คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สมชัย เกษชุมพล

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 292 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2627/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับฟังพยานหลักฐานขัดแย้งกัน: ศาลเชื่อพยานฝ่ายโจทก์ที่ให้การสอดคล้องกับคำให้การชั้นสอบสวนมากกว่าคำเบิกความในศาล
ร้อยตำรวจเอก ส. ได้สอบปากคำพยานโจทก์ทั้งสามหลังเกิดเหตุเพียงเล็กน้อยและทำบันทึกคำให้การทั้งหมดในวันรุ่งขึ้น น่าเชื่อว่ารายละเอียดต่าง ๆ ในบันทึกคำให้การเป็นความจริงและพันตำรวจตรี ข. สอบสวนเพิ่มเติมให้พยานโจทก์ทั้งสามดังกล่าวดูตัวจำเลยในเวลาต่อมาหลังเกิดเหตุถึงสามปีเศษ พยานโจทก์ทั้งสามก็ยังยืนยันว่าจำเลยเป็นคนร้าย นอกจากนั้นโจทก์ยังมีร้อยตำรวจเอก ป. พยานโจทก์อีกปากหนึ่งซึ่งนำกำลังเจ้าพนักงานตำรวจไปที่เกิดเหตุหลังจากได้รับแจ้งเหตุว่าพยานในที่เกิดเหตุยืนยันว่าคนร้ายคือจำเลย ดังนั้น การที่พยานโจทก์ทั้งสามมาเบิกความในชั้นพิจารณาของศาลว่าชายคนร้ายที่ยิงผู้ตายไม่ทราบว่าเป็นผู้ใดนั้น เป็นการเบิกความบ่ายเบี่ยงไปอย่างขัดเหตุผล คำให้การชั้นสอบสวนของพยานโจทก์ทั้งสามเชื่อได้ว่าเป็นความจริงยิ่งกว่าคำเบิกความในชั้นพิจารณาของศาล เมื่อรับฟังคำเบิกความของ ม. ภริยาผู้ตาย ประกอบกับคำให้การชั้นสอบสวนของพยานโจทก์ทั้งสามแล้วรับฟังได้โดยปราศจากข้อสงสัยว่าจำเลยกระทำความผิดจริง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2159/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเหมาช่วงและแปลงหนี้: สิทธิเรียกร้องหนี้ที่ค้างชำระ และขอบเขตการพิพากษาของศาล
ตามสัญญารับจ้างเหมาก่อสร้างระหว่างโจทก์กับจำเลย แม้ขณะทำสัญญาโจทก์ยังไม่มีสภาพเป็นนิติบุคคล แต่อยู่ระหว่างการจดทะเบียนก่อตั้งบริษัท ซึ่งผู้เริ่มก่อการสามารถดำเนินการก่อหนี้หรือทำสัญญาใด ๆ ได้ยกเว้นกรณีตาม มาตรา 1102 และเมื่อจดทะเบียนบริษัทเสร็จจนมีสภาพเป็นนิติบุคคลแล้ว โจทก์ก็ยอมรับผลแห่งสัญญาโดยเข้าทำงานจนเสร็จ จึงเป็นการให้สัตยาบันแก่สัญญาที่ผู้เริ่มก่อการได้ทำไว้ตามมาตรา 1108 (2) สัญญาดังกล่าวจึงมีผลสมบูรณ์ไม่เป็นโมฆะ ขณะเดียวกันสัญญาที่ทำขึ้นก็ไม่ใช่นิติกรรมอำพราง เพราะสัญญาทำขึ้นตรงกับเจตนาของคู่กรณี แม้ตอนแรกโจทก์จะใช้ชื่อจำเลยเป็นตัวแทนในการประมูลงานและทำสัญญาดังกล่าวต่อกรมทรัพยากรธรณี แต่ต่อมาโจทก์จำเลยประสงค์จะแปลงหนี้ใหม่เปลี่ยนแปลงสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญจากการใช้ชื่อแทนหรือจากตัวการตัวแทนมาเป็นผู้รับจ้างและผู้ว่าจ้าง โดยโจทก์และจำเลยต่างยอมรับเอาข้อกำหนดตามสัญญารับจ้างดังกล่าวปฏิบัติต่อกันตลอดมา เป็นต้นว่า การทวงถามให้ชำระหนี้และปฏิบัติการชำระหนี้อันมีลักษณะทำนองเดียวกันกับข้อกำหนดในแบบสัญญาจ้างระหว่างกรมทรัพยากรธรณีกับจำเลย สัญญารับจ้างดังกล่าวจึงมีผลบังคับได้ในรูปของการที่ได้แปลงหนี้มาใหม่ตาม ป.พ.พ. มาตรา 349 วรรคหนึ่ง และมาตรา 351 โดยอนุโลม
ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (2) บัญญัติว่า "ในคดีที่โจทก์ฟ้องเรียกทรัพย์ใด ๆ เป็นของตนทั้งหมด แต่พิจารณาได้ความว่าโจทก์ควรได้แต่ส่วนแบ่ง เมื่อศาลเห็นสมควร ศาลจะพิพากษาให้โจทก์ได้รับแต่ส่วนแบ่งนั้นก็ได้" อันถือเป็นข้อยกเว้นของมาตรา 142 วรรคหนึ่ง ที่ว่าศาลต้องตัดสินตามข้อหาในคำฟ้องทุกข้อ แต่ห้ามมิให้พิพากษาหรือทำคำสั่งให้สิ่งใด ๆ เกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง ดังนั้น ด้วยอำนาจแห่งมูลหนี้ซึ่งลูกหนี้หรือจำเลยอาจจะยังคงค้างชำระอยู่บางส่วน เจ้าหนี้หรือโจทก์ก็ย่อมมีสิทธิจะเรียกให้จำเลยชำระหนี้ได้ตามมูลหนี้ที่ยังค้างอยู่ตาม ป.พ.พ. มาตรา 194 ได้ ดังนั้น ศาลอุทธรณ์จึงมีอำนาจวินิจฉัย และพิพากษาให้โจทก์ได้รับชำระหนี้แต่เพียงบางส่วนได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (2) ไม่ถือว่าเป็นการพิพากษาเกินคำขอหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2134/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พยานแวดล้อมยืนยันจำเลยร่วมกันฆ่าผู้ตาย ศาลพิจารณาหลักฐานแน่นแฟ้น ลดโทษตามอายุ
แม้ว่าโจทก์จะไม่มีประจักษ์พยานรู้เห็นขณะจำเลยและพวกฆ่าผู้ตายแต่โจทก์มีพยานแวดล้อมเห็นเหตุการณ์ใกล้ชิดก่อนผู้ตายถูกยิงจนถึงแก่ความตายโดยเห็นจำเลยและพวกโต้เถียงกับผู้ตายและชักอาวุธปืนจ้องจะยิงผู้ตาย เมื่อผู้ตายวิ่งหนี จำเลยและพวกถืออาวุธปืนวิ่งไล่ตามผู้ตายไปทันทีแล้วมีเสียงปืนดังขึ้น 1 นัดหลังจากนั้นประมาณ 2 นาที ก็ดังขึ้นอีก 2 นัด ระยะเวลาที่จำเลยและพวกถืออาวุธปืนวิ่งไล่ตามผู้ตายไปจนมีเสียงปืนดังขึ้นรวม 3 นัด ดังกล่าวเป็นช่วงเวลาไม่นานซึ่งไม่พอที่จะทำให้ระแวงสงสัยได้ว่าจะมีผู้อื่นเข้ามาฆ่าผู้ตายในช่วงเวลานั้น จึงเชื่อได้ว่าต้องเป็นจำเลยและพวกอย่างแน่แท้ที่ฆ่าผู้ตาย ทั้งเจ้าพนักงานตำรวจก็ตรวจพบมีดอีโต้ที่พวกจำเลยถือไปและรองเท้าแตะเปื้อนเลือด 1 ข้าง ของพวกจำเลยตกอยู่ในที่เกิดเหตุพยานโจทก์จึงมีน้ำหนักแน่นแฟ้นฟังได้ว่า จำเลยและพวกร่วมกันฆ่าผู้ตาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1964/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายปุ๋ยโดยใบสั่งจ่ายสินค้าไม่ทำให้เกิดสิทธิเรียกร้องโดยตรงต่อผู้ขาย โจทก์มีสิทธิเพียงทำการแทนผู้ซื้อ
++ เรื่อง ซื้อขาย หนี้ ++
++ ทดสอบทำงานในระบบ CW เพื่อค้นหาข้อมูลทาง online ++
++
++
++ โจทก์ฎีกา
++
