คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 74

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 102 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2116-2118/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาคดีแรงงานต้องเป็นไปตาม พ.ร.บ.แรงงานฯ หากขัดแย้งกับประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ให้ใช้ พ.ร.บ.แรงงานฯ
การพิจารณาคดีแรงงานมีวิธีพิจารณาต่างกับคดีแพ่งทั่ว ๆ ไปกรณีใดที่พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 ได้บัญญัติไว้แล้วอย่างไรต้องบังคับไปตามนั้น จะนำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับไม่ได้ เพราะพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 31 ให้นำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับแก่การดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลแรงงานโดยอนุโลมได้เท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 เท่านั้น
ศาลแรงงานสั่งรับคำฟ้องของโจทก์ไว้พิจารณาแล้วกำหนดวันนัดพิจารณาและออกหมายเรียกให้จำเลยมาศาลในวันนัดตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 27 ถ้าจำเลยไม่มาศาลตามกำหนดและศาลแรงงานมีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัดและพิจารณาชี้ขาดตัดสินคดีโจทก์ไปฝ่ายเดียว อันเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาตามมาตรา 40 วรรคสอง จำเลยจะต้องขอให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาดังกล่าวและพิจารณาใหม่ตามมาตรา 41 คือต้องดำเนินการภายใน 7 วัน นับแต่วันที่ศาลแรงงานมีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัดจะนำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับไม่ได้เพราะพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 ได้บัญญัติไว้แล้วโดยเฉพาะ
การที่ศาลแรงงานจะมีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัดและพิจารณาชี้ขาดตัดสินคดีของโจทก์ไปฝ่ายเดียวตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 40 วรรคสอง ได้ จะต้องปรากฏว่าจำเลยได้รับหมายเรียกให้มาศาลตามมาตรา 37 แล้ว มิฉะนั้นกระบวนพิจารณาที่ได้ดำเนินไปย่อมเป็นการไม่ชอบและไม่มีผลตามกฎหมาย เพราะเป็นกรณีที่มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ในข้อที่มุ่งหมายจะยังให้การเป็นไปด้วยความยุติธรรม จำเลยย่อมมีสิทธิขอให้เพิกถอนและพิจารณาคดีใหม่เมื่อใดก็ได้
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 ไม่ได้บัญญัติถึงวิธีการส่งหมายเรียกให้จำเลยมาศาลในวันนัดพิจารณาไว้ จึงต้องนำบทบัญญัติประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับโดยอนุโลมคือต้องส่ง ณ ภูมิลำเนาหรือสำนักทำการงานของจำเลยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 74(2)
