พบผลลัพธ์ทั้งหมด 292 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6843/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนที่ดินถือเป็นการ 'โอน' ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ ทำให้ผู้รับเวนคืนต้องชำระสินน้ำใจตามสัญญา
ตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 ให้ความหมายของคำว่า โอนหมายถึง ยอมมอบให้ ซึ่งย่อมหมายความรวมถึงการที่ต้องยอมมอบให้เนื่องจากการเวนคืนอันเป็นผลของกฎหมายด้วย เมื่อที่ดินของโจทก์ถูกโอนเปลี่ยนมือจากโจทก์เป็นของทางราชการ ทั้งโจทก์ก็ได้รับค่าทดแทนการเวนคืนจากทางราชการจึงเป็นการโอนให้ผู้อื่นซึ่งโจทก์จะต้องให้สินน้ำใจ 1,700,000 บาท แก่จำเลยตามสัญญาประนีประนอมยอมความเมื่อโจทก์ไม่ชำระจึงเป็นการผิดสัญญาประนีประนอมยอมความ จำเลยมีสิทธิขอให้ศาลมีคำสั่งตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีเพื่อบังคับให้โจทก์ชำระหนี้ดังกล่าวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6066/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้อน: คดีทรัพย์มรดก – การฟ้องคดีซ้ำที่มีประเด็นวินิจฉัยเดียวกันกับคดีที่ยังพิจารณาค้างอยู่
คดีก่อนโจทก์เคยให้พนักงานอัยการจังหวัดปราจีนบุรี ยื่นคำร้องขอให้ตั้งโจทก์เป็นผู้จัดการมรดกของพระภิกษุทองดี โดยอ้างว่าเป็นทรัพย์สินของพระภิกษุทองดีที่ได้มาก่อนเวลาที่อยู่ในสมณเพศ จำเลยได้ยื่นคำคัดค้านในคดีก่อนว่า ทรัพย์ที่จะขอตั้งผู้จัดการมรดกเป็นทรัพย์สินของพระภิกษุทองดีที่ได้มาระหว่างเวลาที่อยู่ในสมณเพศตกเป็นของวัดจำเลยที่เป็นภูมิลำเนาของพระภิกษุทองดี คดีดังกล่าวจึงมีประเด็นว่า พระภิกษุทองดีได้ทรัพย์สินมาก่อนเวลาที่อยู่ในสมณเพศหรือไม่ และเป็นทรัพย์มรดกตกทอดแก่โจทก์หรือไม่ ศาลชั้นต้นวินิจฉัยชี้ขาดคดีว่า ทรัพย์สินของพระภิกษุทองดีได้มาในระหว่างเวลาที่อยู่ในสมณเพศ จึงตกเป็นของวัดจำเลยที่เป็นภูมิลำเนาของพระภิกษุทองดี ไม่มีเหตุที่จะตั้งโจทก์เป็นผู้จัดการมรดก ขณะคดีอยู่ระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 1 โจทก์ยื่นฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้โดยกล่าวอ้างทำนองเดียวกันกับคดีก่อนว่า ทรัพย์มรดกพิพาทเป็นทรัพย์สินที่พระภิกษุทองดีได้มาก่อนบวชเป็นพระภิกษุที่วัดจำเลย จำเลยให้การต่อสู้ว่าทรัพย์มรดกพิพาทเป็นทรัพย์สินที่พระภิกษุทองดีได้มาในระหว่างเวลาที่อยู่ในสมณเพศจึงตกเป็นสมบัติของวัดจำเลย เมื่อในคดีก่อนพนักงานอัยการจังหวัดปราจีนบุรีร้องขอแทนโจทก์ ศาลชั้นต้นดำเนินคดีอย่างมีข้อพิพาท ย่อมถือได้ว่าเป็นการฟ้องคดีแทนโจทก์ด้วย ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 188 (4) ดังนั้น