พบผลลัพธ์ทั้งหมด 292 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3031/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาที่ไม่ปิดอากรแสตมป์ & การยอมรับข้อเท็จจริงจากคู่ความที่ไม่โต้แย้ง
โจทก์ฟ้องว่าเจ้ามรดกของจำเลยกู้ยืมเงิน จำเลยให้การปฏิเสธว่าสัญญากู้ยืมเงินเป็นเอกสารปลอม การจะฟังว่าเจ้ามรดกกู้ยืมเงินโจทก์จริงหรือไม่ต้องอาศัยหนังสือสัญญากู้ยืมเงินเป็นพยาน เมื่อหนังสือสัญญาที่โจทก์อ้างเป็นพยานติดอากรแสตมป์ไม่ครบถ้วน จึงเป็นตราสารที่ไม่ปิดอากรแสตมป์บริบูรณ์ ใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งไม่ได้ส่วนการที่โจทก์นำพยานบุคคลและพยานเอกสารสืบไปฝ่ายเดียวโดยจำเลยไม่ติดใจซักค้านและนำพยานเข้าสืบหักล้างพยานโจทก์นั้นก็หาใช่ว่าจำเลยยอมรับว่าเจ้ามรดกกู้ยืมเงินโจทก์โดยมีหลักฐานเป็นหนังสือไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2711/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
นิติกรรมซื้อขายที่ดินเพื่ออำพรางสัญญาขายฝาก โมฆะตามกฎหมาย และต้องกลับคืนสู่ฐานะเดิม
โจทก์จำเลยเจตนาทำสัญญาขายฝากที่ดินพิพาทไม่มีเจตนาที่จะผูกพันตามสัญญาขายที่ดินพิพาทที่ทำกันไว้สัญญาขายที่ดินดังกล่าวจึงเป็นการแสดงเจตนาลวงโดยสมรู้กันระหว่างโจทก์จำเลยตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 155 วรรคหนึ่งส่วนสัญญาขายฝากที่ถูกอำพรางไว้โดยสัญญาขายก็ตกเป็นโมฆะเช่นเดียวกัน เนื่องจากไม่ได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา 155 วรรคสอง และมาตรา 152 เมื่อสัญญาทั้งสองฉบับต่างตกเป็นโมฆะ โจทก์จำเลยต้องกลับคืนสู่ฐานะเดิมกรณีต้องบังคับตามบทบัญญัติว่าด้วยลาภมิควรได้ โดยโจทก์ต้องคืนเงินให้จำเลย จำเลยต้องคืนที่ดินพิพาทให้โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2711/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
นิติกรรมอำพราง: สัญญาซื้อขายที่ดินเพื่อหลีกเลี่ยงสัญญาขายฝาก โมฆะ และต้องคืนเงินตามจำนวนที่รับจริง
โจทก์เป็นเจ้าของที่ดินพิพาท โจทก์กู้เงินจากมารดาจำเลยหลายครั้ง โจทก์มอบโฉนดที่ดินให้มารดาจำเลยไว้เป็นประกัน ต่อมามารดาจำเลยแจ้งว่าโจทก์ค้างชำระต้นเงินและดอกเบี้ย โจทก์และจำเลยได้ทำสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทและในวันเดียวกันนั้น โจทก์กับจำเลยก็ได้ทำสัญญาขายฝากที่ดินพิพาทที่บ้านของมารดาจำเลยในราคา 180,410 บาท เจตนาของโจทก์จำเลยที่แท้จริง คือต้องการขายฝากที่ดินพิพาท โจทก์จำเลยมิได้มีเจตนาที่จะผูกพันตามสัญญาขายที่ดินพิพาท สัญญาขายที่ดินดังกล่าวจึงเป็นการแสดงเจตนาลวงโดยสมรู้ระหว่างโจทก์กับจำเลยตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 155 วรรคหนึ่ง ส่วนสัญญาขายฝากที่ถูกอำพรางไว้ก็ตกเป็นโมฆะเช่นเดียวกัน เนื่องจากไม่ได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา 155 วรรคสองและมาตรา 152 เมื่อสัญญาทั้งสองฉบับต่างตกเป็นโมฆะคู่สัญญาคือโจทก์จำเลยต้องกลับคืนสู่ฐานะเดิม กรณีต้องบังคับตามบทบัญญัติว่าด้วยลาภมิควรได้ คือ โจทก์ต้องคืนเงินให้จำเลย และจำเลยต้องคืนที่ดินพิพาทให้โจทก์ เมื่อโจทก์ไม่ได้ปฏิเสธในยอดหนี้ที่มารดาจำเลยกล่าวอ้าง อีกทั้งยอมไถ่ถอนที่ดินพิพาทในราคา 180,410 บาท ตามคำขอท้ายฟ้อง ต้องถือว่ามีการรับเงินหรือหักกลบลบหนี้กันตามจำนวนดังกล่าว เมื่อสัญญาตกเป็นโมฆะโจทก์จึงต้องคืนเงินจำนวน 180,410 บาท แก่จำเลย แต่จำเลยฎีกาขอให้โจทก์คืนเงินเพียง 180,000 บาท ศาลฎีกาจึงไม่อาจพิพากษาเกินไปจากคำขอฎีกาของจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2703/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์ต้องวางค่าฤชาธรรมเนียมหรือหาประกันตามกฎหมาย แม้มีทรัพย์สินจำนองก็ไม่เพียงพอ
การอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่รับอุทธรณ์ ป.วิ.พ. มาตรา 234 บัญญัติไว้โดยชัดแจ้งว่าจะต้องนำค่า ฤชาธรรมเนียมทั้งปวงและนำเงินมาชำระตามคำพิพากษา ถ้าจะไม่นำเงินมาชำระตามคำพิพากษา ผู้อุทธรณ์ก็ต้องหาประกันให้ไว้ต่อศาล ซึ่งทรัพย์สินที่จำนองในคดีนี้หาใช่หลักประกันที่ให้ไว้ต่อศาลตาม ป.วิ.พ. มาตรา 234 ไม่ เมื่อจำเลยไม่นำเงินมาชำระตามคำพิพากษาหรือหาประกันมาวางศาลตาม ป.วิ.พ. มาตรา 234 จึงเป็นคำร้องอุทธรณ์ คำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2703/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์ต้องวางค่าฤชาธรรมเนียมหรือหาประกัน แม้มีทรัพย์สินจำนองก็ไม่เพียงพอ
การอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่รับอุทธรณ์ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 234 บัญญัติไว้ว่าผู้อุทธรณ์จะต้องนำค่าฤชาธรรมเนียมทั้งปวงและนำเงินมาชำระตามคำพิพากษา ถ้าจะไม่นำเงินมาชำระตามคำพิพากษาก็ต้องหาประกันให้ไว้ต่อศาลแต่ทรัพย์สินที่จำนองในคดีนั้นมิใช่หลักประกันที่ให้ไว้ต่อศาลตามบทบัญญัติดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2646/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่รับวินิจฉัยประเด็นใหม่และข้อโต้แย้งดุลพินิจศาลชั้นต้น/อุทธรณ์ รวมถึงประเด็นโทษจำคุกที่ไม่ถูกต้อง
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยทั้งสองร่วมกับ ส. มีเฮโรอีนจำนวน 16 หลอด และมีเมทแอมเฟตามีนจำนวน 76 เม็ด ไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต ศาลชั้นต้นรับฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันมีเมทแอมเฟตามีนจำนวน 10 เม็ด ไว้ในครองครองโดยไม่ได้รับอนุญาตเท่านั้น ส่วนเฮโรอีนและเมทแอมเฟตามีนที่เหลือเป็นของ ส. โดยจำเลยทั้งสองมิได้ร่วมกับ ส. มีเฮโรอีนและเมทแอมเฟตามีนดังกล่าว โจทก์มิได้อุทธรณ์ ปัญหาที่ว่าจำเลยที่ 1 