คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สมชัย เกษชุมพล

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 292 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9854/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องเรียกถอนคืนการให้เนื่องจากประพฤติเนรคุณ ต้องฟ้องภายใน 6 เดือนนับแต่วันทราบเหตุ หรือภายใน 10 ปี
บุคคลผู้ชอบที่จะฟ้องเรียกถอนคืนการให้เพราะเหตุประพฤติเนรคุณได้นั้น ต้องฟ้องคดีภายในหกเดือนนับแต่เหตุประพฤติเนรคุณนั้นได้ทราบถึงผู้นั้น และห้ามมิให้ฟ้องคดีเมื่อพ้นเวลาสิบปีภายหลังเหตุการณ์เช่นว่านั้นตามป.พ.พ. มาตรา 533 บทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวไม่ได้ให้สิทธิเลือกจะฟ้องคดีภายในหกเดือนหรือสิบปี
แม้ผู้ให้ยังมีชีวิตอยู่และยากไร้ ผู้รับให้มีหน้าที่ต้องอุปการะเลี้ยงดูผู้ให้ตามความจำเป็นและผู้รับให้สามารถให้ได้ตลอดเวลาที่ผู้ให้ยังมีชีวิตอยู่ก็ตาม แต่เหตุประพฤติเนรคุณทั้งหมดเกิดขึ้นเมื่อนับถึงวันฟ้องเกินกว่าหกเดือนนับแต่วันที่ผู้ให้ได้ทราบถึงเหตุเหล่านั้น คดีจึงขาดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 533 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9660/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความเป็นสัญญาต่างตอบแทน เมื่อผิดนัดโจทก์มีสิทธิบังคับคดีได้ ศาลไม่จำเป็นต้องไต่สวนคำร้อง
จำเลยยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นขอให้มีคำสั่งยกเลิกหมายบังคับคดีโดยอ้างว่า ศาลชั้นต้นได้ออกหมายบังคับคดีโดยฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติของกฎหมายตาม ป.วิ.พ.มาตรา 296 วรรคหนึ่ง แต่เมื่อไม่มีเหตุที่ศาลจะมีคำสั่งเพิกถอนหรือแก้ไขหมายบังคับคดีศาลชั้นต้นก็ชอบที่จะยกคำร้องได้ บทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวมิได้บังคับว่าศาลชั้นต้นจะต้องไต่สวนคำร้องก่อนมีคำสั่ง
ตามสัญญาประนีประนอมยอมความซึ่งศาลมีคำพิพากษาตามยอมได้กำหนดวันเวลาที่จำเลยจะต้องชำระเงินให้โจทก์ไว้ก่อนวันเวลาที่โจทก์จะต้องมีหน้าที่ปฎิบัติตามสัญญาประนีประนอมยอมความ อันเป็นสัญญาต่างตอบแทนซึ่งมีกำหนดเวลาที่แน่นอน จำเลยจะเข้าใจเอาเองว่าโจทก์จะไม่ดำเนินการอย่างใด ๆ ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ แล้วจำเลยระงับการชำระค่าจ้างที่จำเลยมีหน้าที่ต้องชำระให้โจทก์ตามสัญญาประนีประนอมยอมความไว้ชั่วคราวหาได้ไม่ เมื่อจำเลยไม่ชำระค่าจ้างให้โจทก์ตามสัญญาประนีประนอมยอมความตามวันที่กำหนดไว้ ถือได้ว่าจำเลยผิดนัดโจทก์มีสิทธิขอให้ศาลชั้นต้นออกหมายบังคับคดีแก่จำเลยได้ทันที

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9652/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายที่ดินโดยผู้จัดการมรดกนอกอำนาจ และผลกระทบต่อสิทธิผู้ซื้อที่ทราบข้อจำกัด
คดีก่อนศาลชั้นต้นพิพากษาให้เพิกถอนการจดทะเบียนซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างโจทก์และจำเลยบางส่วน โดยวินิจฉัยว่าจำเลยคดีดังกล่าวจดทะเบียนโอนขายที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์คดีดังกล่าวเป็นการทำนอกขอบอำนาจในฐานะผู้จัดการมรดก ย่อมเป็นการเสียเปรียบแก่ทายาทของ จ. และผู้ที่มีส่วนเป็นเจ้าของที่ดินพิพาทซึ่งอยู่ในฐานะที่จะจดทะเบียนสิทธิได้ก่อนทั้งโจทก์คดีดังกล่าวรับซื้อที่ดินพิพาทไว้โดยทราบดีอยู่แล้วว่าทายาทของ จ. และผู้มีส่วนเป็นเจ้าของที่ดินพิพาทได้ทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทหลายปีแล้ว