++ ข้อเท็จจริงในชั้นฎีกาฟังเป็นยุติได้ตามที่โจทก์และจำเลยที่ 1 ไม่โต้แย้งกันว่า จำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัดมีวัตถุประสงค์ในการจำหน่ายสินค้าประเภทปุ๋ยเกษตรกรรม จำเลยที่ 2ใช้นามแฝงในทางการค้าว่า นายกิจจา บุญนำ ประกอบอาชีพรับซื้อปุ๋ยจากบริษัทผู้ค้าปุ๋ยรายอื่นเพื่อนำไปขายต่ออีกทอดหนึ่ง โจทก์ประกอบอาชีพค้าขายปุ๋ยเกษตรกรรม โดยซื้อปุ๋ยจากจำเลยที่ 2 เพื่อนำไปจำหน่ายให้แก่ลูกค้าอีกทอดหนึ่ง
++ เมื่อปี 2536 จำเลยที่ 1 ขายปุ๋ยให้แก่จำเลยที่ 2 คิดเป็นเงินจำนวน 20,359,400 บาท โดยจำเลยที่ 1 ออกใบสั่งจ่ายสินค้าระบุประเภทจำนวน น้ำหนัก และชื่อที่จำเลยที่ 2 ใช้ในทางการค้า ให้แก่จำเลยที่ 2เพื่อนำไปเบิกปุ๋ยจากโกดังของจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 1 ให้จำเลยที่ 2ชำระราคาปุ๋ยด้วยการสั่งจ่ายเช็คลงวันที่ล่วงหน้า
++ ต่อมาจำเลยที่ 2 ขายปุ๋ยด้วยการส่งมอบใบสั่งจ่ายสินค้าดังกล่าวบางส่วนให้แก่โจทก์ ตามใบสั่งจ่ายสินค้าเอกสารหมาย จ.1 แต่จำเลยที่ 1 ไม่ยอมจ่ายสินค้าตามใบสั่งจ่ายสินค้าดังกล่าวโดยอ้างว่าเช็คชำระค่าปุ๋ยของจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ซื้อปุ๋ยดังกล่าวไม่สามารถเรียกเก็บเงินได้
++
++ มีปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 หรือไม่
++ ที่โจทก์ฎีกาว่า การซื้อขายปุ๋ยในคดีนี้ระหว่างจำเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นการซื้อขายเสร็จเด็ดขาดเพราะมีการชำระราคาตั้งแต่แรก และเป็นทรัพย์เฉพาะสิ่งคือปุ๋ยตามใบสั่งจ่ายสินค้าเอกสารหมาย จ.1 กำหนดจำนวนน้ำหนักและขนาดบรรจุแน่นอน ไม่จำเป็นต้องนับ ชั่ง ตวงใหม่ และไม่จำต้องมากำหนดราคาที่แน่นอนใหม่
++ เห็นว่า ปุ๋ยที่จำเลยที่ 2 ตกลงซื้อจากจำเลยที่ 1เก็บอยู่ที่โกดังเก็บสินค้าของจำเลยที่ 1 ยังมิได้มีการคัดเลือกออกมาว่าปุ๋ยถุงใดจะขายให้แก่จำเลยที่ 2 เพื่อให้บ่งตัวทรัพย์สินนั้นออกเป็นที่แน่นอนแล้วแต่อย่างใด กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ซื้อขายกันยังไม่โอนไปยังจำเลยที่ 2ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 460 วรรคหนึ่ง จึงมิใช่การซื้อขายเสร็จเด็ดขาด
++ ที่โจทก์ฎีกาว่าจำเลยที่ 2 เป็นตัวแทนจำหน่ายสินค้าของจำเลยที่ 1 นั้น
++ เห็นว่าตามคำฟ้องโจทก์อ้างว่าจำเลยที่ 1 ขายปุ๋ยให้แก่จำเลยที่ 2 หาได้อ้างว่าจำเลยที่ 2 เป็นตัวแทนจำหน่ายสินค้าของจำเลยที่ 1 ไม่ ทั้งข้ออ้างว่าจำเลยที่ 2 เป็นตัวแทนนั้นก็เป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัยให้
++ ส่วนที่โจทก์ฎีกาว่า เอกสารใบสั่งจ่ายสินค้าเอกสารหมาย จ.1 เป็นทรัพยสิทธิ ไม่ใช่บุคคลสิทธิ จึงสามารถโอนเปลี่ยนมือได้ การซื้อปุ๋ยระหว่างจำเลยที่ 2 กับโจทก์เป็นการโอนหนี้อันพึงต้องชำระแก่โจทก์ผู้ถือใบสั่งจ่ายสินค้าดังกล่าว ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 313 ประกอบมาตรา 312 จำเลยที่ 1 จะยกข้อต่อสู้อันมีต่อจำเลยที่ 2 ขึ้นต่อสู้โจทก์ผู้ได้สิทธิมาโดยสุจริตหาได้ไม่นั้น
