คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สมชัย เกษชุมพล

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 292 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9136/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตั้งผู้จัดการทรัพย์สินตามมาตรา 307 วรรคสอง คำพิพากษาศาลอุทธรณ์เป็นที่สุด
จำเลยยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งตั้งจำเลยเป็นผู้จัดการอสังหาริมทรัพย์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 307 ซึ่งตามวรรคสองกำหนดไว้ว่าคำสั่งของศาลตามมาตรานี้ให้อุทธรณ์ไปยังศาลอุทธรณ์ได้ และคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลอุทธรณ์ให้เป็นที่สุด ดังนี้ แม้จำเลยจะฎีกาในปัญหาว่า การที่ศาลชั้นต้นงดไต่สวนก่อนมีคำสั่งเป็นการไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณาก็ตาม แต่การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งงดไต่สวนและยกคำร้องของจำเลยก็เนื่องจากพิจารณาคำร้องของจำเลยแล้วเห็นว่าไม่มีเหตุที่จะต้องตั้งผู้จัดการอสังหาริมทรัพย์ตามคำร้องจึงเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งตามมาตรา 307 เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 4มีคำพิพากษาเป็นประการใดแล้วย่อมเป็นที่สุด จำเลยจะฎีกาต่อมาหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8805/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องเรียกหนี้บัตรเครดิต: เริ่มนับจากผิดนัดชำระ และการชำระหลังขาดอายุความไม่เป็นการรับสภาพหนี้
การที่โจทก์ให้บริการประเภทบัตรเครดิตแก่สมาชิกทำให้สมาชิกสามารถใช้บัตรเครดิตที่โจทก์ออกให้ไปชำระค่าสินค้าหรือบริการโดยไม่ต้องนำเงินไปชำระทันที โจทก์เป็นผู้ชำระแทนสมาชิกไปก่อนแล้วจึงเรียกเก็บจากสมาชิกภายหลังหรือสมาชิกสามารถนำบัตรไปถอนเงินสดล่วงหน้าจากบัญชีเงินฝากของโจทก์ โดยผ่านเครื่องฝากถอนเงินอัตโนมัติ โดยโจทก์เรียกค่าธรรมเนียมจากสมาชิกเป็นกรณีที่โจทก์ผู้ประกอบธุรกิจในการรับทำการงานต่าง ๆ เรียกเอาเงินที่ได้ออกทดรองไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 193/34(7) การฟ้องเรียกเงินทดรองของโจทก์ จึงมีอายุความ2 ปี โจทก์แจ้งให้จำเลยชำระหนี้ที่เกิดจากการใช้บัตรเครดิตภายในวันที่ 7 พฤษภาคม 2540 แต่จำเลยไม่ชำระตามกำหนด ถือว่าจำเลยตกเป็นผู้ผิดนัด โจทก์ย่อมบังคับสิทธิเรียกร้องของตนได้ตั้งแต่วันที่ 8พฤษภาคม 2540 ซึ่งจะครบกำหนดอายุความในวันที่ 7 พฤษภาคม2542 การที่จำเลยชำระหนี้บางส่วนเมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2542 นั้นเป็นการชำระหนี้ภายหลังจากขาดอายุความแล้ว จึงเพียงแต่ทำให้ลูกหนี้เรียกคืนไม่ได้ตามมาตรา 193/28 วรรคหนึ่ง เท่านั้น ไม่เป็นการรับสภาพหนี้อันจะทำให้อายุความสะดุดหยุดลงตามมาตรา 193/14(1)เมื่อโจทก์ฟ้องคดีวันที่ 9 สิงหาคม 2543 ซึ่งหลังครบกำหนดอายุความแล้วฟ้องโจทก์จึงขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8749/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยเกินอัตรา: ธนาคารพาณิชย์ต้องปฏิบัติตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยและประกาศของตนเอง
โจทก์เป็นธนาคารพาณิชย์ ขณะจำเลยทำสัญญากู้ยืมเงินจากโจทก์ โจทก์ประกาศอัตราดอกเบี้ยโดยกำหนดอัตราดอกเบี้ยในการอำนวยสินเชื่อไว้สำหรับสินเชื่อสำหรับบุคคลทั่วไปว่า 1.1 กรณีอยู่ภายในวงเงินและไม่ผิดเงื่อนไขในการผ่อนชำระอัตราร้อยละ 16.5 ต่อปี และ 1.2 กรณีเกินวงเงิน/ผิดเงื่อนไขในการผ่อนชำระอัตราร้อยละ 19 ต่อปี กรณีของจำเลยอยู่ในหลักเกณฑ์ข้อ 1.1 แต่ในสัญญากู้ยืมเงินระบุดอกเบี้ยไว้อัตราร้อยละ 19 ต่อปี ในชั้นพิจารณาของศาลพนักงานฝ่ายสินเชื่อและเร่งรัดหนี้สินของโจทก์เบิกความยืนยันว่าคิดดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 19 ต่อปี ดังนี้ แม้ว่าโจทก์เป็นธนาคารพาณิชย์ ในการคิดอัตราดอกเบี้ยมิได้อยู่ภายใต้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 654 แต่การคิดอัตราดอกเบี้ยของโจทก์จะต้องอยู่ภายใต้บทบัญญัติของพระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ฯ มาตรา 14 ซึ่งกำหนดให้ธนาคารแห่งประเทศไทยออกประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ปฏิบัติในเรื่องดอกเบี้ยและส่วนลด ซึ่งโจทก์ได้ออกประกาศดอกเบี้ยและส่วนลดตามอัตราดอกเบี้ยแต่ละกรณี ดังนั้น การที่โจทก์กำหนดอัตราดอกเบี้ยเกินกว่าประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยและประกาศของโจทก์ดังกล่าวข้างต้น จึงเป็นการปฏิบัติฝ่าฝืนต่อพระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ฯเป็นการต้องห้ามตามพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราฯ มาตรา 3(ก) จึงเป็นโมฆะ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8749/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยเกินอัตราตาม พ.ร.บ.การธนาคารพาณิชย์ และการกำหนดวันผิดนัดชำระหนี้
พ.ร.บ. การธนาคารพาณิชย์ พ.ศ. 2505 มาตรา 14 กำหนดให้ธนาคารแห่งประเทศไทยออกประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย กำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ปฏิบัติในเรื่องดอกเบี้ยและส่วนลด การที่โจทก์ซึ่งเป็นธนาคารพาณิชย์กำหนดอัตราดอกเบี้ยเกินกว่าประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยและประกาศของโจทก์เป็นการปฏิบัติฝ่าฝืนต่อ พ.ร.บ. การธนาคารพาณิชย์ พ.ศ. 2505 อันเป็นการต้องห้ามตาม พ.ร.บ.ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ. 2475 มาตรา 3 (ก) จึงเป็นโมฆะ
ตามสัญญากู้ยืมเงินระบุให้จำเลยผ่อนชำระเป็นรายเดือนภายในวันที่ 4 ของทุกเดือน แต่เมื่อจำเลยผ่อนชำระหลังวันที่ 4 ของเดือน โจทก์ก็รับชำระหนี้โดยไม่มีการทักท้วง แสดงว่าโจทก์ไม่ได้ถือเอาระยะเวลาที่กำหนดไว้เป็นสาระสำคัญโจทก์ทวงถามให้จำเลยชำระหนี้โดยกำหนดระยะเวลาให้ 7 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือทวงถาม จำเลยรับหนังสือทวงถามวันที่ 27 ตุลาคม 2541 ครบ 7 วัน ในวันที่ 3 พฤศจิกายน 2541 ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์กำหนดวันผิดนัดในวันที่ 4 พฤศจิกายน 2541 จึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8504/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องบุตรชอบด้วยกฎหมาย: วิธีฟ้องที่ถูกต้องตามสถานะบิดา (มีชีวิต/เสียชีวิต) และสิทธิในการรับมรดก
การฟ้องคดีขอให้รับเด็กเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายตาม ป.พ.พ. มาตรา 1555 หากบิดามีชีวิตอยู่ต้องดำเนินคดีอย่างคดีมีข้อพิพาทคือฟ้องบิดาโดยเสนอข้อหาทำเป็นคำฟ้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 172 แต่ถ้าบิดาถึงแก่ความตายไปแล้วต้องดำเนินคดีอย่างคดีไม่มีข้อพิพาทคือให้เริ่มคดีโดยยื่นคำร้องขอต่อศาลตามมาตรา 188 (1)
ผู้ตายซึ่งโจทก์อ้างว่าเป็นบิดาได้ถึงแก่ความตายไปแล้ว โจทก์จึงต้องดำเนินคดีไม่มีข้อพิพาทคือเริ่มคดีโดย ยื่นคำร้องขอมิใช่เสนอคำฟ้องอย่างคดีมีข้อพิพาทส่วน ป.พ.พ. มาตรา 1558 เป็นเรื่องเกี่ยวกับสิทธิที่จะได้รับมรดกในฐานะทายาทโดยธรรมซึ่งเป็นผลตามมาจากการที่ร้องขอให้ศาลพิพากษาเป็นบุตร หาใช่บทบัญญัติที่ให้อำนาจโจทก์ฟ้องจำเลยในฐานะทายาทผู้ตายเพื่อให้ศาลพิพากษาว่าโจทก์เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายไม่ เมื่อโจทก์มิได้ดำเนินการให้ ถูกต้องตาม ป.พ.พ. ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษายกฟ้องโจทก์จึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8504/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องขอเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย: วิธีพิจารณาคดีที่ถูกต้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
การฟ้องคดีขอให้รับเด็กเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1555 หากบิดามีชีวิตอยู่ต้องดำเนินคดีอย่างคดีมีข้อพิพาทคือฟ้องบิดาโดยทำเป็นคำฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 แต่ถ้าบิดาถึงแก่ความตายไปแล้วต้องดำเนินคดีอย่างคดีไม่มีข้อพิพาทคือเริ่มคดีโดยยื่นคำร้องขอต่อศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 188(1) ดังนั้น เมื่อผู้ตายซึ่งเป็นบิดาได้ถึงแก่ความตายไปแล้ว โจทก์จึงต้องดำเนินคดีอย่างคดีไม่มีข้อพิพาท ส่วนบทบัญญัติมาตรา 1558 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เป็นเรื่องเกี่ยวกับสิทธิที่จะได้รับมรดกในฐานะทายาทโดยธรรมซึ่งเป็นผลตามมาจากการที่ร้องขอให้ศาลพิพากษาเป็นบุตร มิใช่บทบัญญัติที่ให้อำนาจโจทก์ฟ้องจำเลยในฐานะทายาทผู้ตายเพื่อให้ศาลพิพากษาว่าโจทก์เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของผู้ตาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8454/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลำดับการบังคับคดี: ผู้ค้ำประกันต้องถูกบังคับคดีเมื่อลูกหนี้ยังมีทรัพย์สินที่บังคับได้
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ชำระเงินแก่โจทก์ หากไม่ชำระให้จำเลยที่ 2 ชำระแทน แม้จำเลยทั้งสองไม่ชำระหนี้ให้โจทก์ โจทก์ได้ขอให้ออกคำบังคับแล้ว จำเลยทั้งสองไม่ชำระหนี้ก็ตาม แต่ในการทำสัญญากู้เงิน จำเลยที่ 1 ได้มอบหนังสือรับรองการทำประโยชน์ ให้โจทก์ยึดถือไว้เป็นหลักประกัน แสดงว่าจำเลยที่ 1 ยังมีทรัพย์สินที่จะชำระหนี้ได้และการบังคับชำระหนี้ไม่เป็นการยาก จำเลยที่ 2 ชอบที่จะขอให้ศาลเพิกถอนการยึดทรัพย์สินของจำเลยที่ 2 โดยให้โจทก์บังคับชำระหนี้เอาจากทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 ก่อนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 689 ได้ แม้โจทก์ต้องเสียค่าธรรมเนียมเจ้าพนักงานบังคับคดีเนื่องจากยึดทรัพย์สินของจำเลยที่ 2 แล้วไม่มีการขาย และหากทรัพย์สินของจำเลยที่ 1ไม่พอชำระหนี้ โจทก์จะต้องนำเจ้าพนักงานบังคับคดีไปยึดทรัพย์สินของจำเลยที่ 2 อีกครั้งหนึ่ง ก็ไม่มีเหตุที่จะมีคำสั่งเพียงให้งดการบังคับคดีแก่ทรัพย์สินของจำเลยที่ 2 ไว้เท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8454/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลำดับการบังคับคดี: ต้องบังคับชำระหนี้จากทรัพย์สินลูกหนี้ก่อน หากลูกหนี้ไม่มีทรัพย์สินจึงบังคับชำระหนี้จากผู้ค้ำประกัน
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ชำระเงินแก่โจทก์ หากจำเลยที่ 1 ไม่ชำระให้บังคับจำเลยที่ 2 ชำระแทน โจทก์จะต้องดำเนินการบังคับชำระหนี้เอาจากทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 เสียก่อน หากจำเลยที่ 1 ไม่ชำระหรือจำเลยที่ 1 ไม่มีทรัพย์สินที่โจทก์จะนำเจ้าพนักงานบังคับคดีไปยึดมาขายทอดตลาดเพื่อชำระหนี้ โจทก์จึงจะดำเนินการบังคับชำระหนี้เอาจากทรัพย์สินของจำเลยที่ 2 ได้
ในการทำสัญญากู้เงิน จำเลยที่ 1 ได้มอบหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) ให้โจทก์ยึดถือไว้เป็นหลักประกัน เมื่อจำเลยที่ 1 ยังมีทรัพย์สินที่จะชำระหนี้ให้โจทก์ได้และการที่จะบังคับชำระหนี้เอาจากทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 ไม่เป็นการยาก แต่โจทก์กลับนำเจ้าพนักงานบังคับคดีไปยึดทรัพย์สินของจำเลยที่ 2 ก่อนเป็นการข้ามการบังคับชำระหนี้ตามคำพิพากษา จำเลยที่ 2 ชอบที่จะขอให้ศาลมีคำสั่งให้เพิกถอนการยึดทรัพย์สินของจำเลยที่ 2 โดยให้โจทก์บังคับชำระหนี้เอาจากทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 ก่อนตาม ป.พ.พ. มาตรา 689 ได้ แม้โจทก์จะต้องเสียค่าธรรมเนียมเจ้าพนักงานบังคับคดีเนื่องจากยึดทรัพย์สินของจำเลยที่ 2 แล้วไม่มีการขาย และหากทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 ไม่พอชำระหนี้ตามคำพิพากษา โจทก์จะต้องบังคับชำระหนี้โดยนำเจ้าพนักงานบังคับคดีไปยึดทรัพย์สินของจำเลยที่ 2 อีกครั้งหนึ่งก็ตาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8435/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ยักยอกเช็ค - ความผิดฐานยักยอกทรัพย์และเอาไปเสียซึ่งเอกสาร - การคืนเงินที่ถูกยักยอก
ผู้เสียหายได้สั่งจ่ายเช็คพิพาทมอบให้จำเลยซึ่งเป็นลูกจ้างของผู้เสียหายนำไปชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ จำเลยเป็นผู้ครอบครองเช็คพิพาทในฐานะตัวแทนของผู้เสียหายและจำเลยมีหน้าที่ต้องนำเช็คพิพาทไปมอบให้แก่เจ้าหนี้ของผู้เสียหาย การที่จำเลยนำเช็คพิพาทไปเข้าบัญชีของจำเลยเพื่อเรียกเก็บเงินและได้มีการเรียกเก็บเงินตามเช็คพิพาทได้ ถือได้ว่าเป็นการเบียดบังเอาเช็คพิพาทของผู้เสียหายไปโดยทุจริต จึงเป็นความผิดฐานยักยอกเช็คพิพาท มิใช่เป็นความผิดฐานลักทรัพย์ และการที่จำเลยเอาเช็คพิพาทของผู้เสียหายไปเรียกเก็บเงินย่อมเป็นการทำให้เช็คพิพาทนั้นไร้ประโยชน์ที่จะใช้ได้อีก จึงเป็นความผิดฐานเอาไปเสียซึ่งเอกสารของผู้อื่น ตาม ป.อ. มาตรา 188 อีกบทหนึ่ง ต้องลงโทษตาม ป.อ. มาตรา 188 ซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุด
จำเลยยักยอกเช็คพิพาทของผู้เสียหายแล้วนำไปเรียกเก็บเงินจากธนาคารตามเช็ค ผู้เสียหายย่อมจะต้องถูกธนาคารตามเช็คหักเงินจากบัญชีของผู้เสียหายไปตามจำนวนเงินที่สั่งจ่ายในเช็ค เท่ากับว่าผู้เสียหายต้องสูญเสียเงินจำนวนตามเช็คนั้นไปเนื่องจากการกระทำผิดของจำเลยโดยตรง พนักงานอัยการจึงมีสิทธิขอให้จำเลยคืนหรือใช้เงินตามเช็คแก่ผู้เสียหายได้ ตาม ป.วิ. อ. มาตรา 43
ตามคำร้องของผู้เสียหายที่ยื่นเข้ามาประกอบเพื่อขอให้ศาลอนุญาตปล่อยตัวจำเลยชั่วคราวในระหว่างอุทธรณ์ มิใช่เป็นการยอมความตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8364/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องติดตามทรัพย์สินคืนจากผู้ถือกรรมสิทธิ์แทน ไม่ถือขาดอายุความ 10 ปี
โจทก์ฟ้องติดตามเอาทรัพย์สินที่ดินพิพาทของตนคืนจากจำเลยผู้ถือกรรมสิทธิ์แทน ย่อมไม่อยู่ในบังคับความ 10 ปี
of 30