และควรจะได้รู้อยู่แล้วว่าจำเลยคดีดังกล่าวกระทำในฐานะผู้จัดการมรดก จึงเป็นการไม่สุจริต ดังนี้การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้เพิกถอนการซื้อขายที่ดินพิพาทถือว่าโจทก์ถูกรอนสิทธิ แต่โจทก์ทราบถึงสิทธิของผู้ก่อการรบกวนในที่ดินพิพาทแล้วในเวลาซื้อขาย ฉะนั้น จำเลยซึ่งเป็นผู้ขายจึงไม่ต้องรับผิดในการรอนสิทธิต่อโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 476 โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องบังคับให้จำเลยคืนเงินค่าที่ดินพิพาทแก่โจทก์ตามส่วนที่ถูกเพิกถอนการซื้อขายดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9652/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายที่ดินโดยผู้จัดการมรดกเกินอำนาจ และผลกระทบต่อสิทธิของผู้ซื้อทราบข้อจำกัด
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้เพิกถอนการจดทะเบียนขายที่ดินพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยบางส่วน โดยวินิจฉัยว่าจำเลยจดทะเบียนโอนขายที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์เป็นการทำนอกขอบอำนาจในฐานะผู้จัดการมรดก เป็นการเสียเปรียบแก่ทายาทของเจ้ามรดกและผู้มีส่วนเป็นเจ้าของที่ดินพิพาทซึ่งอยู่ในฐานะที่จะจดทะเบียนสิทธิได้ก่อน ทั้งโจทก์รับซื้อที่ดินพิพาทไว้โดยทราบดีอยู่แล้วว่าทายาทของเจ้ามรดกและผู้มีส่วนเป็นเจ้าของที่ดินพิพาทได้ทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทหลายปีแล้ว และควรจะได้รู้อยู่แล้วว่าจำเลยกระทำในฐานะผู้จัดการมรดก จึงเป็นการไม่สุจริต ดังนี้ ถือว่าโจทก์ซึ่งเป็นผู้ซื้อที่ดินพิพาทจากจำเลยถูกรอนสิทธิ แต่โจทก์ทราบถึงสิทธิของผู้ก่อกวนการรบกวนในที่ดินพิพาทแล้วในเวลาซื้อขาย จำเลยซึ่งเป็นผู้ขายจึงไม่ต้องรับผิดในการรอนสิทธิต่อโจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 476 โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิฟ้องบังคับให้จำเลยคืนเงินค่าที่ดินพิพาทแก่โจทก์ตามส่วนที่ถูกเพิกถอนการซื้อขาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9571/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อและดอกเบี้ยเกินอัตรา: วิธีการบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อต้องเป็นไปตามกฎหมายเฉพาะ และกฎหมายห้ามดอกเบี้ยเกินอัตราใช้ไม่ได้กับสัญญาเช่าซื้อ
สิทธิการบอกเลิกสัญญาและวิธีการบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อ ป.พ.พ. กำหนดไว้โดยเฉพาะแล้ว โดยให้สิทธิแก่ผู้เช่าซื้อตามมาตรา 573 และให้สิทธิแก่ผู้ให้เช่าซื้อตามมาตรา 574 ไม่ใช่ไม่มีบทกฎหมายที่จะยกมาปรับแก่คดีตามมาตรา 4 กรณีจึงไม่อาจนำวิธีการบอกเลิกสัญญาเช่าในกฎหมายลักษณะเช่าทรัพย์ ตามมาตรา 560 มาใช้บังคับในการบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อได้
ตาม พ.ร.บ. ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ. 2475 เป็นการห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดในการกู้ยืมเงินเท่านั้น ไม่อาจจะนำมาใช้บังคับแก่การเช่าซื้อได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9571/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อ การกำหนดระยะเวลาบอกกล่าว และการคิดดอกเบี้ยเกินอัตรา
สิทธิการบอกเลิกสัญญาและวิธีการบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อนั้นประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ กำหนดไว้โดยเฉพาะแล้ว โดยให้สิทธิแก่ผู้เช่าซื้อตามมาตรา 573 และให้สิทธิแก่ผู้ให้เช่าซื้อตามมาตรา 574 ไม่ใช่กรณีไม่มีบทกฎหมายที่จะยกมาปรับแก่คดีตามมาตรา 4 จึงไม่อาจนำวิธีการบอกเลิกสัญญาเช่าในกฎหมายลักษณะเช่าทรัพย์ตามมาตรา 560 มาใช้บังคับในการบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อได้
