พบผลลัพธ์ทั้งหมด 292 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2245/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความ: การระงับข้อพิพาทโดยการแลกเปลี่ยนภาระหน้าที่และการบังคับตามสัญญา
บันทึกข้อตกลงในช่องข้อตกลงของคู่กรณีระบุให้ ส. (บุตรโจทก์)ขนย้ายครอบครัวออกจากบ้านเช่าภายใน 60 วัน ส่วนจำเลยยินยอมยกที่ดินโฉนดเลขที่ 8021 เนื้อที่ 35 ตารางวา ให้แก่โจทก์ ดังนี้ จะเห็นว่าข้อตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลยดังกล่าวกำหนดให้คู่กรณีทั้งสองฝ่ายต่างมีภาระหน้าที่ต่อกันและเป็นการระงับข้อพิพาทที่มีอยู่ จึงเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2190/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพกพาอาวุธมีดเป็นความผิดสำเร็จ แม้ไม่ได้ใช้ในการกระทำผิด และการบังคับค่าปรับต้องเป็นไปตามอัตราที่กฎหมายกำหนด
ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 371 ใช้คำว่า "ผู้ใดพาอาวุธไปในเมือง" ฉะนั้นเมื่อจำเลยมีอาวุธมีดติดตัวไปในเมืองก็เป็นความผิดสำเร็จแล้ว หาจำต้องใช้ในการกระทำผิดไม่
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 30 บัญญัติว่า ในการกักขังแทนค่าปรับให้ถืออัตรา 70 บาทต่อหนึ่งวัน ดังนั้นเมื่อศาลอุทธรณ์ลงโทษปรับจำเลยเป็นเงิน 37.50 บาท การบังคับค่าปรับจึงกักขังแทนค่าปรับไม่ได้
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 30 บัญญัติว่า ในการกักขังแทนค่าปรับให้ถืออัตรา 70 บาทต่อหนึ่งวัน ดังนั้นเมื่อศาลอุทธรณ์ลงโทษปรับจำเลยเป็นเงิน 37.50 บาท การบังคับค่าปรับจึงกักขังแทนค่าปรับไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2039/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบอกล้างสัญญาระหว่างสามีภริยา: สิทธิในการบอกล้างสัญญาเกี่ยวกับทรัพย์สินและผลที่ตามมา
บันทึกที่โจทก์จำเลยทำขึ้น แม้จะมีข้อความว่าโจทก์และจำเลยตกลงหย่ากัน แต่ตราบใดที่ยังไม่จดทะเบียนหย่าก็ต้องถือว่าเป็นสามีภริยากันอยู่ เมื่อข้อตกลงนั้นมีส่วนที่เกี่ยวกับทรัพย์สินด้วยจึงเป็นสัญญาเกี่ยวกับทรัพย์สินที่ทำไว้ต่อกันในระหว่างเป็นสามีภริยาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะบอกล้างเสียในเวลาใดที่เป็นสามีภริยาหรือภายในกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่ขาดจากการเป็นสามีภริยาก็ได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1469 การที่จำเลยยื่นคำให้การว่าบอกเลิกข้อตกลงแล้ว ย่อมถือได้ว่าเป็นการแสดงเจตนาบอกล้างไปในตัว ในขณะยังเป็นสามีภริยากันอยู่ จึงไม่มีผลบังคับแก่โจทก์จำเลยอีก ศาลจึงไม่อาจพิพากษาให้จำเลยชำระเงินตามบันทึกข้อตกลงดังกล่าวให้แก่โจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2039/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบอกล้างสัญญาระหว่างสามีภริยาที่ทำขึ้นก่อนหย่า และสิทธิในการเรียกร้องทรัพย์สินหลังหย่า
