คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ทัศนีย์ ธรรมเกณฑ์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 64 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6086/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำ: คดีชายคาล้ำที่ดิน vs. ฟ้องขับไล่ทั้งแปลง ศาลฎีกายืนตามศาลอุทธรณ์
คดีต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง การวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายศาลฎีกาจำต้องถือตามข้อเท็จจริงที่ศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยจากพยานหลักฐานในสำนวนคดีก่อนโจทก์ฟ้องว่าจำเลยปลูกสร้างบ้านโดยมีชายคาและเสาค้ำชายคาล้ำเข้ามาในที่ดินของโจทก์ซึ่งเป็นที่ดินแปลงเดียวกับที่ดินพิพาทนี้ จำเลยให้การตอนแรกมีใจความสรุปว่า ที่ดินของจำเลยทางด้านทิศตะวันตกไม่ได้ติดกับที่ดินของโจทก์แต่ติดถนนสาธารณะ และให้การต่อมาว่าโจทก์ได้ที่ดินดังกล่าวมาโดยไม่ชอบไม่ทราบว่าขอออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) ในที่ดินพิพาทได้อย่างไรเนื่องจากเป็นถนนสาธารณะ จำเลยสร้างบ้านซึ่งโจทก์อ้างว่ามีชายคารุกล้ำมาเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 20 ปี โดยไม่มีผู้ใดคัดค้าน สิทธิของจำเลยดีกว่าโจทก์ ขอให้ยกฟ้องจึงเท่ากับเป็นการอ้างว่าที่ดินตามฟ้องเป็นถนนสาธารณะ และจำเลยมีสิทธิในที่ดินในส่วนที่รุกล้ำดีกว่าโจทก์เท่านั้น มิได้หมายความว่าจำเลยอ้างว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยไม่ใช่ของโจทก์ เมื่อคดีถึงที่สุดโดยศาลมีคำวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงยังฟังไม่ได้ว่าชายคาบ้านดังกล่าวอยู่ในที่ดินตามฟ้องแต่อยู่ในที่ดินของจำเลยเองและพิพากษายกฟ้อง จึงไม่ได้เป็นการวินิจฉัยว่าที่ดินตาม น.ส.3 ก. ที่โจทก์กล่าวอ้างเป็นของโจทก์หรือเป็นของจำเลย เมื่อโจทก์นำคดีมาฟ้องขับไล่จำเลยและห้ามจำเลยคัดค้านการรังวัดที่ดินเพื่อออกโฉนดที่ดินโดยอ้างว่าที่ดินตาม น.ส.3 ก. ดังกล่าวเป็นของโจทก์ทั้งแปลง จึงเป็นประเด็นที่ยังไม่ได้รับการวินิจฉัยในคดีก่อน ฟ้องโจทก์ไม่เป็นฟ้องซ้ำ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5272/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ องค์ประกอบความผิด พ.ร.บ.เช็ค: โจทก์ไม่ต้องบรรยายรายละเอียดหนี้ในฟ้อง เพียงแสดงว่ามีหนี้จริงและบังคับได้
พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 มาตรา 4 บัญญัติว่า "ผู้ใดออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมายโดยมีลักษณะหรือมีการกระทำอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้ (1) เจตนาที่จะไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็คนั้น ฯลฯ เมื่อได้มีการยื่นเช็คเพื่อให้ใช้เงินโดยชอบด้วยกฎหมาย ถ้าธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คนั้นผู้ออกเช็คมีความผิด" ตามบทบัญญัติดังกล่าวการออกเช็คที่จะเป็นความผิดนั้น จะต้องเป็นการออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมายด้วยอันเป็นข้อเท็จจริงประการหนึ่งซึ่งเป็นองค์ประกอบของความผิด การที่โจทก์บรรยายฟ้องมีสาระสำคัญว่าจำเลยออกเช็คให้แก่โจทก์เพื่อชำระหนี้ซึ่งเป็นหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมาย ครั้นเช็คถึงกำหนดโจทก์นำไปเรียกเก็บเงิน แต่ธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงิน การกระทำของจำเลยเป็นการออกเช็คโดยเจตนาจะไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็ค จึงเป็นที่เห็นได้ว่าคำฟ้องของโจทก์ได้บรรยายข้อเท็จจริงแล้วว่าจำเลยออกเช็คเพียงชำระหนี้อันเป็นหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมาย ครบองค์ประกอบความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 มาตรา 4 และได้บรรยายข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการกระทำของจำเลยครบถ้วนเพียงพอที่จำเลยจะเข้าใจข้อหาและต่อสู้คดีได้แล้ว ส่วนปัญหาที่ว่าจำเลยเป็นหนี้อะไรนั้นเป็นเพียงรายละเอียดที่โจทก์จะต้องนำสืบในชั้นพิจารณา โจทก์ไม่จำต้องบรรยายมาในฟ้อง ฟ้องโจทก์จึงชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4974/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำฟ้องไม่ชัดเจน การรับสารภาพไม่ชอบ ศาลยกฟ้องได้ แม้จำเลยไม่ยกข้อต่อสู้
โจทก์บรรยายฟ้องว่า ตามวันเวลาและภายหลังเกิดเหตุลักทรัพย์ตามฟ้องข้อ 1 คือวันที่ 6 ธันวาคม 2547 ถึงวันเวลาในฟ้องข้อ 2 คือวันที่ 6 ธันวาคม 2548 อันเป็นวันที่จำเลยถูกจับกุมได้พร้อมทรัพย์ของกลางที่ถูกคนร้ายลักไป จำเลยได้กระทำความผิดฐานรับของโจร เมื่อโจทก์ยื่นฟ้องวันที่ 1 มิถุนายน 2548 จึงเป็นการกล่าวหาว่าจำเลยอาจกระทำความผิดภายหลังวันที่โจทก์ฟ้อง เป็นคำฟ้องที่ไม่ชัดแจ้งเพียงพอที่จะทำให้จำเลยเข้าใจข้อหาและต่อสู้คดีได้ถูกต้อง การที่จำเลยให้การรับสารภาพว่ากระทำความผิดฐานรับของโจร จึงเป็นการรับสารภาพตามฟ้องที่ไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4467/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความการฟ้องคดีรอนสิทธิที่ดิน: ฟ้องเกิน 3 เดือนนับจากวันที่ยอมคืนที่ดินให้บุคคลภายนอก คดีขาดอายุความ
การซื้อขายที่ดินตามสัญญาจะซื้อจะขายและสัญญาซื้อขายที่ดินระหว่างโจทก์กับจำเลยเสร็จสมบูรณ์ตามสัญญาแล้ว หลังจากนั้นปรากฏว่าที่ดินที่ซื้อขายและส่งมอบกันแล้วเป็นของบุคคลภายนอกบางส่วน กรณีจึงเป็นเรื่องการรอนสิทธิที่ผู้ขายจะต้องรับผิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 475 เมื่อโจทก์ยอมคืนที่ดินให้แก่บุคคลภายนอกจึงต้องฟ้องคดีภายในสามเดือนนับแต่วันที่ยอมตามที่บุคคลภายนอกเรียกร้องตาม ป.พ.พ. มาตรา 481 เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่า วันที่โจทก์ยอมตามที่บุคคลภายนอกเรียกร้องคือกลางเดือนกุมภาพันธ์ 2545 แต่โจทก์ฟ้องคดีนี้วันที่ 12 กรกฎาคม 2545 จึงเกินสามเดือน ถือว่าคดีโจทก์ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4467/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรอนสิทธิที่ดิน: ผู้ซื้อต้องฟ้องภายใน 3 เดือนนับจากวันที่ยอมคืนที่ดินให้บุคคลภายนอก
โจทก์จำเลยทำสัญญาจะซื้อจะขายและจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ตามสัญญาซื้อขายที่ดินเสร็จสมบูรณ์แล้ว หลังจากนั้นจึงปรากฏว่าที่ดินที่ซื้อขายและส่งมอบกันเป็นของบุคคลภายนอกบางส่วน จึงเป็นเรื่องการรอนสิทธิที่ผู้ขายจะต้องรับผิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 475 เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้ซื้อยอมคืนที่ดินให้แก่บุคคลภายนอกจึงต้องฟ้องคดีภายในสามเดือนนับแต่วันที่ยอมตามที่บุคคลภายนอกเรียกร้องตาม มาตรา 481

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3343/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองปรปักษ์: การครอบครองต้องมีเจตนาเป็นเจ้าของและลักษณะถาวร
สภาพบ้านของผู้ร้องเป็นบ้านชั้นเดียวหลังคามุงด้วยสังกะสี ผนังบ้านกั้นด้วยกระเบื้องแผ่นเรียบ พื้นบ้านมีการยกพื้น โดยเป็นการปลูกสร้างอย่างง่ายๆ ใช้วัสดุก่อสร้างที่ไม่มั่นคงแข็งแรง ไม่ยากต่อการรื้อถอน ทางด้านขวาของบ้านผู้ร้องติดกับผนังของบ้านข้างเคียง ส่วนทางด้านซ้ายอยู่ห่างจากผนังบ้านข้างเคียงประมาณ 1 เมตร บริเวณด้านข้างและด้านหลังมีน้ำท่วมขังไม่สามารถใช้เป็นทางเดินได้ ลักษณะการปลูกสร้างบ้านและสภาพสิ่งแวดล้อมของบ้านผู้ร้องจึงมีลักษณะที่แสดงให้เห็นว่าเป็นการปลูกสร้างไม่แน่นหนาและถาวรเพื่อเป็นที่อาศัยพักพิงชั่วคราวดังเช่นบ้านในชุมชนแออัดทั่วไปซึ่งมักจะอาศัยโอกาสปลูกสร้างบ้านชั่วคราวในลักษณะเช่นนี้ในที่ดินว่างเปล่าของผู้อื่น โดยการปลูกสร้างหรือต่อเติมรวมทั้งการรื้อถอนโยกย้ายสามารถกระทำได้ง่ายตลอดเวลา นอกจากนี้ยังปรากฏว่าผู้ร้องไม่เคยขอเลขที่บ้านหรือหลักฐานทะเบียนบ้านจากทางราชการ ทั้งได้ความว่าบุตรของผู้ร้องไปขอใช้บริการไฟฟ้าและน้ำประปาให้ผู้ร้องโดยใช้บ้านเลขที่ของน้องต่างมารดาของผู้ร้อง และติดตั้งมาตรวัดน้ำและมิเตอร์ไฟฟ้าที่บ้านดังกล่าวด้วย ยิ่งเป็นข้อสนับสนุนให้เห็นว่าผู้ร้องยอมรับว่าผู้ร้องเป็นเจ้าของบ้านซึ่งปลูกสร้างชั่วคราวในที่ดินของผู้อื่น พฤติกรรมการเข้าครอบครองที่ดินพิพาทของผู้ร้องเช่นนี้จึงไม่อาจถือได้ว่าเป็นการครอบครองโดยมีเจตนาเป็นเจ้าของอันจะเป็นเหตุให้ผู้ร้องได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทตาม ป.พ.พ. มาตรา 1382 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2318/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาในการเล่นแชร์เป็นองค์ประกอบสำคัญ หากจำเลยเพียงหลอกลวงเพื่อเอาเงิน ไม่ถือเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.เล่นแชร์
การกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.การเล่นแชร์ พ.ศ.2534 มาตรา 4, 6 (1) (2), 17 ผู้กระทำจะต้องมีเจตนาจัดให้มีการเล่นแชร์หรือเป็นนายวงแชร์ที่แท้จริง ดังนี้ แม้ตามคำฟ้องตอนต้นระบุว่า จำเลยเป็นนายวงแชร์ 7 วง อันเป็นการจัดให้มีการเล่นแชร์มากกว่าสามวงและมีสมาชิกวงแชร์รวมกันทุกวงมากกว่าสามสิบคน และกระทำความผิดฐานฉ้อโกงด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จและปกปิดข้อความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้งเกี่ยวกับการจัดตั้งวงแชร์ของจำเลยต่อผู้เสียหายที่ 1 ถึงที่ 7 และประชาชนทั่วไป แต่ในคำฟ้องต่อไปได้อธิบายถึงพฤติการณ์ของจำเลยว่า ความจริงจำเลยไม่มีสมาชิกครบตามจำนวนวงแชร์ดังที่จำเลยแจ้งต่อผู้เสียหายทั้งเจ็ดและผู้อื่น แต่จำเลยอ้างหรือจัดตั้งชื่อผู้มีชื่อขึ้นมาเป็นสมาชิกเพื่อให้ครบตามจำนวนสมาชิกวงแชร์ อันเป็นความเท็จ โดยจำเลยมีเจตนาทุจริตเพื่อให้ผู้เสียหายทั้งเจ็ดและผู้อื่นหลงเชื่อเข้าร่วมเป็นสมาชิกวงแชร์เพื่อให้จำเลยได้เงินค่างวดแชร์จากผู้เสียหายแต่ละคน แสดงว่าจำเลยเพียงแต่อ้างการจัดให้มีการเล่นแชร์มาเป็นข้อหลอกลวงเพื่อให้ได้เงินค่างวดแชร์ จำเลยมิได้มีเจตนาจัดให้มีการเล่นแชร์อันเป็นองค์ประกอบความผิดตามที่โจทก์ระบุในตอนต้นของคำฟ้อง ทั้งตามฟ้องโจทก์มิได้บรรยายชัดแจ้งว่าบุคคลที่เข้าร่วมเล่นแชร์กับจำเลยและผู้เสียหายทั้งเจ็ดในแต่ละวงที่แท้จริงมีจำนวนเท่าใด จึงยังฟังไม่ได้ว่าเป็นกรณีมีบุคคลตั้งแต่สามคนขึ้นไปตกลงกันเป็นสมาชิกวงแชร์อันจะเป็นการเล่นแชร์ตาม พ.