สัญญาเช่าซื้อระหว่างโจทก์กับผู้ซื้อมีข้อตกลงว่า ถ้าผู้เช่าซื้อผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้องวดหนึ่งงวดใดให้ถือว่าสัญญาเลิกกันทันที ซึ่งเป็นการกำหนดเงื่อนไขการเลิกสัญญาเช่าซื้อแตกต่างจากบทบัญญัติของกฎหมาย แต่ข้อตกลงดังกล่าวไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน จึงใช้บังคับได้เมื่อผู้เช่าซื้อผิดนัดชำระค่าเช่าซื้อโจทก์ใช้วิธีแสดงเจตนามีหนังสือทวงถามไปยังผู้เช่าซื้อให้ชำระหนี้ก่อน หากไม่ชำระหนี้ภายในกำหนดให้ถือเอาหนังสือนั้นเป็นการบอกเลิกสัญญาจึงบอกเลิกสัญญาตามมาตรา 387 ได้ เมื่อโจทก์มีหนังสือไปยังผู้เช่าซื้อให้ชำระค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระให้แก่โจทก์ภายใน 3 วัน หากไม่ชำระขอถือเอาหนังสือดังกล่าวเป็นการบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อ ระยะเวลา 3 วันที่โจทก์กำหนดให้ผู้เช่าซื้อชำระค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระอยู่จำนวน 29,810 บาทนั้น นับว่าเป็นระยะเวลาพอสมควรแล้ว โจทก์ได้ปฏิบัติตามวิธีการที่กฎหมายกำหนดไว้ในมาตรา 387 แล้ว เมื่อผู้เช่าซื้อไม่ชำระค่าเช่าซื้อภายในกำหนดการบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อของโจทก์จึงชอบด้วยกฎหมาย โจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลย
แม้จำเลยมิได้ยกข้อต่อสู้มาตั้งแต่ในศาลชั้นต้นว่าโจทก์คิดดอกเบี้ยอัตราร้อยละ30 ต่อปี รวมไว้ในสัญญาเช่าซื้อและค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระซึ่งเป็นอัตราอันเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราฯ แต่ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนจึงยกขึ้นในชั้นอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 วรรคสองได้ ศาลฎีกาจึงรับวินิจฉัยให้ได้โดยวินิจฉัยว่าตามพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราฯ เป็นการห้ามเรียกดอกเบี้ยเฉพาะแต่การกู้ยืมเงินเท่านั้น ไม่อาจนำมาใช้บังคับแก่การเช่าซื้อได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9324/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องเรียกค่าเช่าสังหาริมทรัพย์ของผู้ประกอบธุรกิจให้เช่า: อายุความ 2 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (6)
โจทก์เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัดมีวัตถุประสงค์ประกอบธุรกิจในการให้เช่าสังหาริมทรัพย์รวมอยู่ด้วย โจทก์ให้จำเลยเช่ารถขุดแบ็กโฮพร้อมคนขับรถเพื่อนำไปใช้งานในหน่วยงานก่อสร้าง โจทก์จึงเป็นผู้ประกอบธุรกิจในการให้เช่าสังหาริมทรัพย์ เมื่อโจทก์ฟ้องเรียกเอาค่าเช่าจึงมีอายุความ 2 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (6)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9284/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของโรงแรมต่อทรัพย์สินของแขกที่สูญหาย: จำกัดความรับผิดไว้ที่ 500 บาท หากไม่ได้ฝากทรัพย์สิน
