พบผลลัพธ์ทั้งหมด 147 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8136/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำเลยไม่มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งศาลที่ไม่เพิกถอนการยึดทรัพย์แทนเจ้าพนักงานบังคับคดี หากไม่ได้โต้แย้งการยึดตั้งแต่แรก
การที่โจทก์นำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดห้องชุดของจำเลยเพื่อนำออกขายทอดตลาด หากจำเลยเห็นว่าเจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์สินดังกล่าวเกินกรณีจำเป็นแก่การบังคับคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง จำเลยชอบที่จะโต้แย้งต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีหรือยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นให้วินิจฉัยว่าการยึดชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ การที่เจ้าพนักงานบังคับคดียื่นคำร้องขอถอนการยึดทรัพย์ดังกล่าวและศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องเพราะไม่มีพยานมาไต่สวน จึงเป็นเรื่องระหว่างศาลกับเจ้าพนักงานบังคับคดี จำเลยซึ่งไม่ได้โต้แย้งการยึดและมีคำขอให้เพิกถอนการยึดมาตั้งแต่ต้น จะใช้สิทธิอุทธรณ์คำสั่งยกคำร้องแทนเจ้าพนักงานบังคับคดีไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8124/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา: กำหนด 10 ปีนับจากคดีอาญาถึงที่สุด แม้ผู้เสียหายไม่ได้ร่วมฟ้อง
ประเด็นในคดีอาญาและคดีแพ่งนี้เป็นประเด็นเดียวกันว่าจำเลยกระทำโดยประมาทเลินเล่อหรือไม่ กรณีจึงเป็นคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา และการที่พนักงานอัยการฟ้องคดีอาญาถือว่าพนักงานอัยการได้ดำเนินคดีอาญาแทนโจทก์ซึ่งเป็นผู้เสียหาย เมื่อคดีอาญาถึงที่สุดแล้วโดยศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยก่อนที่โจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้ สิทธิของโจทก์ที่จะฟ้องคดีแพ่งย่อมมีกำหนดอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/32 และ ป.วิ.อ. มาตรา 51 วรรคสาม แม้โจทก์จะมิได้ฟ้องหรือขอเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการในคดีอาญาดังกล่าวก็ตาม เพราะบทบัญญัติตาม ป.วิ.อ. มาตรา 51 วรรคสาม มิได้บัญญัติให้ใช้บังคับเฉพาะกรณีที่ผู้เสียหายเป็นโจทก์ฟ้องคดีอาญาหรือเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7899/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งกรรมสิทธิ์รวม: ศาลต้องสืบราคาบ้านตามตกลงก่อนมิใช่ขายทอดตลาด
โจทก์และจำเลยแถลงรับกันว่าเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ร่วมในบ้านพิพาท และตกลงกันได้แล้วว่าจะแบ่งกรรมสิทธิ์รวมโดยให้บ้านพิพาทตกเป็นของจำเลย แล้วชำระราคาบ้านพิพาทให้แก่โจทก์ครึ่งหนึ่งตามฟ้อง คงมีปัญหาเฉพาะเรื่องราคาบ้านพิพาทซึ่งจำเลยยังไม่ยอมรับราคาตามที่โจทก์ฟ้อง กรณีจึงไม่ต้องด้วย ป.พ.พ. มาตรา 1364 วรรคสอง ที่ศาลชั้นต้นงดสืบพยานและพิพากษาให้นำบ้านพิพาทออกขายโดยประมูลราคากันระหว่างโจทก์และจำเลย หากไม่สามารถตกลงกันได้ให้นำออกขายทอดตลาดเพื่อนำเงินมาแบ่งให้โจทก์จำเลยคนละครึ่ง ซึ่งเป็นวิธีการแบ่งกรณีเจ้าของรวมไม่ตกลงกันว่าจะแบ่งทรัพย์สินอย่างไร จึงไม่ชอบ แม้จำเลยจะไม่ได้โต้แย้งคำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้งดสืบพยานก็ตาม แต่กรณีเป็นเรื่องที่ศาลชั้นต้นยังมิได้พิจารณาให้ได้ความจริงตามประเด็นที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้ มิใช่ประเด็นที่ศาลชั้นต้นสั่งงดสืบพยานและจำเลยมิได้คัดค้านไว้ จึงเห็นควรให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาในประเด็นดังกล่าวใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6239/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนทรัพย์สินหนีเจ้าหนี้: การโอนที่ดินโดยเจตนาทุจริตเพื่อหลีกเลี่ยงการชำระหนี้
