พบผลลัพธ์ทั้งหมด 78 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6384/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การส่งหมายนัดฟังคำพิพากษาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย แม้ทนายจำเลยมิได้แจ้งย้ายภูมิลำเนา
พนักงานเดินหมายส่งหมายนัดฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้แก่ทนายจำเลยโดยมีผู้รับแทนตามภูมิลำเนาที่ทนายแจ้งไว้ในคำแก้อุทธรณ์แต่ปรากฏว่าทนายจำเลยไม่เคยมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านดังกล่าวทั้งทนายจำเลยได้ย้ายออกไปก่อนมีการส่งหมายนัดแล้วทนายจำเลยจึงไม่ได้มีภูมิลำเนาอยู่ที่บ้านเลขที่ตามที่แจ้งไว้ในคำแก้อุทธรณ์กรณีจะถือว่าทนายจำเลยได้รับหมายนัดฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์แล้วโดยชอบด้วยกฎหมายไม่ได้แม้ทนายจำเลยจะมิได้แจ้งการย้ายภูมิลำเนาต่อศาลก็เป็นคนละเรื่องกับปัญหาว่าการส่งหมายนัดฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ชอบหรือไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6031/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการฎีกาในข้อเท็จจริง, การละเมิด, และการส่งหมายที่ชอบด้วยกฎหมาย
โจทก์ฟ้องให้บังคับจำเลยที่ 1 ถึงที่ 8 และบริวารขนย้ายทรัพย์สินและรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกจากที่ดินพิพาทและให้ร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์เดือนละ 200,000 บาท จนกว่าจำเลยที่ 1 ถึงที่ 8 และบริวารจะออกไปจากที่ดินพิพาท ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 8 และบริวารขนย้ายทรัพย์สินและรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกจากที่ดินพิพาทและให้ร่วมกันใช้ค่าเสียหายเดือนละ 300 บาท โดยโจทก์และจำเลยที่ 1 ถึงที่ 8 มิได้อุทธรณ์ในเรื่องค่าเสียหาย ปัญหาเรื่องค่าเสียหายจึงเป็นอันยุติ ดังนั้น ค่าเสียหายที่พิพาทกันในชั้นฎีกาจึงมีเพียงจำนวนเดือนละ 300 บาท จึงอนุมานได้ว่า บ้านและที่ดินที่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 8 อยู่อาศัยดังกล่าวนี้มีค่าเช่าหรืออาจให้เช่าได้ในขณะยื่นคำฟ้องไม่เกินเดือนละ 10,000 บาท ดังนี้ คดีจึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ.มาตรา 248 วรรคสอง
ศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยที่ 1 ถึงที่ 8 อยู่ในที่ดินพิพาทของโจทก์โดยไม่มีสิทธิที่จะอยู่ได้ จึงเป็นการละเมิดต่อโจทก์ ที่จำเลยที่ 1ถึงที่ 8 ฎีกาว่า จำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 5 และที่ 6 ไม่ได้อยู่อาศัยในบริเวณที่ดินพิพาทแต่ได้เข้าไปเยี่ยมจำเลยที่ 3 ที่ 4 ที่ 7 และที่ 8 ในที่ดินพิพาทเป็นบางครั้ง และจำเลยที่ 3 ที่ 4 ที่ 7 และที่ 8 ต่างอยู่อาศัยในบ้านที่ปลูกอยู่ในที่ดินพิพาทโดยต่างครอบครองเป็นส่วนสัด ด้วยความสงบ เปิดเผย และเจตนาเป็นเจ้าของ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง เป็นการฎีกาโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์เป็นฎีกาในข้อเท็จจริง จึงต้องห้ามตามบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