โจทก์ สามี และบุตรเข้าพักที่โรงแรมของจำเลยที่ 1 ซึ่งมีจำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นกรรมการผู้มีอำนาจดำเนินการแทน ก่อนนอนโจทก์ได้ถอดตุ้มหูเพชร สร้อยคอทองคำ นาฬิกาข้อมือฝังเพชร เข็มกลัดเพชร วางไว้บนโต๊ะเครื่องแป้ง ตื่นขึ้นมาปรากฏว่าทรัพย์สินต่าง ๆ หายไป รวมราคาทั้งสิ้น 2,920,000 บาท เจ้าพนักงานตำรวจตรวจสอบที่เกิดเหตุแล้วเห็นว่าคนร้ายสามารถเข้าห้องโดยประตูทางเข้าเท่านั้น โจทก์ยืนยันว่าความเสียหายที่เกิดขึ้นเพราะความประมาทเลินเล่อของจำเลยทั้งสามที่ไม่ดูแลกุญแจให้ดีปล่อยให้ใคร ๆ เอากุญแจไปใช้ได้ แต่โจทก์นำสืบไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสามประมาทเลินเล่ออย่างใดอันทำให้มีผลโดยตรงทำให้ทรัพย์ของโจทก์สูญหาย ข้อเท็จจริงจึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสามทำละเมิดต่อโจทก์
ทรัพย์สินของโจทก์ที่หายคือ นาฬิกาเรือนทองฝังเพชร สายสร้อยคอทองคำ เหรียญหลวงพ่อคูณกรอบทองคำล้อมเพชร พระนางพญาเลี่ยมทอง ตุ้มหูเพชร เข็มกลัดเพชร และเงินสด ทรัพย์สินดังกล่าวเกี่ยวด้วยเงิน ทอง ตรา ธนบัตร อัญมณีและของมีค่าอื่น ๆ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 675 วรรคสอง ให้จำกัดความรับผิดไว้เพียง 500 บาท เว้นแต่จะได้ฝากของมีค่าเช่นนี้ไว้แก่เจ้าสำนักและได้บอกราคาแห่งของนั้นชัดแจ้ง โจทก์เป็นคนเดินทางหรือแขกอาศัยเมื่อไม่ฝากของมีค่าไว้ เจ้าสำนักจึงรับผิดเพียง 500 บาท ไม่ว่าของมีค่านั้นผู้เดินทางจะสวมใส่มาโดยเปิดเผยหรือไม่ก็ตามและหาใช่ว่าจะต้องฝากทรัพย์สินเฉพาะผู้ลงทะเบียนเข้าพักในโรงแรมไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9284/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของโรงแรมต่อทรัพย์สินของแขก:จำกัดความรับผิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 675
จำเลยซึ่งเป็นเจ้าสำนักโรงแรมมิได้กระทำโดยประมาทเลินเล่อเป็นเหตุโดยตรงให้ทรัพย์สินของโจทก์สูญหาย ไม่เป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ จำเลยต้องรับผิดเพียงที่กฎหมายแพ่งและพาณิชย์กำหนดเกี่ยวกับวิธีเฉพาะสำหรับเจ้าสำนักโรงแรมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 674,675 และ 676 เท่านั้น
ทรัพย์สินของโจทก์ที่หายคือ นาฬิกาเรือนทองฝังเพชรสายสร้อยคอทองคำ เหรียญหลวงพ่อคูณกรอบทองคำล้อมเพชรพระนางพญาเลี่ยมทอง ตุ้มหูเพชร เข็มกลัดเพชรและเงินสดทรัพย์สินดังกล่าวจึงเกี่ยวด้วยเงินทอง ตรา ธนบัตร อัญมณี และของมีค่าอื่น ๆ ซึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 675 วรรคสอง ให้จำกัดความรับผิดไว้เพียง 500 บาท เว้นแต่จะได้ฝากของมีค่าเช่นนี้ไว้แก่เจ้าสำนักและได้บอกราคาแห่งของนั้นชัดแจ้งโจทก์เป็นคนเดินทางหรือแขกอาศัยเมื่อไม่ฝากของมีค่าไว้จำเลยจึงรับผิดเพียง 500 บาท ไม่ว่าของมีค่านั้นผู้เดินทางจะสวมใส่มาโดยเปิดเผยหรือไม่ก็ตาม และหาใช่ว่าจะต้องฝากทรัพย์สินเฉพาะผู้ลงทะเบียนเข้าพักในโรงแรมไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9166/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำหน่ายยาเสพติดสำเร็จ แม้ยังไม่มีการส่งมอบเงิน ความหมาย 'จำหน่าย' กว้างกว่าการซื้อขาย
จำเลยมีเจตนาจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนให้แก่สายลับ ทั้งได้ส่งมอบเมทแอมเฟตามีนให้สายลับไปอันเนื่องมาจากการตกลงเจรจาซื้อขายกันเสร็จสิ้นทั้งจำนวนและราคาแล้ว อีกทั้งคำว่า "จำหน่าย" ตาม พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 4 มีความหมายกว้างกว่าการซื้อขายตาม ป.พ.พ. มาตรา 453 การกระทำของจำเลยย่อมเป็นความผิดสำเร็จฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนแล้ว แม้จะยังมิได้ส่งมอบเงินให้แก่กัน มิใช่เป็นเพียงความผิดฐานพยายามจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน
of 30