พบผลลัพธ์ทั้งหมด 292 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8087/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจปกครองบุตรหลังหย่า: พิจารณาความเหมาะสมของผู้เลี้ยงดู โดยคำนึงถึงสภาพแวดล้อมและประโยชน์สูงสุดของบุตร
โจทก์ฟ้องขอให้ศาลพิพากษาให้โจทก์จำเลยหย่าขาดจากกันและให้โจทก์เป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์แต่เพียงผู้เดียว จำเลยให้การขอให้ยกฟ้อง เมื่อจำเลยเป็นผู้เหมาะสมที่จะเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองผู้เยาว์ยิ่งกว่าโจทก์ แม้มิได้ฟ้องแย้ง ศาลก็มีอำนาจชี้ขาดให้จำเลยเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์หลังการหย่าได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8022/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฟังพยานหลักฐานจากการจับกุมและการให้การของผู้ต้องหาที่ไม่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ
บันทึกการจับกุมและบันทึกคำให้การผู้ต้องหา จำเลยได้ลงลายมือชื่อโดยบันทึกดังกล่าวมีข้อความอยู่แล้ว ทั้งไม่ได้เกิดจากการบังคับ ขู่เข็ญทรมาน หรือทำร้ายร่างกายแต่อย่างใด จึงสามารถรับฟังเป็นพยานหลักฐานได้และไม่ขัดต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 28,243
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8022/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลายมือชื่อในบันทึกจับกุมและคำให้การ ถือเป็นพยานหลักฐานได้หากปราศจากการบังคับ
บันทึกการจับกุมและบันทึกคำให้การผู้ต้องหา จำเลยได้ลงลายมือชื่อโดยบันทึกดังกล่าวมีข้อความอยู่แล้ว ทั้งไม่ได้เกิดจากการบังคับ ขู่เข็ญทรมาน หรือทำร้ายร่างกายแต่อย่างใด จึงสามารถรับฟังเป็นพยานหลักฐานได้(เหตุเกิดวันที่ 30 มกราคม 2539)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7967/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำฟ้องไม่สมบูรณ์แต่แก้ไขได้ & สิทธิผ่านที่ดินที่ถูกล้อมรอบต้องพิจารณาช่วงเวลาแบ่งแยก
แม้คำฟ้องของโจทก์ที่ 2 และที่ 3 และทนายความไม่ได้ลงชื่อในช่องผู้เรียงพิมพ์ เป็นคำฟ้องที่ไม่สมบูรณ์ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 67 (5) ซึ่งศาลมีอำนาจสั่งให้คืนหรือแก้ไขคำฟ้องได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 18 วรรคสองก็ตาม แต่ศาลชั้นต้นมิได้มีคำสั่งในเรื่องดังกล่าว ต่อมาโจทก์ที่ 2 และที่ 3 ได้แต่งตั้งทนายโจทก์ที่ 1 ผู้ลงลายมือชื่อในคำฟ้องเป็นทนายโจทก์ที่ 2 และที่ 3 ด้วย อนุโลมได้ว่าศาลชั้นต้นอนุญาตให้แก้ไขข้อบกพร่องในคำฟ้องแล้ว จึงเป็นคำฟ้องที่ชอบด้วยกฎหมาย
