พบผลลัพธ์ทั้งหมด 364 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1533/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาฆ่าโดยไตร่ตรองไว้ก่อน พิจารณาจากระยะเวลาและพฤติการณ์หลังเกิดเหตุ
การฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อนนั้น ผู้กระทำความผิดได้คิดไตร่ตรองทบทวนแล้วจึงตกลงใจกระทำความผิด มิใช่เป็นการกระทำในลักษณะปัจจุบันทันด่วน พฤติการณ์ที่จำเลยทั้งสองตะโกนให้ของลับแล้วเดินออกจากร้านอาหารไปโดยจำเลยทั้งสองไม่มีสาเหตุโกรธเคืองกับผู้เสียหายมาก่อน และไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าหลังจากที่จำเลยทั้งสองได้ออกจากร้านอาหารไปแล้ว จำเลยที่ 1 ได้ตระเตรียมการเพื่อฆ่าผู้เสียหายมาก่อน การที่จำเลยที่ 1 กลับมาใช้อาวุธปืนยิงผู้เสียหายในเวลาต่อเนื่องกัน จึงไม่พอที่จะให้รับฟังว่าจำเลยที่ 1 มีเจตนาฆ่าผู้เสียหายโดยไตร่ตรองไว้ก่อน จำเลยที่ 1 คงมีความผิดฐานพยายามฆ่าผู้อื่นตาม ป.อ. มาตรา 288 ประกอบมาตรา 80 เท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 817/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานชิงทรัพย์เป็นเหตุให้ถึงแก่ความตายและการฆ่าเพื่อความสะดวกในการกระทำผิด ศาลพิจารณาความผิดฐานหน่วงเหนี่ยวกักขัง
จำเลยกับพวกร่วมกันใช้อาวุธปืนขู่บังคับให้ผู้ตายขึ้นรถยนต์กระบะไปกับจำเลยกับพวก อันเป็นการหน่วงเหนี่ยวกักขังทำให้ปราศจากเสรีภาพในร่างกาย เมื่อถึงที่เปลี่ยวจำเลยกับพวกร่วมกันชิงทรัพย์ผู้ตายโดยใช้อาวุธปืนยิงผู้ตายถึงแก่ความตาย แสดงว่าจำเลยกับพวกร่วมกันหน่วงเหนี่ยวกักขังผู้ตายเพื่อความสะดวกแก่การชิงทรัพย์และฆ่าผู้ตายในขณะที่การชิงทรัพย์และฆ่าผู้ตายยังไม่ขาดตอนจากกัน อันเป็นส่วนหนึ่งของการกระทำความผิดฐานชิงทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายโดยใช้อาวุธปืน และฐานฆ่าผู้อื่นเพื่อความสะดวกในการกระทำความผิด เพื่อจะเอาและเอาไว้ซึ่งผลประโยชน์อันเกิดแต่การที่จำเลยกับพวกได้กระทำความผิด เพื่อปกปิดความผิดและเพื่อหลีกเลี่ยงให้พ้นอาญาในความผิดที่ได้กระทำนั้นเอง จึงมิใช่เป็นความผิดฐานหน่วงเหนี่ยวกักขังผู้ตายอีกกรรมหนึ่งต่างหาก
ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาปรับบทลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 310 โดยไม่ระบุวรรคไม่ถูกต้อง รวมทั้งเมื่อฟังว่าจำเลยมีความผิดตามมาตรา 289 (6) (7) แล้ว ก็ไม่จำต้องปรับบทลงโทษตามมาตรา 288 อีก นอกจากนี้โจทก์ขอให้ริบหัวกระสุนปืน 2 หัว และกระสุนปืนหัวตะกั่ว 1 นัด ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ให้ริบหัวกระสุนปืนทั้งหมดรวม 3 หัว ก็ไม่ถูกต้อง
ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาปรับบทลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 310 โดยไม่ระบุวรรคไม่ถูกต้อง รวมทั้งเมื่อฟังว่าจำเลยมีความผิดตามมาตรา 289 (6) (7) แล้ว ก็ไม่จำต้องปรับบทลงโทษตามมาตรา 288 อีก นอกจากนี้โจทก์ขอให้ริบหัวกระสุนปืน 2 หัว และกระสุนปืนหัวตะกั่ว 1 นัด ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ให้ริบหัวกระสุนปืนทั้งหมดรวม 3 หัว ก็ไม่ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4247/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาหลบหนี vs. พยายามฆ่า: การกระทำที่ส่อแสดงถึงการขัดขวางเจ้าพนักงาน
