คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 76

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 78 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4984/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ของผู้เยาว์ ต้องได้รับอนุญาตจากศาล หากไม่ได้รับอนุญาต สัญญาเป็นโมฆียะ
การขายอสังหาริมทรัพย์ของผู้เยาว์ ผู้เยาว์เองหรือผู้ใช้อำนาจปกครองจะกระทำมิได้ เว้นแต่ศาลจะอนุญาต ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1574 เมื่อผู้แทนโดยชอบธรรมต้องห้ามโดยกฎหมายมิให้ทำนิติกรรมขายที่ดินซึ่งหมายความรวมถึงนิติกรรมจะขายที่ดินแทนผู้เยาว์โดยลำพังแล้ว จะถือว่าการที่ผู้เยาว์ทำนิติกรรมพร้อมกับผู้แทนโดยชอบธรรมมีผลว่าผู้แทนโดยชอบธรรมอนุญาตให้ทำได้โดยไม่ต้องขออนุญาตจากศาลก่อน ก็เท่ากับเป็นการหลีกเลี่ยงไม่ต้องมาขออนุญาตจากศาล ซึ่งเป็นการผิดไปจากเจตนารมณ์ของกฎหมาย สัญญาจะซื้อจะขายที่จำเลยที่ 3 ได้กระทำในขณะที่ยังเป็นผู้เยาว์อยู่ จึงไม่มีผลผูกพันจำเลยที่ 3 และกรณีมิใช่โมฆียะกรรมแม้ภายหลังจำเลยที่ 3 จะบรรลุนิติภาวะโดยการสมรสจำเลยที่ 3ก็ไม่อาจให้สัตยาบันได้ แม้สัญญาจะซื้อจะขายไม่ผูกพันจำเลยที่ 3 ก็มีผลเพียงทำให้จำเลยที่ 3 ไม่จำต้องขายที่ดินเฉพาะส่วนของจำเลยที่ 3 ให้แก่โจทก์เท่านั้น ส่วนสัญญาจะซื้อจะขายระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2มีผลสมบูรณ์บังคับกันได้ตามกฎหมาย จำเลยที่ 2 จึงต้องขายที่ดินเฉพาะส่วนของตนให้แก่โจทก์ตามสัญญา ทนายโจทก์ยื่นคำแถลงต่อศาลชั้นต้นว่า ทนายโจทก์ได้ย้ายสำนักงานจากที่เดิมไปอยู่สำนักงานแห่งใหม่ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตแล้วแต่ปรากฏว่าเมื่อศาลชั้นต้นออกหมายนัดฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ได้ออกหมายนัดส่งให้ทนายโจทก์โดยการปิดหมาย ณ สำนักงานทนายโจทก์แห่งเดิม หาได้ส่งหมายนัดให้ทนายโจทก์ ณ สำนักงานแห่งใหม่ดังที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไว้ไม่ ทั้งมิได้ส่งหมายนัดให้แก่ตัวโจทก์ด้วยโจทก์จึงไม่ทราบวันนัดอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ จึงถือไม่ได้ว่าศาลได้อ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้โจทก์ฟังแล้ว ดังนี้ เมื่อโจทก์ยื่นฎีกาภายในกำหนดหนึ่งเดือนนับแต่วันที่โจทก์ทราบคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของโจทก์จึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 974/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งหนี้ทางไปรษณีย์ และผลของการปฏิเสธหนี้เกินกำหนดตามกฎหมายล้มละลาย
ลูกจ้างของผู้ร้องซึ่งอยู่ที่สำนักทำการงานของผู้ร้องมีอายุเกิน 20 ปี ได้รับหนังสือทวงหนี้จากผู้คัดค้านไว้เมื่อวันที่ 23ธันวาคม 2531 จึงถือได้ว่ามีการส่งหนังสือทวงหนี้ให้แก่ผู้ร้องโดยชอบแล้วตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 73 ทวิ,76 ประกอบด้วย พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 119,153ดังนี้ ผู้ร้องชอบที่จะปฏิเสธหนี้ต่อผู้คัดค้านภายใน 14 วัน นับถัดจากวันที่ได้รับหนังสือทวงหนี้ ซึ่งจะครบกำหนดในวันที่ 6 มกราคม2532 โดยวันดังกล่าวมิใช่วันหยุดราชการ เมื่อผู้ร้องทำหนังสือปฏิเสธหนี้ถึงผู้คัดค้านในวันที่ 9 มกราคม 2532 ซึ่งเกินกำหนด14 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือทวงหนี้ของผู้คัดค้าน ต้องถือว่าผู้ร้องเป็นหนี้กองทรัพย์สินของลูกหนี้ตามจำนวนที่ผู้คัดค้านแจ้งไปเป็นการเด็ดขาดตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483มาตรา 119 วรรคแรก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 974/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การส่งหนังสือทวงหนี้และการรับทราบหนี้ตามกฎหมายล้มละลาย
พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 119 วรรคแรกไม่มีบทบัญญัติว่าด้วยการส่งคำคู่ความหรือเอกสารไว้โดยเฉพาะ จึงต้องนำ ป.วิ.พ.มาตรา 73 ทวิ และ 76 มาใช้โดยอนุโลมตามมาตรา 153 แห่ง พ.ร.บ.ล้มละลายพ.ศ.2483
