พบผลลัพธ์ทั้งหมด 292 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7063/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ร่วมในทรัพย์สินที่ได้มาจากการอยู่กินฉันสามีภริยา แม้จดทะเบียนซื้อด้วยชื่อฝ่ายเดียว
ขณะที่ซื้อที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างพิพาทจำเลยกับผู้ร้องยังอยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยา ร่วมกันประกอบกิจการค้าขายเสื้อผ้าจนกระทั่งจดทะเบียนตั้งเป็นห้างหุ้นส่วนจำกัดในเวลาต่อมา ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างพิพาทจึงเป็นทรัพย์ที่ได้มาระหว่างอยู่กินด้วยกัน แม้จะมีชื่อผู้ร้องเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์แต่เพียงผู้เดียว ก็ต้องถือว่าเป็นทรัพย์ที่จำเลยและผู้ร้องทำมาหาได้ร่วมกันและมีเจตนาเป็นเจ้าของในทรัพย์ที่ทำมาหาได้ร่วมกัน จำเลยและผู้ร้องจึงเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ร่วมกัน
เจ้าของกรรมสิทธิ์รวมไม่มีสิทธิ์ร้องขอให้ปล่อยทรัพย์สินพิพาทคงมีสิทธิเฉพาะที่จะร้องขอกันส่วนในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์รวม
เจ้าของกรรมสิทธิ์รวมไม่มีสิทธิ์ร้องขอให้ปล่อยทรัพย์สินพิพาทคงมีสิทธิเฉพาะที่จะร้องขอกันส่วนในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์รวม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6756/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองปรปักษ์: แม้เข้าใจผิดเรื่องโฉนด แต่หากครอบครองเป็นเจ้าของนานกว่า 10 ปี ก็ได้กรรมสิทธิ์
แม้จำเลยจะเข้าใจผิดว่าที่ดินพิพาทเป็นที่ดินโฉนดเลขที่ 2749ที่จำเลยซื้อมาตั้งแต่ปี 2472 ก็ตาม แต่ในความเป็นจริงแล้วไม่ใช่ที่ดินแปลงดังกล่าว จึงไม่ใช่การครอบครองที่ดินของตนเองอันจะอ้างครอบครองปรปักษ์ไม่ได้ เมื่อจำเลยครอบครองที่ดินซึ่งเป็นของโจทก์อันเป็นการครอบครองที่ดินของผู้อื่น ลักษณะครอบครองของจำเลยแสดงออกโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของมาเป็นเวลานานกว่า10 ปีแล้ว จำเลยจึงได้กรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 และการนับระยะเวลาครอบครองนั้นนับตั้งแต่เวลาที่จำเลยเข้ายึดถือครอบครองที่ดินตลอดมา หาใช่นับแต่วันที่ทำการรังวัดแล้วทราบว่าครอบครองที่ดินสลับแปลงกันไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6432/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิการเช่าที่เป็นสินสมรสโดยไม่ได้รับความยินยอม และการฟ้องฐานโกงเจ้าหนี้ที่ไม่มีมูล