ร่วมกับ ส. มีเฮโรอีนจำนวน 16 หลอด และเมทแอมเฟตามีนจำนวน 66 เม็ด ไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตหรือไม่จึงยุติไป โจทก์จะโต้เถียงในชั้นฎีกาว่า ตามพฤติการณ์แห่งคดีฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 ร่วมกับ ส. มีเฮโรอีนและเมทแอมเฟตามีน ดังกล่าวไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตหาได้ไม่ เพราะเป็นข้อเท็จจริงที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 15
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยที่ 2 มีกำหนด 2 ปี ลดโทษให้หนึ่งในสี่ แล้วคงจำคุก 1 ปี 6 เดือน ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เฉพาะโทษเป็นจำคุก 1 ปี และปรับ 10,000 บาท ลดโทษให้หนึ่งในสี่ คงจำคุก 6 เดือน ปรับ 7,500 บาท โทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้มีกำหนด 2 ปี จึงเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุก จำเลยที่ 2 ไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 40,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ซึ่งศาลอุทธรณ์ยังคงลงโทษจำเลยที่ 2 ไม่เกินกำหนดดังกล่าว จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 219 ที่โจทก์ฎีกาว่า ตามพฤติการณ์แห่งคดีฟังได้ว่าจำเลยที่ 2 ร่วมกับ ส. มีเฮโรอีนและเมทแอมเฟตามีนตามฟ้องไว้ในครอบครอง โดยไม่ได้รับอนุญาตและขอให้ลงโทษสถานหนักโดยไม่รอการลงโทษให้จำเลยที่ 2 นั้น เป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานและการกำหนดโทษของศาลว่าสมควรลงโทษจำเลยที่ 2 เพียงใด อันเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว
เมื่อขณะค้นพบเมทแอมเฟตามีนจำนวน 10 เม็ด ของกลาง จำเลยที่ 1 นอนหลับอยู่บนเตียง แม้จะได้ความว่าจำเลยทั้งสองเช่าห้องพักที่เกิดเหตุอยู่ด้วยกัน เมื่อโจทก์ไม่สามารถนำสืบให้ศาลเห็นถึงพฤติการณ์ที่จำเลยที่ 1 ร่วมกับจำเลยที่ 2 มีเมทแอมเฟตามีนจำนวน 10 เม็ด ไว้ในครอบครองจึงรับฟังไม่ได้ว่า จำเลยที่ 1 ร่วมกับจำเลยที่ 2 มีเมทแอมเฟตามีนจำนวน 10 เม็ด ไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต
ศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยที่ 2 มีกำหนด 1 ปี ลดโทษให้หนึ่งในสี่ คงจำคุก 6 เดือน ที่ถูกต้องจำคุก 9 เดือน แต่โจทก์มิได้ฎีกาขอให้ลงโทษให้ถูกต้อง และที่โจทก์ฎีกาขอให้ลงโทษจำเลยที่ 2 โดยไม่รอการลงโทษ ก็เป็นฎีกาที่ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 219 คดีของโจทก์ในส่วนของจำเลยที่ 2 จึงไม่อาจขึ้นมาสู่การวินิจฉัย ของศาลฎีกา ศาลฎีกาไม่อาจแก้ไขให้ถูกต้องได้ เพราะจะเป็นการพิพากษาเพิ่มเติมโทษจำเลยที่ 2 ซึ่งต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 212 ประกอบด้วยมาตรา 225
