คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
เฉลียว พลวิเศษ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 61 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3121/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับชำระหนี้โดยมิชอบด้วยกฎหมาย: การกระทำเข้ายึดทรัพย์สินโดยไม่ผ่านกระบวนการตามกฎหมายเป็นการลักทรัพย์
การบังคับชำระหนี้ต้องดำเนินการตามกฎหมาย มิใช่เจ้าหนี้บุกรุกเข้าไปเอาทรัพย์สินของลูกหนี้ไปโดยพลการ การที่จำเลยซึ่งเป็นเจ้าหนี้ใช้เลื่อยตัดกุญแจแล้วเปิดประตูเข้าไปเอาเครื่องบดแป้งไฟฟ้าและรถจักรยานที่เก็บอยู่ภายในบ้านซึ่งจำเลยรู้อยู่แล้วว่าไม่ใช่บ้านพักของ ป. ลูกหนี้และไม่รู้ด้วยว่าเครื่องบดแป้งไฟฟ้าและรถจักรยานใช่ของ ป. หรือไม่ไปเพื่อตีชำระหนี้ จึงเป็นการเอาทรัพย์ไปโดยทุจริต จำเลยจึงมีความผิดฐานลักทรัพย์ในเคหสถานโดยทำอันตรายสิ่งกีดกั้นสำหรับคุ้มครองบุคคลหรือทรัพย์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2620/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลักทรัพย์ในเคหสถาน: ความยินยอมในการเข้าบ้านและการเปลี่ยนแปลงฐานความผิด
การที่ ฉ. และ จ. ผู้เสียหายมอบกุญแจบ้านและกุญแจห้องนอนให้จำเลยช่วยดูแลบ้านระหว่างที่ผู้เสียหายไม่อยู่ เท่ากับอนุญาตให้จำเลยเข้าไปในบ้านอันเป็นเคหสถานแล้ว การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดฐานลักทรัพย์ในเคหสถานตาม ป.อ. มาตรา 335 (8) ซึ่งต้องเป็นการเข้าไปโดยไม่ได้รับความยินยอมจากเจ้าของหรือผู้ครอบครองเคหสถานนั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2146/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ศาลฎีกายกประเด็นดอกเบี้ยนอกเหนือคำขออุทธรณ์ และขยายผลการชำระหนี้ไปยังจำเลยที่ไม่ฎีกา
โจทก์อุทธรณ์แต่เพียงขอให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 และที่ 4 ด้วยโดยมิได้ขอให้ได้รับชำระค่าเสียหายและดอกเบี้ยเต็มตามที่ขอท้ายฟ้อง การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 5 ยกขึ้นวินิจฉัยว่าค่าเสียหายที่ศาลชั้นต้นกำหนดมานั้นเหมาะสมแล้ว แต่ที่ศาลชั้นต้นไม่กำหนดดอกเบี้ยให้แก่โจทก์นั้นไม่ชอบ และพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 4 ร่วมกันชำระดอกเบี้ยแก่โจทก์ด้วย จึงไม่ชอบ ทั้งมิใช่ปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนที่ศาลอุทธรณ์ภาค 5 จะยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกาในข้อนี้ ศาลฎีกาก็ยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) และกรณีเกี่ยวด้วยการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ จึงเห็นควรพิพากษาให้มีผลไปถึงจำเลยที่ 1 และที่ 4 ที่มิได้ฎีกาด้วยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 245 (1) ประกอบ มาตรา 247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 39/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความร้องทุกข์ฉ้อโกง: เริ่มนับเมื่อรู้เจตนาทุจริต ไม่ใช่เมื่อแน่ใจ
โจทก์ร่วมรู้ว่าจำเลยเจตนาฉ้อโกงตนในวันใดอายุความร้องทุกข์ต้องเริ่มนับตั้งแต่วันนั้น การที่โจทก์ร่วมพยายามโทรศัพท์ถึงจำเลยอีกหลายครั้งหลายหนในเวลาต่อมาทั้งๆ ที่จำเลยรับบ้างไม่รับบ้าง หรือบางครั้งรับปากว่าจะนำเงินไปชำระแต่แล้วก็ผิดนัดเป็นเรื่องที่โจทก์ร่วมผ่อนผันหรือให้โอกาสแก่จำเลย ถือไม่ได้ว่าโจทก์ร่วมเพิ่งทราบถึงการกระทำความผิดของจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 39/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฉ้อโกง: การรู้เรื่องความผิดและตัวผู้กระทำความผิดเป็นสำคัญ