จำเลยที่ 1 ไปแจ้งความเท็จต่อเจ้าพนักงานที่ดินจนเจ้าพนักงานที่ดินออกใบแทนโฉนดที่ดินดังกล่าว แล้วจำเลยที่ 1 โอนที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 ไป จำเลยที่ 1 ย่อมรู้ดีว่าทำให้โจทก์ไม่อาจที่จะบังคับชำระหนี้เอาจากที่ดินพิพาท ทั้งข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 มีทรัพย์สินอื่นพอจะชำระหนี้ได้ และจำเลยที่ 1 ก็ยอมรับว่าไม่ได้ประกอบอาชีพและไม่มีรายได้ จึงฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 โอนที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 ทั้งรู้อยู่ว่าเป็นทางให้โจทก์เสียเปรียบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6093/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากการกระทำความผิดฐานโกงเจ้าหนี้ ต้องเป็นการเสียหายโดยตรงจากการกระทำผิดนั้น
ศาลพิพากษาให้ขับไล่จำเลยที่ 1 ตามฟ้องของโจทก์ร่วม และบังคับให้จำเลยที่ 1 ชำระค่าเสียหายเดือนละ 30,000 บาท แก่โจทก์ร่วม ต่อมาจำเลยที่ 1 ขายทรัพย์สินของตนให้แก่จำเลยที่ 2 เพื่อมิให้โจทก์ร่วมได้รับชำระหนี้ทั้งหมดหรือแต่บางส่วน การที่โจทก์ร่วมยื่นคำร้องขอให้จำเลยที่ 1 ชำระเงินตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นเดือนละ 30,000 บาท ในคดีที่โจทก์ร่วมร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีแก่จำเลยที่ 1 ในฐานโกงเจ้าหนี้นั้น มิใช่กรณีที่โจทก์ร่วมรับได้รับความเสียหายในทางทรัพย์สินจากการกระทำความผิดฐานโกงเจ้าหนี้ของจำเลยทั้งสอง โจทก์ร่วมจึงไม่มีสิทธิยื่นคำร้องต่อศาลขอให้บังคับจำเลยทั้งสองร่วมกันชำระค่าสินไหมทดแทนดังกล่าวแก่โจทก์ร่วมได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4726/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองที่ดินพิพาทโดยไม่สุจริตและไม่ต่อเนื่อง ย่อมไม่เกิดกรรมสิทธิ์ตามมาตรา 1382
การที่ ร. แสดงเจตนาไว้เป็นคำมั่นสัญญาว่า เมื่อ ร. ถึงแก่ความตาย ร. ยกที่ดินพิพาทให้ผู้ร้อง แต่ขณะเดียวกัน ร. ก็ได้แสดงเจตนาที่ก่อให้เกิดผลผูกพันแก่ผู้ร้องในขณะที่ ร. ยังมีชีวิตอยู่ว่า อนุญาตให้ผู้ร้องมีสิทธิเข้าไปปลูกบ้านในที่ดินของ ร. ได้โดยมีข้อตกลงว่า ร. จะไม่ขายที่ดินโฉนดเลขที่ 9183 ข้อตกลงดังกล่าวนี้รวมตลอดถึงการแสดงเจตนาล่วงหน้าของ ร. ที่ว่า จะยกที่ดินพิพาทให้ผู้ร้องเมื่อตนถึงแก่ความตาย แสดงให้เห็นว่า ร. ต้องการให้ผู้ร้องปลูกสร้างบ้านในที่ดินพิพาทได้ด้วยความมั่นใจว่าจะไม่ถูกกระทบกระเทือนสิทธิ หรือได้รับความเดือดร้อนเมื่อ ร. ถึงแก่ความตายแล้วเท่านั้น แต่หาได้มีความหมายไปถึงว่า ร. ยกที่ดินพิพาทให้ผู้ร้องตั้งแต่วันทำหนังสือยกให้ไม่ หาก ร. ยกที่ดินพิพาทให้ผู้ร้องในทันทีก็ไม่จำต้องระบุเกี่ยวกับการอนุญาตให้ปลูกสร้างบ้าน และการยกที่ดินพิพาทให้โดยพินัยกรรมอันเป็นการแสดงเจตนากำหนดการเผื่อตายแต่อย่างใด
ขณะ ร. มีชีวิตอยู่ ที่ดินพิพาทจึงยังเป็นของ ร. เมื่อไม่ปรากฏว่าผู้ร้องแสดงเจตนาเปลี่ยนแปลงการยึดถือครอบครองต่อ ร. ว่าจะยึดถือเพื่อตน จึงถือว่าผู้ร้องครอบครองแทน ร. ตลอดมา แม้ผู้ร้องจะครอบครองที่ดินพิพาทมานานเพียงใด ผู้ร้องก็ไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินนั้น โดยการครอบครองตาม ป.พ.พ. มาตรา 1382
ขณะ ร. มีชีวิตอยู่ ที่ดินพิพาทจึงยังเป็นของ ร. เมื่อไม่ปรากฏว่าผู้ร้องแสดงเจตนาเปลี่ยนแปลงการยึดถือครอบครองต่อ ร. ว่าจะยึดถือเพื่อตน จึงถือว่าผู้ร้องครอบครองแทน ร. ตลอดมา แม้ผู้ร้องจะครอบครองที่ดินพิพาทมานานเพียงใด ผู้ร้องก็ไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินนั้น โดยการครอบครองตาม ป.พ.พ. มาตรา 1382
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4203/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำนองที่ดินโดยไม่มีอำนาจจากเจ้าของกรรมสิทธิ์ แม้ผู้รับจำนองจะสุจริตก็ไม่อาจยันเจ้าของกรรมสิทธิ์ได้
