คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สมชัย เกษชุมพล

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 292 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4050/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการใช้ทางภาระจำยอมและการจัดการโดยเจ้าของที่ดิน การเรียกเก็บค่าจอดรถและการใช้ประโยชน์เกินสมควร
โจทก์ทั้งยี่สิบห้าเป็นเจ้าของอาคารพาณิชย์ในศูนย์การค้าซึ่งจำเลยที่ 1 เป็นผู้จัดสรรขาย ภายในศูนย์การค้ามีถนนรวม 6 สาย ซึ่งเป็นสาธารณูปโภคที่จำเลยที่ 1 จัดทำขึ้น และเป็นภาระจำยอมเข้าออกสู่ถนนสาธารณะ ต่อมาจำเลยที่ 1 ก่อสร้างป้อมยามและเหล็กกั้นทางเข้าออกทั้งหมด รถของบุคคลภายนอกที่จะผ่านเข้าออกจะต้องรับบัตรจาก เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยของจำเลยที่ 1 และจะต้องเสียเงินค่าจอดรถตามระยะเวลาที่จอด แม้ประกาศของ คณะปฏิวัติ ฉบับที่ 286 ข้อ 30 วรรคหนึ่ง จะกำหนดให้เป็นหน้าที่ของผู้จัดสรรที่ดินที่จะต้องบำรุงรักษาสาธารณูปโภคให้คงสภาพดังเช่นที่ได้จัดทำขึ้นตลอดไป แต่ก็มิได้หมายความว่าจำเลยที่ 1 จะหารายได้จากสาธารณูปโภคดังกล่าวเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษามิได้ เพียงแต่ต้องไม่เป็นเหตุให้ประโยชน์แห่งภาระจำยอมลดไปหรือเสื่อมความสะดวก ส่วนโจทก์ทั้งยี่สิบห้าผู้ใช้ภาระจำยอมก็ต้องใช้เท่าที่จำเป็นตามสมควร มิใช่ใช้ได้โดยไม่มีขีดจำกัด
เสียงส่วนใหญ่ของการประชุมผู้อยู่อาศัยในศูนย์การค้าเมโทรตกลงให้จำเลยที่ 1 จัดการจราจรในศูนย์การค้า เมโทร หลังจากจำเลยที่ 1 ก่อสร้างป้อมยามและเหล็กกั้นทางเข้าออก โดยมีพนักงานเก็บค่าจอดรถแล้ว จำเลยที่ 1 จัดสติกเกอร์ให้แก่ผู้อยู่อาศัยในศูนย์การค้าเมโทรสำหรับติดรถยนต์และรถจักรยานยนต์สติกเกอร์ดังกล่าวสามารถใช้เข้าออกได้ทุกทางตลอดเวลาโดยสะดวกและไม่ต้องเสียเงินค่าจอดรถนับได้ว่าจำเลยที่ 1 ให้ใช้ภาระจำยอมเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินทุกแปลงภายในศูนย์การค้าเมโทรเท่าที่จำเป็นตามสมควรแล้ว แต่โจทก์ทั้งยี่สิบห้าประสงค์ให้จำเลยที่ 1 ไม่เรียกเก็บเงินค่าจอดรถสำหรับรถทุกคันของโจทก์ทั้งยี่สิบห้าแม้จะมีรถจำนวนมากเท่าใดก็ตาม ซึ่งเห็นได้ว่าเป็นการใช้ประโยชน์แห่งภาระจำยอมเกินสมควร การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงไม่เป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ทั้งยี่สิบห้า และไม่ทำให้การใช้ประโยชน์แห่งภาระจำยอมลดไปหรือเสื่อมความสะดวก
การที่โจทก์ทั้งยี่สิบห้านำแผงเหล็กปิดกั้นบนถนนหน้าอาคารพาณิชย์ของโจทก์ทั้งยี่สิบห้า หรือบางรายจอดรถจักรยานยนต์หรือวางวัสดุบนทางเท้า เป็นการทำให้เกิดภาระเพิ่มขึ้นแก่ภารยทรัพย์ โจทก์ทั้งยี่สิบห้าไม่มีอำนาจกระทำได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1388 และมาตรา 1389

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4050/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภารจำยอม - การใช้ประโยชน์เกินสมควร - การจัดระบบจราจรโดยจำเลยไม่เป็นการละเมิด