จำเลยขับรถฝ่าฝืนสัญญาณไฟจราจร ผู้เสียหายจึงเรียกให้จอดรถข้างทางเพื่อจับกุม ขณะผู้เสียหายยืนอยู่บริเวณไฟเลี้ยวด้านขวาห่างจากรถประมาณ 1 ศอก และหันหน้าเฉียงเข้าหารถเพื่อจดหมายเลขทะเบียนรถได้ยินเสียงเร่งเครื่องยนต์และจำเลยขับรถเคลื่อนมาข้างหน้า ผู้เสียหายจึงกระโดดขึ้นไปบนฝากระโปรงหน้ารถและจับยึดที่ปัดน้ำฝนไว้ จำเลยขับรถแล่นออกไป ส่อแสดงให้เห็นได้ว่าจำเลยกระทำก็เพื่อจะหลบหนีผู้เสียหายซึ่งเป็นเจ้าพนักงานตำรวจไม่ให้จับกุม หากจำเลยมีเจตนาฆ่าคงกระทำโดยการขับรถเบียดกระแทกหรือพุ่งเข้าชนผู้เสียหายทันทีในขณะผู้เสียหายกำลังก้มจดหมายเลขทะเบียนรถ อันเป็นช่วงโอกาสที่จำเลยจะกระทำเช่นนั้นได้เพราะเป็นระยะใกล้ชิดกันและผู้เสียหายไม่ทันได้ระวังตัว หลังจากที่ผู้เสียหายกระโดดขึ้นไปอยู่บนฝากระโปรงรถและจำเลยยังคงขับแล่นต่อไปรวมเป็นระยะทางประมาณ 6 ถึง 7 กิโลเมตร เป็นเหตุการณ์ที่ใกล้ชิดต่อเนื่องจากเหตุการณ์ตอนแรก จึงน่าเชื่อว่าจำเลยขับรถไม่เร็วมากนัก พฤติการณ์เป็นไปได้ว่าจำเลยมีเจตนาที่จะหลบหนีให้พ้นการจับกุมของเจ้าพนักงานตำรวจเพียงอย่างเดียว ยังไม่ถึงขั้นพยายามฆ่าเจ้าพนักงานโดยเล็งเห็นผล คดีคงฟังได้เพียงว่าจำเลยมีความผิดฐานขัดขวางเจ้าพนักงานในการปฏิบัติการตามหน้าที่โดยใช้กำลังประทุษร้าย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2015/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานชิงทรัพย์และฆ่าผู้อื่น ร่วมกันกระทำผิด การรับฟังพยานหลักฐาน และการระงับคดีเนื่องจากการตายของผู้ต้องหา
พยานโจทก์ทุกปากไม่มีสาเหตุกับจำเลยที่ 1 ทั้งเบิกความและให้การได้สอดคล้องเชื่อมโยงกัน มีน้ำหนักน่าเชื่อถือ แม้โจทก์ไม่มีประจักษ์พยานที่รู้เห็นในขณะเกิดเหตุว่าจำเลยที่ 1 เป็นคนร้ายที่ร่วมชิงทรัพย์และใช้อาวุธปืนยิงผู้ตาย แต่ตามพฤติการณ์แห่งคดีที่ก่อนเกิดเหตุมีชาย 2 คน ซึ่งคล้ายจำเลยทั้งสองว่าจ้างผู้ตายขับรถยนต์รับจ้างออกไปจากโรงแรม ร. หลังจากนั้นไม่นานผู้ตายถูกคนร้ายใช้อาวุธปืนยิงถึงแก่ความตาย และทิ้งศพไว้ในที่เกิดเหตุ และต่อมาในวันเดียวกันจำเลยทั้งสองได้นำรถยนต์ของผู้ตายไปใช้เป็นยานพาหนะในการชิงทรัพย์ร้านทอง ทั้งในชั้นจับกุมและชั้นสอบสวน จำเลยที่ 1 ให้การรับสารภาพว่าได้ร่วมกับจำเลยที่ 2 ว่าจ้างผู้ตายให้ขับรถยนต์รับจ้างจากกรุงเทพมหานครไปส่งที่จังหวัดสระบุรี เมื่อไปถึงก็ได้ร่วมกันชิงทรัพย์รถยนต์คันดังกล่าวและฆ่าผู้ตาย เพียงแต่จำเลยที่ 1 บ่ายเบี่ยงว่าจำเลยที่ 2 เป็นคนใช้อาวุธปืนยิงผู้ตายเท่านั้น บ่งชี้ชัดว่า จำเลยที่ 1 ร่วมเป็นคนร้ายรายนี้จริง ที่จำเลยที่ 1 นำสืบต่อสู้ว่าไม่เคยไปพักที่โรงแรม ร. กับได้ลงลายมือชื่อในบันทึกการจับกุมและบันทึกคำให้การโดยไม่ได้อ่านข้อความเนื่องจากถูกเจ้าพนักงานตำรวจทำร้ายนั้น เมื่อพิจารณาคำให้การรับสารภาพของจำเลยที่ 1 ตามบันทึกคำให้การแล้ว ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ให้การกล่าวถึงการกระทำโดยละเอียดและยังนำชี้ที่เกิดเหตุประกอบคำรับสารภาพตามบันทึกการนำชี้ที่เกิดเหตุประกอบคำรับสารภาพ ข้อนำสืบของจำเลยที่ 1 จึงไม่น่าเชื่อ พยานหลักฐานของจำเลยที่ 1 ไม่สามารถหักล้างพยานหลักฐานของโจทก์ได้ ข้อเท็จจริงรับฟังได้โดยปราศจากข้อสงสัยว่า จำเลยที่ 1 เป็นคนร้ายร่วมกระทำความผิดฐานชิงทรัพย์และฆ่าผู้ตายตามฟ้อง ส่วนที่จำเลยที่ 1 ฎีกาว่า จากบันทึกคำให้การชั้นสอบสวนของจำเลยที่ 1 พนักงานสอบสวนไม่ได้ปฏิบัติตาม ป.