จำเลยอ้างในคำร้องว่าบ้านเลขที่ 51/291 ที่ศาลแรงงานกลางส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้จำเลยโดยวิธีปิดหมายไม่ใช่ภูมิลำเนาหรือสำนักทำการงานของจำเลย เพราะจำเลยได้ย้ายไปอยู่ที่บ้านเลขที่ 80 แล้วตั้งแต่ก่อนโจทก์ฟ้อง ดังนี้หากได้ความตามคำร้องย่อมถือไม่ได้ว่าได้มีการส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้จำเลยโดยชอบแล้ว เมื่อไม่มีการส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องโดยชอบ จำเลยย่อมมีสิทธิยื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่เมื่อใดก็ได้ไม่อยู่ในบังคับของพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 41 ศาลแรงงานกลางจึงชอบที่จะไต่สวนคำร้องของจำเลยให้ได้ความเสียก่อนว่าจำเลยมิได้มีภูมิลำเนาหรือสำนักทำการงานอยู่ที่บ้านเลขที่ 51/291 จริงหรือไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 662/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งคำสั่งศาลโดยวิธีส่งไปรษณีย์ลงทะเบียน และการกำหนดวันรับทราบคำสั่งของเจ้าหนี้
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีหนังสือแจ้งคำสั่งของศาลโดยวิธีส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับไปยังภูมิลำเนาของผู้รับมอบอำนาจของเจ้าหนี้ซึ่งเป็นอาคาร 32 ชั้นโดยผู้รับมอบอำนาจของเจ้าหนี้เช่าพื้นที่ของอาคารในชั้นที่ 19เป็นที่ทำการ ถ้าหากการส่งหนังสือดังกล่าวมีพนักงานของอาคารเป็นผู้ลงชื่อรับในใบตอบรับไว้ก่อนเมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม2542 แล้วนำส่งให้แก่พนักงานของผู้รับมอบอำนาจเจ้าหนี้เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 2542 จริงก็ต้องถือว่าเจ้าหนี้ทราบคำสั่งของศาลในวันที่ 19 กรกฎาคม 2542 เพราะพนักงานของอาคารมิใช่บุคคลผู้อยู่หรือทำงานในสำนักทำการงานของผู้รับมอบอำนาจของเจ้าหนี้ การที่เจ้าหนี้ยื่นอุทธรณ์เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2542ย่อมไม่พ้นกำหนดระยะเวลาอุทธรณ์ชอบที่ศาลอุทธรณ์จะต้องสั่งให้ไต่สวนให้ได้ความจริงเสียก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7049-7057/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การส่งหมายเรียกคดีแรงงานโดยการปิดหมายชอบด้วยกฎหมาย แม้จำเลยมีภูมิลำเนาหลายแห่ง การยื่นคำร้องขอเพิกถอนกระบวนพิจารณาต้องภายใน 7 วัน
ศาลแรงงานมีคำสั่งรับฟ้องของโจทก์ไว้พิจารณาแล้วกำหนดวันเวลานัดพิจารณาและสืบพยานโจทก์ โดยออกหมายเรียกให้จำเลยมาศาลในวันเวลานัด พร้อมกับส่งสำเนาคำฟ้องให้จำเลยโดยวิธี ปิดหมาย ณ บ้านเลขที่ 106/33 อันเป็นการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 37 เมื่อจำเลยยอมรับในคำร้องว่าบ้านเลขที่ดังกล่าวเป็นที่อยู่ในหนังสือจดทะเบียนของจำเลยจึงเป็นที่ตั้งสำนักงานอันเป็นภูมิลำเนาของจำเลย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 68,1111 แม้จำเลย จะมีที่ทำการอยู่ที่บ้านเลขที่ 33 ก็เป็นกรณีจำเลยมีภูมิลำเนาหลายแห่งการส่งหมายเรียกให้จำเลยโดยการปิดหมาย ณ บ้านเลขที่ 106/33 จึงชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 74 ประกอบ มาตรา 79 ต้องถือว่าจำเลยได้รับหมายเรียกให้มาศาลตามพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 37 แล้ว เมื่อจำเลยไม่มาตามกำหนดโดยไม่แจ้งให้ศาลแรงงานทราบเหตุที่ไม่มาและศาลแรงงานได้มีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัดและพิจารณาตัดสินคดีของ โจทก์ไปฝ่ายเดียวจึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาตามพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 40 