ป. ลูกจ้างของผู้ร้องซึ่งอยู่ที่สำนักทำการงานของผู้ร้องมีอายุเกิน 20 ปี ได้รับหนังสือทวงหนี้จากผู้คัดค้านไว้เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2531 ตามใบไปรษณีย์ตอบรับ ซึ่งถือได้ว่ามีการส่งหนังสือทวงหนี้ให้แก่ผู้ร้องโดยชอบแล้วตามป.วิ.พ. มาตรา 73 ทวิ, 76 แต่อย่างไรก็ยังถือเป็นเด็ดขาดไม่ได้ว่าผู้ร้องได้รับหนังสือทวงหนี้จากผู้คัดค้านในวันที่ส่งนั้น ผู้ร้องอาจนำสืบความจริงว่า ตนได้รับเมื่อใด เพื่อเป็นข้อพิสูจน์ว่าตนได้ตอบปฏิเสธหนี้ผู้คัดค้านภายในกำหนด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 974/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งหนี้และการปฏิเสธหนี้ตามกฎหมายล้มละลาย การพิจารณาวันได้รับแจ้งหนี้ที่ถูกต้อง
พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 119 วรรคแรกไม่มีบทบัญญัติว่าด้วยการส่งคำคู่ความหรือเอกสารไว้โดยเฉพาะจึงต้องนำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 73 ทวิและ 76 มาใช้โดยอนุโลมตามมาตรา 153 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483 ป. ลูกจ้างของผู้ร้องซึ่งอยู่ที่สำนักทำการงานของผู้ร้องมีอายุเกิน 20 ปี ได้รับหนังสือทวงหนี้จากผู้คัดค้านไว้เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2531 ตามใบไปรษณีย์ตอบรับ ซึ่งถือได้ว่ามีการส่งหนังสือทวงหนี้ให้แก่ผู้ร้องโดยชอบแล้วตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 73 ทวิ,76แต่อย่างไรก็ยังถือเป็นเด็ดขาดไม่ได้ว่าผู้ร้องได้รับหนังสือทวงหนี้จากผู้คัดค้านในวันที่ส่งนั้น ผู้ร้องอาจนำสืบความจริงว่า ตนได้รับเมื่อใด เพื่อเป็นข้อพิสูจน์ว่าตนได้ตอบปฏิเสธหนี้ผู้คัดค้านภายในกำหนด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3885/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การส่งประกาศขายทอดตลาดทางไปรษณีย์ถึงผู้เยาว์ (อายุ 17-18 ปี) ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
การส่งประกาศขายทอดตลาดโดยทางไปรษณีย์ตอบรับ หากผู้รับประกาศขายทอดตลาดมีอายุ 17 - 18 ปี การส่งเอกสารดังกล่าวก็ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 73 ทวิ, 76

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3885/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งการขายทอดตลาดโดยผู้เยาว์ทำให้การแจ้งไม่ชอบด้วยกฎหมาย และการขายทอดตลาดเป็นโมฆะ
การส่งประกาศขายทอดตลาดโดยทางไปรษณีย์ตอบรับหากผู้รับประกาศขายทอดตลาดมีอายุ 17-18 ปี การส่งเอกสาร ดังกล่าวก็ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 73 ทวิ,76

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3182/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การส่งหนังสือยืนยันหนี้โดยผู้มีอายุต่ำกว่า 20 ปี ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย ทำให้ระยะเวลาคัดค้านหนี้ยังไม่เริ่ม
ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 73 ทวิ และมาตรา 76 บุคคลที่รับคำคู่ความหรือเอกสารไว้แทนจะต้องอายุเกินยี่สิบปีแต่คดีนี้เด็กหญิง ก. หลานสาวผู้ร้องซึ่งเป็นผู้รับหนังสือยืนยันหนี้ไว้แทนผู้ร้องมีอายุเพียง 14 ปี เท่านั้น การส่งหนังสือยืนยันหนี้ของผู้คัดค้านจึงไม่ถูกต้องตามกฎหมาย ถือไม่ได้ว่าผู้ร้องได้รับหนังสือยืนยันหนี้ของผู้คัดค้านเมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2533 การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องคัดค้านคำแจ้งความยืนยันหนี้ของผู้คัดค้านในวันที่ 3 มกราคม 2534 จึงไม่อาจถือได้ว่าผู้ร้องยื่นเกินกำหนดเวลาสิบสี่วันนับแต่วันได้รับแจ้งความยืนยันหนี้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย มาตรา 119 วรรคสอง การส่งไปรษณีย์ภัณฑ์ตามไปรษณีย์นิเทศ พ.ศ.2524 ข้อ 353 เป็นเรื่องการส่งจดหมายทั่วไปมิใช่การส่งคำคู่ความหรือเอกสารตาม ป.วิ.พ. มาตรา 73 ทวิ และมาตรา 76