เจ้าของที่ดินถูกที่ดินแปลงอื่นล้อมอยู่สามารถใช้สิทธิเรียกร้องผ่านที่ดินซึ่งล้อมอยู่ไปสู่ทางสาธารณะได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1350 เป็นการตัดสิทธิของเจ้าของที่ดินอื่นจึงต้องแปลความโดยเคร่งครัด เมื่อที่ดินของจำเลยที่ 1 แบ่งแยกออกจากที่ดินโฉนดที่ 1003 ไปก่อนแล้ว ต่อมามีการแบ่งแยกที่ดินโฉนดเลขที่ 1003 ที่เหลืออีกครั้งหนึ่ง ทำให้ที่ดินส่วนที่ตกเป็นของโจทก์ทั้งสามในเวลาต่อมาไม่สามารถออกสู่ทางสาธารณะได้ โดยที่ที่ดินนี้เดิมมีทางออกสู่ทางสาธารณะได้ โจทก์ทั้งสามมีสิทธิเรียกร้องเพื่อผ่านที่ดินเฉพาะแปลงที่แบ่งแยกในครั้งหลังสุดเพื่อออกสู่ทางสาธารณะได้เท่านั้น ไม่มีสิทธิเรียกร้องเอาทางเดินออกสู่ทางสาธารณะผ่านที่ดินของจำเลยที่ 1
เจ้าของที่ดินถูกที่ดินแปลงอื่นล้อมอยู่สามารถใช้สิทธิเรียกร้องผ่านที่ดินซึ่งล้อมอยู่ไปสู่ทางสาธารณะได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1350 เป็นการตัดสิทธิของเจ้าของที่ดินอื่นจึงต้องแปลความโดยเคร่งครัด เมื่อที่ดินของจำเลยที่ 1 แบ่งแยกออกจากที่ดินโฉนดที่ 1003 ไปก่อนแล้ว ต่อมามีการแบ่งแยกที่ดินโฉนดเลขที่ 1003 ที่เหลืออีกครั้งหนึ่ง ทำให้ที่ดินส่วนที่ตกเป็นของโจทก์ทั้งสามในเวลาต่อมาไม่สามารถออกสู่ทางสาธารณะได้ โดยที่ที่ดินนี้เดิมมีทางออกสู่ทางสาธารณะได้ โจทก์ทั้งสามมีสิทธิเรียกร้องเพื่อผ่านที่ดินเฉพาะแปลงที่แบ่งแยกในครั้งหลังสุดเพื่อออกสู่ทางสาธารณะได้เท่านั้น ไม่มีสิทธิเรียกร้องเอาทางเดินออกสู่ทางสาธารณะผ่านที่ดินของจำเลยที่ 1
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7967/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกร้องทางผ่านที่ดินเมื่อที่ดินถูกล้อม และการตีความมาตรา 1350 ที่ต้องพิจารณาการแบ่งแยกที่ดินก่อนหน้า
แม้คำฟ้องโจทก์ที่ 2 และที่ 3 และทนายความไม่ได้ลงชื่อในช่องผู้เรียงพิมพ์ เป็นคำฟ้องที่ไม่สมบูรณ์ ศาลมีอำนาจสั่งให้คืนหรือแก้ไขคำฟ้องได้ซึ่งต่อมาโจทก์ที่ 2 และที่ 3 ได้แต่งตั้งทนายโจทก์ที่ 1 ผู้ลงลายมือชื่อในคำฟ้องเป็นทนายโจทก์ที่ 2 และที่ 3 ด้วย อนุโลม ได้ว่าศาลชั้นต้นอนุญาตให้แก้ไขข้อบกพร่องในคำฟ้องโจทก์แล้วจึงเป็นคำฟ้องที่ชอบ
เจ้าของที่ดินที่ถูกที่ดินแปลงอื่นล้อมอยู่สามารถใช้สิทธิเรียกร้องผ่านที่ดินซึ่งล้อมอยู่ไปสู่ทางสาธารณะได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1350 เป็นการตัดสิทธิของเจ้าของที่ดินอื่นจึงต้องแปลความโดยเคร่งครัดเมื่อที่ดินของจำเลยที่ 1 แบ่งแยกออกจากที่ดินโฉนดเลขที่ 1003 ไปก่อนแล้วต่อมามีการแบ่งแยกที่ดินโฉนดเลขที่ 1003 ที่เหลืออีกครั้งหนึ่ง ทำให้ที่ดินส่วนที่ตกเป็นของโจทก์ทั้งสามใน เวลาต่อมาไม่สามารถออกสู่ทางสาธารณะได้โดยที่ดินนี้เดิมมีทางออกสู่ทางสาธารณะได้ โจทก์ทั้งสามมีสิทธิเรียกร้องเพื่อผ่านที่ดินเฉพาะแปลงที่แบ่งแยกในครั้งหลังสุดเพื่อออกสู่ทางสาธารณะได้เท่านั้น