จำเลยขอให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาดังกล่าวจึงต้องปฏิบัติตาม พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522มาตรา 41 คือต้องดำเนินการภายใน 7 วัน นับแต่วันที่ศาลแรงงานมีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัด แต่จำเลยยื่นคำร้องพ้นกำหนด กรณีจึงต้องยกคำร้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7049-7057/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนกระบวนพิจารณาคดีแรงงานต้องยื่นภายใน 7 วันนับแต่วันที่ศาลมีคำสั่งขาดนัด การส่งหมายเรียกโดยการปิดหมายชอบด้วยกฎหมาย
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31 ให้นำบทบัญญัติแห่ง ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับแก่การดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลแรงงานโดยอนุโลมได้เท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับบทบัญญัติแห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 เท่านั้น
ศาลแรงงานมีคำสั่งรับฟ้องของโจทก์ไว้พิจารณาแล้วได้กำหนดวันเวลานัดพิจารณาและสืบพยานโจทก์ โดยออกหมายเรียกให้จำเลยมาศาลในวันเวลานัด พร้อมกับส่งสำเนาคำฟ้องให้จำเลยโดยวิธีปิดหมาย ณ บ้านเลขที่ 106/33 อันเป็นการปฏิบัติตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 37 เมื่อจำเลยยอมรับในคำร้องว่าบ้านเลขที่ดังกล่าวเป็นที่อยู่ในหนังสือจดทะเบียนของจำเลย จึงเป็นที่ตั้งสำนักงานอันเป็นภูมิลำเนาของจำเลยตาม ป.พ.พ. มาตรา 68, 1111 แม้จำเลยจะมีที่ทำการอยู่ที่บ้านเลขที่ 33 ก็เป็นกรณีจำเลยมีภูมิลำเนาหลายแห่ง การส่งหมายเรียกให้จำเลยโดยการปิดหมาย ณ บ้านเลขที่ 106/33 จึงชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 74 ประกอบมาตรา 79 จึงต้องถือว่าจำเลยได้รับหมายเรียกให้มาศาลตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 37 แล้วเมื่อจำเลยไม่มาตามกำหนด โดยไม่แจ้งให้ศาลทราบเหตุที่ไม่มา และศาลแรงงานได้มีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัดและพิจารณาตัดสินคดีของโจทก์ไปฝ่ายเดียว จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 40 การที่จำเลยขอให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาดังกล่าวจึงต้องปฏิบัติตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 41 คือต้องดำเนินการภายใน 7 วัน นับแต่วันที่ศาลแรงงานมีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัด เมื่อจำเลยยื่นคำร้องพ้นกำหนด กรณีจึงต้องยกคำร้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4001/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งหมายนัดฟังคำพิพากษาที่ภูมิลำเนาเดิม แม้จำเลยจะย้ายที่อยู่แล้ว หากจำเลยไม่แจ้งเปลี่ยนแปลงที่อยู่ต่อศาล การแจ้งหมายยังชอบด้วยกฎหมาย