สิทธิการเช่าที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเป็นสินสมรสของโจทก์ที่ 1 กับ น. แม้จะปรากฏว่า น. โอนสิทธิการเช่าดังกล่าวแก่จำเลยที่ 1 โดยไม่ได้รับความยินยอมจากโจทก์ที่ 1 ก็ตาม แต่การโอนดังกล่าวมิใช่การโอนโดยเสน่หา น. จึงสามารถกระทำได้โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากโจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งก่อน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1476 (5) โจทก์ที่ 1 จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนการโอนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1480 ส่วนโจทก์ที่ 2 เป็นบุตรของโจทก์ที่ 1 กับ น. เมื่อ น. ถึงแก่ความตาย ก็ไม่มีสิทธิการเช่าตกทอดเป็นมรดกแก่โจทก์ที่ 2 ดังนั้น โจทก์ทั้งสองจึงไม่มีฐานะเป็นเจ้าหนี้ ขาดองค์ประกอบความผิดที่จะฟ้องจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ซึ่งรับโอนสิทธิการเช่าต่อมาจากจำเลยที่ 1 ให้ร่วมรับผิดฐานโกงเจ้าหนี้ ตาม ป.อ. มาตรา 350
เมื่อคดีที่โจทก์ฟ้องไม่มีมูลความผิดทางอาญา คำขอส่วนแพ่งของโจทก์ทั้งสองย่อมไม่เป็นคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา
เมื่อคดีที่โจทก์ฟ้องไม่มีมูลความผิดทางอาญา คำขอส่วนแพ่งของโจทก์ทั้งสองย่อมไม่เป็นคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6172/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนขายทรัพย์มรดกโดยไม่สุจริตและผลกระทบต่อทายาทอื่น
จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกได้จดทะเบียนโอนขายที่ดินพิพาทซึ่งเป็นทรัพย์มรดกให้จำเลยที่ 2 โดยจำเลยที่ 2 ทราบดีว่าทายาทหลายคนไม่ได้ให้ความยินยอม จึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2จดทะเบียนซื้อขายที่ดินพิพาทโดยสุจริต
เจ้ามรดกมีทายาทด้วยกัน 13 คน โจทก์เป็นทายาทคนหนึ่งในฐานะเจ้าของรวมอาจใช้สิทธิอันเกิดแต่กรรมสิทธิ์ครอบไปถึงทรัพย์สินทั้งหมดเพื่อประโยชน์แก่ทายาททุกคนได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1359 ประกอบมาตรา 1745 โจทก์ได้บรรยายฟ้องถึงข้อเท็จจริงดังกล่าวและมีคำขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนโอนขายที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 กับที่ 2 และให้จำเลยที่ 2 ไปจดทะเบียนไถ่ถอนจำนองที่ดินพิพาท ศาลมีอำนาจพิพากษาให้เพิกถอนการจดทะเบียนโอนขายที่ดินพิพาทและให้จำเลยที่ 2 ไปจดทะเบียนไถ่ถอนจำนองที่ดินพิพาทรวมถึงทายาทอื่นได้ ไม่เป็นการพิพากษาเกินคำฟ้องของโจทก์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142เมื่อจำเลยที่ 1 มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท 1 ใน 13 ส่วน จำเลยที่ 1มีอำนาจขายและจำนองที่ดินพิพาทส่วนของตนได้ จึงต้องเพิกถอนการจดทะเบียนโอนขายที่ดินพิพาทและให้จำเลยที่ 2 ไปจดทะเบียนไถ่ถอนจำนองที่ดินพิพาทเฉพาะส่วนของโจทก์และทายาทอื่นรวม12 ใน 13 ส่วนเท่านั้น