วิ.อ. มาตรา 7 ทวิ วรรคสอง โดยการแจ้งให้จำเลยที่ 1 ทราบถึงสิทธิของผู้ต้องหาตามวรรคหนึ่ง จึงถือไม่ได้ว่าเป็นการสอบสวนที่ชอบ ไม่ควรรับฟังเป็นพยานหลักฐานได้นั้น เห็นว่า การแจ้งสิทธิของผู้ต้องหาไม่มีบทบัญญัติแห่งกฎหมายบังคับให้ต้องระบุไว้ในบันทึกคำให้การชั้นสอบสวน ทั้งจำเลยที่ 1 เพิ่งยกเรื่องการไม่แจ้งสิทธิดังกล่าวขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์และฎีกาโดยในชั้นพิจารณาจำเลยที่ 1 มิได้นำสืบว่าพนักงานสอบสวนไม่ได้แจ้งสิทธิของผู้ต้องหาให้จำเลยที่ 1 ทราบ อันจะเป็นเหตุให้การสอบสวนไม่ชอบและไม่อาจรับฟังบันทึกคำให้การชั้นสอบสวนของจำเลยที่ 1 เป็นพยานหลักฐานได้
อนึ่ง คดีนี้ จำเลยที่ 2 มิได้ฎีกา คดีในส่วนของจำเลยที่ 2 จึงเป็นที่สุด แต่ข้อเท็จจริงปรากฏว่า จำเลยที่ 2 ได้ถึงแก่ความตายในระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 1 สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์จึงระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (1) แต่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 มิได้มีคำสั่งจำหน่ายคดีโจทก์สำหรับจำเลยที่ 2 จึงไม่ชอบ ปัญหานี้เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาจึงมีอำนาจพิพากษาไปถึงจำเลยที่ 2 ได้ในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 2 และให้จำหน่ายคดีโจทก์สำหรับจำเลยที่ 2
อนึ่ง คดีนี้ จำเลยที่ 2 มิได้ฎีกา คดีในส่วนของจำเลยที่ 2 จึงเป็นที่สุด แต่ข้อเท็จจริงปรากฏว่า จำเลยที่ 2 ได้ถึงแก่ความตายในระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 1 สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์จึงระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (1) แต่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 มิได้มีคำสั่งจำหน่ายคดีโจทก์สำหรับจำเลยที่ 2 จึงไม่ชอบ ปัญหานี้เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาจึงมีอำนาจพิพากษาไปถึงจำเลยที่ 2 ได้ในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 2 และให้จำหน่ายคดีโจทก์สำหรับจำเลยที่ 2
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6083/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฆ่าโดยไตร่ตรองไว้ก่อน เจตนาประทุษร้าย และการลงโทษในคดีอาญา
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อนตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 289(4) วางโทษประหารชีวิต ลดโทษให้หนึ่งในสามคงจำคุกตลอดชีวิต ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 289(5) อีกบทหนึ่งด้วย ลงโทษฐานฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อนและฆ่าผู้อื่นโดยทรมานหรือโดยกระทำทารุณโหดร้ายอันเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุด วางโทษประหารชีวิตลดโทษให้หนึ่งในสาม คงจำคุกตลอดชีวิต เป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้จากความผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อนตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 289(4) มาเป็นความผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อนและฆ่าผู้อื่นโดยทรมานหรือโดยกระทำทารุณโหดร้ายตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 289(4) และ 289(5) และยังคงจำคุกตลอดชีวิต เป็นการแก้ไขเล็กน้อยและให้ลงโทษจำคุกจำเลยเกิน 5 ปี ต้องห้ามมิให้โจทก์ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคสอง และข้อห้ามฎีกาดังกล่าวใช้บังคับโจทก์ร่วมด้วย
