พบผลลัพธ์ทั้งหมด 61 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5513/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจ่ายเงินฌาปนกิจสงเคราะห์แก่ผู้ที่ศาลสั่งให้เป็นคนสาบสูญ มีผลเช่นเดียวกับการตาย
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 62 บัญญัติว่าบุคคลซึ่งศาลได้มีคำสั่งให้เป็นคนสาบสูญ ให้ถือว่าถึงแก่ความตายเมื่อครบกำหนดระยะเวลาดังที่ระบุไว้ในมาตรา 61 ดังนั้น ผลแห่งความตายเพราะสาบสูญจึงมีเช่นเดียวกับการตายธรรมดาคือสิ้นสภาพบุคคลและเกิดผลตามมาในเรื่องทรัพย์สินที่เป็นทรัพย์มรดกตกได้แก่ทายาท รวมตลอดถึงสิทธิหน้าที่ความรับผิดที่ผู้ตายจะต้องได้รับนับแต่มีคำสั่งศาลแสดงว่าเป็นคนสาบสูญ ทั้งตามพระราชบัญญัติการฌาปนกิจสงเคราะห์ พ.ศ.2545 มาตรา 4 การฌาปนกิจสงเคราะห์ครอบครัวของบุคคลใดบุคคลหนึ่งที่ตกลงเข้าร่วมกันนั้นซึ่งถึงแก่ความตาย และมิได้ประสงค์จะหากำไรหรือรายได้เพื่อแบ่งปันกัน ดังนั้น การที่ ล. ถูกศาลสั่งให้เป็นคนสาบสูญจึงมีผลเท่ากับ ล. ถึงแก่ความตายเมื่อ ล. เป็นสมาชิกของสมาคมฌาปนกิจสงเคราะห์จำเลย ย่อมมีสิทธิที่จะได้รับเงินฌาปนกิจสงเคราะห์เพื่อจัดการศพและสงเคราะห์ครอบครัว โดยโจทก์ซึ่งเป็นภริยา ล. เป็นผู้ได้รับผลประโยชน์ดังกล่าวแม้ไม่มีศพที่จะต้องจัดการก็ต้องจ่ายเงินค่าจัดการศพ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4692/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนผู้จัดการมรดก: เหตุผลความจำเป็นในการจัดการทรัพย์สินและหนี้สินกองมรดก
ผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกตามคำสั่งศาลยังมีภาระหน้าที่ที่จะต้องรวบรวมทรัพย์มรดกซึ่งมีจำนวนมากมายหลายรายการ ต่อสู้คดีที่ถูกเจ้าหนี้กองมรดกฟ้องให้ชำระหนี้แทนกองมรดก รวมทั้งบริหารจัดการบริษัทกล้วยไม้สืบแทนเจ้ามรดก เมื่อภาระหน้าที่ดังกล่าวยังไม่ลุล่วง ผู้ร้องย่อมจะไม่สามารถลงมือจัดทำบัญชีทรัพย์มรดกภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้ฟังคำสั่งศาลตั้งให้เป็นผู้จัดการมรดกตาม ป.พ.พ. มาตรา 1728 (2) ประกอบมาตรา 1716 โดยให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งเดือนตามมาตรา 1729 นับแต่เวลาที่ระบุไว้ในมาตรา 1728 เพราะมีอุปสรรคขัดขวาง มิใช่ผู้ร้องละเลย ส่วนข้อที่ผู้คัดค้านอ้างว่าเป็นเพราะผู้ร้องมีเจตนาปกปิดไม่ให้ผู้คัดค้านล่วงรู้ว่าเจ้ามรดกมีทรัพย์มรดกมากเพื่อปิดบังทรัพย์มรดกนั้น ผู้คัดค้านมิได้นำสืบพยานใดสนับสนุนข้อกล่าวอ้างของตนตามภาระการพิสูจน์ใน ป.วิ.