บ้านเลขที่ 25 และเลขที่ 25/2 ต่างก็ปลูกอยู่ในที่พิพาท และตามทะเบียนบ้านทั้งสองหลังก็มีชื่อจำเลยที่ 1 ถึงที่ 8 เป็นผู้อาศัยอยู่ ส่วนจำเลยที่ 1 แม้จะมีชื่ออยู่ตามทะเบียนบ้านเลขที่ 212/25 และไม่ได้อยู่ในที่ดินพิพาทก็ตามแต่จำเลยที่ 1 เคยได้ใช้ที่ดินพิพาทเป็นที่จอดรถยนต์ รถอื่น ๆ และเก็บสิ่งของ และยังมีซากรถและสิ่งของยังมีอยู่ในที่ดินพิพาท เพียงแต่บ่ายเบี่ยงว่าสิ่งของดังกล่าวจะเป็นของผู้ใดไม่ทราบ ดังนี้ โจทก์จึงฟ้องคดีนี้ให้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 8 ให้ขนย้ายทรัพย์สินและรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างทั้งหมดรวมทั้งบ้านอีก 3 หลัง ออกไปจากที่ดินพิพาทเป็นคดีเดียวกันได้
เจ้าพนักงานเดินหมายระบุในรายงานการเดินหมายว่า พบภูมิลำเนาจำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 5 และที่ 6 ตามฟ้อง แต่ปรากฏว่าบ้านปิดใส่กุญแจและระบุว่าพบภูมิลำเนาจำเลยที่ 3 ที่ 4 ที่ 7 และที่ 8 ตามฟ้อง แต่บุคคลในนั้นเป็นชายอายุเกิน 20 ปี แจ้งว่าบุคคลดังกล่าวไปธุระนอกบ้าน เป็นการระบุรายละเอียดถึงพฤติการณ์การนำส่งหมายได้ชัดแจ้งเพียงพอแล้ว การที่พนักงานเดินหมายมิได้ระบุสภาพลักษณะบ้านที่ส่งหมายว่าเป็นอย่างไรนั้น เป็นเพียงส่วนปลีกย่อยในการเขียนรายงานของพนักงานเดินหมายเท่านั้น มิใช่สาระสำคัญอันจะเป็นผลให้การส่งหมายกลายเป็นไม่ชอบ
ศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยที่ 1 ถึงที่ 8 อยู่ในที่ดินพิพาทของโจทก์โดยไม่มีสิทธิที่จะอยู่ได้ จึงเป็นการละเมิดต่อโจทก์ ที่จำเลยที่ 1ถึงที่ 8 ฎีกาว่า จำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 5 และที่ 6 ไม่ได้อยู่อาศัยในบริเวณที่ดินพิพาทแต่ได้เข้าไปเยี่ยมจำเลยที่ 3 ที่ 4 ที่ 7 และที่ 8 ในที่ดินพิพาทเป็นบางครั้ง และจำเลยที่ 3 ที่ 4 ที่ 7 และที่ 8 ต่างอยู่อาศัยในบ้านที่ปลูกอยู่ในที่ดินพิพาทโดยต่างครอบครองเป็นส่วนสัด ด้วยความสงบ เปิดเผย และเจตนาเป็นเจ้าของ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง เป็นการฎีกาโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์เป็นฎีกาในข้อเท็จจริง จึงต้องห้ามตามบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
บ้านเลขที่ 25 และเลขที่ 25/2 ต่างก็ปลูกอยู่ในที่พิพาท และตามทะเบียนบ้านทั้งสองหลังก็มีชื่อจำเลยที่ 1 ถึงที่ 8 เป็นผู้อาศัยอยู่ ส่วนจำเลยที่ 1 แม้จะมีชื่ออยู่ตามทะเบียนบ้านเลขที่ 212/25 และไม่ได้อยู่ในที่ดินพิพาทก็ตามแต่จำเลยที่ 1 เคยได้ใช้ที่ดินพิพาทเป็นที่จอดรถยนต์ รถอื่น ๆ และเก็บสิ่งของ และยังมีซากรถและสิ่งของยังมีอยู่ในที่ดินพิพาท เพียงแต่บ่ายเบี่ยงว่าสิ่งของดังกล่าวจะเป็นของผู้ใดไม่ทราบ ดังนี้ โจทก์จึงฟ้องคดีนี้ให้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 8 ให้ขนย้ายทรัพย์สินและรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างทั้งหมดรวมทั้งบ้านอีก 3 หลัง ออกไปจากที่ดินพิพาทเป็นคดีเดียวกันได้