การที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ในขณะที่คดีก่อนยังอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 1 โดยฟ้องของโจทก์คดีนี้กับคดีก่อนมีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยเป็นอย่างเดียวกัน ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงเป็นฟ้องซ้อนกับคดีก่อน ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6066/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้อน: คดีทรัพย์มรดกที่ศาลเคยมีคำพิพากษาแล้ว การฟ้องคดีซ้ำจึงเป็นฟ้องซ้อนต้องห้าม
คดีแพ่งเรื่องก่อนพนักงานอัยการยื่นคำร้องขอให้ตั้งโจทก์เป็นผู้จัดการมรดกของพระภิกษุ ท. โดยอ้างว่าเป็นทรัพย์สินที่ได้มาก่อนเวลาที่อยู่ในสมณเพศ จำเลยคดีนี้ยื่นคำคัดค้านว่าเป็นทรัพย์สินของพระภิกษุ ท. ที่ได้มาในระหว่างเวลาที่อยู่ในสมณเพศตกเป็นสมบัติของวัดจำเลย จึงมีประเด็นว่า พระภิกษุ ท. ได้ทรัพย์สินมาก่อนเวลาที่อยู่ในสมณเพศหรือไม่และเป็นทรัพย์มรดกตกทอดแก่โจทก์หรือไม่ ขณะคดีดังกล่าวอยู่ระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ โจทก์ยื่นฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้โดยกล่าวอ้างทำนองเดียวกันกับคดีก่อน แม้คดีก่อนพนักงานอัยการจะเป็นผู้ร้องขอให้ตั้งโจทก์เป็นผู้จัดการมรดก แต่เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นทายาทมีสิทธิร้องขอให้ตั้งตนเองเป็นผู้จัดการมรดกได้อยู่แล้วให้พนักงานอัยการร้องขอแทน จึงถือได้ว่าเป็นการร้องขอแทนโจทก์ เมื่อคดีดังกล่าวศาลชั้นต้นดำเนินคดีอย่างคดีมีข้อพิพาทย่อมถือได้ว่าพนักงานอัยการฟ้องคดีแทนโจทก์ด้วย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 188(4) ดังนั้นการที่โจทก์ฟ้องคดีนี้โดยมีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยเป็นอย่างเดียวกัน จึงเป็นฟ้องซ้อนต้องห้ามตามมาตรา 173 วรรคสอง (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4171/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบทรัพย์สินต้องมีฟ้องความผิดฐานใช้หรือมีไว้เพื่อกระทำความผิด และต้องมีการกระทำความผิดเกิดขึ้น
ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33 คำว่า "มิได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิด" บ่งชี้ว่าต้องมีความผิดเกิดขึ้นศาลจึงจะมีอำนาจสั่งริบทรัพย์สินได้ นอกจากนี้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 18(5) การริบทรัพย์สินเป็นโทษอย่างหนึ่งสำหรับลงแก่ผู้กระทำความผิดศาลจะสั่งริบทรัพย์ที่จำเลยมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิดได้ต่อเมื่อมีการกระทำความผิดเกิดขึ้น และโจทก์ต้องฟ้องขอให้ลงโทษในความผิดนั้นด้วย แต่คดีนี้โจทก์ฟ้องเพียงว่าจำเลยมีกัญชาอัดแท่งและมีกัญชาผสมยาเส้นไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายเท่านั้น โจทก์มิได้ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยในความผิดฐานผลิตกัญชาและฐานเสพกัญชาโจทก์จึงขอให้ศาลสั่งริบถุงพลาสติกใส มีด เขียงพลาสติก และบ้องกัญชาด้วยไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3962/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดสนับสนุนการฉ้อโกงและใช้เอกสารปลอม: พยานหลักฐานรับสารภาพและพฤติการณ์สนับสนุน
จำเลยที่ 1 ขับรถยนต์ไปส่งจำเลยที่ 2 และที่ 3 ที่บ้านผู้เสียหายเพื่อให้จำเลยที่ 2ที่ 3 กู้เงินผู้เสียหายโดยใช้หนังสือรับรองการทำประโยชน์ สำเนาทะเบียนบ้าน และบัตรประจำตัวประชาชนปลอมเป็นหลักฐานการขอกู้เงิน และไปจอดรถรออยู่ริมบึง ซึ่งพันตำรวจตรี บ. ผู้ร่วมจับกุมจำเลยทั้งสามได้วางกำลังเจ้าพนักงานตำรวจไว้รอบบึงเจ้าพนักงานตำรวจได้วิทยุแจ้งเหตุการณ์ให้ทราบ ตั้งแต่ขณะจำเลยที่ 1 ขับรถยนต์ไปส่งจำเลยที่ 2 และที่ 3 แล้วไปจอดรถรออยู่ระหว่างจับกุมจำเลยที่ 2 และที่ 3 จำเลยที่ 1รู้ตัวจึงขับรถยนต์หลบหนี เจ้าพนักงานตำรวจวิทยุสกัดจับกุมไว้ได้ ในชั้นสอบสวนจำเลยที่ 1 รับว่าได้ร่วมกับจำเลยที่ 2 และที่ 3 ในการปลอมเอกสารนำเอกสารที่ช่วยกันทำปลอมขึ้นไปถ่ายสำเนาหลายครั้งและขับรถยนต์ไปส่งจำเลยที่ 2 และที่ 3 ตั้งแต่วันแรกและไปนอนค้างคืนที่โรงแรมในอำเภอ และวันรุ่งขึ้นก็ยังขับรถยนต์ไปส่งจำเลยที่ 2 และที่ 3 ที่บ้านผู้เสียหายอีก และขณะถูกจับกุมเจ้าพนักงานตำรวจค้นในรถก็พบกระเป๋าเสื้อผ้าของจำเลยที่ 2 และที่ 3 พยานหลักฐานโจทก์จึงปราศจากข้อสงสัยว่าจำเลยที่ 1เป็นผู้สนับสนุนการกระทำความผิดของจำเลยที่ 2 และที่ 3 ฐานร่วมกันพยายามฉ้อโกงและฐานร่วมกันใช้เอกสารราชการและเอกสารสิทธิอันเป็นเอกสารราชการปลอม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3856/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานข่มขืนใจโดยมีอาวุธ กรณีร่วมกระทำแต่ไม่ปรากฏพฤติการณ์อนาจาร
จำเลยเป็นเพียงผู้ขับรถจักรยานยนต์ที่ บ. นั่งซ้อนท้ายตามรถจักรยานยนต์ที่พ. ขับ และผู้เสียหายทั้งสองนั่งซ้อนท้ายไป เมื่อ พ. หยุดรถ บ. เป็นผู้เข้าไปข่มขู่ผู้เสียหายทั้งสองกับ พ. แต่จำเลยไม่ได้ร่วมข่มขู่บังคับผู้เสียหายทั้งสองแต่ประการใดผู้เสียหายทั้งสองสมัครใจยินยอมให้ พ. ขับรถจักรยานยนต์ไปส่งที่บ้านขณะที่จำเลยขับรถตามไปทัน ผู้เสียหายที่ 1 บอก พ. ไม่ต้องหยุดรถ พ. ก็ไม่หยุด บ. บอกให้ พ. ขับรถจักรยานยนต์เลี้ยวขวา พ. ไม่ยอมทำตามจน บ. ต้องใช้อาวุธปืนขู่แม้ บ. กับ พ. ร่วมมือกัน แต่ไม่ปรากฏว่ามีการกระทำอนาจารหรือลวนลามทางเพศต่อผู้เสียหายทั้งสอง จึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยกระทำผิดฐานร่วมกันพาผู้เสียหายทั้งสองไปเพื่อการอนาจารตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 284 วรรคแรก และฐานร่วมกันพรากผู้เยาว์อายุไม่เกินสิบแปดปีไปเสียจากบิดามารดาหรือผู้ดูแลโดยผู้เยาว์ไม่เต็มใจตาม ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 318 วรรคสาม แต่การที่จำเลยเป็นผู้ขับรถจักรยานยนต์ให้ บ. นั่งซ้อนท้ายไปด้วยกัน และจำเลยจอดรถจักรยานยนต์ให้ บ. ลงจากรถไปและใช้อาวุธปืนขู่บังคับผู้เสียหายทั้งสองให้ลงจากรถจักรยานยนต์โดยจำเลยมิได้ห้ามปราม จึงถือได้ว่าจำเลยร่วมกระทำการข่มขืนใจผู้เสียหายทั้งสองให้กระทำการใดไม่กระทำการใด หรือจำยอมต่อสิ่งใดโดยทำให้กลัวว่าจะเกิดอันตรายต่อชีวิต ร่างกายเสรีภาพ ชื่อเสียงหรือทรัพย์สินของผู้เสียหายอันเป็นความผิดต่อเสรีภาพโดยมีอาวุธตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 309 วรรคสอง แต่เมื่อผู้เสียหายทั้งสองไม่ยอมลงจากรถจักรยานยนต์ตามที่ บ. ข่มขืนใจ จำเลยจึงมีความผิดเพียงขั้นพยายาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3786/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งสินสมรสหลังหย่า: รถยนต์ที่ซื้อระหว่างสมรส และเงินดาวน์รถที่มาจากเงินขายทรัพย์เดิม
ประเด็นในการฟ้องหย่าในคดีก่อนมีสาระเป็นเรื่องของสภาพการอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยา แต่เรื่องการขอแบ่งสินสมรสในคดีหลังเป็นการฟ้องเรียกทรัพย์สินโดยมีสาระอยู่ที่ว่าทรัพย์สินนั้นเป็นสินสมรสหรือไม่ จึงเป็นคนละมูลคดีกันแม้จะมีผลมาจากการฟ้องหย่าแต่ก็หาจำต้องขอแบ่งสินสมรสมากับคดีฟ้องหย่าไม่ ทั้งไม่มีบทกฎหมายใดที่บัญญัติว่าจะต้องฟ้องขอแบ่งสินสมรสมาพร้อมกันกับการฟ้องหย่า ฟ้องแย้งของจำเลยที่ขอแบ่งสินสมรสจึงไม่เป็นฟ้องซ้อนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 173 วรรคสอง (1)
ที่ดินที่จำเลยถือกรรมสิทธิ์รวมกับพี่ชายจำเลย เป็นทรัพย์สินที่มีมาก่อนที่จำเลยจะจดทะเบียนสมรสกับโจทก์ อันถือเป็นสินส่วนตัวของจำเลย และมีการนำไปแลกเปลี่ยนกับที่ดินพิพาท 2 แปลง ทรัพย์สินที่ได้มาใหม่จึงย่อมเป็นสินส่วนตัวของจำเลย เพราะเป็นการได้ที่ดินมาแทนทรัพย์เดิม ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1472 วรรคหนึ่ง
โจทก์นำเงินของโจทก์ไปเป็นเงินดาวน์รถยนต์วอลโว่ในระหว่างที่โจทก์จำเลยยังมิได้หย่าขาดจากกัน ประกอบจำเลยยังได้รับประโยชน์จากข้อสันนิษฐานของกฎหมายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1474 วรรคสองว่า กรณีเป็นที่สงสัยว่าทรัพย์สินใดเป็นสินสมรสมิใช่ ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นสินสมรสรถยนต์วอลโว่จึงมีสถานะเป็นสินสมรสซึ่งจำเลยต้องได้รับส่วนแบ่งครึ่งหนึ่ง
ตามคำขอท้ายฟ้องแย้งของจำเลย จำเลยขอแบ่งสินสมรสครึ่งหนึ่ง เมื่อรถยนต์วอลโว่เป็นสินสมรสและโจทก์จำเลยหย่ากันแล้วก็ชอบที่จะแบ่งสินสมรสให้โจทก์และจำเลยได้ส่วนเท่ากัน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1533 ซึ่งถ้าการแบ่งไม่อาจตกลงกันได้ก็ให้นำสินสมรสออกขายทอดตลาดเพื่อนำเงินมาแบ่งกันตามส่วน แต่หากไม่สามารถนำรถยนต์สินสมรสมาแบ่งกันได้ก็ให้โจทก์ใช้คืนมูลค่าค่าเช่าซื้อที่ชำระไปครึ่งหนึ่ง
ที่ดินที่จำเลยถือกรรมสิทธิ์รวมกับพี่ชายจำเลย เป็นทรัพย์สินที่มีมาก่อนที่จำเลยจะจดทะเบียนสมรสกับโจทก์ อันถือเป็นสินส่วนตัวของจำเลย และมีการนำไปแลกเปลี่ยนกับที่ดินพิพาท 2 แปลง ทรัพย์สินที่ได้มาใหม่จึงย่อมเป็นสินส่วนตัวของจำเลย เพราะเป็นการได้ที่ดินมาแทนทรัพย์เดิม ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1472 วรรคหนึ่ง
โจทก์นำเงินของโจทก์ไปเป็นเงินดาวน์รถยนต์วอลโว่ในระหว่างที่โจทก์จำเลยยังมิได้หย่าขาดจากกัน ประกอบจำเลยยังได้รับประโยชน์จากข้อสันนิษฐานของกฎหมายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1474 วรรคสองว่า กรณีเป็นที่สงสัยว่าทรัพย์สินใดเป็นสินสมรสมิใช่ ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นสินสมรสรถยนต์วอลโว่จึงมีสถานะเป็นสินสมรสซึ่งจำเลยต้องได้รับส่วนแบ่งครึ่งหนึ่ง
ตามคำขอท้ายฟ้องแย้งของจำเลย จำเลยขอแบ่งสินสมรสครึ่งหนึ่ง เมื่อรถยนต์วอลโว่เป็นสินสมรสและโจทก์จำเลยหย่ากันแล้วก็ชอบที่จะแบ่งสินสมรสให้โจทก์และจำเลยได้ส่วนเท่ากัน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1533 ซึ่งถ้าการแบ่งไม่อาจตกลงกันได้ก็ให้นำสินสมรสออกขายทอดตลาดเพื่อนำเงินมาแบ่งกันตามส่วน แต่หากไม่สามารถนำรถยนต์สินสมรสมาแบ่งกันได้ก็ให้โจทก์ใช้คืนมูลค่าค่าเช่าซื้อที่ชำระไปครึ่งหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3786/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องแย้งขอแบ่งสินสมรสไม่เป็นฟ้องซ้อนคดีหย่า เพราะเป็นคนละมูลคดีกัน
คดีก่อนจำเลยได้ฟ้องหย่าโจทก์ที่ศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง ระหว่างพิจารณาโจทก์ได้ฟ้องขอหย่าจากจำเลยและจำเลยได้ฟ้องแย้งขอหย่าทั้งขอแบ่งสินสมรสเป็นคดีนี้ ต่อมาคู่ความตกลงกันในคดีก่อนทำสัญญาประนีประนอมหย่าขาดจากกัน และศาลเยาวชนและครอบครัวกลางมีคำพิพากษาตามยอม คดีถึงที่สุดแล้ว ส่วนในคดีนี้คู่ความได้ตกลงสละประเด็นเรื่องฟ้องหย่าตั้งแต่ก่อนศาลชั้นต้นจะมีคำพิพากษาแล้ว จึงไม่มีประเด็นเรื่องฟ้องหย่าในคดีนี้ นอกจากนี้ประเด็นในการฟ้องหย่ามีสาระเป็นเรื่องของสภาพการอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยา แต่เรื่องการขอแบ่งสินสมรสเป็นคดีฟ้องเรียกทรัพย์สินโดยมีสาระอยู่ที่ว่าทรัพย์สินนั้นเป็นสินสมรสหรือไม่ จึงเป็นคนละมูลคดีกัน แม้จะมีผลมาจากการฟ้องหย่า แต่ก็หาจำต้องฟ้องขอแบ่งสินสมรสมากับคดีฟ้องหย่าไม่ นอกจากนี้ก็ไม่มีบทกฎหมายใดที่บัญญัติว่าจะต้องฟ้องขอแบ่งสินสมรสมาพร้อมกันกับการฟ้องหย่าดังที่โจทก์กล่าวอ้างในฎีกา ฟ้องแย้งของจำเลยที่ขอแบ่งสินสมรสคดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้อนคดีก่อนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 173 วรรคสอง (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3685-3686/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์รั้วและสิ่งปลูกสร้างรุกล้ำที่ดิน: เจ้าของที่ดินมีสิทธิให้รื้อถอนได้
เดิมที่ดินของโจทก์และจำเลยที่ 4 และที่ 5 เป็นกรรมสิทธิ์ของบริษัท ด. ซึ่งบริษัท ด. ได้ปลูกสร้างอาคารพาณิชย์จำนวน 11 คูหา ด้านหลังอาคารมีกำแพงรั้วคอนกรีตเสริมเหล็กสูงประมาณ 2 เมตร กั้นยาวตลอดทั้ง 11 คูหา ลงบนที่ดินดังกล่าว จำเลยที่ 4 และที่ 5 ซื้ออาคารมาเมื่อปี 2525 และ 2536 ตามลำดับ แล้วต่อเติมรั้วคอนกรีตเดิมซึ่งอยู่นอกโฉนดที่ดินอาคารที่ซื้อมาให้สูงขึ้นและมุงหลังคาเป็นส่วนหนึ่งของตัวอาคาร ส่วนโจทก์ซื้อที่ดินมาเมื่อปี 2537 ซึ่งมีเนื้อที่ครอบคลุมรั้วคอนกรีตทั้งหมด ในการที่รั้วคอนกรีตที่ได้มีการก่อสร้างไว้แล้วเดิมไม่มีกฎหมายมาตราใดที่จะยกขึ้นมาปรับแก่คดีได้โดยตรง ในการวินิจฉัยคดีจึงต้องอาศัยเทียบบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งตามมาตรา 4 แห่ง ป.พ.พ. และบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งที่จะปรับกับข้อเท็จจริงในคดีนี้คือ ป.พ.พ. มาตรา 1310 ประกอบมาตรา 1314 ซึ่งบัญญัติให้โจทก์เจ้าของที่ดินเป็นเจ้าของสิ่งก่อสร้างคือรั้วคอนกรีต โจทก์จึงเป็นเจ้าของรั้วคอนกรีตเดิม ส่วนรั้วคอนกรีตที่ต่อเติมให้สูงขึ้นและสิ่งปลูกสร้างที่ด้านหลังอาคารพาณิชย์ของจำเลยที่ 4 และที่ 5 ที่ต่อเติมขึ้นภายหลังนั้น ก็ไม่ใช่การสร้างโรงเรือนรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของผู้อื่น หรือสร้างโรงเรือนหรือสิ่งก่อสร้างอื่นในที่ดินของผู้อื่น แม้จำเลยที่ 4 และที่ 5 จะกระทำไปโดยสุจริต จำเลยที่ 4 และที่ 5 ก็ไม่มีสิทธิที่จะใช้ที่ดินของโจทก์ได้ เพราะกรณีไม่ต้องด้วย ป.พ.พ. มาตรา 1312 และมาตรา 1310 ประกอบมาตรา 1314 จำเลยที่ 4 และที่ 5 จึงต้องรื้อส่วนที่ต่อเติมดังกล่าวออกไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3685-3686/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
รั้วคอนกรีตเดิมกรรมสิทธิ์ใคร? ต่อเติมสูงขึ้นรุกล้ำที่ดินผู้อื่นต้องรื้อ
บริษัท ด. เจ้าของที่ดินได้ปลูกสร้างอาคารพาณิชย์จำนวน 11 คูหาขายโดยด้านหลังอาคารมีกำแพงรั้วคอนกรีตสูงประมาณ 2 เมตร กั้นยาวตลอดทั้ง 11 คูหาจำเลยที่ 4 ซื้ออาคารพาณิชย์เมื่อปี 2525 ส่วนจำเลยที่ 5 ซื้ออาคารพาณิชย์เมื่อปี 2536จำเลยที่ 4 และที่ 5 ได้ต่อเติมรั้วคอนกรีตเดิมซึ่งอยู่นอกโฉนดที่ดินที่ซื้อมาให้สูงขึ้นและมุงหลังคาเป็นส่วนหนึ่งของอาคาร ส่วนโจทก์ซื้อที่ดินมาเมื่อปี 2537 ซึ่งมีเนื้อที่ครอบคลุมรั้วคอนกรีตทั้งหมด ในกรณีรั้วคอนกรีตที่ได้มีการก่อสร้างไว้แล้วเดิมไม่มีบทกฎหมายมาตราใดที่จะยกขึ้นมาปรับแก่คดีได้โดยตรง ในการวินิจฉัยคดีจึงต้องอาศัยเทียบบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งตามมาตรา 4 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์คือมาตรา 1310 ประกอบมาตรา 1314 ซึ่งบัญญัติให้โจทก์เจ้าของที่ดินเป็นเจ้าของสิ่งก่อสร้าง โจทก์จึงเป็นเจ้าของรั้วคอนกรีตเดิม ส่วนรั้วคอนกรีตที่ต่อเติมให้สูงขึ้นและสิ่งปลูกสร้างด้านหลังอาคารพาณิชย์ ที่ต่อเติมขึ้นภายหลังไม่ใช่การสร้างโรงเรือนรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของผู้อื่น หรือสร้างโรงเรือนหรือสิ่งก่อสร้างอื่นในที่ดินของผู้อื่น แม้จำเลยที่ 4 และที่ 5 จะกระทำไปโดยสุจริต ก็ไม่มีสิทธิใช้ที่ดินของโจทก์ได้ กรณีไม่ต้องด้วยมาตรา 1312 และมาตรา 1310 ประกอบมาตรา 1314 จึงต้องรื้อออกไป
ศาลชั้นต้นสั่งรวมพิจารณาคดีเข้าด้วยกัน 5 คดี โจทก์เสียค่าอ้างเอกสารอัตราสูงสุด 200 บาท แม้จะไม่ครบถ้วนก็ไม่มีบทกฎหมายให้ถือว่าโจทก์ไม่ประสงค์จะอ้างเอกสารเป็นพยานประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 87 ก็บัญญัติเพียงว่าห้ามมิให้ศาลรับฟังพยานหลักฐานที่คู่ความมิได้แสดงความจำนงที่จะอ้างอิงเท่านั้นทั้งยังยกเว้นไว้ด้วยว่าถ้าเป็นพยานหลักฐานอันสำคัญซึ่งเกี่ยวกับประเด็นข้อสำคัญในคดีแม้จะฝ่าฝืนบทบัญญัติในอนุมาตรานี้ก็ให้ศาลมีอำนาจที่จะรับฟังได้ ดังนั้นการที่ศาลรับฟังพยานเอกสารดังกล่าวจึงไม่ใช่เรื่องที่ไม่ชอบ
ศาลชั้นต้นสั่งรวมพิจารณาคดีเข้าด้วยกัน 5 คดี โจทก์เสียค่าอ้างเอกสารอัตราสูงสุด 200 บาท แม้จะไม่ครบถ้วนก็ไม่มีบทกฎหมายให้ถือว่าโจทก์ไม่ประสงค์จะอ้างเอกสารเป็นพยานประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 87 ก็บัญญัติเพียงว่าห้ามมิให้ศาลรับฟังพยานหลักฐานที่คู่ความมิได้แสดงความจำนงที่จะอ้างอิงเท่านั้นทั้งยังยกเว้นไว้ด้วยว่าถ้าเป็นพยานหลักฐานอันสำคัญซึ่งเกี่ยวกับประเด็นข้อสำคัญในคดีแม้จะฝ่าฝืนบทบัญญัติในอนุมาตรานี้ก็ให้ศาลมีอำนาจที่จะรับฟังได้ ดังนั้นการที่ศาลรับฟังพยานเอกสารดังกล่าวจึงไม่ใช่เรื่องที่ไม่ชอบ