พ. มาตรา 84 (1) พยานหลักฐานของผู้คัดค้านจึงไม่พอรับฟัง แม้ผู้ร้องไปขอรับเงินฝากอันเป็นมรดกของเจ้ามรดกจากธนาคาร ตามหนังสือทายาทขอรับมรดก แต่ความก็ปรากฏจากเอกสารฉบับนั้นว่าผู้ร้องขอรับเงินในฐานะผู้จัดการมรดก มิได้กระทำเป็นการส่วนตัว ส่วนการรับโอนที่ดินมรดกก็ปรากฏจากคำร้องขอถอนผู้จัดการมรดกของผู้คัดค้านเองว่าผู้ร้องดำเนินการในฐานะผู้จัดการมรดกเช่นกัน จึงไม่ใช่การกระทำที่ส่อว่าเป็นการทุจริตหรือปิดบังทรัพย์มรดก ที่ผู้ร้องยังมิได้แบ่งปันทรัพย์มรดกแก่ทายาทก็เนื่องจากกองมรดกมีหนี้สิน ดังนั้น ตราบใดที่เจ้าหนี้กองมรดกยังไม่ได้รับชำระหนี้ ป.พ.พ. มาตรา 1736 วรรคหนึ่ง ให้ถือว่าทรัพย์มรดกยังคงอยู่ในระหว่างจัดการ โดยในวรรคสองกำหนดว่าในระหว่างเวลาเช่นว่านั้นผู้จัดการมรดกชอบที่จะทำการใด ๆ ในทางจัดการตามที่จำเป็นได้ เช่น แก้ฟ้องในศาลและอื่น ๆ และเมื่อเจ้าหนี้กองมรดกได้รับชำระหนี้แล้วผู้จัดการมรดกต้องทำการแบ่งปันมรดก แม้กระนั้นมาตรา 1744 ยังบัญญัติรับรองต่อไปว่า ผู้จัดการมรดกไม่จำต้องส่งมอบทรัพย์มรดกหรือส่วนใดส่วนหนึ่งแห่งทรัพย์มรดกให้แก่ทายาทก่อนปีหนึ่งนับแต่วันที่เจ้ามรดกถึงแก่ความตาย เว้นแต่เจ้าหนี้กองมรดกที่ปรากฏตัวได้รับชำระหนี้แล้วทุกคน ดังนั้น การกระทำของผู้ร้องจึงมิใช่ละเลยไม่ทำการตามหน้าที่ผู้จัดการมรดก
ป.พ.พ. มาตรา 1713 เพียงแต่กำหนดเหตุที่ทายาทหรือผู้มีส่วนได้เสีย รวมทั้งพนักงานอัยการอาจร้องต่อศาลขอให้ตั้งผู้จัดการมรดกในกรณีต่างๆ เท่านั้น และถ้าไม่มีข้อกำหนดพินัยกรรมก็ให้ศาลตั้งเพื่อประโยชน์แก่กองมรดกตามพฤติการณ์และโดยคำนึงถึงเจตนาของเจ้ามรดกมิได้กำหนดให้ผู้ร้องต้องเสนอบัญชีทายาทโดยธรรมผู้มีสิทธิได้รับมรดกต่อศาลด้วยในคราวเดียวกัน หากแต่แยกกำหนดไว้ในมาตรา 1725 ว่า ผู้จัดการมรดกต้องสืบหาโดยสมควรซึ่งตัวผู้มีส่วนได้เสียและแจ้งไปให้ทราบถึงข้อกำหนดพินัยกรรมที่เกี่ยวกับผู้นั้นภายในเวลาอันสมควร การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดก เช่นนั้นในขณะที่ยังไม่มีภาระหน้าที่ผู้จัดการมรดก จึงมิใช่การปกปิดข้อเท็จจริงในเรื่องทายาทของเจ้ามรดกและไม่เป็นเหตุที่ศาลอาจถอนผู้ร้องจากการเป็นผู้จัดการมรดก
ป.พ.พ. มาตรา 1713 เพียงแต่กำหนดเหตุที่ทายาทหรือผู้มีส่วนได้เสีย รวมทั้งพนักงานอัยการอาจร้องต่อศาลขอให้ตั้งผู้จัดการมรดกในกรณีต่างๆ เท่านั้น และถ้าไม่มีข้อกำหนดพินัยกรรมก็ให้ศาลตั้งเพื่อประโยชน์แก่กองมรดกตามพฤติการณ์และโดยคำนึงถึงเจตนาของเจ้ามรดกมิได้กำหนดให้ผู้ร้องต้องเสนอบัญชีทายาทโดยธรรมผู้มีสิทธิได้รับมรดกต่อศาลด้วยในคราวเดียวกัน หากแต่แยกกำหนดไว้ในมาตรา 1725 ว่า ผู้จัดการมรดกต้องสืบหาโดยสมควรซึ่งตัวผู้มีส่วนได้เสียและแจ้งไปให้ทราบถึงข้อกำหนดพินัยกรรมที่เกี่ยวกับผู้นั้นภายในเวลาอันสมควร การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดก เช่นนั้นในขณะที่ยังไม่มีภาระหน้าที่ผู้จัดการมรดก จึงมิใช่การปกปิดข้อเท็จจริงในเรื่องทายาทของเจ้ามรดกและไม่เป็นเหตุที่ศาลอาจถอนผู้ร้องจากการเป็นผู้จัดการมรดก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4691/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องเพิกถอนการขายทอดตลาดสถาบันการเงิน: มาตรา 30 จัตวา แห่ง พ.ร.ก.ปฏิรูประบบสถาบันการเงิน
การขายทอดตลาดอาคารพาณิชย์ของจำเลยที่ 2 ซึ่งดำเนินการโดยองค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงินจำเลยที่ 1 เพื่อชำระบัญชีต้องอยู่ภายใต้บังคับของพระราชกำหนดการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน พ.ศ.2540 ซึ่งเป็นกฎหมายที่บัญญัติไว้เป็นการเฉพาะ เมื่อกฎหมายดัวกล่าวในมาตรา 30 จัตวา บัญญัติว่าการเพิกถอนการโอนทรัพย์สินที่ได้ขายตามวิธีที่กำหนดไว้ในมาตรา 30 ทวิ จะกระทำไม่ได้ โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องเพิกถอนการโอนรวมทั้งไม่อาจฟ้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาด กรณีจึงไม่มีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิและหน้าที่ของโจทก์ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4691/2552 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขายทอดตลาดสถาบันการเงินภายใต้ พ.ร.ก.การปฏิรูประบบสถาบันการเงิน การเพิกถอนการโอนเป็นโมฆะ
การที่จำเลยที่ 1 ขายทอดตลาดอาคารพาณิชย์ของจำเลยที่ 2 ซึ่งถูกระงับการดำเนินกิจการตาม พ.ร.ก. การปฏิรูประบบสถาบันการเงิน (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2541 ซึ่งตามมาตรา 31 จัตวา บัญญัติว่า การเพิกถอนการโอนทรัพย์สินที่ขายตามวิธีการที่กำหนดในมาตรา 30 ทวิ จะกระทำไม่ได้ โจทก์หรือบุคคลใดๆ จึงไม่มีสิทธิฟ้องเพิกถอนการโอน รวมทั้งไม่อาจฟ้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดอันเป็นที่มาของการโอนทรัพย์สินรายนี้ได้ กรณีจึงไม่มีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิและหน้าที่ของโจทก์ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้พิพากษาว่าการประมูลทรัพย์สินดังกล่าวเป็นโมฆะ และขอให้เปิดประมูลใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4691/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขายทอดตลาดเพื่อชำระบัญชีภายใต้ พ.ร.ก.การปฏิรูประบบสถาบันการเงิน ห้ามเพิกถอนการโอนทรัพย์
การขายทอดตลาดอาคารพาณิชย์ของจำเลยที่ 2 ในคดีนี้ซึ่งดำเนินการโดยจำเลยที่ 1 เพื่อชำระบัญชีต้องอยู่ภายใต้บังคับของ พ.ร.ก.การปฏิรูประบบสถาบันการเงิน ซึ่งเป็นกฎหมายที่บัญญัติไว้เป็นการเฉพาะในช่วงเวลาที่เกิดปัญหาวิกฤติทางเศรษฐกิจของชาติในการระดมเงินทุนเพื่อเสริมสภาพคล่องให้เกิดการหมุนเวียนทางการเงินจึงมีมาตรการพิเศษผ่อนคลายจากกรณีปกติทั่วไปเพื่อให้สามารถดำเนินการตามวัตถุประสงค์ให้แล้วเสร็จได้รวดเร็วและก่อให้เกิดความเชื่อมั่นแก่ผู้ซื้อทรัพย์ พระราชกำหนดดังกล่าวในมาตรา 31 จัตวา จึงบัญญัติว่า การเพิกถอนการโอนทรัพย์สินที่ได้ขายตามวิธีที่กำหนดไว้ในมาตรา 30 ทวิ จะกระทำไม่ได้ โจทก์หรือบุคคลใด ๆ จึงไม่มีสิทธิฟ้องเพิกถอนการโอน รวมทั้งไม่อาจฟ้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดอันเป็นที่มาของการโอนทรัพย์รายนี้ กรณีไม่มีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิและหน้าที่ของโจทก์ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4135/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้เอกสารปลอมและการสนับสนุนการปลอมเอกสาร ศาลปรับบทกฎหมายให้ถูกต้อง
คดีนี้ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยกระทงละ 1 ปี รวม 40 กระทง ศาลอุทธรณ์ภาค 7 ยังคงลงโทษจำเลยแต่ละกระทงตามที่ศาลชั้นต้นกำหนด แต่เห็นว่าจำเลยกระทำความผิดเพียง 13 กระทง ถือว่าเป็นการแก้ไขเล็กน้อย จำเลยจึงฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงไม่ได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง
แม้ อ. และ ธ. จะปลอมลายมือชื่อ ท. น. และ บ. ตามคำสั่งของจำเลยอันมีลักษณะเป็นผู้ร่วมกระทำความผิดด้วยกัน แต่ก็ไม่มีกฎหมายห้ามมิให้รับฟังคำเบิกความของ อ. และ ธ. เพียงแต่มีน้ำหนักน้อย หากไม่มีพยานหลักฐานอื่นประกอบจะไม่มีน้ำหนักพอฟังลงโทษจำเลยได้เท่านั้น ดังนั้น ศาลจึงรับฟังคำเบิกความของ อ. และ ธ. ได้
เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า ท. น. และ บ. ไม่ได้ลงลายมือชื่อในเอกสาร แต่ อ. และ ธ. เป็นผู้ลงลายมือชื่อแทน แม้ ท. น. และ บ. จะให้ความยินยอมก็ไม่ทำให้ลายมือชื่อปลอมกลายเป็นลายมือชื่อจริง ดังนั้นเอกสารดังกล่าวจึงเป็นเอกสารปลอม
แม้ อ. และ ธ. จะปลอมลายมือชื่อ ท. น. และ บ. ตามคำสั่งของจำเลยอันมีลักษณะเป็นผู้ร่วมกระทำความผิดด้วยกัน แต่ก็ไม่มีกฎหมายห้ามมิให้รับฟังคำเบิกความของ อ. และ ธ. เพียงแต่มีน้ำหนักน้อย หากไม่มีพยานหลักฐานอื่นประกอบจะไม่มีน้ำหนักพอฟังลงโทษจำเลยได้เท่านั้น ดังนั้น ศาลจึงรับฟังคำเบิกความของ อ. และ ธ. ได้
เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า ท. น. และ บ. ไม่ได้ลงลายมือชื่อในเอกสาร แต่ อ. และ ธ. เป็นผู้ลงลายมือชื่อแทน แม้ ท. น. และ บ. จะให้ความยินยอมก็ไม่ทำให้ลายมือชื่อปลอมกลายเป็นลายมือชื่อจริง ดังนั้นเอกสารดังกล่าวจึงเป็นเอกสารปลอม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4135/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำความผิดฐานปลอมเอกสารสิทธิ ผู้ใช้ vs. ผู้สนับสนุน และขอบเขตการแก้ไขคำพิพากษา
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยกระทงละ 1 ปี รวม 40 กระทง ศาลอุทธรณ์ภาค 7 ยังคงลงโทษจำเลยแต่ละกระทงตามที่ศาลชั้นต้นกำหนด แต่เห็นว่าจำเลยกระทำความผิดเพียง 13 กระทง ถือว่าเป็นการแก้ไขเล็กน้อย จำเลยจึงฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงไม่ได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง
ข้อเท็จจริงตามทางพิจารณาฟังได้ว่า จำเลยเป็นผู้ใช้ให้ผู้อื่นกระทำความผิดฐานปลอมเอกสารและปลอมเอกสารสิทธิ มิใช่เป็นตัวการดังที่โจทก์ฟ้อง เป็นการแตกต่างกันในข้อสาระสำคัญ ย่อมลงโทษจำเลยฐานเป็นผู้ใช้ให้กระทำความผิดไม่ได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสอง แต่การกระทำของจำเลยถือได้ว่าเป็นความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุนการกระทำความผิดฐานปลอมเอกสารและปลอมเอกสารสิทธิตาม ป.อ. มาตรา 86 ศาลมีอำนาจลงโทษจำเลยฐานเป็นผู้สนับสนุนได้ ไม่จำต้องยกฟ้อง
การลงลายมือชื่อแทน แม้เจ้าของลายมือชื่อจะให้ความยินยอมก็ไม่ทำให้เป็นลายมือชื่อที่แท้จริง จึงเป็นเอกสารปลอม
ข้อเท็จจริงตามทางพิจารณาฟังได้ว่า จำเลยเป็นผู้ใช้ให้ผู้อื่นกระทำความผิดฐานปลอมเอกสารและปลอมเอกสารสิทธิ มิใช่เป็นตัวการดังที่โจทก์ฟ้อง เป็นการแตกต่างกันในข้อสาระสำคัญ ย่อมลงโทษจำเลยฐานเป็นผู้ใช้ให้กระทำความผิดไม่ได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสอง แต่การกระทำของจำเลยถือได้ว่าเป็นความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุนการกระทำความผิดฐานปลอมเอกสารและปลอมเอกสารสิทธิตาม ป.อ. มาตรา 86 ศาลมีอำนาจลงโทษจำเลยฐานเป็นผู้สนับสนุนได้ ไม่จำต้องยกฟ้อง
การลงลายมือชื่อแทน แม้เจ้าของลายมือชื่อจะให้ความยินยอมก็ไม่ทำให้เป็นลายมือชื่อที่แท้จริง จึงเป็นเอกสารปลอม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4040/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องไม่สมบูรณ์ฐานค้าของเก่า ต้องระบุประกาศรัฐมนตรีที่กำหนดประเภทของเก่าที่ต้องมีใบอนุญาต
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยบังอาจประกอบอาชีพค้าของเก่า โดยการรับซื้อและขายของเก่าจำพวกเศษเหล็ก อันเป็นของเก่าตามกฎหมายโดยไม่มีใบอนุญาตอันเป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมายตามมาตรา 4 (2) แห่ง พ.ร.บ.ควบคุมการขายทอดตลาดและค้าของเก่า พ.ศ.2474 แก้ไขเพิ่มเติมโดยมาตรา 3 แห่ง พ.ร.บ.ควบคุมการขายทอดตลาดและค้าของเก่า (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2481 ที่ได้ระบุประเภทหรือชนิดของเก่าซึ่งรัฐมนตรีมิได้ประกาศยกเว้นในราชกิจจานุเบกษาให้เป็นของเก่าที่ห้ามบุคคลประกอบอาชีพโดยมิได้รับอนุญาตไว้ เมื่อโจทก์มิได้บรรยายฟ้องให้เห็นได้ว่าของเก่าจำพวกเศษเหล็กเป็นของเก่าซึ่งรัฐมนตรีมิได้ประกาศยกเว้นหรืออ้างถึงประกาศของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ที่ประกาศกำหนดประเภทหรือชนิดของเก่าตามบทบัญญัติดังกล่าวไว้ในฟ้อง จึงเป็นฟ้องที่ไม่สมบูรณ์ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) แม้จำเลยให้การรับสารภาพก็ไม่สามารถลงโทษจำเลยในข้อหาดังกล่าวได้ ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3254/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจถอนฟ้องของผู้นำเสียหายโดยตรงในคดีอาญาความผิดต่อส่วนตัว
จำเลยยักยอกรถที่เช่าซื้อขณะอยู่ในความครอบครองใช้ประโยชน์ของผู้เช่าซื้อ ผู้เช่าซื้อจึงเป็นผู้ได้รับความเสียหายจากการกระทำของจำเลยโดยตรง ดังนั้น แม้ผู้เช่าซื้อจะแจ้งความร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีแก่จำเลยในความผิดฐานยักยอกในฐานะผู้รับมอบอำนาจจากผู้ให้เช่าซื้อก็ตาม ก็ถือได้ว่าได้ร้องทุกข์ในฐานะเป็นผู้เสียหายเองด้วยเช่นกัน ผู้เช่าซื้อย่อมมีอำนาจถอนคำร้องทุกข์ในฐานะที่เป็นผู้เสียหายด้วยคนหนึ่งได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3185/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบอกล้างสัญญาระหว่างสมรสหลังโอนทรัพย์สินให้บุคคลภายนอก สิทธิในทรัพย์สินยังคงเป็นของผู้รับโอนหากสุจริต
แม้ข้อความที่ ธ. ให้ความยินยอมไว้ล่วงหน้าว่าจะไม่เพิกถอนการให้ความยินยอมแก่ น. ในการทำนิติกรรมเกี่ยวกับที่ดินพิพาทจะตกเป็นโมฆะ เนื่องจากมีวัตถุประสงค์ขัดต่อ ป.พ.พ. มาตรา 1469 ที่ให้สิทธิสามีหรือภริยาสามารถบอกล้างสัญญาที่เกี่ยวกับทรัพย์สินที่ได้ทำไว้ต่อกันในระหว่างเป็นสามีภริยาได้ในระหว่างที่ยังเป็นสามีภริยากันอยู่หรือภายในหนึ่งปีนับแต่วันขาดจากการเป็นสามีภริยากันก็ตาม แต่เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่า น. ได้ยกที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์แล้วตั้งแต่ขณะ น. ยังมีสิทธิตามข้อตกลงในการแบ่งสินทรัพย์ เนื่องจากยังมิได้ถูกบอกล้าง ผลของการบอกล้างดังกล่าวจึงไม่กระทบกระเทือนต่อสิทธิของโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกเว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าโจทก์รับโอนที่ดินพิพาทไปโดยไม่สุจริต ตามความตอนท้ายของ ป.พ.พ. มาตรา 1469 เมื่อโจทก์รับโอนที่ดินพิพาทไปโดยสุจริต โจทก์จึงยังมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทอยู่