พบผลลัพธ์ทั้งหมด 364 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 643/2563 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 643/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พยายามฆ่าโดยบันดาลโทสะ ขาดเจตนาไตร่ตรองไว้ก่อน ยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้จำเลย
จำเลยกับผู้เสียหายที่ 2 อยู่กินฉันสามีภริยาและมีบุตรด้วยกัน เพิ่งเลิกคบหากันก่อนเกิดเหตุเพียงหนึ่งเดือน ความสัมพันธ์ยังคงมีอยู่ไม่ถึงกับตัดขาดทีเดียว การที่จำเลยขับรถจักรยานยนต์ตามหาผู้เสียหายที่ 2 ในขณะที่เพิ่งมีปากเสียงกัน จำเลยจึงอยู่ในสภาวะอารมณ์ขุ่นเคืองและโกรธ มากกว่าที่จะวางแผนหรือใคร่ครวญตรึกตรองหาวิธีทำร้ายผู้เสียหายที่ 2 เมื่อจำเลยเห็นผู้เสียหายที่ 2 บริเวณบ้านที่เกิดเหตุโดยบังเอิญ จำเลยเลี้ยวรถกลับไปจอดหน้าบ้านที่เกิดเหตุแล้วเดินเข้าไปหา ผู้เสียหายที่ 2 เห็นจำเลยก็วิ่งหนี จำเลยวิ่งตามไปใช้อาวุธมีดที่พกติดตัวมาแทงทำร้าย เป็นเหตุให้ผู้เสียหายที่ 2 และที่ 3 ซึ่งอยู่ในบริเวณเดียวกัน ได้รับอันตรายสาหัส เป็นเหตุการณ์เฉพาะหน้า จำเลยกระทำไปโดยขาดความยับยั้งชั่งใจและขาดสติด้วยคิดว่าผู้เสียหายที่ 2 ตีจากและหันไปคบกับผู้เสียหายที่ 3 พยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบมายังมีความสงสัยตามสมควรว่า จำเลยกระทำความผิดฐานพยายามฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อนหรือไม่ ให้ยกประโยชน์แห่งความสงสัยนั้นให้จำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1646/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทำร้ายร่างกายจนถึงแก่ความตาย ศาลฎีกาพิพากษายืนตามศาลอุทธรณ์ว่าไม่มีการไตร่ตรองไว้ก่อน
ก่อนเกิดเหตุผู้ตายกับจำเลยต่างเมาสุราโต้เถียงทะเลาะกัน จำเลยกลับบ้านเอามีดดาบของกลางมาขู่ผู้ตาย ผู้ตายกับจำเลยโต้เถียงกันอีก แล้วจำเลยถือมีดดาบวิ่งไล่ผู้ตายไปจนถึงบริเวณที่ผู้ตายกับพวกนั่งดื่มสุรากัน อ.เข้าไปห้ามจำเลย จำเลยจึงกลับบ้านโดยไม่ได้ฟันผู้ตาย ผู้ตายกลับมานั่งดื่มสุรากับพวกต่อ สักครู่หนึ่งผู้ตายเดินออกไปทางท้ายซอยห่างจากวงสุราประมาณ 10 เมตร และยืนชี้มาทางบ้านจำเลยลักษณะท้าทาย จำเลยโมโหจึงได้ขับรถจักรยานยนต์เข้าไปหาผู้ตายแล้วใช้มีดดาบฟันผู้ตาย ดังนี้ พฤติการณ์ของจำเลยหลังจากที่จำเลยใช้มีดดาบของกลางวิ่งไล่ผู้ตายไปจนถึงที่เกิดเหตุและใช้มีดดาบของกลางเล่มเดิมฟันผู้ตาย เป็นเหตุการณ์ที่ต่อเนื่องกันไม่ขาดตอน ถือไม่ได้ว่าจำเลยกระทำการโดยไตร่ตรองไว้ก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1180/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับสารภาพและการพิสูจน์ความผิดทางอาญา ศาลต้องฟังพยานหลักฐานจนพอใจก่อนลงโทษ
บทบัญญัติ ป.วิ.อ. มาตรา 176 มิได้หมายความว่า เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพแล้วศาลจะต้องพิพากษาลงโทษจำเลยเสมอไป ถ้าศาลเห็นว่าจำเลยมิได้กระทำความผิดหรือการกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิด ศาลย่อมพิพากษายกฟ้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 วรรคหนึ่ง โดยเฉพาะข้อหาความผิดตาม ป.อ. มาตรา 289 กำหนดอัตราโทษอย่างต่ำไว้ให้จำคุกตั้งแต่ห้าปีขึ้นไป ศาลต้องฟังพยานโจทก์จนกว่าจะพอใจว่า จำเลยได้กระทำผิดจริงจึงจะพิพากษาลงโทษจำเลยได้ คดีนี้ศาลชั้นต้นสืบพยานประกอบคำรับสารภาพของจำเลยแล้วจึงพิพากษาคดี เมื่อศาลชั้นต้นพิจารณาพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบจนเป็นที่น่าพอใจว่าจำเลยกระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 289 ดังนี้ จำเลยจึงมีสิทธิอุทธรณ์ว่าพยานหลักฐานของโจทก์ยังรับฟังไม่ได้ว่าจำเลยกระทำผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1180/2558 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาโทษจำเลยในคดีฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน ศาลต้องพิจารณาพยานหลักฐานและเหตุผลประกอบ
บทบัญญัติ ป.วิ.อ. มาตรา 176 มิได้หมายความว่า เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพแล้วจะต้องพิพากษาลงโทษจำเลยเสมอไป ถ้าศาลเห็นว่าจำเลยมิได้กระทำความผิดหรือการกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิด ศาลย่อมพิพากษายกฟ้องได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 วรรคหนึ่ง
ข้อหาความผิดตาม ป.อ. มาตรา 289 กำหนดอัตราโทษอย่างต่ำไว้ให้จำคุกตั้งแต่ห้าปีขึ้นไป ศาลต้องฟังพยานโจทก์จนกว่าจะพอใจว่า จำเลยได้กระทำผิดจริงจึงจะพิพากษาลงโทษจำเลยได้ ศาลชั้นต้นสืบพยานประกอบคำรับสารภาพของจำเลยแล้ว จึงพิพากษาคดี เมื่อศาลชั้นต้นพิจารณาพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบจนเป็นที่น่าพอใจว่าจำเลยกระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 289 ดังนี้ จำเลยก็มีสิทธิที่จะอุทธรณ์ว่าพยานหลักฐานของโจทก์ยังรับฟังไม่ได้ว่าจำเลยกระทำผิด และปัญหาว่าจำเลยกระทำผิดโดยไตร่ตรองไว้ก่อนหรือไม่เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย
การฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน หมายความว่า ก่อนทำการฆ่า ผู้กระทำผิดได้คิดไตร่ตรองทบทวนแล้วจึงตกลงใจกระทำความผิด ไม่ใช่กระทำไปโดยปัจจุบันทันด่วนเพราะเมาสุราหรือบันดาลโทสะ พฤติการณ์ที่จำเลยกับผู้ตายเล่นการพนันและทะเลาะวิวาทกันขณะจำเลยเมาสุรานั้นเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้า ความโกรธจะมากน้อยเพียงใดก็แล้วแต่สภาพจิตของแต่ละคน แต่การที่จำเลยออกจากที่เกิดเหตุแล้วกลับมาอีกครั้งใช้เวลาประมาณ 5 นาที พร้อมอาวุธมีด แสดงว่าจำเลยโกรธมากในการทะเลาะวิวาทกับผู้ตาย ระยะเวลาที่เกิดขึ้นรวดเร็วเพียงนั้น โอกาสที่จำเลยจะได้คิดไตร่ตรองทบทวนไว้ก่อนย่อมมีน้อย การที่จำเลยกลับมายังที่เกิดเหตุแล้วใช้อาวุธมีดแทงผู้ตายในเวลาต่อเนื่องกัน จึงไม่พอรับฟังว่า จำเลยมีเจตนาฆ่าผู้ตายโดยไตร่ตรองไว้ก่อน
ข้อหาความผิดตาม ป.อ. มาตรา 289 กำหนดอัตราโทษอย่างต่ำไว้ให้จำคุกตั้งแต่ห้าปีขึ้นไป ศาลต้องฟังพยานโจทก์จนกว่าจะพอใจว่า จำเลยได้กระทำผิดจริงจึงจะพิพากษาลงโทษจำเลยได้ ศาลชั้นต้นสืบพยานประกอบคำรับสารภาพของจำเลยแล้ว จึงพิพากษาคดี เมื่อศาลชั้นต้นพิจารณาพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบจนเป็นที่น่าพอใจว่าจำเลยกระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 289 ดังนี้ จำเลยก็มีสิทธิที่จะอุทธรณ์ว่าพยานหลักฐานของโจทก์ยังรับฟังไม่ได้ว่าจำเลยกระทำผิด และปัญหาว่าจำเลยกระทำผิดโดยไตร่ตรองไว้ก่อนหรือไม่เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย
การฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน หมายความว่า ก่อนทำการฆ่า ผู้กระทำผิดได้คิดไตร่ตรองทบทวนแล้วจึงตกลงใจกระทำความผิด ไม่ใช่กระทำไปโดยปัจจุบันทันด่วนเพราะเมาสุราหรือบันดาลโทสะ พฤติการณ์ที่จำเลยกับผู้ตายเล่นการพนันและทะเลาะวิวาทกันขณะจำเลยเมาสุรานั้นเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้า ความโกรธจะมากน้อยเพียงใดก็แล้วแต่สภาพจิตของแต่ละคน แต่การที่จำเลยออกจากที่เกิดเหตุแล้วกลับมาอีกครั้งใช้เวลาประมาณ 5 นาที พร้อมอาวุธมีด แสดงว่าจำเลยโกรธมากในการทะเลาะวิวาทกับผู้ตาย ระยะเวลาที่เกิดขึ้นรวดเร็วเพียงนั้น โอกาสที่จำเลยจะได้คิดไตร่ตรองทบทวนไว้ก่อนย่อมมีน้อย การที่จำเลยกลับมายังที่เกิดเหตุแล้วใช้อาวุธมีดแทงผู้ตายในเวลาต่อเนื่องกัน จึงไม่พอรับฟังว่า จำเลยมีเจตนาฆ่าผู้ตายโดยไตร่ตรองไว้ก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 21745/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพาอาวุธปืนในชุมนุมชน: การพิจารณาขอบเขต 'ชุมนุมชน' ตาม พ.ร.บ.อาวุธปืน
ตาม พ.ร.บ.อาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ.2490 มาตรา 8 ทวิ วรรคสอง บัญญัติห้ามมิให้พาอาวุธปืนไปในชุมนุมชน ซึ่งคำว่า "ชุมนุมชน" หมายความถึง หมู่ชนที่มารวมกันมาก ๆ โดยเป็นการรวมบุคคลหลาย ๆ คนโดยทั่วไป มิใช่บุคคลเฉพาะบางหมู่บางพวก แสดงให้เห็นว่ากฎหมายมีเจตนารมณ์เพื่อป้องกันมิให้ผู้ใดพาอาวุธปืนซึ่งเป็นอาวุธร้ายแรงโดยสภาพเข้าไปในบริเวณที่มีหมู่ชนมารวมกันมาก ๆ ก่อให้เกิดอันตรายแก่ผู้อื่นได้ เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยถืออาวุธปืนพกยืนอยู่บริเวณข้างกำแพงด้านนอกแม้ไม่ได้เข้าไปที่ศาลหลักเมืองบริเวณที่จัดงานแสดงหมอลำและชกมวยก็ตาม แต่บริเวณที่จำเลยยืนถืออาวุธปืนดังกล่าวมีรถยนต์ของผู้มาเที่ยวงานจอดอยู่ห่างจากปากทางเข้าออกงานประมาณ ๒๐ เมตร แสดงว่าบริเวณที่จำเลยยืนถืออาวุธปืนนั้นอยู่ในที่ซึ่งหมู่ชนมารวมกันมาก ๆ มาจอดรถเพื่อเข้าร่วมงาน ถือว่าการกระทำของจำเลยมีความผิดฐานพาอาวุธปืนไปในชุมนุมชน ตาม พ.ร.บ.อาวุธปืน ฯ มาตรา 8 ทวิ วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 19672/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำรับสารภาพที่ได้มาจากการจับกุมในคดีอื่น ไม่อาจนำมาใช้เป็นหลักฐานในคดีปัจจุบันได้
แม้บันทึกคำรับสารภาพจำเลยกระทำขึ้นเนื่องจากจำเลยถูกจับในคดีอื่น แต่ในบันทึกนั้นจำเลยก็ได้กล่าวถึงการที่จำเลยใช้อาวุธปืนยิงผู้ตาย อันมีลักษณะเป็นถ้อยคำรับสารภาพว่า จำเลยผู้ถูกจับกุมได้กระทำความผิด จึงต้องห้ามมิให้รับฟังเป็นพยานหลักฐานตาม ป.วิ.อ. มาตรา 84 วรรคท้าย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7253/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ตัวการร่วมพยายามฆ่าโดยไตร่ตรองไว้ก่อน: การแบ่งหน้าที่ชัดเจนบ่งชี้เจตนา
ตั้งแต่ออกจากรีสอร์ทจนมาถึงที่เกิดเหตุที่พี่ชาย น. ยิงผู้เสียหาย ไม่ปรากฏว่าจำเลยและพี่ชาย น. ได้พูดกันแต่อย่างใด แต่เมื่อจำเลยจอดรถพี่ชาย น. ก็กระโดดลงจากรถและชักอาวุธปืนออกมายิงผู้เสียหาย แสดงว่าจำเลยและพี่ชาย น. ได้ตกลงกันไว้ก่อนแล้วให้จำเลยเป็นคนพาผู้เสียหายมา ส่วนพี่ชาย น. จะเป็นคนยิง อันเป็นการแบ่งหน้าที่กันทำ จำเลยจึงเป็นตัวการร่วมกระทำความผิดกับพี่ชาย น. ด้วย การที่คนร้ายใช้อาวุธปืนซึ่งเป็นอาวุธร้ายแรงยิงผู้เสียหาย 5 นัด ถูกที่ไหล่ซ้าย 1 นัด จนทะลุแสดงว่าคนร้ายมีเจตนาฆ่าผู้เสียหาย แต่เนื่องจากกระสุนปืนไม่ถูกอวัยวะสำคัญผู้เสียหายจึงไม่ถึงแก่ความตาย การกระทำของจำเลยกับพวกจึงเป็นความผิดฐานร่วมกันพยายามฆ่าผู้อื่นและเป็นการกระทำความผิดโดยไตร่ตรองไว้ก่อน เพราะได้มีการวางแผนไว้ล่วงหน้าก่อนที่จะนำตัวผู้เสียหายมายิงในที่เกิดเหตุ
ส่วนที่จำเลยฎีกาขอให้ลงโทษสถานเบานั้น เนื่องจากความผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อนตาม ป.อ. มาตรา 289 (4) มีโทษประหารชีวิตสถานเดียว การพยายามกระทำความผิดต้องระวางโทษสองในสามส่วนของโทษประหารชีวิต ดังนั้นเมื่อลดโทษประหารชีวิตลงหนึ่งในสามจึงเหลือโทษจำคุกตลอดชีวิตตาม ป.อ. มาตรา 52 (1) ศาลฎีกาไม่อาจลงโทษจำเลยให้ต่ำกว่านี้ได้
ส่วนที่จำเลยฎีกาขอให้ลงโทษสถานเบานั้น เนื่องจากความผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อนตาม ป.อ. มาตรา 289 (4) มีโทษประหารชีวิตสถานเดียว การพยายามกระทำความผิดต้องระวางโทษสองในสามส่วนของโทษประหารชีวิต ดังนั้นเมื่อลดโทษประหารชีวิตลงหนึ่งในสามจึงเหลือโทษจำคุกตลอดชีวิตตาม ป.อ. มาตรา 52 (1) ศาลฎีกาไม่อาจลงโทษจำเลยให้ต่ำกว่านี้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4768/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมเดียวผิดหลายบท: การใช้อาวุธปืนปล้นทรัพย์ - ลงโทษฐานหนักที่สุด
ความผิดฐานร่วมกันมีอาวุธปืนที่ไม่อาจออกใบอนุญาตได้ไว้ในครอบครองและความผิดฐานร่วมกันใช้อาวุธปืนที่ไม่อาจออกใบอนุญาตได้ตาม พ.ร.บ.อาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ.2490 มาตรา 78 วรรคหนึ่ง กฎหมายบัญญัติบทความผิดและบทลงโทษไว้ในบทมาตราเดียวกัน ย่อมเห็นเจตนารมณ์ของกฎหมายได้ว่า มีความประสงค์จะให้ความผิดทั้งสองฐานนี้เป็นกรรมเดียวกัน ส่วนความผิดฐานร่วมกันใช้อาวุธปืนที่ไม่อาจออกใบอนุญาตได้ ตามมาตรา 78 วรรคสาม เป็นบทหนักสำหรับผู้กระทำความผิดฐานใช้อาวุธปืนที่ไม่อาจออกใบอนุญาตได้ หากได้นำอาวุธปืนดังกล่าวไปใช้ในการกระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288 มาตรา 313 มาตรา 337 มาตรา 339 หรือมาตรา 340 ดังนั้น เมื่อจำเลยร่วมกันมีอาวุธปืนและร่วมกันใช้อาวุธปืนดังกล่าวเพื่อประสงค์อันเดียวกันในการร่วมกันปล้นทรัพย์และร่วมกันใช้อาวุธปืนต่อเนื่องจากการร่วมกันมีอาวุธปืนการกระทำของจำเลยจึงเป็นการกระทำกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษฐานร่วมกันใช้อาวุธปืนที่ไม่อาจออกใบอนุญาตได้กระทำความผิดฐานร่วมกันปล้นทรัพย์ตาม พ.ร.บ.อาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ.2490 มาตรา 78 วรรคสาม อันเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1199/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฆ่าโดยทรมาน, ลักทรัพย์, หน่วงเหนี่ยวกักขัง, ร่วมกันทำลายศพ: ศาลแก้โทษและกระทงความผิด
จำเลยที่ 3 มีส่วนร่วมปรึกษาหารือกับจำเลยที่ 1 และที่ 2 โดยตลอดว่าจะทำอย่างไรต่อไปไม่ใช่เพียงแต่ร่วมทางไปโดยจำยอม แม้จำเลยที่ 3 จะไม่ใช่ผู้ลงมือทำร้ายและฆ่าผู้ตายทั้งสอง แต่เป็นผู้ควบคุมตัวผู้ตายที่ 2 อันเป็นการหน่วงเหนี่ยวกักขังและขับรถอีกคันหนึ่งติดตามไปตลอดทาง อันมีการแบ่งหน้าที่กันทำเพื่อให้การกระทำความผิดทั้งหมดสำเร็จผล จึงรับฟังได้ว่า จำเลยที่ 3 เป็นตัวการร่วมกระทำความผิดกับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ดังที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษามา หาใช่เป็นเพียงผู้สนับสนุนการกระทำความผิดดังที่จำเลยที่ 3 ฎีกาไม่ ฎีกาของจำเลยที่ 3 ฟังไม่ขึ้น
ที่ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า ความผิดของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ฐานหน่วงเหนี่ยวกักขังผู้ตายที่ 2 และฆ่าผู้ตายที่ 2 โดยทรมานและกระทำทารุณโหดร้ายเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบทให้ลงโทษฐานฆ่าผู้อื่นโดยทรมานและกระทำทารุณโหดร้ายอันเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุดตาม ป.อ. มาตรา 90 ให้ประหารชีวิต ลดโทษให้ตาม ป.อ. มาตรา 78 ประกอบมาตรา 52 (1) แล้วคงจำคุกตลอดชีวิต เมื่อลงโทษจำคุกตลอดชีวิตแล้วจึงไม่อาจนำโทษความผิดฐานอื่นมาลงแก่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ได้อีกและศาลอุทธรณ์ภาค 3 มิได้พิพากษาแก้ข้อนี้นั้นไม่ถูกต้อง ขัดต่อ ป.อ. มาตรา 91 ที่บัญญัติว่า สำหรับความผิดหลายกรรมต่างกัน ให้ลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไป ซึ่งจะกระทำไม่ได้เฉพาะโทษประหารชีวิตที่โดยสภาพแล้วไม่อาจกำหนดโทษอื่นได้อีกเท่านั้น กรณีจึงต้องลงโทษจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ในความผิดทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไป เมื่อรวมโทษทุกกระทงแล้วก็คงลงโทษจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ได้ตลอดชีวิตตาม ป.อ. มาตรา 91 (3) แต่เมื่อโจทก์มิได้อุทธรณ์และฎีกา ศาลฎีกาจึงไม่อาจกำหนดโทษและเรียงกระทงลงโทษจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ได้ เพราะจะเป็นการพิพากษาเพิ่มเติมโทษจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ซึ่งต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 212 ประกอบมาตรา 225
ที่ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า ความผิดของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ฐานหน่วงเหนี่ยวกักขังผู้ตายที่ 2 และฆ่าผู้ตายที่ 2 โดยทรมานและกระทำทารุณโหดร้ายเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบทให้ลงโทษฐานฆ่าผู้อื่นโดยทรมานและกระทำทารุณโหดร้ายอันเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุดตาม ป.อ. มาตรา 90 ให้ประหารชีวิต ลดโทษให้ตาม ป.อ. มาตรา 78 ประกอบมาตรา 52 (1) แล้วคงจำคุกตลอดชีวิต เมื่อลงโทษจำคุกตลอดชีวิตแล้วจึงไม่อาจนำโทษความผิดฐานอื่นมาลงแก่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ได้อีกและศาลอุทธรณ์ภาค 3 มิได้พิพากษาแก้ข้อนี้นั้นไม่ถูกต้อง ขัดต่อ ป.อ. มาตรา 91 ที่บัญญัติว่า สำหรับความผิดหลายกรรมต่างกัน ให้ลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไป ซึ่งจะกระทำไม่ได้เฉพาะโทษประหารชีวิตที่โดยสภาพแล้วไม่อาจกำหนดโทษอื่นได้อีกเท่านั้น กรณีจึงต้องลงโทษจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ในความผิดทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไป เมื่อรวมโทษทุกกระทงแล้วก็คงลงโทษจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ได้ตลอดชีวิตตาม ป.อ. มาตรา 91 (3) แต่เมื่อโจทก์มิได้อุทธรณ์และฎีกา ศาลฎีกาจึงไม่อาจกำหนดโทษและเรียงกระทงลงโทษจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ได้ เพราะจะเป็นการพิพากษาเพิ่มเติมโทษจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ซึ่งต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 212 ประกอบมาตรา 225