พบผลลัพธ์ทั้งหมด 292 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4410/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานกรรโชกทรัพย์: การข่มขู่เรียกเงินและยอมรับทองคำแทน แม้ไม่รับทองคำก็ถือเป็นความผิดสำเร็จ
จำเลยที่ 1 เรียกร้องเงินจากผู้เสียหายจำนวน 50,000 บาท แต่ผู้เสียหายไม่มีเงินจึงขอให้สร้อยข้อมือกับสร้อยคอทองคำแทนแม้จำเลยที่ 1 จะไม่รับทองคำ แต่มีการควบคุมตัวผู้เสียหายกับพวกไปร้านอาหารแห่งหนึ่ง และต่อมาได้ปล่อยตัวผู้เสียหายไปเพื่อให้ไปขายทองคำและหาเงินมาให้ โดยควบคุมตัวสามีและบุตรของผู้เสียหายไว้ ถือได้ว่าผู้เสียหายยินยอมให้เงินแก่จำเลยทั้งสองตามที่เรียกร้องแล้ว แต่ในขณะนั้นผู้เสียหายไม่มีเงินจึงยินยอมให้สร้อยข้อมือกับสร้อยคอทองคำแทน แม้จำเลยทั้งสองไม่รับก็ครบองค์ประกอบความผิดฐานกรรโชกแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4114/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีจำนอง: การเพิกถอนสัญญาซื้อขายไม่กระทบสิทธิธนาคารผู้รับจำนอง และการยึดทรัพย์เพื่อชำระหนี้
ศาลพิพากษาให้เพิกถอนสัญญาขายที่ดินระหว่างจำเลยที่ 1กับที่ 3 กับให้จำเลยที่ 1 โอนที่ดินแก่โจทก์ และให้โจทก์ชำระเงินแก่จำเลยที่ 1 หากโอนไม่ได้ให้จำเลยทั้งสี่ใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ แต่จำเลยที่ 3 นำที่ดินไปจำนองบุคคลภายนอกเสียก่อน คำพิพากษาจึงไม่ผูกพันบุคคลภายนอกตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 145 วรรคสอง
แม้โจทก์จะดำเนินการให้เพิกถอนสัญญาขายที่ดินระหว่างจำเลยที่ 1 กับที่ 3 ก็ไม่มีผลทำให้นิติกรรมจำนองระหว่างจำเลยที่ 3กับบุคคลภายนอกระงับสิ้นไป เพราะการจำนองจะระงับสิ้นไปได้ก็แต่โดยการเพิกถอนหรือการไถ่ถอนจำนองโดยชอบ เมื่อจำเลยที่ 1ไม่อยู่ในวิสัยที่จะจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้โจทก์โดยปลอดจำนองตามคำพิพากษา โจทก์จึงขอให้บังคับคดีตามคำพิพากษาประการต่อไป คือ ขอให้บังคับคดียึดที่ดินแปลงอื่นของจำเลยที่ 3ออกขายทอดตลาดเพื่อนำเงินมาชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ได้
แม้โจทก์จะดำเนินการให้เพิกถอนสัญญาขายที่ดินระหว่างจำเลยที่ 1 กับที่ 3 ก็ไม่มีผลทำให้นิติกรรมจำนองระหว่างจำเลยที่ 3กับบุคคลภายนอกระงับสิ้นไป เพราะการจำนองจะระงับสิ้นไปได้ก็แต่โดยการเพิกถอนหรือการไถ่ถอนจำนองโดยชอบ เมื่อจำเลยที่ 1ไม่อยู่ในวิสัยที่จะจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้โจทก์โดยปลอดจำนองตามคำพิพากษา โจทก์จึงขอให้บังคับคดีตามคำพิพากษาประการต่อไป คือ ขอให้บังคับคดียึดที่ดินแปลงอื่นของจำเลยที่ 3ออกขายทอดตลาดเพื่อนำเงินมาชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3983/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การป้องกันตัวเกินกว่ากรณีที่จำเป็น เมื่อผู้ถูกทำร้ายยังไม่ได้ลงมือทำร้าย และมีโอกาสหลบหนี