เจ้าของที่ดินที่ถูกที่ดินแปลงอื่นล้อมอยู่สามารถใช้สิทธิเรียกร้องผ่านที่ดินซึ่งล้อมอยู่ไปสู่ทางสาธารณะได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1350 เป็นการตัดสิทธิของเจ้าของที่ดินอื่นจึงต้องแปลความโดยเคร่งครัดเมื่อที่ดินของจำเลยที่ 1 แบ่งแยกออกจากที่ดินโฉนดเลขที่ 1003 ไปก่อนแล้วต่อมามีการแบ่งแยกที่ดินโฉนดเลขที่ 1003 ที่เหลืออีกครั้งหนึ่ง ทำให้ที่ดินส่วนที่ตกเป็นของโจทก์ทั้งสามใน เวลาต่อมาไม่สามารถออกสู่ทางสาธารณะได้โดยที่ดินนี้เดิมมีทางออกสู่ทางสาธารณะได้ โจทก์ทั้งสามมีสิทธิเรียกร้องเพื่อผ่านที่ดินเฉพาะแปลงที่แบ่งแยกในครั้งหลังสุดเพื่อออกสู่ทางสาธารณะได้เท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7849/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความมีผลผูกพัน จำเลยต้องปฏิบัติตาม แม้ไม่ได้วินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทเรื่องกรรมสิทธิ์
ประเด็นข้อพิพาทเกิดจากประเด็นแห่งคดีตามคำฟ้องของโจทก์ซึ่งจำเลยให้การโต้แย้ง แต่ประเด็นแห่งคดีตามคำฟ้องที่จำเลยมิได้ให้การโต้แย้งไว้หรือยอมรับก็ไม่เป็นประเด็นข้อพิพาทที่จะต้องนำสืบ ซึ่งศาลมีอำนาจที่จะหยิบยกประเด็นแห่งคดีที่ไม่ได้กำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาทมาวินิจฉัยได้ และเมื่อเห็นว่าพิจารณาประเด็นแห่งคดีแล้วสามารถพิพากษาคดีได้ก็ไม่จำต้องวินิจฉัยประเด็นพิพาทข้อใดก็ได้
โจทก์ฟ้องอ้างว่าจำเลยได้ทำบันทึกข้อตกลงตามเอกสารหมาย จ.2 ข้อความว่า โจทก์และจำเลยพร้อมกันจะไปยังสำนักงานที่ดินจังหวัดลพบุรี ในวันที่ 16 กันยายน 2537 เวลา 10 นาฬิกา และตกลงกันว่าถ้าดำเนินการรังวัดตาม ส.ค.1 แล้ว ที่ดินโดยการครอบครองของโจทก์อยู่ใน ส.ค.1 จำนวนเท่าใด ก็ให้เป็นของโจทก์จำนวนเท่านั้น จำเลยให้การเกี่ยวกับเอกสารหมาย จ. 2 เพียงว่า เอกสารหมาย จ.2 ไม่ปรากฏข้อตกลงว่าให้ร่วมกันร้องขอออกโฉนดที่ดินแต่อย่างใด ถือว่าจำเลยมิได้โต้แย้งปฏิเสธว่ามิได้ทำบันทึกข้อตกลงตามเอกสารหมาย จ.2 จึงฟังได้ว่าจำเลยได้ทำบันทึกข้อตกลงตามเอกสารหมาย จ.2 จริง เมื่อบันทึกข้อตกลงตามเอกสารหมาย จ.2 เป็นสัญญาซึ่งคู่สัญญาทั้งสองฝ่ายระงับข้อพิพาท ซึ่งมีอยู่หรือจะมีขึ้นนั้นให้เสร็จไปด้วยต่างยอมผ่อนผันให้แก่กัน อันเป็นการประนีประนอมยอมความตามความหมายของ ป.พ.พ. มาตรา 850 ซึ่งได้มีหลักฐานเป็นหนังสือและลงลายมือชื่อจำเลยซึ่งเป็นฝ่ายที่ต้องรับผิด จึงฟ้องร้องให้บังคับคดีตามสัญญาได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 851 จำเลยย่อมต้องปฏิบัติตามสัญญาประนีประนอมยอมความ