จำเลยใช้อาวุธปืนยิงศีรษะผู้ตาย กระสุนปืนเข้าทางขมับซ้ายทะลุออกขมับขวาแสดงให้เห็นว่าจำเลยมีเจตนาฆ่าผู้ตายให้ตายทันที แม้ผู้ตายไม่ได้ถึงแก่ความตายทันทีและจำเลยใช้มีดตัดศีรษะผู้ตาย ขณะที่ผู้ตายยังไม่ถึงแก่ความตาย แต่จำเลยไม่มีเจตนาทำให้ผู้ตายได้รับความลำบากทรมานสาหัสก่อนตายและไม่ได้ความแจ้งชัดว่า จำเลยได้กระทำการอย่างไรอันเป็นการทรมานหรือทารุณโหดร้ายผู้ตาย การที่จำเลยใช้มีดตัดคอผู้ตายและใช้มีดชำแหละศพผู้ตายออกเป็นชิ้น ๆ แล้วทิ้งชิ้นส่วนศพบางส่วนลงในส้วมชักโครก กับนำชิ้นส่วนศพบางส่วนไปทิ้งที่แม่น้ำ จำเลยมีเจตนาทำลายศพเพื่อปิดบังการตายหรือเหตุแห่งการตายเท่านั้น มิใช่เพื่อให้ผู้ตายได้รับความเจ็บปวดทรมานจนกระทั่งขาดใจตาย ถือไม่ได้ว่าจำเลยฆ่าผู้ตายโดยทรมานหรือโดยกระทำทารุณโหดร้ายตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 289(5)
จำเลยมีอาวุธปืนและมีดไว้ในห้องพักที่เกิดเหตุเพื่อตระเตรียมไว้สำหรับฆ่าผู้ตายและชำแหละศพผู้ตายส่วนของศพที่ชำแหละแล้วย่อมมีกลิ่นคาวและมีน้ำเลือดน้ำเหลืองไหลซึมออกมา การนำออกจากห้องพักไปทิ้งย่อมต้องใช้วัสดุสิ่งของสำหรับห่อหุ้มและบรรจุ เพื่อดูดซับน้ำเลือดน้ำเหลืองและกลิ่นคาว รวมทั้งปกปิดไม่ให้มีผู้พบเห็น การที่จำเลยสามารถนำชิ้นส่วนศพผู้ตายออกจากห้องพักไปทิ้ง นำอาวุธปืน มีดและทรัพย์ของผู้ตายไปซ่อนตามสถานที่ต่าง ๆ ตลอดจนนำเสื้อผ้าของผู้ตายไปเผาทำลายภายในระยะเวลาอันสั้นโดยไม่มีผู้พบเห็น แสดงว่าจำเลยได้วางแผนไว้ล่วงหน้าก่อนแล้ว จึงเป็นการฆ่าผู้ตายโดยไตร่ตรองไว้ก่อน
จำเลยใช้อาวุธปืนยิงศีรษะผู้ตาย กระสุนปืนเข้าทางขมับซ้ายทะลุออกขมับขวาแสดงให้เห็นว่าจำเลยมีเจตนาฆ่าผู้ตายให้ตายทันที แม้ผู้ตายไม่ได้ถึงแก่ความตายทันทีและจำเลยใช้มีดตัดศีรษะผู้ตาย ขณะที่ผู้ตายยังไม่ถึงแก่ความตาย แต่จำเลยไม่มีเจตนาทำให้ผู้ตายได้รับความลำบากทรมานสาหัสก่อนตายและไม่ได้ความแจ้งชัดว่า จำเลยได้กระทำการอย่างไรอันเป็นการทรมานหรือทารุณโหดร้ายผู้ตาย การที่จำเลยใช้มีดตัดคอผู้ตายและใช้มีดชำแหละศพผู้ตายออกเป็นชิ้น ๆ แล้วทิ้งชิ้นส่วนศพบางส่วนลงในส้วมชักโครก กับนำชิ้นส่วนศพบางส่วนไปทิ้งที่แม่น้ำ จำเลยมีเจตนาทำลายศพเพื่อปิดบังการตายหรือเหตุแห่งการตายเท่านั้น มิใช่เพื่อให้ผู้ตายได้รับความเจ็บปวดทรมานจนกระทั่งขาดใจตาย ถือไม่ได้ว่าจำเลยฆ่าผู้ตายโดยทรมานหรือโดยกระทำทารุณโหดร้ายตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 289(5)