แม้ข้อเท็จจริงจะรับฟังได้ว่าผู้ตายจะใช้อาวุธมีดทำร้ายจำเลย ซึ่งจำเลยย่อมมีสิทธิป้องกันตัวได้ แต่ก็ไม่ปรากฏว่ามีการกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งให้เห็นชัดแจ้งว่าผู้ตายได้ลงมือใช้อาวุธมีดแทงทำร้ายจำเลย การที่จำเลยใช้อาวุธปืนยิงสวนผู้ตายไปในขณะนั้นโดยมีโอกาสจะหลบหนีได้เช่นเดียวกับเพื่อนจำเลยที่หลบหนีไปก่อนเกิดเหตุ ประกอบกับการที่จำเลยเลือกยิงผู้ตายที่ศีรษะซึ่งเป็นส่วนสำคัญของร่างกาย โดยมีโอกาสที่จะเลือกยิงร่างกายส่วนอื่นของผู้ตายได้ถือได้ว่าการกระทำของจำเลยไม่เป็นการป้องกันพอสมควรแก่เหตุ แต่เป็นการป้องกันเกินกว่ากรณีแห่งการจำต้องกระทำเพื่อป้องกันตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 69
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3797/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานบุกรุกเคหสถาน: การกระทำหลายกรรม, การแจ้งความ, และพฤติการณ์ที่บ่งชี้เจตนา
พฤติการณ์ที่จำเลยเข้าไปในบ้านโจทก์ แม้เดิมจะเคยเข้าไปอันเป็นการถือวิสาสะทำให้ไม่เป็นความผิด แต่เมื่อโจทก์กับสามีไล่ให้ออกจากบ้าน จำเลยไม่ยอมออกลากตัวออกไปยังกลับเข้ามาอีก จึงเป็นความผิดฐานบุกรุกเคหสถานในเวลากลางคืน ส่วนในวันรุ่งขึ้น (วันที่ 10 มิถุนายน 2537) จำเลยเข้าไปในบ้านโจทก์อีก โดยไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าโจทก์หรือสามีโจทก์อนุญาต จึงเป็นความผิดฐานบุกรุกเคหสถานตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 364 อีกกระทงหนึ่ง
ตามเอกสารการร้องทุกข์ได้ระบุข้อความว่า "และต่อมาในวันรุ่งขึ้น เวลาประมาณ 7.00 นาฬิกา จำเลยได้มาที่บ้านอีกครั้ง พร้อมกับได้พูดยืนยันตามที่ได้พูดเมื่อคืนเป็นความจริง"จากข้อความดังกล่าวแสดงว่าโจทก์ได้แจ้งความร้องทุกข์เกี่ยวกับความผิดฐานบุกรุกเคหสถานในวันที่ 10 มิถุนายน 2537 แล้ว โดยโจทก์ไม่จำต้องระบุถึงมาตราความผิดแต่ประการใด
ตามเอกสารการร้องทุกข์ได้ระบุข้อความว่า "และต่อมาในวันรุ่งขึ้น เวลาประมาณ 7.00 นาฬิกา จำเลยได้มาที่บ้านอีกครั้ง พร้อมกับได้พูดยืนยันตามที่ได้พูดเมื่อคืนเป็นความจริง"จากข้อความดังกล่าวแสดงว่าโจทก์ได้แจ้งความร้องทุกข์เกี่ยวกับความผิดฐานบุกรุกเคหสถานในวันที่ 10 มิถุนายน 2537 แล้ว โดยโจทก์ไม่จำต้องระบุถึงมาตราความผิดแต่ประการใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3757/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การผิดสัญญาซื้อขายและสภาพหนี้ ผู้รับสภาพหนี้มีหน้าที่ชำระหนี้ตามสัญญา ไม่ถือเป็นการละเมิด
