คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ทัศนีย์ ธรรมเกณฑ์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 64 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1216/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายต้องเป็นปัญหาข้อกฎหมายล้วน หากมีข้อเท็จจริงปะปน ศาลฎีกาไม่รับ
อุทธรณ์ที่มีทั้งปัญหาข้อกฎหมายและปัญหาข้อเท็จจริง มิใช่อุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายที่อาจขออนุญาตยื่นอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 223 ทวิ วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 583/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองเมทแอมเฟตามีนปริมาณที่กฎหมายสันนิษฐานว่ามีไว้เพื่อจำหน่าย แม้ไม่พบเงินจากการขาย
เมทแอมเฟตามีนของกลางที่จำเลยมีไว้ในครอบครองจำนวน 20 เม็ด รวมน้ำหนัก 1.720 กรัม เข้าข้อสันนิษฐานของกฎหมายว่า จำเลยมีเมทแอมเฟตามีนของกลางไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 15 วรรคสาม (2), 66 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 368/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนฟ้องคดีอาญาโดยโจทก์ร่วม (ผู้เสียหาย) ทำให้สิทธิในการฟ้องระงับ
คดีนี้เป็นคดีอาญาความผิดต่อส่วนตัวและยังไม่ถึงที่สุด เมื่อปรากฏตามคำร้องของโจทก์ร่วมว่า โจทก์ร่วมไม่ติดใจดำเนินคดีอาญาแก่จำเลยทั้งสาม โดยโจทก์และจำเลยทั้งสามไม่คัดค้าน แสดงว่าโจทก์ร่วมซึ่งเป็นผู้เสียหายประสงค์ที่จะถอนคำร้องทุกข์นั่นเอง แต่โจทก์ร่วมใช้ข้อความผิดไปเป็นถอนฟ้องเนื่องจากคดีนี้พนักงานอัยการเป็นโจทก์ ส่วนผู้เสียหายเป็นเพียงโจทก์ร่วมเช่นนี้ สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9794/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การป้องกันสิทธิโดยเกินสมควรแก่เหตุ: การใช้กระแสไฟฟ้าป้องกันทรัพย์สินและผลกระทบต่อการกระทำความผิดอาญา
จำเลยเป็นเจ้าของสวนผลไม้ที่เกิดเหตุซึ่งมีรั้วลวดหนามล้อมทั้งสี่ด้าน ก่อนเกิดเหตุจำเลยขึงเส้นลวด 1 เส้น จากทิศเหนือไปยังทิศใต้สูงจากพื้นดินประมาณ 50 เซนติเมตร ขวางกึ่งกลางสวนแล้วปล่อยกระแสไฟฟ้าขนาด 220 โวลต์ ผ่านเส้นลวดเพื่อป้องกันคนร้าย โดยมีเจตนาให้กระแสไฟฟ้าทำร้ายร่างกายเนื่องจากเคยมีคนร้ายเข้าไปลักผลไม้และทรัพย์สินอื่น ต่อมาในวันเวลาเกิดเหตุผู้ตายอายุ 14 ปีเศษกับ ต. อายุ 15 ปี เข้าไปในสวนของจำเลยโดยพังรั้วเข้าไปเพื่อจะลักกระท้อนในสวนแล้วผู้ตายเดินไปถูกเส้นลวดที่จำเลยปล่อยกระแสไฟฟ้าไว้ เป็นเหตุให้ถึงแก่ความตายนั้นเมื่อไม่ปราฏว่าขณะเกิดเหตุผู้ตายกับ ต. มีอาวุธใด ๆ ติดตัว ประกอบกับผลไม้ที่เข้าไปเพื่อจะลักน่าจะราคาไม่มากนัก ดังนี้ หากจำเลยพบเห็นผู้ตายกับพวกในขณะเกิดเหตุจำเลยย่อมสามารถใช้วิธีอื่นที่รุนแรงน้อยกว่าการทำร้ายร่างกายกระทำต่อผู้ตายเพื่อป้องกันสิทธิของตนให้บรรลุได้ไม่ยาก การกระทำของจำเลยจึงเป็นการป้องกันเกินสมควรแก่เหตุ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8847/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนับโทษซ้อนกันในคดีอาญา ศาลฎีกาแก้คำพิพากษาศาลอุทธรณ์บางส่วน โดยยกคำขอให้นับโทษต่อจากคดีก่อน
คดีนี้เป็นคดีอาญาหมายเลขดำที่ 969/2547 ดังนั้น เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏแก่ศาลฎีกาว่า คดีอาญาหมายเลขดำที่ 968/2547 มีการนับโทษจำเลยทั้งสองต่อจากโทษในคดีอาญาหมายเลขดำที่ 965/2547, 966/2547, 967/2547 แล้ว คดีนี้จึงนับโทษต่อจากคดีอาญาหมายเลขดำที่ 965/2547, 966/2547, 967/2547 อีกไม่ได้ เพราะเป็นการนับโทษซ้อนกันไม่ชอบด้วย ป.อ. มาตรา 22 วรรคหนึ่ง
ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 6 พิพากษาให้นับโทษจำเลยทั้งสองต่อจากโทษในคดีอาญาหมายเลขดำที่ 968/2547 ซึ่งเป็นคดีที่ได้มีคำพิพากษาไปก่อนหน้าคดีนี้แล้ว เป็นการใช้ดุลพินิจของศาลในการกำหนดให้เริ่มนับโทษจำคุกคดีนี้ต่อจากโทษในคดีก่อนจึงชอบแล้ว และไม่เป็นการนับโทษซ้อนกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8640/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยอมความโดยมีเงื่อนไขชำระหนี้ การระงับสิทธิฟ้องคดีอาญา
เมื่อโจทกและจำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันว่า ถ้าจำเลยชำระเงินครบถ้วนแล้ว โจทก์จะดำเนินการถอนฟ้องคดียักยอกที่ศาลชั้นต้นที่โจทก์ได้ฟ้องจำเลยไว้ ทั้งโจทก์ไม่ติดใจที่จะดำเนินคดีทั้งทางแพ่งและทางอาญากับจำเลยอันเป็นคดีที่เกี่ยวพันกับบริษัท ป. อีกต่อไป จึงเป็นการยอมความโดยมีเงื่อนไขที่ให้จำเลยชำระเงินแก่โจทก์เสียก่อน โจทก์จึงจะไม่ติดใจดำเนินคดีแก่จำเลย การยอมความในลักษณะเช่นนี้จะมีผลให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับไปต่อเมื่อจำเลยชดใช้เงินให้แก่โจทก์ครบตามจำนวนแล้ว เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าจำเลยนำเงินมาวางที่ศาลเพื่อชำระหนี้ให้แก่โจทก์ครบถ้วนตามสัญญาประนีประนอมยอมความแล้ว โจทก์มีความผูกพันที่จะต้องถอนฟ้องคดียักยอกที่ศาลชั้นต้นให้แก่จำเลยตามข้อตกลง กรณีจึงเป็นผลเป็นการยอมความในคดีอาญา สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ย่อมระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8591/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้ทางพิพาทในที่ดินแปลงเดียวกันกับกรรมสิทธิ์ร่วม ไม่ถือเป็นการใช้เพื่อสร้างภาระจำยอม จนกว่าจะมีการแบ่งแยกกรรมสิทธิ์
ก่อนหน้าวันที่ 15 พฤศจิกายน 2544 อันเป็นวันที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาคดีหมายเลขแดงที่ 1129-1130/2544 ที่ดินโฉนดเลขที่ 3437 เดิมซึ่งมีทางพิพาทอยู่บนที่ดิน เป็นที่ดินที่โจทก์กับพวกมีกรรมสิทธิ์รวมอยู่ด้วย ดังนั้น การใช้ทางพิพาทในช่วงระยะเวลาดังกล่าวของโจทก์จึงเป็นการใช้ตามกรรมสิทธิ์ของตนซึ่งไม่ใช่การใช้ทางพิพาทโดยเจตนาให้เป็นทาภาระจำยอม แต่การใช้ทางพิพาทโดยเจตนาให้เป็นทางภาระจำยอมหากจะเกิดขึ้นก็ต้องเป็นเวลาภายหลังจากศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาคดีดังกล่าว ซึ่งเมื่อนับถึงวันฟ้องคดีนี้ยังไม่ครบ 10 ปี ทางพิพาทจึงยังไม่ตกเป็นภาระจำยอมแก่ที่ดินโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7651/2552 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ องค์คณะผู้พิพากษาพิจารณาคดีอาญา: การกำหนดอำนาจศาลและการปฏิบัติให้ถูกต้องตามกฎหมาย