โจทก์ไม่ได้มอบอำนาจให้จำเลยที่ 1 ไปดำเนินการจดจำนองที่ดินพิพาทและลายมือชื่อโจทก์ในหนังสือมอบอำนาจเป็นลายมือชื่อปลอม ดังนั้น การที่จำเลยที่ 1 นำหนังสือมอบอำนาจที่เป็นเอกสารและโฉนดที่ดินพิพาทของโจทก์ที่ถูกลักไปไปจดทะเบียนจำนองที่ดินพิพาท จึงเป็นการกระทำไปโดยไม่มีอำนาจ ขัดต่อ ป.พ.พ. มาตรา 705 การจำนองดังกล่าวไม่ผูกพันโจทก์ผู้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทแต่อย่างใดแม้จำเลยที่ 2 จะรับจำนองที่ดินพิพาทจากจำเลยที่ 1 โดยสุจริตและเสียค่าตอบแทนหรือไม่ก็ตามก็ไม่อาจยกเหตุดังกล่าวขึ้นกล่าวอ้างยันแก่โจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3714/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีโดยอ้างข้อเท็จจริงขัดแย้งกับคดีก่อนหน้าถือเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริิต ทำให้ไม่มีอำนาจฟ้อง
คดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 1905/2550 ของศาลชั้นต้น โจทก์กล่าวอ้างว่าสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทเป็นนิติกรรมอำพรางนิติกรรมการกู้ยืมเงิน เท่ากับอ้างว่าไม่มีการซื้อขายที่ดินพิพาทกันจริง โจทก์ยังเป็นเจ้าของที่ดินพิพาท ดังนั้นโจทก์จึงไม่อาจครอบครองปรปักษ์ที่ดินของตนเองได้ เพราะการครอบครองปรปักษ์จะมีได้แต่ในที่ดินของผู้อื่นเท่านั้น ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง และคดีถึงที่สุดแล้ว การที่โจทก์ฟ้องคดีนี้โดยอ้างว่าสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทมีผลสมบูรณ์บังคับได้ กรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทตกเป็นของ ส. แล้ว และอ้างว่าโจทก์ได้กรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์ คำฟ้องคดีนี้จึงขัดกับคำฟ้องเดิม ทั้งเป็นการอ้างข้อเท็จจริงขึ้นมาใหม่เพื่อประโยชน์ในเชิงคดีของโจทก์เท่านั้น อันแสดงให้เห็นได้โดยชัดแจ้งว่าการฟ้องคดีของโจทก์ในคดีนี้เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต ตาม ป.พ.พ. มาตรา 5 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3510/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิฟ้องคดีอาญาไม่ระงับ แม้ศาลอุทธรณ์ยกฟ้องคดีเดิมเนื่องจากข้อผิดพลาดทางรูปแบบ
คดีนี้โจทก์เคยฟ้องจำเลยทั้งสองต่อศาลชั้นต้นมาแล้ว และศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยทั้งสองตามคำพิพากษาคดีหมายเลขแดงที่ 2322/2550 แต่ต่อมาศาลอุทธรณ์ภาค 6 มีคำพิพากษายกฟ้องคดีดังกล่าวเพราะโจทก์มิได้ลงลายมือชื่อในฟ้องและคดีถึงที่สุด จึงถือไม่ได้ว่าความผิดตามฟ้องคดีนี้ ศาลในคดีก่อนได้มีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในความผิดซึ่งได้ฟ้องแล้วตามความใน ป.วิ.อ. มาตรา 39 (4) สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์คดีนี้จึงยังไม่ระงับไปตามบทบัญญัติดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1344/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด: การวินิจฉัยบทบาทตัวการ/ผู้สนับสนุน และการริบของกลาง
พฤติการณ์ของจำเลยที่ 2 ที่รับเมทแอมเฟตามีนที่จำเลยที่ 1 มีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายในขณะที่จำเลยที่ 1 วิ่งหลบหนีสิบตำรวจเอกหญิง ศ. เข้าไปในบ้าน จากนั้นจำเลยที่ 2 รีบนำเมทแอมเฟตามีนที่ได้รับไปโยนทิ้งลงในโถส้วม ทั้งยังตักน้ำเพื่อราดเมทแอมเฟตามีนดังกล่าวทิ้งลงไปในคอห่าน แสดงให้เห็นว่าจำเลยที่ 2 รู้เห็นเป็นใจกับจำเลยที่ 1 ที่มีเมทแอมเฟตามีนจำนวน 34 เม็ดดังกล่าวไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย จำเลยที่ 2 จึงเป็นตัวการร่วมกับจำเลยที่ 1 กระทำความผิด ซึ่งปัญหาว่าการกระทำของจำเลยที่ 2 เป็นตัวการหรือผู้สนับสนุน เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้โจทก์จะมิได้ฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225