เจ้าพนักงานเดินหมายระบุในรายงานการเดินหมายว่า พบภูมิลำเนาจำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 5 และที่ 6 ตามฟ้อง แต่ปรากฏว่าบ้านปิดใส่กุญแจและระบุว่าพบภูมิลำเนาจำเลยที่ 3 ที่ 4 ที่ 7 และที่ 8 ตามฟ้อง แต่บุคคลในนั้นเป็นชายอายุเกิน 20 ปี แจ้งว่าบุคคลดังกล่าวไปธุระนอกบ้าน เป็นการระบุรายละเอียดถึงพฤติการณ์การนำส่งหมายได้ชัดแจ้งเพียงพอแล้ว การที่พนักงานเดินหมายมิได้ระบุสภาพลักษณะบ้านที่ส่งหมายว่าเป็นอย่างไรนั้น เป็นเพียงส่วนปลีกย่อยในการเขียนรายงานของพนักงานเดินหมายเท่านั้น มิใช่สาระสำคัญอันจะเป็นผลให้การส่งหมายกลายเป็นไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6031/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองปรปักษ์ที่ดินพิพาทและขอบเขตอำนาจฟ้อง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยประเด็นข้อเท็จจริงบางส่วน
โจทก์ฟ้องให้บังคับจำเลยที่ 1 ถึงที่ 8 และบริวารขนย้ายทรัพย์สินและรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกจากที่ดินพิพาทและให้ร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์เดือนละ 200,000 บาทจนกว่าจำเลยที่ 1 ถึงที่ 8 และบริวารจะออกไปจากที่ดินพิพาทศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 8 และบริวารขนย้ายทรัพย์สินและรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกจากที่ดินพิพาทและให้ร่วมกันใช้ค่าเสียหายเดือนละ 300 บาท โดยโจทก์และจำเลยที่ 1 ถึงที่ 8 มิได้อุทธรณ์ในเรื่องค่าเสียหายปัญหาเรื่องค่าเสียหายจึงเป็นอันยุติ ดังนั้น ค่าเสียหายที่พิพาทกันในชั้นฎีกาจึงมีเพียงจำนวนเดือนละ 300 บาทจึงอนุมานได้ว่า บ้านและที่ดินที่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 8 อยู่อาศัยดังกล่าวนี้มีค่าเช่าหรืออาจให้เช่าได้ในขณะยื่นคำฟ้องไม่เกินเดือนละ 10,000 บาท ดังนี้ คดีจึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคสอง ศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยที่ 1 ถึงที่ 8อยู่ในที่ดินพิพาทของโจทก์โดยไม่มีสิทธิที่จะอยู่ได้ จึงเป็นการละเมิดต่อโจทก์ ที่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 8 ฎีกาว่าจำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 5 และที่ 6 ไม่ได้อยู่อาศัยในบริเวณที่ดินพิพาทแต่ได้เข้าไปเยี่ยมจำเลยที่ 3 ที่ 4 ที่ 7 และที่ 8ในที่ดินพิพาทเป็นบางครั้ง และจำเลยที่ 3 ที่ 4 ที่ 7 และที่ 8ต่างอยู่อาศัยในบ้านที่ปลูกอยู่ในที่ดินพิพาทโดยต่างครอบครองเป็นส่วนสัด ด้วยความสงบ เปิดเผย และเจตนาเป็นเจ้าของโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง เป็นการฎีกาโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์เป็นฎีกาในข้อเท็จจริงจึงต้องห้ามตามบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย บ้านเลขที่ 25 และเลขที่ 25/2 ต่างก็ปลูกอยู่ในที่พิพาทและตามทะเบียนบ้านทั้งสองหลังก็มีชื่อจำเลยที่ 1 ถึงที่ 8เป็นผู้อาศัยอยู่ ส่วนจำเลยที่ 1 แม้จะมีชื่ออยู่ตามทะเบียนบ้านเลขที่ 212/25 และไม่ได้อยู่ในที่ดินพิพาทก็ตามแต่จำเลยที่ 1 เคยได้ใช้ที่ดินพิพาทเป็นที่จอดรถยนต์ รถอื่น ๆและเก็บสิ่งของ และยังมีซากรถและสิ่งของยังมีอยู่ในที่ดินพิพาท เพียงแต่บ่ายเบี่ยงว่าสิ่งของดังกล่าวจะเป็นของผู้ใดไม่ทราบ ดังนี้ โจทก์จึงฟ้องคดีนี้ให้จำเลยที่ 1ถึงที่ 8 