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยที่ 2 มีกำหนด 2 ปี ลดโทษให้หนึ่งในสี่ แล้วคงจำคุก 1 ปี 6 เดือน ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เฉพาะโทษเป็นจำคุก 1 ปี และปรับ 10,000 บาท ลดโทษให้หนึ่งในสี่ คงจำคุก 6 เดือน ปรับ 7,500 บาท โทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้มีกำหนด 2 ปี จึงเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุก จำเลยที่ 2 ไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 40,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ซึ่งศาลอุทธรณ์ยังคงลงโทษจำเลยที่ 2 ไม่เกินกำหนดดังกล่าว จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 219 ที่โจทก์ฎีกาว่า ตามพฤติการณ์แห่งคดีฟังได้ว่าจำเลยที่ 2 ร่วมกับ ส. มีเฮโรอีนและเมทแอมเฟตามีนตามฟ้องไว้ในครอบครอง โดยไม่ได้รับอนุญาตและขอให้ลงโทษสถานหนักโดยไม่รอการลงโทษให้จำเลยที่ 2 นั้น เป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานและการกำหนดโทษของศาลว่าสมควรลงโทษจำเลยที่ 2 เพียงใด อันเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว
เมื่อขณะค้นพบเมทแอมเฟตามีนจำนวน 10 เม็ด ของกลาง จำเลยที่ 1 นอนหลับอยู่บนเตียง แม้จะได้ความว่าจำเลยทั้งสองเช่าห้องพักที่เกิดเหตุอยู่ด้วยกัน เมื่อโจทก์ไม่สามารถนำสืบให้ศาลเห็นถึงพฤติการณ์ที่จำเลยที่ 1 ร่วมกับจำเลยที่ 2 มีเมทแอมเฟตามีนจำนวน 10 เม็ด ไว้ในครอบครองจึงรับฟังไม่ได้ว่า จำเลยที่ 1 ร่วมกับจำเลยที่ 2 มีเมทแอมเฟตามีนจำนวน 10 เม็ด ไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต
ศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยที่ 2 มีกำหนด 1 ปี ลดโทษให้หนึ่งในสี่ คงจำคุก 6 เดือน ที่ถูกต้องจำคุก 9 เดือน แต่โจทก์มิได้ฎีกาขอให้ลงโทษให้ถูกต้อง และที่โจทก์ฎีกาขอให้ลงโทษจำเลยที่ 2 โดยไม่รอการลงโทษ ก็เป็นฎีกาที่ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 219 คดีของโจทก์ในส่วนของจำเลยที่ 2 จึงไม่อาจขึ้นมาสู่การวินิจฉัย ของศาลฎีกา ศาลฎีกาไม่อาจแก้ไขให้ถูกต้องได้ เพราะจะเป็นการพิพากษาเพิ่มเติมโทษจำเลยที่ 2 ซึ่งต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 212 ประกอบด้วยมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2528/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทุนทรัพย์พิพาทต่ำกว่า 200,000 บาท ทำให้ฎีกาต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248