บันทึกข้อตกลงตามรายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีเอกสารหมาย จ.5 แม้จะมีข้อตกลงว่าโจทก์และจำเลยตกลงหย่ากัน แต่ตราบใดที่ยังไม่ไปจดทะเบียนหย่าก็ต้องถือว่าโจทก์จำเลยยังเป็นสามีภริยากันเมื่อมีข้อตกลงเกี่ยวกับ ทรัพย์สินด้วย จึงเป็นสัญญาที่เกี่ยวกับทรัพย์สินที่ได้ทำไว้ต่อกันในระหว่างเป็นสามีภริยากัน ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะบอกล้างเสียในเวลาใดที่เป็นสามีภริยากันอยู่หรือภายในกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่ขาดจากการเป็นสามีภริยากันก็ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1469
โจทก์ฟ้องขอหย่า การที่จำเลยยื่นคำให้การและฟ้องแย้งอ้างว่าบอกเลิกสัญญาที่เกี่ยวกับทรัพย์สินที่โจทก์จำเลย ได้ทำไว้ต่อกันในระหว่างเป็นสามีภริยากันแล้วย่อมถือได้ว่าคำให้การและฟ้องแย้งของจำเลยเป็นการแสดงเจตนา บอกล้างไปในตัว และเป็นการบอกล้างในขณะเป็นสามีภริยากันอยู่ยังไม่มีคำพิพากษาให้หย่าขาดจากกัน ถือได้ว่าบันทึกข้อตกลงตามเอกสารหมาย จ.5 ดังกล่าว จำเลยได้มีการบอกล้างแล้ว จึงไม่มีผลบังคับแก่โจทก์จำเลยอีก ศาลจึงไม่อาจพิพากษาให้จำเลยชำระเงินจำนวน 500,000 บาท เกี่ยวกับบันทึกข้อตกลงตามเอกสารหมาย จ.5 ให้แก่โจทก์ได้ หากโจทก์มีสิทธิเกี่ยวกับทรัพย์สินระหว่างสามีภริยาอย่างไรก็ชอบที่จะไปว่ากล่าวแก่กันตามสิทธิต่อไป
จำเลยซึ่งเป็นสามีโจทก์มีฐานะดี ส่วนโจทก์ประกอบอาชีพเป็นพนักงานขายของประจำห้างสรรพสินค้า มีเงินเดือนเพียงเดือนละประมาณ 4,000 บาท โจทก์ยังต้องเช่าบ้านอยู่ การที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้โจทก์จำเลยหย่าขาดจากกันและให้บุตรผู้เยาว์อยู่ในความปกครองและอุปการะเลี้ยงดูของจำเลยฝ่ายเดียวโดยไม่ให้โจทก์ชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรทั้งสองให้จำเลยชอบแล้ว
โจทก์ฟ้องขอหย่า การที่จำเลยยื่นคำให้การและฟ้องแย้งอ้างว่าบอกเลิกสัญญาที่เกี่ยวกับทรัพย์สินที่โจทก์จำเลย ได้ทำไว้ต่อกันในระหว่างเป็นสามีภริยากันแล้วย่อมถือได้ว่าคำให้การและฟ้องแย้งของจำเลยเป็นการแสดงเจตนา บอกล้างไปในตัว และเป็นการบอกล้างในขณะเป็นสามีภริยากันอยู่ยังไม่มีคำพิพากษาให้หย่าขาดจากกัน ถือได้ว่าบันทึกข้อตกลงตามเอกสารหมาย จ.5 ดังกล่าว จำเลยได้มีการบอกล้างแล้ว จึงไม่มีผลบังคับแก่โจทก์จำเลยอีก ศาลจึงไม่อาจพิพากษาให้จำเลยชำระเงินจำนวน 500,000 บาท เกี่ยวกับบันทึกข้อตกลงตามเอกสารหมาย จ.5 ให้แก่โจทก์ได้ หากโจทก์มีสิทธิเกี่ยวกับทรัพย์สินระหว่างสามีภริยาอย่างไรก็ชอบที่จะไปว่ากล่าวแก่กันตามสิทธิต่อไป
จำเลยซึ่งเป็นสามีโจทก์มีฐานะดี ส่วนโจทก์ประกอบอาชีพเป็นพนักงานขายของประจำห้างสรรพสินค้า มีเงินเดือนเพียงเดือนละประมาณ 4,000 บาท โจทก์ยังต้องเช่าบ้านอยู่ การที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้โจทก์จำเลยหย่าขาดจากกันและให้บุตรผู้เยาว์อยู่ในความปกครองและอุปการะเลี้ยงดูของจำเลยฝ่ายเดียวโดยไม่ให้โจทก์ชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรทั้งสองให้จำเลยชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2034/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบทรัพย์ในคดีสิ่งแวดล้อม: เครื่องมือประกอบอาชีพทั่วไป มิใช่ความผิดโดยตรง ศาลมีดุลพินิจ