ถนนทั้ง 6 สาย ในศูนย์การค้าของจำเลยที่ 1 ไม่ใช่ทางสาธารณะยังคงเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 จึงมีอำนาจจัดการใช้สอยดำเนินการเกี่ยวกับถนนดังกล่าวได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1336 แม้ถนนทั้ง 6 สายจะเป็นภารจำยอมตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 286 ข้อ 30 วรรคหนึ่ง
ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 286 ข้อ 30 วรรคหนึ่ง ที่กำหนดให้เป็นหน้าที่ของผู้จัดสรรที่ดินที่จะต้องบำรุงรักษาสาธารณูปโภคให้คงสภาพดังเช่นที่ได้จัดทำขึ้นตลอดไป มิได้หมายความว่าจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินจะหารายได้จากสาธารณูปโภคดังกล่าวเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษามิได้เพียงแต่ต้องไม่เป็นเหตุให้ประโยชน์แห่งภารจำยอมลดไปหรือเสื่อมความสะดวก ส่วนโจทก์ทั้งยี่สิบห้าผู้ใช้ภารจำยอมก็ต้องใช้เท่าที่จำเป็นตามสมควร มิใช่ใช้ได้โดยไม่มีขีดจำกัด
จำเลยที่ 1 จัดสติกเกอร์ให้แก่ผู้อยู่อาศัยในศูนย์การค้าสำหรับติดรถยนต์และรถจักรยานยนต์ เพื่อนำรถเข้าไปจอดหรือเข้าออกในศูนย์การค้าได้ทุกทางตลอดเวลาโดยสะดวกและไม่ต้องเสียเงินค่าจอดรถ นับได้ว่าจำเลยที่ 1 ให้ใช้ภารจำยอมเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินทุกแปลงในศูนย์การค้าเท่าที่จำเป็นตามสมควรแล้ว การที่โจทก์ทั้งยี่สิบห้าประสงค์ให้จำเลยที่ 1 ไม่เรียกเก็บเงินค่าจอดรถสำหรับรถทุกคันของโจทก์ทั้งยี่สิบห้าแม้จะมีรถจำนวนมากเท่าใดย่อมเป็นการใช้ประโยชน์แห่งภารจำยอมเกินสมควร การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงไม่เป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ทั้งยี่สิบห้า และไม่ทำให้การใช้ประโยชน์แห่งภารจำยอมลดไปหรือเสื่อมความสะดวก
การที่โจทก์ทั้งยี่สิบห้านำแผงเหล็กปิดกั้นบนถนนหน้าอาคารพาณิชย์ของโจทก์ทั้งยี่สิบห้าหรือบางรายจอดรถจักรยานยนต์หรือวางวัสดุบนทางเท้า เป็นการทำให้เกิดภาระเพิ่มขึ้นแก่ภารยทรัพย์ โจทก์ทั้งยี่สิบห้าไม่มีอำนาจกระทำได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1388 และ 1389 จำเลยที่ 1 มีสิทธิห้ามได้ การที่จำเลยที่ 1 ไม่ดำเนินการก่อสร้างอาคารที่จอดรถตามที่ประกาศโฆษณาไว้ก็หาเป็นเหตุให้โจทก์ทั้งยี่สิบห้ามีอำนาจกระทำการดังกล่าวไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3772-3775/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ที่ดินพิพาทเป็นที่สาธารณประโยชน์ โจทก์ออกโฉนดโดยไม่ชอบ จำเลยมีสิทธิในที่ดินดีกว่า
ที่ดินพิพาทอยู่ในเขตที่ดินที่ประกาศให้เป็นที่หวงห้ามสำหรับประชาชนใช้เลี้ยงสัตว์สาธารณประโยชน์ จึงเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันการที่โจทก์ออกโฉนดที่ดินโดยอาศัยสิทธิจากการแจ้งการครอบครองภายหลังประกาศดังกล่าว แม้โจทก์จะซื้อมาโดยสุจริตและโฉนดที่ดินยังไม่ถูกเพิกถอนก็ตาม ก็หาทำให้โจทก์มีกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาท เมื่อโจทก์มิได้ครอบครองอยู่ก่อนแล้วจำเลยเข้าแย่งจากโจทก์ จำเลยจึงมีสิทธิในที่ดินพิพาทดีกว่าโจทก์