โจทก์ฟ้องอ้างว่าจำเลยได้ทำบันทึกข้อตกลงตามเอกสารหมาย จ.2 ข้อความว่า โจทก์และจำเลยพร้อมกันจะไปยังสำนักงานที่ดินจังหวัดลพบุรี ในวันที่ 16 กันยายน 2537 เวลา 10 นาฬิกา และตกลงกันว่าถ้าดำเนินการรังวัดตาม ส.ค.1 แล้ว ที่ดินโดยการครอบครองของโจทก์อยู่ใน ส.ค.1 จำนวนเท่าใด ก็ให้เป็นของโจทก์จำนวนเท่านั้น จำเลยให้การเกี่ยวกับเอกสารหมาย จ. 2 เพียงว่า เอกสารหมาย จ.2 ไม่ปรากฏข้อตกลงว่าให้ร่วมกันร้องขอออกโฉนดที่ดินแต่อย่างใด ถือว่าจำเลยมิได้โต้แย้งปฏิเสธว่ามิได้ทำบันทึกข้อตกลงตามเอกสารหมาย จ.2 จึงฟังได้ว่าจำเลยได้ทำบันทึกข้อตกลงตามเอกสารหมาย จ.2 จริง เมื่อบันทึกข้อตกลงตามเอกสารหมาย จ.2 เป็นสัญญาซึ่งคู่สัญญาทั้งสองฝ่ายระงับข้อพิพาท ซึ่งมีอยู่หรือจะมีขึ้นนั้นให้เสร็จไปด้วยต่างยอมผ่อนผันให้แก่กัน อันเป็นการประนีประนอมยอมความตามความหมายของ ป.พ.พ. มาตรา 850 ซึ่งได้มีหลักฐานเป็นหนังสือและลงลายมือชื่อจำเลยซึ่งเป็นฝ่ายที่ต้องรับผิด จึงฟ้องร้องให้บังคับคดีตามสัญญาได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 851 จำเลยย่อมต้องปฏิบัติตามสัญญาประนีประนอมยอมความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7802/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาโทษจำคุกและส่งตัวไปฝึกอบรมเด็กและเยาวชนในคดีอาญา และข้อจำกัดในการฎีกาโทษ
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลย (ขณะกระทำความผิดอายุ 17 ปีเศษ)มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83,288,289(4)พระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิงและสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ. 2490 มาตรา 7,8 ทวิ วรรคสอง,72 วรรคหนึ่ง,72 ทวิ วรรคสอง เรียงกระทงลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 รวมลงโทษจำคุกจำเลย 13 ปีเปลี่ยนโทษจำคุกเป็นส่งตัวจำเลยไปฝึกและอบรมที่สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนจนครบยี่สิบสี่ปีบริบูรณ์แล้วให้ส่งตัวจำเลยไปจำคุกไว้ในเรือนจำ 5 ปี เป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวใช้วิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนรวมกับการลงโทษจำคุกทางอาญาต้องถือว่าศาลชั้นต้นมิได้พิพากษาให้ลงโทษจำคุกจำเลยเกิน 5 ปี ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 289(4) ประกอบมาตรา 83และมีความผิดในฐานพาอาวุธปืนฯ ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 371 อีกบทหนึ่ง แต่เป็นกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบทลงโทษตามพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ มาตรา 8 ทวิ วรรคสอง,72 ทวิ วรรคสอง อันเป็นบทหนักที่สุดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 90 นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นจึงเป็นการแก้เฉพาะบทมิได้พิพากษาแก้โทษด้วย จึงเป็นการแก้ไขเล็กน้อย และให้ลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกิน 5 ปี จึงห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 218 วรรคหนึ่ง ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2534มาตรา 124