จำเลยกระทำผิดฐานฝ่าฝืนคำสั่งผู้ว่าราชการจังหวัดที่มีคำสั่งให้ระงับการเลี้ยงกุ้งกุลาดำในพื้นที่กำหนดโดยเด็ดขาดและก่อให้เกิดอันตรายหรือความเสียหายจากภาวะมลพิษแต่ชุดเกียร์ปั่นน้ำชุดแกนเหล็กติดใบพัดใช้ตีน้ำทุ่นรองแกนเหล็กล้วนเป็นเครื่องมือที่ใช้ประกอบอาชีพเลี้ยงปลาเลี้ยงกุ้ง เป็นเครื่องมือประกอบอาชีพทั่วไป มิใช่เครื่องมือที่มีไว้จะเป็นความผิดในตัวโดยตรงซึ่งตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติพ.ศ. 2535 ไม่มีบทบัญญัติเกี่ยวกับการริบทรัพย์ไว้โดยเฉพาะจึงต้องอาศัยบทบัญญัติการริบทรัพย์สินตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 33 ซึ่งเป็นดุลพินิจของศาลที่จะริบหรือไม่ก็ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2034/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบทรัพย์ในคดีสิ่งแวดล้อม: ศาลใช้ดุลพินิจตาม ป.อ.มาตรา 33 เมื่อของกลางเป็นเครื่องมือประกอบอาชีพทั่วไป
จำเลยกระทำความผิดเพียงฝ่าฝืนคำสั่งของผู้ว่าราชการจังหวัด ที่สั่งห้ามเลี้ยงกุ้งกุลาดำระบบความเค็มต่ำภายใน พื้นที่จังหวัด เครื่องยนต์ ชุดเกียร์ปั่นน้ำ ชุดแกนเหล็กติดใบพันใช้ตีน้ำ ทุ่นรองแกนเหล็กของกลางล้วนเป็นเครื่องมือที่ใช้ประกอบอาชีพเลี้ยงปลา เลี้ยงกุ้ง เป็นเครื่องมือประกอบอาชีพทั่วไป มิใช่เครื่องมือที่มีไว้จะเป็นความผิดในตัวโดยตรงซึ่งตาม พ.ร.บ. ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 ก็ไม่มีบทบัญญัติเกี่ยวกับการริบทรัพย์ไว้โดยเฉพาะ จึงต้องอาศัยบทบัญญัติการริบทรัพย์สินตาม ป.อ. มาตรา 33 จึงเป็นดุลพินิจของศาลที่จะริบหรือไม่ก็ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1938/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับตามคำพิพากษาเดิม การแบ่งแยกที่ดินมรดก และการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ
โจทก์กล่าวในคำฟ้องแต่เพียงว่า โจทก์ไม่ได้ตกลงในการแบ่งแยกที่ดินและจดทะเบียนแบ่งแยกที่ดินให้แก่จำเลยโดยไม่ได้กล่าวอ้างว่าการรังวัดแบ่งแยกที่ดินได้เนื้อที่ไม่ถูกต้องแต่อย่างใด เมื่อเจ้าพนักงานที่ดินดำเนินการรังวัดที่ดินแบ่งแยกที่ดินไปตามคำพิพากษาในคดีเดิมโดยไม่ปรากฏว่า โจทก์โต้แย้งคัดค้านว่าการรังวัดแบ่งแยกที่ดินไม่ถูกต้อง จึงต้องถือว่าการรังวัดแบ่งแยกที่ดินพิพาทเพื่อบังคับตามคำพิพากษาในคดีเดิมเป็นไปโดยถูกต้องและเสร็จสิ้นแล้ว โจทก์ซึ่งเป็นคู่ความในคดีเดิมจะกลับมาฟ้องคดีนี้ โดยอ้างว่า ไม่ได้ตกลงยินยอมด้วยในการรังวัดแบ่งแยกที่ดินพิพาทอันเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาคดีซ้ำในคดีเดิมหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1934/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้สิทธิในทางพิพาท: การพิสูจน์เจตนาใช้ทางเพื่อครอบครองเป็นภารจำยอม และขอบเขตค่าทดแทน