จำเลยเป็นทายาทและผู้จัดการมรดกของเจ้ามรดก ต่อมาจำเลยได้ทำหนังสือรับสภาพหนี้เงินกู้ของเจ้ามรดกที่ได้กู้เงินไปจากโจทก์ โดยจำเลยตกลงว่าหากจำเลยได้รับมรดกมาเป็นจำนวนเท่าใดจำเลยจะชำระหนี้ดังกล่าวทั้งต้นเงินและดอกเบี้ยแก่โจทก์จนครบ ถ้าทรัพย์มรดกที่จำเลยได้รับมาไม่พอแก่การชำระหนี้จำเลยจะยกทรัพย์มรดกที่รับมาทั้งหมดให้โจทก์ ดังนั้น การที่จำเลยไม่ปฏิบัติการชำระหนี้ก็ดีหรือจำเลยไม่โอนทรัพย์มรดกให้แก่โจทก์ ล้วนแต่เป็นการผิดนัดไม่ชำระหนี้ตามสัญญารับสภาพหนี้ที่จำเลยทำไว้ต่อโจทก์เท่านั้น โจทก์ชอบที่จะฟ้องบังคับจำเลยให้ชำระหนี้หรือเรียกเอาค่าเสียหายหรือค่าสินไหมทดแทนอันเกิดแต่การไม่ชำระหนี้นั้นได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 213 , 215 , 222 หรือมาตรา 224 แล้วแต่กรณี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3757/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือรับสภาพหนี้และการผิดสัญญา ไม่ถือเป็นการละเมิด โจทก์มีสิทธิฟ้องบังคับตามสัญญา
จำเลยเป็นทายาทและผู้จัดการมรดกของเจ้ามรดก ได้ทำหนังสือรับสภาพหนี้เงินกู้ของเจ้ามรดกที่ได้กู้เงินไปจากโจทก์ โดยจำเลยตกลงว่าหากจำเลยได้รับมรดกมาเป็นจำนวนเท่าใด จำเลยจะชำระหนี้ดังกล่าวทั้งต้นเงินและดอกเบี้ยแก่โจทก์จนครบ ถ้าทรัพย์มรดกที่จำเลยได้รับมาไม่พอแก่การชำระหนี้ จำเลยจะยกทรัพย์มรดกที่รับมาทั้งหมดให้โจทก์การที่จำเลยไม่ปฏิบัติการชำระหนี้ก็ดี หรือจำเลยไม่โอนทรัพย์มรดกให้แก่โจทก์ ล้วนแต่เป็นการผิดนัดไม่ชำระหนี้ตามสัญญารับสภาพหนี้เท่านั้น โจทก์ชอบที่จะฟ้องบังคับจำเลยให้ชำระหนี้หรือเรียกเอา ค่าเสียหายหรือค่าสินไหมทดแทนอันเกิดแต่การไม่ชำระหนี้นั้นได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 213,215,222 หรือมาตรา 224 แล้วแต่กรณี การกระทำของจำเลยดังกล่าวมิใช่เป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3655/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คเด้ง: คำฟ้องชอบด้วยกฎหมาย, โจทก์มีอำนาจฟ้อง, ความผิดต่างกรรมต่างวาระ
คำฟ้องโจทก์ได้บรรยายว่าจำเลยลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คเพื่อชำระหนี้เงินยืม รายละเอียดของสัญญายืมโจทก์จะเสนอต่อศาลในชั้นพิจารณา ซึ่งมูลหนี้ดังกล่าวเป็นหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมาย เมื่อเช็คถึงกำหนดโจทก์นำเข้าเรียกเก็บเงิน ธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่าย เป็นการบรรยายถึงการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยกระทำผิด ข้อเท็จจริงและรายละเอียดเกี่ยวกับเวลาและสถานที่เกี่ยวข้องอันพอทำให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีแล้ว หาจำต้องกล่าวถึงรายละเอียดในสัญญากู้เพราะเป็นข้อเท็จจริงที่โจทก์สามารถนำสืบในชั้นพิจารณาของศาล ฉะนั้นคำฟ้องโจทก์จึงชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5)
ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็ค โจทก์นำคดีฟ้องศาลภายในอายุความฟ้องร้อง ดังนั้น การร้องทุกข์จะชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ จึงไม่ใช่สาระสำคัญไม่ทำให้ผลคดีเปลี่ยนแปลงไปแต่ประการใด โจทก์มีอำนาจฟ้อง
เมื่อศาลสอบคำให้การจำเลย จำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้องเท่ากับยอมรับว่าได้ทำสัญญากู้ยืมเงินโจทก์และออกเช็คพิพาทชำระหนี้ดังกล่าวจริง ที่จำเลยอ้างว่ากรณีเป็นที่น่าสงสัยเท่ากับเป็นการโต้เถียงขึ้นมาใหม่ว่าไม่ได้กู้ยืมหรือไม่ได้ออกเช็คพิพาท ย่อมกระทำมิได้เพราะถือว่ามิใช่ข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์
เช็คในคดีนี้ทั้งสี่ฉบับจำเลยลงลายมือชื่อสั่งจ่ายชำระหนี้ตามสัญญากู้ต่างฉบับกัน วันที่สั่งจ่ายในเช็คต่างวันกัน แสดงว่าจำเลยเจตนาสั่งจ่ายเช็คแต่ละฉบับชำระหนี้แต่ละส่วนแยกกัน และธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินต่างวันกันจึงเป็นความผิดต่างกรรมต่างวาระกัน หาใช่เป็นกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบทไม่
ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็ค โจทก์นำคดีฟ้องศาลภายในอายุความฟ้องร้อง ดังนั้น การร้องทุกข์จะชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ จึงไม่ใช่สาระสำคัญไม่ทำให้ผลคดีเปลี่ยนแปลงไปแต่ประการใด โจทก์มีอำนาจฟ้อง
เมื่อศาลสอบคำให้การจำเลย จำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้องเท่ากับยอมรับว่าได้ทำสัญญากู้ยืมเงินโจทก์และออกเช็คพิพาทชำระหนี้ดังกล่าวจริง ที่จำเลยอ้างว่ากรณีเป็นที่น่าสงสัยเท่ากับเป็นการโต้เถียงขึ้นมาใหม่ว่าไม่ได้กู้ยืมหรือไม่ได้ออกเช็คพิพาท ย่อมกระทำมิได้เพราะถือว่ามิใช่ข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์
เช็คในคดีนี้ทั้งสี่ฉบับจำเลยลงลายมือชื่อสั่งจ่ายชำระหนี้ตามสัญญากู้ต่างฉบับกัน วันที่สั่งจ่ายในเช็คต่างวันกัน แสดงว่าจำเลยเจตนาสั่งจ่ายเช็คแต่ละฉบับชำระหนี้แต่ละส่วนแยกกัน และธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินต่างวันกันจึงเป็นความผิดต่างกรรมต่างวาระกัน หาใช่เป็นกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบทไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3618/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูและค่าเล่าเรียนเมื่อใช้คำว่า 'หรือ' ในสัญญาประนีประนอม