เจ้ามรดกมีทายาทด้วยกัน 13 คน โจทก์เป็นทายาทคนหนึ่งในฐานะเจ้าของรวมอาจใช้สิทธิอันเกิดแต่กรรมสิทธิ์ครอบไปถึงทรัพย์สินทั้งหมดเพื่อประโยชน์แก่ทายาททุกคนได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1359 ประกอบมาตรา 1745 โจทก์ได้บรรยายฟ้องถึงข้อเท็จจริงดังกล่าวและมีคำขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนโอนขายที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 กับที่ 2 และให้จำเลยที่ 2 ไปจดทะเบียนไถ่ถอนจำนองที่ดินพิพาท ศาลมีอำนาจพิพากษาให้เพิกถอนการจดทะเบียนโอนขายที่ดินพิพาทและให้จำเลยที่ 2 ไปจดทะเบียนไถ่ถอนจำนองที่ดินพิพาทรวมถึงทายาทอื่นได้ ไม่เป็นการพิพากษาเกินคำฟ้องของโจทก์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142เมื่อจำเลยที่ 1 มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท 1 ใน 13 ส่วน จำเลยที่ 1มีอำนาจขายและจำนองที่ดินพิพาทส่วนของตนได้ จึงต้องเพิกถอนการจดทะเบียนโอนขายที่ดินพิพาทและให้จำเลยที่ 2 ไปจดทะเบียนไถ่ถอนจำนองที่ดินพิพาทเฉพาะส่วนของโจทก์และทายาทอื่นรวม12 ใน 13 ส่วนเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6169/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปล้นทรัพย์ด้วยความรุนแรงและการแก้ไขโทษฐานพาอาวุธ ศาลฎีกาปรับบทลงโทษให้ถูกต้อง
จำเลยที่ 1 ขับรถจักรยานยนต์ โดยมีจำเลยที่ 3 กับจำเลยที่ 2 นั่งซ้อนท้าย แล้วแซงเข้าประกบรถจักรยานยนต์ของผู้เสียหาย จากนั้นจำเลยที่ 2 นั่งซ้อนท้ายสุดใช้เท้าถีบหน้าอกผู้เสียหายรถเสียหลักล้มลง ผู้เสียหายถูกรถจักรยานยนต์ล้มทับขาได้รับอันตรายสาหัส จำเลยที่ 1 หยุดรถ จำเลยที่ 3 ลงจากรถถือมีดปลายแหลมเดินเข้าไปหาผู้เสียหายแล้วกระชากเอาสร้อยคอทองคำที่ผู้เสียหายสวมใส่อยู่ขาดติดมือไปได้บางส่วน หลังจากนั้นจำเลยที่ 3 นั่งซ้อนท้ายรถจักรยานยนต์ที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 รออยู่หลบหนีไปด้วยกัน เมื่อจำเลยที่ 3 มีอาวุธมีดติดตัวไปด้วยในการปล้นทรัพย์จำเลยทั้งสามจึงต้องมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 340 วรรคสอง และลงโทษจำเลยทั้งสามตามมาตรา 340 วรรคสาม ประกอบด้วยมาตรา 340 ตรี, 83 ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุด ตาม ป.อ. มาตรา 90 และจำเลยที่ 3 มีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 371 อีกกระทงหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6157/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีและการชำระหนี้ที่ผิดสัญญา: สิทธิของเจ้าหนี้ในการปฏิเสธการชำระหนี้ที่ไม่ถูกต้องตามสัญญา