โจทก์ใช้ทางพิพาทโดยเข้าใจว่าทางดังกล่าวเป็นทางสาธารณะยังถือไม่ได้ว่าเป็นการใช้สิทธิผ่านทางพิพาทโดยการครอบครองดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1401 ประกอบด้วยมาตรา 1382 แม้โจทก์จะใช้ทางพิพาทเกินกว่า 10 ปีทางพิพาทก็ไม่เป็นภารจำยอมเพื่อที่ดินของโจทก์
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าทางพิพาทเป็นทางจำเป็นแก่ที่ดินของโจทก์ จำเลยไม่ได้อุทธรณ์ แต่ได้ยื่นคำแก้อุทธรณ์ยอมรับว่าทางพิพาทเป็นทางจำเป็น ปัญหาในประเด็นว่าทางพิพาทเป็นทางจำเป็นหรือไม่ จึงยุติไปแล้วตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้นฎีกาข้อนี้ของจำเลยเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย และเมื่อศาลชั้นต้นกำหนดให้โจทก์ใช้ค่าทดแทนแก่จำเลย 400,000 บาท จำเลยพอใจไม่อุทธรณ์ จำเลยจะฎีกาขอให้โจทก์ใช้ค่าทดแทนเกินกว่าจำนวนที่ศาลชั้นต้นกำหนดหาได้ไม่
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าทางพิพาทเป็นทางจำเป็นแก่ที่ดินของโจทก์ จำเลยไม่ได้อุทธรณ์ แต่ได้ยื่นคำแก้อุทธรณ์ยอมรับว่าทางพิพาทเป็นทางจำเป็น ปัญหาในประเด็นว่าทางพิพาทเป็นทางจำเป็นหรือไม่ จึงยุติไปแล้วตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้นฎีกาข้อนี้ของจำเลยเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย และเมื่อศาลชั้นต้นกำหนดให้โจทก์ใช้ค่าทดแทนแก่จำเลย 400,000 บาท จำเลยพอใจไม่อุทธรณ์ จำเลยจะฎีกาขอให้โจทก์ใช้ค่าทดแทนเกินกว่าจำนวนที่ศาลชั้นต้นกำหนดหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1720/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องเบิกความเท็จ: รายละเอียดคำเบิกความที่ขัดแย้งกับข้อเท็จจริงเป็นสำคัญ แม้ไม่ได้ระบุรายละเอียดในฟ้อง
โจทก์ฟ้องจำเลยฐานเบิกความเท็จ โดยบรรยายฟ้องว่าคำเบิกความของจำเลยเป็นข้อสำคัญในคดี มิได้บรรยายรายละเอียดว่าข้อความอันเป็นเท็จนั้นเป็นข้อสำคัญในคดีก่อนอย่างไร แต่โจทก์ก็ได้บรรยายถึงการเบิกความอย่างไรเป็นความเท็จและความจริงเป็นอย่างไร ซึ่งในคดีที่จำเลยเบิกความนั้น ส. ถูกฟ้องเป็นจำเลยข้อหาฆ่าผู้อื่นโดยเจตนา ข้อที่ว่า ส. เป็นคนร้ายฆ่าผู้ตายหรือไม่เป็นข้อสำคัญในคดีดังกล่าว เมื่อความจริง ส. ใช้อาวุธปืนยิงผู้ตาย แต่จำเลยเบิกความว่าไม่ได้หันไปดูว่าใครเป็นคนยิงและถูกยิง ไม่เห็นเหตุการณ์ขณะที่มีการยิงกัน คำเบิกความของจำเลยตามที่โจทก์ฟ้องดังกล่าวย่อมเป็นข้อสำคัญในคดีที่เข้าใจได้อยู่ในตัวเอง ฟ้องโจทก์จึงมีรายละเอียดพอสมควรเท่าที่จะให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1720/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158(5) ของฟ้องเบิกความเท็จ: การบรรยายความเท็จและข้อสำคัญในคดี
ตามคำฟ้องบรรยายว่า จำเลยเบิกความเป็นพยานในคดีอาญาที่พนักงานอัยการโจทก์ ฟ้องขอให้ลงโทษจ่าสิบตำรวจ ส. จำเลย ในความผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยเจตนา มีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนไว้ในความครอบครองและพาอาวุธปืนติดตัวไปโดยไม่ได้รับอนุญาต จำเลยเบิกความในชั้นศาลว่า ไม่เห็นเหตุการณ์ขณะที่มีการยิงกัน ซึ่งคำเบิกความของจำเลยดังกล่าวเป็นความเท็จในการพิจารณาคดีอาญาต่อศาล และความเท็จนั้นเป็นข้อสำคัญในคดี แม้โจทก์มิได้บรรยายรายละเอียดว่า ข้อความอันเป็นเท็จที่จำเลยเบิกความเป็นข้อสำคัญในคดีก่อนอย่างไรก็ตาม แต่โจทก์ก็ได้บรรยายถึงการเบิกความอย่างไรเป็นความเท็จและความจริงเป็นอย่างไร ข้อที่ว่าจ่าสิบตำรวจ ส. เป็นคนร้ายฆ่าผู้ตายโดยใช้อาวุธปืนยิงหรือไม่นั้น เป็นข้อสำคัญในคดีดังกล่าว เมื่อความจริงจำเลยเห็นจ่าสิบตำรวจ ส. ใช้อาวุธปืนยิงผู้ตาย แล้วจำเลยมาเบิกความว่า ไม่ได้หันไปดูว่าใครเป็นคนยิงและถูกยิงไม่เห็นเหตุการณ์ขณะที่มีการยิงกัน คำเบิกความของจำเลยตามที่โจทก์ฟ้อง ย่อมเป็นข้อสำคัญในคดีที่เข้าใจได้อยู่ในตัวเอง ฟ้องโจทก์จึงมีรายละเอียดพอสมควรเท่าที่จะให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดี เป็นฟ้องที่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5)
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 177 วรรคสอง จำคุก 3 ปี จำเลยอุทธรณ์ว่า จำเลยไม่ได้กระทำผิดฐานเบิกความเท็จตามฟ้อง แต่ศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องโดยเห็นว่าเป็นฟ้องที่ไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) โดยยังมิได้วินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยว่า จำเลยกระทำความผิดฐานเบิกความเท็จตามฟ้องหรือไม่ เพื่อให้การวินิจฉัยความผิดของจำเลยเป็นไปตามลำดับศาล เพราะผลแห่งการวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์อาจนำไปสู่การจำกัดสิทธิการฎีกาของคู่ความได้ ศาลฎีกาเห็นสมควรย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาพิพากษาใหม่ ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 208 (2) ประกอบด้วยมาตรา 225
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 177 วรรคสอง จำคุก 3 ปี จำเลยอุทธรณ์ว่า จำเลยไม่ได้กระทำผิดฐานเบิกความเท็จตามฟ้อง แต่ศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องโดยเห็นว่าเป็นฟ้องที่ไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) โดยยังมิได้วินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยว่า จำเลยกระทำความผิดฐานเบิกความเท็จตามฟ้องหรือไม่ เพื่อให้การวินิจฉัยความผิดของจำเลยเป็นไปตามลำดับศาล เพราะผลแห่งการวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์อาจนำไปสู่การจำกัดสิทธิการฎีกาของคู่ความได้ ศาลฎีกาเห็นสมควรย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาพิพากษาใหม่ ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 208 (2) ประกอบด้วยมาตรา 225