++ ในข้อนี้ปรากฏข้อความในใบจ่ายสินค้าด้านหน้าทุกฉบับเอกสารหมาย จ.1 ว่า "บริษัทเวิลด์เฟอท จำกัด...ใบสั่งจ่ายสินค้าเลขที่...วันที่...ใบส่งของเลขที่...เรียนหัวหน้าคลังสินค้าบริษัทเวิลด์เฟอท จำกัด (บางยอ) โปรดจ่ายสินค้าให้คุณกิจจา บุญนำ สินค้าปุ๋ยสูตร ... ขนาด... กกง จำนวน...กระสอบน้ำหนัก...ตัน ได้รับสินค้าตามรายการข้างบนนี้ไว้ถูกต้องเรียบร้อยแล้วผู้รับสินค้า...ผู้ซื้อ... ผู้ตรวจสอบ...ผู้อนุมัติ..." ส่วนที่ด้านหลังใบสั่งจ่ายสินค้าดังกล่าวระบุข้อความเป็นคำเตือนของบริษัทจำเลยที่ 1และมีข้อความว่า "ลงชื่อ...ผู้โอน"
++ เมื่อได้วินิจฉัยไว้ข้างต้นแล้วว่าการซื้อขายปุ๋ยระหว่างจำเลยที่ 1 และที่ 2 ไม่ใช่การซื้อขายเสร็จเด็ดขาด กรรมสิทธิ์ในปุ๋ยที่ขายยังไม่โอนมาเป็นของจำเลยที่ 2 ใบสั่งจ่ายสินค้าดังกล่าวจึงมิใช่ตราสารแสดงกรรมสิทธิ์ในสินค้าปุ๋ยอันเป็นทรัพยสิทธิจำเลยที่ 2 มีเพียงสิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่ 1ส่งมอบปุ๋ยชนิด ขนาดบรรจุ จำนวน และน้ำหนักตามที่ระบุในใบสั่งจ่ายสินค้าดังกล่าวอันเป็นเพียงบุคคลสิทธิที่ผูกพันกันระหว่างจำเลยที่ 1 และที่ 2เท่านั้น
++ ทั้งใบสั่งจ่ายสินค้าตามเอกสารหมาย จ.1 ก็เป็นเอกสารที่จำเลยที่ 1ได้ระบุไว้ชัดเจนให้หัวหน้าคลังสินค้าของจำเลยที่ 1 จ่ายสินค้าตามใบสั่งจ่ายสินค้าให้แก่บุคคลผู้มีชื่อคือจำเลยที่ 2 ใบสั่งจ่ายสินค้าดังกล่าวจึงมิใช่ตราสารอันพึงต้องชำระแก่ผู้ถือ ตามนัยของมาตรา 313 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
++ ดังนี้ เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 ได้ลงลายมือชื่อในช่องผู้โอนสิทธิเรียกร้องตามใบสั่งจ่ายสินค้าให้แก่โจทก์ไว้ที่ด้านหลังใบสั่งจ่ายสินค้าทุกฉบับตามเอกสารหมาย จ.1 หรือได้ทำเป็นหนังสือโอนหนี้อันพึงต้องชำระแก่โจทก์เจ้าหนี้โดยเฉพาะเจาะจงแต่อย่างใด การที่โจทก์นำใบสั่งจ่ายสินค้าตามเอกสารหมาย จ.1 ไปขอรับสินค้าจากจำเลยที่ 1ย่อมเป็นได้เพียงการทำการแทนจำเลยที่ 2 เท่านั้น โจทก์และจำเลยที่ 1จึงมิได้มีนิติสัมพันธ์ต่อกัน
++ เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่ยอมจ่ายสินค้าตามใบสั่งจ่ายสินค้าเอกสารหมาย จ.1 นั้น โจทก์ก็ไม่อาจอ้างว่าถูกจำเลยที่ 1 โต้แย้งสิทธิและมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 ให้ส่งมอบสินค้าตามใบสั่งจ่ายสินค้าเอกสารหมาย จ.1 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1531/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ งดบังคับคดี: คำสั่งศาลตามมาตรา 293 เป็นที่สุด หลังแก้ไขเพิ่มเติม