ให้ขนย้ายทรัพย์สินและรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างทั้งหมดรวมทั้งบ้านอีก 3 หลัง ออกไปจากที่ดินพิพาทเป็นคดีเดียวกันได้ เจ้าพนักงานเดินหมายระบุในรายงานการเดินหมายว่าพบภูมิลำเนาจำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 5 และที่ 6 ตามฟ้องแต่ปรากฏว่าบ้านปิดใส่กุญแจและระบุว่าพบภูมิลำเนาจำเลยที่ 3 ที่ 4 ที่ 7 และที่ 8 ตามฟ้อง แต่บุคคลในนั้นเป็นชายอายุเกิน 20 ปี แจ้งว่าบุคคลดังกล่าวไปธุระนอกบ้าน เป็นการระบุรายละเอียดถึงพฤติการณ์การนำส่งหมายได้ชัดแจ้งเพียงพอแล้ว การที่พนักงานเดินหมายมิได้ระบุสภาพลักษณะบ้านที่ส่งหมายว่าเป็นอย่างไรนั้นเป็นเพียงส่วนปลีกย่อยในการเขียนรายงานของพนักงานเดินหมายเท่านั้น มิใช่สาระสำคัญอันจะเป็นผลให้การส่งหมายกลายเป็นไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2653/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบต้องคำนึงถึงการดำเนินการตามกระบวนการยุติธรรมและเหตุผลความสมควร
การสั่งเพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบเป็นดุลพินิจของศาลที่จะสั่งได้ตามที่เห็นสมควรตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา27คดีนี้มีการส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้แก่จำเลยที่1โดยการปิดหมายเมื่อวันที่22มิถุนายน2534และให้แก่จำเลยที่2โดยน. รับแทนเมื่อวันที่23กรกฎาคม2534แต่ปรากฏว่าวันที่17กรกฎาคม2534จำเลยทั้งสองได้ยื่นคำให้การแสดงว่าจำเลยที่2ทราบว่าตนถูกฟ้องตั้งแต่วันดังกล่าวและต่อมาก็ได้มีการดำเนินกระบวนพิจารณาโดยการชี้สองสถานสืบพยานโจทก์จำเลยทั้งสองและมีคำพิพากษาจนพ้นอายุอุทธรณ์ไปแล้วจำเลยที่2จึงไม่มีเหตุผลสมควรที่จะเพิกถอนกระบวนพิจารณา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2653/2538 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบ: ดุลพินิจศาล และการทราบข้อฟ้องของจำเลย
การสั่งเพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบ เป็นดุลพินิจของศาลที่จะสั่งได้ตามที่เห็นสมควรตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27 คดีนี้มีการส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้แก่จำเลยที่ 1 โดยการปิดหมายเมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2534และให้แก่จำเลยที่ 2 โดย น. รับแทนเมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2534 แต่ปรากฏว่าวันที่ 17 กรกฎาคม 2534 จำเลยทั้งสองได้ยื่นคำให้การ แสดงว่าจำเลยที่ 2ทราบว่าตนถูกฟ้องตั้งแต่วันดังกล่าว และต่อมาก็ได้มีการดำเนินกระบวนพิจารณาโดยการชี้สองสถานสืบพยานโจทก์จำเลยทั้งสองและมีคำพิพากษาจนพ้นอายุอุทธรณ์ไปแล้วจำเลยที่ 2 จึงไม่มีเหตุสมควรที่จะเพิกถอนกระบวนพิจารณา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2653/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนกระบวนพิจารณา: ดุลพินิจศาลเมื่อจำเลยทราบเรื่องฟ้องแล้ว