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7802/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีอาญาเกี่ยวกับอาวุธปืนของเยาวชน: การพิจารณาโทษและการแก้ไขบทมาตราโดยศาล
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลย (ขณะกระทำความผิดอายุ 17 ปีเศษ)มีความผิดตาม ป.อ.มาตรา 83, 288, 289 (4) พ.ร.บ.อาวุธปืน เครื่องกระสุนปืนวัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ.2490 มาตรา 7,8 ทวิ วรรคสอง, 72 วรรคหนึ่ง, 72 ทวิ วรรคสอง เรียงกระทงลงโทษตามป.อ. มาตรา 91 รวมลงโทษจำคุกจำเลย 13 ปี เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นส่งตัวจำเลยไปฝึกและอบรมที่สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนจนครบยี่สิบสี่ปีบริบูรณ์แล้วให้ส่งตัวจำเลยไปจำคุกไว้ในเรือนจำ 5 ปี เป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวใช้วิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนรวมกับการลงโทษจำคุกทางอาญาต้องถือว่าศาลชั้นต้นมิได้พิพากษาให้ลงโทษจำคุกจำเลยเกิน 5 ปี ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยมีความผิดตาม ป.อ.มาตรา 289 (4) ประกอบมาตรา 83 และมีความผิดในฐานพาอาวุธปืน ฯ ตาม ป.อ.มาตรา 371 อีกบทหนึ่ง แต่เป็นกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบท ลงโทษตาม พ.ร.บ.อาวุธปืน ฯ มาตรา 8 ทวิ วรรคสอง,72 ทวิ วรรคสอง อันเป็นบทหนักที่สุดตาม ป.อ.มาตรา 90 นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น จึงเป็นการแก้เฉพาะบทมิได้พิพากษาแก้โทษด้วย จึงเป็นการแก้ไขเล็กน้อย และให้ลงโทษจำคุกจำเลย ไม่เกิน 5 ปี จึงห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2534มาตรา 124
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7757/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิสูจน์ความผิดทางอาญา, คำฟ้องไม่เคลือบคลุม, องค์คณะศาลไม่ครบ, และการแก้ไขโทษของศาลอุทธรณ์
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 241 และ มาตรา 242ไม่มีผลเป็นการบังคับว่าในการพิสูจน์ความผิดของจำเลย โจทก์จะต้องพิสูจน์ด้วยพยานวัตถุ โจทก์อาจพิสูจน์ความผิดของจำเลยด้วยพยานหลักฐานอื่นที่ไม่ใช่พยานวัตถุก็ได้
โจทก์คดีนี้พิสูจน์ความผิดของจำเลยว่า ของกลางที่อยู่ในความครอบครองของจำเลยเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 โดยอ้างบัญชีของกลางคดีอาญา ซึ่งระบุว่าเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 และเจ้าพนักงานตำรวจยึดได้ในกระเป๋ากางเกงด้านขวามือของจำเลยและจำเลยลงชื่อรับว่าถูกต้องและเป็นจริงประกอบกับรายงานผลการตรวจพิสูจน์ของกลางว่าของกลางเป็นยาเสพติดให้โทษชนิดเมทแอมเฟตามีนโจทก์จึงไม่จำต้องนำเมทแอมเฟตามีนของกลางมาศาล