โจทก์ทั้งสามฟ้องขอให้บังคับจำเลยแบ่งที่ดินราคา1,200,000 บาท ซึ่งเป็นทรัพย์มรดกแก่โจทก์ทั้งสามคนละส่วนรวม 3 ส่วน ใน 6 ส่วน แม้โจทก์ทั้งสามจะฟ้องรวมกันมา การอุทธรณ์ฎีกาของจำเลยก็ต้องถือทุนทรัพย์ตามทุนทรัพย์ของโจทก์แต่ละคนแยกกัน เพราะเป็นเรื่องที่โจทก์แต่ละคนใช้สิทธิเฉพาะตน เมื่อที่ดินพิพาทแต่ละส่วนที่โจทก์แต่ละคนฟ้องขอแบ่งมีราคาไม่เกิน 200,000 บาท ราคาทรัพย์สินหรือทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาสำหรับจำเลยต่อโจทก์แต่ละคนจึงไม่เกิน 200,000 บาท ต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2528/2544 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทุนทรัพย์พิพาทในชั้นฎีกาเกิน 200,000 บาท ทำให้ฎีกาต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
โจทก์ทั้งสามฟ้องขอให้บังคับจำเลยแบ่งที่ดินพิพาทซึ่งเป็นทรัพย์มรดกแก่โจทก์ทั้งสามคนละส่วน รวม 3 ส่วน ใน 6 ส่วน ดังนี้ แม้โจทก์ทั้งสามจะฟ้องรวมกันมา การอุทธรณ์ฎีกาของจำเลยก็ต้องถือทุนทรัพย์ตามทุนทรัพย์ของโจทก์แต่ละคนแยกกันเพราะเป็นเรื่องที่โจทก์แต่ละคนใช้สิทธิเฉพาะตน เมื่อที่ดินพิพาทที่โจทก์ทั้งสามตีราคาเป็นทุนทรัพย์รวมกันมานั้นมีราคา 1,200,000 บาท ที่ดินพิพาทแต่ละส่วนที่โจทก์แต่ละคนฟ้องขอแบ่งจึงมีราคาไม่เกิน 200,000 บาท ดังนั้น ราคาทรัพย์สินหรือทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาสำหรับจำเลยต่อโจทก์แต่ละคนจึงไม่เกิน 200,000 บาท ต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2528/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการฎีกาในคดีแบ่งมรดก: ทุนทรัพย์ของโจทก์แต่ละคนกำหนดขอบเขตการพิจารณา
โจทก์ทั้งสามฟ้องขอให้บังคับจำเลยแบ่งที่ดินพิพาทซึ่งเป็นทรัพย์มรดกแก่โจทก์ทั้งสามคนละส่วน รวม 3 ส่วน ใน 6 ส่วน ดังนี้ แม้โจทก์ทั้งสามจะฟ้องรวมกันมา การอุทธรณ์ฎีกาของจำเลยก็ต้องถือทุนทรัพย์ตามทุนทรัพย์ของโจทก์แต่ละคนแยกกัน เพราะเป็นเรื่องที่โจทก์แต่ละคนใช้สิทธิเฉพาะตน เมื่อที่ดินพิพาทที่โจทก์ทั้งสามตีราคาเป็นทุนทรัพย์รวมกันมานั้นมีราคา 1,200,000 บาท ที่ดินพิพาทแต่ละส่วนที่โจทก์แต่ละคนฟ้องขอแบ่งจึงมีราคาไม่เกิน 200,000 บาท ดังนั้น ราคาทรัพย์สินหรือทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาสำหรับจำเลยต่อโจทก์แต่ละคนจึงไม่เกิน 200,000 บาท ต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2450/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทำร้ายร่างกายในงานสังสรรค์ ศาลลดโทษจากทำร้ายจนถึงแก่ความตายเป็นทำร้ายร่างกายธรรมดา
ก่อนเกิดเหตุกลุ่มผู้ตายและกลุ่มจำเลยที่ 4 ต่างฝ่ายต่างไปเที่ยวหาความสำราญด้วยกันในที่เกิดเหตุโดยมิได้ประสงค์จะก่อการวิวาท หากแต่การวิวาทดังกล่าวเกิดขึ้นโดยฉับพลัน ซึ่งจำเลยที่ 4 ไม่มีส่วนคบคิดด้วย ทั้งผู้ตายถึงแก่ความตายเนื่องจากบาดแผลที่ถูกแทงด้วยเหล็กขูดชาฟท์ของบุคคลอื่นที่มิใช่จำเลยที่ 4 ความตายของผู้ตายจึงไม่ใช่ผลโดยตรงจากการกระทำของจำเลยที่ 4 ดังนี้ จะให้ชี้ชัดว่าจำเลยที่ 4 มีความผิดฐานทำร้ายผู้อื่นเป็นเหตุให้ถึงแก่ความตายตาม ป.อ. มาตรา 290 ยังไม่ได้ จำเลยที่ 4 คงมีความผิดเพียงฐานทำร้ายร่างกายตาม ป.อ. มาตรา 295 ตามที่กระทำไปเท่านั้น