จำเลยได้ยื่นคำร้องขอให้งดการบังคับคดี ตาม ป.วิ.พ.มาตรา293 (ที่ยังไม่แก้ไข) ศาลชั้นต้นทำการไต่สวนแล้วมีคำสั่งยกคำร้อง ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน ก่อนจำเลยยื่นฏีกาได้มีการแก้ไขเพิ่มเติม ป.วิ.พ.มาตรา 293 โดยให้ตัดข้อความบางส่วนของวรรคสอง และเพิ่มวรรคสามของมาตรา 293 ว่า "คำสั่งของศาลตามมาตรานี้ให้เป็นที่สุด" ซึ่งมีผลใช้บังคับทันทีนับแต่วันที่ 4 พฤษภาคม 2542ตามบทบัญญัติมาตรา 293 วรรคสาม ที่ว่า "คำสั่งของศาลตามมาตรานี้ให้เป็นที่สุด"นั้น หมายความว่าคำสั่งของศาลตามมาตราดังกล่าวไม่ว่าจะเป็นการอนุญาตให้งดการบังคับคดีหรือยกคำร้อง คำสั่งดังกล่าวย่อมเป็นที่สุด จะอุทธรณ์ฎีกาต่อไปไม่ได้ทั้งนี้ก็เพื่อให้กระบวนการบังคับคดีสามารถดำเนินการไปด้วยความรวดเร็ว เมื่อจำเลยยื่นฎีกาภายหลังที่ ป.วิ.พ.มาตรา 293 วรรคสาม มีผลใช้บังคับแล้ว คำพิพากษาศาลอุทธรณ์จึงถึงที่สุดตามมาตราดังกล่าว ประกอบด้วยมาตรา 246 ฎีกาของจำเลยจึงต้องห้ามตามมาตรา 293 วรรคสาม ประกอบมาตรา 223 และมาตรา 247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1531/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งศาลเกี่ยวกับการงดบังคับคดีตามมาตรา 293 วรรคสาม พ.ร.บ.วิธีพิจารณาความแพ่ง ถือเป็นที่สุด ไม่อุทธรณ์ฎีกาได้
จำเลยได้ยื่นคำร้องขอให้งดการบังคับคดี ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 293(ที่ยังไม่แก้ไข) ศาลชั้นต้นทำการไต่สวนแล้วมีคำสั่งยกคำร้อง ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน ก่อนจำเลยยื่นฎีกาได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 293 โดยให้ตัดข้อความบางส่วนของวรรคสอง และเพิ่มวรรคสามของมาตรา 293 ว่า"คำสั่งของศาลตามมาตรานี้ให้เป็นที่สุด" ซึ่งมีผลใช้บังคับทันทีนับแต่วันที่ 4พฤษภาคม 2542 ตามบทบัญญัติมาตรา 293 วรรคสาม ที่ว่า "คำสั่งของศาลตามมาตรานี้ให้เป็นที่สุด" นั้น หมายความว่าคำสั่งของศาลตามมาตราดังกล่าวไม่ว่าจะเป็นการอนุญาตให้งดการบังคับคดีหรือยกคำร้อง คำสั่งดังกล่าวย่อมเป็นที่สุด จะอุทธรณ์ฎีกาต่อไปไม่ได้ทั้งนี้ก็เพื่อให้กระบวนการบังคับคดีสามารถดำเนินการไปด้วยความรวดเร็ว เมื่อจำเลยยื่นฎีกาภายหลังที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 293 วรรคสาม มีผลใช้บังคับแล้ว คำพิพากษาศาลอุทธรณ์จึงถึงที่สุดตามมาตราดังกล่าว ประกอบด้วยมาตรา 246 ฎีกาของจำเลยจึงต้องห้ามตามมาตรา 293 วรรคสาม ประกอบมาตรา 223 และมาตรา 247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1304/2543 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขอหักเงินบำเหน็จเพื่อชำระหนี้จากการประนีประนอมยอมความ: โจทก์ต้องใช้กระบวนการบังคับคดี