คำฟ้องโจทก์ได้กล่าวถึงการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่า จำเลยได้กระทำผิด ข้อเท็จจริงและรายละเอียดเกี่ยวกับเวลาและสถานที่ซึ่งเกิดจากการกระทำนั้น อีกทั้งบุคคลและสิ่งของที่เกี่ยวข้องด้วยพอสมควรที่จะให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีแล้ว ส่วนคำร้องขอฝากขังครั้งที่ 1 ซึ่งระบุรายละเอียดแตกต่างจากคำฟ้อง พนักงานสอบสวนเบิกความว่า เป็นการพิมพ์ผิดพลาด อีกทั้งคำฟ้องจะเคลือบคลุมหรือไม่นั้น ไม่เกี่ยวกับรายละเอียดในคำร้องขอฝากขังแต่ประการใดคำฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
ทุกครั้งที่มีการพิจารณาคดี จำเลยและทนายจำเลยทราบดีอยู่แล้วว่าการนั่งพิจารณาคดีไม่ครบองค์คณะ จนกระทั่งมีคำพิพากษาจึงให้ผู้พิพากษาอีก 1 คน ที่ไม่ได้นั่งพิจารณาลงชื่อในคำพิพากษาด้วยแต่เมื่อจำเลยไม่ได้โต้แย้งคัดค้านตั้งแต่ขณะที่ศาลชั้นต้นกำลังดำเนินกระบวนพิจารณาอยู่ต่อหน้าจำเลย เป็นการละเลยไม่ได้โต้แย้งคัดค้านในเวลาอันสมควร ย่อมถือได้ว่าจำเลยได้สละสิทธินั้นแล้ว จำเลยจะยกขึ้นโต้แย้งเมื่อคดีขึ้นมาสู่ศาลอุทธรณ์และศาลฎีกาแล้วไม่ได้
ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 18 กำหนดระดับการลงโทษไว้โดยโทษจำคุกอยู่ใน (2) ส่วนโทษปรับอยู่ใน (4) ศาลชั้นต้นพิพากษาจำคุกจำเลย 8 เดือน จำเลยอุทธรณ์ การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นปรับอีกสถานหนึ่งแต่ให้รอการลงโทษจำคุกไว้จึงไม่เป็นการเพิ่มโทษแก่จำเลย
โจทก์คดีนี้พิสูจน์ความผิดของจำเลยว่า ของกลางที่อยู่ในความครอบครองของจำเลยเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 โดยอ้างบัญชีของกลางคดีอาญา ซึ่งระบุว่าเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 และเจ้าพนักงานตำรวจยึดได้ในกระเป๋ากางเกงด้านขวามือของจำเลยและจำเลยลงชื่อรับว่าถูกต้องและเป็นจริงประกอบกับรายงานผลการตรวจพิสูจน์ของกลางว่าของกลางเป็นยาเสพติดให้โทษชนิดเมทแอมเฟตามีนโจทก์จึงไม่จำต้องนำเมทแอมเฟตามีนของกลางมาศาล
คำฟ้องโจทก์ได้กล่าวถึงการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่า จำเลยได้กระทำผิด ข้อเท็จจริงและรายละเอียดเกี่ยวกับเวลาและสถานที่ซึ่งเกิดจากการกระทำนั้น อีกทั้งบุคคลและสิ่งของที่เกี่ยวข้องด้วยพอสมควรที่จะให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีแล้ว ส่วนคำร้องขอฝากขังครั้งที่ 1 ซึ่งระบุรายละเอียดแตกต่างจากคำฟ้อง พนักงานสอบสวนเบิกความว่า เป็นการพิมพ์ผิดพลาด อีกทั้งคำฟ้องจะเคลือบคลุมหรือไม่นั้น ไม่เกี่ยวกับรายละเอียดในคำร้องขอฝากขังแต่ประการใดคำฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