แม้จำเลยจะยอมจดทะเบียนการเช่าให้โจทก์อันเป็นการขอปฏิบัติการชำระหนี้ตามคำพิพากษาในลำดับแรกก็ตาม แต่หนังสือสัญญาเช่าที่จำเลยเสนอให้โจทก์จดทะเบียนนั้นมีข้อความจำกัดสิทธิผู้เช่าเกินกว่าที่ผู้เช่าโดยทั่วไปจะปฏิบัติได้ เช่นบุคคลที่จะอยู่อาศัยในอาคารที่เช่าต้องเป็นญาติของผู้เช่า ห้ามชาวต่างประเทศอยู่อาศัยหรือทำงานในอาคารที่เช่า ห้ามทุกคนอยู่บริเวณเฉลียงของอาคารในเวลากลางวันเป็นต้นซึ่งหนังสือสัญญาเช่าตึกดังกล่าวมีข้อความผิดไปจากข้อความในสัญญาก่อสร้างอาคารยกสิทธิและสัญญาว่าจ้างสร้างอาคารเดิม อันเป็นการจะบังคับให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้ผิดไปจากที่จำเลยจะต้องชำระ เช่นนี้ ย่อมเป็นเหตุให้โจทก์มีสิทธิไม่ยอมรับจดทะเบียนการเช่ากับจำเลยได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 207 และมาตรา 320กรณีต้องถือว่าจำเลยไม่สามารถปฏิบัติการชำระหนี้ตามคำพิพากษาในลำดับแรกได้ โจทก์ย่อมขอออกหมายบังคับคดีแก่จำเลยเพื่อบังคับชำระเงินตามคำพิพากษาในลำดับหลังได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6157/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีและการชำระหนี้ที่ไม่ถูกต้องตามสัญญา ศาลอนุญาตให้บังคับคดีได้
ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำเลยที่ 1 ไปจดทะเบียนการเช่าที่ดินโฉนดเลขที่พิพาทกับโจทก์เป็นเวลา 30 ปี โดยให้โจทก์ชำระเงินจำนวน 750,000 บาท แก่จำเลยที่ 2 เป็นการตอบแทน ถ้าจำเลยที่ 1 ไม่ไปก็ให้จำเลยทั้งสองชำระเงินจำนวน 4,950,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยและให้จำเลยทั้งสองชำระค่าขาดประโยชน์เป็นเงินเดือนละ 30,000 บาท แก่โจทก์จนกว่าจำเลยที่ 1 จะไปจดทะเบียนการเช่าที่ดินให้แก่โจทก์และหรือจนกว่าจำเลยทั้งสองจะชำระเงินต้นและดอกเบี้ยให้แก่โจทก์เสร็จสิ้น จำเลยทั้งสองทราบคำบังคับแล้วจำเลยที่ 1 แจ้งให้โจทก์ไปรับการจดทะเบียนการเช่าที่ดินที่พิพาท ณ สำนักงานที่ดิน แต่โจทก์ไม่ไปตามนัด เพราะโจทก์ตรวจสอบแล้วปรากฎว่าจำเลยที่ 1 ไม่ก่อสร้างอาคารพิพาทตามที่ระบุไว้ในสัญญา การก่อสร้างยังไม่เรียบร้อยและไม่อาจทำการค้าได้ อาคารพิพาทมีสภาพรกร้างไม่มีผู้เข้าอยู่อาศัยหากโจทก์รับจดทะเบียนการเช่าแล้วไม่ทำการค้าภายใน 4 ปี โจทก์จะต้องถูกขับไล่และหากไม่ออกจากอาคารพิพาทก็จะต้องเสียค่าปรับวันละ 100,000 บาท การที่จำเลยที่ 1 ไม่ปรับปรุงอาคารให้อยู่ในสภาพที่ทำการค้าได้ แม้จำเลยที่ 1 จะยอมจดทะเบียนการเช่าให้โจทก์อันเป็นการขอปฏิบัติการชำระหนี้ตามคำพิพากษาในลำดับแรกแล้วก็ตามแต่หนังสือสัญญาเช่าที่จำเลยที่ 1 เสนอให้โจทก์จดทะเบียนมีข้อความจำกัดสิทธิผู้เช่าเกินกว่า