พบผลลัพธ์ทั้งหมด 11 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 647/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความความผิดฝ่าฝืนคำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่น: การนับระยะเวลาตั้งแต่ได้รับทราบคำสั่งจนถึงวันฟ้องคดี
จำเลยที่ 1 ได้รับทราบคำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นให้รื้อถอนอาคารที่ปลูกสร้างเมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2555 จำเลยที่ 1 จึงต้องปฏิบัติตามคำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นให้เสร็จสิ้นภายใน 30 วัน ซึ่งครบกำหนดวันที่ 4 สิงหาคม 2555 แต่จำเลยที่ 1 ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งดังกล่าว เมื่อนับถึงวันที่ 30 ตุลาคม 2560 ซึ่งเป็นวันที่โจทก์ฟ้องคดีนี้เกิน 5 ปี คดีโจทก์จึงขาดอายุความตาม ป.อ. มาตรา 95 (4)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11153/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การดัดแปลงอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาตและฝ่าฝืนคำสั่งรื้อถอน: ประเด็นฟ้องชอบด้วยกฎหมาย, อายุความ, และการปรับรายวัน
พ.ร.บ. ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 4 บัญญัติความหมายคำว่า อาคาร ว่าให้หมายความรวมถึงส่วนต่าง ๆ ของอาคาร และคำว่า ดัดแปลง ว่า เปลี่ยนแปลง ต่อเติม เพิ่ม ลด หรือขยายซึ่งลักษณะขอบเขต แบบ รูปทรง สัดส่วน น้ำหนัก เนื้อที่ ของโครงสร้างของอาคารหรือส่วนต่าง ๆ ของอาคารซึ่งได้ก่อสร้างไว้แล้วให้ผิดไปจากเดิม และมิใช่การซ่อมแซมหรือการดัดแปลงที่กำหนดในกฎกระทรวง การที่โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยทำการดัดแปลงอาคารตึกแถวจากเดิมซึ่งเป็นอาคาร 3 ชั้น ดัดแปลงเป็นอาคาร 5 ชั้น โดยทำการก่อสร้างเสาเหล็กขึ้นตามชั้นต่าง ๆ และทำการก่อสร้างพื้น ค.ส.ล. ในชั้นที่ 5 ด้วย อันเป็นการเพิ่มขยายขอบเขต รูปทรง น้ำหนัก ทำให้รูปแบบโครงสร้างของอาคารที่ได้ก่อสร้างไว้แล้วผิดไปจากเดิมโดยไม่ได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นและไม่ได้รับยกเว้นใด ๆ ตามกฎหมายให้กระทำได้ พร้อมทั้งอ้าง พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 4 จึงเป็นการบรรยายถึงการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำผิดครบองค์ประกอบความผิดฐานดัดแปลงอาคารโดยไม่ได้รับใบอนุญาต ตลอดจนข้อเท็จจริงและรายละเอียดพอสมควรเท่าที่จะให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดี ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) แล้ว
เมื่อจำเลยกระทำความผิดฐานดัดแปลงอาคารโดยไม่ได้รับใบอนุญาตตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2550 ต่อเนื่องกันไปถึงวันที่ 11 มิถุนายน 2551 จึงต้องเริ่มนับอายุความในวันที่ 12 มิถุนายน 2551 เมื่อนับถึงวันที่ 8 พฤษภาคม 2556 ที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ยังไม่เกิน 5 ปี คดีของโจทก์จึงยังไม่ขาดอายุความ ส่วนความผิดฐานฝ่าฝืนคำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่ให้รื้อถอนอาคาร เมื่อครบ 60 วัน ตามคำสั่งที่ให้รื้อถอนอาคารเมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2551 แล้ว จำเลยไม่ปฏิบัติตามคำสั่ง เมื่อนับถึงวันที่ 8 พฤษภาคม 2556 ที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ยังไม่เกิน 5 ปี คดีของโจทก์ยังไม่ขาดอายุความเช่นกัน
เมื่อจำเลยกระทำความผิดฐานดัดแปลงอาคารโดยไม่ได้รับใบอนุญาตตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2550 ต่อเนื่องกันไปถึงวันที่ 11 มิถุนายน 2551 จึงต้องเริ่มนับอายุความในวันที่ 12 มิถุนายน 2551 เมื่อนับถึงวันที่ 8 พฤษภาคม 2556 ที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ยังไม่เกิน 5 ปี คดีของโจทก์จึงยังไม่ขาดอายุความ ส่วนความผิดฐานฝ่าฝืนคำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่ให้รื้อถอนอาคาร เมื่อครบ 60 วัน ตามคำสั่งที่ให้รื้อถอนอาคารเมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2551 แล้ว จำเลยไม่ปฏิบัติตามคำสั่ง เมื่อนับถึงวันที่ 8 พฤษภาคม 2556 ที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ยังไม่เกิน 5 ปี คดีของโจทก์ยังไม่ขาดอายุความเช่นกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15866/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความความผิดเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา: ความผิดสำเร็จที่การทำสัญญา ไม่ใช่ความผิดต่อเนื่อง
ความผิดฐานเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราตามที่กฎหมายกำหนดนั้นเกิดขึ้นเป็นความผิดสำเร็จตั้งแต่วันที่มีการให้กู้ยืมเงินด้วยการทำสัญญากันและจำเลยเรียกดอกเบี้ยจากผู้เสียหายเกินอัตราตามที่กฎหมายกำหนด หาใช่ความผิดต่อเนื่องตลอดระยะเวลาตราบเท่าที่จำเลยยังคงเรียกเก็บดอกเบี้ยเกินอัตราอยู่และผู้เสียหายแต่ละคนได้ผ่อนชำระดอกเบี้ยนั้นดังที่โจทก์ฎีกาไม่ เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าโจทก์ฟ้องคดีนี้ในวันที่ 25 กันยายน 2551 เกินกว่า 5 ปี นับแต่วันกระทำผิดสำเร็จ จึงเป็นอันขาดอายุความตาม ป.อ. มาตรา 95 (4)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 18180/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความความผิด พ.ร.บ.ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา: การกระทำความผิดสำเร็จเมื่อให้กู้ ไม่ใช่ความผิดต่อเนื่อง
ความผิดตาม พ.ร.บ.ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ.2475 มาตรา 3 (ก) เป็นความผิดเกิดขึ้นและสำเร็จแล้วตั้งแต่ผู้ให้กู้ให้กู้เงินโดยเรียกดอกเบี้ยเกินกว่าอัตราที่กฎหมายกำหนด การชำระดอกเบี้ยต่อเนื่องกันมาเป็นผลของการกระทำความผิดเท่านั้น ไม่ใช่ความผิดต่อเนื่อง จำเลยที่ 1 กับพวกร่วมกันให้โจทก์ร่วมกู้เงินโดยคิดดอกเบี้ยเกินกว่าอัตราที่กฎหมายกำหนดเมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2541 และโจทก์นำคดีมาฟ้องเมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2547 เกินกว่า 5 ปี นับแต่วันกระทำความผิด คดีจึงเป็นอันขาดอายุความตาม ป.อ. มาตรา 95 (4)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3461/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความความผิดก่อสร้างอาคาร และการยกข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของศาล
ความผิดฐานก่อสร้างอาคารโดยไม่ได้รับใบอนุญาตตาม พ.ร.บ. ควบคุมอาคารฯ มาตรา 21 มาตรา 65 วรรคหนึ่งและวรรคสอง มีระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 เดือน หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และปรับอีกวันละไม่เกิน 10,000 บาท ความผิดดังกล่าวจึงมีอายุความ 5 ปี ตาม ป.อ. มาตรา 95 (4) โจทก์นำคดีนี้มาฟ้องเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2549 จึงเกินกว่า 5 ปี นับแต่วันที่ 21 สิงหาคม 2544 ซึ่งเป็นวันที่จำเลยกระทำความผิดคดีสำหรับความผิดฐานดังกล่าวจึงเป็นอันขาดอายุความ สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (6) และต้องยกฟ้องโจทก์สำหรับความผิดดังกล่าวเสียตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3920/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความคดีอาญา และการแก้ไขฟ้องที่ส่งผลต่อการรับสารภาพของจำเลย
โจทก์ยื่นคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำฟ้อง โดยขอแก้ไขบทลงโทษ ซึ่งเป็นการแก้หรือเพิ่มเติมฐานความผิดความผิดก่อนที่ศาลชั้นพิพากษาได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 163 วรรคหนึ่ง, 164 เมื่อจำเลยไม่ค้านและศาลชั้นต้นอนุญาตให้แก้ไขเพิ่มเติมฟ้อง หากจำเลยเห็นว่าที่จำเลยรับสารภาพไปจะทำให้จำเลยเสียเปรียบในการต่อสู้คดี จำเลยอาจยื่นคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การได้ เมื่อจำเลยไม่ยื่นคำร้องดังกล่าวแสดงว่าจำเลยรับสารภาพโดยมิได้หลงต่อสู้ในฐานความผิดที่โจทก์ขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องนั้น ศาลล่างทั้งสองย่อมลงโทษจำเลยตามคำฟ้องที่ขอแก้ไขเพิ่มเติมได้
ความผิดฐานก่อสร้างดัดแปลงอาคารเพื่อพาณิชยกรรม โดยไม่ได้รับใบอนุญาติตาม พ.ร.บ. ควบคุมอาคารฯ มาตรา 21 มาตรา 65 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 70 มีกำหนดโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 120,000 บาท ความผิดดังกล่าวจึงมีอายุความ 5 ปี ตาม ป.อ. มาตรา 95 (4) โจทก์นำคดีนี้มาฟ้องเกินกว่า 5 ปี นับแต่วันที่จำเลยกระทำความผิด คดีนี้สำหรับความผิดฐานดังกล่าวจึงเป็นอันขาดอายุความ สิทธิการนำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (6) โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยในความผิดฐานดังกล่าว ที่ศาลล่างพิพากษาลงโทษจำเลยในความผิดฐานดังกล่าวจึงเป็นการไม่ชอบ ปัญหานี้แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา แต่เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 เมื่อสิทธินำคดีอาญามาฟ้องในความผิดฐานก่อสร้างดัดแปลงอาคารเพื่อพาณิชยกรรมโดยไม่ได้รับใบอนุญาตและฐานบุกรุกเข้าไปยึดถือครอบครองที่ดินของรัฐเป็นการกระทำอันเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบทหรือไม่ จึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15
ความผิดฐานก่อสร้างดัดแปลงอาคารเพื่อพาณิชยกรรม โดยไม่ได้รับใบอนุญาติตาม พ.ร.บ. ควบคุมอาคารฯ มาตรา 21 มาตรา 65 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 70 มีกำหนดโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 120,000 บาท ความผิดดังกล่าวจึงมีอายุความ 5 ปี ตาม ป.อ. มาตรา 95 (4) โจทก์นำคดีนี้มาฟ้องเกินกว่า 5 ปี นับแต่วันที่จำเลยกระทำความผิด คดีนี้สำหรับความผิดฐานดังกล่าวจึงเป็นอันขาดอายุความ สิทธิการนำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (6) โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยในความผิดฐานดังกล่าว ที่ศาลล่างพิพากษาลงโทษจำเลยในความผิดฐานดังกล่าวจึงเป็นการไม่ชอบ ปัญหานี้แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา แต่เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 เมื่อสิทธินำคดีอาญามาฟ้องในความผิดฐานก่อสร้างดัดแปลงอาคารเพื่อพาณิชยกรรมโดยไม่ได้รับใบอนุญาตและฐานบุกรุกเข้าไปยึดถือครอบครองที่ดินของรัฐเป็นการกระทำอันเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบทหรือไม่ จึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2636/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความความผิดแจ้งเท็จ และการลงโทษความผิดหลายกระทงตาม พ.ร.บ. บัตรประจำตัวประชาชน
จำเลยกระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 137 เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2539 นับถึงวันฟ้องคือวันที่ 13 พฤษภาคม 2546 เกินกำหนด 5 ปี คดีโจทก์สำหรับความผิดดังกล่าวจึงเป็นอันขาดอายุความ สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ในความผิดดังกล่าวย่อมระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (6)
การที่จำเลยซึ่งเป็นผู้ไม่มีสัญชาติไทยยื่นคำขอมีบัตรประจำตัวประชาชน โดยแจ้งข้อความหรือแสดงหลักฐานอันเป็นเท็จต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ว่าตนเป็นผู้มีสัญชาติไทยเมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2539 จนเจ้าพนักงานหลงเชื่อออกบัตรประจำตัวประชาชนให้แก่จำเลย เป็นความผิดตาม พ.ร.บ. บัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ. 2526 มาตรา 14 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้ขณะกระทำความผิดและเป็นคุณกว่า พ.ร.บ. บัตรประจำตัวประชาชน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2542 มาตรา 8 ซึ่งยกเลิกความในมาตรา 14 และให้ใช้ความใหม่แทน เป็นความผิดกระทงหนึ่ง ส่วนความผิดฐานแจ้งข้อความอันเป็นเท็จต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ในการขอเปลี่ยนบัตรประจำตัวประชาชนเพราะบัตรประจำตัวประชาชนเดิมหมดอายุ ซึ่งจำเลยกระทำเมื่อวันที่ 15 มกราคม 2546 และความผิดฐานใช้หรือแสดงใบรับคำขอเปลี่ยนบัตรประจำตัวประชาชน เมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2546 เป็นความผิดตาม มาตรา 14 (1) (ที่แก้ไขใหม่) และมาตรา 14 (3) (ที่แก้ไขใหม่) ตามลำดับ จำเลยซึ่งเป็นผู้กระทำความผิดตาม (3) เป็นผู้กระทำความผิดตาม (1) ด้วย จึงให้ลงโทษตาม (3) แต่กระทงเดียว ตามมาตรา 14 วรรคสอง และ เนื่องจากจำเลยเป็นผู้ไม่มีสัญชาติไทย จึงต้องระวางโทษตามมาตรา 14 วรรคสี่ อีกกระทงหนึ่ง ศาลล่างทั้งสองพิพากษาจำคุกจำเลยกระทงนี้เพียง 1 ปี เป็นการลงโทษจำคุกต่ำกว่าอัตราโทษขั้นต่ำของกฎหมาย คือจำคุก 2 ปี นั้น ไม่ถูกต้อง แต่โจทก์มิได้อุทธรณ์และฎีกาขอให้เพิ่มเติมโทษจำเลย ศาลฎีกาจึงมิอาจเพิ่มเติมโทษจำเลยได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 212 ประกอบมาตรา 225 แต่ให้ปรับบทลงโทษจำเลยตามบทกฎหมายที่ถูกต้อง ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เอง ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบ มาตรา 225
การที่จำเลยซึ่งเป็นผู้ไม่มีสัญชาติไทยยื่นคำขอมีบัตรประจำตัวประชาชน โดยแจ้งข้อความหรือแสดงหลักฐานอันเป็นเท็จต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ว่าตนเป็นผู้มีสัญชาติไทยเมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2539 จนเจ้าพนักงานหลงเชื่อออกบัตรประจำตัวประชาชนให้แก่จำเลย เป็นความผิดตาม พ.ร.บ. บัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ. 2526 มาตรา 14 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้ขณะกระทำความผิดและเป็นคุณกว่า พ.ร.บ. บัตรประจำตัวประชาชน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2542 มาตรา 8 ซึ่งยกเลิกความในมาตรา 14 และให้ใช้ความใหม่แทน เป็นความผิดกระทงหนึ่ง ส่วนความผิดฐานแจ้งข้อความอันเป็นเท็จต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ในการขอเปลี่ยนบัตรประจำตัวประชาชนเพราะบัตรประจำตัวประชาชนเดิมหมดอายุ ซึ่งจำเลยกระทำเมื่อวันที่ 15 มกราคม 2546 และความผิดฐานใช้หรือแสดงใบรับคำขอเปลี่ยนบัตรประจำตัวประชาชน เมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2546 เป็นความผิดตาม มาตรา 14 (1) (ที่แก้ไขใหม่) และมาตรา 14 (3) (ที่แก้ไขใหม่) ตามลำดับ จำเลยซึ่งเป็นผู้กระทำความผิดตาม (3) เป็นผู้กระทำความผิดตาม (1) ด้วย จึงให้ลงโทษตาม (3) แต่กระทงเดียว ตามมาตรา 14 วรรคสอง และ เนื่องจากจำเลยเป็นผู้ไม่มีสัญชาติไทย จึงต้องระวางโทษตามมาตรา 14 วรรคสี่ อีกกระทงหนึ่ง ศาลล่างทั้งสองพิพากษาจำคุกจำเลยกระทงนี้เพียง 1 ปี เป็นการลงโทษจำคุกต่ำกว่าอัตราโทษขั้นต่ำของกฎหมาย คือจำคุก 2 ปี นั้น ไม่ถูกต้อง แต่โจทก์มิได้อุทธรณ์และฎีกาขอให้เพิ่มเติมโทษจำเลย ศาลฎีกาจึงมิอาจเพิ่มเติมโทษจำเลยได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 212 ประกอบมาตรา 225 แต่ให้ปรับบทลงโทษจำเลยตามบทกฎหมายที่ถูกต้อง ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เอง ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบ มาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 86/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
องค์ประกอบความผิด พ.ร.บ.บัตรประจำตัวประชาชน และอายุความแจ้งความเท็จ ศาลฎีกายกฟ้องบางข้อหา
จำเลยที่ 2 กับพวกร่วมกันแจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่เจ้าพนักงานเพื่อช่วยเหลือให้คนต่างด้าวได้รับบัตรประจำตัวประชาชน นับเป็นการกระทำที่กระทบต่อความมั่นคงและความปลอดภัยของประเทศชาติ พฤติการณ์แห่งคดีจึงเป็นเรื่องร้ายแรง ไม่สมควรรอการลงโทษให้
ภายหลังจากจำเลยที่ 2 กระทำความผิดคดีนี้มี พ.ร.บ.บัตรประจำตัวประชาชน (ฉบับที่ 2)ฯ มาตรา 8 ให้ยกเลิกความในมาตรา 14 แห่ง พ.ร.บ.บัตรประจำตัวประชาชนฯ โดยเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบความผิดจากเดิมที่กำหนดให้ผู้กระทำความผิดต้องเป็น "ผู้ไม่มีสัญชาติไทย" เป็น "ผู้ใด" ซึ่งอาจจะเป็นผู้ที่มีสัญชาติไทยหรือไม่ก็ได้ การพิจารณาว่าการกระทำของจำเลยที่ 2 เป็นความผิดหรือไม่ ต้องพิจารณาจากองค์ประกอบความผิดตาม พ.ร.บ.บัตรประจำตัวประชาชนฯ มาตรา 14 เดิม ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 2 เมื่อคำฟ้องของโจทก์ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 เป็นผู้มีสัญชาติไทย ฟ้องโจทก์จึงเป็นฟ้องที่ขาดองค์ประกอบความผิด ถือเป็นฟ้องที่ไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) แม้จำเลยที่ 2 ให้การรับสารภาพ ก็ลงโทษจำเลยที่ 2 ไม่ได้
ความผิดฐานแจ้งความเท็จตาม ป.อ. มาตรา 137 ระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือนหรือปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ โจทก์จะต้องฟ้องจำเลยที่ 2 สำหรับความผิดดังกล่าวในห้าปี นับแต่วันกระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 95 (4) แต่โจทก์เพิ่งฟ้องจำเลยที่ 2 เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2544 ซึ่งเกินกว่าห้าปีนับแต่วันกระทำความผิด ฟ้องโจทก์เฉพาะข้อหาดังกล่าว จึงขาดอายุความตาม ป.อ. มาตรา 95 (4)
ภายหลังจากจำเลยที่ 2 กระทำความผิดคดีนี้มี พ.ร.บ.บัตรประจำตัวประชาชน (ฉบับที่ 2)ฯ มาตรา 8 ให้ยกเลิกความในมาตรา 14 แห่ง พ.ร.บ.บัตรประจำตัวประชาชนฯ โดยเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบความผิดจากเดิมที่กำหนดให้ผู้กระทำความผิดต้องเป็น "ผู้ไม่มีสัญชาติไทย" เป็น "ผู้ใด" ซึ่งอาจจะเป็นผู้ที่มีสัญชาติไทยหรือไม่ก็ได้ การพิจารณาว่าการกระทำของจำเลยที่ 2 เป็นความผิดหรือไม่ ต้องพิจารณาจากองค์ประกอบความผิดตาม พ.ร.บ.บัตรประจำตัวประชาชนฯ มาตรา 14 เดิม ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 2 เมื่อคำฟ้องของโจทก์ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 เป็นผู้มีสัญชาติไทย ฟ้องโจทก์จึงเป็นฟ้องที่ขาดองค์ประกอบความผิด ถือเป็นฟ้องที่ไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) แม้จำเลยที่ 2 ให้การรับสารภาพ ก็ลงโทษจำเลยที่ 2 ไม่ได้
ความผิดฐานแจ้งความเท็จตาม ป.อ. มาตรา 137 ระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือนหรือปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ โจทก์จะต้องฟ้องจำเลยที่ 2 สำหรับความผิดดังกล่าวในห้าปี นับแต่วันกระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 95 (4) แต่โจทก์เพิ่งฟ้องจำเลยที่ 2 เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2544 ซึ่งเกินกว่าห้าปีนับแต่วันกระทำความผิด ฟ้องโจทก์เฉพาะข้อหาดังกล่าว จึงขาดอายุความตาม ป.อ. มาตรา 95 (4)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5002/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความคดีอาญาควบคุมอาคาร และการปรับบทลงโทษที่ถูกต้องตามกฎหมาย
อายุความฟ้องคดีอาญา ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 95 ต้องถือตามอัตราโทษที่พิจารณาได้ความและกำหนดไว้ในมาตราที่ศาลยกขึ้นปรับเมื่อได้ความว่าการกระทำของจำเลยทั้งสามเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคารฯ มาตรา 65 ทั้งสองวรรค การพิจารณาอายุความจึงต้องใช้อัตราโทษในวรรคหนึ่งซึ่งมีโทษหนักที่สุดเป็นเกณฑ์ในการพิจารณา ซึ่งมาตรา 65 วรรคหนึ่ง มีอัตราโทษสูงสุดจำคุกไม่เกิน 3 เดือน จึงมีอายุความ 5 ปี ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 95(4) และคดีนี้เหตุเกิดวันที่ 9 มิถุนายน 2540 โจทก์ฟ้องเมื่อวันที่ 20 มกราคม 2543 จึงไม่ขาดอายุความ
การที่จำเลยทั้งสามซึ่งเป็นผู้ครอบครองและดัดแปลงอาคารตามที่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นได้ร่วมกันใช้และยินยอมให้บุคคลอื่นใช้อาคาร ซึ่งเป็นอาคารประเภทควบคุมการใช้ ประกอบกิจการพาณิชยกรรมโรงแรม คลังสินค้า โรงมหรสพ สำนักงาน ห้างสรรพสินค้า โดยที่จำเลยทั้งสามยังไม่ได้รับใบรับรองการดัดแปลงอาคารแล้วเสร็จจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น การกระทำของจำเลยทั้งสามจึงเป็นการกระทำความผิดในฐานะผู้ดำเนินการดัดแปลงอาคาร ซึ่งจะต้องรับโทษหนักขึ้นเป็นสองเท่าของโทษที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคารฯ มาตรา 69
ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษาและกำหนดโทษจำเลยทั้งสามตาม พระราชบัญญัติควบคุมอาคารฯ มาตรา 65 ทั้งวรรคหนึ่งและวรรคสอง โดยมิได้ปรับบทมาตรา 65 วรรคหนึ่งมาด้วย ปัญหาว่าศาลล่างทั้งสองปรับบทมาตราถูกต้องหรือไม่ เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5) ประกอบด้วย มาตรา 246,247
การที่จำเลยทั้งสามซึ่งเป็นผู้ครอบครองและดัดแปลงอาคารตามที่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นได้ร่วมกันใช้และยินยอมให้บุคคลอื่นใช้อาคาร ซึ่งเป็นอาคารประเภทควบคุมการใช้ ประกอบกิจการพาณิชยกรรมโรงแรม คลังสินค้า โรงมหรสพ สำนักงาน ห้างสรรพสินค้า โดยที่จำเลยทั้งสามยังไม่ได้รับใบรับรองการดัดแปลงอาคารแล้วเสร็จจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น การกระทำของจำเลยทั้งสามจึงเป็นการกระทำความผิดในฐานะผู้ดำเนินการดัดแปลงอาคาร ซึ่งจะต้องรับโทษหนักขึ้นเป็นสองเท่าของโทษที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคารฯ มาตรา 69
ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษาและกำหนดโทษจำเลยทั้งสามตาม พระราชบัญญัติควบคุมอาคารฯ มาตรา 65 ทั้งวรรคหนึ่งและวรรคสอง โดยมิได้ปรับบทมาตรา 65 วรรคหนึ่งมาด้วย ปัญหาว่าศาลล่างทั้งสองปรับบทมาตราถูกต้องหรือไม่ เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5) ประกอบด้วย มาตรา 246,247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5002/2545 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความคดีอาญาตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร และการปรับบทลงโทษที่ถูกต้อง
อายุความฟ้องคดีอาญา ตาม ป.อ.มาตรา 95 ต้องถือตามอัตราโทษที่พิจารณาได้ความและกำหนดไว้ในมาตราที่ศาลยกขึ้นปรับ เมื่อได้ความว่าการกระทำของจำเลยทั้งสามเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร ฯ มาตรา 65 ทั้งสองวรรค การพิจารณาอายุความจึงต้องใช้อัตราโทษในวรรคหนึ่งซึ่งมีโทษหนักที่สุดเป็นเกณฑ์ในการพิจารณา ซึ่งมาตรา 65 วรรคหนึ่ง มีอัตราโทษสูงสุดจำคุกไม่เกิน 3 เดือน จึงมีอายุความ 5 ปี ตาม ป.อ.มาตรา 95 (4) และคดีนี้เหตุเกิดวันที่ 9 มิถุนายน 2540 โจทก์ฟ้องเมื่อวันที่ 20 มกราคม 2543 จึงไม่ขาดอายุความ
การที่จำเลยทั้งสามซึ่งเป็นผู้ครอบครองและดัดแปลงอาคารตามที่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น ได้ร่วมกันใช้และยินยอมให้บุคคลอื่นใช้อาคาร ซึ่งเป็นอาคารประเภทควบคุมการใช้ ประกอบกิจการพาณิชยกรรม โรงแรม คลังสินค้า โรงมหรสพ สำนักงาน ห้างสรรพสินค้า โดยที่จำเลยทั้งสามยังไม่ได้รับใบรับรองการดัดแปลงอาคารแล้วเสร็จจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น การกระทำของจำเลยทั้งสามจึงเป็นการกระทำความผิดในฐานะผู้ดำเนินการดัดแปลงอาคาร ซึ่งจะต้องรับโทษหนักขึ้นเป็นสองเท่าของโทษที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร ฯ มาตรา 69
ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษาและกำหนดโทษจำเลยทั้งสามตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร ฯ มาตรา 65 ทั้งวรรคหนึ่งและวรรคสอง โดยมิได้ปรับบทมาตรา 65 วรรคหนึ่งมาด้วย ปัญหาว่าศาลล่างทั้งสองปรับบทมาตราถูกต้องหรือไม่ เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 142 (5) ประกอบด้วย มาตรา 246 , 247
การที่จำเลยทั้งสามซึ่งเป็นผู้ครอบครองและดัดแปลงอาคารตามที่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น ได้ร่วมกันใช้และยินยอมให้บุคคลอื่นใช้อาคาร ซึ่งเป็นอาคารประเภทควบคุมการใช้ ประกอบกิจการพาณิชยกรรม โรงแรม คลังสินค้า โรงมหรสพ สำนักงาน ห้างสรรพสินค้า โดยที่จำเลยทั้งสามยังไม่ได้รับใบรับรองการดัดแปลงอาคารแล้วเสร็จจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น การกระทำของจำเลยทั้งสามจึงเป็นการกระทำความผิดในฐานะผู้ดำเนินการดัดแปลงอาคาร ซึ่งจะต้องรับโทษหนักขึ้นเป็นสองเท่าของโทษที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร ฯ มาตรา 69
ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษาและกำหนดโทษจำเลยทั้งสามตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร ฯ มาตรา 65 ทั้งวรรคหนึ่งและวรรคสอง โดยมิได้ปรับบทมาตรา 65 วรรคหนึ่งมาด้วย ปัญหาว่าศาลล่างทั้งสองปรับบทมาตราถูกต้องหรือไม่ เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 142 (5) ประกอบด้วย มาตรา 246 , 247