สัญญาประนีประนอมยอมความที่ศาลมีคำพิพากษาตามยอมมีข้อความว่า "จำเลยยอมรับผิดชำระเงินค่าอุปการะเลี้ยงดู และค่าศึกษาเล่าเรียนให้แก่บุตรทั้งสองคือ เด็กชาย อ.และเด็กชาย พ. เป็นเงินจำนวนเดือนละ 16,000 บาทโดยจำเลยยินยอมจ่ายเงินจำนวนดังกล่าวให้แก่บุตรทั้งสองคนจนกว่าจะเรียนจบชั้นปริญญาตรี หรือบรรลุนิติภาวะ" ดังนี้ เมื่อสัญญาใช้คำว่า "หรือ" จำเลยต้องชำระเงินค่าอุปการะเลี้ยงดูและค่าศึกษาเล่าเรียนสำหรับบุตรทั้งสองคนละ 8,000 บาท ต่อเดือนจนกว่าบุตรคนใดคนหนึ่งจะจบชั้นปริญญาตรีหรือบรรลุนิติภาวะในกรณีหนึ่งกรณีใดที่มาถึงก่อนแก่โจทก์จึงจะเป็นอันหลุดพ้นจากความรับผิดต่อบุตร โดยให้คิดคำนวณสำหรับบุตรเป็นรายบุคคลไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3618/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตความรับผิดค่าอุปการะเลี้ยงดูและค่าเล่าเรียนตามสัญญาประนีประนอมยอมความ: 'หรือ' หมายถึงแยกคำนวณรายบุคคล
สัญญาประนีประนอมยอมความที่ศาลมีคำพิพากษาตามยอมมีข้อความว่า "จำเลยยอมรับผิดชำระเงินค่าอุปการะเลี้ยงดู และค่าศึกษาเล่าเรียนให้แก่บุตรทั้งสองคือ เด็กชาย อ. และเด็กชาย พ. เป็นเงินจำนวนเดือนละ 16,000 บาท โดยจำเลยยินยอมจ่ายเงินจำนวนดังกล่าวให้แก่บุตรทั้งสองคนจนกว่าจะเรียนจบชั้นปริญญาตรีหรือบรรลุนิติภาวะ" ดังนี้ เมื่อสัญญาใช้คำว่า "หรือ" จำเลยต้องชำระเงินค่าอุปการะเลี้ยงดูและค่าศึกษาเล่าเรียนสำหรับบุตรทั้งสองคนละ8,000 บาท ต่อเดือน จนกว่าบุตรคนใดคนหนึ่งจะจบชั้นปริญญาตรีหรือบรรลุนิติภาวะในกรณีหนึ่งกรณีใดที่มาถึงก่อนแก่โจทก์จึงจะเป็นอันหลุดพ้นจากความรับผิดต่อบุตร โดยให้คิดคำนวณสำหรับบุตรเป็นรายบุคคลไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3564/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความ 6 เดือน ตาม ม.563 พ.ร.บ.แพ่งและพาณิชย์ เริ่มนับเมื่อส่งคืนทรัพย์สินที่เช่า แม้สัญญายังไม่สิ้นสุด
คำว่า ส่งทรัพย์สินที่เช่าตามถ้อยคำในมาตรา 563 ป.พ.พ. มิได้ให้คำจำกัดความไว้ และการส่งคืนทรัพย์สิน ที่เช่าตามมาตราดังกล่าว กฎหมายก็มิได้บัญญัติไว้ให้เกี่ยวเนื่องหรือเกี่ยวข้องกับสัญญาเช่าสิ้นสุดหรือการบอกเลิกสัญญาเช่าและตามความในมาตรา 564 ถึงมาตรา 571 (ความระงับแห่งสัญญาเช่า) ก็ไม่ได้บัญญัติไว้โดยเฉพาะว่า ถ้าได้มีการส่งคืนทรัพย์สินที่เช่าแล้วให้ถือว่าสัญญาเช่าสิ้นสุด ฉะนั้นอายุความ 6 เดือน ตามมาตรา 563 จึงต้องเป็นเรื่องการส่งคืนทรัพย์ที่เช่าเพียงอย่างเดียวโดยไม่ต้องคำนึงถึงสัญญาเช่าสิ้นสุดหรือการบอกเลิกสัญญาเช่า