การสั่งเพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบเป็นดุลพินิจของศาลที่จะสั่งได้ตามที่เห็นสมควรตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา27คดีนี้มีการส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้แก่จำเลยที่1โดยการปิดหมายเมื่อวันที่22มิถุนายน2534และให้แก่จำเลยที่2โดยน.รับแทนเมื่อวันที่23กรกฎาคม2534แต่ปรากฏว่าวันที่17กรกฎาคม2534จำเลยทั้งสองได้ยื่นคำให้การแสดงว่าจำเลยที่2ทราบว่าตนถูกฟ้องตั้งแต่วันดังกล่าวและต่อมาก็ได้มีการดำเนินกระบวนพิจารณาโดยการชี้สองสถานสืบพยานโจทก์จำเลยทั้งสองและมีคำพิพากษาจนพ้นอายุอุทธรณ์ไปแล้วจำเลยที่2จึงไม่มีเหตุสมควรที่จะเพิกถอนกระบวนพิจารณา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2653/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เมื่อจำเลยทราบถึงการฟ้องคดีแล้ว
การสั่งเพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบ เป็นดุลพินิจของศาลที่จะสั่งได้ตามที่เห็นสมควรตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27 คดีนี้มีการส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้แก่จำเลยที่ 1 โดยการปิดหมายเมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2534 และให้แก่จำเลยที่ 2 โดย น.รับแทนเมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2534 แต่ปรากฏว่าวันที่17 กรกฎาคม 2534 จำเลยทั้งสองได้ยื่นคำให้การ แสดงว่าจำเลยที่ 2 ทราบว่าตนถูกฟ้องตั้งแต่วันดังกล่าว และต่อมาก็ได้มีการดำเนินกระบวนพิจารณาโดยการชี้สองสถานสืบพยานโจทก์จำเลยทั้งสองและมีคำพิพากษาจนพ้นอายุอุทธรณ์ไปแล้ว จำเลยที่ 2จึงไม่มีเหตุสมควรที่จะเพิกถอนกระบวนพิจารณา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 811/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งคำร้องเพิกถอนการเป็นคนไร้ความสามารถ การส่งหมายถึงผู้คัดค้านโดยผู้รับแทน ถือว่าผู้คัดค้านทราบแล้ว
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนคำสั่งที่สั่งให้ผู้ร้องเป็นคนไร้ความสามารถต่อศาลชั้นต้นเดียวกันกับที่มีคำสั่งให้ผู้ร้องเป็นคนไร้ความสามารถและให้อยู่ในความอนุบาลของผู้คัดค้านโดยแนบคำร้องและคำสั่งในคดีที่ผู้คัดค้านขอให้ศาลสั่งว่าผู้ร้องเป็นคนไร้ความสามารถมาพร้อมคำร้องแม้ปรากฏว่ามีการลงเลขคดีดำใหม่ในคำร้องก็เป็นเพียงทางปฏิบัติในทางธุรการของศาลถือได้ว่าผู้ร้องได้เสนอคำร้องต่อศาลในคดีที่ได้มีคำสั่งให้ผู้ร้องเป็นคนไร้ความสามารถตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา7(4)แล้ว ศาลชั้นต้นสั่งให้ผู้ร้องนำส่งสำเนาคำร้องให้ผู้คัดค้านต่อมาผู้ร้องนำพนักงานเดินหมายไปส่งหมายนัดไต่สวนและสำเนาคำร้องให้ผู้คัดค้านณภูมิลำเนาของผู้คัดค้านโดยผู้ที่อยู่ในบ้านเดียวกับผู้คัดค้านรับไว้แทนถือว่าผู้คัดค้านทราบเรื่องที่ผู้ร้องยื่นคำร้องแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 811/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยื่นคำร้องเพิกถอนคำสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถต่อศาลเดิม และการรับทราบคำร้อง
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนคำสั่งที่สั่งให้ผู้ร้องเป็นคนไร้ความ-สามารถต่อศาลชั้นต้นเดียวกันกับที่มีคำสั่งให้ผู้ร้องเป็นคนไร้ความสามารถและให้อยู่ในความอนุบาลของผู้คัดค้าน โดยแนบคำร้องและคำสั่งในคดีที่ผู้คัดค้านขอให้ศาลสั่งว่าผู้ร้องเป็นคนไร้ความสามารถมาพร้อมคำร้อง แม้ปรากฏว่ามีการลงเลขคดีดำใหม่ในคำร้องก็เป็นเพียงทางปฏิบัติในทางธุรการของศาล ถือได้ว่าผู้ร้องได้เสนอคำร้องต่อศาลในคดีที่ได้มีคำสั่งให้ผู้ร้องเป็นคนไร้ความสามารถตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 7 (4) แล้ว
