คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สมชัย เกษชุมพล

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 292 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5351/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสมรสที่ปราศจากเจตนาสามีภริยา และการปล่อยเวลาเนิ่นนาน ทำให้ไม่สามารถขอให้ศาลพิพากษาให้การสมรสเป็นโมฆะได้
ผู้ร้องทั้งสองยื่นคำร้องอ้างว่าได้จดทะเบียนสมรสกันหลอก ๆ เพื่อหวังประโยชน์ในทางการค้า มิได้มีเจตนาจะอยู่กินเป็นสามีภริยากันอย่างแท้จริง ทั้งไม่เคยอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยาแต่อย่างใด เหตุที่จดทะเบียนสมรสกันเนื่องจากเชื่อตามหมอดูทำนายเท่านั้น แต่ผู้ร้องทั้งสองมิได้นำพยานอื่นเข้าสืบประกอบว่าตนมิได้อยู่กินฉันสามีภริยากันจริง และมิได้ส่งสำเนาทะเบียนบ้านว่ามิได้อยู่บ้านหลังเดียวกัน นอกจากนี้ผู้ร้องทั้งสองยังปล่อยเวลาให้ล่วงเลยมาถึง 3 ปีเศษ จึงมายื่นคำร้องขอให้ศาลพิพากษาว่าการสมรสเป็นโมฆะ พฤติการณ์ที่นำสืบเช่นนี้แสดงให้เห็นว่าผู้ร้องทั้งสองยินยอมเป็นสามีภริยากันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1458 แล้วไม่มีเหตุที่จะมายื่นคำร้องขอให้ศาลพิพากษาว่าการสมรสของผู้ร้องทั้งสองตกเป็นโมฆะได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5351/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสมรสที่ปราศจากเจตนาจริงและการปล่อยเวลาเนิ่นนาน ทำให้ศาลไม่พิพากษาให้การสมรสเป็นโมฆะ
ผู้ร้องทั้งสองยื่นคำร้องอ้างว่าได้จดทะเบียนสมรสกันหลอก ๆ เพื่อหวังประโยชน์ในทางการค้า มิได้มีเจตนาจะอยู่กินเป็นสามีภริยากันอย่างแท้จริง ทั้งไม่เคยอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยาแต่อย่างใด เหตุที่จดทะเบียนสมรสกันเนื่องจากเชื่อตามหมอดูทำนายเท่านั้น แต่ผู้ร้องทั้งสองมิได้นำพยานอื่นเข้าสืบประกอบว่าตนมิได้อยู่กินฉันสามีภริยากันจริง และมิได้ส่งสำเนาทะเบียนบ้านว่ามิได้อยู่บ้านหลังเดียวกัน นอกจากนี้ผู้ร้องทั้งสองยังปล่อยเวลาให้ล่วงเลยมาถึง 3 ปีเศษ จึงมายื่นคำร้องขอให้ศาลพิพากษาว่าการสมรสเป็นโมฆะ พฤติการณ์ที่นำสืบเช่นนี้แสดงให้เห็นว่าผู้ร้องทั้งสองยินยอมเป็นสามีภริยากันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1458 แล้วไม่มีเหตุที่จะมายื่นคำร้องขอให้ศาลพิพากษาว่าการสมรสของผู้ร้องทั้งสองตกเป็นโมฆะได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4902/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การวินิจฉัยประเด็นการเป็นเจ้าของรวมต้องพิจารณาเหตุผลที่อ้างร่วมด้วย แม้ศาลชั้นต้นมิได้ตั้งประเด็นไว้ ศาลอุทธรณ์ก็วินิจฉัยได้
ศาลชั้นต้นตั้งประเด็นข้อพิพาทไว้เพียงว่า โจทก์เป็นเจ้าของรวมในที่ดินพิพาทหรือไม่ แต่ในการวินิจฉัยประเด็นดังกล่าว ก็ต้องพิจารณาคำฟ้องและคำให้การด้วยว่าที่โจทก์อ้างว่าเป็นเจ้าของรวมนั้นโจทก์อ้างโดยอาศัยเหตุอะไรและจำเลยยอมรับหรือไม่เมื่อโจทก์ฟ้องขอให้ใส่ชื่อโจทก์เป็นเจ้าของรวมในที่ดินพิพาทร่วมกับจำเลยโดยอ้างว่าเป็นทรัพย์สินที่โจทก์ทำมาหาได้ร่วมกันในระหว่างที่อยู่กินฉันสามีภริยากับจำเลย จำเลยให้การปฏิเสธ จึงต้องวินิจฉัยข้ออ้างของโจทก์เสียก่อนว่ารับฟังได้หรือไม่ หากรับฟังได้โจทก์ก็ย่อมมีสิทธิขอให้ใส่ชื่อโจทก์ในที่ดินพิพาทในฐานะเจ้าของรวม หากรับฟังไม่ได้โจทก์ก็ต้องแพ้คดี ประเด็นที่ว่าโจทก์ได้อยู่กินฉันสามีภริยากับจำเลยหรือเป็นภริยาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายของจำเลยหรือไม่ จึงเกี่ยวกับประเด็นข้อพิพาทที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้และนำไปสู่การวินิจฉัยประเด็นเรื่องการเป็นเจ้าของรวมของโจทก์ แม้ศาลชั้นต้นจะมิได้กำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาทและมิได้วินิจฉัย ศาลอุทธรณ์ก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ไม่ถือว่าเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4902/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเป็นเจ้าของรวมในที่ดินที่ได้มาขณะอยู่กินฉันสามีภริยา แม้ไม่ได้จดทะเบียนสมรส
โจทก์เป็นภริยาจำเลยโดยมิได้จดทะเบียนสมรส ทรัพย์สินต่าง ๆ ที่หามาได้ระหว่างที่อยู่กินด้วยกันโจทก์ย่อมมีส่วนเป็นเจ้าของอยู่ด้วยกึ่งหนึ่งในฐานะเจ้าของรวม
แม้ศาลชั้นต้นจะตั้งประเด็นข้อพิพาทไว้เพียงว่า โจทก์เป็นเจ้าของรวมในที่ดินพิพาทตามฟ้องหรือไม่ แต่ในการวินิจฉัยประเด็นดังกล่าวศาลก็ต้องพิจารณาคำฟ้องและคำให้การของโจทก์และจำเลยด้วยว่าโจทก์อ้างว่าเป็นเจ้าของรวมนั้น โจทก์อ้างโดยอาศัยเหตุอะไรและจำเลยยอมรับหรือไม่ คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้ใส่ชื่อโจทก์เป็นเจ้าของรวมในที่ดินพิพาทร่วมกับจำเลยโดยอ้างเหตุว่าที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์สินที่โจทก์ทำมาหาได้ร่วมกันในระหว่างที่อยู่กินฉันสามีภริยากับจำเลย ซึ่งข้ออ้างดังกล่าวจำเลยให้การปฏิเสธ ดังนั้น ในการวินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทดังกล่าวจึงต้องวินิจฉัยข้ออ้างของโจทก์เสียก่อนว่ารับฟังได้ดังที่กล่าวในฟ้องหรือไม่ หากรับฟังได้โจทก์ก็ย่อมมีสิทธิขอให้ใส่ชื่อโจทก์ในที่ดินพิพาทในฐานะเจ้าของรวม หากรับฟังไม่ได้โจทก์ก็ต้องแพ้คดี ประเด็นที่ว่าโจทก์ได้อยู่กินฉันสามีภรรยากับจำเลยหรือเป็นภริยาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายของจำเลยหรือไม่จึงเกี่ยวกับประเด็นข้อพิพาทที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้และเป็นประเด็นสำคัญที่จะนำไปสู่การวินิจฉัยประเด็นเรื่องการเป็นเจ้าของรวมของโจทก์ แม้ศาลชั้นต้นจะมิได้กำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาทและมิได้วินิจฉัย ศาลอุทธรณ์ภาค 7 ก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ ไม่ถือว่าเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นแต่อย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4902/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเป็นเจ้าของรวมในที่ดินที่ได้มาขณะอยู่กินฉันสามีภริยา แม้ไม่ได้จดทะเบียนสมรส
ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทเพียงว่า โจทก์เป็นเจ้าของรวมในที่ดินพิพาทตามฟ้องหรือไม่ ในการวินิจฉัยประเด็นดังกล่าวศาลต้องพิจารณาคำฟ้องและคำให้การด้วยว่า ที่โจทก์อ้างว่าเป็นเจ้าของรวมนั้นอ้างโดยอาศัยเหตุอะไรและจำเลยยอมรับหรือไม่คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้ใส่ชื่อโจทก์เป็นเจ้าของรวมในที่ดินพิพาทร่วมกับจำเลยโดยอ้างว่าที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์สินที่โจทก์ทำมาหาได้ในระหว่างที่อยู่กินฉันสามีภริยากับจำเลยซึ่งข้ออ้างดังกล่าวจำเลยให้การปฏิเสธ ดังนั้น ในการวินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทดังกล่าวจึงต้องวินิจฉัยข้ออ้างของโจทก์ก่อนว่ารับฟังได้ดังที่กล่าวในฟ้องหรือไม่ ประเด็นที่ว่าโจทก์ได้อยู่กินฉันสามีภริยากับจำเลยหรือเป็นภริยาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายของจำเลยหรือไม่จึงเกี่ยวกับประเด็นข้อพิพาทที่กำหนดไว้และเป็นประเด็นสำคัญที่นำไปสู่การวินิจฉัยประเด็นเรื่องการเป็นเจ้าของรวมของโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4902/2545 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเป็นเจ้าของรวมในที่ดินที่ได้มาขณะอยู่กินฉันสามีภริยา แม้ไม่ได้จดทะเบียนสมรส
โจทก์เป็นภริยาจำเลยโดยมิได้จดทะเบียนสมรส ทรัพย์สินต่าง ๆ ที่หามาได้ระหว่างที่อยู่กินด้วยกันโจทก์ย่อมมีส่วนเป็นเจ้าของอยู่ด้วยกึ่งหนึ่งในฐานะเจ้าของรวม
แม้ศาลชั้นต้นจะตั้งประเด็นข้อพิพาทไว้เพียงว่า โจทก์เป็นเจ้าของรวมในที่ดินพิพาทตามฟ้องหรือไม่ แต่ในการวินิจฉัยประเด็นดังกล่าวศาลก็ต้องพิจารณาคำฟ้องและคำให้การของโจทก์และจำเลยด้วยว่าโจทก์อ้างว่าเป็นเจ้าของรวมนั้นโจทก์อ้างโดยอาศัยเหตุอะไรและจำเลยยอมรับหรือไม่ คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้ใส่ชื่อโจทก์เป็นเจ้าของรวมในที่ดินพิพาทร่วมกับจำเลยโดยอ้างเหตุว่าที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์สินที่โจทก์ทำมาหาได้ร่วมกันในระหว่างที่อยู่กินฉันสามีภริยากับจำเลย ซึ่งข้ออ้างดังกล่าวจำเลยให้การปฏิเสธ ดังนั้น ในการวินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทดังกล่าวจึงต้องวินิจฉัยข้ออ้างของโจทก์เสียก่อนว่ารับฟังได้ดังที่กล่าวในฟ้องหรือไม่ หากรับฟังได้โจทก์ก็ย่อมมีสิทธิขอให้ใส่ชื่อโจทก์ในที่ดินพิพาทในฐานะเจ้าของรวม หากรับฟังไม่ได้โจทก์ก็ต้องแพ้คดี ีประเด็นที่ว่าโจทก์ได้อยู่กินฉันสามีภรรยากับจำเลยหรือเป็นภริยาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายของจำเลยหรือไม่จึงเกี่ยวกับประเด็นข้อพิพาทที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้และเป็นประเด็นสำคัญที่จะนำไปสู่การวินิจฉัยประเด็นเรื่องการเป็นเจ้าของรวมของโจทก์ แม้ศาลชั้นต้นจะมิได้กำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาทและมิได้วินิจฉัย ศาลอุทธรณ์ภาค 7 ก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ ไม่ถือว่าเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นแต่อย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4549/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องของนิติบุคคลและผู้มีอำนาจกระทำการ, ฟ้องเคลือบคลุม, การกระทำแทนบริษัท
ฟ้องโจทก์ระบุว่า โจทก์ที่ 1 มีฐานะเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายแห่งประเทศสหพันธรัฐรัสเซีย ประเภทบริษัทจำกัด ใช้ชื่อว่าบริษัท ว. จำกัด มี ม. เป็นเจ้าของแต่ผู้เดียวและเป็นผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ที่ 1 โจทก์ที่ 2 ในฐานะผู้แทนโจทก์ที่ 1 และในฐานะส่วนตัวได้ติดต่อสั่งซื้อสินค้าประเภทเครื่องหนังและรองเท้ากับจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 ในฐานะกรรมการและผู้แทนของจำเลยที่ 2 ขายสินค้าให้โจทก์ภายหลังโจทก์พบว่า สินค้าของจำเลยชำรุดบกพร่อง ได้แจ้งให้จำเลยทั้งสามทราบและรับผิดชอบชดใช้ค่าเสียหาย แต่จำเลยเพิกเฉย คำฟ้องโจทก์ได้กล่าวบรรยายถึงฐานะโจทก์สภาพแห่งข้อหา คำขอบังคับและข้ออ้างอันเป็นหลักแห่งข้อหาแล้ว คำฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
แม้โจทก์ที่ 1 เป็นนิติบุคคล ในคำฟ้องก็ไม่จำต้องระบุชื่อผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ที่ 1 ในช่องชื่อโจทก์ เป็นเรื่องที่โจทก์ต้องบรรยายในคำฟ้องอยู่แล้ว และตามคำฟ้องของโจทก์ทั้งสองได้บรรยายไว้แล้วว่า โจทก์ที่ 2 เป็นผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ที่ 1แต่เพียงผู้เดียว โจทก์ที่ 1 จึงมีอำนาจฟ้อง
โจทก์ที่ 2 กระทำการแทนบริษัทโจทก์ที่ 1 เมื่อสัญญาพิพาทเป็นสัญญาที่โจทก์ที่ 1ซึ่งเป็นนิติบุคคลทำขึ้นโดยผู้มีอำนาจกระทำการเป็นผู้ทำแทนจึงย่อมผูกพันเฉพาะโจทก์ที่ 1 และเฉพาะโจทก์ที่ 1 เท่านั้น มีอำนาจฟ้องคดีได้ ผู้มีอำนาจกระทำการแทนจะฟ้องคดีในนามของตนเองแทนโจทก์ที่ 1 ตามสัญญานั้นไม่ได้ โจทก์ที่ 2 จึงไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4312/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความการกู้ยืมเงินเริ่มนับจากวันผิดสัญญาชำระดอกเบี้ย แม้ยังไม่ถึงกำหนดชำระเงินต้น
การกู้ยืมเงินมิได้กำหนดอายุความโดยเฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164(เดิม) และตามมาตรา 169(เดิม)บัญญัติว่า "อายุความให้เริ่มนับแต่ขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องเป็นต้นไป" เมื่อสัญญากู้เงิน ข้อ 4 กำหนดให้จำเลยจะต้องชำระดอกเบี้ยให้โจทก์เดือนแรกภายในวันที่30 พฤศจิกายน 2527 การที่จำเลยไม่ได้ชำระดอกเบี้ยให้โจทก์เลยจึงเป็นการผิดสัญญาซึ่งสัญญากู้เงินข้อ 6 ระบุว่า โจทก์ฟ้องเรียกต้นเงินและดอกเบี้ยได้ ถือได้ว่า ระยะเวลาซึ่งโจทก์อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เริ่มนับตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2527 เป็นต้นไป โดยไม่จำต้องรอจนครบกำหนดชำระเงินคืนตามสัญญา อายุความจึงเริ่มนับตั้งแต่วันดังกล่าวโจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2538 เกิน 10 ปี ฟ้องโจทก์จึงขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4312/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความการกู้ยืมเงิน: เริ่มนับจากวันผิดสัญญาชำระดอกเบี้ย แม้ยังไม่ถึงกำหนดชำระต้นเงิน
การกู้ยืมเงินกฎหมายมิได้กำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 เดิม (มาตรา 193/30 ที่แก้ไขใหม่) และตามมาตรา 169 เดิม (มาตรา 193/12 ที่แก้ไขใหม่) บัญญัติว่า "อายุความให้เริ่มนับแต่ขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไป?" เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่ได้ชำระดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ตั้งแต่งวดแรก คือ วันที่ 30 พฤศจิกายน 2527 จำเลยที่ 1 จึงตกเป็นผู้ผิดนัดและประพฤติผิดสัญญากู้เงิน โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้ทั้งหมดได้ทันทีตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2527 โดยไม่จำต้องรอให้ครบกำหนดชำระต้นเงินคืน อายุความจึงเริ่มนับตั้งแต่วันดังกล่าว โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2538 นับจากวันที่ 1 ธันวาคม 2527 ถึงวันฟ้องเกิน 10 ปี ฟ้องโจทก์จึงขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4050/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการใช้ทางภาระจำยอมและการจัดการโดยเจ้าของที่ดิน การเรียกเก็บค่าจอดรถและการใช้ประโยชน์เกินสมควร
โจทก์ทั้งยี่สิบห้าเป็นเจ้าของอาคารพาณิชย์ในศูนย์การค้าซึ่งจำเลยที่ 1 เป็นผู้จัดสรรขาย ภายในศูนย์การค้ามีถนนรวม 6 สาย ซึ่งเป็นสาธารณูปโภคที่จำเลยที่ 1 จัดทำขึ้น และเป็นภาระจำยอมเข้าออกสู่ถนนสาธารณะ ต่อมาจำเลยที่ 1 ก่อสร้างป้อมยามและเหล็กกั้นทางเข้าออกทั้งหมด รถของบุคคลภายนอกที่จะผ่านเข้าออกจะต้องรับบัตรจาก เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยของจำเลยที่ 1 และจะต้องเสียเงินค่าจอดรถตามระยะเวลาที่จอด แม้ประกาศของ คณะปฏิวัติ ฉบับที่ 286 ข้อ 30 วรรคหนึ่ง จะกำหนดให้เป็นหน้าที่ของผู้จัดสรรที่ดินที่จะต้องบำรุงรักษาสาธารณูปโภคให้คงสภาพดังเช่นที่ได้จัดทำขึ้นตลอดไป แต่ก็มิได้หมายความว่าจำเลยที่ 1 จะหารายได้จากสาธารณูปโภคดังกล่าวเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษามิได้ เพียงแต่ต้องไม่เป็นเหตุให้ประโยชน์แห่งภาระจำยอมลดไปหรือเสื่อมความสะดวก ส่วนโจทก์ทั้งยี่สิบห้าผู้ใช้ภาระจำยอมก็ต้องใช้เท่าที่จำเป็นตามสมควร มิใช่ใช้ได้โดยไม่มีขีดจำกัด
เสียงส่วนใหญ่ของการประชุมผู้อยู่อาศัยในศูนย์การค้าเมโทรตกลงให้จำเลยที่ 1 จัดการจราจรในศูนย์การค้า เมโทร หลังจากจำเลยที่ 1 ก่อสร้างป้อมยามและเหล็กกั้นทางเข้าออก โดยมีพนักงานเก็บค่าจอดรถแล้ว จำเลยที่ 1 จัดสติกเกอร์ให้แก่ผู้อยู่อาศัยในศูนย์การค้าเมโทรสำหรับติดรถยนต์และรถจักรยานยนต์สติกเกอร์ดังกล่าวสามารถใช้เข้าออกได้ทุกทางตลอดเวลาโดยสะดวกและไม่ต้องเสียเงินค่าจอดรถนับได้ว่าจำเลยที่ 1 ให้ใช้ภาระจำยอมเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินทุกแปลงภายในศูนย์การค้าเมโทรเท่าที่จำเป็นตามสมควรแล้ว แต่โจทก์ทั้งยี่สิบห้าประสงค์ให้จำเลยที่ 1 ไม่เรียกเก็บเงินค่าจอดรถสำหรับรถทุกคันของโจทก์ทั้งยี่สิบห้าแม้จะมีรถจำนวนมากเท่าใดก็ตาม ซึ่งเห็นได้ว่าเป็นการใช้ประโยชน์แห่งภาระจำยอมเกินสมควร การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงไม่เป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ทั้งยี่สิบห้า และไม่ทำให้การใช้ประโยชน์แห่งภาระจำยอมลดไปหรือเสื่อมความสะดวก
การที่โจทก์ทั้งยี่สิบห้านำแผงเหล็กปิดกั้นบนถนนหน้าอาคารพาณิชย์ของโจทก์ทั้งยี่สิบห้า หรือบางรายจอดรถจักรยานยนต์หรือวางวัสดุบนทางเท้า เป็นการทำให้เกิดภาระเพิ่มขึ้นแก่ภารยทรัพย์ โจทก์ทั้งยี่สิบห้าไม่มีอำนาจกระทำได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1388 และมาตรา 1389
of 30