จำเลยได้ติดต่อขอเช่าและทำสัญญาเช่าอุปกรณ์ป้องกันสายไฟฟ้าแรงสูง (ไลน์การ์ด) จากโจทก์จำนวน 43 ชุด โจทก์ได้ให้พนักงานนำอุปกรณ์ดังกล่าวไปติดตั้งให้จำเลยเป็นที่เรียบร้อย หลังจากนั้นจำเลยก็ได้รับประโยชน์หรือ ถือว่าได้ใช้อุปกรณ์ที่เช่าดังกล่าวตลอดมา ในระหว่างอายุสัญญาเช่าได้เกิดฝนตกหนักทำให้ไฟฟ้าลัดวงจรเป็นเหตุให้เกิดเพลิงไหม้ในบริเวณที่อุปกรณ์ป้องกันสายไฟฟ้าแรงสูง (ไลน์การ์ด) ติดตั้งอยู่ ทำให้อุปกรณ์ดังกล่าวได้รับความเสียหาย 23 ชุด คิดเป็นเงิน 197,780 บาท การที่พนักงานของโจทก์ไปทำการรื้อถอนและเก็บอุปกรณ์ดังกล่าวคืนมานั้นหากไม่มีความชำนาญจะติดตั้งอุปกรณ์ไลน์การ์ดไม่ได้ เพราะไม่มีการดับไฟฟ้าแรงสูง ดังนั้นการที่พนักงานของโจทก์ไป รื้อถอนอุปกรณ์ดังกล่าวและเก็บเอามาทั้งหมดด้วยความยินยอมของจำเลยตั้งแต่วันที่ 30 ตุลาคม 2535 และต่อมาโจทก์เรียกร้องให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายอุปกรณ์ที่ชำรุดเสียหายบางส่วนจำนวน 23 ชุด พฤติการณ์จึงพอถือได้ว่าได้มีการ ส่งคืนหรือทำให้กลับคืนสู่สภาพเดิมตามความหมายทั่ว ๆ ไปแล้วตั้งแต่วันที่ 30 ตุลาคม 2535 การที่โจทก์นำคดีมาฟ้องเมื่อพ้นกำหนด 6 เดือน คดีโจทก์จึงขาดอายุความซึ่งไม่พักต้องคำนึงถึงว่าผู้ว่าการของโจทก์จะได้รับรู้หรือไม่อย่างไร เพราะมาตรา 563 มิได้บัญญัติถึงการรับรู้ของผู้เสียหายไว้ด้วยดังเช่น มาตรา 448 วรรคหนึ่ง
จำเลยได้ติดต่อขอเช่าและทำสัญญาเช่าอุปกรณ์ป้องกันสายไฟฟ้าแรงสูง (ไลน์การ์ด) จากโจทก์จำนวน 43 ชุด โจทก์ได้ให้พนักงานนำอุปกรณ์ดังกล่าวไปติดตั้งให้จำเลยเป็นที่เรียบร้อย หลังจากนั้นจำเลยก็ได้รับประโยชน์หรือ ถือว่าได้ใช้อุปกรณ์ที่เช่าดังกล่าวตลอดมา ในระหว่างอายุสัญญาเช่าได้เกิดฝนตกหนักทำให้ไฟฟ้าลัดวงจรเป็นเหตุให้เกิดเพลิงไหม้ในบริเวณที่อุปกรณ์ป้องกันสายไฟฟ้าแรงสูง (ไลน์การ์ด) ติดตั้งอยู่ ทำให้อุปกรณ์ดังกล่าวได้รับความเสียหาย 23 ชุด คิดเป็นเงิน 197,780 บาท การที่พนักงานของโจทก์ไปทำการรื้อถอนและเก็บอุปกรณ์ดังกล่าวคืนมานั้นหากไม่มีความชำนาญจะติดตั้งอุปกรณ์ไลน์การ์ดไม่ได้ เพราะไม่มีการดับไฟฟ้าแรงสูง ดังนั้นการที่พนักงานของโจทก์ไป รื้อถอนอุปกรณ์ดังกล่าวและเก็บเอามาทั้งหมดด้วยความยินยอมของจำเลยตั้งแต่วันที่ 30 ตุลาคม 2535 และต่อมาโจทก์เรียกร้องให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายอุปกรณ์ที่ชำรุดเสียหายบางส่วนจำนวน 23 ชุด พฤติการณ์จึงพอถือได้ว่าได้มีการ ส่งคืนหรือทำให้กลับคืนสู่สภาพเดิมตามความหมายทั่ว ๆ ไปแล้วตั้งแต่วันที่ 30 ตุลาคม 2535 การที่โจทก์นำคดีมาฟ้องเมื่อพ้นกำหนด 6 เดือน คดีโจทก์จึงขาดอายุความซึ่งไม่พักต้องคำนึงถึงว่าผู้ว่าการของโจทก์จะได้รับรู้หรือไม่อย่างไร เพราะมาตรา 563 มิได้บัญญัติถึงการรับรู้ของผู้เสียหายไว้ด้วยดังเช่น มาตรา 448 วรรคหนึ่ง