ทุกครั้งที่มีการพิจารณาคดี จำเลยและทนายจำเลยทราบดีอยู่แล้วว่าการนั่งพิจารณาคดีไม่ครบองค์คณะ จนกระทั่งมีคำพิพากษาจึงให้ผู้พิพากษาอีก 1 คน ที่ไม่ได้นั่งพิจารณาลงชื่อในคำพิพากษาด้วยแต่เมื่อจำเลยไม่ได้โต้แย้งคัดค้านตั้งแต่ขณะที่ศาลชั้นต้นกำลังดำเนินกระบวนพิจารณาอยู่ต่อหน้าจำเลย เป็นการละเลยไม่ได้โต้แย้งคัดค้านในเวลาอันสมควร ย่อมถือได้ว่าจำเลยได้สละสิทธินั้นแล้ว จำเลยจะยกขึ้นโต้แย้งเมื่อคดีขึ้นมาสู่ศาลอุทธรณ์และศาลฎีกาแล้วไม่ได้
ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 18 กำหนดระดับการลงโทษไว้โดยโทษจำคุกอยู่ใน (2) ส่วนโทษปรับอยู่ใน (4) ศาลชั้นต้นพิพากษาจำคุกจำเลย 8 เดือน จำเลยอุทธรณ์ การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นปรับอีกสถานหนึ่งแต่ให้รอการลงโทษจำคุกไว้จึงไม่เป็นการเพิ่มโทษแก่จำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7757/2543 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พยานหลักฐานในคดีอาญา, การพิสูจน์ความผิด, การไม่โต้แย้งกระบวนการพิจารณา, การปรับแก้โทษ
ป.วิ.อ. มาตรา 241 และมาตรา 242 ไม่มีผลเป็นการบังคับว่าในการพิสูจน์ความผิดของจำเลย โจทก์จะต้องพิสูจน์ด้วยการนำพยานวัตถุมาศาลโจทก์อาจพิสูจน์ความผิดของจำเลยด้วยพยานหลักฐานอื่นที่ไม่ใช่พยานวัตถุได้
โจทก์พิสูจน์ความผิดของจำเลยว่า ของกลางที่อยู่ในความครอบครองของจำเลยเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 โดยอ้างบัญชีของกลางคดีอาญา ซึ่งระบุว่าเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 และเจ้าพนักงานตำรวจยึดได้ในกระเป๋ากางเกงด้านขวามือของจำเลย และจำเลยลงชื่อรับว่าถูกต้องและเป็นจริงประกอบกับรายงานผลการตรวจพิสูจน์ของกลางว่าของกลางเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ชนิดเมทแอมเฟตามีน โจทก์จึงไม่จำต้องนำเมทแอมเฟตามีนของกลางมาศาลอีก
คำฟ้องโจทก์ได้กล่าวถึงการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่า จำเลยได้กระทำผิด ข้อเท็จจริงและรายละเอียดเกี่ยวกับเวลาและสถานที่ซึ่งเกิดจากการกระทำนั้น อีกทั้งบุคคลและสิ่งของที่เกี่ยวข้องด้วยพอสมควรที่จะให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีแล้ว ส่วนคำร้องขอฝากขังซึ่งระบุรายละเอียดแตกต่างจากคำฟ้อง พนักงานสอบสวนเบิกความว่า เป็นการพิมพ์ผิดพลาด อีกทั้งคำฟ้องจะเคลือบคลุมหรือไม่นั้น ไม่เกี่ยวกับรายละเอียดในคำร้องขอฝากขังแต่ประการใด คำฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
ปัญหาว่า การนั่งพิจารณาคดีโดยไม่ครบองค์คณะมีผู้พิพากษาเพียงนายเดียวนั่งพิจารณาจนกระทั่งมีคำพิพากษาจึงให้ผู้พิพากษาอีก 1 คน ที่ไม่ได้นั่งพิจารณาลงชื่อในคำพิพากษาด้วยชอบหรือไม่ ปรากฎว่าทุกครั้งที่มีการพิจารณาคดี จำเลยทนายจำเลยทราบข้อเท็จจริงดังกล่าวดีอยู่แล้ว เมื่อจำเลยไม่ได้โต้แย้งคัดค้านตั้งแต่ขณะที่ศาลชั้นต้นกำลังดำเนินกระบวนพิจารณาอยู่ต่อหน้าจำเลย เป็นการละเลยไม่ได้โต้แย้งคัดค้านในเวลาอันสมควร ย่อมถือได้ว่าจำเลยได้สละสิทธินั้นแล้ว จำเลยจะยกขึ้นโต้แย้งเมื่อคดีขึ้นมาสู่ศาลอุทธรณ์และศาลฎีกาแล้วไม่ได้
ศาลชั้นต้นพิพากษาจำคุกจำเลย 8 เดือน จำเลยอุทธรณ์ การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นปรับอีกสถานหนึ่งโดยปรับจำเลย 8,000 บาท แต่ให้รอการลงโทษจำคุกไว้ ไม่เป็นการเพิ่มโทษแก่จำเลย
โจทก์พิสูจน์ความผิดของจำเลยว่า ของกลางที่อยู่ในความครอบครองของจำเลยเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 โดยอ้างบัญชีของกลางคดีอาญา ซึ่งระบุว่าเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 และเจ้าพนักงานตำรวจยึดได้ในกระเป๋ากางเกงด้านขวามือของจำเลย และจำเลยลงชื่อรับว่าถูกต้องและเป็นจริงประกอบกับรายงานผลการตรวจพิสูจน์ของกลางว่าของกลางเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ชนิดเมทแอมเฟตามีน โจทก์จึงไม่จำต้องนำเมทแอมเฟตามีนของกลางมาศาลอีก
คำฟ้องโจทก์ได้กล่าวถึงการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่า จำเลยได้กระทำผิด ข้อเท็จจริงและรายละเอียดเกี่ยวกับเวลาและสถานที่ซึ่งเกิดจากการกระทำนั้น อีกทั้งบุคคลและสิ่งของที่เกี่ยวข้องด้วยพอสมควรที่จะให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีแล้ว ส่วนคำร้องขอฝากขังซึ่งระบุรายละเอียดแตกต่างจากคำฟ้อง พนักงานสอบสวนเบิกความว่า เป็นการพิมพ์ผิดพลาด อีกทั้งคำฟ้องจะเคลือบคลุมหรือไม่นั้น ไม่เกี่ยวกับรายละเอียดในคำร้องขอฝากขังแต่ประการใด คำฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
ปัญหาว่า การนั่งพิจารณาคดีโดยไม่ครบองค์คณะมีผู้พิพากษาเพียงนายเดียวนั่งพิจารณาจนกระทั่งมีคำพิพากษาจึงให้ผู้พิพากษาอีก 1 คน ที่ไม่ได้นั่งพิจารณาลงชื่อในคำพิพากษาด้วยชอบหรือไม่ ปรากฎว่าทุกครั้งที่มีการพิจารณาคดี จำเลยทนายจำเลยทราบข้อเท็จจริงดังกล่าวดีอยู่แล้ว เมื่อจำเลยไม่ได้โต้แย้งคัดค้านตั้งแต่ขณะที่ศาลชั้นต้นกำลังดำเนินกระบวนพิจารณาอยู่ต่อหน้าจำเลย เป็นการละเลยไม่ได้โต้แย้งคัดค้านในเวลาอันสมควร ย่อมถือได้ว่าจำเลยได้สละสิทธินั้นแล้ว จำเลยจะยกขึ้นโต้แย้งเมื่อคดีขึ้นมาสู่ศาลอุทธรณ์และศาลฎีกาแล้วไม่ได้
ศาลชั้นต้นพิพากษาจำคุกจำเลย 8 เดือน จำเลยอุทธรณ์ การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นปรับอีกสถานหนึ่งโดยปรับจำเลย 8,000 บาท แต่ให้รอการลงโทษจำคุกไว้ ไม่เป็นการเพิ่มโทษแก่จำเลย