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 326, 328 ซึ่งตามมาตรา 328 มีระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี และปรับไม่เกินสองแสนบาท การพิจารณาพิพากษาคดีของศาลชั้นต้น ต้องมีผู้พิพากษาอย่างน้อยสองคนจึงเป็นองค์คณะที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีได้ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 26 แม้โจทก์จะขอให้ลงโทษ ตาม ป.อ. มาตรา 326 ซึ่งมีระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปีหรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ ที่ผู้พิพากษาคนเดียวมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 25 (5) มาด้วยก็ตาม แต่โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกระทำความผิดเพียงกรรมเดียวต่อศาลชั้นต้นซึ่งเป็นศาลจังหวัด องค์คณะในการพิจารณาพิพากษาคดีนี้จึงต้องมีผู้พิพากษาอย่างน้อยสองคนตามมาตรา 26 ดังกล่าว การที่ศาลชั้นต้นพิจารณาคดีนี้แล้วพิพากษายกฟ้องโดยผู้พิพากษาคนเดียวเป็นผู้พิจารณาพิพากษาคดีจึงเป็นการไม่ชอบด้วยพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 25 (5) และมาตรา 26 และเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามกฎหมาย ศาลอุทธรณ์ภาค 3 จึงยังไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีต้องให้ศาลชั้นต้นดำเนินการให้ถูกต้องเสียก่อน ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7651/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ องค์คณะศาลในการพิจารณาคดีหมิ่นประมาท: ความถูกต้องตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม
จำเลยกระทำความผิดฐานหมิ่นประมาทโจทก์ร่วมโดยการโฆษณาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326, 328 ซึ่งตามมาตรา 328 มีระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี และปรับไม่เกินสองแสนบาท ศาลชั้นต้นต้องมีผู้พิพากษาอย่างน้อยสองคนจึงเป็นองค์คณะที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีได้ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 26 แม้โจทก์จะขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326 ซึ่งมีระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ที่ผู้พิพากษาคนเดียวมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 25 (5) มาด้วย แต่โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกระทำความผิดเพียงกรรมเดียวต่อศาลชั้นต้นซึ่งเป็นศาลจังหวัดองค์คณะในการพิจารณาพิพากษาคดีจึงต้องมีผู้พิพากษาอย่างน้อยสองคนตามมาตรา 26 ดังกล่าว การที่ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโดยผู้พิพากษาคนเดียวเป็นผู้พิจารณาพิพากษาคดี จึงเป็นการไม่ชอบด้วยพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 25 (5) และมาตรา 26

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7651/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ องค์คณะผู้พิพากษาพิจารณาคดีหมิ่นประมาท ต้องมีจำนวนตามที่กฎหมายกำหนด
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 326, 328 ซึ่งตามมาตรา 328 การพิจารณาพิพากษาคดีของศาลชั้นต้นต้องมีผู้พิพากษาอย่างน้อยสองคนจึงเป็นองค์คณะที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดี ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 26 แม้โจทก์จะขอให้ลงโทษตาม ป.อ. มาตรา 326 ซึ่งผู้พิพากษาคนเดียวมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดี ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 25 (5) มาด้วย แต่โจทก์ฟ้องว่า จำเลยกระทำผิดเพียงกรรมเดียวต่อศาลชั้นต้นซึ่งเป็นศาลจังหวัด ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโดยผู้พิพากษาคนเดียวเป็นผู้พิจารณาพิพากษาคดี จึงเป็นการไม่ชอบด้วยพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 25 (5) และมาตรา 26
of 7