พบผลลัพธ์ทั้งหมด 292 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2839/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความ: การมอบอำนาจให้ผู้อื่นทำสัญญา ทำให้เจ้าของสิทธิสิ้นสุดการเรียกร้องในมูลละเมิด
บันทึกตกลงช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมมีข้อความว่า จำเลยตกลงนำรถยนต์ของนายมนูที่เกิดอุบัติเหตุในครั้งนี้ไปทำการตรวจซ่อมให้อยู่ในสภาพใช้งานได้ตามปกติ โดยจะทำการซ่อมให้เสร็จภายใน 1 เดือน นับแต่วันที่รับรถไปจากพนักงานสอบสวน และตกลงช่วยเหลือเป็นค่าสินไหมให้แก่นายมนูที่ได้รับบาดเจ็บเป็นเงิน 1,000 บาท กับค่าสิ่งของที่นายมนูซื้อนำมากับรถและได้รับความเสียหายเป็นเงิน 10,000 บาท และตอนท้ายมีข้อความว่า คู่กรณีจะไม่มีการเรียกร้องหรือฟ้องร้องค่าเสียหายใด ๆ อันเกิดจากเรื่องนี้อีกทั้งทางแพ่งและอาญา มีลักษณะเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความตาม ป.พ.พ. มาตรา 850 เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า โจทก์ได้เชิดให้นายมนูเป็นตัวแทนของโจทก์ในการทำบันทึกดังกล่าว โจทก์จึงสิ้นสิทธิที่จะเรียกร้องในมูลละเมิดจากจำเลย คงได้สิทธิเรียกร้องตามสัญญาประนีประนอมยอมความตาม ป.พ.พ. มาตรา 852
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3194/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทเรื่องสัญญาจ้างทำการโฆษณา: สัญญาจ้างทำของ ไม่ใช่สัญญาซื้อขาย
จำเลยทำสัญญาจ้างโจทก์ให้ทำการโฆษณาผลิตภัณฑ์สินค้าให้จำเลยและโจทก์ตกลงรับจะทำการโฆษณาผลิตภัณฑ์สินค้าให้ เมื่อทำการโฆษณาแล้วจำเลยตกลงจะชำระเงินค่าโฆษณาให้แก่โจทก์ ไม่ใช่เป็นเรื่องที่โจทก์จำเลยมีเจตนาให้มีการโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินสิ่งใดสิ่งหนึ่งแก่จำเลย และจำเลยตกลงจะใช้ราคานั้น ไม่เข้าลักษณะสัญญาซื้อขายตาม ป.พ.พ. บรรพ 3 ลักษณะ 1 ว่าด้วยซื้อขาย แต่เป็นเรื่องโจทก์ผู้รับจ้างตกลงจะทำการโฆษณาผลิตภัณฑ์สินค้าจนสำเร็จให้แก่จำเลยผู้ว่าจ้าง และจำเลยตกลงจะชำระเงินค่าโฆษณาหรือสินจ้างเพื่อผลสำเร็จแห่งการงานที่ทำนั้น อันเข้าลักษณะของการจ้างทำของตาม ป.พ.พ. มาตรา 587
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1415/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความ: บันทึกตกลงช่วยเหลือค่าปลงศพและค่าซ่อมรถจักรยานยนต์ถือเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความได้
แม้ว่าบันทึกตกลงช่วยเหลือค่าปลงศพที่ทำขึ้นระหว่างโจทก์และจำเลยจะขึ้นต้นว่าเป็นการตกลงช่วยเหลือค่าปลงศพอย่างเดียวก็ตาม แต่ยังมีรายละเอียดเกี่ยวกับค่าช่วยเหลือค่าปลงศพ และช่วยเหลือในเรื่องค่าซ่อมรถจักรยานยนต์อีกด้วย ทั้งยังมีข้อความระบุโดยชัดแจ้งว่าฝ่ายผู้เสียหายไม่ติดใจที่จะฟ้องร้องทางแพ่งอีก นอกจากนั้นในส่วนคดีอาญาได้ความว่า การตกลงค่าเสียหายนั้นคู่กรณีสมัครใจตกลงค่าเสียหายกันเอง และคู่กรณีไม่ประสงค์จะฟ้องร้องคดีกันอีก ประกอบกับในคำพิพากษาส่วนคดีอาญาระบุว่า "ฝ่ายผู้เสียหายได้รับชดใช้ค่าเสียหายเป็นที่พอใจ" บันทึกข้อตกลงดังกล่าวจึงเข้าลักษณะสัญญาประนีประนอมยอมความที่คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายระงับข้อพิพาทในมูลหนี้ละเมิดทั้งหมดซึ่งมีอยู่หรือจะมีขึ้นให้เสร็จไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 850