แม้ข้อเท็จจริงจะรับฟังได้ตามที่จำเลยที่ 1 กล่าวอ้างว่า คดีอยู่ระหว่างจำเลยที่ 1 ผ่อนชำระหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความซึ่งศาลพิพากษาตามยอมและจำเลยที่ 1 ยังมิได้ผิดนัด การที่โจทก์มีหนังสือขอให้ศาลจังหวัดสุรินทร์หักเงินบำเหน็จที่จำเลยที่ 1 จะได้รับเนื่องจากการลาออกจากราชการเพื่อนำเงินมาชำระหนี้ให้โจทก์ตามคำพิพากษาตามยอมเป็นการไม่ชอบนั้น ก็เป็นเรื่องที่โจทก์มิได้มีการบังคับคดีจำเลยที่ 1 ตาม ป.วิ.พ.ภาค 4 แต่เป็นเรื่องที่โจทก์โต้แย้งสิทธิของจำเลยที่ 1 นอกเหนือการบังคับคดีตามคำพิพากษาตามยอม จำเลยที่ 1 ชอบที่จะไปว่ากล่าวโจทก์เป็นอีกคดีหนึ่งต่างหาก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1304/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีและการโต้แย้งสิทธิเกินกว่าการบังคับคดีตามคำพิพากษาตามยอม
แม้ข้อเท็จจริงจะรับฟังได้ตามที่จำเลยที่ 1 กล่าวอ้างว่า คดีอยู่ระหว่างจำเลยที่ 1 ผ่อนชำระหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความซึ่งศาลพิพากษาตามยอมและจำเลยที่ 1 ยังมิได้ผิดนัด การที่โจทก์มีหนังสือขอให้ศาลจังหวัดสุรินทร์หักเงินบำเหน็จที่จำเลยที่ 1 จะได้รับเนื่องจากการลาออกจากราชการเพื่อนำเงินมาชำระหนี้ให้โจทก์ตามคำพิพากษาตามยอมเป็นการไม่ชอบนั้นก็เป็นเรื่องที่โจทก์มิได้มีการบังคับคดีจำเลยที่ 1 ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ภาค 4 แต่เป็นเรื่องที่โจทก์โต้แย้งสิทธิของจำเลยที่ 1 นอกเหนือการบังคับคดีตามคำพิพากษาตามยอม จำเลยที่ 1 ชอบที่จะไปว่ากล่าวโจทก์เป็นอีกคดีหนึ่งต่างหาก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1304/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการยื่นคำร้องในคดีประนีประนอม และการบังคับคดีนอกเหนือคำพิพากษา
ศาลมีคำพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความ ซึ่งจำเลยทั้งสามยอมชำระหนี้ให้โจทก์โดยผ่อนชำระเป็นรายเดือน หากผิดนัดงวดใดถือว่าผิดนัดทั้งหมด ยอมให้โจทก์บังคับคดีได้ทันที ระหว่างการผ่อนชำระหนี้จำเลยที่ 1 ได้รับอนุญาตให้ลาออกจากการทำงานและได้ยื่นคำร้องว่าที่โจทก์ขอให้ต้นสังกัดซึ่งเป็นนายจ้างของจำเลยที่ 1 หักเงินบำเหน็จโดยอาศัยสิทธิตามสัญญากู้ยืมระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 เป็นการไม่ชอบเพราะจำเลยที่ 1 ยังไม่ผิดนัด ศาลชั้นต้นไม่รับวินิจฉัยคำร้องของจำเลย เนื่องจากจำเลยไม่มีสิทธิยื่นคำร้องเข้ามาในคดีให้ศาลกำหนดวิธีการอย่างใด ๆ ที่บัญญัติไว้ในภาค 4 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง เพื่อคุ้มครองประโยชน์ของคู่ความในระหว่างการบังคับตามคำพิพากษา