ศาลชั้นต้นสั่งให้ผู้ร้องนำส่งสำเนาคำร้องให้ผู้คัดค้าน ต่อมาผู้ร้องนำพนักงานเดินหมายไปส่งหมายนัดไต่สวนและสำเนาคำร้องให้ผู้คัดค้าน ณ ภูมิลำเนาของผู้คัดค้านโดยผู้ที่อยู่ในบ้านเดียวกับผู้คัดค้านรับไว้แทน ถือว่าผู้คัดค้านทราบเรื่องที่ผู้ร้องยื่นคำร้องแล้ว
ศาลชั้นต้นสั่งให้ผู้ร้องนำส่งสำเนาคำร้องให้ผู้คัดค้าน ต่อมาผู้ร้องนำพนักงานเดินหมายไปส่งหมายนัดไต่สวนและสำเนาคำร้องให้ผู้คัดค้าน ณ ภูมิลำเนาของผู้คัดค้านโดยผู้ที่อยู่ในบ้านเดียวกับผู้คัดค้านรับไว้แทน ถือว่าผู้คัดค้านทราบเรื่องที่ผู้ร้องยื่นคำร้องแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4984/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ของผู้เยาว์ ต้องได้รับอนุญาตจากศาล หากไม่ได้รับอนุญาต สัญญาเป็นโมฆียะ
การขายอสังหาริมทรัพย์ของผู้เยาว์ ผู้เยาว์เองหรือผู้ใช้อำนาจปกครองจะกระทำมิได้ เว้นแต่ศาลจะอนุญาต ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1574 เมื่อผู้แทนโดยชอบธรรมต้องห้ามโดยกฎหมายมิให้ทำนิติกรรมขายที่ดินซึ่งหมายความรวมถึงนิติกรรมจะขายที่ดินแทนผู้เยาว์โดยลำพังแล้ว จะถือว่าการที่ผู้เยาว์ทำนิติกรรมพร้อมกับผู้แทนโดยชอบธรรมมีผลว่าผู้แทนโดยชอบธรรมอนุญาตให้ทำได้โดยไม่ต้องขออนุญาตจากศาลก่อน ก็เท่ากับเป็นการหลีกเลี่ยงไม่ต้องมาขออนุญาตจากศาล ซึ่งเป็นการผิดไปจากเจตนารมณ์ของกฎหมาย สัญญาจะซื้อจะขายที่จำเลยที่ 3 ได้กระทำในขณะที่ยังเป็นผู้เยาว์อยู่ จึงไม่มีผลผูกพันจำเลยที่ 3 และกรณีมิใช่โมฆียะกรรมแม้ภายหลังจำเลยที่ 3 จะบรรลุนิติภาวะโดยการสมรสจำเลยที่ 3ก็ไม่อาจให้สัตยาบันได้ แม้สัญญาจะซื้อจะขายไม่ผูกพันจำเลยที่ 3 ก็มีผลเพียงทำให้จำเลยที่ 3 ไม่จำต้องขายที่ดินเฉพาะส่วนของจำเลยที่ 3 ให้แก่โจทก์เท่านั้น ส่วนสัญญาจะซื้อจะขายระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2มีผลสมบูรณ์บังคับกันได้ตามกฎหมาย จำเลยที่ 2 จึงต้องขายที่ดินเฉพาะส่วนของตนให้แก่โจทก์ตามสัญญา ทนายโจทก์ยื่นคำแถลงต่อศาลชั้นต้นว่า ทนายโจทก์ได้ย้ายสำนักงานจากที่เดิมไปอยู่สำนักงานแห่งใหม่ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตแล้วแต่ปรากฏว่าเมื่อศาลชั้นต้นออกหมายนัดฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ได้ออกหมายนัดส่งให้ทนายโจทก์โดยการปิดหมาย ณ สำนักงานทนายโจทก์แห่งเดิม หาได้ส่งหมายนัดให้ทนายโจทก์ ณ สำนักงานแห่งใหม่ดังที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไว้ไม่ ทั้งมิได้ส่งหมายนัดให้แก่ตัวโจทก์ด้วยโจทก์จึงไม่ทราบวันนัดอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ จึงถือไม่ได้ว่าศาลได้อ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้โจทก์ฟังแล้ว ดังนี้ เมื่อโจทก์ยื่นฎีกาภายในกำหนดหนึ่งเดือนนับแต่วันที่โจทก์ทราบคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของโจทก์จึงชอบแล้ว