ร.บ.การเล่นแชร์ พ.ศ.2534 มาตรา 4 ดังนี้ แม้จำเลยให้การรับสารภาพ เมื่อพฤติการณ์ของจำเลยตามที่โจทก์บรรยายมาในคำฟ้องไม่อาจถือเป็นความผิดตามบทกฎหมายดังกล่าวย่อมไม่อาจลงโทษจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1960/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานซื้อเสียง: การให้เงินแก่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งถือเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน
จำเลยให้เงิน ค. ท. ส. และ ล. ซึ่งเป็นผู้มีสิทธิเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดพิษณุโลกและสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดพิษณุโลก เขตเลือกตั้งที่ 2 เพื่อจูงใจให้บุคคลทั้งสี่ลงคะแนนเลือกตั้งให้แก่ ธ. ผู้สมัครรับเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดพิษณุโลก และ ว. ผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดพิษณุโลก การกระทำของจำเลยเป็นการจูงใจโดยให้เงินแก่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งแต่ละคนย่อมเป็นความผิดสำเร็จในตัวและอาศัยเจตนาแตกต่างแยกจากกัน จึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1960/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดหลายกรรมต่างกันจากการให้เงินจูงใจผู้มีสิทธิเลือกตั้ง และเหตุไม่รอการลงโทษ
จำเลยให้เงินแก่ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 4 คน เพื่อจูงใจให้แต่ละคนลงคะแนนเลือกตั้ง ธ. และ ว. ย่อมเป็นความผิดสำเร็จในตัวและเป็นการอาศัยเจตนาแตกต่างแยกจากกันจึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1286/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ โมฆียะกรรมฉ้อฉล สัญญาเช่ายังมีผลผูกพัน แม้มีการร้องทุกข์อาญา
ขณะทำสัญญาซื้อขายสินค้าและสัญญาเช่า โจทก์ไม่ทราบว่าสินค้าดังกล่าวไม่ใช่ทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 เหตุแห่งการแสดงเจตนาโดยสำคัญผิดของโจทก์จึงเกิดจากการฉ้อฉลของจำเลยที่ 1 และที่ 3 อันเป็นผลทำให้นิติกรรมการซื้อขายและการทำสัญญาเช่าตกเป็นโมฆียะ จำเลยที่ 1 และที่ 3 ซึ่งเป็นคู่กรณีที่เป็นฝ่ายฉ้อฉลโจทก์ย่อมมีความผูกพันตามสัญญาดังกล่าวจนกว่าจะมีการบอกล้างโมฆียะกรรมนั้น และการบอกล้างโมฆียะกรรมเป็นนิติกรรมระงับสิทธิจึงต้องมีการแสดงเจตนาโดยชัดแจ้ง การที่โจทก์ร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีอาญาแก่จำเลยที่ 1 และที่ 3 ไม่ถือเป็นการบอกล้างโมฆียะกรรม เพราะการร้องทุกข์ไม่ใช่การแสดงเจตนาเพื่อก่อให้เกิดการเคลื่อนไหวในสิทธิอย่างใดอย่างหนึ่ง สัญญาเช่าดังกล่าวจึงมีผลผูกพันคู่สัญญา จำเลยที่ 1 และที่ 3 ร่วมกันออกเช็คพิพาทให้แก่โจทก์เพื่อชำระหนี้ค่าเช่าสินค้าตามสัญญาเช่าดังกล่าว จึงถือว่าเป็นเช็คที่มีมูลหนี้ซึ่งบังคับได้ตามกฎหมาย
of 7