อุทธรณ์ของจำเลยแม้พอจะถือได้ว่าเป็นการอุทธรณ์โต้แย้งคำสั่งของศาลชั้นต้น แต่ศาลอุทธรณ์มิได้วินิจฉัยในประเด็นเบื้องต้นก่อนว่าจำเลยมีสิทธิยื่นคำร้องเข้ามาในคดีนี้เพื่อให้ศาลกำหนดวิธีการอย่างใด ๆ ที่บัญญัติไว้ในภาค 4 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง หรือไม่ ซึ่งศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยไว้และเป็นประเด็นที่ว่ากล่าวกันมาในศาลชั้นต้น แต่ศาลอุทธรณ์กลับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยโดยตั้งประเด็นว่าโจทก์มีสิทธิขอให้ต้นสังกัดของลูกจ้างหักเงินบำเหน็จที่จำเลยที่ 1 จะได้รับ เพื่อนำเงินมาชำระหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความหรือไม่ ซึ่งปัญหานี้ศาลชั้นต้นไม่รับวินิจฉัยเพราะเป็นเพียงประเด็นต่อจากประเด็นที่ศาลชั้นต้นได้ยกคำร้องของจำเลย การที่ศาลอุทธรณ์มิได้วินิจฉัยประเด็นหลักในเบื้องต้นก่อนเช่นนี้จึงไม่ชอบ แม้โจทก์จะมิได้ฎีกาในปัญหานี้แต่ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5),246 และ 257และแม้ข้อเท็จจริงจะฟังได้ตามที่จำเลยที่ 1 อ้าง ก็เป็นเรื่องที่โจทก์มิได้มีการบังคับคดีจำเลยที่ 1 ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ภาค 4 และเป็นเรื่องที่โจทก์โต้แย้งสิทธิของจำเลยที่ 1 นอกเหนือการบังคับคดีตามคำพิพากษาตามยอม จำเลยที่ 1 ต้องไปว่ากล่าวโจทก์เป็นอีกคดีหนึ่ง ไม่มีสิทธิยื่นคำร้องเข้ามาในคดีนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1231/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้าม: โต้แย้งดุลพินิจรับฟังพยานหลักฐานและข้อเท็จจริง เป็นการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยฐานยักยอก ตาม ป.อ.มาตรา 352 วรรคแรก, 91 รวม 106 กระทง จำคุกกระทงละ 1 เดือน รวมจำคุก 106 เดือน ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นจำคุกกระทงละ 20 วัน เป็นการแก้ไขเล็กน้อย และโทษจำคุกไม่เกินห้าปี คดีต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ.มาตรา 218 วรรคหนึ่ง ที่จำเลยฎีกาว่า ศาลควรจะยกฟ้องโจทก์ทั้ง159 กรรม มิใช่เพียง 59 กรรม ด้วยเหตุผล 6 ประการ ตามฎีกาของจำเลยซึ่งล้วนแต่เป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐาน เป็นการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง และที่จำเลยฎีกาว่า จำเลยกระทำความผิดต่างกรรมต่างวาระกันหรือไม่โดยจำเลยอ้างว่าศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ฟังพยานหลักฐานที่ไม่มีเอกสารเป็นการไม่ชอบ ก็เป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ฟังมา เพื่อนำไปสู่ปัญหาข้อกฎหมายที่จำเลยยกขึ้นอ้าง จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตามบทกฎหมายดังกล่าว
of 30