จำเลยมีอาวุธปืนและมีดไว้ในห้องพักที่เกิดเหตุเพื่อตระเตรียมไว้สำหรับฆ่าผู้ตายและชำแหละศพผู้ตายส่วนของศพที่ชำแหละแล้วย่อมมีกลิ่นคาวและมีน้ำเลือดน้ำเหลืองไหลซึมออกมา การนำออกจากห้องพักไปทิ้งย่อมต้องใช้วัสดุสิ่งของสำหรับห่อหุ้มและบรรจุ เพื่อดูดซับน้ำเลือดน้ำเหลืองและกลิ่นคาว รวมทั้งปกปิดไม่ให้มีผู้พบเห็น การที่จำเลยสามารถนำชิ้นส่วนศพผู้ตายออกจากห้องพักไปทิ้ง นำอาวุธปืน มีดและทรัพย์ของผู้ตายไปซ่อนตามสถานที่ต่าง ๆ ตลอดจนนำเสื้อผ้าของผู้ตายไปเผาทำลายภายในระยะเวลาอันสั้นโดยไม่มีผู้พบเห็น แสดงว่าจำเลยได้วางแผนไว้ล่วงหน้าก่อนแล้ว จึงเป็นการฆ่าผู้ตายโดยไตร่ตรองไว้ก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1817/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฆ่าผู้อื่นโดยทารุณโหดร้าย: การเชือดคอจนถึงแก่ความตายเข้าข่ายกระทำทารุณหรือไม่
จำเลยจับผู้ตายลากเข้าไปในบ้านใช้มีดเชือดคอลึกถึงกระดูกต้นคอ จำเลยใช้เวลานานกว่าจะเชือดคอผู้ตายจนมีบาดแผลยาวรอบคอ ทำให้ผู้ตายส่งเสียงร้องเพราะได้รับความเจ็บปวดทรมานเป็นการใช้วิธีการโหดร้ายในการฆ่าผู้ตาย จึงมีความผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยกระทำทารุณโหดร้ายตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 289(5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 984/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฆ่าโดยเจตนา: ศาลฎีกาแก้ไขโทษจากประหารชีวิตเป็นจำคุกตลอดชีวิต เนื่องจากไม่มีเจตนาไตร่ตรองไว้ก่อน
จำเลยเดินทางมาที่ศาลแพ่งกรุงเทพใต้เพื่อฟังการพิจารณาคดี โดยเก็บอาวุธปืนไว้ในรถยนต์ จำเลยกับผู้ตายมีเรื่องขึ้นโรงศาลหลายครั้งหลายหน แต่จำเลยไม่ได้ตระเตรียมหรือไตร่ตรองไว้ก่อนว่าจะมาดักฆ่าผู้ตายที่บริเวณที่เกิดเหตุในที่ชุมนุมชนกลางใจเมืองในกรุงเทพมหานคร ยังไม่พอฟังว่า การกระทำของจำเลยเป็นการกระทำโดยไตร่ตรองไว้ก่อน ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 289(4) คงมีความผิดฐานฆ่าผู้ตายทั้งสองโดยเจตนาตามมาตรา 288 มิได้เป็นการฆ่าโดยไตร่ตรองไว้ก่อนดังที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาและศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขและลงโทษจำเลยในความผิดดังกล่าวตามที่พิจารณาได้ความได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคท้ายประกอบมาตรา 185 วรรคสอง มาตรา 195 วรรคสอง และมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6088/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่รับวินิจฉัยคดีอาญา เนื่องจากศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษายืนความผิดฐานฆ่าผู้อื่นและชิงทรัพย์แล้ว
เมื่อความผิดฐานฆ่าผู้อื่นและชิงทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายโดยมีหรือใช้อาวุธปืนตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288,339 วรรคท้าย ประกอบมาตรา 340 ตรี ที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยตลอดชีวิตยังไม่ถึงที่สุดเป็นหน้าที่ของศาลชั้นต้นต้องส่งสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิจารณาก่อน หากศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษายืน จึงจะถึงที่สุดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 245 วรรคสอง การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษาแก้เป็นว่าให้ยกฟ้องโจทก์สำหรับความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 371 ซึ่งยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นแล้ว ก็เป็นเพียงพิพากษาแก้บทลงโทษความผิดเกี่ยวกับอาวุธปืน