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 469/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การส่งหมายเรียกโดยบุคคลอายุไม่เกิน 20 ปี ไม่ทำให้การดำเนินคดีเป็นโมฆะ หากจำเลยทราบและต่อสู้คดีได้
การส่งคำคู่ความ ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 25,31ประกอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 76 วรรคแรก นอกจากเป็นบทบัญญัติที่มุ่งประสงค์ป้องกันความเสียหายอันเกิดจากการเอารัดเอาเปรียบในการส่งคำคู่ความและเอกสารนั้น แล้วยังเป็นบทบัญญัติให้ความคุ้มครองว่าการส่งคำคู่ความหรือเอกสารนั้นจะต้องถึงผู้รับโดยถูกต้องจึงได้กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการไว้เช่นนั้น เมื่อได้ความว่าหลังจากเจ้าพนักงานศาลได้ส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องแล้ว จำเลยได้แต่งทนายความมาต่อสู้คดี และดำเนินกระบวนพิจารณา จนมีการตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความจนศาลแรงงานกลางพิพากษาตามยอมแล้วแสดงว่าการส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้แก่จำเลยจำเลยได้รับทราบและมาตามนัดของศาลแล้ว แม้การส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องดังกล่าวจะมีบุคคลอายุไม่เกินยี่สิบปี ซึ่งทำงานเป็นพนักงานของจำเลยเป็นผู้รับไว้ ก็หาทำให้จำเลยได้รับความเสียหายเพราะเหตุนี้ไม่ ทั้งเป็นกรณีที่จำเลยมายื่นคำร้องภายหลังศาลแรงงานกลางมีคำพิพากษาแล้วซึ่งต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2447/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การส่งหมายนัดพิจารณาคดีที่ชอบด้วยกฎหมาย จำเป็นต้องส่งไปยังสำนักงานทนายความที่ถูกต้องและปัจจุบัน หากส่งไปยังที่อยู่เก่าที่ไม่ถูกต้อง ถือว่าการส่งไม่ชอบ
จำเลยยื่นคำร้องว่า ทนายจำเลยออกจากสำนักงานทนายความเดิมไปแล้ว และสำนักงานดังกล่าวได้ย้ายไปอยู่ที่อื่น มิใช่สำนักงานที่เจ้าพนักงานศาลไปส่งหมายนัดฟังคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ ทั้งเป็นการย้ายไปอยู่ที่ใหม่ก่อนที่จะมีการปิดหมายนัดฟังคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ หากข้อเท็จจริงได้ความตามคำร้องดังกล่าว ย่อมถือไม่ได้ว่าการส่งหมายนัดฟังคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ให้จำเลยเป็นไปโดยชอบศาลชั้นต้นต้องไต่สวนให้ได้ความว่าเจ้าพนักงานศาลส่งหมายนัดฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้จำเลยโดยชอบแล้วหรือไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 39/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องไปยังภูมิลำเนาหลายแห่งของจำเลย การขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา
แม้จำเลยมีสำเนาทะเบียนบ้านมาแสดงว่าขณะที่ถูกฟ้องจำเลยมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านเลขที่ 5 จังหวัดอุบลราชธานี แต่ปรากฏว่าจำเลยได้แจ้งแก่โจทก์ขณะทำสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีกับโจทก์ว่าอยู่บ้านเลขที่ 389/4 จังหวัดนครราชสีมา และจำเลยอ้างว่าขณะนั้นอาศัยอยู่บ้านเลขที่ 357 จังหวัดนครราชสีมา แต่เมื่อพนักงานเดินหมายไปส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้แก่จำเลยที่บ้านตามภูมิลำเนาในคำฟ้องคือ บ้านเลขที่ 96 จังหวัดอุบลราชธานี ภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของจำเลยเต็มใจยอมรับหมายไว้แทนโดยไม่มีผู้ใดปฏิเสธว่าจำเลยไม่ได้อยู่ที่บ้านตามที่กล่าวในคำฟ้องและไม่ปรากฏว่าภริยาจำเลยรับหมายไว้แทนจำเลยโดยหลงผิด พฤติการณ์ดังกล่าวเชื่อได้ว่าจำเลยอยู่อาศัยในบ้านเดียวกับภริยา และถือได้ว่าจำเลยมีถิ่นที่อยู่หลายแห่งซึ่งอยู่สับเปลี่ยนกันไป ดังนั้นบ้านที่ระบุในคำฟ้องจึงเป็นภูมิลำเนาอีกแห่งหนึ่งของจำเลย ถือได้ว่าได้ส่งหมายนั้นให้แก่จำเลยทราบโดยชอบแล้ว เมื่อจำเลยไม่ยื่นคำให้การภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดและไม่ไปศาลในวันสืบพยานจึงต้องถือว่าจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณาโดยจงใจจำเลยไม่อาจขอให้พิจารณาใหม่ได้
of 8