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยทั้งสี่อ้างว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ จำเลยทั้งสี่ต่อสู้คดีว่าที่ดินพิพาทเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดิน จึงเป็นกรณีที่ราษฎรฟ้องกันเองว่าที่ดินพิพาทเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินหรือไม่ เป็นคดีที่มีคำขอปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ โจทก์ต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์และฎีกาสำนวนละ200 บาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3538/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องละเมิดเริ่มนับแต่รู้ถึงการละเมิดและตัวผู้กระทำ แม้ยังไม่มีผลสอบสวน
ส. ผู้แทนโจทก์มีหนังสือถึงจำเลยที่ 2 เมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม 2530 โดยหนังสือดังกล่าวได้กล่าวถึงพฤติการณ์อันเป็นเหตุให้ทางราชการได้รับความเสียหายและระบุชื่อจำเลยที่ 1 ว่าเป็นผู้ทำให้ทางราชการได้รับความเสียหาย ทั้งขอให้ร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนเพื่อดำเนินคดีแก่จำเลยที่ 1 ด้วย ดังนั้นอายุความฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายอันเกิดแต่มูลละเมิดจากจำเลยที่ 1 จึงเริ่มนับแต่วันที่ 17 กรกฎาคม 2530 แม้ในวันดังกล่าวโจทก์จะยังมิได้ตั้งคณะกรรมการสอบสวนเพื่อพิจารณาหาตัวผู้รับผิดทางแพ่งก็ตาม หากข้อเท็จจริงปรากฏว่าโจทก์รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนแล้ว อายุความฟ้องร้องย่อมเริ่มนับแล้ว มิใช่ว่าจะต้องรอให้ได้รับรายงานผลการสอบสวนเพื่อพิจารณาหาตัวผู้รับผิดทางแพ่งก่อนเสมอไป โจทก์ฟ้องคดีเมื่อวันที่ 4 กันยายน 2532 เกินกว่า 1 ปี คดีโจทก์สำหรับจำเลยที่ 1 จึงขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3524/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญากู้เงิน: ข้อตกลงให้ชำระเพิ่มจากดอกเบี้ยตามอัตราแลกเปลี่ยน ถือเป็นดอกเบี้ยเกินอัตราเป็นโมฆะ
สัญญากู้เงินระหว่างโจทก์กับจำเลยระบุว่า จำเลยกู้เงินโจทก์ 500,000 บาทโดยมิได้ระบุให้ใช้เป็นเงินดอลลาร์สหรัฐแต่อย่างใด ส่วนข้อความที่ระบุว่า "วันนี้ 1 อัตราดอลลาร์อเมริกันเท่ากับ24.29บาทในกรณีที่เงินดอลลาร์อเมริกันมีอัตราเพิ่มสูงขึ้นผู้กู้ยอมชำระอัตราเพิ่มขึ้นด้วย" นั้น เป็นเพียงข้อตกลงที่ให้ผู้กู้ชำระเงินเพิ่มในกรณีที่เงินดอลลาร์สหรัฐมีอัตราแลกเปลี่ยนเพิ่มสูงขึ้น หาใช่เป็นการแสดงว่าเป็นการกู้เงินหรือต้องใช้เงินกู้เป็นเงินดอลลาร์สหรัฐไม่ จำเลยต้องชำระหนี้ตามจำนวนในสัญญาให้โจทก์เป็นเงินไทย ทั้งข้อตกลงดังกล่าวก็มิใช่เป็นเบี้ยปรับหรือการกำหนดค่าเสียหาย แต่เป็นการกำหนดให้ผู้กู้ต้องรับผิดเกินกว่าหนี้ที่ผู้กู้จะต้องชำระให้แก่ผู้ให้กู้อันเป็นการให้ค่าตอบแทนเพิ่มจากดอกเบี้ยที่ตกลงกันไว้ในอัตราร้อยละ 1.5 ต่อเดือน กรณีจึงต้องห้ามตามพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราฯ มาตรา 3 ประกอบประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 654 จึงตกเป็นโมฆะมิอาจบังคับได้ ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้จำเลยมิได้ฎีกาศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3255/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายที่ดิน: เจตนาคู่สัญญาสำคัญกว่าชื่อสัญญา หากยังไม่ส่งมอบทรัพย์สินและจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ ไม่ถือเป็นสัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาด
แม้หนังสือสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยจะระบุชื่อสัญญาว่าเป็นหนังสือสัญญาซื้อขาย อันจะแปลได้ว่าเป็นสัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาดก็ตาม แต่เมื่อพิจารณาเนื้อหาข้อตกลงในสัญญาซึ่งคู่สัญญาตกลงกันว่าในระหว่างที่ผู้ขายยังไม่ส่งมอบทรัพย์สินที่ขายให้แก่ผู้ซื้อให้ถือว่ายังไม่มีการซื้อขาย แสดงว่าก่อนส่งมอบทรัพย์สินยังไม่มีการซื้อขาย ทั้งที่ดินที่ซื้อขายกันก็เป็นที่ดินที่มีหลักฐานเป็นโฉนดที่ดิน ฉะนั้น การส่งมอบทรัพย์สิน นอกจากจะส่งมอบตัวทรัพย์คือที่ดินแล้วยังต้องมีการแบ่งแยกโฉนดที่ดินแล้วจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ให้จำเลย และจำเลยจะชำระราคาส่วนที่เหลือในวันที่โจทก์ส่งมอบที่ดินให้ตามข้อตกลงในสัญญา แสดงว่าคู่สัญญามีเจตนาจะไปโอนทรัพย์สินที่ซื้อขายกันในภายหลัง หามีเจตนาจะให้กรรมสิทธิ์ในที่ดินโอนจากผู้ขายไปยังผู้ซื้อทันทีในวันทำสัญญาไม่ สัญญาซื้อขายดังกล่าวจึงเป็นสัญญาจะซื้อจะขาย ไม่ใช่สัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3255/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขาย vs. สัญญาจะซื้อจะขาย: การโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินต้องส่งมอบและจดทะเบียน
แม้หนังสือสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยจะระบุชื่อสัญญาว่าเป็นหนังสือสัญญาซื้อขาย อันจะแปลได้ว่าเป็นสัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาดก็ตาม แต่เมื่อพิจารณาเนื้อหาข้อตกลงในสัญญาซึ่งคู่สัญญาตกลงกันว่าในระหว่างที่ผู้ขายยังไม่ส่งมอบทรัพย์สินที่ขายให้แก่ผู้ชื้อให้ถือว่ายังไม่มีการซื้อขาย แสดงว่าก่อนส่งมอบทรัพย์สินยังไม่มีการซื้อขาย ทั้งที่ดินที่ซื้อขายกันก็เป็นที่ดินที่มีหลักฐานเป็นโฉนดที่ดิน ฉะนั้น การส่งมอบทรัพย์สิน นอกจากจะส่งมอบตัวทรัพย์คือที่ดินแล้ว ยังต้องมีการแบ่งแยกโฉนดที่ดินแล้วจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ให้จำเลย และจำเลยจะชำระราคาส่วนที่เหลือในวันที่โจทก์ส่งมอบที่ดินให้ตามข้อตกลงในสัญญา แสดงว่าคู่สัญญามีเจตนาจะไปโอนทรัพย์สินที่ซื้อขายกันในภายหลัง หามีเจตนาจะให้กรรมสิทธิ์ในที่ดินโอนจากผู้ขายไปยังผู้ซื้อทันทีในวันทำสัญญาไม่ สัญญาซื้อขายดังกล่าวจึงเป็นสัญญาจะซื้อจะขาย ไม่ใช่สัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3255/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายต้องมีการส่งมอบทรัพย์สินและจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์จึงจะสมบูรณ์ หากยังไม่ส่งมอบถือเป็นสัญญาจะซื้อจะขาย