โจทก์ฟ้องคดีโดยระบุที่อยู่จำเลยว่าอยู่บ้านเลขที่ 4/75 และดำเนินกระบวนพิจารณาตลอดมาตั้งแต่ต้นจนถึงวันนัดอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในครั้งแรกคือวันที่ 10 มิถุนายน 2541 โดยจำเลยไม่เคยแจ้งให้ศาลชั้นต้นทราบว่าจำเลยได้ย้ายภูมิลำเนาไปอยู่ที่บ้านเลขที่ 706/3ตามคำร้องแต่อย่างใด ที่จำเลยอ้างว่าได้ย้ายไปตั้งแต่วันที่ 26 กันยายน2539 นั้น ตามคำร้องขอถ่ายเอกสารที่จำเลยยื่นต่อศาลชั้นต้นลงวันที่ 25กุมภาพันธ์ 2540 ซึ่งจำเลยเป็นผู้เรียงเองก็ยังคงระบุไว้ชัดแจ้งว่าจำเลยอยู่บ้านเลขที่ 4/75 ตามฟ้องโจทก์ หาใช่บ้านเลขที่ 706/3 ดังที่จำเลยอ้างในคำร้องไม่ เมื่อภูมิลำเนาของจำเลยตามหลักฐานที่ปรากฏในสำนวนขณะที่ส่งหมายนัดฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้แก่จำเลยคือบ้านเลขที่ 4/75 ตามฟ้องโจทก์ การส่งหมายนัดฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้แก่จำเลยตามภูมิลำเนาดังกล่าวจึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 94/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งนัดพิจารณาคดีที่ถูกต้องตามกฎหมาย และผลกระทบต่อกระบวนการพิจารณาคดี
จำเลยที่ 3 ได้แต่งตั้งทนายความเข้ามาต่อสู้ คดีตั้งแต่แรกในชั้นพิจารณาสืบพยานโจทก์ ทนายความ ของจำเลยที่ 3 ก็มาศาลโดยสม่ำเสมอโดยมิได้ทอดทิ้งคดี ครั้นถึงวันนัดพิจารณาสืบพยานจำเลย ทนายความ ของจำเลยที่ 3 ไม่มาศาล แต่ศาลชั้นต้นก็คงให้สืบพยาน เฉพาะของจำเลยที่ 1 เท่านั้น แล้วมีคำสั่งให้เลื่อนไป นัดสืบพยานจำเลยที่ 3 แต่ปรากฏว่าทนายความจำเลยที่ 3 ถึงแก่กรรมเสียก่อนถึงวันนัด จำเลยที่ 3 และทนายความ ของจำเลยที่ 3 ต่างมีภูมิลำเนาหรือสำนักทำการงานที่แน่นอน ดังนั้นการแจ้งวันนัดพิจารณาสืบพยานจำเลยที่ 3 ให้ฝ่าย จำเลยที่ 3 ทราบ ศาลชั้นต้นชอบที่จะส่งหมายนัดไปยังภูมิลำเนาหรือสำนักทำการงานของจำเลยที่ 3 หรือของทนายความของจำเลยที่ 3 ซึ่งถือว่าเป็นการส่ง โดยวิธีธรรมดาก่อน ตามที่ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 74 บัญญัติไว้ ฉะนั้นการที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ประกาศ แจ้งวันนัดพิจารณาสืบพยานจำเลยที่ 3 ไว้ที่หน้าศาล เพื่อให้จำเลยที่ 3 ทราบแทนนั้น จึงเป็นการกระทำ ที่ผิดขั้นตอนของกฎหมาย ขัดต่อ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 79 การประกาศแจ้งวันนัดให้จำเลยที่ 3 ทราบไม่ชอบอันมีผลทำให้กระบวนพิจารณาต่าง ๆ ที่กระทำภายหลังจากนั้นไม่ชอบไปด้วย อีกทั้งกรณีถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 3 ทราบนัดพิจารณาสืบพยานจำเลยที่ 3 แล้ว ประกอบกับเพื่อ ที่จะยังให้การเป็นไปด้วยความยุติธรรม การที่ศาลอุทธรณ์ พิพากษาให้ยกคำสั่งและคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้ ศาลชั้นต้นดำเนินการสืบพยานจำเลยที่ 3 แล้วพิพากษา คดีใหม่ต่อไป จึงเป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์เห็นสมควรตามที่ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27บัญญัติให้อำนาจไว้ คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 94/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งนัดพิจารณาคดีที่ถูกต้องตามกฎหมาย การส่งหมายนัดไปยังทนายความหรือจำเลยโดยวิธีธรรมดา
จำเลยที่ 3 ได้แต่งตั้งทนายความเข้ามาต่อสู้คดีตั้งแต่แรก ในชั้นพิจารณาสืบพยานโจทก์ ทนายความของจำเลยที่ 3 ก็มาศาลโดยสม่ำเสมอโดยมิได้ทอดทิ้งคดี ครั้นถึงวันนัดพิจารณาสืบพยานจำเลย ทนายความของจำเลยที่ 3 ไม่มาศาล แต่ศาลชั้นต้นก็คงให้สืบพยานเฉพาะของจำเลยที่ 1 เท่านั้น แล้วมีคำสั่ง ให้เลื่อนไปนัดสืบพยานจำเลยที่ 3 แต่ทนายความจำเลยที่ 3 ถึงแก่กรรม เสียก่อนถึงวันนัด จำเลยที่ 3 และทนายความของจำเลยที่ 3 ต่างมี ภูมิลำเนาหรือสำนักทำการงานที่แน่นอน ดังนั้น การแจ้งวันนัดพิจารณา สืบพยานจำเลยที่ 3 ให้ฝ่ายจำเลยที่ 3 ทราบ ศาลชั้นต้นชอบที่จะ ส่งหมายนัดไปยังภูมิลำเนาหรือสำนักทำการงานของจำเลยที่ 3 หรือ ของทนายความของจำเลยที่ 3 ซึ่งถือว่าเป็นการส่งโดยวิธีธรรมดาก่อน ตามที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 74 บัญญัติไว้ การที่ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ประกาศแจ้งวันนัดพิจารณาสืบพยานจำเลยที่ 3 ไว้ที่ หน้าศาลเพื่อให้จำเลยที่ 3 ทราบแทน จึงเป็นการกระทำที่ผิดขั้นตอน ของกฎหมาย ขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 79 มีผลทำให้กระบวนพิจารณาต่าง ๆ ที่กระทำภายหลังจากนั้นไม่ชอบไปด้วย อีกทั้งกรณีถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 3 ทราบนัดพิจารณาสืบพยานจำเลยที่ 3 แล้ว ประกอบกับเพื่อที่จะยังให้การเป็นไปด้วยความยุติธรรม การที่ศาลอุทธรณ์ พิพากษาให้ยกคำสั่งและคำพิพากษาศาลชั้นต้น ให้ศาลชั้นต้นดำเนินการ สืบพยานจำเลยที่ 3 แล้วพิพากษาคดีใหม่ต่อไป จึงเป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์ เห็นสมควรตามที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27 บัญญัติ ให้อำนาจไว้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 94/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งนัดพิจารณาคดีที่ถูกต้องตามกฎหมาย โดยการส่งหมายนัดไปยังภูมิลำเนา หรือสำนักทนายความ
จำเลยที่ 3 ได้แต่งตั้งทนายความเข้ามาต่อสู้คดีตั้งแต่แรกในชั้นพิจารณาสืบพยานโจทก์ ทนายความของจำเลยที่ 3 ก็มาศาลโดยสม่ำเสมอโดยมิได้ทอดทิ้งคดี ครั้นถึงวันนัดพิจารณาสืบพยานจำเลย ทนายความของจำเลยที่ 3ไม่มาศาล แต่ศาลชั้นต้นก็คงให้สืบพยานเฉพาะของจำเลยที่ 1 เท่านั้น แล้วมีคำสั่งให้เลื่อนไปนัดสืบพยานจำเลยที่ 3 แต่ปรากฏว่าทนายความจำเลยที่ 3 ถึงแก่กรรมเสียก่อนถึงวันนัด จำเลยที่ 3 และทนายความของจำเลยที่ 3 ต่างมีภูมิลำเนาหรือสำนักทำการงานที่แน่นอน ดังนั้นการแจ้งวันนัดพิจารณาสืบพยานจำเลยที่ 3 ให้ฝ่ายจำเลยที่ 3 ทราบ ศาลชั้นต้นชอบที่จะส่งหมายนัดไปยังภูมิลำเนาหรือสำนักทำการงานของจำเลยที่ 3 หรือของทนายความของจำเลยที่ 3 ซึ่งถือว่าเป็นการส่งโดยวิธีธรรมดาก่อน ตามที่ ป.วิ.พ.มาตรา 74 บัญญัติไว้ ฉะนั้นการที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ประกาศแจ้งวันนัดพิจารณาสืบพยานจำเลยที่ 3 ไว้ที่หน้าศาลเพื่อให้จำเลยที่ 3ทราบแทนนั้น จึงเป็นการกระทำที่ผิดขั้นตอนของกฎหมาย ขัดต่อ ป.วิ.พ.มาตรา 79
การประกาศแจ้งวันนัดให้จำเลยที่ 3 ทราบไม่ชอบ อันมีผลทำให้กระบวนพิจารณาต่าง ๆ ที่กระทำภายหลังจากนั้นไม่ชอบไปด้วย อีกทั้งกรณีถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 3 ทราบนัดพิจารณาสืบพยานจำเลยที่ 3 แล้ว ประกอบกับเพื่อที่จะยังให้การเป็นไปด้วยความยุติธรรม การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้ยกคำสั่งและคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้ศาลชั้นต้นดำเนินการสืบพยานจำเลยที่ 3 แล้วพิพากษาคดีใหม่ต่อไป จึงเป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์เห็นสมควรตามที่ ป.วิ.พ.มาตรา 27 บัญญัติให้อำนาจไว้ คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3758/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การส่งหมายที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายทำให้จำเลยไม่ทราบถึงการพิจารณาคดี ศาลฎีกาเพิกถอนการอ่านคำพิพากษา