ที่ผู้เช่าโดยทั่วไปจะปฏิบัติได้ เช่น บุคคลที่จะอยู่อาศัยในอาคารที่เช่าต้องเป็นญาติของผู้เช่าห้ามชาวต่างประเทศอยู่อาศัยหรือทำงานในอาคารที่เช่า ห้ามทุกคนอยู่บริเวณเฉลียงของอาคารในเวลากลางวัน ผู้เช่าต้องทำการค้าภายใน 4 ปี นับแต่วันทำสัญญาเช่ามิฉะนั้นต้องเสียค่าปรับเป็นรายวัน อันเป็นการจะบังคับให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้ผิดไปจากที่จำเลยที่ 1 จะต้องชำระตามคำพิพากษา ย่อมเป็นเหตุให้โจทก์มีสิทธิไม่ยอมรับจดทะเบียนการเช่ากับจำเลยที่ 1 ได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 207 และมาตรา 320 กรณีต้องถือว่าจำเลยที่ 1 ไม่สามารถปฏิบัติการชำระหนี้ตามคำพิพากษา ในลำดับแรกได้ โจทก์ย่อมขอออกหมายบังคับคดีแก่จำเลยที่ 1 เพื่อบังคับชำระเงินตามคำพิพากษาในลำดับหลังได้ การออกหมายบังคับคดีของศาลชั้นต้นไม่ได้ขัดต่อ ป.วิ.พ.มาตรา 296 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6133/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลักทรัพย์ข้าวเปลือก: การพิสูจน์ความผิดและองค์ประกอบความผิดฐานลักทรัพย์จากการเกษตร
จำเลยในคดีอาญาอีกเรื่องหนึ่งของศาลชั้นต้นกับจำเลยคดีนี้เป็นบุคคลคนเดียวกัน แม้พวกคนร้ายจะเป็น ชุดเดียวกันและกระทำการลักทรัพย์ติดต่อกัน แต่เป็นการลักทรัพย์ของผู้เสียหายคนละคนกับผู้เสียหายอีกคนหนึ่ง ทรัพย์ก็มิได้รวมอยู่ด้วยกันแต่อยู่ห่างกันเป็นร้อยเมตร อันเป็นการกระทำต่างกรรมต่างวาระกัน จึงมิใช่เป็นเหตุในลักษณะแห่งคดีเดียวกันซึ่งศาลจะต้องรับฟังข้อเท็จจริงเป็นอย่างเดียวกัน
แม้โจทก์จะไม่มีประจักษ์พยานเห็นขณะคนร้ายลักข้าวเปลือกของผู้เสียหาย แต่โจทก์มีพยานเบิกความว่า เห็นรถยนต์ของคนร้ายบรรทุกกระสอบใส่ข้าวเปลือกมีชื่อ อ. ติดอยู่ที่กระสอบซึ่งเป็นกระสอบที่ใช้ใส่ข้าวเปลือกบริเวณบ้านผู้เสียหายมาติดหล่มอยู่ห่างจากกองกระสอบข้าวเปลือกของผู้เสียหายประมาณ 500 เมตร สงสัยว่าจะเป็นกระสอบข้าวของผู้เสียหาย เมื่อรถคนร้ายไปแล้วพยานจึงได้ไปบอกผู้เสียหายในเวลาใกล้เคียงกัน ผู้เสียหายพบว่าข้าวเปลือกหายไป 6 กระสอบ จึงไปแจ้งความและอีก 1 สัปดาห์ต่อมา เมื่อเจ้าพนักงานตำรวจนำกระสอบข้าวซึ่งผู้รับซื้อข้าวเปลือกจาก ส. และจำเลยมาให้ผู้เสียหายดูแล้ว ผู้เสียหายจำได้ว่าเป็นกระสอบใส่ข้าวเปลือกของตน ตามพฤติการณ์ที่จำเลยเป็นผู้พาไปติดต่อรถยนต์มาบรรทุกข้าวในคืนเกิดเหตุ เมื่อได้รถยนต์แล้วก็มิได้ไปขนข้าวทันทียังได้ไป พบพวกซึ่งรออยู่ที่ร้านกาแฟแล้วเปลี่ยนไปนั่งกินข้าวต้ม จนถึงเวลาประมาณเที่ยงคืนจึงเดินทางไปขนข้าว และตามบันทึกคำให้การชั้นสอบสวนจำเลยก็ให้การว่าคืนเกิดเหตุขนข้าวไปเก็บไว้ที่บ้านจำเลยก่อน รุ่งขึ้นจำเลยก็ยังได้พา ส. ไปขายข้าวด้วย ต่อมาเจ้าพนักงานตำรวจจับกุมจำเลยและ ส. ได้พร้อมกันที่บ้านจำเลย เมื่อพิจารณาประกอบ คำรับสารภาพของจำเลยตามบันทึกการจับกุมแล้ว ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยร่วมกันพวกคนร้ายลักข้าวเปลือกของ ผู้เสียหายไปจริง