สัญญาซื้อขายระบุชื่อสัญญาว่าเป็นหนังสือสัญญาซื้อขายแต่เนื้อหาข้อตกลงในสัญญา ซึ่งตกลงกันว่าในระหว่างที่ผู้ขายยังไม่ส่งมอบทรัพย์สินที่ขายให้แก่ผู้ซื้อให้ถือว่ายังไม่มีการซื้อขายแสดงว่าก่อนส่งมอบทรัพย์สินยังไม่มีการซื้อขาย ที่ดินที่ซื้อขายก็มีหลักฐานเป็นโฉนดที่ดิน การส่งมอบทรัพย์สินนอกจากจะส่งมอบตัวทรัพย์คือที่ดินแล้วยังต้องมีการแบ่งแยกโฉนดที่ดินแล้วจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ให้จำเลยและจำเลยจะชำระเงินส่วนที่เหลือในวันที่โจทก์ส่งมอบที่ดิน คู่สัญญามีเจตนาจะไปโอนทรัพย์สินที่ซื้อขายกันในภายหลัง หามีเจตนาจะให้กรรมสิทธิ์โอนจากผู้ขายไปยังผู้ซื้อทันทีในวันทำสัญญาไม่ จึงเป็นสัญญาจะซื้อจะขายไม่ใช่สัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2981/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนับระยะเวลาอุทธรณ์หลังขยายเวลา: ศาลพิพากษายกคำสั่งรับอุทธรณ์เมื่อยื่นเกินกำหนด
ครบกำหนดยื่นอุทธรณ์วันที่ 5 ธันวาคม 2541 จำเลยยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ออกไปอีก 20 วัน นับแต่วันครบอุทธรณ์ ศาลชั้นต้นอนุญาตตามขอ การนับระยะเวลาที่ขอขยายออกไปจึงต้องนับจากวันครบกำหนดระยะเวลาเดิมคือต่อจากวันที่5 โดยเริ่มต้นนับตั้งแต่วันที่ 6 ธันวาคม 2541 เป็นต้นไปโดยไม่ต้องคำนึงว่าวันที่ 6,7และ 8 ธันวาคม 2541 จะตรงกับวันหยุดทำการหรือไม่เพราะวันดังกล่าวไม่ใช่วันสุดท้ายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/8 เมื่อเริ่มนับระยะเวลาอุทธรณ์ที่ขอขยายครั้งแรกคือวันที่ 6 ธันวาคม 2541 จะครบกำหนด 20 วัน ในวันที่ 25 ธันวาคม2541 จำเลยยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ครั้งที่ 2 และศาลชั้นต้นอนุญาตให้ 10วัน นับถัดจากวันครบกำหนดที่อนุญาตครั้งแรก การนับระยะเวลาที่ขยายออกไปในครั้งหลังจึงต้องนับตั้งแต่วันที่ 26 ธันวาคม 2541 เป็นต้นไป ซึ่งจะครบกำหนด 10 วัน ในวันที่ 4 มกราคม 2542 จำเลยยื่นอุทธรณ์วันที่ 6 มกราคม 2542 จึงเกินกำหนดระยะเวลาอุทธรณ์ที่ศาลชั้นต้นสั่งขยายให้แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2981/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขยายระยะเวลาอุทธรณ์: การนับระยะเวลาตามกฎหมายและการพิจารณาวันหยุดทำการ
คดีครบกำหนดยื่นอุทธรณ์ภายใน 1 เดือน คือวันที่ 5 ธันวาคม 2541 เมื่อจำเลยทั้งสองยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ออกไปอีก 20 วัน นับแต่วันครบอุทธรณ์และศาลชั้นต้นอนุญาตตามขอ จึงต้องนับต่อจากวันครบกำหนดระยะเวลาเดิมคือต่อจากวันที่ 5 โดยเริ่มนับตั้งแต่วันที่ 6 ธันวาคม 2541 เป็นต้นไป โดยไม่ต้องคำนึงว่าวันที่ 6 , 7 และ 8 ธันวาคม 2541 จะตรงกับวันหยุดทำการหรือไม่ เพราะวันเวลาดังกล่าวไม่ใช่วันสุดท้ายตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/8
of 30