จำเลยทั้งสองไม่เคยได้รับหมายนัดและสำเนาอุทธรณ์ตลอดจนหมายนัดฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ เนื่องจากบ้านเลขที่ตามฟ้องจำเลยทั้งสองใช้เป็นสถานที่สำหรับเก็บยางรถยนต์เก่าเท่านั้น ไม่มีผู้ใดพักอาศัยอยู่เลย แม้จำเลยที่ 2จะมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านตามฟ้อง แต่จำเลยที่ 2ก็ได้อยู่กินฉันสามีภริยากับจำเลยที่ 1 ที่บ้านเลขที่355/17-18 แสดงว่าจำเลยที่ 2 ไม่ได้ใช้บ้านเลขที่ตามฟ้องเป็นสถานที่อยู่อันเป็นแหล่งสำคัญอีกแห่งหนึ่ง กรณีเช่นนี้ต้องถือว่าจำเลยทั้งสองมีภูมิลำเนาอยู่ที่บ้านเลขที่355/17-18 การที่ศาลชั้นต้นส่งหมายนัดฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้แก่จำเลยทั้งสองที่บ้านเลขที่ตามฟ้องจึงมีเหตุผลเชื่อได้ว่าจำเลยทั้งสองยังไม่ทราบนัดฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์เมื่อจำเลยทั้งสองไม่มาศาลย่อมไม่อาจถือได้ว่าจำเลยทั้งสองได้ทราบคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ และถือไม่ได้ว่าศาลชั้นต้นได้อ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้จำเลยทั้งสองฟังโดยชอบแล้วศาลฎีกาชอบที่จะเพิกถอนการอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์เสียตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3042/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การส่งหมายเรียกโดยวิธีปิดหมาย ณ สำนักงานใหญ่ของจำเลยชอบด้วยกฎหมาย แม้เอกสารจะล่าช้าในการส่งต่อภายใน
ในคดีแรงงานเมื่อพนักงานเดินหมายซึ่งเป็นเจ้าพนักงานศาลได้ส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องแก่จำเลย โดยวิธีปิดหมายตามคำสั่งศาลแรงงาน ณ ภูมิลำเนาของจำเลยคือสำนักงานใหญ่อันเป็นสำนักทำการงานของจำเลยแล้ว การส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องจึงชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 74 ประกอบมาตรา 79 ส่วนการที่พนักงานจำเลยซึ่งอยู่ที่สำนักงานใหญ่ได้เก็บรวบรวมสำเนาคำฟ้องไว้กับเอกสารอื่นซึ่งมีจำนวนมากกว่าจะมีการแยกแยะ เพื่อส่งไปยังผู้บริหารซึ่งไปประจำอยู่ ณ สำนักงานโครงการ อันเป็นสำนักงานชั่วคราวเกิดความล่าช้ารวมทั้งระยะเวลาในการส่งไปยังผู้บริหารดังกล่าวก็ล่วงเลยกำหนดนัดของศาล โดยจำเลยไม่มีเจตนาจะไม่ยื่นคำให้การ และไม่ไปศาลตามนัดนั้น เป็นเรื่องการบริหารกิจการภายในที่จำเลยจะต้องกำชับดูแลพนักงานจำเลยให้ปฏิบัติงานให้ทันตามกำหนดเวลาเพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายแก่จำเลย การที่พนักงานจำเลยตรวจสอบแยกแยะเอกสารล่าช้าและส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้แก่ผู้บริหารของจำเลยล่วงเลยเวลาซึ่งกำหนดให้ปฏิบัติตามข้อความในหมายเรียกเมื่อเป็นความผิดหรือบกพร่องของจำเลยเอง จึงมิใช่เหตุผลอันสมควรที่จำเลยจะยกมาอ้างต่อศาลในการไม่ไปศาลตามนัด ในหมายเรียก การที่จำเลยไม่ปฏิบัติตามหมายเรียกโดยไม่มี เหตุอันสมควร เป็นการขาดนัดโดยไม่มีเหตุอันสมควรและไม่มีเหตุที่จำเลยจะขอให้พิจารณาใหม่
of 11