ความผิดตาม ป.อ. มาตรา 335 (12) นอกจากเจ้าทรัพย์จะต้องเป็นผู้มีอาชีพกสิกรรมแล้ว จะต้องได้ความอีกว่า ทรัพย์ที่ถูกลักนั้นเป็นผลิตภัณฑ์พืชพันธ์หรือสัตว์ หรือเครื่องมืออันมีไว้สำหรับประกอบกสิกรรมหรือได้มาจากการประกอบกสิกรรมด้วย
ตามฟ้องของโจทก์ไม่ปรากฏว่าข้าวเปลือกที่จำเลยกับพวกลักไปเป็นผลิตภัณฑ์หรือพืชพันธ์ซึ่งผู้เสียหายมีไว้สำหรับประกอบกสิกรรม หรือได้มาจากการกสิกรรม จึงไม่ต้องด้วย ป.อ. มาตรา 335 (12) ศาลจึงไม่อาจลงโทษจำเลยในความผิดตามมาตรา 335 (12) ได้ ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225 ศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขเสียให้ถูกต้องได้
แม้โจทก์จะไม่มีประจักษ์พยานเห็นขณะคนร้ายลักข้าวเปลือกของผู้เสียหาย แต่โจทก์มีพยานเบิกความว่า เห็นรถยนต์ของคนร้ายบรรทุกกระสอบใส่ข้าวเปลือกมีชื่อ อ. ติดอยู่ที่กระสอบซึ่งเป็นกระสอบที่ใช้ใส่ข้าวเปลือกบริเวณบ้านผู้เสียหายมาติดหล่มอยู่ห่างจากกองกระสอบข้าวเปลือกของผู้เสียหายประมาณ 500 เมตร สงสัยว่าจะเป็นกระสอบข้าวของผู้เสียหาย เมื่อรถคนร้ายไปแล้วพยานจึงได้ไปบอกผู้เสียหายในเวลาใกล้เคียงกัน ผู้เสียหายพบว่าข้าวเปลือกหายไป 6 กระสอบ จึงไปแจ้งความและอีก 1 สัปดาห์ต่อมา เมื่อเจ้าพนักงานตำรวจนำกระสอบข้าวซึ่งผู้รับซื้อข้าวเปลือกจาก ส. และจำเลยมาให้ผู้เสียหายดูแล้ว ผู้เสียหายจำได้ว่าเป็นกระสอบใส่ข้าวเปลือกของตน ตามพฤติการณ์ที่จำเลยเป็นผู้พาไปติดต่อรถยนต์มาบรรทุกข้าวในคืนเกิดเหตุ เมื่อได้รถยนต์แล้วก็มิได้ไปขนข้าวทันทียังได้ไป พบพวกซึ่งรออยู่ที่ร้านกาแฟแล้วเปลี่ยนไปนั่งกินข้าวต้ม จนถึงเวลาประมาณเที่ยงคืนจึงเดินทางไปขนข้าว และตามบันทึกคำให้การชั้นสอบสวนจำเลยก็ให้การว่าคืนเกิดเหตุขนข้าวไปเก็บไว้ที่บ้านจำเลยก่อน รุ่งขึ้นจำเลยก็ยังได้พา ส. ไปขายข้าวด้วย ต่อมาเจ้าพนักงานตำรวจจับกุมจำเลยและ ส. ได้พร้อมกันที่บ้านจำเลย เมื่อพิจารณาประกอบ คำรับสารภาพของจำเลยตามบันทึกการจับกุมแล้ว ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยร่วมกันพวกคนร้ายลักข้าวเปลือกของ ผู้เสียหายไปจริง
ความผิดตาม ป.อ. มาตรา 335 (12) นอกจากเจ้าทรัพย์จะต้องเป็นผู้มีอาชีพกสิกรรมแล้ว จะต้องได้ความอีกว่า ทรัพย์ที่ถูกลักนั้นเป็นผลิตภัณฑ์พืชพันธ์หรือสัตว์ หรือเครื่องมืออันมีไว้สำหรับประกอบกสิกรรมหรือได้มาจากการประกอบกสิกรรมด้วย
ตามฟ้องของโจทก์ไม่ปรากฏว่าข้าวเปลือกที่จำเลยกับพวกลักไปเป็นผลิตภัณฑ์หรือพืชพันธ์ซึ่งผู้เสียหายมีไว้สำหรับประกอบกสิกรรม หรือได้มาจากการกสิกรรม จึงไม่ต้องด้วย ป.อ. มาตรา 335 (12) ศาลจึงไม่อาจลงโทษจำเลยในความผิดตามมาตรา 335 (12) ได้ ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225 ศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขเสียให้ถูกต้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5981/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบวกโทษจำคุกที่รอการลงโทษ: ความชัดเจนของคำขอและเจตนาของจำเลยมีผลต่อการพิจารณา
การระบุหมายเลขคดีที่โจทก์ขอให้นับโทษจำคุกที่รอการลงโทษไว้มาบวกเข้ากับโทษจำคุกในคดีนี้เห็นได้ชัดแจ้งว่าเป็นการพิมพ์หมายเลขคดีแดงผิดพลาดจาก 566/2542 เป็น 556/2542ซึ่งเป็นเรื่องเล็กน้อย ทั้งจำเลยให้การรับว่าเป็นบุคคลคนเดียวกันกับจำเลยในคดีอาญาที่โจทก์ขอให้บวกโทษ ซึ่งได้ระบุรายละเอียดทั้งฐานความผิดและโทษที่พิพากษามาด้วย อันเป็นการแสดงว่าจำเลยเข้าใจคำขอให้นำโทษจำคุกที่รอการลงโทษไว้ในคดีก่อนมาบวกเข้ากับโทษในคดีนี้ จึงหาทำให้ฟ้องโจทก์เป็นฟ้องเคลือบคลุมไม่การที่ศาลนำโทษจำคุกในคดีก่อนที่รอการลงโทษไว้มาบวกเข้ากับโทษจำคุกในคดีนี้ จึงมิได้เป็นการพิพากษาเกินคำขอ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5960/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายที่ดินคืนจากผู้ขายหลังแจ้งความร้องทุกข์ การเพิกถอนนิติกรรมเมื่อมีผลกระทบต่อบุคคลภายนอก
ช. ขายที่ดินคืนให้โจทก์เนื่องจากโจทก์ไปร้องทุกข์ต่อจำเลยที่ 1 และมีการไกล่เกลี่ยจน ช. ตกลงโอนที่ดินพิพาทคืนโจทก์โดยให้โจทก์ชำระเงิน 300,000 บาท แต่โจทก์ไม่สามารถหาเงินได้ทัน จึงขอให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ช่วยเหลือหาเงินให้ โดยจะตอบแทนด้วยการโอนที่ดินให้จำนวน 3 ไร่ ดังนี้ เมื่อปรากฏว่าในการขายที่ดินพิพาทคืนโจทก์ดังกล่าว ช. กลับโอนที่ดินพิพาทเป็นชื่อของจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 แทนการซื้อขายที่ดินพิพาทจึงมิได้เป็นไปตามที่ ช. กับโจทก์และจำเลยที่ 1ที่ 2 ตกลงกัน การที่ ช. โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ย่อมทำให้โจทก์เสียเปรียบ โจทก์ย่อมขอให้เพิกถอนนิติกรรมการซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่าง ช. กับจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 หรือติดตามเอาคืนซึ่งทรัพย์สินของโจทก์ได้ แต่การเพิกถอนนิติกรรมดังกล่าวย่อมกระทบกระเทือนถึงสิทธิของ ช. ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกคดี เมื่อโจทก์ไม่ได้ฟ้องช. เป็นจำเลย ผลของคำพิพากษาไม่อาจบังคับบุคคลภายนอกคดีศาลจึงไม่อาจพิพากษาให้ตามคำของโจทก์ได้