผู้จัดการจำเลยที่ 1 เป็นเหตุให้โจทก์ที่ 1 และที่ 2 ได้รับความเสียหายเป็นเหตุให้จำเลยที่ 1 ต่อสู้ว่าฟ้องโจทก์ที่ 1 และที่ 2 มีมูลหนี้จากการละเมิด อันจะต้องฟ้องเรียกค่าเสียหายภายในอายุความ 1 ปีก็ตาม แต่เมื่อพิจารณาคำฟ้องทั้งหมดแล้วเห็นว่า เป็นการที่โจทก์ที่ 1 และที่ 2 ฟ้องว่าจำเลยที่ 1 ไม่มีสิทธิอ้าง ป.พ.พ. มาตรา 1000 เพื่อยกเว้นความรับผิดตามมูลหนี้ตั๋วเงิน มีอายุความ 10 ปี จะนำอายุความเรื่องละเมิด 1 ปี มาใช้บังคับไม่ได้ ฟ้องโจทก์ที่ 1 และที่ 2 ไม่ขาดอายุความ
แม้โจทก์ที่ 1 และที่ 2 กล่าวในคำฟ้องว่าด้วยความจงใจหรือประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 2 ในฐานะส่วนตัวและในฐานะผู้จัดการจำเลยที่ 1 เป็นเหตุให้โจทก์ที่ 1 และที่ 2 ได้รับความเสียหายเป็นเหตุให้จำเลยที่ 1 ต่อสู้ว่าฟ้องโจทก์ที่ 1 และที่ 2 มีมูลหนี้จากการละเมิด อันจะต้องฟ้องเรียกค่าเสียหายภายในอายุความ 1 ปีก็ตาม แต่เมื่อพิจารณาคำฟ้องทั้งหมดแล้วเห็นว่า เป็นการที่โจทก์ที่ 1 และที่ 2 ฟ้องว่าจำเลยที่ 1 ไม่มีสิทธิอ้าง ป.พ.พ. มาตรา 1000 เพื่อยกเว้นความรับผิดตามมูลหนี้ตั๋วเงิน มีอายุความ 10 ปี จะนำอายุความเรื่องละเมิด 1 ปี มาใช้บังคับไม่ได้ ฟ้องโจทก์ที่ 1 และที่ 2 ไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12662/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฎีกาที่ไม่ได้รับอนุญาตและเหตุผลที่ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 1 ต่างพิพากษายกฟ้องโจทก์ แม้เหตุที่ยกฟ้องจะต่างกันโดยศาลชั้นต้นยกฟ้องโจทก์อาศัยข้อเท็จจริง ส่วนศาลอุทธรณ์ภาค 1 ยกฟ้องโดยข้อกฎหมายก็ตาม ก็ต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 220 โจทก์ฎีกาโดยไม่ปรากฏว่ามีผู้อนุญาตให้ฎีกาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 221 ฎีกาของโจทก์จึงต้องห้ามตามกฎหมาย แม้ศาลชั้นต้นจะรับฎีกาของโจทก์มา ศาลฎีกาก็ไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11868/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำหน่ายและครอบครองยาเสพติดเพื่อจำหน่าย ศาลฎีกาพิพากษาเพิ่มโทษจากคำพิพากษาศาลอุทธรณ์
เมื่อจำเลยจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน 2 เม็ด ให้แก่สายลับผู้ล่อซื้อ จำเลยมีความผิดฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนและเมื่อเข้าตรวจค้นยังพบเมทแอมเฟตามีนอยู่ในความครอบครองของจำเลยอีกจำนวนหนึ่ง ย่อมเป็นข้อบ่งชี้ว่าเมทแอมเฟตามีน 2 เม็ด ที่จำเลยจำหน่ายให้สายลับเป็นเพียงส่วนหนึ่งของเมทแอมเฟตามีนที่จำเลยมีไว้เพื่อจำหน่าย ฟังได้ว่าเมทแอมเฟตามีน 24 เม็ด ที่จำเลยมีไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตนั้นเป็นการมีไว้เพื่อจำหน่าย สำหรับเมทแอมเฟตามีน 90 เม็ดของกลางซึ่งค้นได้ที่หัวเตียงในบ้านของ พ. ที่ร้อยตำรวจเอก น. กับพวกไปตรวจค้นพบภายหลังการล่อซื้อและจับกุมจำเลยโดยมิได้ตรวจค้นพบเสียแต่ในคราวแรกที่เข้าตรวจค้นบ้านของ พ. ย่อมมีเหตุผลให้น่าเชื่อว่าเป็นเพราะร้อยตำรวจเอก น. กับพวกได้ทราบข้อเท็จจริงจากคำให้การของจำเลยนั้นเอง หากจำเลยมิได้เกี่ยวข้องและเมทแอมเฟตามีนมิใช่เป็นของจำเลยย่อมเป็นไปได้ยากที่จำเลยจะสามารถทราบถึงที่ซ่อนของเมทแอมเฟตามีนดังกล่าวได้ ฟังได้ว่าเมทแอมเฟตามีน 90 เม็ด ของกลางเป็นส่วนหนึ่งของเมทแอมเฟตามีนที่จำเลยมีไว้เพื่อจำหน่ายเช่นกัน จำเลยจึงมีความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายอีกกระทงหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11034/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
โมฆะภาพพินัยกรรม: การลงลายมือชื่อพยานโดยไม่เห็นเหตุการณ์ทำพินัยกรรม
แม้ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทเพียงว่า พินัยกรรมปลอมหรือไม่โดยมิได้กำหนดประเด็นว่า พินัยกรรมเป็นโมฆะหรือไม่ แต่ปัญหาเรื่องแบบของพินัยกรรมเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน และโจทก์ก็บรรยายฟ้องมาด้วยว่า พยานในพินัยกรรมไม่รู้เห็นขณะทำพินัยกรรมอันเป็นการยกเรื่องแบบพินัยกรรมมาเป็นข้อต่อสู้ด้วย เมื่อมีข้อเท็จจริงดังกล่าวในการดำเนินกระบวนการพิจารณา ศาลจึงมีอำนาจหยิบยกปัญหาว่าพินัยกรรมเป็นโมฆะขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคสอง
ป.พ.พ. มาตรา 1656 วรรคแรก บัญญัติกำหนดแบบของพินัยกรรมแบบธรรมดาไว้ว่า ผู้ทำพินัยกรรมแบบที่เป็นหนังสือนั้นต้องมีพยานอย่างน้อยสองคนและพยานจะต้องลงลายมือชื่อรับรองลายมือชื่อของผู้ทำพินัยกรรมไว้ในขณะนั้นเป็นสำคัญ ดังนั้น การที่พยานไม่ว่าคนใดคนหนึ่งหรือทั้งสองคนในพินัยกรรมลงลายมือชื่อในพินัยกรรมโดยไม่เห็นเหตุการณ์ขณะทำพินัยกรรม แต่มาลงลายมือชื่อในภายหลัง ก็ย่อมไม่ชอบด้วยบทบัญญัติกฎหมายมาตราดังกล่าวและทำให้พินัยกรรมเป็นโมฆะไปในทันทีตาม ป.พ.พ. มาตรา 1705 แม้ต่อมาภายหลังพยานในพินัยกรรมมาสอบถามผู้ทำพินัยกรรมและได้ความว่าผู้ทำพินัยกรรมมีความประสงค์จะทำพินัยกรรมจริง ก็ไม่มีผลทำให้พินัยกรรมที่เป็นโมฆะไปแล้วกลับกลายเป็นพินัยกรรมที่มีผลสมบูรณ์ชอบด้วยกฎหมายไปได้
ป.พ.พ. มาตรา 1656 วรรคแรก บัญญัติกำหนดแบบของพินัยกรรมแบบธรรมดาไว้ว่า ผู้ทำพินัยกรรมแบบที่เป็นหนังสือนั้นต้องมีพยานอย่างน้อยสองคนและพยานจะต้องลงลายมือชื่อรับรองลายมือชื่อของผู้ทำพินัยกรรมไว้ในขณะนั้นเป็นสำคัญ ดังนั้น การที่พยานไม่ว่าคนใดคนหนึ่งหรือทั้งสองคนในพินัยกรรมลงลายมือชื่อในพินัยกรรมโดยไม่เห็นเหตุการณ์ขณะทำพินัยกรรม แต่มาลงลายมือชื่อในภายหลัง ก็ย่อมไม่ชอบด้วยบทบัญญัติกฎหมายมาตราดังกล่าวและทำให้พินัยกรรมเป็นโมฆะไปในทันทีตาม ป.พ.พ. มาตรา 1705 แม้ต่อมาภายหลังพยานในพินัยกรรมมาสอบถามผู้ทำพินัยกรรมและได้ความว่าผู้ทำพินัยกรรมมีความประสงค์จะทำพินัยกรรมจริง ก็ไม่มีผลทำให้พินัยกรรมที่เป็นโมฆะไปแล้วกลับกลายเป็นพินัยกรรมที่มีผลสมบูรณ์ชอบด้วยกฎหมายไปได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11034/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พินัยกรรมโมฆะเมื่อพยานลงลายมือชื่อโดยไม่เห็นเหตุการณ์ทำพินัยกรรม แม้พยานจะสอบถามเจตนาภายหลังก็ไม่สมบูรณ์
ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทไว้ประเด็นเดียวว่า พินัยกรรมตามฟ้องปลอมหรือไม่ แต่ในคำฟ้องนอกจากจะอ้างว่าพินัยกรรมตามฟ้องเป็นพินัยกรรมปลอมแล้ว โจทก์ยังบรรยายฟ้องมาด้วยว่า บุคคลที่ลงลายมือชื่อเป็นพยานในพินัยกรรมต่างมิได้รู้เห็นขณะที่ ส. ลงลายมือชื่อในพินัยกรรม พินัยกรรมจึงตกเป็นโมฆะทั้งฉบับข้ออ้างของโจทก์ดังกล่าวถือเป็นการยกเอาแบบของพินัยกรรมมาเป็นข้อต่อสู้ เพื่อให้พินัยกรรมไม่มีผลใช้บังคับด้วย แม้ศาลชั้นต้นจะมิได้กำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาท แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลอุทธรณ์ภาค 5 ยกขึ้นวินิจฉัยได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคสอง
พยานในพินัยกรรมลงลายมือชื่อในพินัยกรรมโดยไม่เห็นเหตุการณ์ขณะทำพินัยกรรม แต่มาลงลายมือชื่อในภายหลัง ย่อมไม่ชอบด้วย ป.พ.พ. มาตรา 1656 วรรคแรก และทำให้พินัยกรรมเป็นโมฆะตามมาตรา 1705 ไปในทันที แม้ต่อมาภายหลังพยานในพินัยกรรมจะมาสอบถามผู้ทำพินัยกรรมและได้ความว่าผู้ทำพินัยกรรมมีความประสงค์จะทำพินัยกรรมจริง ก็ไม่มีผลทำให้การลงลายมือชื่อในพินัยกรรมที่ไม่ชอบหรือพินัยกรรมที่เป็นโมฆะไปแล้วกลับกลายเป็นการลงลายมือชื่อที่ชอบทำให้พินัยกรรมมีผลสมบูรณ์ชอบด้วยกฎหมายไปได้
พยานในพินัยกรรมลงลายมือชื่อในพินัยกรรมโดยไม่เห็นเหตุการณ์ขณะทำพินัยกรรม แต่มาลงลายมือชื่อในภายหลัง ย่อมไม่ชอบด้วย ป.พ.พ. มาตรา 1656 วรรคแรก และทำให้พินัยกรรมเป็นโมฆะตามมาตรา 1705 ไปในทันที แม้ต่อมาภายหลังพยานในพินัยกรรมจะมาสอบถามผู้ทำพินัยกรรมและได้ความว่าผู้ทำพินัยกรรมมีความประสงค์จะทำพินัยกรรมจริง ก็ไม่มีผลทำให้การลงลายมือชื่อในพินัยกรรมที่ไม่ชอบหรือพินัยกรรมที่เป็นโมฆะไปแล้วกลับกลายเป็นการลงลายมือชื่อที่ชอบทำให้พินัยกรรมมีผลสมบูรณ์ชอบด้วยกฎหมายไปได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10912/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดี: การเพิกถอนขายทอดตลาดต้องยื่นคำร้องภายในกำหนด หากพ้นกำหนดสิทธิขาด