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 258/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจหน้าที่ในการดูแลรักษาทางสาธารณประโยชน์อยู่ที่นายอำเภอ ไม่ใช่กรมที่ดิน โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง
ที่ดินที่ตกเป็นที่สาธารณประโยชน์ ถ้าไม่มีกฎหมายกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น อำนาจหน้าที่ในการดูแลรักษาย่อมตกเป็นของอธิบดีกรมที่ดินตามที่บัญญัติไว้ใน ป.ที่ดินฯ มาตรา 8 แต่สำหรับทางสาธารณประโยชน์นั้น พ.ร.บ.ลักษณะปกครองท้องที่ฯ มาตรา 122 ได้บัญญัติให้กรมการอำเภอเป็นผู้มีหน้าที่ตรวจตรารักษา ซึ่งต่อมาได้โอนมาเป็นอำนาจหน้าที่ของนายอำเภอตาม พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดินฯ มาตรา 62 วรรคสาม เห็นได้ว่าอำนาจในการกำหนดแนวเขตทางหรืออำนาจในการดูแลรักษาทางอันเป็นสาธารณประโยชน์ มิใช่เป็นอำนาจหน้าที่ของกรมที่ดินจำเลยและส่วนราชการของจำเลย เมื่อส่วนราชการของจำเลยไม่มีหน้าที่กำหนดให้ทางพิพาทเป็นทางสาธารณประโยชน์ การที่เจ้าพนักงานที่ดินประจำส่วนราชการของจำเลยได้รังวัดที่ดินและระบุว่าทางพิพาทเป็นทางสาธารณะตามที่ผู้ได้รับมอบอำนาจจากนายอำเภอหัวหินนำชี้และรังวัดแนวเขตที่ดิน จึงถือไม่ได้ว่าเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 258/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจหน้าที่ดูแลรักษาทางสาธารณประโยชน์: นายอำเภอ vs. กรมที่ดิน และการไม่มีอำนาจฟ้อง
ที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน ถ้าไม่มีกฎหมายกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น อำนาจหน้าที่ในการดูแลรักษาตกเป็นของอธิบดีกรมที่ดิน ตาม ป. ที่ดิน มาตรา 8 แต่สำหรับทางสาธารณประโยชน์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1304 (2) พ.ร.บ. ลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ. 2457 มาตรา 122 ได้บัญญัติให้กรมการอำเภอเป็นผู้มีหน้าที่ตรวจตรารักษา ซึ่งต่อมาได้โอนมาเป็นอำนาจหน้าที่ของนายอำเภอ ตาม พ.ร.บ. ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 มาตรา 62 วรรคสาม ดังนั้น อำนาจในการกำหนดแนวเขตทางสาธารณะจึงมิใช่เป็นอำนาจหน้าที่ของจำเลย การที่เจ้าพนักงานที่ดินในสังกัดส่วนราชการของจำเลยได้รังวัดที่ดินและระบุว่าทางพิพาทเป็นทางสาธารณะตามที่ผู้ได้รับมอบหมายจากนายอำเภอนำชี้และระวังแนวเขตที่ดิน จึงถือไม่ได้ว่าเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10866/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนำทรัพย์สินส่วนตัวลงเป็นหุ้นในห้างหุ้นส่วน ทำให้ทรัพย์สินนั้นตกเป็นของห้างหุ้นส่วน แม้จะยังไม่ได้โอนกรรมสิทธิ์
โจทก์และ ธ. ซึ่งมีชื่อถือกรรมสิทธิ์ร่วมกันในที่ดินพิพาทได้นำที่ดินพิพาทมาลงหุ้นในห้างหุ้นส่วนจำกัด ร. แม้จะไม่มีการจดทะเบียนโอนในโฉนดที่ดิน ที่ดินพิพาทก็ย่อมเป็นทรัพย์สินของห้างหุ้นส่วนจำกัด ร. เมื่อห้างหุ้นส่วนจำกัด ร. เป็นหนี้ค่าภาษีอากรค้าง จำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 จึงมีคำสั่งให้อายัดและยึดที่ดินพิพาทได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10855/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความหนี้จากการซื้อขายและการรับสภาพหนี้: หนังสือรับสภาพหนี้ไม่ทำให้หนี้เดิมไม่ขาดอายุความ แต่สร้างอายุความใหม่
โจทก์ฟ้องว่า เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2538 จำเลยทำหนังสือรับสภาพหนี้ว่าจำเลยค้างชำระค่าไม้แปรรูปที่ซื้อจากโจทก์ที่ 1 จำนวน 600,000 บาท และค้างชำระค่าวัสดุก่อสร้างที่ซื้อจากโจทก์ที่ 2 จำนวน 400,000 บาท จำเลยจะชำระเงินดังกล่าวให้โจทก์ทั้งสองเสร็จสิ้นภายในวันที่ 31 พฤษภาคม 2539 เมื่อถึงกำหนดจำเลยเพิกเฉย ขอให้บังคับจำเลยชำระเงิน ดังนี้ คำฟ้องโจทก์ทั้งสองได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับ คือจำเลยเป็นหนี้โจทก์ทั้งสอง ขอให้บังคับจำเลยชำระหนี้ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นคือหลักฐานหนังสือรับสภาพหนี้จึงชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 วรรคสอง แล้ว ข้อที่ว่าจำเลยซื้อสินค้าและค้างชำระตั้งแต่เมื่อใดเป็นเงินเท่าใด ส่งมอบสินค้าแก่ผู้ใด ล้วนเป็นรายละเอียดที่คู่ความสามารถนำสืบในชั้นพิจารณาได้ คำฟ้องโจทก์ทั้งสองจึงไม่เคลือบคลุม
โจทก์เป็นผู้ประกอบการค้า จำเลยสั่งซื้อไม้แปรรูปและวัสดุก่อสร้างจากโจทก์ตั้งแต่ปลายปี 2535 ถึงต้นปี 2536 จำเลยไม่ชำระค่าสินค้า ซึ่งอายุความให้ชำระหนี้ค่าของที่ได้ส่งมอบตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/34 มีกำหนด2 ปี และอายุความให้เริ่มนับแต่ขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไปตามมาตรา 193/12 คือนับตั้งแต่ปลายปี 2535 ถึงต้นปี 2536 ซึ่งเป็นเวลาส่งมอบสินค้า จำเลยทำบันทึกข้อตกลงยอมรับชำระหนี้แก่โจทก์ลงวันที่ 16 ธันวาคม 2538 เกินกำหนด2 ปี นับตั้งแต่โจทก์ส่งมอบสินค้าให้จำเลย จึงไม่เป็นหนังสือรับสภาพหนี้ ซึ่งจะเป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลงตามมาตรา 193/14 แต่เป็นหลักฐานที่จำเลยรับสภาพความรับผิดตามมาตรา 193/28 วรรคสอง ซึ่งมีผลให้สิทธิเรียกร้องที่เกิดขึ้นจากการที่จำเลยรับสภาพความรับผิดมีกำหนดอายุความ 2 ปี นับตั้งแต่วันทำบันทึกข้อตกลงตามมาตรา 193/35 โจทก์ฟ้องคดีเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2539 จึงไม่ขาดอายุความ
โจทก์เป็นผู้ประกอบการค้า จำเลยสั่งซื้อไม้แปรรูปและวัสดุก่อสร้างจากโจทก์ตั้งแต่ปลายปี 2535 ถึงต้นปี 2536 จำเลยไม่ชำระค่าสินค้า ซึ่งอายุความให้ชำระหนี้ค่าของที่ได้ส่งมอบตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/34 มีกำหนด2 ปี และอายุความให้เริ่มนับแต่ขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไปตามมาตรา 193/12 คือนับตั้งแต่ปลายปี 2535 ถึงต้นปี 2536 ซึ่งเป็นเวลาส่งมอบสินค้า จำเลยทำบันทึกข้อตกลงยอมรับชำระหนี้แก่โจทก์ลงวันที่ 16 ธันวาคม 2538 เกินกำหนด2 ปี นับตั้งแต่โจทก์ส่งมอบสินค้าให้จำเลย จึงไม่เป็นหนังสือรับสภาพหนี้ ซึ่งจะเป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลงตามมาตรา 193/14 แต่เป็นหลักฐานที่จำเลยรับสภาพความรับผิดตามมาตรา 193/28 วรรคสอง ซึ่งมีผลให้สิทธิเรียกร้องที่เกิดขึ้นจากการที่จำเลยรับสภาพความรับผิดมีกำหนดอายุความ 2 ปี นับตั้งแต่วันทำบันทึกข้อตกลงตามมาตรา 193/35 โจทก์ฟ้องคดีเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2539 จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6868/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องแย้งเกี่ยวกับการรับมรดกและการแบ่งมรดกเป็นเรื่องเดียวกัน ศาลฎีกาพิพากษากลับให้รับฟ้องแย้ง
คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้กำจัดจำเลยทั้งสองมิให้รับมรดกที่ดินพิพาทเพราะปิดบังพินัยกรรม ห้ามจำเลยทั้งสองยุ่งเกี่ยวกับที่ดินพิพาท จำเลยทั้งสองให้การและฟ้องแย้งว่ามิได้ปิดบังพินัยกรรม โจทก์และจำเลยทั้งสองรวมทั้งทายาทอื่นตกลงแบ่งมรดกโดยจำเลยทั้งสองได้ที่ดินพิพาท และจำเลยทั้งสองเข้าครอบครองเป็นส่วนสัดแล้ว โจทก์ไม่มีส่วนในที่ดินพิพาทอีก คดีโจทก์ขาดอายุความ ขอให้ยกฟ้องและห้ามโจทก์เกี่ยวข้องกับที่ดินพิพาท ดังนี้เห็นได้ว่าเป็นเรื่องพิพาทกันเกี่ยวกับการรับมรดกที่ดินพิพาทนั่นเอง คำฟ้องโจทก์ที่ขอให้กำจัดจำเลยทั้งสองมิให้รับมรดกที่ดินพิพาท จึงเป็นการฟ้องเรียกร้องเอามรดกที่ดินพิพาทเป็นของตนแต่ฝ่ายเดียว ส่วนฟ้องแย้งจำเลยทั้งสองที่ว่ามีการตกลงแบ่งมรดกและจำเลยทั้งสองเข้าครอบครองมรดกที่พิพาทเป็นส่วนสัดแล้ว ทั้งคดีโจทก์ขาดอายุความ หากเป็นจริงโจทก์ก็สิ้นความเป็นทายาทไม่มีสิทธิเรียกร้องเอามรดกที่ดินพิพาทรวมทั้งไม่มีสิทธิยุ่งเกี่ยวกับที่ดินพิพาท ดังนี้ฟ้องแย้งจำเลยทั้งสองก็เพื่อจะได้มรดกที่ดินพิพาทแต่ฝ่ายเดียวเช่นกัน ฟ้องแย้งจำเลยทั้งสองจึงเป็นเรื่องเดียวกับฟ้องเดิม พอที่จะพิจารณาพิพากษารวมกันได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6868/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องแย้งเกี่ยวกับการแบ่งมรดกเป็นเรื่องเดียวกันกับฟ้องเดิม สามารถพิจารณาพิพากษารวมกันได้ตามกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
โจทก์ฟ้องขอให้กำจัดจำเลยมิให้รับมรดกที่ดินพิพาทเพราะปิดบังพินัยกรรม จำเลยให้การและฟ้องแย้งว่า มิได้ปิดบังพินัยกรรมโจทก์และจำเลยรวมทั้งทายาทอื่นตกลงแบ่งมรดกโดยจำเลยได้ที่ดินพิพาท และจำเลยเข้าครอบครองเป็นส่วนสัดแล้ว โจทก์ไม่มีส่วนในที่ดินพิพาทอีก คดีโจทก์ขาดอายุความ ขอให้ยกฟ้องและห้ามโจทก์เกี่ยวข้องกับที่ดินพิพาท ดังนี้เป็นเรื่องพิพาทกันเกี่ยวกับการรับมรดกที่ดินพิพาทนั่นเอง คำฟ้องโจทก์ที่ขอให้กำจัดจำเลยมิให้รับมรดก จึงเป็นการฟ้องเรียกร้องเอามรดกที่ดินพิพาทเป็นของตนแต่ฝ่ายเดียว ส่วนฟ้องแย้งจำเลยที่ว่ามีการตกลงแบ่งมรดกและจำเลยเข้าครอบครองมรดกที่ดินพิพาทเป็นส่วนสัดแล้วทั้งคดีโจทก์ขาดอายุความ หากเป็นจริงโจทก์ก็สิ้นความเป็นทายาทไม่มีสิทธิเรียกร้องเอามรดกที่ดินพิพาท จึงเป็นเรื่องเดียวกับฟ้องเดิมพอที่จะพิจารณาพิพากษารวมกันได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6843/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนที่ดินถือเป็นการ 'โอน' ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ ทำให้ผู้รับเวนคืนต้องชำระสินน้ำใจตามสัญญา
ตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 ให้ความหมายของคำว่า โอนหมายถึง ยอมมอบให้ ซึ่งย่อมหมายความรวมถึงการที่ต้องยอมมอบให้เนื่องจากการเวนคืนอันเป็นผลของกฎหมายด้วย เมื่อที่ดินของโจทก์ถูกโอนเปลี่ยนมือจากโจทก์เป็นของทางราชการ ทั้งโจทก์ก็ได้รับค่าทดแทนการเวนคืนจากทางราชการจึงเป็นการโอนให้ผู้อื่นซึ่งโจทก์จะต้องให้สินน้ำใจ 1,700,000 บาท แก่จำเลยตามสัญญาประนีประนอมยอมความเมื่อโจทก์ไม่ชำระจึงเป็นการผิดสัญญาประนีประนอมยอมความ จำเลยมีสิทธิขอให้ศาลมีคำสั่งตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีเพื่อบังคับให้โจทก์ชำระหนี้ดังกล่าวได้