ความผิดฐานฉ้อโกงตาม ป.อ. มาตรา 341 เป็นความผิดอันยอมความได้โจทก์ร่วมต้องร้องทุกข์ภายในกำหนด 3 เดือน นับแต่วันรู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิด มิฉะนั้นคดีเป็นอันขาดอายุความตาม ป.อ. มาตรา 96 ปรากฏตามคำเบิกความโจทก์ร่วมและ น. ภริยาของโจทก์ร่วมได้ความว่า หลังจากมอบรังนกนางแอ่นและไม้จันทร์หอมให้จำเลยแล้ว จำเลยบอกให้โจทก์ร่วมรอรับเงินอยู่ที่ลานจอดรถซึ่งเป็นสถานที่ส่งมอบสินค้านั้นเอง โจทก์ร่วมและ น. จึงรอจำเลยอยู่บริเวณดังกล่าว ตั้งแต่เวลาประมาณ 16 ถึง 17 นาฬิกา จนกระทั่งเที่ยงคืนจำเลยก็ไม่ไปตามนัด เมื่อโจทก์ร่วมโทรศัพท์ติดต่อไปยังโทรศัพท์เคลื่อนที่ของจำเลยจำเลยก็ปิดเครื่องโทรศัพท์ของจำเลยเสีย พฤติการณ์ของจำเลยดังกล่าวโจทก์ร่วมควรจะรู้เสียตั้งแต่ในขณะนั้นแล้วว่าจำเลยเจตนาฉ้อโกงตน การที่โจทก์ร่วมพยายามโทรศัพท์ถึงจำเลยอีกหลายครั้งในเวลาต่อมาทั้งๆ ที่จำเลยรับบ้างไม่รับบ้าง หรือบางครั้งรับปากว่าจะนำเงินไปชำระแต่แล้วก็ผิดนัด เป็นเรื่องที่โจทก์ร่วมผ่อนผันหรือให้โอกาสแก่จำเลย ซึ่งถือไม่ได้ว่าโจทก์ร่วมเพิ่งทราบหรือแน่ใจถึงการกระทำของจำเลยในวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2544 อันเป็นวันที่จำเลยอ้างต่อ บ. ว่าได้ให้เงินโจทก์ร่วมแล้วแต่เพียงใด การร้องทุกข์ของโจทก์ร่วมในวันที่ 23 มีนาคม 2544 จึงเป็นการร้องทุกข์เมื่อพ้นกำหนด 3 เดือน นับแต่วันที่โจทก์ร่วมรู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำผิดความผิดแล้ว คดีโจทก์จึงขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10903/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิพากษาเกินคำขอและผลกระทบของการไม่ระบุมาตรา 336 ทวิ ในคำฟ้องอาญา
บทบัญญัติตาม ป.อ. มาตรา 336 ทวิ เป็นบทบัญญัติให้ผู้กระทำความผิดต้องรับโทษสูงขึ้น ซึ่งเป็นผลร้ายแก่จำเลย เมื่อโจทก์มิได้อ้างมาในคำขอท้ายฟ้องถือว่าโจทก์ไม่ประสงค์ให้ลงโทษตามมาตราดังกล่าวตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสี่
ส่วนที่โจทก์มิได้บรรยายฟ้องระบุไว้อย่างชัดเจนว่าจำเลยกระทำความผิดฐานลักทรัพย์โดยเข้าทางช่องทางซึ่งได้ทำขึ้นโดยไม่ได้จำนงให้เป็นทางคนเข้า หรือเข้าทางช่องทางซึ่งผู้เป็นใจเปิดไว้ให้ ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 335 (4) จึงเป็นการพิพากษาเกินคำขอหรือที่มิได้กล่าวในฟ้อง
ปัญหาว่าศาลล่างทั้งสองดพิพากษาเกินคำขอหรือไม่ เป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยมิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาในศาลล่าง จำเลยหรือศาลฎีกาย่อมยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9543/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ที่ดินยกให้วัด: การอุทิศที่ดินเพื่อสร้างวัดทำให้ที่ดินเป็นกรรมสิทธิ์ของวัดโดยสมบูรณ์ แม้ยังมิได้จดทะเบียน
โจทก์ที่ 2 ซื้อที่ดินพิพาทจากผู้อื่นแล้วยกให้วัดโจทก์ที่ 1 ขณะที่โจทก์ที่ 1 ยังไม่เป็นนิติบุคคล ต่อมาเมื่อโจทก์ที่ 1 ได้รับการประกาศตั้งเป็นวัดเมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2513 โดยมีโจทก์ที่ 2 ซึ่งได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาส โจทก์ที่ 2 ก็ได้แสดงเจตนายืนยันว่าได้มีการยกที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ที่ 1 ตลอดมาโดยมีการทำบันทึกถ้อยคำว่า โจทก์ที่ 1 มีความประสงค์ขอรับโอนที่ดินพิพาทจากโจทก์ที่ 2 นับแต่วันที่ 13 กรกฎาคม 2513 ถือได้ว่ามีเจตนาอุทิศที่ดินพิพาทเพื่อใช้เป็นที่สร้างวัดที่ดินพิพาทย่อมตกเป็นของแผ่นดินสำหรับใช้เป็นที่สำหรับสร้างวัดโจทก์ที่ 1 ตามเจตนาของผู้อุทิศทันทีโดยไม่จำต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนการยกให้ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 525 เมื่อสร้างวัดโจทก์ที่ 1 เสร็จเรียบร้อย กระทรวงศึกษาธิการและมหาเถรสมาคมเห็นชอบให้ตั้งวัดโจทก์ที่ 1 และได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วเมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2513 ที่ดินพิพาทจึงเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ที่ 1 โดยสมบูรณ์ตั้งแต่บัดนั้น เมื่อที่ดินพิพาทตกเป็นของโจทก์ที่ 1 แล้วตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ.2505 มาตรา 34 จะโอนกรรมสิทธิ์ได้ก็แต่โดยพระราชบัญญัติเท่านั้น การที่โจทก์ที่ 2 มอบอำนาจให้จำเลยไปรับโอนที่ดินพิพาทมาเป็นของจำเลย จำเลยก็ไม่มีสิทธิรับโอนที่ดินพิพาทซึ่งเป็นของโจทก์ที่ 1 มาเป็นกรรมสิทธิ์ของตนซึ่งมีผลทำให้การโอนที่ดินพิพาทจากจำเลยไปยังจำเลยร่วมที่ 1 ไม่ชอบด้วยกฎหมายไปด้วย
of 7