คำร้องของจำเลยที่ 2 ที่ขอให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนการขายทอดตลาดที่ดินของจำเลยที่ 1 โดยอ้างว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีไม่ได้ส่งประกาศแจ้งวันขายทอดตลาดให้จำเลยที่ 2 ทราบ การขายทอดตลาดจึงไม่ชอบนั้น เป็นการกล่าวอ้างว่าการขายทอดตลาดฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา 306 วรรคหนึ่ง คำร้องของจำเลยที่ 2 จึงอยู่ในบังคับมาตรา 296 วรรคสอง ที่บัญญัติให้ยื่นคำร้องต่อศาลภายในเวลาใดก่อนการบังคับคดีได้เสร็จลง เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดที่ดินดังกล่าวและเสนอบัญชีแสดงรายการรับ - จ่ายเงิน รายงานต่อศาลเมื่อวันที่ 18 เมษายน 2546 ว่า ได้จัดทำบัญชีแสดงรายการรับ - จ่ายเงินและจ่ายเงินให้แก่ผู้มีส่วนได้เสียในคดีไปแล้ว การบังคับคดีจึงเสร็จสิ้นลงตามมาตรา 296 วรรคสี่ (2) การที่จำเลยที่ 2 ยื่นคำร้องคดีนี้ในวันที่ 13 ธันวาคม 2550 จึงพ้นกำหนดระยะเวลาตามกฎหมาย จำเลยที่ 2 ไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอเพิกถอนการขายทอดตลาดดังกล่าวได้ ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตามมาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246 และ 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9520/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองยาแก้ไอที่มีโคเดอีนเกิน 250 มิลลิลิตร ถือเป็นมีไว้เพื่อจำหน่ายตามกฎหมายยาเสพติด
ในการวินิจฉัยข้อกฎหมาย ศาลฎีกาจะต้องฟังข้อเท็จจริงตามที่ศาลอุทธรณ์ภาค 9 ได้วินิจฉัยมาแล้วจากพยานหลักฐานในสำนวน ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 222 เมื่อข้อเท็จจริงฟังยุติตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 9 ว่า ยาแก้ไออันเป็นตำรับยาแผนปัจจุบันที่มีโคเดอีนซึ่งเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 2 เป็นส่วนผสมอันถือเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 3 จำนวน 7 ขวด ของกลาง มีปริมาตร 3,500 มิลลิลิตร และตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 7 (3) บัญญัติว่า ยาเสพติดให้โทษในประเภท 3 คือ ยาเสพติดให้โทษที่มีลักษณะเป็นตำรับยาและมียาเสพติดให้โทษในประเภท 2 ผสมอยู่ด้วย จากบทบัญญัติดังกล่าว เมื่อนำยาเสพติดให้โทษในประเภท 2 มาเป็นส่วนผสมของตำรับยาแล้ว ไม่ว่ายาเสพติดให้โทษในประเภท 2 จะมีจำนวนเท่าใด ย่อมต้องถือว่าตำรับยาที่มียาเสพติดให้โทษในประเภท 2 เป็นส่วนผสมอยู่ดังกล่าวเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 3 ทั้งสิ้น การที่จะพิจารณาว่าการมีไว้ในครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 3 จำนวนมากน้อยเพียงใดที่จะต้องด้วยข้อสันนิษฐานของกฎหมายว่าเป็นการมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 181) จึงต้องถือตามจำนวนของยาเสพติดให้โทษในประเภท 3 นั้นเองว่า เกิน 250 มิลลิลิตร หรือ 30 เม็ด หรือ 30 แคปซูล หรือไม่ ดังนี้ เมื่อยาแก้ไอที่มีโคเดอีนเป็นส่วนผสมของกลางอันเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 3 มีปริมาตร 3,500 มิลลิลิตร เกิน 250 มิลลิลิตร จึงต้องด้วยข้อสันนิษฐานว่าเป็นการมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย