พบผลลัพธ์ทั้งหมด 11 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5002/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความ พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร และการปรับบทลงโทษตามมาตรา 65 ทั้งสองวรรค
พระราชบัญญัติควบคุมอาคารฯ มาตรา 65 มุ่งประสงค์จะลงโทษผู้กระทำความผิดสำเร็จตามบทมาตราที่ระบุไว้ทั้งสองวรรคไปในคราวเดียวกัน คือ นอกจากผู้กระทำความผิดสำเร็จจะต้องรับโทษทั้งจำคุกหรือปรับ หรือทั้งจำทั้งปรับตามมาตรา 65 วรรคหนึ่ง แล้ว ยังจะต้องรับโทษปรับเป็นรายวันตามมาตรา 65 วรรคสองพร้อมกันไปในคราวเดียวกันด้วย การพิจารณานับอายุความสำหรับความผิดตามมาตรา 65 นี้ จึงต้องใช้ระวางโทษในวรรคหนึ่งซึ่งมีโทษหนักที่สุดเป็นเกณฑ์ในการพิจารณา หาใช่นับอายุความในแต่ละวรรคแยกต่างหากจากกัน ส่วนโทษปรับตามมาตรา 65 วรรคสอง คณะกรรมการเปรียบเทียบคดีจะมีอำนาจเปรียบเทียบตามมาตรา 74 หรือไม่นั้น เป็นอีกเรื่องหนึ่งซึ่งไม่เกี่ยวกับการนับอายุความ เมื่อพระราชบัญญัติควบคุมอาคารฯ มาตรา 65 วรรคหนึ่ง มีระวางโทษขั้นสูงให้จำคุกไม่เกิน3 เดือน จึงมีอายุความฟ้องร้อง 5 ปี ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 95(4) โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 20 มกราคม 2543 ยังไม่พ้นกำหนด 5 ปี นับแต่วันที่ 9 มิถุนายน 2540ซึ่งเป็นวันที่จำเลยทั้งสามเริ่มกระทำความผิด คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
จำเลยเป็นผู้ครอบครองและดำเนินการดัดแปลงอาคารตามที่ได้รับอนุญาตจากผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เจ้าพนักงานท้องถิ่น ได้ร่วมกันใช้และยินยอมให้บุคคลอื่นใช้อาคารซึ่งเป็นอาคารประเภทควบคุมการใช้ ประกอบกิจการพาณิชยกรรมโรงแรมคลังสินค้า โรงมหรสพ สำนักงาน ห้างสรรพสินค้า โดยที่จำเลยยังไม่ได้รับใบรับรองการดัดแปลงอาคารแล้วเสร็จจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น อันเป็นการฝ่าฝืนข้อห้ามตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคารฯ มาตรา 32 วรรคสาม จึงถือได้ว่าความผิดดังกล่าวเป็นการกระทำความผิดของผู้ดำเนินการดัดแปลงอาคาร ซึ่งต้องระวางโทษหนักขึ้นเป็นสองเท่าของโทษที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้นตามมาตรา 69 แล้ว
จำเลยได้ร่วมกันกระทำความผิดตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคารฯ มาตรา 32วรรคสาม ประกอบมาตรา 65,69 และ 70 และได้มีคำขอให้ลงโทษจำเลยตามบทมาตราดังกล่าวมาโดยครบถ้วนแล้ว จึงเป็นอำนาจของศาลที่จะต้องปรับบทลงโทษและกำหนดโทษจำเลยตามมาตรา 65 วรรคหนึ่งและวรรคสอง การที่ศาลล่างพิพากษาและกำหนดโทษจำเลยตามมาตรา 65 วรรคหนึ่ง แต่มิได้พิพากษาปรับบทลงโทษจำเลยตามมาตรา 65 วรรคหนึ่งมาด้วย จึงเป็นการไม่ชอบ ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย แม้โจทก์จะมิได้ยกขึ้นอุทธรณ์และฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องเองได้ซึ่งถือว่าเป็นการเพิ่มเติมโทษจำเลย
จำเลยเป็นผู้ครอบครองและดำเนินการดัดแปลงอาคารตามที่ได้รับอนุญาตจากผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เจ้าพนักงานท้องถิ่น ได้ร่วมกันใช้และยินยอมให้บุคคลอื่นใช้อาคารซึ่งเป็นอาคารประเภทควบคุมการใช้ ประกอบกิจการพาณิชยกรรมโรงแรมคลังสินค้า โรงมหรสพ สำนักงาน ห้างสรรพสินค้า โดยที่จำเลยยังไม่ได้รับใบรับรองการดัดแปลงอาคารแล้วเสร็จจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น อันเป็นการฝ่าฝืนข้อห้ามตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคารฯ มาตรา 32 วรรคสาม จึงถือได้ว่าความผิดดังกล่าวเป็นการกระทำความผิดของผู้ดำเนินการดัดแปลงอาคาร ซึ่งต้องระวางโทษหนักขึ้นเป็นสองเท่าของโทษที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้นตามมาตรา 69 แล้ว
จำเลยได้ร่วมกันกระทำความผิดตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคารฯ มาตรา 32วรรคสาม ประกอบมาตรา 65,69 และ 70 และได้มีคำขอให้ลงโทษจำเลยตามบทมาตราดังกล่าวมาโดยครบถ้วนแล้ว จึงเป็นอำนาจของศาลที่จะต้องปรับบทลงโทษและกำหนดโทษจำเลยตามมาตรา 65 วรรคหนึ่งและวรรคสอง การที่ศาลล่างพิพากษาและกำหนดโทษจำเลยตามมาตรา 65 วรรคหนึ่ง แต่มิได้พิพากษาปรับบทลงโทษจำเลยตามมาตรา 65 วรรคหนึ่งมาด้วย จึงเป็นการไม่ชอบ ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย แม้โจทก์จะมิได้ยกขึ้นอุทธรณ์และฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องเองได้ซึ่งถือว่าเป็นการเพิ่มเติมโทษจำเลย