โดยเห็นว่าการกระทำผิดของจำเลยฐานนี้ขาดอายุความแล้วจึงลงโทษจำเลยไม่ได้เท่านั้น ซึ่งมีผลเท่ากับศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษายืนว่าจำเลยมีความผิดฐานฆ่าผู้อื่นและชิงทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายโดยมีหรือใช้อาวุธปืนตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288,339 วรรคท้าย ประกอบมาตรา 340 ตรี ลงโทษจำคุกตลอดชีวิตนั่นเอง ความผิดฐานนี้ จึงเป็นอันถึงที่สุดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 245 วรรคสอง ไม่ก่อให้เกิดสิทธิแก่จำเลยที่จะฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 3 ในความผิดฐานฆ่าผู้อื่นและชิงทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายโดยมีหรือใช้อาวุธปืน ซึ่งถึงที่สุดได้อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3667/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแต่งตั้งที่ปรึกษากฎหมายในคดีเยาวชน: ศาลต้องปฏิบัติตาม พ.ร.บ.เยาวชนฯ แม้คดีมีโทษประหาร
แม้โจทก์จะฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 289อันเป็นคดีที่มีอัตราโทษประหารชีวิต ซึ่งศาลชั้นต้นต้องถามจำเลยก่อนเริ่มพิจารณาว่ามีทนายความหรือไม่ ถ้าไม่มีก็ให้ศาลตั้งให้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 173 วรรคแรก ก็ตามแต่ก็เป็นบทบัญญัติสำหรับดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลที่มีอำนาจพิจารณาคดีธรรมดา ส่วนศาลที่มีอำนาจพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัวนั้นพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัวฯ มาตรา 6 ให้นำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาใช้บังคับเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้ เมื่อมาตรา 83แห่ง พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัวฯ ที่ระบุให้จำเลยมีที่ปรึกษากฎหมายเพื่อปฏิบัติหน้าที่ทำนองเดียวกับทนายความ หากจำเลยไม่มีที่ปรึกษากฎหมายก็ให้ศาลแต่งตั้งให้เว้นแต่จำเลยไม่ต้องการและศาลเห็นว่าไม่จำเป็นแก่คดีจะไม่ตั้งที่ปรึกษากฎหมายก็ได้นั้น ถือเป็นกฎหมายเฉพาะย่อมยกเว้น ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 173 ซึ่งเป็นบททั่วไปจึงไม่อาจนำมาใช้ในกรณีนี้ได้ ดังนั้น ที่ศาลเยาวชนและครอบครัวกลางจดรายงานกระบวนพิจารณาว่า จำเลยไม่ต้องการที่ปรึกษากฎหมาย และศาลเห็นว่าไม่จำเป็นต้องตั้งที่ปรึกษากฎหมาย จึงให้นัดสืบพยาน... จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ชอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัวฯ มาตรา 83 ครบถ้วนแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 987/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทำร้ายร่างกายจากความเข้าใจผิด ศาลฎีกายืนว่าไม่มีเจตนาไตร่ตรองไว้ก่อน
จำเลยฆ่า ย. เพราะจำเลยเข้าใจว่า ย. พูดถ้อยคำส่อเสียดล่วงเกินทางเพศกับ ล. ภริยาจำเลยทั้ง ๆ ที่จำเลยกับ ล. มีเจตนาดีต่อผู้เสียหาย จำเลยจึงโกรธและกลับไปนำอาวุธมีดง้าวมากระทำผิดโดยมีช่วงระยะเวลาห่างกันเพียงประมาณ 5 นาที เป็นเหตุการณ์ต่อเนื่องกระชั้นชิด มิได้มีช่วงระยะเวลาขาดตอนอันจะทำให้จำเลยมีโอกาสใช้เวลาใคร่ครวญไตร่ตรองแล้วจึงก่อเหตุขึ้น ฟังไม่ได้ว่าจำเลยกระทำความผิดโดยไตร่ตรองไว้ก่อน